5 กันยายน กองบุญธารบุญธารธรรมทำบุญผ้าไตรที่นาเปล สงขลา

ในห้อง 'อนุโมนาบุญ - อุทิศบุญส่วนกุศล' ตั้งกระทู้โดย smart7667, 22 กันยายน 2013.

  1. smart7667

    smart7667 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    3,871
    ค่าพลัง:
    +6,755
    5 กันยายน กองบุญธารบุญธารธรรมทำบุญผ้าไตรที่นาเปล สงขลา

    "ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงพ่อทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้"

    สมเด็จเจ้าพะโค๊ะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

    หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวของหลวงพ่อทวดนั้นผมได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ และจากประสบการณ์ภาคสนามที่ผมได้คลุกคลีใกล้ชิดพระผู้เฒ่า พระเกจิอาจารย์ละแวกยะลา ปัตตานี สงขลามานานนม..ซึ่งคาดว่าพอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

    ตามตำนานกล่าวว่าหลวงพ่อทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลาซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ใกล้กับสำนักสงฆ์ต้นเลียบ... แรกเกิดท่านมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน

    เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว

    ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโค๊ะ
    [​IMG]
    วัดพะโค๊ะ


    ส่วนที่ที่ปลูกเปลเด็กชายปู..วันนี้คือสำนักสงฆ์นาเปล...

    [​IMG]


    เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม..

    หลวงพ่อทวดนั้น เป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทยในภาคใต้มานานแสนนาน เรื่องราวปาฏิหารย์ของท่าน เล่ากันยังไง ก็ไม่มีทางหมด ผมเป็นอีกคนหนึ่ง.. ได้สัมผัสกับปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อทวดมาด้วยเหมือนกัน และพออ่านเรื่องราวหลวงพ่อ ที่แสดงปาฏิหาริย์ช่วยผู้ประสพภัยจากเหตุร้ายต่างๆก็อดยกมือท่วมหัวอยู่ในใจไม่ได้ หลวงพ่อทวดช่างเมตตาต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ...

    วัดดีหลวง...สำนักสงฆ์ต้นเลียบ...สำนักสงฆ์นาเปล...วัดพะโค๊ะ..ล้วนเกี่ยวข้องกับตำนานหลวงพ่อทวด..ทุกที่เป็นสถานที่ที่หลวงพ่อทวดแผ่มหาอิทธิบารมมีคลุมครอบหมดทุกตารางนิ้ว อณูอาณาบริเวณ...

    มีผู้สงสัยว่าวัดพะโค๊ะที่หลวงพ่อทวดท่านเคยปกครองสำคัญมากไหม...ผมขอบอกว่าสำคัญมาก..และอยู่ยืนยงค้ำฟ้าค้ำดินคู่กับวัดเขาอ้อมาชั่วหลายอายุคน..

    คำว่า "พะโค๊ะ" น่าจะมาจากคำว่า "พระโคตมะ" นั่นเอง วัดพะโคะเคยถูกโจรสลัดมลายู ยกทัพเรือมาปล้น ๒ ครั้ง เผาผลาญทำลายพระมาลิกเจดีย์ วิหารพระพุทธบาท และศาสนสถานอื่นๆ อีกจำนวนมาก จึงทำให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพะโคะครั้งสำคัญขึ้น ในครั้งที่สมเด็จพระราชมุนีสามิราม (สมเด็จพระโคะ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) ขอพระราชทานที่กัลปนาใหม่ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๕๘) ได้บูรณะพระมาลิกเจดีย์สูง ๑ เส้น ๕ วา (สูงกว่าเดิม ๕ วา) โดยได้รับพระราชทานยอดพระเจดีย์เนื้อเบญจโลหะ ยาว ๓ วา ๓ คืบ มาจากกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีพระครูปุญญาพิศาล” เป็นเจ้าอาวาส

    ท่านสมภารวัดพะโค๊ะองค์ปัจจุบัน...เล่าให้ฟังว่าเมื่อคราวที่วัดโดนพายุถล่มถาโถมเมื่อหลายปีก่อนด้วยน้ำเสียงระทึกราวกับว่าเหตุการณนั้นเพิ่งผ่านมาไม่นานว่า.. “อาตมาตั้งใจอธิษฐานจิตก่อนก้มลงกราบต่อหน้าลูกแก้ว และรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเพื่อขอบารมีของท่านช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาจากวาตภัยที่ถาโถมเข้าใส่วัดอย่างรุนแรงชนิดไม่เคยพานพบมาก่อนนับตั้งแต่เกิดมาบนโลกใบนี้ อาตมาและพระลูกวัดพยายามขืนต้านแรงลมเพื่อออกไปต้อนรับญาติโยมทั้งพุทธและมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่ชุมชนริมเล ราวร้อยชีวิตที่อพยพหนีตายจากดีเปรสชันมาขอพึ่งบารมีของหลวงปู่ทวด ที่วัดพะโคะแห่งนี้” นี่คือเหตุการณ์ระทึกขวัญเมื่อพายุดีเปรสชันเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งบริเวณ จ.สงขลา ตั้งแต่กลางดึกวันที่ ๓๑ ตุลาคม ของปีนั้น จากคำบอกเล่าของ “พระครูปุญญาพิศาล”หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าอาจารย์ชัยวัดพะโค๊ะ...

    [​IMG]
    ทางเข้าวัดพะโค๊ะ

    [​IMG]

    [​IMG]


    เจ้าอาวาสวัดพะโค๊ะ ย้อนเหตุการณ์ให้ฟังว่า ตลอดวันที่ 31 ตุลาคม ได้ติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศผ่านทางโทรทัศน์ และสถานีวิทยุอย่างต่อเนื่อง ด้วยมีคำประกาศเตือนว่าดีเปรสชันจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณ จ.สงขลา โดยเฉพาะพิกัดที่ตั้งของ อ.สทิงพระ อ.ระโนด รวมถึง อ.เมืองสงขลา ถือเป็นจุดเฝ้าระวัง จะต้องเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด

    กระแสลมเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณสองทุ่มครึ่ง จึงพยายามเดินออกไปดูสถานการณ์รอบๆ วัดปรากฏว่าแทบจะก้าวเท้าเดินไม่ได้ เนื่องจากทัดทานกระแสลมแรงไม่ไหว ขณะเดียวกันก็เห็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณชายทะเลทยอยอุ้มคนชรา หอบลูก หอบหลาน เดินทางมาขอพึ่งใบบุญที่วัดพะโคะ เพราะขณะนั้นสถานการณ์ริมทะเลอยู่ในภาวะไม่ปลอดภัยและสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายแก่ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

    ใบหน้าของชาวบ้านนาทีนั้นต่างอยู่ในสภาพเดียวกันคือตระหนกตกใจ บางคนก็ร่ำไห้ เพราะก่อนมาถึงวัด หลายคนได้เห็นภาพความรุนแรงของวาตภัยที่โหมกระหน่ำพัดเอาหลังคาบ้านเรือนปลิวไปเป็นแถบๆ แถมบางคนที่อยู่อาศัยยังพังเสียหายเกือบทั้งหลังก็มี จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสะท้อนภาพความหวาดกลัวออกมาให้เห็น และนับตั้งแต่เวลา สามทุ่ม ในค่ำคืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าสะพึงกลัวจากปรากฏการณ์วาตภัยที่รุนแรงที่สุดที่ชาวบ้านแห่ง อ.สทิงพระ ได้ประสบพบเจอ เพราะแรงลมที่กระหน่ำหนักชนิดไม่แสดงทีท่าว่าจะอ่อนแรง แถมค่อยๆ หอบกระเบื้องมุงหลังคาภายในวัดปลิวว่อนต่อหน้าต่อตาพระและสาธุชนนับร้อย

    “อาตมาไม่รู้จะอธิบายภาพความรุนแรงอย่างไร แต่บอกได้ว่าเสียงของดีเปรสชันมันช่างโหยหวลอย่างมาก แถมอาตมายืนมองความรุนแรงของลมที่บ้าคลั่ง โดยมันค่อยๆ ถอนรากถอนโคนต้นไม้ทีละต้น จนต้องตัดสินใจเดินเข้าไปสวดมนต์และอธิษฐานจิตต่อหน้าลูกแก้ว และรูปเหมือนหลวงพ่อทวด เพื่อขอให้ปกป้องทุกชีวิตภายในวัดพะโคะแห่งนี้ ชาวบ้านนับร้อยทยอยเดินเข้ามาสวดคาถาหลวงพ่อทวด และกราบกรานและบนบานต่อลูกแก้ว และรูปเหมือนหลวงพ่อทวดในวิหาร เพื่อช่วยให้ชีวิตรอดพ้นจากอันตรายของวาตภัยครั้งนี้ ซึ่งท่ามกลางดีเปรสชันที่ถาโถมเข้าใส่ ได้เกิดปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์ใจ นั่นคือจุดสำคัญที่ชาวบ้านมารวมตัวหนีภัยธรรมชาติ ไม่ปรากฏความเสียหาย รวมไปถึงจุดสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อทวดแทบทุกแห่งไม่ได้รับความเสียหายจากแรงลมที่กระหน่ำตลอดทั้งคืนไปเกือบรุ่งสางแต่อย่างใด" คำกล่าวของพระครูปุญญาพิศาล

    นางคลาด สุวรรณศิลป์” อายุ 75 ปี ชาวบ้านที่อาศัยใกล้วัดพะโคะ ผู้รอดตายจากเหตุดีเปรสชัน ครั้งล่าสุดบอกว่า ทั้งชีวิตไม่เคยเห็นความโหดร้ายของธรรมชาติรุนแรงเท่าครั้งนี้ ลมที่พัดเหมือนจะหอบเอาร่างให้ลอยขึ้นจากพื้น จึงได้แต่คิดถึงหลวงพ่อทวด วัดพะโค๊ะ ตลอดเวลา ในมือกำหลวงพ่อทวดที่คล้องคอไว้แน่น และท่องแต่ “นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภควา” พร้อมเอ่ยนาม...สามีราโมๆๆๆไม่ได้ขาด...ภาวนาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าคนอายุปูนนี้จะก้าวเดินฝ่ากระแสลมมาถึงบันไดวัดพะโคะ และรอดพ้นความตายจากวาตภัยครั้งนี้ ทั้งที่บ้านได้รับความเสียหายแทบทั้งหลัง

    หลวงพ่อทวด หรือสมเด็จเจ้าพะโค๊ะตามบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวว่าท่านเป็นพระภิกษุผู้ใหญ่ สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เป็นผู้นำทางศาสนาและมีอำนาจการปกครองหัวเมืองแถบทะเลสาบสงขลาเทียบเท่าเจ้าเมือง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพะโคะ สทิงพระ...กระทั่ง 400ปีหลังจากนั้น มีการสร้างพระเครื่อง “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ขึ้นที่วัดช้างให้ ปัตตานี และเขียนตำนานว่าเป็นองค์เดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะแต่นั้นมา เรื่องราวเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อทวดก็เป็นที่กล่าวขานและเคารพบูชามาจนปัจจุบัน..

    ทำไมถึงเรียกพระเครื่องที่ท่านอาจารย์ทิมวัดช้างให้สร้างว่าหลวงพ่อทวด?????

    ผมเคยสนทนาเรื่องนี้กับ พ่อท่านผ่อง แห่งสำนักสงฆ์นาเปล อายุอีกปีเดียวก็จะแปดสิบ..ว่ากันว่าท่านเป็นผู้ที่สืบสายวงศ์วานตระกูลหลวงพ่อทวดอีกท่านหนึ่ง..โชคดีเป็นยิ่งนักสำหรับตัวผมที่รู้จักสายเลือดหลวงพ่อทวดหลายคนอีกท่านหนึ่งคือคุณตาภักดิ์ซึ่งสนิทสนมกับทางบ้านผมที่ยะลาที่สุด..บ้านสวนจันทน์ที่เป็นที่ดินหลวงพ่อทวดเคยเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณตาภักดิ์มาก่อนแต่ต่อมาท่านขายให้ญาติของท่านไปเสีย..
    ต้องบอกย้ำๆซ้ำว่าผมเป็นคนภาคใต้มีพื้นเพยะลาแต่ก็มีญาติพี่น้องฝ่ายพ่ออยู่ในจังหวัดสงขลาไม่น้อยเพื่อนมันชอบแซว...มึงนี่ญาติเยอะจริงๆ..(ทั้งย่าและยายท่านมีลูกเยอะรวมสองฝ่ายแล้วผมมีลุงป้าน้าอาเกินสิบ)..สมัยเด็กชอบไปวัดป่ากอสุวรรณาราม อำเภอนาหม่อม เพื่อไปเยี่ยมพ่อท่านทอง สุสังวโร มาก(ท่านเป็นสหธรรมิกกับอาจารย์ทิม...)....พ่อท่านผองท่านก็เรียกขานว่าหลวงพ่อทวดนัยว่าท่านคงเรียกตามอาจารย์ทิมวัดช้างให้..(ธรรมดาปกติแถววัดพะโค๊ะเรียกสมเด็จเจ้า...)

    ฉะนั้นในชีวิตของผมตั้งแต่เล็กจนโตได้ยินเขาเรียก พระเครื่องที่ท่านพระครูวิสัยโสภณ(อาจารย์ทิมธมฺมธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้สร้างว่า “หลวงพ่อทวด” ไม่เคยได้ยินใครเรียกว่า “หลวงปู่ทวด” เพิ่งจะมาระยะหลังนี้เอง ที่นักสะสมพระรุ่นใหม่ๆ มาเรียกกันว่าหลวงปู่ทวด

    คุณแพะ สงขลา กูรูตัวจริงของวงการพระเครื่องหลวงพ่อทวดให้ความรู้ว่า..พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ที่ท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโรสร้างตั้งแต่พ.ศ.2497 จนถึงพ.ศ.2512 ปรากฏว่ามีเพียงพระบูชา พ.ศ.2503 รุ่นเดียวเท่านั้นที่สลักไว้ทั้ง 2 แบบว่า “หลวงพ่อทวด”และ “หลวงปู่ทวด” หลังจากนั้นเป็นต้นมา พระบูชาก็สลักว่า “หลวงพ่อทวด”เท่านั้น แสดงว่าพระบูชา พ.ศ.2503 เขียนผิด นอกเหนือจากนั้นแล้วพระหลวงพ่อทวด ทุกเนื้อ ทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ทุกพ.ศ. ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ที่วัดช้างให้สร้าง หากมีตัวหนังสือจารึกหรือแกะสลักไว้ จะมีแต่อักษรว่า “หลวงพ่อทวด” ทั้งสิ้น….

    หากใครเคยอ่านหนังสือเพชรพระอุมา ที่นักเขียนชื่อพนมเทียนได้เขียนไว้ในเพชรพระอุมาเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ว่า"จะรู้ว่าเป็นคนใต้หรือเปล่าให้ดูจากการเรียกว่าหลวงพ่อทวด หรือหลวงปู่ทวด"

    พี่ชายผมที่ผมบังอาจยกให้เป็นกูรูเรื่องพระหลวงพ่อทวดอีกคนหนึ่ง(พี่ผมเป็นศิษย์วัดช้างให้ วัดนาประดู่...มันนอนที่วัดตั้งแต่เด็กๆ)ยังบอกเล่าให้ผมฟังว่า...การนั่งสมาธิตอบโต้ระหว่างท่านอาจารย์ทิมกับหลวงพ่อทวด ท่านบอกแล้วให้ทางภูมิลำเนาเดิมเขาเรียกว่า สมเด็จเจ้าพะโค๊ะส่วนพระเครื่องที่สร้างขึ้นมาครั้งแรกนี้ ให้เรียกว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"ผมไม่เห็นมีข้อความไหนที่บอกว่าให้เรียกว่า "หลวงปู่ทวด"เลย
    และก็ได้บอกแล้วว่า วัดช้างให้เป็นต้นแบบที่สร้างหลวงพ่อทวดให้เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ
    หลังจากหลวงพ่อทวดดังมากๆแล้ววัดอื่นจึงสร้างเรียนแบบหากทางภูมิลำเนาเดิมสร้าง ก็ควรเป็นชื่อทั้งสองที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้นแต่ไม่ใช่"หลวงปู่ทวด" การเรียกนอกเหนือจากนี้แสดงว่าคนเรียกรู้ดีกว่าองค์สมเด็จหลวงพ่อทวด และท่านอาจารย์ทิมเสียอีกเพราะไม่ยอมรับฟังเจตนารมณ์ของหลวงพ่อทวด ไปเอาคำภาคกลางมาเรียกถ้าเช่นนั้นให้ท่านเรียกครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งเป็นคำเรียกภาษาทางภาคเหนือ ว่า "หลวงปู่เจ้าศรีวิชัย" บ้างนะครับ เพราะเรียกด้วยความเคารพและหมายถึงพระองค์เดียวกันด้วยจริงหรือเปล่าครับ

    คุณแพะ สงขลา แนะนำให้อ่าน “คำปรารภ” ที่ท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ เขียนใน “หนังสือ เรื่อง หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด (เจ้าอาวาสวัดช้างให้องค์แรก) พิมพ์เป็นบริการในงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดราษฎร์บูรณะ(ช้างให้) 16 สิงหาคม 2499” เริ่มจาก 2 บรรทัดสุด ดังนี้ “.....ปรากฎพระเครื่องลางหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งทำขึ้นแทน สมเด็จเจ้าพะโคะ ให้ท่านทั้งหลายได้รับไว้บูชาในจังหวัดภาคใต้นี้ หากข้าพเจ้าไม่ฝัน พระหลวงพ่อทวดก็คงไม่มีแน่ และญาติพี่น้องทั้งหลายก็คงไม่มีไว้บูชา นี่เป็นสิ่งที่จริงและแน่แท้ ”

    จากข้อความข้างบน สามารถบอกได้ดังนี้

    1 พระเครื่องลาง เรียกว่า “หลวงพ่อทวด”

    2 หากหมายถึงคน บุคคลในประวัติศาสตร์ เรียกว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ”

    ดังนั้นพระเครื่องลาง “หลวงพ่อทวด” สร้างขึ้นเพื่อแทน “องค์สมเด็จเจ้าพะโคะ” และหากท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ไม่ฝัน อีกทั้งวัดช้างให้ไม่สร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวด ก็คงไม่มีพระเครื่องหลวงพ่อทวดไว้ให้เราๆท่านๆทั้งหลาย ได้มีไว้บูชาอย่างแน่นอน

    ท่านอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ และท่านคหบดี อนันต์ คณานุรักษ์ เป็นผู้ทำให้ พระเครื่อง“หลวงพ่อทวด”เป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งแผ่นดิน หลังจากพระเครื่องหลวงพ่อทวด มีชื่อเสียงดังมากๆแล้ว วัดอื่นก็พลอยได้อานิสงค์ไปด้วย เมื่อต้องการหาเงินเพื่อมาบูรณะสิ่งหนึ่งสิ่งใดในวัด หรือบำรุงพระพุทธศาสนา ก็เลยสร้างพระเครื่อง หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ท่านผู้อ่านกรุณาไปพิจารณาดูรูปแบบพระเครื่องของวัดอื่นๆได้ ที่สร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวด ล้วนแล้วแต่คงรูปแบบของพระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ทั้งนั้น หรือถ้าดัดแปลงก็เล็กๆน้อยๆ ส่วนใหญ่ ก็คงรูปแบบที่ให้มองปุ๊บก็รู้ปั๊บ ว่าคือพระเครื่องหลวงพ่อทวด เพราะถ้าสร้างแบบอื่นก็คงไม่ได้รับความนิยม

    ดังนั้นการสร้างพระเครื่อง โดยการเรียกว่าพระเครื่อง “หลวงพ่อทวด” มิใช่คิดจะเรียกอย่างไรก็ได้ เนื่องจากท่านทำเลียนแบบเขามา มิได้เกิดมาจากความคิดของวัดท่านเอง ควรอย่างยิ่งที่จะที่จะเรียกอย่างต้นแบบเหมือนอย่างที่คิดจะสร้างพระหลวงพ่อทวดแบบแปลกที่มองแล้วไม่งามผู้สร้างควรศึกษาองค์ความรู้ให้ลึกซึ้งเสียก่อน...เรื่องนี้เมื่อทราบแล้วก็ควรเรียกขานพระเครื่องนี้ให้ถูกต้องเสียว่า พระเครื่อง “หลวงพ่อทวด”

    ...กองบุญธารบุญธารธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ ได้ไปทำบุญที่ที่พักสงฆ์นาเปล สทิงพระ สงขลา

    ขอเรียนเชิญชวนพี่น้องชาวไทยร่วมกันทำบุญพัฒนาสำนักสงฆ์นาเปลบ้านเลียบ อ.สทิงพระ จังหวัดสงขลาผมอยากบอกบุญผ่านบทความนี้อย่างยิ่งขอรับ.......สืบเนื่องจากเมื่อต้นปีนี้ทางครอบครัวจากยะลาได้มีโอกาสไปถวายสังฆทานและสนทนาธรรมกับ พ่อท่านผ่อง ที่สำนักสงฆ์นาเปล อ.สทิงพระ สงขลา

    ภายในสำนักสงฆ์ก็มีศาลาเล็กๆซึ่งเป็นเครื่องระลึกถึงเหตุการณเมื่อหลายร้อยปีก่อนที่งูรัดเปลซึ่งมีเด็กชายปูนอนอยู่ในเปลภายในเปลน้อยๆมีลูกแก้วอยู่บนเด็กชายปูนั้น..

    ซึ่งพอจะทราบกันมาบ้างแล้วว่าเด็กน้อยในเปลนั้นคือ หลวงพ่อทวด

    "ที่พักสงฆ์นาเปล" อ.สทิงพระ จ.สงขลา สถานที่ตำนาน "งูคลายลูกแก้วให้หลวงปู่ทวด"ปัจจุบันมี "พ่อท่านผ่อง อิทธิปุญโญ" เป็นเจ้าสำนักสงฆ์ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีเชื้อสายเป็นลูกหลานหลวงปู่ทวดโดยตรงท่านเป็นศิษย์เอกของพ่อท่านจำเนียร สำนักสงฆ์ต้นเลียบ, พ่อท่านผ่อง วัดนางเหล้า และพ่อท่านแก้ว วัดดีหลวง…

    พ่อท่านเป็นพระที่เน้นการปฏิบัติธรรมมากกว่าเรื่องพระเครื่อง ท่านไม่นิยมเรื่องสร้างพระหลวงพ่อทวดจนเกินพอดีหรือแม้แต่การสร้างพระหลวงพ่อทวดที่ใหญ่โตที่สุดในโลก...ก็ตามยกเว้นบางกรณีที่จะอนุญาตโดยเฉพาะทางเราได้รับอนุญาตทางวาจาเป็นพิเศษด้วยครับน่าปีติในบุญที่จะปันสิ่งมงคลจากพระสงฆ์ดีแก่กัน..

    ..เหมือนฟ้ามีตาที่ทำให้กองบุญธารบุญธารธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ได้ไปกราบพ่อท่านผ่อง สำนักสงฆ์นาเปลตั้งแต่ท่านปกครองสำนักสงฆ์ต้นเลียบต่อจากหลวงปู่จำเนียร (พ่อท่านเนียร)อาจารย์ของท่านที่มรณภาพไปแล้ว...พ่อท่านอยูที่นั่นได้สี่ปีจึงหลีกเร้นซ่อนตัวแสวงหาวิมุตติสุขอย่างเงียบ นาเปลไม่ไกลจากต้นเลียบเท่าไรและอยู่ชิดกับวัดพะโค๊ะด้วยซ้ำ…ท่านเป็นพระมหาเถระที่มีพลังจิตสูงน่าอัศจรรย์อีกรูปรูปหนึ่งซึ่งหลีกหนีซ่อนเร้นตัวแสวงหาวิมุตติสุขอย่างเงียบๆอย่างที่ผมว่าจริงๆครับ ท่านไม่คลุกคลีสุงสิง กับทางการปกครองหรือตั้งหน้าตั้งตารับแขกอย่างเดียว ท่านสมถะ มักน้อย สันโดษ ไม่ยินดีในเอกลาภตามแบบอย่างสมเด็จเจ้าพะโค๊ะที่โละจากไปเพื่อแสวงหาธรรม..ดั่งดวงไฟที่โพยพุ่งจากวัดพะโค๊ะไปทางทิศใต้...หลวงพ่อทวดท่านไม่ใยดีในลาภสักการะใดๆ...พ่อท่านเนียรอาจารย์ของพ่อท่านผ่อง พระแท้นาเปล..ท่านเป็นพระเกจิที่ต่อต้านการทำพุทธพานิชย์แต่ก็ไม่ปฏิเสธการสร้างพระแจกให้ญาติโยมไปแขวนรักษาตัวรักษาจิตใจ

    [​IMG]

    [​IMG]


    ท่านเคยบอกว่า ตาหลวงได้อธิษฐานไว้ให้เทวดารักษา เทวดาที่รักษาพระ ก็จะรักษาคนที่แขวนพระด้วย แล้วเหตุการณ์ที่ผ่านมาก็ยืนยันชัดแจ้งว่าพระเครื่องวัตถุมงคลของตาหลวงหรือพ่อท่านผ่องทุกชนิดมีผู้คุ้มครองรักษาอยู่จริง คนที่นำไปบูชาเท่านั้นที่จะยืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

    ...โลกทุกวันนี้ยุ่งยากก็เพราะมนุษย์ที่อวดตนหรือยกตนเป็นผู้ใหญ่ยังติดเสียง
    มนุษย์ที่อวดตนว่าเป็นผู้ดีเรียนรู้มากยังไม่มีจรรยาในการ " พิจารณาตน "
    ถ้าสัตว์โลกอยู่กันอย่างไม่ยึดตน ไม่ยึดเสียง ไม่ยึดอุปาทาน ถ้าละทิ้งได้ไม่ยึดสิ่งใดเลย โลกนี้ย่อมสงบ
    ท่านต้องเข้าใจว่า " การให้ทุกข์เขานั้นทุกข์นั้นถึงตัวท่านเองแน่นอน "นี่เป็นหลักความจริง

    เราจะชนะความเลวด้วยความดีเราต้องมีอุเบกขา หมายถึงคิดว่าสิ่งนี้เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อชื่อ ความมีอำนาจ
    เมื่อท่านทำใจได้เช่นนี้ท่านก็จะเป็นคนที่ดีได้และจะเป็นนักเสียสละที่ดีได้ด้วย

    ทีนี้การที่เราจะให้คนอื่นเหมือนเราหมดย่อมไม่ได้
    มนุษย์ต่างคนต่างเกิดมาในโลกนี้มีกรรมวิบากของตนไม่เหมือนกัน
    เมื่อมีกรรมวิบากของตนไม่เหมือนกัน มนุษย์ผู้นั้นอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกันมีคุณธรรมไม่เท่ากัน
    เราจะเอาใจของเราเป็นสรณะว่าที่เราทำนี้ถูกทุกคนจะต้องว่าถูกเหมือนเราไม่ได้

    *กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิต จนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้น ...วิปัสสนา...



    *วิปัสสนา คือ ให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็น อนัตตา คือ การเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคามี



    *พิจารณากายในกาย พิจารณาธรรมในธรรม พิจารณาวิญญาณในวิญญาณ นั่นแหละคือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระพุทธเจ้า



    *ทำจิตท่านให้แข็งแกร่ง ทำให้จิตท่านหลุดพ้น ทำจิตท่านให้สงบ ทำให้มีสติพร้อม

    สาธุกับทุกท่าน...ที่เมตตากองบุญธารบุญธารธรรม....

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...