[แจก] ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย sakara, 31 มกราคม 2011.

  1. sakara

    sakara Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +80
    สวัสดีครับ วันนี้ผมมาโพสกระทู้แจกเป็นครั้งแรก หลังจากที่อ่าน แล้วโพสตอบในนี้ไม่สักพักนึงแล้ว สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อจากนี้ เป็นสิ่งที่ผมรวบรวมมาจากการลองผิดลองถูก แล้วลองตีความเอาเองนะครับ ผู้ใดมีข้อคิดเห็น หรืออยากจะเพิ่มเติมอะไรลงไป ขอให้ตอบได้ตามสะดวกเลยครับ :d

    วันนี้ผมได้ลองไปเดินจงกรม แบบทางยาวๆ ดูบริเวณท้ายซอยด้านในหอ ใช้เวลาเดินราวๆ ครึ่งชั่วโมงได้ จากการเดินไป และเดินกลับ บรรยากาศโดยรวมถือว่าไม่ได้เงียบเท่าไหร่นัก มีรถวิ่งไปนานๆ คัน มีสุนัขเผ้าบ้านค่อนข้างมาก มีคนแวะเวียนผ่านไปมา

    แรกๆ ผมตั้งใจจะเดินแบบเดินจงกรม คือรวมสติไว้ที่ฝ่าเท้า แล้วเดินไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่ค่อยอำนวยนัก ถ้าเดินแบบนั้นอาจจะถูกรถชนเอาได้ จึงลองเดินแบบเจริญสติ รู้ตัวในอิริยาบทของร่างกายแทน ก็โดนเสียงสุนัขเห่าใส่เอา เพราะเดินใกล้บ้านมากไป ทำเอาจิตแทบหลุด ก็ลองไปอีกแบบนึง คือ กำหนดสติรับรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามาแทน เดินจนกลับมาถึงที่ห้อง ทำให้วันนี้ได้ลองรวบรวมสิ่งที่ได้มาเป็นดังนี้

    สติ มี 4 สภาวะ

    - สภาวะ นิ่งเฉย คือ สภาวะที่สติอยู่นิ่ง ไม่ได้ รู้ สิ่งใดเป็นพิเศษ มีความเฉยเป็นฐาน อาจเรียกได้ว่า สภาวะเตรียมพร้อม

    - สภาวะ รู้ ภายใน คือ สภาวะที่สติจับจ่ออยู่ที่ อารมณ์ และความนึกคิดภายในจิตใจเป็นหลัก อาทิเช่น ในขณะที่กำลังแก้โจทย์ปัญหา หรือทบทวนสิ่งต่างๆ หรือบุคคลที่จมอยู่ในความสุข หรือความเศร้าเป็นอารมณ์

    - สภาวะ รู้ ภายนอก คือ สภาวะที่สติจับจ่ออยู่ที่ ปัจจัยภายนอก ที่รับมาจากสัมผัสทั้ง 5 กล่าวคือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย อาทิเช่น ขณะกำลังเล่นจับผิดภาพ ขณะกำลังฟังดนตรี หรือขณะกำลังลิ้มรสอาหาร เป็นต้น โดยการเลือกรับสัมผัสนั้นขึ้นอยู่กับรูป ที่จิตใจกำลังจดจ่ออยู่ในขณะนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สัมผัสไหนบ้าง เช่น การดูภาพยนตร์ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ ทั้งตา และหู

    - สภาวะ รู้ ตน คือ สภาวะที่สติ จดจ่ออยู่ที่อิริยาบททางกายและใจ ในขณะนั้น มักปรากฏในบุคคลที่ปฏิบัติสมาธิ หรืออาจจะใช้ร่วมกับการรับรู้ภายนอก และภายใน เช่นในบุคคลที่กำลังเล่นเทนนิส (หรือกีฬาชนิดอื่นๆ) หรือผู้ที่กำลังฟังจับใจความ เป็นต้น

    ในวันหนึ่งๆ สติถูกเรียกใช้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากจิตใจเป็นของที่ไม่นิ่ง จำเป็นต้องจับอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดดัง 3 ข้อหลัง (ภายนอก ภายใน หรือตน) ไม่อยู่ในอารมณ์นิ่งเฉย การที่เป็นบุคคลเหม่อลอย มีความหมายถึงบุคคลนั้น ไม่มีสติอยู่กับเนื้อกับตัว (รู้ ตน และภายนอก) เอาแต่คิดอยู่ในใจ (ภายใน) และตัดขาดจากการรับรู้โลกภายนอก

    เมื่อครบ 18 ชั่วโมง สติถูกใช้จนถึงขีดจำกัด จิตใจอ่อนล้า การนอนหลับพักผ่อน ให้จิตใจตกอยู่ในภวังค์ นิ่งเฉยเป็นส่วนมาก ขยับเป็นส่วนน้อย พลังงานก็จะถูกเติมเต็มขึ้นมา ทำให้จิตใจแจ่มใสมากขึ้น เป็นเหตุผลของการนอนหลับนั่นเอง

    ดังนั้น ผู้ที่ฝึกฝนจิตใจให้นิ่งเฉยได้ จะใช้พลังงานน้อยกว่าผู้ที่จิตใจไม่อยู่นิ่ง สติโลดแล่นมากกว่าความจำเป็น ทำให้ต้องการพักผ่อนน้อยลง ดังเช่นที่พระภิกษุผู้ปฏิบัตเป็นหลัก มีความจำเป็นที่จะต้องนอนหลับพักผ่อนน้อยกว่าฆราวาศทั่วไปมากนัก บางรูปอาจจะจำวัดเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น

    เกี่ยวกับการฝึกฝนการครองสติแบบประหยัดพลังงานนั้น ผมลองออกแบบขึ้นมา โดยให้พยายามทำใจให้ว่าง อยู่ใน สภาวะรู้ แต่ไม่ให้สติยึดเกาะกับสิ่งใดนอกเสียจากสิ่งที่จำเป็น จึงควรกำหนดสิ่งเร้าภายนอก และอิริยาบทที่ควรนำสติเข้าเกาะในแต่ละวัน และคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีสิ่งใดที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น จึงนำสติเข้าเกาะสิ่งนั้น

    ตัวอย่าง ในการใช้ชีวิตประจำวัน อิริยาบทที่ควรมีสติคือ การจัดเตรียมของ การทำงานของตน สิ่งเร้าที่ควรเกาะเอาไว้คือ ภาพของสิ่งที่คาดว่าจะเป็นอันตราย เสียงของรถยนต์ที่เข้ามาทางด้านหลัง หรืออื่นๆ แล้วแต่จะเพิ่มเติม

    การฝึกฝนในแต่ละวัน จะทำให้สติรับรู้ถึงสิ่งที่ควรจะเข้าไปเกาะ และสิ่งใดควรจะปล่อยผ่านไปมากขึ้น ทำให้ใช้พลังงานน้อยลง และยามใดควรจะคิด ก็จงคิด ยามใดไม่ควรจะคิด ก็ปล่อยผ่าน

    จบแล้วครับกับบทความสรุป และสมมติฐานที่ผมได้มา ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...