วิธีฝึกจิต รับรู้สภาวะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย tsukino2012, 30 พฤษภาคม 2013.

  1. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]

    วิธีฝึกจิต รับรู้สภาวะ


    ก่อนจะมาฝึกปฏิบัติ เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตกันก่อน
    การฝึกจิตสำหรับผู้ที่เริ่มต้นจากศูนย์ คือไม่มีอะไรติดตัวมาเลย หรือผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่เคยเห็นผี
    ไม่มีสัมผัส เป็นคนธรรมดาเต็มขั้น ส่วนผู้ใดที่สามารถสื่อสารกับดวงจิตภายนอก( ครูบาอาจารย์ )ได้แล้ว
    ท่านย่อมชี้แนะแนวการปฏิบัติตามจริตของแต่ละคนอยู่แล้ว แม้กระนั้นท่านก็สามารถที่จะฝึกจิต
    เพื่อเสริมกำลังของจิตด้วยตัวเองก็ได้ครับ เพราะดวงจิตภายนอกเองก็ไม่ได้จะสื่อสารหรืออยู่กับเราได้ตลอดเวลา



    ธรรมชาติของจิต


    "จิตใหญ่"
    หรือจิตนิพพาน เป็นพลังงาน ไม่มีรูปลักษณ์ จิตทุกดวงในวัฏฏะแท้จริงแล้วมีแค่ดวงเดียว
    แต่จิตดวงเดียวนี้จะเป็นทุกดวงจิต เหมือน CPU คอมพิวเตอร์ แม้มีเพียงตัวเดียว
    แต่มี Core ที่แยกกันทำหน้าที่โดยอิสระจากกันได้ ซึ่งเรียกว่า “จิตย่อย” ซึ่งหากจะกล่าวว่า
    จิตย่อยเป็นจิตที่แบ่งออกมา โดยที่ยังเชื่อมต่อกับจิตใหญ่อยู่ก็ไม่ผิด เมื่อเป็นสิ่งเดียวกัน
    จิตเราคือจิตเขา จิตเขาก็คือจิตเรา จึงสามารถล่วงรู้ หรือสื่อสารข้อมูลต่างๆร่วมกันได้โดยไม่มีจำกัด
    ไม่มีระยะทาง เพราะคลื่นจิตแผ่คลุมทั้งจักวาล เปรียบดั่งโลกไซเบอร์ ที่มี “Network” ขนาดใหญ่
    ซึ่งมีข้อมูลความรู้ต่างๆมากมาย รอให้เราค้นหา


    "จิตย่อย"
    คือจิตที่มีหน้าที่ต่างๆ บางส่วนถูกแบ่งมาใส่ในธาตุทั้ง ๔ กำเนิดเป็นร่างกาย
    กายนี้ที่ผนึกกั้นจิตของเราเอาไว้ แฝงความคิดเรื่องการมีตัวตนให้เรา ให้เราเห็นว่าเรามีแขนมีขา
    จะไปที่ใดๆก็ต้องเดินทาง ต้องนอน ต้องกิน มีความอยากต่างๆ ร่างกายที่เป็นตัวสร้างกิเลส
    ทำให้จิตไปยึดติด และใช้พลังไปกับกิเลสจนไม่สามารถที่จะส่งกระแสพลังให้ทะลุกายที่เป็นตัวกั้นจิตได้
    เหมือนตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า เมื่อเราใช้อุปกรณ์หลายอย่างพร้อมๆกันจนเกินกำลังตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า
    ทำให้ส่งไฟฟ้าไม่พอ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้ากำลังมากๆก็ไม่สามารถทำงานได้ เช่นเดียวกับจิต
    การจะสื่อสารกับจิตอื่นได้ต้องมีกำลังจิตที่มากพอ แต่เพราะจิตเราไปคิดถึงแต่กิเลส
    คิดถึงสิ่งต่างๆมากมาย วันนี้จะกินอะไร พรุ่งนี้จะถูกหวยไหม เอาจิตไปเปลืองพลังงานกับความคิดฟุ้งซ่าน
    จึงทำให้มีกำลังไม่พอ ฉะนั้นการฝึกจิตจึงหมายถึงการฝึกนำกำลังของจิตทั้งหมดที่มีมาใช้ส่งกระแส
    เพื่อสื่อสารกับดวงจิตภายนอก เช่น จิตของคนที่มีชีวิต หรือจิตของคนที่ตายไปแล้ว
    หรือแม้แต่กับจิตนิพพานก็สามารถทำได้


    [​IMG]

    อธิบาย คำว่า "จิตว่าง" กับ "จิตนิ่ง"
    ในชีวิตประจำวันนั้น มีกระแสจิตมากมายผ่านตัวเรา มีดวงจิตมากมายที่พยามจะสื่อสารกับเรา
    แต่เราไม่รับรู้ ถ้าเปรียบกายของเราคือบ่อน้ำ จิตของเราก็คือน้ำ การไปยึดติดกิเลสไว้มาก
    เปรียบดั่งกระแสน้ำที่ไม่นิ่งสั่นไหวตลอดเวลา วงกระแสคลื่นน้ำมากมาย เมื่อมีการโยนหินลงไป
    หันไปดูก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าเขาโยนลงไปตรงไหน เปรียบดั่งกระแสจิตภายนอกที่พยามสื่อกับเราแต่เราไม่รู้
    เมื่อเราทำจิตให้นิ่งได้ก็เปรียบดั่งกระแสน้ำนิ่ง ผิวน้ำเรียบ เมื่อมีคนโยนหินลงไป
    เราจะสามารถรู้ได้ว่าโยนลงไปตรงไหน จากการสังเกตุวงกระแสน้ำที่เกิดขึ้น อันนี้คือจิตนิ่ง
    ส่วนจิตว่าง ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกสิ่ง เหมือนไม่มีจิต คือบ่อน้ำ ที่ไม่มีน้ำ
    และเมื่อมีการโยนหินลงไป ก็ไม่รู้ว่าตกลงตรงไหน เพราะไม่มีน้ำให้สังเกตุวงน้ำ
    จิตว่าง ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกสิ่ง แต่แค่ชั่วคราว กิเลสยังอยู่ จิตว่างนั้น
    ไม่มีกระแสจิตให้สื่อสารกับจิตอื่นใดๆเป็นการหยุดพักชั่วคราว คือการผ่อนคลาย
    ให้จิตได้หยุดพักผ่อน เพื่อฝื้นฝูหรือเสริมกำลังของจิต เปรียบได้กับการปิดโทรศัพท์แล้วเอาไปชาจแบต
    จิตนิ่งนั้น เป็นการจูนคลื่นให้เปิดรับกับกระแสภายนอก คือการเร่งกระแสจิตที่อยู่ภายในกาย
    ให้มีรัศมีแผ่ออกไปภายนอกกาย เพื่อที่จะสื่อสาร รับรู้ แลกเปลี่ยน เปรียบกับสัญญาณดาวเทียม
    ที่ต้องเร่งให้แรงพอจะทะลุกลุ่มเมฆไปได้ ซึ่งวิธีการฝึกที่จะแนะนำต่อไปนี้จะเป็นการฝึกจิต
    ทั้งให้ว่าง และ ให้นิ่ง ถามว่าจำเป็นไหมต้องฝึกทั้งสองอย่าง “จำเป็น”
    เพราะเราต้องรู้และเข้าใจทั้งสองสภาวะ และในชีวิตประจำวันต้องใช้ทั้งสองสภาวะ
    คือ เมื่อเราต้องการจะสื่อสารเราทำจิตนิ่ง เมื่อเราอ่อนล้า ต้องการผักผ่อน
    เราทำจิตว่าง เหมือนดับไป ว่างไป ๑๐ นาที แต่ลืมตามาผ่านไปเป็นชั่วโมง
    จิตใจก็สดชื่นเบิกบาน ความรู้สึกทางกายก็ดีตามไปด้วย


    [​IMG]

    วิธีฝึกให้ “จิตว่าง”
    สำหรับผู้ที่ฝึกนั่งสมาธิมาด้วยตัวเองแบบจริงๆจังมาสักระยะหนึ่ง จะเข้าใจสภาวะนี้ดี
    แต่ผู้ที่ยังไม่เคยนั่งจริงๆจัง ต้องใช้เวลา เพราะจิตที่ไม่เคยหยุดนิ่ง จะให้มันนิ่งเลยนั้นเป็นไปไม่ได้
    เหมือนรถยนต์ที่แล่นมาเร็ว ยิ่งเร็วมากเท่าไร ระยะเวลาที่จะหยุดให้นิ่งสนิทก็จะยิ่งนานเท่านั้น
    เริ่มจากนั่งวันละน้อยๆ แต่ให้ได้ทุกวัน เริ่มจากวันละ ๕ นาทีเป็นเวลาสัก ๗ วัน
    แล้วเพิ่มเป็น ๑๐ นาทีในสัปดาห์ที่สอง และเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ จนตัวเรานั้นรู้เองว่า
    ประมาณกี่นาทีถึงจะเหมาะสมกับเรา


    ระยะแรก ผู้ฝึกใหม่จะให้จิตนิ่งหรือว่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลย จิตจะคิดตลอดเวลา
    หลักๆก็ เสียงรอบๆตัว เสียงอะไรว้า นั่นหมาเห่า นั่นประตูดัง ใครวะเดินมา รำคาญเสียงรถ
    มดไต่จะตบหรือจะให้มันกัดดี ละครวันนี้เรื่องอะไร จนครบกำหนด ๕ นาทีหรือ ๑๐ นาที
    ก็ไม่ได้มีช่วงเวลาที่หยุดคิด แต่ไม่เป็นไร การก้าวหน้าขั้นแรกคือ เราหยุดกายให้นิ่ง ๕-๑๐ นาที
    ในวันนี้เรายังฝืนจิตไม่ได้ไม่เป็นไร ฝืนกายไปก่อน


    ระยะที่สอง เวทนา ความเจ็บปวดจากการบังคับกายให้นิ่ง คือเหน็บชาหรือบางคนก็ต่างอาการ
    ต้องทนเจ็บปวดผ่านพ้นไปให้ได้ ไม่ขยับ เมื่อถึงช่วงที่นั่งสมาธิแล้วเกิดอาการเจ็บปวดเหน็บชา
    ต้องอดทน มันจะเกิดเวทนาขึ้นไม่กี่วัน หากทนผ่านพ้นไปได้ อาการจะไม่กลับมารบกวนใจอีกเลย
    หรือมาก็ไม่มีผลกับเราแล้ว หลายคนไปวิตกกับเวทนา สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น กลัวจะเสียแขนขาไป
    แต่ไม่ต้องกังวลหรือวิตกกับเวทนาใดๆ หลายอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นที่จิตของเรา
    ลืมตามาก็ไม่ได้มีผลกับร่างกาย ( ยกเว้นเหน็บชา )


    ระยะที่สาม ภาพลวงจากจิต จะเริ่มเกิด ผู้ที่ปฏิบัติแบบครึ่งๆกลางๆ ทีเล่นทีจริง ไม่มีทางมาถึงจุดนี้
    ผู้ที่ผ่านการฟุ้งของจิต จะสามารถเห็นความต่างระหว่าง จิตที่ฟุ้งคิดนอกเรื่องของตัวเอง
    กับภาพลวงที่มาจากจิตใต้สำนึก ภาพลวงนั้นเป็นภาพที่มาเองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด
    เช่น เห็นตัวเองในวัยเด็ก หรือ เหตุการณ์จริงที่เคยผ่านมา หรืออาจจะเห็นเป็นตัวการ์ตูน
    หรือสัตว์ประหลาดในหนังที่ตัวเองเคยดู ความรู้สึกเหมือนกับฝันทั้งๆที่ยังนั่งสมาธิอยู่
    บางครั้งก็เหมือนพูดคุยกับใครอยู่ จนกายเราเผลอหลุดปากพูดออกมา นิมิตภาพลวงเหล่านั้นยังไม่ใช่ของจริง
    จึงต้องแยกแยะให้ออก หลายคนหลงกับนิมิตภาพลวงว่าเป็นจริง ฝันว่าตัวเองไปสวรรค์ไปนรกมา
    เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเชื่อว่าได้ถอดจิตไปจริงๆ


    ระยะที่สี่ เวลาในการนั่งเพิ่มขึ้น เมื่อสามารถนั่งได้สัก ๒๐ นาทีขึ้นไป แสดงว่าเริ่มมีช่วงที่จิตเลิกฟุ้งซ่านแล้ว
    ช่วงนี้ปล่อยจิตตามสบาย ไม่ต้องคิดอะไร เมื่อนิมิตภาพลวงเกิดขึ้นก็ปล่อยมัน รอให้มันหายไป
    แล้วทำใจให้ว่างๆไม่ต้องคิดอะไร เมื่อใดที่เราลืมตาขึ้น และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้คิดอะไร
    ความรู้สึกเหมือนหายไปเหมือนจิตดับไป ไม่มีความคิดในหัว ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่รู้ว่าเวลาผ่านไปเท่าไร
    นั่นแหละคือสภาวะ “จิตว่าง”


    วิธีฝึกให้"จิตนิ่ง"
    ๑ ใน กรรมฐาน ๔๐ อย่างที่ดีที่สุด และใช้ได้ทุกคน คือ อานาปานสติ
    การระลึกรู้สภาวะลมหายใจของตัวเอง เพราะทุกคนต้องหายใจตลอด
    การกำหนดลมหายใจนั้น ถือเป็นหนึ่งใน สติปัฏฐาน ๔ ส่วนของ"กายานุปัสสนา"อีกด้วย
    เมื่อฝึกให้จิตว่างจนชำนาญแล้ว พอลงมือปฏิบัติแล้วเริ่มรู้สึกว่าสภาวะจิตว่างเริ่มจะเกิด
    ให้เอากรรมฐานนี้เพิ่มเข้าไปในจิต หรือจะเริ่มกรรมฐานนี้ตั้งแต่แรกเริ่มปฏิบัติเลยก็ได้
    คือการกำหนดรู้ว่าตอนนี้เราหายใจ เข้า หรือ ออก มีลมสัมผัสที่จมูก หรือท้องยุบพองก็ตามชอบใจ
    อย่าเกร็งจนไปฝืนลมหายใจจนอึดอัด เพราะจะเสียสมาธิ พูดง่ายๆก็คือ นั่งสมาธิ ไม่ต้องคิดอะไรอื่น
    นอกจากระลึกว่าตอนนี้ เรากำลังหายใจอยู่ หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ จิตจับอยู่แต่กับจังหวะการหายใจ
    เปรียบดั่งสายน้ำที่สั่นไหวเพียงนิด เพราะยังมีน้ำ ยังไงก็ต้องมีสั่นไหวบ้าง แต่ทำให้สั่นไหวน้อยที่สุด
    ให้น้ำนิ่งที่สุด ถ้าปฏิบัติใหม่ๆจิตไม่นิ่ง ทั้งๆที่ก็กำหนดลมหายใจอยู่ จงอย่าวิตกว่าเราจะทำไม่สำเร็จ
    เป็นธรรมชาติของจิต เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ จิตย่อมเผลอไปจับเผลอไปวิตกกับสิ่งนั้นได้
    เช่น ฟังเพลงที่ได้ยินและร้องตามในใจ หรือฟังข่าว ตามรู้ว่าข่าวอะไรใครตายใครติดคุก
    เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ถือว่าน้ำเกิดคลื่นเยอะมันไม่นิ่งแล้ว เมื่อระลึกรู้ตัว เราต้องรีบละสิ่งเหล่านี้
    และคงเหลือไว้แค่การกำหนดรู้การหายใจ เข้าออก เพียงอย่างเดียวเท่านั้น


    [​IMG]
    ภาพต้นฉบับ จากกระทู้ของคุณ Nupor

    เมื่อจิตเรานิ่งแล้ว ในตอนนี้ นิมิตภาพลวงก็ยังคงมีปรากฎบ้าง แต่เรารู้จักมันแล้ว
    หากเราฝึกบ่อยๆ ตามเห็นมันปรากฎเรื่อยๆจนเราจะสามารถแยกแยะได้ระหว่างนิมิตภาพลวง
    กับนิมิตภาพที่เกิดจากจิตภายนอกที่เชื่อมต่อสื่อสารกับจิตของเรา โดยมีอาการที่เกิดกับจิตของเรา
    เหมือนการเกิดนิมิตภาพลวง คือเราไม่ได้คิดสร้างมันขึ้นมา มันเข้ามากระทบ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง
    นิมิตนั้นจะมาไวไปไว จะต่างกับภาพลวง ภาพลวงจะเหมือนฝัน มาเป็นภาพเคลื่อนไหวบ้าง มาเป็นเสียงบ้าง
    และเราตามรู้ตามดูได้นาน แต่นิมิตของจริง มักจะมาเป็นภาพ และในระยะเริ่มแรกมักปรากฏเพียงแค่ชั่วขณะ
    และมักจะมาแค่ภาพเดียว มาแบบยังไม่ทันตั้งตัวภาพก็หายไปแล้วนิมิตภาพอาจจะออกมาเป็นขาวดำ
    หากเราผ่านการฝึกจิตยิ่งมาก กำลังจิตก็จะยิ่งมาก นิมิตก็จะปรากฏแจ่มชัดและคงอยู่ได้นานขึ้นตามลำดับ


    วิธีฝึกจิต โดยให้จับคู่นั่งหันหน้าชนกัน เริ่มทำสมาธิ แล้วเจ้ากรรมนายเวรของกันและกัน
    ก็จะเป็นผู้สื่อให้อีกฝ่ายได้รู้ ถ้าเป็นเด็กที่ถูกทำแท้ง ภาพนิมิตอาจจะเป็นเหมือนฟีล์มเอ็กซเรย์
    ถ้าเป็นกุมารทอง ก็อาจจะเป็นภาพลักษณะของกุมารทองที่เราเคยพบเจอ อีกกรณี
    เช่น วิญญาณเด็กที่ต้องการตามหาพ่อ นิมิตที่ปรากฏอาจจะมาเป็นอักษรคำว่า “พ่อ”
    ซึ่งนิมิตที่ปรากฏนั้น แต่ละคนอาจจะเห็นต่างกันไป ตามแต่ประสบการณ์ในชีวิตที่
    คนคนนั้นได้ไปรับรู้มา เช่น ถ้าวิญญาณเด็กตามหาพ่อและผู้ทดสอบญาณเป็นฝรั่ง
    ในจิตเขาจะขึ้นภาพอักษรว่า “father”


    ประสบการณ์การฝึกจินตนาการนั้นสำคัญ ถ้าจินตนาการเราน้อยเกินไป
    นิมิตจะมีรูปแบบที่น้อยตามไปด้วย อย่างเช่น ถ้าเรามองเห็นว่าคนๆหนึ่ง
    จะประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เราเห็นภาพรถยนต์ชนกันแค่นั้น
    บอกได้แค่ว่าอุบัติเหตุรถยนต์แต่หากเราฝึกจินตนาการด้านสีสรรค์
    เราจะเห็นกระทั่งสีรถคันนั้น และถ้าเรามีความรู้เรื่องยี่ห้อรถยนต์
    เราอาจจะสามารถเห็นได้ละเอียดมากขึ้น สามารถบอกได้ถึงยี่ห้อของรถเลยทีเดียว
    โดยธรรมชาติของจิต เมื่อเจอกับสิ่งที่เราไม่รู้จักหรือไม่ค่อยทราบรายละเอียด
    สิ่งนั้นจะเห็นเพียงรูปร่างหรือเห็นเพียงลักษณะ ซึ่งทำให้คาดเดายาก
    ฉะนั้นการฝึกจินตนาการก็สำคัญ และการฝึกที่เรียกว่า " มโนมยิทธิ" นั้น
    ก็เป็นการฝึกเพื่อเสริมสร้างจินตนาการของเรา มีประโยชน์ให้นิมิตจากญาณของเราแจ่มชัด
    ฝึกจิตให้นิ่งแล้ว ก็ควรจะไปฝึกจินตนาการร่วมด้วย เมื่อเราฝึกทำสมาธิจนคล่องแล้วนั้น
    ต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องหลับตาหรือนั่งขัดสมาธิ สามารถพูดคุยเป็นปรกติ
    นิมิตจะเข้ามาเองได้ตามวาระ อาจจะได้รับรู้ว่าคนที่เราคุยนั้น คิดอะไรอยู่ เป็นคนดีหรือไม่
    หรือเมื่อถูกถาม คำตอบก็เกิดเป็นนิมิตเข้ามาในจิตทันที ขอให้ทุกท่านที่ตั้งใจ จงประสบผลสำเร็จ





    [​IMG]


    รวมบทความ

    นั่งสมาธิแล้วได้อะไร(ประสบการณ์ตรงจากการบวชพระ1พรรษา)

    ก่อนปฎิบัติต้องทำความเข้าใจเรื่อง "ทาน ศีล ภาวนา รวมถึงการแผ่เมตตา และการอุทิศบุญ"

    วิธีฝึก วิธีคิด สำหรับผู้อยาก"บวชใจ"

    รักษาศีลให้บริสุทธิ์ที่สุดต้องรักษาให้ถึงใจ

    ความหมายแท้จริงของการทาน "เจ"

    วิธีฝึกจิต รับรู้สภาวะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2013
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]
     
  3. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
  4. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...