วิปัสสนา..กรรมฐาน คืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jabb2541, 4 พฤษภาคม 2013.

  1. jabb2541

    jabb2541 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    วิปัสสนา กับ กรรมฐาน คืออย่างเดียวกัน หรือ คนละอย่าง?
    บางทีก็ วิปัสสนา ไม่มี กรรมฐาน บางทีก็กรรมฐาน ไม่มีวิปัสสนา หรือบ้างก็ วิปัสสนากรรมฐาน

    แล้วเจ้า วิปัสสนา กับ กรรมฐาน มันคืออะไร.. ทำอย่างไร..?
     
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    วิปัสสนา คือ การทำให้ การเรียนรู้ การปฏิบัติ เพื่อให้รู้เห็น ความจริง (ธรรม) ของธรรมชาติ (ธรรมชาติมันมีมากมายแตกต่าง แต่ความจริงหรือธรรมที่ซ่อนอยู่ เหมือนกัน เช่น ไตรลักษณ์ )

    กรรมฐาน แปลตามตัว คือ กรรมหรือการกระทำใดใดที่ เอาสิ่งใดใด มายึดเพื่อเป็นฐาน หรือ กลาง หรือ ที่มั่น หรือ ที่รวมสติกายใจ ลงในที่เดียว เช่น ดูลม ดูสี ดูธาตุ ดูกาย ดูจิต เป็นการฝึกสติเพื่อให้เกิดสมาธิ เพื่อที่ จะ ย่อ ระงับ รวม ให้ กายใจสติ รวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อ การรู้ การวิปัสสนา ที่ ชัดเจนยิ่งขึ้น
     
  3. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    สติปัฏฐานสี่ หรือการเดินจงกรม คือการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานพร้อมกันเลย

    ทุกการฝึก ถ้า ฝึกแล้ว ครบพร้อมกันทั้ง วิปัสสนากรรมฐานไปพร้อมๆ กัน ก็จะดี
    เพราะทั้งกรรมฐาน(ความสงบ)และวิปัสสนา(พิจารณาตามจริงที่ดูรู้เห็น) แต่ถ้าดูรู้เห็น แล้ว เอามาคิดปรุงเพิ่มเติมหรือพยายามลดลง หรือ ทำเพื่อผลอย่างอื่นนั่นไม่ถือว่าเป็นการวิปัสสนา
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    กัมมัฏฐาน ๔๐ (กรรมฐาน ๔๐) คือ
    กสิณ ๑๐
    อสุภะ ๑๐
    อนุสสติ ๑๐
    พรหมวิหาร ๔
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
    จตุธาตุววัตถาน ๑
    อรูป ๔

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2013
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
    ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
    การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
    (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
    ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ในรวมๆ ก็ตามที่ท่าน sabayjai ได้กล่าวไปแล้วนั่นหละครับ

    กรรมฐานคือบทสมถะ วิปัสสนาคือบทวิปัสสนา

    ในด้านการปฏิบัติในพระศาสนานั้น การเจริญกรรมฐาน(บทสมถะ)และบทวิปัสสนาต้องทำคู่กัน แต่การเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่มีบทสมถะไม่สามารถเป็นไปได้ครับ วิปัสสนาขาดสมถะไม่ได้ ถ้าขาดสมถะ(ความสงบแห่งจิต)จะไม่ใช่วิปัสสนาแท้ จะเป็นฟุ้งซ่านในธรรม(วิปัสสนึก)แทน....

    ถ้าที่ใหนกล่าวว่าเป็นวิปัสสนาล้วน ตีได้ว่ามิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2013
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สรุปธรรมที่ยกมานะครับ.....

    สมถะ กับ วิปัสสนา.

    ยกจาก.

    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


    ***************

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า
    “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)


    *************


    จากพระสูตรและพระอานนท์ได้กล่าวเอาไว้.....ในเรื่องของสมถะต้องคู่เคียงกันไปนะครับ......ไม่ได้มีการแยกกันว่าฝึกแต่สมถะหรือฝึกแต่วิปัสสนา......ดังที่หลายท่านเข้าใจกันในปัจจุบัน........อาจกล่าวได้ว่าจริงๆแล้วสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันครับ..........

    ;42
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตอนที่เหล่าสาวกฟังธรรม ด้วยความสงบกายใจ เอาใจ โยนิโสธรรม ตามอารมณ์ความเข้าใจ ตามสภาวะธรรมที่ได้ สดับจากพุทธองค์ นั่นคือ สมถะ(สงบ)พร้อมกับ วิปัสสนาตามไปด้วย ถึงได้ เข้าใจและ บรรลุธรรมตาม

    ดังนั้น การฟังที่ดี(สงบ)การโยนิโสให้เป็น(คือวิปัสสนา)จึงเป็น สัมมาทิฐิในตนเอง โดยที่ไม่ต้องให้คนอื่น มาตักเตือน
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ไช่แล้วครับ ก็เหมือน ทุกท่าน เคยเรียนและทำการบ้าน เราทำการบ้านเวลาที่สงบ ดีที่สุด นะครับ สงบที่ว่าคือกายใจสงบครับ สติจะได้สงบด้วย

    หรือการทำงานก็ต้องทำเวลาที่กายใจสงบครับ จะได้มีสติที่สงบ
     
  10. jabb2541

    jabb2541 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    สรุป หมายถึงว่า ต้อง เข้าญาณจากการ ทำสมาธิ ก่อนถึง จะ วิปัสสนา ผมเข้าใจถูกไหมครับ
    แล้วจะ ลำดับ ไปทำวิปัสสนา ยังไงครับ ให้เข้าถึงญาณ อะไร แล้วทำอะไร ต่อครับ
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อย่าไปคาดคั้นตัวเองให้ได้อะไร ฌานอะไร ญาณอะไรก่อนเลยนะครับ....

    ถ้าคุณจะปฏิบัตินั้นอย่างไรผมว่าคุณควรที่จะเริ่มในจุดแรกสุดคือ ศีล ก่อน....หลังจากนั้นคือหากัลญาณมิตร คือ ครูบาอาจารย์ ที่พอจะเชื่อถือและนำวิธีการปฏิบัติของท่านมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้....

    เมื่อคุณเริ่มจากศีลแล้วคุณก็ลองหาแนวทางที่คุณคิดว่าชอบก่อน หรือกรรมฐานเดิมที่คุณเคยทำมาจะทำต่อจากนั้นก็ได้ หาครูบาอาจารย์ที่ท่านถนัดทางกรรมฐานด้านนั้นๆ ลองศึกษาและปฏิบัติตามท่านดู ในปัจจุบัน ก็มีหลายสำนัก หลายรูปแบบ หลายวิธีการปฏิบัติ เอาตามที่คุณชอบครับ แล้วคุณก็ทำไปเลย.....ในอันดับนี้ยังไม่ต้องไปพูดถึงฌานถึงญาณ อะไร ของเหล่านี้เมื่อมีเหตุเดี๋ยวก็มาเองหละครับ ถ้ารีบมากเดี๋ยวมันจะฟุ้งเสียก่อน...

    ความรู้ต่างๆศึกษาไว้ได้ครับ ศึกษาไว้จะได้เป็นแนวทางที่เราจะเดินต่อไป หรือไว้ใช้ตรวจสอบในทางที่เรากำลังเดินอยู่ หรือ ไว้ใช้ตรวจสอบธรรมที่เราได้ยินได้ฟังมาจากที่ต่างๆ ว่าถูกต้องถูกทาง ตามพระพุทธเจ้าท่านหรือไม่ เท่านั้นหละครับ ถ้าเราหาทางของเราเจอ ตรวจสอบแล้วว่าใช่ ไม่ผิด ก็จะได้มั่นใจได้ว่าทางที่เราเดินนั้นจะไม่ออกทาง จะไม่ผิดไม่พลาดไปจากพระพุทธเจ้าท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2013
  12. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    วิปัสนา คือ การพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงจนเกิดปัญญา
    กรรมฐาน คือ การเพ่งพินิจจนเกิดสมาธิสงบหรือสมถะนั่นเอง

    ทำสองอย่างควบคู่คือวิปัสนากรรมฐาน จะยกจิตขึ้นสูงขึ้นไวมากคว้านกิเลสที่หมักตองในจิตใต้สำนึกและอกุศลทั้งหลายออกมาแล้วยกไตรลักษณ์มาปลง จนบรรลุฌานได้รวดเร็วในไม่กี่สัปดาห์
     

แชร์หน้านี้

Loading...