อธิบาย เรื่อง "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 14 มีนาคม 2012.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    มูลเหตุเกิดจากการเสวนากันถึงเรื่อง "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ต่างก็มีความคิดเห็นกันไปต่างๆนานา ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทย เพื่อท่านที่สนใจได้ทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า
    "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย" ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปมีความมุ่งหมายที่ต้องการจะให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มจะปฏิบัติธรรม หรือเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ได้ปฏิบัติเพื่อสามารถที่จะขจัดอาสวะได้ อาจจะสามารถขจัดอาสวะได้ในระดับหนึ่ง จนไปถึง อาจบรรลุถึงชั้นโสดาบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ(สองคำนี้ไม่ฝึกทำความเข้าใจว่าอะไรหรือปัจจัย อะไรคือเหตุ จะได้รู้แจ้ง) ของตัวบุคคลนั้นๆ
    การปฏิบัติธรรมที่แสดงเป็นพฤติกรรมภายนอกต่อสังคมนั้น เช่นการ ทาน การบริจาค หรือพฤติกรรมอื่นๆในทางที่เป็นกุศล แม้จะเป็นการปฏิบัติธรรม แต่ก็เป็นเพียงผลทึ่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดอาสวะ นั่นก็หมายความว่า "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "วิปัสสนา กรรมฐาน"รูปแบบหนึ่ง
    การปฏิบัติธรรมแบบ วิปัสสนา กัมมัฎฐาน นั้น ผู้ปฏิบัติ จะต้องมี ๑. สมาธิ ๒.สติ ๓.สัทธา(ศรัทธา) ๔.วิริยะ ๕. ปัญญา นั่นก็หมายความว่า บุคคลที่จะปฏิบัติ วิปัสสนา จักต้อง มีการปฏิบัติ สมาธิ หรือ ฝึก "สมถะ กัมมัฎฐาน"มาตามกำลังอยู่บ้างแล้ว เมื่อฝึก สมาธิ มาดีพอใช้ได้แล้ว สติ คือ ความระลึกได้ หรือความนึกได้ ฯ พร้อมสัมปชัญญะก็ย่อมเกิดมีเพิ่มพูนขึ้นกว่าปกติอันเป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว
    เมื่อบุคคล มี สมาธิ มี สติ พร้อมมูล ความ สัทธา คือ ความเชื่อ ฯ อันเกิดเนื่องจาก การได้เรียนรู้ จดจำ ได้ยินได้ฟัง ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งจักเป็นตัวนำหรือเป็นแรงจูงใจให้เกิด วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียร ในอันที่จะ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือ ปัญญา เมื่อบุคคลนั้นๆ ได้ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือปัญญา อันจำต้องใช้สมาธิ สติ สัทธา และวิริยะ ก็จักเกิด ปัญญาเพิ่มพูนขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น รอบรู้มากขึ้น รู้แจ้งมากขึ้น
    ความรู้ ซึ่งแท้จริง ก็คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายเมื่อได้อ่าน ได้เล่าเรียน ได้ศึกษา เป็นปัญญาชั้นพื้นฐาน ตามตำรา หรือเป็นปัญญาแรกสุดที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลาย ต่อเมื่อท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณา ได้ทำความเข้าใจจนเกิดความเข้าใจในความรู้หรือปัญญาชั้นพื้นฐานทั้งหลายได้กว้างขวาง แตกฉาน แยกแยะรายละเอียด จนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นั่นแสดงว่า ปัญญา ได้เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายอีกระดับหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของแต่ละบุคคล
    ในเมื่อข้าพเจ้าเขียนหัวข้อเอาไว้ว่า "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ข้าพเจ้าก็ต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความง่ายกว่าการปฏิบัติแบบปกติ ทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ข้าพเจ้าจึงได้อรรถาธิบาย เอาไว้ว่า
    เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
    การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
    ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
    และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
    พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
    ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
    การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
    ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
    เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
    การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
    กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
    อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
    อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

    กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
    และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
    เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
    ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

    ถึงอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมแบบง่าย ก็ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติ ตามหลัก กัมมัฎฐาน ๔๐ กอง ซึ่ง ก็ถือว่าไม่ยากนักสำหรับผู้ที่มีเวลา หรือรู้จักแบ่งเวลา
    แต่ถ้าหากเวลามีไม่มาก หรือมีเวลาไม่พอ หรือไม่รู้จักแบ่งเวลา ก็ใช้หลัก ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก เป็นหลักการในการปฏิบัติธรรม แบบง่าย ก็ย่อมได้ คือ คิดพิจารณาไม่มากนัก สั้นๆก็สามารถขจัดอาสวะได้เช่นกัน แต่จะขจัดอาสวะได้ในระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของบุคคลนั้นๆ

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
    ผู้เขียน
     

แชร์หน้านี้

Loading...