เฉลยคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับงานหลอมพระแก้ว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 6 มิถุนายน 2021.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เมื่อวานวันเสาร์ที่ 5 มิ.ย. 2564 หลานแจงได้โทรมาปรึกษาว่า แฟนของเธอจบการศึกษาแล้ว ขณะนี้ทำอาชีพเกี่ยวกับงานทองเหลืองหล่อ และต่อไปในอนาคตต้องการเป็นดีไซน์เนอร์ชิ้นงานแก้ว

    ผมจึงมาคิดถึงเยาวชนไทยรุ่นต่อๆไปว่า หากผมเฉลยคำตอบที่ถูกต้องสำหรับงานหลอมพระแก้วทุกชนิดทุกขนาดเอาไว้ เยาวชนรุ่นหลังที่สนใจและมาค้นพบคำตอบที่ถูกต้อง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้พบกับความสำเร็จเร็วและต่อยอดไปได้

    ทั้งนี้ผมจะขออนุญาตสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง ในเรื่องการสร้างพระแก้วด้วยวิธีการหลอมในเตาที่มาปรากฏเป็นภาพอยู่ในใจผมมานานแล้ว นั่นคือภาพการหลอมพระแก้วที่มีผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐมาร่วมในขณะหลอมทั้งจากภพที่มองเห็นและภพที่มองไม่เห็นครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในกระทู้นี้เป็นการเฉลยคำตอบที่ถูกต้องที่สุดของวิชาแก้วหล่อที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Lost Wax Glass ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Pate de Verre และในภาษาจีนเรียกว่า Liuli

    อย่างไรก็ดีในวิชานี้มีอีกหลายเทคนิคมาก โดยในกระทู้นี้เน้นเฉพาะการขึ้นรูปพระแก้วในเตาหลอม/อบในเตาเดียวกัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Kiln Casting Glass หรือ Kiln Formed Glass

    หากผมเขียนพลาดไป หรือมักกล่าวเรียกเป็น Lost Wax Glass ก็ขออภัยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2021
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขอสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวก่อนเลย เพราะจากตรงนี้ ในกระทู้นี้ ผมจะได้กล่าวถึงสิ่งอื่นๆครับ

    ภาพที่มาปรากฏในจิตใจของผมนานมาแล้ว และยังปรากฏอยู่แม้ผมลืมตาอยู่ขณะนี้ก็คือ ภาพที่มีเทพเทวดาและผู้คนที่มีคุณธรรมอันประเสริฐหรือผู้ทรงศีลมาร่วมในขณะที่มีการหลอมพระแก้ว นี่คือภาพที่ปรากฏอยู่ในจิตในใจมานานมากแล้ว และยังปรากฏอยู่แม้ผมลืมตาเขียนกระทู้อยู่นี้

    ผมแค่กล่าวไว้ในกระทู้นี้เฉยๆครับ
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำถามที่ว่า : ควรใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากค่ายไหน ?

    เฉลย : ในปี พ.ศ. 2564 นี้ ควรใช้ค่ายของอเมริกา ยุโรป หรือนิวซีแลนด์ครับ

    หมายเหตุ
    ค่ายจีน หรือ ไต้หวัน หรือค่ายเกิดใหม่ที่ผลงานยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ยังต้องการพิสูจน์ต่อไป ถ้าผลการพิสูจน์ออกมาดีก็อาจใช้ได้นะครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำถามที่ว่า : เตาในการหลอมและอบในเตาเดียวกัน ควรใช้เตาแบบไหน พลังงานแบบไหน และรายละเอียดอื่นๆ

    เฉลย : เตาอบและหลอม หรือจะเรียกว่าหลอมและอบในเตาเดียวกันนี้ ควรใช้เตาที่มีฝาเตาเปิด-ปิดได้มั่นคง เตาที่ไม่ควรใช้คือเตาราคุ หรือเตาที่ไม่มั่นคง รวมทั้งเตาที่ใช้พลังงานอื่นๆทั้งหมด

    พลังงานที่ควรใช้คือไฟฟ้า ทั้งนี้ผมเองเคยเป็นช่างในสมัยที่เตาเหล่านี้ใช้น้ำมัน อาจารย์ผมบางท่านก็เคยอยู่ในยุคใช้ฟืน แต่โลกเราหมุนไปถึงขนาดนี้แล้ว ผมคิดเองนะครับว่า แม้แต่แก๊สก็ยังยุ่งยากเกินไป แต่หากจำเป็นต้องใช้แก๊ส ก็อาจอนุโลมได้ครับ

    ส่วนรายละเอียดอื่นๆก็ไม่มีอะไรมากครับ รายละเอียดที่ควรคำนึงถึงคือ ฝาเล็กสำหรับการเปิด-ปิดเพื่อส่องวัดอุณหภูมิด้วยปืนวัดอุณหภูมิครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำถามที่ว่า : พระแก้วควรเป็นเนื้อตันหรือเนื้อกลวงกันแน่

    เฉลย : สำหรับผม ถ้าเป็นขนาดหน้าตักไม่เกิน 12 นิ้ว การสร้างเนื้อตันยังหลอมได้ไม่ยากนัก ส่วนการอบนั้น บางปาง บางขนาดอาจต้องใช้เวลาการอบลดอุณหภูมินานถึงสิบกว่าวันก็เป็นไปได้ แต่เวลาสิบกว่าวันก็ยังพอรอกันได้ ไม่นานเกินไป

    คราวนี้ถ้าขนาดหน้าตักประมาณ 19 นิ้ว แล้วเป็นเนื้อตัน อาจต้องอบกันนานเป็นเดือนหรือหลายเดือน ถ้าเป็นเนื้อกลวง ที่มีการวางแผนการสร้างที่ดีที่ถูกต้องล่วงหน้า เวลาในการอบอาจเหลือแค่ 4 - 6 ชั่วโมงก็ได้ ตรงนี้ส่วนตัวผมเชียร์ให้ทำเนื้อกลวง เพราะเมื่อเราทำสีผิวแก้วให้เป็นสีฝ้าแล้ว ก็จะใกล้เคียงกันกับเนื้อตันๆครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำถามที่ว่า : อุณหภูมิที่ใช้ในการหลอมและอบที่ถูกต้องคือเท่าไร ?

    เฉลย : ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อนั้นมีหลายหลากชนิด มีส่วนผสมที่สำคัญต่างๆกัน ในอดีตโบราณนับพันๆปีก่อนนั้น ส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นทรายแก้วซึ่งมีจุดหลอมเหลว Melting Point ประมาณ 2,000C และมีจุดต่างๆ เช่น Working Point และ Annealing สูงกว่าปัจจุบัน ต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น ได้มีการพัฒนาสูตรส่วนผสมทำให้จุดหลอมเหลวและจุดอบลดอุณหภูมิลดลง การพัฒนานี้ใช้เวลาหลายๆร้อยปี หรืออาจนับพันปีในโลกโบราณ ต่อมาโลกเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์และการพัฒนาเข้าสู่ยุคก้าวกระโดด จนกระทั่งปัจจุบัน จุดหลอมเหลวของบางยี่ห้ออาจอยู่ที่ 7XXC และจุดอบลดอุณหภูมิอาจเหลือจุดเริ่มต้นที่ 4XXC ช่วงเวลาก็ลดสั้นลงด้วย

    คาดว่าในอีกไม่กี่ปีนี้ บางบริษัทอาจพัฒนาจุดหลอมเหลวเหลือแค่ 4XX หรือ 5XXC จุดเริ่มของ Annealing อาจเริ่มที่ 2XXC และเวลาการอบอาจลดลงจนเหลือแค่นับชั่วโมงได้เลย

    อย่างไรก็ดี เราไม่ต้องรอถึงเวลานั้น เพราะเวลานี้ก็เรียกว่าพัฒนาเข้ามาถึงจุดที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่งแล้ว ตรงกันข้ามกับการรอให้เขาพัฒนา หากเราพัฒนาวิธีการคิด ให้พระแก้วหล่อกลวงไม่ต้องหนามากในองค์ขนาดใหญ่ ช่วงเวลาการอบแค่ไม่กี่ชั่วโมง น้อยกว่าทองเหลืองเสียอีก
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เฉลย : ต้องถามผู้ขายก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อแต่ละยี่ห้อ อาจไม่เท่ากัน อุณหภูมิในการหลอมเหลว และอุณหภูมิเริ่มต้นของ Annealing Process อาจต่างกัน ในแต่ละยี่ห้อ และในแต่ละสี แต่ละชนิดของแก้ว

    ดังนั้นคำตอบคือต้องถามผู้ขายและทำการทดลองก้อนที่ซื้อมาเป็นตัวอย่าง หากการทดลองหลอมและอบไม่ตรงกับคำตอบก็แปลว่า ผู้ขายนั้นไม่ได้บอกความจริง อาจเป็นแค่นายหน้าการซื้อขายเท่านั้น
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำถามที่ว่า : ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนในปี พ.ศ. 2564 นี้คุณภาพดีถึงที่สุดแล้วหรือยัง ?

    เฉลย : คำตอบนี้ต้องขึ้นอยู่กับท่านอยู่ในระดับไหน ? หากมือสมัครเล่นผมแนะนำว่า "อย่าเพิ่งใช้ของจีน" หากเป็นมืออาชีพระยะต้นๆก็เช่นกัน "อย่าเพิ่งใช้ของจีน" แต่ถ้าหากท่านเป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์การหลอมมานานปี และรู้วิธีแก้ไข ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำถามที่ว่า : ถ้าว่าก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อของจีนยังใช้ไม่ได้ ทำไมจึงมีการหล่อพระแก้วขนาดใหญ่กว่าคนโดยที่เนื้อแก้วใส แทบหาฟองอากาศไม่ได้เลย และราคาแต่ละองค์ก็สูงหลายๆสิบล้านหรือนับร้อยล้านบาท หากแก้วไม่ดีคงไม่มีคนสั่งสร้าง

    เฉลย : นั่นเพราะผู้สร้างเป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูง และอาจไม่ได้ใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ แต่อาจเป็นการหลอมแก้วของเขาเอง ซึ่งโรงงานแก้วในจีนสามารถหล่อแก้วได้ถึงขั้นนั้นแล้ว หากแต่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อของจีนในยุคนี้ ยังอยู่ในยุคที่ต้องทำราคาต่ำเกินจริง จึงอาจยังไม่สามารถถึงจุดนั้นได้ อย่างไรก็ดี เทคนิคการหลอมบางเทคนิคก็อาจช่วยได้
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    020.jpg
    ยกตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อของจีน รูปหล่อลอยองค์ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว หลวงปู่ทิมวัดละหารไร่ ระยอง ลูกน้องช่างแก้วชาวพม่า เขาได้หล่อก่อนที่จะเกษียณและฝากฝีมือไว้เป็นเกียรติแก่ชาวระยอง เพราะเขาเคยทำงานอยู่โรงงานแก้วโลตัสคริสตัล ระยองนานสิบกว่าปี

    ชิ้นงานทั้งหมด 8 องค์สำเร็จ แตก 2 องค์ และผมได้ตรวจเนื้อแก้วแล้วทั้ง 8 องค์ พบว่า ใช้ได้ดีในระดับหนึ่งทีเดียว แต่เขาได้ใช้เทคนิคส่วนตัวของเขาที่เขาบอกผมไว้ แต่ถึงกระนั้นก็จะยึดถือเทคนิคนี้เป็นมาตราฐานไม่ได้ครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    023.jpg
    ด้านหลังของชิ้นงานก็ดี ด้านหน้าก็ดี แม้แต่เนื้อแก้วข้างในก็ดี ไม่มีฟองอากาศเลยครับ ดังนั้นที่ผมเฉลยว่า "อย่าเพิ่งใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อของจีน" นั้น ถ้าประสบการณ์ของท่านสูงพอ ก็ใช้ได้ ชิ้นงานออกมาก็ดีครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    a04.png a05.jpg a13.png
    เจ้าของงานยืนไหว้หน้าเตาครับ

    งานหล่อชิ้นงานแก้ว ภายในเตามีชิ้นใหญ่อยู่สองชิ้น และหลวงปู่ทิม 10 องค์ หล่อในเตาเดียวกัน ทุกอย่างใช้วัสดุเหมือนกัน หล่อพร้อมกัน แต่หลวงปู่ทิมรอดครับ องค์ใหญ่ไม่รอดเพราะสาเหตุบางประการที่ผมรับปากลูกน้องช่างแก้วชาวพม่าคนนี้แล้ว จะไม่เปิดเผยในที่สาธารณะครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    1525778011250.jpg
    หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ทิมหน้าตัก 5 นิ้ว 10 องค์
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    2018-05-08-18-25-28zoom1.png
    เพื่อเป็นวิทยาทาน ผมเปิดเผยภาพบางภาพที่ลูกน้องช่างแก้วพม่าส่งมาให้ผมดูหลังเสร็จงาน องค์พระยืนสูง 60 cm. ไม่สำเร็จ เป็นรูขนาดใหญ่ที่เนื้อแก้ว รูนี้นิ้วโป้งเข้าได้สบายๆ

    และอีกองค์ก็เช่นกัน เกิดรูขนาดใกล้เคียงกัน และเกิดบริเวณใกล้เคียงกันทั้งสององค์
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ภาพล่างนี้ผมเองครับ ชัดๆจะได้ไม่ผิดตัว
    z17.jpg
    ซ้ายมือคือลูกน้องช่างแก้วชาวพม่า ขวาเป็นลูกน้องเขาในแผนกซึ่งยุบเลิกแผนกไปแล้ว
    z01.jpg
    นำมาให้ผมตรวจที่บ้านผมในกรุงเทพฯเมื่อประมาณปี 2018 หรือ 2019 ปลายปี หลังจากงานหล่อผ่านไป
    z03.jpg
    องค์ยืนสูง 60 cm. ในการหล่อเตาเดียวกัน
    z15.jpg
    นอกจากใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อของจีน ยังใช้ปูนปลาสเตอร์ทนไฟของจีน
    z13.jpg
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    พระแก้วขนาดประมาณเท่าคนจริง หล่อจากแก้วของจีน แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นการหล่อจากก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อของจีนหรือไม่ ? เนื้อแก้วใสเกือบไม่มีฟอง ราคาองค์ละหลายสิบหรือนับร้อยล้านบาท หล่อมาถึงปัจจุบันหลายสิบองค์ไปแล้วครับ หรืออาจเกินร้อยสองร้อยองค์ไปแล้วก็ได้
    Screenshot_25631006_201106.jpg
    ในภาพนี้เป็นแก้วเนื้อตันๆนะครับ หากใช้แก้วกลวงโดยมีสีผิวแก้วเป็นสีฝ้าดังในภาพนี้ จะใช้เวลาในการอบลดอุณหภูมิเพียงไม่กี่ชั่วโมง (ขึ้นกับความหนาบางและสูตรแก้ว)

    0002.jpg
    ในการหลอมองค์ใหญ่ขนาดเท่าคนจริง มีการแตก ร้าว ชำรุดเป็นเรื่องปกติ องค์นี้น่าจะเป็นการแตกครั้งที่ 3 หรือ 4

    แต่ถ้าเป็นองค์กลวง แทบจะไม่มีการแตกเลย
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    และด้วยจำนวนเตาหลอม/อบพระแก้วขนาดใหญ่กว่าคนจริงของโรงงานนี้โรงงานเดียวก็มีมากกว่า 12 เตาอบ กำลังการผลิตจึงค่อนข้างเร็ว เพราะเตาอบของเขามีขนาดใหญ่จุได้ 2 - 3 องค์ต่อเตา
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่
     

แชร์หน้านี้

Loading...