เรื่องย่อ103ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 27 มกราคม 2013.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    สายๆ วันที่ 19 ม.ค. 2556 สื่อมวลชนรายงานว่า เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

    โดย...ภัทะ คำพิทักษ์

    สายๆ วันที่ 19 ม.ค. 2556 สื่อมวลชนรายงานว่า เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร อายุ 103 ปี ละสังขารด้วยโรคปอดติดเชื้อ หลังจากคณะศิษย์นำส่งไปรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลมุกดาหาร

    รุ่งขึ้น 20 ม.ค. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานพระราชพิธีน้ำสรงศพ และทรงรับสรีรสังขารหลวงปู่จามไว้ในพระราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน

    ผู้ที่สรุปย่อประวัติ 103 ปี เป็นเรื่องย่อได้ดีที่สุดน่าจะเป็นผู้ที่อุปฐากใกล้ชิดท่านมากที่สุด ท่านนั้นคือ พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม

    ปลายปี 2552 ครูบาแจ๋วท่านไปเป็นวิทยากรอบรมเยาวชนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โอกาสนั้นท่านได้ทำเอกสารสรุปประวัติหลวงปู่จามไปแจกด้วย ต่อมาได้นำมาตีพิมพ์รวมไว้ในหนังสือเรื่อง “พลิ้วไหวชายจีวร” มีความว่า

    เอกสาร 1; ปูชนีย์แห่งธรรม

    หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

    สังเขปประวัติ : หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ นับหนึ่งในอาจาริยาจารย์ที่ถือเคร่งในพระธรรมวินัย มั่นคงในพระปรมัตถ์วิปัสสนากรรมฐาน ดำเนินชีวิตในมรรคธรรมออกเที่ยววิเวกรุกขมูลแสวงหาความสงบนิ่งจนซาบซึ้งถึงรสพระธรรม นับได้ว่าเป็นผู้แตกฉานโดยมิได้พักสงสัย

    กำเนิด : เป็นคนตระกูลเผ่าผู้ไท สกุลผิวขำ ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ

    บิดาชื่อ กา (ภายหลังอายุ 60 ปี บวชเป็นพระได้ 6 พรรษา จึงได้มรณภาพ)

    มารดาชื่อ มะแง้ (ภายหลังบวชชีได้ 36 พรรษา จึงถึงแก่มรณกรรม)

    เกิดวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องร่วมอุทรทั้งหมด 9 คน

    บรรพชา : ครั้งที่ 1 ตั้งใจบวชติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    เมื่ออายุ 15 ปี ที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล พระมหารัฐ รฏฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม นำไปบวชก่อนหน้าที่นี้ 8 เดือนได้บวชเป็นตาปะขาว (ตาผ้าขาว) อยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่เสนาสนะบ้านหนองขอน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ในปีนี้ตกหน้าแล้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ ได้มอบสามเณรให้อยู่ในความดูแลของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ต่อมาไม่นานก็เคลื่อนย้ายหมู่คณะสงฆ์สามเณรไปตั้งกองทัพธรรมอยู่ จ.ขอนแก่น

    อายุ 19 ได้ลาสิกขาออกมาเพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกกระไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น

    ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 29 ปี ที่วัดป่าบ้านโคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พระอาจารย์โชติ กาญฺจโน เป็นบรรพชาจารย์ บวชเพื่อหนีอุปสรรค คือ บวชป้องกันมาตุคามหญิงสาวคนงาม อ.บ้านผือ ที่มารบเร้าขอร่วมชีวิตในขณะระหว่างเดินทางไปเพื่ออุปสมบท

    อุปสมบท : เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2482 เวลา 20.32 น. ณ พัทธสีมา วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี พระเทพกวี (จูม พนฺธโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคุณากิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ย้อนไปยุคสมัยที่เป็นเด็กน้อยฝึกหัดปฏิบัติรับใช้พระธุดงคกรรมฐาน อยู่วัดหนองน่อง มาจนสมัยเป็นตาผ้าขาว เป็นสามเณร เป็นพระภิกษุ หลวงปู่จามได้ศึกษาสังเกต เรียนรู้รับใช้ปรนนิบัติและศึกษาธรรมจาก

    พระปรมาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
    พระบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    พระเถระชั้นครู อาทิ

    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

    พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ

    พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม

    พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร

    พระอาจารย์ขาว อนาลโย

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ

    พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

    พระอาจารย์น้อย สุภโร

    พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม

    พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร

    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    พระอาจารย์ชา สุภทฺโท


    ตลอดจนศึกษากับพระสุปฏิปันโนสายเมืองเหนืออีกหลายรูปหลายองค์ อาทิ ครูบาไชยา, ครูบาคำแสน คุณาลงฺกาโร, ครูบาพรหมจักร, ครูบาอินทิจักร, ครูบาธรรมจักร, ครูบาทิ, ครูบาขาวปี เป็นต้น ทำให้หลวงปู่จามได้ซึมซับข้ออรรถ อุบายธรรม นิสัยโกศล มาโดยลำดับอย่างลึกซึ้ง

    วัดป่าวิเวกวัฒนาราม : เดิมอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน เป็นที่อยู่จำพรรษาของหมู่ใหญ่ของพระธุดงคกรรมฐาน ชื่อวัดหนองน่อง ก่อนปี 2464 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา

    ปี 2468 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา

    ปี 2471 พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา

    ปี 2478 พระอาจารย์บัญชี ได้ย้ายมาอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านห้วยทราย แล้วอยู่จำพรรษาพร้อมหมู่พระเณรกรรมฐาน

    ปี 2495 พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พร้อมด้วยหมู่คณะมาจำพรรษา จนลุขึ้นปี 2498 และได้ตั้งชื่อใหม่ จากวัดหนองน่อง เป็นวัดป่าวิเวกวัฒนาราม

    ปี 2499 พระอาจารย์สม โกกนุทฺโท พร้อมหมู่เณรจำพรรษา

    ปี 2500 อาจาย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร อยู่จำพรรษา

    ปี 2512 หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ มาอยู่ประจำพรรษา จนปัจจุบัน พ.ศ. 2552

    การพัฒนาวัด : หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ มีแนวคิดเน้นในธรรมชาติสิ่งต่อเติม ก่อสร้างกุฏิ ศาลาธรรมและพระเจดีย์ให้กลมกลืน เงียบสงบ ท้าทาย ร่มรื่น และอบอุ่น

    ชีวิตผลงานที่ทรงคุณค่า คุณความดีที่เป็นประวัติศาสตร์นับเป็นปฏิปทาที่เจริญตามแบบแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหมด ล้วนเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเชิดชูควรยึดไว้ ควรระลึก ควรแก่การนำไปประพฤติปฏิบัติตามยิ่งนัก ...

    แน่นอนว่า ระหว่างบรรทัดนั้นมีส่วนขยายออกไปได้อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นที่บอกว่า “ในปีนี้ตกหน้าแล้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ ได้มอบสามเณรให้อยู่ในความดูแลของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล” นั้นสามารถขยายออกไปได้ว่า ในเวลานั้นสามเณรที่อยู่กับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์ปิ่นนั้นมีหลายคน ผู้ที่มีอายุมากสุดคือ เณรสิม หรือเป็นที่รู้จักกันในนามหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ในกาลต่อมา ส่วนผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดคือ สามเณรจาม หรือหลวงปู่จามนั่นเอง

    แม้จะเป็นแค่สามเณรแต่วันหนึ่งในช่วงนั้นเองที่เณรจามออกไปบ่มบาตรกับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์ลี ธัมธโร และท่านอาจารย์มหาปิ่น

    ระหว่างพักที่ป่าช้าบ้านดอนส้มโฮ้ง จ.ยโสธร นั่นเองก็มีผู้มาเผาศพ 2 ศพ สามเณรจามเอาไม้เขี่ยฟืนที่ไหม้ไม่หมดเข้ากองไฟแล้วสุมไฟใส่อีก ท่านว่า ขณะพิจารณาอสุภกรรมฐานว่า ดินกลายเป็นดิน ก็ดูใจตัวเองไปในที่สุดนับแต่นั้นก็ไม่เคยกลัวผีอีกเลย

    ไม่กลัวเพราะรู้แล้วว่า ความกลัวเกิดจากการปรุงแต่ง เมื่อใจขาดธรรมเพราะไม่มีสติปัญญาเพียงพอ ใจจึงเป็นแต่ใจของสังขาร เมื่อมีธรรมย่อมเอาชนะกิเลสได้ เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วจึงไม่กลัวอีกต่อไป

    นอกจากนี้ การได้อยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์ในช่วงนั้นก็ยังทำให้ท่านได้รู้ที่มาและที่ไปของตัวเอง

    เหตุเกิดจากวันหนึ่งพระอาจารย์สิงห์บอกให้เณรสิมและเณรจามตั้งใจภาวนากำหนดจิตที่กุฏิใครกุฏิมันเพราะท่านจะตรวจพิจารณาดู พอถึงเวลา 05.00 น. ให้เณรทั้งสองพากันไปพบท่าน

    เณรทั้งสองภาวนาจนเข้าสู่เวลา 03.00 น. เศษ จึงออกจากที่ พอ 04.00 น. เณรจามก็ไปหาเณรสิมแล้วพากันจงกรมอยู่รอบกุฏิพระอาจารย์สิงห์ รอกระทั่งท่านเรียกแล้วจึงขึ้นไปอภิวาทท่าน

    แล้วพระอาจารย์สิงห์ก็กล่าวขึ้นว่า “เณรสิม เจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า บุญเก่าของเจ้าก็มากพออยู่ มากจนเป็นกุศลธรรมเป็นแรงกุศลส่งจิตใจของเจ้าได้ในชาติชีวิตนี้ ให้เจ้าตั้งใจของเจ้าให้ดีเด้อ”

    จากนั้นได้กล่าวกับสามเณรจามว่า “สามเณรจามขี้โรค ข้อยตรวจตราดูแล้วยืดยาว เกิดมาตายมามากเหลือเกิน เจ้าเคยเป็นพ่อค้าควาย มีหมู่ควายหลายล้านเต็มไปหมด อุปนิสัยของเจ้าของผู้เอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ ต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาว สุดแท้แต่บุญพาวาสนาส่ง แต่ข้อยเห็นว่า พวกเจ้าจุดเทียนเล่มใหญ่คนละเล่มอยู่กันคนละทางห่างไกลกัน ให้พวกเจ้าเฝ้าเบิ่งเน้อ...ต่อไปภายหน้าพวกเจ้าจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม ขอให้มีพระธรรม ขอให้มีพระวินัยเป็นหลักของจิตใจไว้ เพราะทางแห่งความสุขมีอยู่ทางเดียวเท่านี้

    ความเป็นไปของชีวิตหลวงปู่จามเป็นไปตามที่พระอาจารย์สิงห์ระบุอย่างแม่นยำ

    ท่านกลายเป็น “เณรจามขี้โรค” ขนาดต้องสึกหาลาเพศไปรักษาตัวอยู่ถึง 3 ปี ถึงกลับมาบวชใหม่ แต่ความอื่นนั้นสำคัญนัก โดยเฉพาะที่ว่า “อุปนิสัยของเจ้าของผู้เอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ ต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาว”

    ความนี้หากเป็นคนทั่วไปที่ไม่ใคร่รู้เรื่องศาสนานักอาจไม่เข้าใจว่า การเป็นเอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ และต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาวนั้นหมายความว่ากระไร

    ครูบาแจ๋วท่านระบุให้ชัดๆ ว่า “ภายหลังหลวงปู่จามจึงเข้าใจว่า ตัวท่านเองบำเพ็ญเป็น “นิตยโพธิสัตว์” ได้รับพุทธยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเพื่อโปรดสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง”

    วิกิพีเดียให้ความหมายแบบเข้าใจง่ายๆ ของคำว่า พระโพธิสัตว์ ว่าหมายถึง บุคคลที่บำเพ็ญบารมีหรือกระทำความดีต่างๆ เพื่อให้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

    แล้ว นิตยโพธิสัตว์ มีความหมายอย่างไร?

    พระพุทธโฆสะ ได้แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท คือ

    1.อนิตยโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน

    เมื่อยังไม่ได้รับพยากรณ์ก็ยังไม่แน่นอนว่า กาลต่อไปจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอนิตยโพธิสัตว์ท่านอาจจะเลิกล้มความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไรก็ได้

    2.นิตยโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว

    นั่นหมายความว่า ที่หมายของผู้สั่งสมบารมี‌เพื่อเป็นนิตยโพธิสัตว์นั้นมีอยู่แห่งเดียวคือ เป็น‌พระพุทธเจ้า แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ ‌ถึงจะปฏิบัติอย่างไรก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ แต่ในมุมกลับถึงจะปฏิบัติอย่างยิ่งยวดแล้วไม่ประสบผล ‌เลยทุกข์ท้อแต่ถึงจะทุกข์เพียงไรก็มิอาจเลิก‌ความตั้งใจมั่นที่จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้

    “ในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่ง‌กระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกัน‌ต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์”(วิกิพีเดีย)

    ไม่แจ้งว่า ตอนที่พระอาจารย์สิงห์บอก‌แผนที่ชีวิตนั้นเณรจามเข้าใจมากน้อยเพียงใด ‌แต่ท่านมารู้เอาแจ่มแจ้งด้วยตัวเองราวช่วง‌สงครามโลกครั้งที่ 2

    ขณะนั้นท่านออกธุดงค์ไปอยู่แถบ ‌จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 6 ปี อยู่กับหลวงปู่สิม ‌ที่วัดโรงธรรม อ.สันกำแพง 2 พรรษา แล้ว‌หลบระเบิดออกไปภาวนาแถบ อ.จอมทอง อยู่‌พักหนึ่ง

    ท่านเล่าว่า เวลานั้นภาวนาคราใดก็มักจะ‌นิมิตเห็นพระพุทธรูปจำนวนมาก และได้รู้เห็น‌ชาติภพการเวียนว่ายตายเกิดของตัวเองจนนับ‌ไม่ถ้วน แต่ถึงจะภาวนาจนได้ความสงบขั้น‌อัปปนาสมาธิหลายครั้งแต่มันก็เสื่อมลงอย่าง‌ไม่น่าเชื่อ พอเสื่อมลงท่านก็พลิกหากลวิธีทร‌มานจิตจนคาดว่า หากเริ่มภาวนาใหม่มันน่า‌จะสงบ แต่กลับปรากฏว่าจิตมันร้อนรนราวกับ‌กิเลสไม่ได้เบาบางลงเลย

    พอถึงที่สุดแล้วท่านได้น้อมเอาประสบ‌การณ์ความยากลำบากของหลวงปู่มั่นมาเป็น‌อุทาหรณ์สอนใจ จนเกิดพลังตั้งใจมั่นถือสัตย์‌จะอธิษฐานว่า“จิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่ว่า ‌จะเกิดหรือไม่เกิดอะไรก็ไม่ว่า เราไม่หวังอะไร‌อีกแล้ว ต่อไปนี้จะเอาเฉพาะพุทโธ ให้แนบ‌แน่นกับลมหายใจที่ตรงหัวใจของเรา จะไม่‌ยอมให้หนีไปไหน”

    จากนั้นความสงบจึงกลับคืนมา จน‌สามารถรวมลงเป็นสมาธิได้ใหม่ แต่นิมิตเดิมก็‌กลับมาอีก

    ในนิมิตนั้นท่านเห็นภาพเจดีย์ปรักหักพัง ‌เห็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ต้นโพธิ์ ต้นจิก เห็นการ‌เวียนว่ายตายเกิดของตัวเอง เห็นที่มาที่ไปของ‌สัตวโลกที่เวียนว่ายในภูมิต่างๆ เมื่อพิจารณา‌ถึงความรู้แจ้งที่ปรากฏชัดระหว่างทำความ‌เพียรเพื่อละอาสาวะก็พบว่า การจะบรรลุพระ‌อรหันต์ในชาตินี้คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว แต่นั่น‌ก็ทำให้ระลึกได้ว่า ในอดีตชาติ ท่านเคยตั้งใจ‌มั่นว่าจะดำเนินไปตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ ‌ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ สำเร็จ‌มรรคผลเป็นพระพุทธเจ้า

    ตามประวัติระบุว่า เมื่อออกจากสมาธิ ‌กราบพระพุทธรูปเบื้องหน้าแล้วตั้งจิตอธิษ­…ฐานว่า“ถ้าได้เคยปรารถนาพระโพธิญาณที่‌บำเพ็ญมาเพื่อการเป็นพระพุทธเจ้าในภาย‌ภาคหน้าแล้วก็ขอให้จิตสงบเยือกเย็น ขอให้‌ภาพนิมิตเหล่านั้นหายไปและให้เกิดความรู้‌แจ้งเห็นชัดเป็นที่ประจักษ์เถิด

    คืนต่อมาเมื่อเข้าที่ภาวนาปรากฏว่า จิต‌สงบรวดเร็ว รวมลงเป็นอัปปมาสมาธิ เกิด‌ญาณทัศนะต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ‌และเกิดความแจ่มแจ้งขึ้นว่า ในอดีตชาตินั้น‌ท่านได้เคยตั้งอธิษฐานตั้งความปรารถนาเป็น‌พระพุทธเจ้ามาแล้วในอดีตชาติ

    หลังกลับจากภาคเหนือมาอีสาน จึงได้พบ‌พานกับพระอาจารย์มั่นอีกครั้ง พระอาจารย์‌มั่นได้ให้โอวาทธรรมแก่ท่านว่า

    ให้ตั้งใจเจริญพระพุทธคุณตามรอยบาท‌ของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ ‌เจริญพุทธานุสติด้วยการประพฤติ เพื่อความ‌หนักแน่นในธรรมผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจ‌เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงพระธรรมวินัยอยู่ได้

    อัตต ทันตัง ฝึกตนด้วยดี หนาแน่นด้วย‌พุทธคุณทั้งหลาย

    สมาหิตัง มีใจมั่นคง หนักแน่นสมเป็นบรมครู

    เทวปินัง นมสะสามิ เทพเทวาทั้งหลายก็‌นอบน้อม

    พรหมมุนาปิ ปสังสิโต แม้พรหมก็‌สรรเสริญ ชาวโลกก็นิรมล

    อรหันตสัมมาสัมพุทโธ แม้พระพุทธเจ้าก็‌ทรงเป็นเอง ทรงตกแต่งมาด้วยตนเอง รักษา‌ด้วยตนเอง เป็นผู้ประมาณมาด้วยธรรมโดย‌ตลอด

    จิตของท่านผู้เข้าสู่นิพพานได้นั้น ท่านก็‌กำหนดรู้จิตใจของท่านเช่นกัน แต่ให้รู้เฉพาะ‌การบุญ การบาป การทุกข์ การโทษ สาร‌ธรรมและอสารธรรม

    รู้ด้วยการวางในการทาน การศีล การ‌สมาธิ การปัญญา การวิมุตติ

    รู้ด้วยการวางใจในสัตว์ ในบุคคล ในตัว‌ตน ในเรา ในเขา ในเทพเทวา ในหมู่พรหม ‌ในหมู่นรก เปรตผี กำหนดรู้จนได้หมายเป็น‌ว่ารู้ แต่ไม่ถือรู้ ไม่ถือจิต ไม่ถือใจ วางใจคืน‌แก่อนัตตาธรรม วางคืนแก่โลก เพิกตนออก ‌แต่เป็นธรรม วางใจได้ดุจแผ่นดิน เหมือน‌แผ่นดิน วางต่อการรองรับสรรพสิ่ง แม้ภพมิวิภพ ก็วางคืนแก่ภพและวิภพ เป็นเช่นนั้น‌จึงเป็นผู้เข้าสู่นิพพานได้


    เทศน์เสร็จท่านยังถามและกำชับด้วยว่า ‌“ท่านจามเข้าใจไหม จำไว้ให้ดีเน้อ”

    พระจามรับคำว่า“ครับ”จากนั้นหลวงปู่‌จามก็ดำเนินมาตามวิถีเช่นว่า จนล่วงมาจนอายุ‌กาลถึง 103 ปี ความเป็นอยู่ในชาตินี้จึงร่วงไป

    3 ปีก่อนตอนทำบุญฉลองอายุ 100 ปี ท่าน‌พูดไว้ว่า ตายก็ไม่คิด ชีวิตผ่านมาหมดแล้ว มา‌ถึงวันใดก็พร้อมไปหากเป็นข้าวเปลือกอยู่ตก‌หล่นในภพไหนก็งอกหาทุกข์ หากเป็นข้าวสาร‌แล้วเช่นนี้มันหมดความตื่นเต้นใดๆ ในโลก

    นี่คือเรื่องราวโดยย่อ 103 ปีของหลวงปู่‌จามในชาตินี้

    เรื่องย่อ103ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวธรรมะ-จิตใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1111.JPG
      1111.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.3 KB
      เปิดดู:
      348
  2. chakapong

    chakapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    497
    ค่าพลัง:
    +1,305
    น้อมกราบหลวงปู่จามด้วยเศียรเกล้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...