หัดทำสมาธิ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ComeFromSaturn, 18 กันยายน 2007.

  1. ComeFromSaturn

    ComeFromSaturn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2007
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +330
    สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ ตอนนี้กำลังพยายามฝึกสมาธิอยู่ค่ะ แต่ไม่รู้ว่าที่ทำนั้นถูกต้องหรือเปล่า

    เริ่มแรกก็ใช้การกำหนดลมหายใจ ทำได้ซักระยะนึง ก็รู้สึกว่านิ่ง แต่เป็นนิ่งแบบ ความรู้สึกเหมือนผิวน้ำนิ่งๆที่ไม่มีลมพัด ไม่มีอะไรเลยอ่ะค่ะ (แต่ก็รู้สึกชอบความรู้สึกแบบนี้) ไม่รู้สึกถึงลมหายใจ แต่ก็ยังรับรู้สัมผัสทางกายทั่วตัว

    อยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่า มันถูกต้องแล้วรึยังคะ ถ้าไม่ถูกจะต้องแก้ไขยังไงคะ แล้ว ที่ถูกต้องเป็นยังไงคะ

    อีกเรื่องคือ สมาธิ กับ กรรมฐาน เหมือนหรือต่างกันยังไงคะ
     
  2. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    ขอตอบเฉพาะเรื่อง สมาธิ กับ กรรมฐาน เหมือนหรือต่างกันยังไง แล้วกันนะครับ เพราะว่าคงยังไม่กล้าที่จะแนะนำวิธีฝึกให้

    สำหรับสมาธิ กับ กรรมฐาน นั้นมาดูคำจำกัดความของมันดีกว่า

    กรรมฐาน มีทั้งแบบ สมถะและวิปัสสนา ที่เรียกกันว่า สมถกรรมฐาน และ วิปัสนากรรมฐาน

    ความแตกต่างระหว่าง สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน

    เรื่องของ สมถกรรมฐาน

    1. สมถกรรมฐาน เป็นของที่มีอยู่ก่อนการ ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเมื่อพระองค์ได้ทรงผนวชแล้ว ก็ได้ทรงศึกษากับอาฬารดาบสซึ่งเป็นครูคนแรกได้รับการสั่งสอนจาก ดาบสผู้นี้ ทั้งรูปฒาน คือ ได้ จตุกฌาน และอรูปฌาน ได้ อากิญจัญญายตนฌาน (อรูปฌานขั้นที่ 3) แต่พระองค์ทรงเห็นว่า เป็นธรรมเครื่องอาศัยความสงบเท่านั้น จึงได้ทรงศึกษาต่อกับ อุทกดาบส รามบุตร ก็สามารถทำอรูปฌานได้ในขั้น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน(อรูปฌานขั้นที่ 4) แต่พระองค์ทรงเห็นว่า เป็นธรรมเครื่องอาศัยความสงบเท่านั้น จึงได้ลาจากอาจารย์ทั้งสองเพื่อแสวงหา ความหลุดพ้นจากวัฏฏะด้วย พระองค์เองโดย ในขั้นแรก ได้ทรงบำเพ็ญทุกกรกริยาแต่ก็ใช้ไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนมาเดินทางสายกลาง แล้วตรัสรู้

    2. ประเภทของธรรม สมถกรรมฐาน จัดอยู่ในประเภท โลกียธรรม คือยังเป็นธรรมที่ยังไม่หลุดพ้น ได้ความสงบเป็นที่ตั้ง และถ้าไม่เจริญภาวนา อยู่เสมอๆ ฌานย่อมเสื่อมได้ และความสงบที่ได้รับ ขณะดำรงอยู่ในสมาธิฌาน เพราะเป็นการสงบชั่วขณะ คือ มีอำนาจ ข่มกิเลส ข่มนิวรณ์ไว้ จิตเปรียบประดุจหินทับหญ้าไว้
    ถ้าหากนำหินออก หญ้าก็ยังสามารถโตขึ้นได้ฉันใด กิเลสก็ยังไม่สามารถหมดไปได้ฉันนั้น การข่มกิเลสไว้นี้
    เรียกว่า วิขัมภปหาน

    3. พื้นฐานความรู้ที่ต้องทำความเข้าใจ สมถกรรมฐาน ผู้เจริญจะต้องเข้าใจในกรรมฐานชนิดนั้นๆ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ ซึ่งมีอารมณ์ เป็น บัญญัติ มากถึง 40 กอง คือ (1)กสิณ10 (2)อสุภกรรมฐาน10
    (3)อนุสสติ10 (4)อัปปมัญญา 4 (5)อาหารเรปฏิกูลสัญญา (6)จตุชาตวัตถาน1 (7) อรูป 4
    ซึ่ง จะต้องเลือก ให้ตรงกับ จริต ของผู้ปฏิบัติด้วย

    4. อารมณ์ที่นำมาใช้ สมถกรรมฐานใช้ บัญญัติเป็นอารมณ์ โดยเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน อารมณ์ 40 ตามที่ต้องการ และ อารมณ์นั้น เป็นลักษณะ เพ่ง จ้อง ของที่อยู่นิ่ง

    5. หลักการปฏิบัติ สมถกรรมฐานใช้สติจับอยู่ขณะที่อารมณ์กำหนดพร้อมกับการบริกรรมภาวนา ตามกรรมฐานนั้นๆ จนกว่า ความสงบแห่งจิตจะเกิดขึ้น

    6. ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ สมถกรรมฐานมีผลในการทำจิตให้สงบจากนิวรณ์ 5 ชั่วขณะ โดยสามารถบังคับความสงบให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ จนถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    7. การสืบต่อในการปฏิบัติ สมถกรรมฐานเมื่อผู้ปฏิบัติได้ตามขั้นตอนแห่งฌาน จิตไม่ติดตามอนาคตชาติเมื่อจะทำการปฏิบัติต้องขึ้นต้นกันใหม่ แต่อาจมีความเร็วกว่าบุคคลผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติ

    8.ที่สุดในการปฏิบัติ สมถกรรมฐานเป็นโลกียธรรมสามารถได้สูงสุดถึง สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน4 (หรือปัญจมฌาน;อภิธรรม) และ อรูปฌาน 4 แต่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่เพราะ กิเลสอย่างละเอียด (อนุสัย) ยังไม่หมดไป จึงทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นจาก วัฏฏสงสารไปได้

    9. อุปสรรคในการปฏิบัติ คือ นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุททัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา และ ยังต้องการ สัปปายะที่ดีอีกด้วย

    เรื่องของ วิปัสสนากรรมฐาน
    1. วิปัสสนากรรมฐาน การเกิดของวิปัสสนากรรมฐานได้ เกิดขึ้นในช่วง การตรัสรู้ ของพระพุทธองค์ เพราะเมื่อทรงค้นคว้าความหลุดพ้นในขั้นแรก พระองค์ได้ทรงเข้า จตุถฌาน แล้วโน้มจิตในการสร้างวิชชา 3 คือ
    (1) บุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ การระลึกชาติได้
    (2) จุตูปปาติญาณ คือ พิจารณาการ จุติปฏิสนธิของสัตว์ในอดีตและปัจจุบัน เมื่อรู้ตามเป็นจริงแล้ว ได้ใช้วิชชา ทั้งสองเป็นพื้นฐานในการ เจริญวิปัสสนา จึงได้ บรรลุ
    (3) อาสวักขยญาณ ซึ่งเป็นการพิจารณาหาเหตุปัจจัยในการเวียนว่ายตายเกิด นั้นคือ ปฏิจจสมุปบาท12 จึงเป็นเหตุให้รู้แจ้งแทงตลอดใน อริยสัจจ์4 ด้วยการบรรลุอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

    2. ประเภทของธรรม วิปัสสนากรรมฐานจัดอยู่ในประเภทโลกุตรธรรม เพราะเมื่อเจริญจนได้วิปัสสนาญาณขั้นสูง จนเป็นอริยบุคคลแล้ว ย่อมไม่เสื่อม และความสงบกิเลสที่ถูกทำลายไปแล้วนั้น เป็นการทำลายชนิดที่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นอีกเลย เรียกว่า สมุจเฉทประหาร

    3. พื้นฐานความรู้ที่ต้องทำความเข้าใจ วิปัสสนากรรมฐาน ผู้เจริญต้องทำความรู้ความเข้าใจใน วิปัสสนาภูมิ6 ให้เข้าใจอย่างดี คือ (1)ขันธ์5 (2)อายตนะ 12 (3) ธาตุ 18 (4) อินทรีย์ 22 (5)ปฏิจสมุปบาท 12
    (6) อริยสัจ 4 จึงจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้เกิดขึ้นได้

    4. อารมณ์ที่นำมาใช้ วิปัสสนากรรมฐานใช้ ปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ คือ รู้ รูปธรรม กับ นามธรรม
    หรือ รู้ ขันธ์5 คือ รูป (รูปขันธ์) นาม (จิต+เจสิก ) หรือ (วิญญาณขันธ์+เวทนาขันธ์+สัญญาขันธ์+สังขารขันธ์)

    5. หลักการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานฝึกสติให้ระลึกรู้อารมณ์ที่ปรากฏให้เป็นปัจจุบันธรรม โดยใช้สติ เฝ้าระลึกรู้ สภาวธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง โดยเป็นปัจจุบันและ ต่อเนื่อง แล้ว พิจารณาลักษณะของ รูป กับ นาม ที่ปรากฏตามหลักของสามัญลักษณะ หรือ พระไตรลักษณ์

    6. ผลที่ได้จากการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน มีผลในทางให้เกิดปัญญา รู้ความจริงตามสภาวะธรรมตามขั้นตอน เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ถึง อนุโลมญาณ ,มรรคญาณ ผลญาณ ประหารกิเลสได้แบบ สมุจเฉทประหารในที่สุด

    7. การสืบต่อในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานเมื่อผู้เจริญเข้าถึงความเป็นอริยบุคคลตามขั้นตอนแล้ว ย่อมติดตัวไปไม่สูญหาย และสามารถปฏิบัติในชาติต่อไปจากที่ได้รับในขั้นต้นได้

    8. ที่สุดในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นโลกุตรธรรมสามารถปฏิบัติเข้าถึงการเป็น อริยะบุคคล แต่ละขั้นตอนดังนี้ คือ 1. พระโสดาบัน 2. พระสกิทาคามี 3.พระอนาคามี 4.พระอรหันต์

    9. อุปสรรคในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ วิปลาสธรรม 4 คือ
    (1) นิจะวิปลาส คือ มีความวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่า เที่ยง
    (2) สุขวิปลาส คือ มีความวิปลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
    (3) อัตตาวิปลาส คือ มีความวิปลาส ในสิ่งที่มิใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน
    (4) สุภะวิปลาส คือ มีความวิปลาส ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
    การพัฒนาความรู้ และการเจริญปัญญา ล้วนแก้ไขบรรเทาและกำจัด วิปลาสได้ทั้งนั้น
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้โยนิโสมนสิการแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย และแยกแยะองค์ประกอบตรวจดูสภาวะ โดยมีสติพร้อมอยู่ และ อุปสรรคต่อการเจริญวิปัสสนา ยังมีอีก 1 สิ่งคือ วิปัสนูปกิเลส 10 คือ (1) โอภาส-แสงสว่าง (2)ปิติ (3)ปัสสัทธิ (4)อธิโมกขะ (5)ปัคคหะ (6)สุข (7)ญาณ (8)อุปปัฏฐานะ (9)อุเบกขา (10)นิกันติ-ความพอใจ
    ------------------------------------
    Ref : สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ภาคเหนือ


    ก็พอสรุปได้ว่า

    การทำสมถกรรมฐาน ทำให้เกิดสมาธิ ส่วนการทำวิปัสนากรรมฐานทำให้เกิดปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริง

    ซึ่งมีรากเหง้ามาจาก ไตรสิกขานั่นเอง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

    ซึ่งพิจารณาจากไตรสิกขานี้ก็จะเห็นว่า การจะเกิดสมาธิที่ดีได้ ต้องมีศีลที่ดีก่อน
    การจะเกิดปัญญาที่ดีได้ ก็จำเป็นต้องมีสมาธิก่อน

    หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ศีลเป็นบาทของสมาธิ สมาธิเป็นบาทของปัญญา นั่นเอง

    อย่าลืมรักษาศีลให้บริสุทธิ์ด้วยนะครับ มิฉะนั้นสมาธิจะเกิดได้ยาก...

    ปล. ภูมิธรรมผมมีเท่านี้ ผิดพลาดประการใด ต้องขออโหสิกรรมด้วยนะครับ...

    สาธุๆ
     
  3. มณู

    มณู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +783
    ก่อนทำกรรมฐานสำหรับผู้ฝึกใหม่ ควรสมาทานศีล สมาทานพระกรรม และแผ่เมตตาก่อน แล้วค่อยปฎิบัติ การรู้ลมหายใจเข้าออก เรียกว่าอานาปานุสติกรรมฐาน ถ้าคุณอยากรู้รายละเลียด ให้เข้าไปฟังที่เสียงพระธรรมเเทศนา แล้วไปที่กรรมฐาน40กอง ห้องย่อย อนุสสติ10 แล้วเข้าไปที่ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ หมวดอานาปานุสสติ ม้วนที่1-9
     
  4. มณู

    มณู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +783
    ลืมไปก่อนเลิกทำสมาธิควรอุทิศส่วนกุศล ให้พ่อแม่ เทวดา นางฟ้า พรหม และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหมด
     
  5. ภูตัง

    ภูตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +187
    สหายธรรม

    ขอบคุณ สหายธรรมทั้งผู้ ตั้งคำถาม และสหายธรรมท่านที่กรุณาตอบ เป็นประโยชน์มาก ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่านทั้งหลาย
     
  6. ภูตัง

    ภูตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +187
    อีกนิดนึง

    "พิจารณาจากไตรสิกขานี้ก็จะเห็นว่า การจะเกิดสมาธิที่ดีได้ ต้องมีศีลที่ดีก่อน
    การจะเกิดปัญญาที่ดีได้ ก็จำเป็นต้องมีสมาธิก่อน

    หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ศีลเป็นบาทของสมาธิ สมาธิเป็นบาทของปัญญา นั่นเอง

    อย่าลืมรักษาศีลให้บริสุทธิ์ด้วยนะครับ มิฉะนั้นสมาธิจะเกิดได้ยาก"

    เป็นข้อสรุปที่ ดีเยี่ยม ศิลเป็นจุดเริ่มที่สำคัญ ศิลที่เราท่องจำ เปรียบได้กับ แม่เลขสูตรคูณ แรกเริ่มอาจต้องท่องจำทำไปตามวิธี แต่เมื่อไหร่ที่ เราเข้าใจความหมายของการคูณ การจะจำแต่เป็นข้อๆก็จะดูเดียงสาไป เพราะไม่อาจจะใช่กับการคูณที่เป็นทศนิยมได้ ศิลก็เหมือนกัน ขอให้เข้าใจว่าศิล คือข้อปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความปกติ หรือ ข้อปฏิบัติที่ไม่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนทั้งต่อตนเองและ ผู้อื่น ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ ศิลจะกี่ร้อยกี่พันข้อก็ย่อมทำได้อย่างผู้มีปัญญาไม่หลงศิล เมื่อกายไม่เบียดเบียนวุ่นวายเป็นปกติ สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตย่อมเกิดง่าย เมื่อมีศิล มีสมาธิ ย่อมเกื้อหนุนให้เกิดปัญญา โดยง่าย ปัญญาคือความรู้แจ้ง เห็นได้ ตามสภาพความเป็นจริง ของสิ่งทั้งปวง ผู้ใช้ปัญญาในการสัมผัสกับ บ่อย ย่อมจะรับรู้ได้ถึง สมัญลักษณะ ของสรรพสิ่ง คือเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง แล้วสลายไป เมื่อรับรู้มากเข้า จิตก็จะเริ่มปล่อยวาง ไม่เกาะ

    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถือเป็น สัจจะปัญญา คือปัญญา ที่สมมติขึ้น ผู้รู้ยังไม่อาจจะล่วงพ้นอบายภูมิ ต่อเมื่อปฏิบติไปจนจิตใจไม่ฝืน ไม่ดิ้นรน เพราะความรู้แจ้งในสภาพธรรม ว่าทุกอย่างมันเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อนั้น จะถึงจะก้าวเข้าสู่ วิมุติ
     
  7. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,174
    ค่าพลัง:
    +7,815
    ก็ไม่ผิดนี่จ๊ะ ถ้า"ไม่รู้สึกถึงลมหายใจ" เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อจิตเริ่มนิ่ง เริ่มมีสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับ ลำดา จนแทบจะไม่รู้สึกถึงลมหายใจเลย และอีกหน่อยถ้าคำภวนาหายไป ก็ไม่ต้องตกใจ หรือ สงสัยเพราะมันเป็นเรื่องปกตินะจ๊ะ
    ทำต่อไปเรื่อยๆ ถนัดแบบที่ทำอยู่ก็ทำไปเรื่อยๆ ถึงเวลาแล้วจะรู้ทางไปต่อเอง นะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2007
  8. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    กรรมฐาน คือ ที่ตั้งของการกระทำ(ปฏิบัติ) ตั้งที่ไหน ก็ที่ใจไงล่ะ
    สมาธิกระทำที่ไหน ? ก็ที่ใจ
    ตอบ เหมือนกันครับ ไม่แตกต่าง แยกแตกไปตามความมุ่งหมาย สมถก็ทำให้เกิดความสงบที่ใจ วิปัสสนา ก็ทำให้แจ้งใจในธรรมเกิดปัญญา เพื่อความพ้นทุกข์

    สรุปรวมก็คือทำที่ใจนั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...