“ศาลหลักเมือง” ความศักดิ์สิทธิ์ในความแตกต่าง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 18 กันยายน 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">องค์เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ จำลองที่มีไว้ให้ประชาชนได้สักการะบูชา</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในการสร้างบ้านสร้างเรือน ต้องมีการตอกเสาเข็ม ลงเสาหลักของบ้าน ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านให้แล้วเสร็จต่อไป

    สำหรับการสร้างเมืองก็เป็นเฉกเช่นเดียวกันที่ต้องมีการสร้างหลัก ลงหลัก ปักเสา ให้เป็นสัญลักษณ์ว่าจะมีการก่อร่างตั้งบ้านเมือง ณ แห่งหนตำบลนี้ ซึ่งถือว่าได้ว่าการลง “หลักเมือง” นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างเมืองต่าง ๆ เพื่อให้เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองที่สร้างขึ้นมา และเป็นดังหลักชัย หลักใจของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นๆ

    ตำนาน “เสาหลักเมือง” หลักชัยคู่บ้านคู่เมือง

    ดังตามพงศาวดารได้มีการกล่าวไว้ถึงความเป็นมาของการสร้างเสาหลักเมืองของชนชาติไทยว่า ปรากฏให้เห็นการจัดสร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

    สำหรับประเพณีการตั้งหลักเมืองนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้อธิบายไว้ว่า “การสร้างหลักเมือง” เป็นประเพณีพราหมณ์ที่มาแต่อินเดีย ประเทศไทยตั้งหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์ ที่จะเกิดหลักเมืองนั้นคงเป็นด้วยประชาชน ประชุมชนนั้นต่างกัน ที่อยู่เป็นหมู่บ้านก็มี หมู่บ้านหลายๆ หมู่บ้านรวมเป็นตำบล ตำบลตั้งขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอเดิมเรียกว่าเมือง เมืองหลายๆ เมืองรวมเป็นเมืองใหญ่ เมืองใหญ่หลายๆ เมืองเป็นมหานคร คือ เมืองพระมาหานคร

    การสร้างหลักเมืองตามประเพณีโบราณที่นิยมสร้างหลักเมืองไว้ เป็นมิ่งขวัญ เป็นนิมิตมงคล สำหรับให้รู้ว่าหลักบ้านหลักเมืองมีอยู่ที่ไหน บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็นชัยภูมิ ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง

    จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ได้พูดถึงการสร้างเสาหลักเมืองว่า คนสมัยก่อนจะถือเรื่องขวัญ ถือเรื่องของสิ่งที่จะเป็นหลักที่มั่นคง สังเกตได้ว่าจะทำการอะไรก็ต้องปักหลัก ปักฐาน ซึ่งเมืองก็เช่นเดียวกันเมื่อจะตั้งเมืองก็ต้องทำอะไรให้เป็นสัญลักษณ์เหมือนกันว่าจะทำเครื่องหมายตรงนี้ ก็จะปักหลักลงไป ซึ่งการปักหลักก็ต้องใช้สิ่งที่เห็นได้ชัด จะเอาก้อนหินวางก็กระไรอยู่ จึงต้องใช้เป็นเสา โดยนิยมใช้ต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลเอามาทำเป็นหลัก อย่างไม้ชัยพฤษ์ ชื่อเป็นมงคลดูน่าเกรงขาม

    ส่วนเรื่องที่มีความเชื่อกันว่าเมื่อจะสร้างเสาหลักเมืองจะต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ พิธีฝังเสาหลักเมือง ด้วยการจับคน 4 คนฝังลงไปในหลุมทั้งเป็น เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท คอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดแก่คนในนคร ซึ่งเรื่องเล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ไม่มีบันทึกในพงศาวดาร

    “ในความรู้สึกของผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ คงจะเป็นเพียงเรื่องเล่ามาจากนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา เหมือนกับการโล้ชิงช้าที่เล่ากันว่าพราหมณ์ตกลงมา ก็ฝังไว้ตรงเสาชิงช้า ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ คือคนเราบางทีมีความเชื่อว่า เวลาการทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็น่าจะมีเทพารักษ์ หรือวิญญาณอย่างหนึ่ง เพื่อดูแล แต่ลองคิดดูว่ารัชกาลที่ 1 ท่านทรงเป็นพุทธมามะกะ การที่จะประหารชีวิตคนที่ไม่มีความผิด ก็ไม่ใช่กิจที่กษัตริย์ผู้ทรงธรรมทั้งหลายจะทรงกระทำ ดังนั้นจึงเหมือนเป็นแค่เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น” จุลภัสสร ให้ความเห็น

    และถ้าจะให้กล่าวถึง “เสาหลักเมือง” ในประเทศไทยแล้วนั้น ต้องบอกว่าไม่ว่าจังหวัดไหนล้วนแล้วแต่มีเสาหลักเมือง ศาลหลักเมืองประจำจังหวัดด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเสาหลักเมืองในหลายๆจังหวัดนอกจากความศักดิ์สิทธิ์แล้วยังมีศิลปะและความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ มี 2 เสา เสาสูงสร้างในสมัยร.1 ส่วนอีกเสาสร้างในสมัย ร.4</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> “ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร” คู่บารมีกรุงรัตนโกสินทร์

    กรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมรของประเทศไทยนั้นก็มีเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเสาหลักเมืองประดิษฐานอยู่ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดพระแก้ว

    ความแปลกโดดเด่นของศาลหลักเมืองกรุงเทพฯนี้ เห็นจะอยู่ตรงที่มีถึง 2 หลักด้วยกัน โดยเสาหลักแรกสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) โปรดเกล้าให้ทำพิธียกเสาหลักเมืองสถาปนาพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.45 นาฬิกา ซึ่งใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง โดยประกอบด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 ซ. สูง 27 ซม. และกำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 10 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง เรียกได้ว่าเสาหลักเมืองนี้เป็นสิ่งก่อสร้างอันศักดิ์สิทธิ์แรกๆ ที่อยู่คู่กับพระนคร

    ส่วนเสาที่ 2 สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) ทรงโปรดเกล้าให้มีการขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกอบด้านนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 ม. พร้อมกับอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานอยู่ใกล้กันในอาคารศาลหลักเมืองที่มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาวที่ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองอยุธยา

    ด้านจุลภัสสร ได้แสดงทัศนะถึงเหตุที่เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ มี 2 เสา ก็เพราะว่า “ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีกษัตริย์ด้วยกัน 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระปิ่นเกล้าฯ มีดวงพระชะตาเรียกว่าเสมอกันกับพระองค์ พระองค์ก็เลยสถาปนาให้เป็นพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่ 2 ฉะนั้นเมื่อมีพระเจ้าอยู่หัว 2 องค์ในแผ่นดินเดียวกัน จึงโปรดเกล้าให้สถาปนาหลักเมืองขึ้นมาอีกหลักหนึ่ง คือเหมือนกับแผ่นดินซ้อนแผ่นดิน เลยต้องมีเสา 2 ต้น”

    ซึ่งปัจจุบันนี้เสาหลักเมืองทั้ง 2 หลักถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยให้ความเคารพเป็นอย่างมาก ในแต่ละวันจะมีผู้คนมากราบไหว้ขอพรจากองค์หลักเมืองกันเป็นจำนวนมาก โดยทางศาลได้จัดพื้นที่ด้านนอกวิหารไว้ให้ประชาชนได้จุดธูปไหว้ และมีเสาหลักเมืองจำลองให้ประชาชนได้มาทรงน้ำ ปิดทอง และผูกผ้าแพรที่เสา ก่อนที่จะเข้าไปสักการะองค์หลักเมืองของจริงที่อยู่ด้านใน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">เสาสะดือเมือง 108 หลัก ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุดอยทอง จ. เชียงราย </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> “เสาสะดือเมือง 108 หลัก” หลักเมืองของคนล้านนา

    จากเสาหลักเมืองที่กรุงเทพฯ พาขึ้นเหนือไปดู “เสาสะดือเมือง” ที่ “วัดพระธาตุดอยทอง” อ.เมือง จ. เชียงราย
    ซึ่งจากข้อมูลหนังสือที่ระลึก “งานสมโภชเสาสะดือเมืองและกำแพงเมืองเชียงราย” 21-31 ม.ค. 2531 ได้บอกไว้ว่า “สะดือเมือง” เป็นคติของไทยแคว้นล้านนา หมายถึงวัตถุที่เป็นที่หมาย เป็นสัญลักษณ์ของเมืองหรือประเทศ อันบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจความร่มเย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎร์ในเมืองนั้น หรือประเทศนั้น เช่นเดียวกับหลักเมืองอันเป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองของกลุ่มชนชาวไทยในแคว้นอื่น

    สำหรับสะดือเมืองของที่นี่มีความแปลกพิสดารกว่าที่อื่นๆ ตรงที่มีเสาสะดือเมืองมีมากถึง 108 หลัก โดยชาวเชียงรายได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังราย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรัฐบาลเยอรมนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองนี้เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531

    ซึ่งเสาสะดือเมือง 108 หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติของจักรวาลอันเป็นคติที่มีมาแต่โบราณ ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมรอบด้วยคูน้ำอันเปรียบได้กับน้ำในขอบจักรวาล รอบในยกขึ้นเป็นหกชั้นหมายถึงสวรรค์ทั้งหกของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีกสามชั้นซึ่งหมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และชั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน

    ส่วนตัวเสาสะดือเมืองเป็นดังเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยม หมายถึงตรีกูฏบรรพตหรือผาสามเส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น อันหมายถึงสิ่งสำคัญในจักรวาล และล้อมรอบอีกชั้นด้วยร่องน้ำห้าร่องซึ่งเปรียบเป็นปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นไหลลงสู่พื้นดินตามคติโบราณของล้านนา ซึ่งเสาสะดือเมืองจะใหญ่เท่าห้ากำมือและสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน โคนเสาสะดือเมืองนี้จึงใหญ่เท่ากับห้าพระหัตถ์กำ และสูงเท่ากับส่วนสูงแห่งพระวรกาย

    ความโดดเด่นของเสาสะดือเมือง 108 หลักนี้ ชาวเชียงรายให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก นิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมือง และเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศที่เมื่อได้เดินทางมาเยือนจังหวัดชียงราย ก็มักที่จะต้องแวะไปดูความแปลกของเสาสะดือเมือง 108 หลักและกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">เสาหลักเมืองศรีธรรมราชส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์)</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> จตุคามรามเทพ “ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช”

    และหลักจากที่ขึ้นเหนือไปดูสะดือเมือง 108 หลักกันแล้ว ก็ขอพาล่องใต้มาชมหลักเมืองของคนใต้กันบ้าง ที่ “ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช” ซึ่งเป็นศาลหลักเมืองที่ชาวนครภาคภูมิใจและให้ความเคารพศัทธราเป็นอย่างยิ่ง

    ศาลหลักเมืองนครตั้งอยู่บริเวณสนามหน้าเมือง บริเวณศาลหลักเมืองประกอบไปด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบลักษณะคล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา และมีอาคารเล็กทั้งสี่หลัง เป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพรบันดาลเมือง

    สำหรับด้านในของศาลหลังกลางเป็นที่ประดิษฐาน องค์เสาหลักเมือง ที่ทำมาจากไม้ตะเคียนทอง ซึ่งได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ ลักษณะเสามีความสูง 2.94 ม. เส้นรอบวง 0.95 ม. งดงามไปด้วยลวดลายที่แกะสลักตั้งแต่ส่วนฐานขึ้นไปเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ด้านบนสุดของเสาแกะสลักเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์) ที่ชาวนครเชื่อกันว่าเป็นเทวดารักษาเมืองหรือเทพประจำหลักเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนเหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ ยอดชัยหลักเมือง มีรูปแบบการแกะสลักจากจินตนาการความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้ และนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ

    สำหรับองค์หลักเมืองประกอบพิธีเบิกเนตรหลักเมือง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจิมยอดชัยหลักเมืองเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2530 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมืองรุ่งขึ้นเป็นที่ปลาบปลื้มของชาวนครเป็นอย่างยิ่ง

    กล่าวได้ว่าศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชแห่งนี้ เป็นหลักเมืองที่สร้างขึ้นด้วยความประณีตบรรจงและมีภูมิหลัง มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวนครที่ยังคงไว้ให้เห็นถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวนครได้เป็นอย่างดี

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> “ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์” ใหญ่และสวยที่สุดในประเทศไทย

    ปิดท้ายด้วยการพาไปดู “ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์” ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ศาลหลักเมืองที่ใหญ่และสวยที่สุดในประเทศไทย” ก่อสร้างขึ้นในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯในสมัยนั้น วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2536 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา เวลา 09.59 น. และเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์เป็นองค์ประธานเปิดศาลหลักเมือง

    ความยิ่งใหญ่และสวยงามของศาลหลักเมืองนี้ เห็นได้ตั้งแต่ตัวศาลที่สร้างเป็นศาลจัตุรมุขยอดปรางค์ตามแบบสยามลพบุรี ขนาด 5x5 ม. สูง 21 ม. มีปรางค์ 9 ชั้นยอดทอง ชั้นสูงสุดประดิษฐานพระพุทธรูป ชั้นที่เหลืออีก 8 ชั้น ประดิษฐานเทพโดยรอบ หน้าบันแรกเป็นรูปรอยตราพญาราหูอมจันทร์ ส่วนหน้าบันที่เหลืออีก 8 ชั้น ประดิษฐานองค์เทพล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว 2 ชั้น ชั้นที่หนึ่งมีน้ำล้อมรอบบันได ทางขึ้นมีนาคปรก 7 เศียร พร้อมด้วยศาลบริวารอีก 4 ศาล ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์เทพ ( โพธิสัตว์)

    ส่วนองค์หลักเมืองที่ประดิษฐานอยู่ภายในเป็นองค์หลักเมืองที่มีนามว่า “จตุโชค” แกะสลักมาจากไม้ตะเคียน ซึ่งเป็นไม้มงคลที่นำมาจากผืนป่ากุยบุรี องค์หลักเมืองมีความสูง 2.47 ม.กว้าง 37 ซม. สลักเสลาลวดลายประณีตสวยงามอย่างวิจิตรบรรจง โดยส่วนยอดแกะเป็นรูป 4 เศียร 4 พักตร์ งดงามไปด้วยลายไทยศิลปะศรีวิชัย และลงรักปิดทองประดับด้วยอัญมณีทั้งองค์

    ปัจจุบันศาลหลักเมืองประจวบฯ ได้เป็นที่เคารพสักการะ เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมือง และบรรดานักท่องเที่ยวทั้งไทยและชาวต่างชาติ ที่ต่างแวะเวียนมาชื่นชมความงามของศาลและมากราบไหว้ขอพรองค์หลักเมืองกันอย่างเนืองแน่น และหากใครได้สมดังใจหมายก็มักจะมาแก้บนด้วยการจุดประทัดถวายองค์หลักเมือง

    ซึ่งหากจะกล่าวว่า “หลักเมือง” เป็นดังศูนย์รวมจิตใจ และความเลื่อมใสศรัทธาของคนแต่ละท้องถิ่น แต่ละที่ที่มีความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านของเมืองก็คงจะไม่ผิดเพี้ยน เพราะตราบใดที่คนไทยยังยึดมั่นถือมั่นในพระพุทธศาสนา การกราบสักการะ “องค์หลักเมือง” ก็เหมือนเป็นการกราบไหว้ของมงคลอย่างสูง ที่อยู่คู่กับบ้านเมืองมาช้านาน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
    “ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร” ตั้งอยู่ที่ หัวมุมสนามหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร เปิดทุกวัน เวลา 05.30 - 19.30 น.

    “ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช” ตั้งอยู่ที่สนามหน้าเมือง ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามข้อมูลได้ที่ สนง. ททท. ภาคใต้ เขต 2 โทร. 0-753-46515-6

    “ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ตั้งอยู่ที่ถ.สละชีพ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. โทร. 0-3261-1491

    “เสาสะดือเมือง 108 หลัก” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุดอยทอง ถ.อาจอำนวย อ. เมือง จ. เชียงราย หลังศาลากลางจังหวัดเชียงราย เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามข้อมูลได้ที่ สนง.ททท. ภาคเหนือเขต 2 โทร. 0-5371-7433, 0-5374-4674-5



    ที่มา ผู้จัดการออนไลน์

    </td></tr></tbody></table>
     
  2. เชียงราย108

    เชียงราย108 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    “เสาสะดือเมือง 108 หลัก” หลักเมืองของคนล้านนา

    เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวล้านนาเรามาช้านาน ครับ
    ผมขอฝาก เว็บไซต์เชียงราย108 ด้วยครับ

    เว็บไซต์เชียงราย108 เป็นเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นจากกลุ่มคนรุ่นใหม่

    ที่สำนึกรักบ้านเกิด และเพื่อสืบสานรากวัฒนธรรม “ล้านนา”

    ให้คงอยู่สืบไป และเป็นแหล่งรวมสารสนเทศ ของจังหวัดเชียงราย

    ในยุคใหม่ ที่มีทั้ง Social Network และ

    social media ครบครัน ท่านสามารถร่วมเป็นส่วน

    หนึ่งของเราได้แล้ววันนี้ ที่

    เชียงราย108 | ร้อยแปดเรื่องราวชาวเชียงราย เว็บไซต์สำนึกรักบ้านเกิด และเพื่อสืบสานรากวัฒน
     
  3. เชียงราย108

    เชียงราย108 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ความโดดเด่นของเสาสะดือเมือง 108 หลักนี้ ชาวเชียงรายให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก นิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมือง และเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศที่เมื่อได้เดินทางมาเยือนจังหวัดชียงราย ก็มักที่จะต้องแวะไปดูความแปลกของเสาสะดือเมือง 108 หลักและกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...