เรื่องเด่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับกรรมฐานไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 24 ตุลาคม 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ?temp_hash=f620e48ae2f7a34d1a665e1553b63a20.jpg
    สัปดาห์ออกพรรษา ๒๕๖๔
    ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔
    วันที่ ๖ ภาคค่ำ

    ธรรมกระจ่าง


    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับกรรมฐานไหน

    อาจารย์ไชย ณ พล

    ถาม :
    กรรมฐานมีทั้งหมด ๔๐ กอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนเหมาะกับเราที่สุดครับ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงที่ว่าลองหลาย ๆ แบบ แต่ก็ไม่รู้ว่าอย่างไหนที่เรียกว่าเหมาะที่สุด เพราะแต่ละคนก็เข้าใจว่าน่าจะไม่เหมือนกัน




    อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :
    กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าสอนจริงมีหลายร้อยกว่าวิธี แต่ ๔๐ วิธีนั้นเป็น ๔๐ วิธีอย่างง่ายเหมือนออเดิร์ฟ ยังมีวิธีหลักและวิธีพิเศษอีกมาก วิโมกข์ก็เป็นกรรมฐานพิเศษที่เราฝึกกัน วิธีพวกนี้จะรวมสมถะ วิปัสสนา วิราคะไปด้วยกัน และยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย เดี๋ยวเราจะค่อย ๆ ฝึกกันไปที่มูลนิธิ หากไม่รีบตาย จะฝึกกันให้ครบ

    คราวนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับอะไร ความจริงแล้ว กรรมฐานทุกกองเหมาะกับทุกคน แต่เหมาะในแต่ละภาวะชีวิตและภาวะจิต ในบางภาวะอานาปานสติเหมาะ ในบางภาวะกสิณเหมาะ ในบางภาวะต้องอสุภะ ในบางภาวะต้องมหาสติปัฏฐาน เหมาะหมดเลย แต่เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอารมณ์จริตที่โดดเด่นในช่วงนั้น มันเหมือนบางช่วงเราควรจะทานเกลือแร่บ้าง บางช่วงเราควรจะทานโปรตีนบ้าง บางช่วงก็อย่าลืมคาร์โบไฮเดรต บางช่วงก็ต้องเป็นผักผลไม้ ในที่สุดมันต้องการหมดเลย และแนะนำให้ปฏิบัติทุกอย่าง แต่ในช่วงชีวิตหนึ่ง ๆ เมื่ออะไรที่ fit in กับภาวะชีวิตช่วงนั้น ก็ให้เอาวิธีนั้นเป็นหลักก่อน

    รู้ได้อย่างไร
    1) ลองทำดู
    2) ใช้พุทธวิธีจำแนกกรรมฐานก็ได้

    ช่วงใดพุทธจริตขึ้น รู้ชัด ก็จตุธาตุววัฏฐาน พิจารณาธาตุให้แตกฉาน อุปสมานุสสติน้อมเข้าสู่พระนิพพานเนือง ๆ

    ช่วงใดราคะกำเริบ ก็ต้องรีบพิจารณาอสุภะ

    ช่วงใดโทสะแผลงฤทธิ์ ก็ต้องเมตตามหาศาล

    ช่วงใดศรัทธาฉ่ำ ก็เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ จาคานุสสติ ก็ก้าวหน้าเลย

    ช่วงใดเบลอ ๆ โมหะครอบงำ ง่วงบ่อย ก็อานาปานสติ ตั้งหลักกับลมหายใจก่อน

    ช่วงใดวิตกฟุ้งซ่าน ก็อานาปานสติเช่นกัน ตั้งหลักกับลมหายใจก่อน

    จะเห็นได้ว่าชีวิตจริงเรามีทุกรส จึงต้องเจริญทุกกรรมฐานให้ชำนาญ

    ปฏิบัติกรรมฐานอย่างเดียวเหมือนกินอาหารจานเดียวทุกมื้อ ปฏิบัติกรรมฐานหลากหลายเหมือนกินอาหารเหลา บำรุงทุกอวัยวะ เป็นยาธรรมชาติป้องกันทุกโรค

    คนอัตคัดความเข้าใจก็กินอาหารจานเดียว คนร่ำรวยความเข้าใจก็กินอาหารเหลา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...