สมาธิกับสุขภาพ..1

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 24 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="98%"><tbody><tr><td align="right"> วันที 24 - ก.พ.- 50</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td align="right"> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td align="right">
    สมาธิกับสุขภาพ..1​
    </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td align="right"> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td width="6%"> </td> <td align="right" width="93%">โดย : พรรณี ภาณุวัฒน์สุข
    นักวิชาการสาธารณสุข 7
    กองการแพทย์ทางเลือก</td> <td width="1%"> </td> </tr> <tr> <td valign="top"> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td valign="top"> </td> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td valign="top"> </td> <td>สมาธิคืออะไร
    <dd>สมาธิแปลว่า การมุ่งมั่นกระทำด้วยความตั้งใจ แน่วแน่ของจิต เกิดขึ้นครั้งแรกในภูมิภาคตะวันออก โดยเฉพาะทางศาสนา ศาสนาแรกที่มีการบันทึกไว้ถึงการทำสมาธิคือศาสนาฮินดู ในประเทศอินเดีย ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงและนำมาใช้นอกเหนือบริบททางศาสนา เช่นการนำมาใช้ในการออกกำลังกาย เช่น หัตโยคะ ชี่กง การทำสันสกฤตยานา (Sanskrit dhayana) หรือศิลปะแขนงต่างๆ ของประชาชนพื้นบ้านในแถบเอเซีย (martial art) เป็นต้นโดยเน้นเรื่องความสงบเยือกเย็นและการเข้าถึงจิตวิญญาณของธรรมชาติ รากเหง้าของคำว่า สมาธิ และ Meditation

    </dd><dd>สมาธิเป็นภาษา มาจากรากศัพท์สองศัพท์สนธิกัน คือ สO และ อธิ จากนั้นเอา O ที่อยู่บน “ส” เรียกว่า เป็น “ม” ในตัว “ม” มีสระ “อะ” อยู่หลัง “ม” แต่ในภาษาบาลีไม่นิยมใส่สระ “อะ” อยู่หลังพยัญชนะ ด้วยเหตุนี้ คำว่า “สO” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “ม” และ “อธิ” เปลี่ยนรูปเป็น “อา” เมื่อสนธิกัน จึงเป็น สมาธิ ในซีกโลกตะวันออก สมาธิจะใช้มุมมองที่ได้จากการสังเคราะห์ความจริงตามธรรมชาติ (วิริยังค์ สิรินธโร, 2548) ขณะที่คำว่า Meditation มาจากภาษาละติน โดยมีจุดเริ่มต้นจากการฝึกร่างกายและจิตใจให้มีความแน่วแน่ และมั่นคง มักจะพบในศาสนาคริสต์ ซึ่งจะกล่าวถึงสมาธิในด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) เช่น สมาธิที่มาจากความทนทุกข์ของพระเยซู (Marcus Aurelius, 2006) สมาธิมีกี่ประเภท

    </dd><dd>มีความพยายามของศาสตร์ทางตะวันตกที่ต้องการจำแนกชนิดของสมาธิ จากการศึกษาของ มาคัส อูรีเลียส (Marcus Aurelius, 2006) ซึ่งเป็นนักปรัชญาตะวันตก ได้จำแนกชนิดของสมาธิโดยอ้างอิงกับศาสนา ลัทธิ และวิธีการปฎิบัติ มีการแบ่งสมาธิออกเป็น 9 ชนิด </dd><dd> </dd><dd>1. สมาธิตามแนวพุทธศาสนา (Buddhism) ในทางพุทธศาสนา ได้แบ่งเป็นสมาธิและวิปัสสนา ซึ่งจำเป็นต่อการตรัสรู้ ดังนั้น สมาธิจึงมีสองแบบ คือ สมาธิแบบธรรมชาติ และสมาธิที่สร้างขึ้นด้วยการตั้งใจหรือมุ่งเน้นไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดสมาธิ นอกจากนี้ในทางเถรวาท จะเน้นวิปัสนาสมาธิ และอาณาปานสติ </dd><dd>นอกจากนี้ในประเทศญี่ปุ่น มีการผนวกการฝึกสมาธิตามหลัก เทนได (Tendai concentration) เข้าไปรวมกับศาสนาพุทธแบบเชนของจีน (Chinese Chan Buddhism) ซึ่งเป็นการรวมเอาลัทธิเซนแบบญี่ปุ่นและเกาหลีเข้าด้วยกัน (Japanese Zen and Korean Seon) </dd><dd>ส่วนศาสนาพุทธแบบธิเบต จะเน้นตันตระซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธศาสนาแบบวชิระญาณ โดยสมาธิจะเป็นการปฏิบัติที่สูงขึ้นของนักบวช นอกจากนี้การฝึกฝนของนักบวชก็จะไม่นิยมฝึกตามลำพัง แต่จะใช้การสวดมนต์หมู่ให้เกิดสมาธิ </dd><dd> </dd><dd>2. สมาธิตามแนวคริสต์ศาสนา (Christianity) ประเพณีปฏิบัติของชาวคริสตร์มีหลากหลาย ซึ่งมีหลายอย่างที่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกสมาธิ สิ่งเหล่านี้ได้แก่ สวดมนต์ในโบสต์ ดังนั้นผู้ที่สวดมนต์ในโบสต์คริสต์ อาทิสวดมนต์และการนับลูกประคำในคริสตร์นิกายคาทอริก หรือการเดินสวดมนต์อย่างเงียบๆในคริสต์นิกายออโทดอกซ์ ( Eastern Orthodoxy) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสมาธิในแนวตะวันออกซึ่งเน้นไปที่การเพ่งจิตแน่วแน่ไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นจะเห็นความคล้ายในบางประเด็นก็คือการเอาจิตใจจดจ่ออยู่กับการสวดมนต์ให้เกิดสมาธิ </dd><dd> </dd><dd>3. สมาธิตามแนวศาสนายิว (Judaism) สมาธิตามศาสนายิวมักจะหมายถึงการติดต่อกับแหล่งกำเนิดของชีวิต และมีความหมายต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่การสิ้นสุดหรือการทำให้เกิดนิพพานตามหลักศาสนาพุทธ แต่เป็นการเริ่มต้นของสรรพสิ่ง ศาสนายิวมีนัยยะของการปฏิบัติสมาธิเพื่อให้เกิดการระลึกรู้ต่อความสุข เฝ้าระวังความสุข และเกิดความเคารพต่อศาสนา การปฏิบัติสมาธิในศาสนายิวนิกายคาบาล่าห์ และฮาสิดิก (Kabbalah and Hassidic Judaism) เรียกว่า “hitbonenut” จนมีคำกล่าวถึงการปฏิบัติสมาธิในหมู่ชาวยิวว่า อาหารสุขภาพที่เรากินเข้าไปมีไว้บำรุงร่างกายผ่านทางกระแสเลือด แต่การทำสมาธิ เป็นการให้อาหารแก่ร่างกายในรูปการบำรุงทางจิตวิญญาณ นอกจากนี้การทำสมาธิของชาวยิว จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญญาที่บริสุทธิ์ เกิดความสงบสุข และอารมณ์ที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติ (Rabbi Goldie Milgram,2006) </dd><dd> </dd><dd>4. สมาธิตามแนวศาสนาฮินดู (Hinduism) ในศาสนาฮินดูซึ่งเชื่อในเรื่องการเกิดแก่ เจ็บ ตายที่เป็นวัฎจักร ดังนั้น สมาธิเป็นการฝึกความสงบให้เกิดขึ้นภายในกาย และมีจุดประสงค์ เพื่อลดความลุ่มร้อน หรือความทุกข์ทรมาน ทางจิตใจ เมื่อปฏิบัติจนถึงส่วนลึกของจิตใจแล้ว สมาธิก็จะทำให้เกิดความสงบ ความสมดุลภายในร่างกายและจิตใจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความสงบสุขในชีวิตได้ (Alan Spence,2006) มาคัส อูรีเลียส (Marcus Aurelius, 2006) กล่าวว่าวีดานตา (Vedanta) ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโยคะ ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่ง โดยการควบคุมจิตใจของมนุษย์ไม่ให้กวัดแกว่งขึ้นลงตามสภาพอารมณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ซึ่งลักษณะของการฝึกสมาธิตามแนวศาสนาฮินดูจะมี 7 ชนิด อาทิ การใช้เสียงและแสงในการทำสมาธิ </dd><dd> </dd><dd>5. สมาธิตามแนวศาสนาอิสลาม (Islam) ในศาสนาอิสลา สมาธิเกิดจากแนวคิด 2 แนวคิด ได้แก่ 1. จาก Quran และ Sunnah โดยการฝึกสมาธิเป็นการตั้งจิตมุ่งมั่น ที่เรียกว่า Tafakkur โดยสะท้อนให้เห็นสมาธิในเรื่องการเพิ่มผลผลิตจากการคิด และการพัฒนาปัญญาซึ่งเป็นการต่อยอดของการทำสมาธิในระดับสูงขึ้น โดยต้องการเข้าถึงพระเจ้า อย่างไรก็ตามกระบวนการพัฒนาปัญญา จะเกิดขึ้นส่วนหนึ่งจะเกิดจากการดลบันดาลของพระเจ้าในการปลุกจิตสำนึกและปลดปล่อยวิญญาณของมนุษย์ ให้เป็นอิสสระ นอกจากนี้การฝึกสมาธิจะช่วยฝึกบุคลิกภาพภายในตัวของบุคคลให้ได้รับการพัฒนาจิตวิญญาณและการได้เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า (Maulona Wahududdin Khan, 2006) </dd><dd>แนวคิดที่ 2 จาก Sufism ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติด้วยวิธี muraqaba โดยสมาธิในมุมมองของ Sufism มีจุดมุ่งเน้นเรื่องการปฏิบัติตนและเป็นกลวิธีหนึ่งที่ใช้การสวดอ้อนวอนให้ชีวิตได้เดินทางไปสู่พระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า ขณะที่ยังมีชีวิต อย่างไรก็ตามยังเป็นที่ถกเถียงและยังไม่เป็นที่ยอมรับของชาวมุสลิมทั่วไปเกี่ยวกับความเชื่อเหล่านี้ตามแนวคิดที่ 2 (Alan Godlas,2006) </dd><dd> </dd><dd>6. สมาธิตามแนวศาสนาซิก (Sikhism)สมาธิตามแนวศาสนาซิก เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎความเป็นจริง 3 ข้อ ในการใช้ชีวิต ของมนุษย์ ที่คุรุนานัค (Guru Nanak) ได้สอนไว้ดังนี้ (Society U.K. (Regd.),2004) </dd><dd>
    </dd><dd>1. Nam Japa หมายถึงการตื่นนอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้นับถือศาสนาซิกทำสมาธิด้วยการสวดอ้อนวอนพระเจ้าเพื่อชำระจิตใจให้ผ่องใส นอกจากนี้ในระหว่างวันการระลึกถึงพระเจ้าทุกลมหายใจเข้าออกจะช่วยให้จิตใจผ่องใส </dd><dd>
    </dd><dd>2. Dharam di Kirat Karni หมายถึง การทำงานและหากินด้วยหยาดเหงื่อ การทำงาน เพื่อประทังชีวิตทั้งของตนเองและของครอบครัว อย่างซื่อสัตย์ ดังนั้นผู้นับถือศาสนาซิกต้องนำพาชีวิตไปสู่ความซื่อสัตย์ ความถูกต้อง อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี </dd><dd>
    </dd><dd>3. Van Ke Chakna หมายถึง การแบ่งปัน อาหาร แรงงาน กับผู้อื่นอย่างมีเหตุมีผล โดยเฉพาะการแบ่งปันสิ่งต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศาสนา และชุมชน </dd><dd> </dd><dd>7. สมาธิตามแนวลัทธิเต๋า (Taoism) สมาธิตามแนวลัทธิเต๋า เกิดขึ้นเพื่อฝึกจิตใจและร่างกายให้สู่ความสงบ โดยอาศัยปรัชญาในเรื่องของความสมดุลย์ของหยินหยางอันเป็นพลังของจักรวาล ซึ่งการทำสมาธิเป็นการฝึกจิตที่จะกำจัดความคิดที่ชั่วร้าย และใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการทำให้จิตใจสงบ นอกจากนี้การฝึกสมาธิตามแนวลัทธิเต๋าสามารถทำได้ทั้งในยามหลับและยามตื่น โดยการใช้การควบคุมอารมณ์ จิตใจ มีการฝึกสมาธิแนวลัทธิเต๋าที่หลากหลาย อาทิ I Ching, Tao Te Ching, Chuang Tzu และ Tao Tsang ดังที่เราคุ้นเคย เช่น การฝึกชี่กง การฝึกไนกง เป็นต้น ด้วยการควบคุมลมหายใจเข้าออก ในขณะออกกำลังกายหรือในขณะพักผ่อน (Marcus Aurelius, 2006) </dd><dd> </dd><dd>8. สมาธิตามแนวการปฎิบัติแบบTM (Transcendental Meditation) เป็นเทคนิคการทำสมาธิที่คิดโดยมหาฤษี Mahes Yogi ครูสอนศาสนาชาวอินเดีย ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการผสมผสานเทคนิค วีดานติค ของศาสนาฮินดู และมานตราของผู้สอน เน้นการทำสมาธิด้วยการฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ และเพ่งไปที่ลมหายใจ เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย อันเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบ สุขภาพดี และสามารถต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบในชีวิตได้ (Maharishi Vedic Education Development Coporation,2005) </dd><dd> </dd><dd>9. สมาธิตามแนวการปฏิบัติแบบซีคูล่า (Secular) เป็นการพัฒนาจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อโจฮานนา ชูลท์ (Jahannes Schultz) ในปี ค.ศ. 1932 เป็นการนำแนวคิดตะวันออก คือการฝึกสมาธิมาใช้ในการพัฒนากายและจิตใจ ให้มีความเข้มแข็ง สงบ มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การทำสมาธิตามแนวการปฏิบัติแบบซีคูล่า เป็นการนั่งบนเก้าอี้หลังตรง หลับตาและนับลมหายใจเข้าออก โดยไม่คิดเรื่องใดๆแต่ให้ทำจิตมุ่งมั่นไปที่ลมหายใจเข้าออก (Susan Kramer, 2006) </dd><dd>จากลักษณะการจำแนกชนิดของสมาธิดังกล่าว มาคัส อูรีเลียส ได้อธิบายความหมายหรือนัยยะของสมาธิ ให้ครอบคลุมตามการจำแนกชนิดของสมาธิทั้ง 9 ชนิดไว้ดังนี้ </dd><dd>1. เป็นสภาวะที่จิตใจถูกปล่อยให้ว่างจากความคิด </dd><dd>2. เป็นการตั้งมั่นของจิตใจไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง </dd><dd>3. เป็นการเปิดรับจิตใจให้สัมผัสถึงความบริสุทธิ์ หรือพลังงานต่างๆ เช่น การปฏิบัติแบบซีคูล่า เป็นต้น </dd><dd>4. เป็นการหาเหตุผลทางปรัชญาของศาสนา เช่น การเข้าสู่นิพพานของศาสนาพุทธ เป็นต้น </dd><dd>ในมุมมองของมาคัส เขาเชื่อว่า ในศาสนาทางซีกโลกตะวันออก การสวดมนต์เป็นการสื่อสารของมนุษย์ไปสู่เบื้องบนได้แก่ พระผู้เป็นเจ้า เทวดาหรือเทพ พรหมต่างๆ แต่สมาธิเป็นการสื่อสารที่ตรงกันข้าม คือเป็นการที่พระผู้เป็นเจ้าหรือเทวดาหรือเทพ พรหมต่างๆ เป็นผู้สื่อสารโดยตรงกับมนุษย์ นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่าการฝึกสมาธิเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาตนเอง สมาธิในเชิงจิตวิทยา

    </dd><dd>ในทางจิตวิทยา สมาธิถูกนำไปใช้ในการอธิบายระดับของจิตสำนึก (Consciousness) มีการนำไปใช้ประโยชน์และมีจุดมุ่งหมายที่หลากหลาย เริ่มตั้งแต่ทำจิตใจให้สงบ น้อมนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการมีสุขภาพของร่างกาย หัวใจ ระบบหลอดเลือดที่ดี ถ้านำมาใช้สำรวจสภาวะจิตอย่างช้าๆ ในอดีต และในอนาคต จะช่วยให้เกิดความสงบในจิตใจ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้นสมาธิ จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในเชิงจิตวิทยา บริบทของสมาธิ

    </dd><dd>ส่วนใหญ่สมาธิจะถูกกล่าวถึงในแง่บวกได้แก่ การฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง การทำให้เกิดการมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน การปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของบุคล หรือการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ในนิกายเซน (Zen) การปฏิบัติสมาธิมีเพื่อทำให้จิตใจเข้มแข็งและควบคุมความโกรธ ดังนั้น สมาธิส่วนใหญ่จึงถูกนำเสนอในรูปของ กิจกรรมเดี่ยวๆ ที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ปัจจุบัน การทำสมาธิได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆมากมาย อาทิการทำสมาธิเพื่อปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม ศิลปะป้องกันตัว หรือค่านิยมเชิงบวกต่างๆ ในสังคม จุดประสงค์และผลที่เกิดขึ้นของการทำสมาธิ

    </dd><dd>จุดประสงค์ของการปฏิบัติสมาธิส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน คือการผ่อนคลายจากชีวิตที่ยุ่งเหยิง สภาพจิตใจที่ว้าวุ่น การพบหนทางหรือสาเหตุแห่งความเป็นจริง การติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า และการหลุดพ้นตามความเชื่อทางศาสนา ดังนั้นงานวิจัยส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นไปที่การฝึกสมาธิอย่างเข้มข้นเพื่อการรู้แจ้ง การตระหนักถึงเหตุแห่งความเป็นจริง การสร้างวินัยในตนเอง การควบคุมจิตใจและร่างกาย และความสงบหรือปล่อยวางสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบกับชีวิต นักเขียนหลายๆท่านหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงโทษของสมาธิ บางครั้งทำให้บางคนยึดติดกับภาวะจิตนิ่งอยู่กับที่ จนเกิดความประมาท เกียจคร้าน ทำให้ผู้สอนการฝึกสมาธิกลัวว่าจะกระทบกับความรู้สึกของผู้ที่กำลังฝึกสมาธิอยู่ นอกจากนี้ถ้าฝึกสมาธิเพียงลำพังบางครั้งอาจทำให้เกิดความรู้สึกฟุ้งซ่าน งมงายได้ มาคัส อูรีเลียส (Marcus Aurelius, 2006) กล่าวว่า ผลที่เกิดขึ้นของสมาธิได้แก่ </dd><dd>1. เกิดความเชื่อในอำนาจที่ยิ่งใหญ่ </dd><dd>2. เพิ่มความอดทน ความเมตตา คุณธรรม และศีลธรรม </dd><dd>3. ความรู้สึกสงบ สันติ และความสุข </dd><dd>4. ความละอายต่อความผิด ความเกรงกลัวต่อบาป ความรู้สึกเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำไป </dd><dd>5. เกิดแสงสว่าง หรือการรับรู้พิเศษต่างๆ </dd><dd>6. เผชิญกับความผิดพลาดในอดีต รวมทั้งความทรงจำต่างๆในอดีตหรือผลของการกระทำต่างๆ ในอดีต และทำการกำจัดสิ่งเหล่านี้ </dd><dd>7. ประสบการณ์ของสัมผัสพิเศษ การหยั่งรู้เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น </dd><dd>8. สิ่งเหนือธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้เช่นพลังเหนือธรรมชาติต่างๆ อาทิ การลอยได้ของโยคี </dd><dd>9. แง่มุมทางจิตเวช การนำสมาธิมาประยุกต์ใช้เชิงสุขภาพและการศึกษาทางคลินิก

    </dd><dd>ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีความสนใจในเรื่องการทำสมาธิกับการแพทย์เชิงจิตวิทยา(Venkatesh et al.,1997; Peng et al.,1999; Lazar et al.,2000; Carol et al., 2001) แนวคิดในเรื่องสมาธิได้ถูกนำมาใช้ในเชิงคลินิกเพื่อที่จะวัดประสิทธิผลของระบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิในร่างกายมนุษย์ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบการหายใจ ระยะหลังมีการพยายามนำสมาธิมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต่อมาสมาธิได้ถูกผลักดันเข้าสู่ระบบการดูแลสุขภาพในเรื่องการลดความเครียด ความเจ็บปวด เช่น ในปี พ.ศ. 1972 ได้มีการนำการทำสมาธิแบบ TM มาใช้เพื่อลดภาวะการเผาผลาญพลังงาน การลดชีวะเคมีในกระแสเลือดอันเนื่องมาจากความเครียด ได้แก่สารแลคเตต (Lactate) การลดอัตราการเต้นของหัวใจ และการลดความดันโลหิต รวมทั้งการเหนี่ยวนำคลื่นสมองที่จำเป็น (Scientific American 226:84-90 (1972)) </dd><dd> </dd><dd>ในแง่มุมของการลดความเครียด สมาธิมักถูกใช้ในโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวล รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะลดลงของภูมิคุ้มกันในร่างกาย จากการศึกษาของ ดร.เฮอร์เบิรต เบนสัน สถาบันจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาด และโรงพยาบาลบอสตัน พบว่าการทำสมาธิทำให้เกิดการเลี่ยนแปลงสารเคมีบางอย่างในร่างกาย จนทำให้เกิดระยะของการผ่อนคลาย (Lazer et al.,2003) โดยระยะผ่อนคลายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญในร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และสื่อเคมีในสมอง นอกจากนี้จากการวิจัยอื่นเช่น จอน กาเบตซินและคณะ ในมหาวิทยาลัยแมตซาจูเซต พบว่าผลของการทำสมาธิช่วยลดความเครียดได้ (Kabat-Zinn et al., 1985;Davidson et al.,2003) การทำสมาธิและสมอง

    </dd><dd>การทำสมาธิด้วยการใช้เทคนิคแบบมุ่งเน้นการพัฒนาจิตมีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นความคิดภายในใจของตนเอง การคิดเช่นนี้ช่วยลดภาวะสมาธิสั้น ความตั้งใจที่มุ่งเน้นการจับจ้องไปที่อารมณ์จะช่วยให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์ อารมณ์ และสถานการณ์ที่ยุ่งยากผิดศีลธรรม รวมทั้งทำให้เรารับผิดชอบสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น เกิดความคิดในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้สิ่งต่างๆ ลื่นไหลไปได้อย่างถูกต้อง </dd><dd> </dd><dd>หนึ่งในทฤษฎีที่เสนอโดย เดเนียล กอลแมน และ ทาร่า – เบนเนต กอลแมน ใน ค.ศ. 2001 ได้อธิบายการทำงานของสมาธิว่าเป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่าง amygdala ซึ่งเป็นเนื้อสมองที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดแอลมอนด์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางอารมณ์ ความโกรธ ความกลัว และ บริเวณเนื้อสมองส่วน prefrontal cortex กล่าวคือ เมื่อเรารู้สึกโกรธ หรือวิตกกังวล ในเรื่องต่างๆ amygdala เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำให้เรารับรู้ความรู้สึกต่างๆ นี้ได้ จากนั้น pre-frontal cortex จะทำหน้าที่หยุดและคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เรารู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นศูนย์หลั่งสารยับยั้งต่างๆ หรือ (inhibiter center) ดังนั้น prefrontal cortex จึงทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมในการวิเคราะห์และวางแผนในระยะยาว ในทางกลับกัน amygdala เป็นสารที่ทำให้มนุษย์เกิดการตัดสินใจแบบเฉียบพลันและจะส่งผลอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเอาชีวิตรอดของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์เห็นสิงโตกำลังคืบคลานเข้ามา amygdala จะทำหน้าที่เป็นกลไกในการต่อสู้หรือตอบสนองในการถอยหนีก่อนที่ pre-frontal cortex จะทำหน้าที่ตอบสนอง แต่เมื่อต้องการใช้การตัดสินใจแบบเฉียบพลัน ถ้า amygdale เกิดความบกพร่องก็จะทำให้เราเผชิญกับอันตราย อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงเมื่อสังคมเกิดการขัดแย้งซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ข้างบนที่มนุษย์เผชิญกับผู้ล่าคือสิงห์โต เราพบว่าเหตุการณ์ที่ทำให้มนุษย์รับรู้ว่าเกิดความไม่สุขสบาย หรือรับรู้ว่าเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลง ไม่สุขสบาย กลัว วิตกกังวล เครียด และสับสน ก็จะทำให้เกิด amygdala บกพร่องด้วยเช่นกัน </dd><dd> </dd><dd>เนื่องจากมีความแตกต่างของเวลาเมื่อมนุษย์เผชิญกับเหตุการณ์คับขัน amygdala และ prefrontal cortex จะทำหน้าที่ด้วยตัวของมันเอง การฝึกสมาธิจะทำให้สมองส่วน left pre-frontal cortex ทำงานได้ดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้มนุษย์เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆได้โดยตรง และเกิดความรู้สึกในด้านบวกขึ้น ความแตกต่างในเรื่องบทบาทของสมองส่วน amygdala และ prefrontal cortex เราสามารถสังเกตการทำงานได้ง่ายๆ จากการใช้ยาเสพติดชนิดต่างๆ โดยทั่วไปการใช้แอลกอฮอล์ จะกดการทำงานของสมองโดยเฉพาะในส่วนของ prefrontal cortex โดยจะทำให้เกิดการหลั่งสารยับยั้งต่างๆ ลดลง ความตั้งใจในการทำงานลดลง และลดสภาวะความมั่นคงของอารมณ์ และเกิดพฤตกรรมก้าวร้าวได้ (Daneil Goleman &Tara Bennett-Goleman, 2001) นอกจากนี้ในการศึกษาวิจัยบางชิ้น ยังพบว่าการทำสมาธิจะสัมพันธ์กับความมีสมาธิ การวางแผน การับรู้ การคิด และผลในเชิงบวกทางด้านอารมณ์ ยังมีงานวิจัยที่คล้ายกันซึ่งพบว่าการทำสมาธิจะช่วยลดความรู้สึกหดหู่ใจ ความวิตกกังวล และเพิ่มการทำงานของสมองในส่วนprefrontal cortex ซีกซ้าย สมาธิและคลื่นสมอง (EEG’s)

    </dd><dd>คลื่นไฟฟ้าในสมองจากการทำสมาธิพบว่าเกิด gamma wave activity ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมประสานระหว่างส่วนต่างๆ ของสมอง ขณะทำสมาธิ มีการศึกษาเรื่องการทำสมาธิ ในแนวพุทธ เพื่อฝึกจิตใจ และมีการวัดคลื่นสมองผู้ฝึกสมาธิมาเป็นระยะเวลา 10 ถึง 40 ปี พบว่าบุคคลกลุ่มนี้สามารถทำให้gamma wave activity ในสมองค่อยๆ เพิ่มขึ้นได้ ถึง แม้ว่าผู้นั้นจะอยู่ในภาวะพักผ่อนหรือไม่ได้ทำสมาธิอยู่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการฝึกสมาธิจะช่วยทำให้บุคคลสามารถควบคุมการเกิด gamma wave activity ได้ ที่สำคัญคือสามารถวัดผลที่ได้จากเครื่องวัดคลื่นสมอง (EEG Machine) ในขณะตื่นพบว่าคลื่น Beta จะอยู่ในช่วงคลื่นความถี่ 14-21 รอบต่อวินาที ขณะอยู่ในสมาธิสมองจะช่วยควบคุมคลื่น Alpha ให้อยู่ในช่วง 7-14 รอบ ต่อวินาที บุคคลแรกที่ค้นพบวิธีการวัดคลื่นสมองคือ Jose Silva และเรียกวิธีการวัดนี้ว่า Silva Method โดย Silva ค้นพบว่าการทำสมาธิจะช่วยลดความเครียด ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการมองตนเองเชิงประจักษ์และความคิดสร้างสรรค์ ผลกระทบในทางตรงข้ามของสมาธิ

    </dd><dd>งานวิจัยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์เชิงบวกของสมาธิอย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางส่วนที่ค้นพบถึงผลกระทบในทางตรงข้ามของสมาธิ (Lukoff , Lu & Turner, 1998; Perez-De-Albeniz & Holmes, 2000) โดยกล่าวว่าถ้าบุคคลฝึกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การทำสมาธิอาจทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจได้ เช่น Kundalini Syndrome หรือ Shamanic illness (ความเชื่อว่าการฝึกสมาธิจะทำให้เกิดอำนาจพิเศษ) และเกิดปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น การฝึกชี่กง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากแนวคิดทางตะวันออกซึ่งมีการนำสมาธิมาใช้เพื่อปรับปรุงสุขภาพและจิตวิญญาณ การที่ชาวตะวันตกนำมาประยุกต์ใช้โดยไม่ได้ศึกษาบริบททางด้านศาสนาจนทำให้เกิดปัญหาโรคจิตเรื้อรัง รวมทั้งปัญหาทางสุขภาพร่างกายมีการศึกษาผู้ฝึกสมาธิในระยะเวลานานจำนวน 27 คนพบว่า เกิดความรู้สึกซึมเศร้า หนีความจริง และเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ (Perez-De-Albeniz & Holmes, 2000) Reference
    </dd><dd>1. วิริยังค์ สิรินธโร. (2548). พื้นฐานการทำสมาธิ. บริษัทประชาชน จำกัด .กรุงเทพฯ 10500.
    </dd><dd>2. Marcus Aurelius. (2006).Meditation. http://en.wikipedia.org/wiki/Meditation.
    </dd><dd>3. Robbi Goldie Milgram.(2006). Reclaiming Judism as a Spiritual Practice. http://www.rebgoldie.com/Meditation.htm.
    </dd><dd>4. Alan Spence. (2006).Sufism . http//www.arches.uga.edu/~godlas/Sufism.html.
    </dd><dd>5. Maulona Wahudduddin Khan.(2006). Meditation in Islamism. http://www.alrisala.org/Articles/mysticism/meditation.htm.
    </dd><dd>6. Society U.K.(Reg).(2006). The Sikh concepts I . http://www.allaboutsikhs.basics/intro-05.htm.
    </dd><dd>7. Maharishi Vedic Education Development Coperation. (2005). Transcendental Meditation. http://www.maharichi.org.
    </dd><dd>8. Susan Kramer.(2006). Meditation and Secular Spirituality. http://www.bellaonline.com/articles/art41804.asp
    </dd><dd>9. Venkatesh S, Raju TR, Shivani Y, Tompkins G, Meti BL.(1997). A study of structure of phenomenology of conciousness in meditative and non-meditative states. Indian J Physiol Pharmacol. 1997 Apr;41(2): 149-53. PubMed Abstract PMID 9142560. http://wwqw.nci.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?.
    </dd><dd>10. Peng CK, Mietus JE,Lui Y, Khalsa G,Douglas PS, Benson H, Golberger AL. (1999). Exaggerated heart rate oscillations during two meditation techniques. Int J Cardiol. 1999 Jul 31;70(2):101-7. Pubmed Abstract PMID 10454297. http://wwqw.nci.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?.
    </dd><dd>11. Lazer,Sara W.;Bush,George;Gollub,Randy L; Fricchione,Gregory L.;Khalsa, Gurucharan;Benson,Herbert.(2000). Functional brain mapping of the relaxation response and meditation [Autonomic Nervous System] Neuroreport. Volume 11 (7) 15 May 2000 p 1581-1585 PubMed abstact PMID 10841380. http://wwqw.nci.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?.
    </dd><dd>12. Kabat-Zin J, Lipworth L, Burney R.(1985). The clinical use of mindfulness meditation for the self-regulation of chronic pain. Jour. Behav.Medicine. Jun;8(2):163-90.PubMed abtract PMID 3897551. http://wwqw.nci.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?.
    </dd><dd>13. Davidson RJ,Kabat-Zinn J,Schumacher J, Rosenkranz M,Muller D,Santorelli SF, Urbanowski F, Harrington A, Bonus K, Sheridan JF.(2003). Alterations in brain and immune function produced by mindfulness meditation. Psychosomatic Medicine 2003 Jul-Aug;65(4):564-70. PubMed abtract PMID 3897551. http://wwqw.nci.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?.
    </dd><dd>14. American Psychiatric Association.(1994). Diagnostic and Statistical Manual Disorders. Fourth edition. Washington ,D.C.: American Psychiatric Association.
    </dd><dd>15. Lukoff,David;Lu Francis G.&Turner, Robert P.(1998). From spiritual emergency to spiritual problem;The Transpersonal Roots of The New DSM-IV Category. Journal of Humanistic Psychology,38(2),21-50.
    </dd><dd>16. Perez-De-Albenia, Alberto &Holms, Jeremy. (2000). Meditation:Concepts,Effects And Uses In Therapy.Internationa Journal of Psychotherapy,March 2000, Vol.5 Issue 1,p49,10p.</dd></td></tr></tbody></table>
    http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=428
     

แชร์หน้านี้

Loading...