ร่วมทำบุญบูชา ชุดทดลองเนื้อสำเร็จทะลวงขั้นชำระรากปมกรรมห้วงภพ(สมดุลย์กลาง) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    อรุณสวัสดิ์ครับ

    วันนี้ก็มาติดตามกันต่อนะ:cool:
     
  2. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    แจ้งการส่ง EMS

    พี่ธนากร ER 0391 1153 2 TH

    พี่สายเมธี ER 0391 1154 6 TH
     
  3. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    อรุณสวัสดิ์เช้าวันนี้นะครับ

    เดี๋ยวมาติดตามกันว่าตะกรุดอะไรบินได้:cool:
     
  4. seekerpunch

    seekerpunch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +3,114
    ได้รับพัสดุแล้ว ขอบคุณครับ
     
  5. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    พรุ่งนี้ติดตามดีๆนะครับ แอบบอกไว้คร่าวๆว่าเป็นอะไรที่ท่านจารแบบอลังการมากและบีบอักขระสุดๆหลายสิบบทพระคาถา ซ้ำยังมีผง...กลับธาตุ รับรองว่ามิเศษจริงๆ:cool:
     
  6. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    ร่วมทำบุญบูชา มงคลสมดุลอาถรรพ์เศวตเวทย์(แมลงปอกลับธาตุ)

    พ่ออาจารย์ท่านเคยปรารภถึงวิชาแมลงปออยู่หลายครั้งแต่ท่านก็ยังไม่ใคร่ทำ จนหลายครั้งมีผู้นำแมลงปอสำนักต่างๆที่ศูนย์พระสร้างมาให้ท่านตรวจสอบ ก็กลับพบว่าแมลงปอเหล่านั้นผู้สร้าง ยังไม่รู้แม้แต่หัวใจของแมลงปอไม่มีการลงหัวของแมลงปอเลย ท่านว่าป่วยการที่จะพูดอะไรมากกว่านั้นว่าเสกไปได้อย่างไร

    หลังจากนั้นท่านมีนิมิตเชื่อมต่อเข้ากับอารยธรรมยุคบรรพกาล ท่านจึงรู้และเห็นความสำคัญของวิชาแมลงปอที่ว่า ทำไมทุกคนถึงควรที่จะมี วิชาแมลงปอนี้สำคัญเพียงไร สูงส่งแค่ไหน หากลงหัวใจและลงเต็มวิชาแล้วจะมีคุณมากเพียงใด

    พ่ออาจารย์ท่านว่าหลายคนจะรู้จักวิชาแมลงปอเพียงแค่ว่า เป็นวิชาชั้นสูงทางเรียกทรัพย์ เป็นวิชาทางมหาลาภ ด้วยแมลงปอมีนิสัยชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง จะอยู่ร่วมกันในบริเวณที่มีอาหารบริบูรณ์ ดังนั้นวิชาแมลงปอนี้อยู่ที่ไหนที่นั่นจึงจะสมบูรณ์ ไพบูลย์เจริญรุ่งเรืองวัฒนาด้วยชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย เพียบพร้อมไปด้วยอาหารการกินปัจจัยสี่แก้วแหวนเงินทอง ท่านว่าหลายๆคนจะรู้เพียงเท่านี้ซึ่งนั่นก็ไม่ผิดอย่างใด แต่มันคืออานุภาพของแมลงปอแบบเต็มวิชา ไม่ใช่แมลงปอที่ขาดหัวใจ

    ท่านว่าวิชาแมลงปอนี้สำคัญนัก นอกจากจะเป็นเลิศทางเรียกทรัพย์ เรียกสิ่งที่ไม่มีให้มีเต็มคลังเต็มบ้าน ช่วยให้คนจนเป็นเศรษฐีอย่างง่าย ดีทั้งการทำมาหากินและเสี่ยงโชคทุกสถานเพราะเป็นสัญลักษณ์และวิชาแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่สืบทอดมาแต่ยุคบูรพาจารย์แล้ว ท่านว่ามันก็ถูกแต่ยังไม่ใคร่ถูกเสียทีเดียวทั้งหมด วิชาแมลงปอจริงแท้แล้วนั้น ที่ว่าเป็นวิชาสำคัญมากจนบูรพาจารย์แม้สั่งสอนศิษย์ก็ไม่ใคร่จะสอนทั้งหมดอาจจะมีปิดบังหัวใจหรือการลงบางอย่างทำให้ในชั้นหลังวิชาแมลงปอเป็นแค่การเสกพยนต์ที่หนุนด้วยธาตุและคาถาต่างๆไป

    ท่านว่าโดยแท้จริงวิชาแมลงปอเป็นวิชาแห่งความสมดุล สิ่งใดที่มันยังขาดไปมันก็จะเต็ม สิ่งใดที่มันเกินไปมันก็จะลดทอนทั้งอุปัทวอันตรายเคราะห์กรรม โรคภัยทั้งหลายเช่นนี้จะลดทอนไป ท่านว่ามนุษย์ที่เกิดมาตามกฏแห่งกรรมนี้ มีอยู่แค่สองอย่างในความรู้สึกตน มีแค่สองสถานไม่มีมากไปหรือน้อยไปกว่านั้น หากมากไปนั้นก็ได้ชื่อว่าทุกข์ น้อยไปก็ยิ่งทุกข์อีก ไม่ขาดก็เกินเป็นเช่นนี้ทุกคน วิชาแห่งความสมดุลนี้เป็นวิชาสายกลางเป็นวิชาของความพอดี ซึ่งจะปรับสมดุลย์ธาตุ ตลอดจนวิถีชีวิต ไม่ให้มีมากหรือน้อยเกินไป ท่านว่าที่ว่ามีพอดีนั้นคือมีความสุข วิชาแมลงปอหรือตะกรุดแมลงปอกลับธาตุนี้จึงเป็นวิชาอันจะนำมาซึ่งความสุข แม้สถิตย์อยู่กับผู้ใดย่อมได้ชื่อว่าห่างไกลจากทุกข์หรือนิรทุกข์ทีเดียว

    พ่ออาจารย์ท่านมักจะพุดว่า แมลงปอนั้นเค้ามองโลกได้รอบทิศ เห็นได้ถ้วนทั่วเกินกว่าทัศนวิสัยของมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะเค้ามองโลกได้ทั้ง 360 องศา และก็เป็นเช่นนั้นผู้ที่ถือครองวิชาแมลงปอนี้จะมีคุณวิเศษเสริมสร้างสัมผัสเร้นลับตลอดจนทัศนวิสัยให้เปิดเต็มที่ มองโลก มองชีวิตได้ง่ายและเข้าใจกว่าคนอื่น เห็นช่องทาง เห็นลู่ทาง เห็นอนาคต จะพึงรู้ว่าสิ่งใดควรทำมิควรทำ มีลางสังหรณ์พิเศษว่าสิ่งใดต้องลงมือทำแล้วจะสำเร็จหรือสิ่งใดเกี่ยวข้องด้วยจะถึงคราววิบัติ ท่านว่าวิชาแมลงปอมันพิเศษตรงสัญชาตญาณเช่นนี้แหละเพราะวิชาอื่นทำไม่ได้และไม่มี มันถึงได้ถูกยกไว้เป็นยอดวิชา เป็นวิชาที่ค่าควรเมืองจะหาวิชาใดมาเปรียบเทียบมิได้ เพราะคนที่กอปรด้วยสัญชาตญาณและสัมผัสพิเศษถึงปานนี้แน่นอนว่าย่อมต้องเป็นยอดคนที่พันปีจะเกิดมีซักครั้งหนึ่ง แต่คนที่รู้และเข้าใจวิชาหัวใจแมลงปอนั้นกลับไม่มี ท่านว่าถ้าไม่ดีจริงวิชาแมลงปอนี้แม้แต่กษัตริย์ในอารยธรรมโบราณอย่างพวกฟาโรห์อียิปต์คงจะไม่ใช้กัน มันเป็นวิชาแห่งความสมดุลเป็นวิชาแห่งความอุดมสมบูรณ์ถึงขึ้นสร้างมหานคร สร้างชาติ ก่อเกิดอาณาจักรที่มั่งคั่งยาวนานนับพันปีท่านว่านี่คือความลับของวิชาแมลงปอ เพียงหัวใจแมลงปอลงและเสกเต็มวิชาให้กับใคร ไม่เห็นเค้าว่าจะแย่ลงซักราย มีแต่กลายเป็นตัวตนที่คาดไม่ถึงไปแล้วทั้งนั้น

    เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็พิจารณาจะทำไว้แบบเต็มวิชา เต็มสูตรเป็นรุ่นเสียวาระหนึ่ง ท่านว่าตั้งใจว่าจะทำให้เป็นตะกรุดดอกเล็กๆให้คนมีวาสนาบูชาเค้าจะได้พกง่าย ใช้งานง่าย แต่ถึงกระนั้นวิชามันไม่เล็กตาม ดังนั้นจึงต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง ท่านว่ากว่าจะเรียกสูตรจารแต่ละตัวนั่นยั่งไม่เท่าไหร่ แต่การบีบและย่ออักขระนี่สิ ทำเสร็จแล้วปลงโลกได้เลย ท่านว่าเพราะอาศัยความเพียร ความตั้งใจและความเข้มข้นของจิตอย่างมากจึงทำไว้ได้เพียง 8 ดอก

    หลังจากท่านลงหัวใจแมลงปอเสร็จแล้ว พ่ออาจารย์บอกว่าตะกรุดแมลงปอกลับธาตุนั้นเพื่อให้สมกับเป็นวิชาแห่งความสมดุล ท่านได้นำอาถรรพ์เศวตเวทย์ทั้ง 32 บท ลงเสริมเข้าไปด้วย ท่านว่าเพียงลำพังเศวตเวทย์อันได้ชื่อว่าสูงส่งเหนือกว่าคุณวิชชาหรือไสยเวทย์ทั้งหลาย แม้เพียงบทเดียวก็มีคุณมากประมาณยิ่งกว่าฝอยท่วมหลังช้างแล้ว แต่ท่านกลับลงไว้ถึง 32 บท ทำการจารบีบอัดอักขระมากที่สุดนับร้อยนับพันตัว เพื่อให้ได้ตะกรุดดอกเล็กๆที่บรรจุไว้แน่นด้วยคุณวิชา

    ท่านว่าเศวตเวทย์คือเวทย์บริสุทธิ์ เป็นวิชาธรรมสูงส่งอันจะบันดาลให้เกิดความสำเร็จสมหวังด้วยอานุภาพแห่งอาถรรพ์ธรรมเวทย์ วิชาเช่นนี้เหนือกว่าคุณไสยอวิชชาทั้งปวง ท่านว่าไม่มีใครเค้ามักใช้มักทำกัน เพราะมันเหมือนเป็นดาวข่ม สำหรับผู้ถืออาถรรพ์เศวตเวทย์ดุจว่าข่มและเหยียบวิชาไสยเวทย์และอาถรรพ์ฝ่ายต่ำฝฝ่ายอวิชชาทั้งหลายไว้ทีเดียว แม้ใครมีของดีหรือเล่นคุณไสยอย่างไรท่านว่าเศวตเวทย์ข่มและกำราบทั้งหมด คนเหล่านั้นไม่มีที่ว่าจะชนะและอยู่เหนือกว่าเราเลย

    ท่านว่าเมื่อลงตะกรุดเศวตเวทย์นี้ ย่อมเป็นการลงอาถรรพ์ที่เหนือกว่าวิชาอาถรรพ์ใดๆทั้งปวง เป็นการทำวิชาวาระสำคัญที่จิตวิญญาณเบื้องบนยังต้องน้อมเศียรนมัสการธรรมเวทย์นั้น เพราะธรรมเวทย์เหล่านั้นแม้แต่เหล่าองค์สมเด็จพระพิชิตมารพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังน้อมยึดถือไว้เป็นสรณะ ท่านว่าจะพูดมากก็ไม่ควร บอกได้คร่าวๆเพียงเท่านี้

    เมื่อพ่ออาจารย์ท่านได้อาศัยยามปลอด อาศัยฤกษ์มงคลลงตะกรุดทั้งแปดดอกถือเคล็คว่าเป็นลัคกี้นัมเบอร์ คนใช้จะได้ยิ่งมีโชคกันมากๆสำเร็จแล้ว ท่านก็พึงเสกแผ่นตะกรุดนั้นเรื่อยมา จนในวาระหนึ่งท่านนิมิตเห็นเสด็จพระใหญ่ได้เมตตามาจับต้องแผ่นจารเหล่านี้ พร้อมกับถามท่านว่ากำลังเล่นอะไร ทำอะไรอยู่นี่แสบตาดีจัง หลังจากนั้นพระองค์ก็พิจารณาแผ่นจารมงคลเศวตเวทย์เหล่านั้น พร้อมกับเปล่งพุทธอุทานว่าสาธุซึ่งแปลว่าดีแล้ว และดำรัสว่า ดูเถิด แม้แต่ธรรมเวทย์ธรรมธาตุเหล่านี้ยังบังเกิดแล้วในวัตถุใด เบื้องหน้านั้นธรรมธาตุเหล่านี้ย่อมบังเกิดในชนเหล่านั้นเสมอกัน หลังจากนั้นพ่ออาจารย์ท่านจึงขอให้พระองค์ท่านช่วยกำกับและลงวิชาธรรมอีกวาระหนึ่ง

    หลังจากนั้นท่านจึงม้วนและทำการตอกโค้ดตะกรุด พร้อมกับนำมาอุดผงวิเศษอันเรียกว่าราหูกลับธาตุ ท่านว่าวิชานี้ยิ่งกว่าวิชาเพชรกลับหรือมหากลับอะไรเหล่านั้น เพราะเป็นผงที่ทำยากมากเป็นผงของพระราหูอสุรินทร์โพธิสัตว์ เป็นวิชาเฉพาะของมหาโพธิสัตว์ใหญ่พระองค์หนึ่งซึ่งก็คือพระราหู อันว่าราหูกลับธาตุนี้ ธรรมดาท่านว่าแม้ใครได้บูชาพระราหูก็มีความเชื่อกันว่าจะบรรเทาเคราะห์กรรมได้ ยิ่งใครดวงตกพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกต่างๆจึงมักนิยมบูชาพระราหูกัน ด้วยถือว่าจะผ่านพ้นช่วงเวลาเลวร้ายและเคราะห์กรรมเหล่านั้นไปได้ แต่วิชาราหูกลับธาตุนี้ ท่านว่ามันมากกว่านั้นอยู่หน่อยนึง ไอ้เรื่องแย่ๆร้ายๆต่างๆบรรดามีที่จะทำความเสียหายล่มจมพอมันว่าจะเกิดๆ มันก็กลับไม่เกิด กลับหน้ามือเป็นหลังมือไปหมด พูดง่ายๆคือไม่มีนั่นเอง ไม่มีช่วงเวลาเสวยทุกข์ เสวยเคราะห์กรรม วิชาราหูกลับธาตุนี้จึงเป็นยิ่งกว่าวิชาหนุนดวงใดๆ ท่านว่าพกไว้สบายใจอย่างยิ่ง ท่านจึงนำผงราหูกลับธาตุนี้มาอุดมงคลเศวตเวทย์ทุกดอกและเรียกว่าตะกรุดแมลงปอกลับธาตุ

    ท่านว่ามงคลอาถรรพ์เศวตเวทย์นี้เป็นของสูงค่าและทำได้ยาก ลำพังผงราหูกลับธาตุกว่าจะรวบรวมมวลสารอาถรรพ์มาทำผงได้ก็ใช้เวลาร่วมปี ดังนั้นจึงตั้งใจไว้ว่าจะทำเพียงครั้งเดียว ไม่มีครั้งต่อไปอีก เพราะการจารเช่นนี้ใช้พลังจิตสูงมา ท่านว่าตะกรุดนี้อธิษฐานใช้ได้เลย เวลาอธิษฐานให้บอกว่าชีวิตลูกยังขาดอะไร ยังไม่มีอะไร (เพราะสิ่งเหล่านี้จึงได้ชื่อว่าชีวิตยังไม่สมบูรณ์) ขอให้อานุภาพแห่งเสด็จพระใหญ่และครูพระเวทย์พระธรรมสงเคราะห์ให้มีทุกสิ่งสำเร็จทันใจทุกประการ ท่านว่าตะกรุดนี้ทำใจให้สงบให้อารมณ์เย็นสบายแล้วค่อยอธิษฐาน คาถานั้นไม่จำเป็นต้องใช้ แต่จะถือภาวนาไว้ก็ได้

    คาถาบูชา
    เอหิจิตตัง นะกะหะตะปะพุทธัง ภควาจิตตัง มานิมามา


    * มงคลสมดุลอาถรรพ์เศวตเวทย์(แมลงปอกลับธาตุ)นี้ พ่ออาจารย์ท่านสร้างไว้แปดดอก ท่านว่าเป็นวิชาอาถรรพ์ที่ไม่มีใครทำกันเหนือกว่าวิชาอาถรรพ์ใดๆทั้งหมด ดังนั้น ผู้ที่จะบูชาจึงต้องมีวาสนาและจิตผูกพันธ์กับวิชาอาถรรพ์อันเป็นยอดวิชาแต่บรรพกาล ท่านจึงอธิษฐานจิตทำขึ้นฝากไว้ให้กับผู้มบุญสัมพันธ์เหล่านั้น สำหรับคนที่จะบูชารับจองเฉพาะทาง PM และแจ้งชื่อนามสกลุล วันเดือนปีเกิดไว้ด้วย พ่ออาจารย์ท่านจะทำการเจิมเปิดดวงรับทรัพย์ที่ตะกรุดทุกดอกให้เป้นของเฉพาะคน

    ร่วมทำบุญบูชา มงคลสมดุลอาถรรพ์เศวตเวทย์(แมลงปอกลับธาตุ) บูชา 4,000 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2016
  7. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    เล่นเกมส์รอบนี้

    เราจะเล่นเกี่ยวกับเรื่องพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ที่ทรงพระราชทานไว้ในวาระและโอกาศต่างๆ ซึ่งจะให้หยิบยกมาในท่อนที่เป็นประโยชน์ และยึดถือเป็นกำลังใจ เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ก็เข้ามาแจ้งไว้ก่อน ติดตามกันนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2016
  8. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,154
    ค่าพลัง:
    +16,536
    ร่วมเล่นเกมส์ แจกตะกรุดพญาเต่าทองพิศดาร

    อรุณสวัสดิ์ครับ

    วันนี้ก็จะมาร่วมเล่นเกมส์กันเพื่อจะแจกตะกรุดพญาเต่าทองพิศดาร ซึ่งรายละเอียดนั้นขออุบไว้ก่อน แต่จะบอกว่าของดีมีน้อย เพราะเป็นวิชาเฉพาะที่สร้างยากและมีอานุภาพใหญ่ ใช้ทางเมตตา มหาเสน่ห์ ทางทำมาหากินได้ครบถ้วน หรือจะแช่ในน้ำมันหอมไว้จุณเจิมตัวเองให้เกิดสิริมงคลก็ได้ รายละเอียดตะกรุดพญาเต่าทองพิศดารนั้นเดี๋ยวจะมาพูดกันแบบละเอียดอีกหนหนึ่ง

    สำหรับเกมส์ที่จะให้ร่วมเล่นกันในวันนี้ก็เป็นเกมส์ง่ายๆ


    นั่นคือ ให้หยิบยกพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศออกมาเผยแพร่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านอกจากโครงการในพระราชดำริแล้วพระองค์ยังทรงมีกระแสพระราชดำรัสในหลายวาระที่เป็นประโยชน์กับการดำเนินชีวิตคนไทยอย่างยิ่ง

    เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสิรฐ ในวาระนี้ก็จะให้ร่วมเล่นเกมส์กัน โดยอีกทางหนึ่งนั้นอย่างน้อยผู้เล่นก็ต้องหาข้อมูลไปด้วยว่าพระองค์ทรงตรัสอะไร ตรัสที่ไหน วาระใด มีประโยชน์อย่างไร และเมื่อนำมาพิมพ์แชร์กันหลายๆคนก็จะได้อ่าน ได้รับทราบและอนุโมทนาร่วมกัน เป็นการระลึกถึงพระองค์อีกทางหนึ่ง โดยนำกระแสพระราชดำรัสนั้นมาเป็นกำลังใจ เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

    * ก็เริ่มเกมส์ได้เลยนะครับ หมดเวลาวันพรุ่งนี้ตอนหกโมงเย็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 008.jpg
      008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      100
    • 0046.jpg
      0046.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      83
    • 4024.jpg
      4024.jpg
      ขนาดไฟล์:
      287 KB
      เปิดดู:
      96
    • 20060620_A4463747-6.jpg
      20060620_A4463747-6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139.2 KB
      เปิดดู:
      70
  9. TheEnd

    TheEnd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +822
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    พระราชดำรัสของในหลวง
    เรื่องข้อคิดในการใช้ชีวิต

    ๑. อย่าทำลายความหวังของใครเพราะเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้นก็ได้
    ๒. เมื่อมีคนเล่าว่าตัวเขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตาม เราไม่ต้องไปคุยทับ ปล่อยให้เขาฟุ้งไปตามสบาย
    ๓. รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาแบบแว่ว ๆ เท่านั้น
    ๔.หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ริมทางเสียบ้าง
    ๕. จะคิดการใด จงคิดให้ใหญ่ ๆ เข้าไว้ แต่เติมความสนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
    ๖. หัดทำสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
    ๗. จำไว้ว่าข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
    ๘. เวลาเล่นเกมส์กับเด็ก ๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถิด
    ๙. ใครจะวิจารณ์เราอย่างไรก็ช่าง ไม่ต้องไปเสียเวลาตอบโต้
    ๑๐. ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ "สอง" แต่อย่าให้ถึง "สาม"
    ๑๑. อย่าวิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุข ก็ลาออกซะ
    ๑๒. ทำตัวให้สบายอย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้ว อะไร ๆ ก็ไม่ได้สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแรกหรอก
    ๑๓. ใช้เวลาน้อย ๆ ในการคิดว่า "ใคร" เป็นคนถูก แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า "อะไร" คือสิ่งที่ถูก
    ๑๔. เราไม่ได้ต่อสู้กับ "คนโหดร้าย" แต่เราต่อสู้กับ "ความโหดร้าย" ในตัวคน
    ๑๕. คิดให้รอบคอบ ก่อนจะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
    ๑๖. เมื่อมีใครสวมกอดคุณ ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
    ๑๗. เป็นคนถ่อมตน คนเขาทำอะไรต่ออะไรสำเร็จกันมามากมายแล้ว ตั้งแต่เรายังไม่เกิด
    ๑๘. ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายสักเพียงใด..... สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
    ๑๙. อย่าไปหวังเลยว่าชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
    ๒๐. อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามเราว่า "เป็นยังไงบ้างตอนนี้"
    ก็บอกเขาไปเลยว่า "สบายมาก"
    ๒๑. อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็วันละยี่สิบสี่ชั่วโมงเท่า ๆ กับที่ หลุยส์ ปาสเตอร์,
    ไมเคิล แอนเจลโล, แม่ชีเทราซ่า, ลีโอนาร์โอ ดาวินชี, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน, หรือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์
    เขามีนั้นเอง
    ๒๒. เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวกลับไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำแต่ไม่ได้ทำ
    มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
    ๒๓. ประเมินตนเองด้วยมาตรฐานของตนเอง ไม่ใช่ด้วยมาตรฐานของคนอื่น
    ๒๔. จริงจังและเคี่ยวเข็ญต่อตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อคนอื่น
    ๒๕. อย่าระดมสมอง เพราะไอเดียดี ๆ ใหม่ ๆ และยิ่งใหญ่ จนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
    ล้วนมาจากบุคคลที่คิดค้นอยู่แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น
    ๒๖. คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผย อ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็น
    ๒๗. ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานที่เขาทำนั้นจะกระจอกงอกง่อยสักปานใด
    ๒๘. คำนึงถึงการมีชีวิตให้ "กว้างขวาง" มากกว่าการมีชีวิตให้ "ยืนยาว"
    ๒๙. มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ
     
  10. เทวดา2528

    เทวดา2528 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2016
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +14
    ร่วมเล่นเกมครับ
    พระราชดำรัสของพ่อหลวงในหัวข้อ ความพอดี

    ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน
    พระบรมราโชวาท ให้ใว้ ณ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540
     
  11. rungsun2503

    rungsun2503 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +1,186
    พระบรมราโชวาทของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
    เรื่อง คุณธรรมของคน
    ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์
    ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
    ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต
    ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อย
    ของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงาม จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป”
    (พระบรมราโชวาท ในพิธีบรวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535)
     
  12. po_ood

    po_ood เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +1,035
    "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี
    ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
    การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย
    จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี

    หากอยู่ที่การส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง
    และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
    ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

    (พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2512 )
     
  13. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    “การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง
    และครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น
    ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

    พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒
     
  14. popconn

    popconn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +114
    ''...หลักการสำคัญประการหนึ่ง ที่ จะส่งเสริมให้ปฏิบัติงานสำเร็จและ เจริญก้าวหน้าได้แท้จริง คือ การไม่ ทำตัวทำความคิดให้คับแคบ หากให้มีเมตตาและไมตรี ยินดี ประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ร่วม งานอย่างจริงใจ...''

    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    18 กรกฎาคม 2530
     
  15. ปฏิภาณ บดส

    ปฏิภาณ บดส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +132
    พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ “ วินัยในการทำงาน ”
    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่
    นักศึกษาปัจจุบันของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ สโมสรอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๒

    “… ระเบียบในการทำงานนี้จำเป็นต้องมี คือ มีวินัยนั่นเอง ถ้าไม่มีวินัยทำอะไร
    ก็จะเปะปะไปหมด แม้ในห้องเรียนจะไม่ได้สอนว่า วิชานี้ๆ ต้องมีวินัย แต่ทุกวิชาต้องมีวินัย แม้จะไปสังสรรค์กัน ไปเล่นกีฬากัน ไปพัฒนาชนบทก็ตาม ต้องมีวินัยทั้งนั้น ถ้าไม่มีวินัย
    งานนั้นมีหวังล้มเหลวหรือยิ่งกว่านั้นงานนั้นอาจจะมีหวังทำลายส่วนรวมก็ได้ถ้าไม่มีวินัย
    ขาดความรู้หน่อยอาจจะยังดี ดีกว่าขาดวินัย แต่ถ้ามีทั้งความรู้และวินัยก็ยิ่งดี …”
     
  16. seaown

    seaown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +984
    “การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง
    และครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น
    ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”
    พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นพระราชดำรัสที่พวกเราชาวพสนิกรนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามที่พระองค์ท่านทรงตรัสไว้ อยู่อย่างพอเพียง ขอส่งพระองค์ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
     
  17. อรหโตพุทโธ

    อรหโตพุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    498
    ค่าพลัง:
    +1,017
    9 คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ใจความของพระบรมราโชวาททั้งหมดจะมุ่งเน้นให้คนในชาติ รู้รักสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความพอเพียง รู้จักตนเอง มีความขยันหมั่นเพียร ในการทำหน้าที่ของตนเอง หมั่นศึกษาหาความรู้ให้กับตนเอง และที่สำคัญจะต้องซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกงใคร ซึ่งคำสอนทั้งหมด หากเราทุกคนทำได้ ก็จะทำให้สังคมและประเทศของเรามีความเจริญรุ่งเรือง และไร้ซึ่งปัญหาทั้งมวล

    1. ความเพียร

    การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันควรทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีควรต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516

    2. ความพอดี

    ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

    3. ความรู้ตน

    เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521

    4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

    คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้ พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

    5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

    ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

    6. พูดจริง ทำจริง

    ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

    7. หนังสือเป็นออมสิน

    หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้ พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

    8. ความซื่อสัตย์

    ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531

    9. การเอาชนะใจตน

    ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513
     
  18. Rei123

    Rei123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2013
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +266
    ร่วมเล่นเกมด้วยครับ

    "ขันติของพ่อ"

    ขันติของพ่อ เป็นขันติแบบพระพุทธเจ้า คือแบบที่ต้องมาพร้อมกับ "โสรัจจะ" คือการรักษากิริยาอาการให้สงบเรียบร้อยด้วย

    โสรัจจะ บ้างแปลว่าความสงบเสงี่ยม แต่เนื้อแท้ก็คือการควบคุมอากัปกิริยาให้เรียบร้อย มิให้หลุดจากความสำรวมระวัง

    บางคนมีขันติก็จริง แต่สีหน้าอาจแสดงความขุ่นเคืองไม่พอใจ หรือน้ำเสียงเริ่มกระด้างหรืออาจถึงขั้นทำไปบ่นไป ดีไม่ดี อาจเอาอารมณ์เสียไปพาลใส่คนอื่น หรือในทางตรงข้าม ขณะที่ใช้ขันติอยู่นั้น ก็อาจรู้สึกท้อแท้เหนื่อยหน่าย นึกปรุงแต่งว่าทำไมต้องแบกรับภาระอะไรๆ มากมายนัก เป็นต้น จนปรากฏสีหน้าเหนื่อยล้าให้คนอื่นเห็น

    แต่พระองค์ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่ว่าพระองค์จะทรงพระราชดำเนินไปในหนทางที่มีน้ำท่วม มีขี้เลน มีฝุ่น มียุง มีฝน มีแดดกล้า หรือแม้แต่ในที่มีภัยอันตราย หรือในที่ที่มีคนไม่ต้อนรับ ส่งเสียงโห่ร้องใส่พระองค์ แต่ความเหนื่อยยาก ความไม่น่ารื่นรมย์ หรือภยันตรายทั้งหลายเหล่านั้น ก็มิอาจทำให้พระองค์หลุดจากความสำรวมระวัง พระองค์ยังทรงมีพระจริยาเรียบร้อยงดงามอย่างเสมอต้นเสมอปลายในทุกสถานการณ์ แม้ในยามเสโทไหลอาบพระพักตร์และพระวรกายก็ตามที

    พระองค์จึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยขันติและโสรัจจะ เป็นผู้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระศาสดา เป็นผู้มีคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างให้ชนทั้งหลายได้ก้าวตามเพื่อชีวิตที่ดีงามยิ่งๆ ขึ้นไป

    ------------------
    "ความเพียรของพ่อ"

    ความเพียรของพ่อ มิใช่ความเพียรอย่างทั่วๆ ไป หากแต่เป็นความเพียรด้วยปัญญา รู้เหตุรู้ผล รู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์แลมิใช่ประโยชน์ สิ่งใดควรแลไม่ควร

    ที่สำคัญ ยังเป็นความเพียรอย่างอุกฤษฎ์ คืออยู่เหนือการหวงห่วงชีวิตของพระองค์เอง เป็นความเพียรเยี่ยงพระโพธิสัตว์ สมฐานะแห่งพุทธภูมิ

    ความเพียรของพ่อ ล้วนทำเพื่อผู้อื่น แต่พร้อมกันนั้น ก็ยังบารมี ๑๐ ทัศในขั้นปรมัตถบารมีของพระองค์ให้บริบูรณ์

    พระองค์ทรงเคยตรัสเอาไว้ว่า

    "ความเพียรนี้ ถ้ารักษาไว้จะนำมาสู่ความเจริญแน่นอน เพราะว่าเป็นบารมีอย่างหนึ่ง และบารมีอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติดีแล้ว จะสามารถนำมาสู่บารมีทั้ง ๑๐"

    ------------------------
     
  19. Rei123

    Rei123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2013
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +266
    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๑)
    ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีตัวแทนพุทธสมาคมและสมาคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ ครั้งนั้น พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการภาวนาที่ลุ่มลึก น่าน้อมนำมาพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง มีเนื้อความ ดังนี้
    "พุทธศาสนานี้ปฏิบัติที่ไหน ปฏิบัติอย่างไร เพราะว่าคนที่ศึกษาพระพุทธศาสนาหรือมาตั้งเป็นพุทธสมาคม หรือเป็นกลุ่มศึกษาพุทธศาสนา บางที่ก็ยังไม่ทราบว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเริ่มที่ตรงไหน เพราะที่พูดถึงวิธีการที่จะเริ่มปฏิบัติได้นั้น ก็ไม่ได้บอกว่าเริ่มปฏิบัติที่ตรงไหน นอกจากมาเปรียบเทียบว่าเข้าไปหาสวิตซ์ไฟเพื่อจะเปิดให้มีความสว่าง และเมื่อมีความสว่างแล้วก็ดูทางได้ และไปดูทางที่จะทำให้สว่างยิ่งขึ้น สวิตซ์ไฟนั้นอยู่ที่ไหน คือสวิตซ์ไฟนั้นเราเอาแสงไฟเท่าที่เรามีริบหรี่นั้นไปฉาย แล้วก็ไปเปิดสวิตซ์ไฟ
    สวิตซ์ไฟนี้คืออะไร เพราะท่านพูดอยู่เสมอว่าพระพุทธศาสนานั้นเมื่อได้ปัญญาก็มีความสว่าง เมื่อปฏิบัติธรรมก็ได้ปัญญา ได้แสงสว่าง ปัญญานั้นก็ดูจะเป็นสวิตซ์ไฟ แต่ถ้าดูๆ ไป ปัญญานี้ ปัญญาในอะไร ก็ปัญญาในธรรมนี่ ปัญญาในธรรมไม่ใช่สวิตซ์ไฟ ปัญญาในธรรมนั้นคือแสงสว่าง สำหรับเปิดไฟให้สว่างคือให้ได้ถึงปัญญานั้นก็จะต้องมีสวิตซ์ไฟ สวิตซ์ไฟนั้นคืออะไร หรือว่าสวิตซ์ไฟนั้นจะพบอย่างไร
    แต่การที่จะบอกว่าสวิตซ์ไฟคืออะไรนั้น ก็คือใจเรา ใจหรือจิต จิตหรือใจก็ได้ แล้วบางทีท่านก็เรียกว่าจิต บางท่านก็เรียกว่าใจ บางท่านก็บอกว่าจิตคือใจ บางท่านก็บอกว่าใจคือจิต บางท่านก็บอกว่าจิตไม่ใช่ใจ หรือบางท่านก็บอกว่าจิตคือเป็นอาการของใจ อาการของใจนี้แปลว่าอะไร ใจเป็นสิ่งที่เรามีทุกคน เป็นสิ่งที่เราไม่เห็น เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น แต่ว่าใจนี้จะเป็นผู้บงการการกระทำของเราทั้งหลาย จึงต้องพยายามดู แต่ใจนี้เราไม่ดูก็ไม่เห็น ถ้าดูด้วยตา ด้วยตาที่มองดูภูมิประเทศ ดูใครต่อใคร ดูตึกอาคารนั้น ตานั้นจะไม่เห็น ท่านก็เรียกว่าตาใจคือความรู้ ตาใจนั้นก็คือเป็นสิ่งที่จะใช้สำหรับได้ปัญญา ได้เห็นแสงสว่างของปัญญา
    คราวนี้เราก็เจอแล้วว่า ส่วนหนึ่งของสวิตซ์ไฟหรือส่วนหนึ่งของกลไกที่จะทำให้ความสว่างคือ "ใจ" ใจนี้เมื่ออยากทราบก็จะต้องปฏิบัติหลายอย่าง ตอนแรกเราจะไม่เห็นใจเพราะว่าเมื่อเราดูไปเราก็เกิดความฟุ้งซ่าน เราเกิดความรู้สึกโลภ รู้สึกอาจจะโกรธด้วยซ้ำ จึงทำให้มีสิ่งที่มาปิดคือปิดด้วยสิ่งที่ท่านเรียกว่าโมหะ คือความโง่ความไม่รู้หรือรู้ไม่จริง มันปิดบังใจและปิดบังความจริง"
    (จบตอนที่ ๑)
    -----------------

    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๒)
    ตอนที่ ๒ นี้ เป็นตอนที่พระองค์ทรงแนะเทคนิควิธีที่จะละนิวรณ์เพื่อให้จิตเข้าถึงความสงบ (สมาธิ)
    ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทต่อจากตอนที่ ๑ ความว่า
    "ฉะนั้น จะต้องหาทางที่จะเปิดม่านนั้น เมื่อเปิดม่านนั้นก็จะต้องพยายามที่จะทำให้ใจนี้สงบ อันนี้ก็มาถึงที่เรียกว่า สมถะหรือสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่ว่าบางคนบอกว่าการนั่งสมาธินี้ ระวังดีๆ อาจจะเป็นบ้าก็ได้ อาจจะแย่ลำบากไม่มีทางที่จะทำได้ น่ากลัว
    สมาธินี้ก็ต้องเริ่มอย่างเบาๆ ก่อน คือว่าจะต้องมีความตั้งใจ ให้จิตใจนี้ไม่ไปเกาะเกี่ยวกับอะไรก็ตาม หมายความว่าจะต้องเริ่มต้นด้วยการปัดกวาดสิ่งที่เป็นม่าน หรือจะเป็นสิ่งที่คลุมไม่ทำให้สงบได้ ไม่ทำให้เกิดความนิ่งแน่ได้
    การที่จะให้เกิดความสงบคือสมาธินี้ จึงต้องพยายามดูให้เห็นว่าอะไรมาปิดบัง เมื่อถอนสิ่งที่ปิดบังนั้นทันใดก็ได้สมาธิ โดยมากเราจะทำอะไรเราก็คิดถึงอะไรสารพัดไม่แน่ คือหมายความว่าเราไปติดในเรื่องอื่น อย่างสมมติว่าเราจะเดินไปไหน ถ้าสมมติเราลุกขึ้นยืนแล้วเราอยากออกจากห้องโถงนี้ เราไม่เห็นประตู เราไม่เห็นอะไร เราจะต้องถอนสิ่งที่อยู่ข้างหน้าตาเราก่อน หันไปในทางที่จะเห็นสิ่งที่เหมาะสมในการกระทำคือประตู
    ถ้าสมมติว่าเราดูฝาผนังหรือดูม่านหรือดูเพดาน สิ่งเหล่านั้นมันปิดบังไม่เห็นประตู เราก็จะต้องเอาจิตใจของเราออกไปจากฝาผนัง หรือออกจากเพดาน หรือออกจากม่าน เอาไปไว้ที่ประตู หมายความว่าขั้นแรกเราต้องการประตู เราก็จะต้องทิ้ง (ละสายตาจาก) ฝาผนังหรือเพดานหรือม่านที่เรากำลังดูซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางไม่ให้สามารถที่จะได้เห็นสิ่งที่เราต้องการ ถ้าเราบอกว่าเราดูฝาผนังบ้าง ดูเพดานบ้าง ดูม่านบ้าง เราไม่มีทางที่จะดูประตู
    แต่ว่าถ้าเราตัดสินใจว่าตอนนี้ไม่ใช่ภาระของเราที่จะดูเพดาน ดูฝาผนัง หรือดูอะไร เป็นภาระที่จะไปหาประตู เราก็จะถอนออกมาจากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ที่กำลังฟุ้งซ่านอยู่
    ส่วนมากเรามีความชอบอะไรก็เรียกว่ามีกามราคะ มีโทสะคือพยาบาท และบางทีก็ไม่ใช่โทสะหรือราคะอะไร มีความฟุ้งซ่านแกว่งไกวไปที่โน่นที่นี่ เดี๋ยวอันนี้ก็ไม่เอา อันโน้นก็ไม่เอา มันไม่มีทางที่จะมีความสงบ หรือบางทีเราก็พยายามหาความสงบ เราไม่มีความเพียรพอ เรามันง่วงเรามันหาว บางทีเราก็เกิดมีสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถ มันย่อหย่อน บางทีก็ไม่เชื่อว่ามีประตูด้วยซ้ำ ต้องปัดกวาดความลังเลสังสัยอะไรต่างๆ เหล่านี้
    สิ่งที่ไม่ดีคือสิ่งที่ทำให้เราฟุ้งซ่านทำให้เราไม่สามารถที่จะทำใจให้นิ่งๆ ได้ เพราะว่าสิ่งที่มาปิดบังดังนี้ แต่ถ้าเราพยายามที่จะดูว่ามีสิ่งที่ปิดบัง และก็บอกว่าตอนนี้มันไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่เวลาที่จะเอาสิ่งมาปิดบัง เมื่อถอนสิ่งที่ปิดบังเหล่านี้ เราก็ได้สมาธิ ได้ทันทีเลย"
    จบตอนที่ ๒
    นี่ถ้าผมไม่ทราบว่าเป็นพระบรมราโชวาท คงเข้าใจไปว่าเป็นคำสอนของพระเถระท่านใดท่านหนึ่งที่ผ่านประสบการณ์การปฏิบัติจิตตภาวนามาไม่น้อยเป็นแน่ครับ
    -------------------------

    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๓)
    ในตอนนี้ พระองค์พยายามสื่อว่าการจะปฏิบัติจิตเพื่อให้ได้สมาธิที่แนบแน่น มีกำลังนั้น ก็ต้องอาศัยสมาธิเบื้องต้นที่เป็นทุนเดิมติดตัวกันมาทุกๆ คน มีพระดำรัสแนะนำ ดังนี้
    "สมาธินั้นเราอาจจะได้เป็นเวลาเพียงครึ่งวินาที นั่นก็เป็นสมาธิแล้ว ถึงเป็นสมาธิที่อ่อนมากแต่ก็เป็นสมาธิ ข้อสำคัญคือจะต้องได้อันนี้...
    โดยมากคนเราเมื่อเป็นเด็กเป็นนักเรียนท่านก็สอน คือหมายความว่าครูบาอาจารย์หรือพ่อแม่ก็สอนให้ตั้งจิตตั้งใจเรียน ก็หมายความว่าทำสมาธินั่นเอง แล้วเราก็เรียนว่าถ้าเราตั้งใจในสิ่งนั้นๆ ให้ดี มันก็ทำได้ เรียกว่ามีสมาธิ เพราะว่าจิตเราไปเพ่งอยู่อันเดียว
    คนเราถ้าไม่มีสมาธิเสียเลย หมายความว่าเป็นคนฟุ้งซ่านจริงๆ เป็นคนที่ไม่ได้เรื่อง จะเรียนอะไรก็ไม่ได้ จะอ่านหนังสือก็ไม่ได้ จะพูดก็ไม่ได้ ไม่มีทางอะไรเลย คือว่าขึ้นชื่อว่าเป็นคนก็มีสมาธิ บางคนเสียใจเหลือเกินว่าเรามันขาดสมาธิ ถ้าคิดว่าเราขาดสมาธิก็เท่ากับเรามีสมาธิอยู่แล้ว เพราะรู้ว่ามีคำว่าสมาธิ เราได้เรียนรู้แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิในตัวเลย หมายความว่าไม่มีความดีเลยในตัว ก็ไม่สามารถที่แม้จะคิดว่ามีคำว่าสมาธิ
    ฉะนั้น จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตัวสมาธินี้ ซึ่งเรามีทุกคน เรามีความดีอยู่ในตัวทุกคน แต่ให้เห็นว่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม คือจากสมาธิที่เรามีธรรมดาๆ ที่เมื่อเด็กๆ ครูบาอาจารย์พ่อแม่ได้สั่งสอนบอกว่าต้องตั้งใจ แค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสมาธิ เพราะเหตุว่าการที่จะปัดกวาดสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ ที่ท่านเรียกว่านิวรณ์ การปิดกั้นนี้เราจะเอาออก มันต้องมีสมาธิ"
    (จบตอนที่ ๓)

    อนุโมทนาบุญ เรื่องเล่า บทความดีๆด้วยครับ
    "พอ"

    --------------
    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๔)
    พวกเราที่อยากจะศึกษาสมาธิ และศึกษาการปฏิบัติธรรม ติดอยู่ตรงนี้ เพราะว่าเราไปหาอาจารย์ท่านบอกว่าต้องทำสมาธิ มีนิวรณ์ ๕ อย่างนั้นๆ มีสิ่งที่ปิดกั้น การที่จะทำให้สิ่งที่ปิดกั้นนั้นออกจะต้องตั้งใจ ต้องมีสมาธิเพื่อที่จะเอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก เราก็งงแล้ว โดยมากไม่มีที่ไหนที่จะสอนให้ทำสมาธิโดยไม่ได้บอกว่าให้เอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก บอกว่าต้องระงับนิวรณ์ทั้งนั้น ก็หมายความว่าการระงับนิวรณ์นี้ต้องใช้อะไร ก็ต้องใช้สมาธิ จะทำอย่างไร ไก่มาก่อนไข่ หรือไข่มาก่อนไก่
    ความจริงใช้สมาธิระงับนิวรณ์จริงๆ ท่านไม่ได้พูดผิด แต่ว่าเรามันไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่าเราต้องการสมาธิแล้วเราต้องใช้สมาธิเพื่อระงับนิวรณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ว่าถ้าเข้าใจแล้วว่าสมาธิเรามีอยู่ทุกคน มิฉะนั้น เราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่มีสมาธิหรือไม่มีทุนเดิม เราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีความฉลาดมากหรือน้อยก็แล้วแต่ แต่ว่ามีความฉลาด มีความดี มีวาสนาทุกคน ทุกคนมีมากหรือน้อยเท่านั้นเอง หรือดีหรือชั่วเท่านั้นเอง แต่เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งแล้ว
    เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราทำสมาธิได้ เพราะเหตุว่าเราได้ทำมาแล้ว เราทำมาถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีความดีอยู่ในตัว ความชั่วมี แล้วก็โดยมากใครๆ ก็ว่ามนุษย์มีกิเลส มีความชั่วเลวทรามต่างๆ ต้องขัดเกลา เราก็หัวหดเลย
    แต่ว่าความจริงไม่เป็นเช่นนั้น คือความจริงทั้งหมดที่ครบถ้วนไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงเรามีความเลวความชั่วในตัวทุกคน มากหรือน้อย โดยมากก็มาก แต่ว่าเรามีความดี เรามีความดีทุกคนมากหรือน้อย แต่โดยมากก็น้อย อย่างไรก็ตาม มีน้อยๆ นี่มันเป็นทุนเดิมทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มี
    ทุกคนสามารถที่จะปฏิบัติงานของธรรมนี้ได้ทุกๆ คน แต่ว่าจะต้องใช้ความดีที่เรามีเป็นทุนเดิมนี้มาทำให้เกิดความดีเพิ่มขึ้น ฉะนั้น ก็ใช้สมาธิที่มีอยู่เดิม อาจจะสมาธิแย่ๆ ก็ได้ แต่ว่าเป็นสมาธิมากระตุ้นทำให้เกิดสมาธิที่ดีขึ้น
    ฉะนั้น สมาธิที่ดีขึ้นนั้นก็มีได้ทุกคน ก็อาศัยความเพียร ความอดทนที่อาจมีสมาธินี้ ก็เปรียบกับไฟฉายเล็กๆ หรือไม้ขีดไฟริบหรี่ ไฟริบหรี่นั้นก็สามารถที่จะใช้สำหรับไปทำให้สมาธิใหญ่ขึ้น ดีขึ้น
    (จบตอนที่ ๔)

    ------------------------------
    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๕)
    พระบรมราโชวาทตอนนี้เป็นตอนสำคัญที่สอนให้เราเอาสมาธิมาใช้ประโยชน์ คือใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดูใจตนเอง ดังพระราชดำรัสต่อไปนี้
    "สมาธินี้ถ้าเราเอามาใช้คือสร้างสมาธิให้ดีขึ้นหน่อย แล้วเอามาใช้ ไม่จำเป็นต้องทำสมาธิให้หนักแน่นมากนัก แต่ว่าเป็นสมาธิ (ในระดับ) ที่ควบคุมได้
    เราทำสมาธิให้นิ่ง จิตใจให้นิ่ง ก็จะมาเห็น "ใจ" ของเรา ใจจะไม่เป็นสิ่งที่ลึกลับ ใจจะเป็นสิ่งที่เปิดเผย คือเราเปิดเผยกับตัวเอง
    ถ้ากลัวว่าคนอื่นจะมาเห็นใจเรา จะมาทะลุทะลวงเข้ามาในใจเรา ไม่ต้องกลัว เราทะลุทะลวงเข้ามาในใจของตัวเอง เราดูใจนี้ก็จะเห็นได้ต่อเมื่อใจนั้นได้รับที่เรียกว่า "อารมณ์" คือสิ่งที่เราเห็นได้ด้วยตา ได้ฟังด้วยหู เป็นต้น เวลาเข้ามาแล้วเราจะเห็นว่าใจนี้มีความรู้สึกอย่างไร ชอบใจหรือไม่ชอบใจ
    อันนี้ใช้สมาธิที่ทำให้ใจนี้นิ่งก่อน แล้วก็เมื่อมีอารมณ์ ซึ่งอารมณ์เข้ามาทุกเมื่อตลอดเวลา อารมณ์เข้ามา เรากั้นอารมณ์นั้นไว้เท่าที่มีความสามารถ ด้วยการระงับนิวรณ์ ใจนั้นจะกระเพื่อม
    ถ้าคิดจริงๆ ดูว่าใจนี้เป็นเหมือนน้ำที่นิ่ง สมมุติว่าเราเอาน้ำมาไม่ต้องมาก เอาน้ำมาใส่ชามอ่างก็ได้ กลับบ้านไปหาชามอ่างเอาน้ำมาใส่ให้เต็ม เอาชามอ่างนั้นมาวางไว้แห่งหนึ่ง น้ำนั้นจะนิ่ง ทิ้งไว้ให้นิ่งสักครู่ คราวนี้เปรียบเทียบกับใจ ใจหรือน้ำนิ่งนั้น แล้วเราก็ไปหาอะไรอย่างหนึ่ง จะเป็นก้อนกรวดหรือจะเป็นอะไรก็ตามโยนลงไป น้ำนั่นเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม หรือชามอ่างนั้นวางไว้ เราไปผลัก น้ำจะเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม
    เราจะเห็นน้ำกระเพื่อม กระเพื่อมอย่างไรเราก็เห็น ถ้าเราโยนอะไรเล็กๆ ลงไป น้ำจะกระเพื่อมเป็นคลื่นเล็กๆ เสร็จแล้วถ้าเราผลัก มันก็จะกระเพื่อมไปอีกลักษณะหนึ่ง ยิ่งถ้าน้ำเต็มอ่าง มันอาจจะกระฉอกออกมา หรือถ้าเราโยนอะไรที่ใหญ่ลงไป น้ำต้องกระเซ็นออกมาทำให้โต๊ะหรืออะไรที่เราวางไว้เปียกหมด ถ้าเราผลักน้ำก็อาจจะต้องหก นี่แหละใจ
    เราจะเห็นได้ว่าใจของเราเมื่อได้รับการกระทบอย่างไรก็ตาม ด้วยอารมณ์ใดก็ตาม ใจนั้นจะกระเพื่อม คือใจนั้นจะเหมือนน้ำ ใจนั้นจะมีคลื่น ใจนั้นจะทำให้มีความเคลื่อนไหว เราก็เห็นได้
    ถ้าใจนั้นโดนอย่างแรงก็อาจจะหกออกมา หมายความว่าสมมติเราอยู่เฉยๆ ใครเข้ามาตีหัวเราหรือมาต่อย เราก็โกรธแล้วก็ต่อยตอบไปเลย นี่ใจมันหกออกมา เราก็ดู ในการดูใจนี้ก็เป็นการดูปฏิกิริยาของใจ ความเคลื่อนไหวของใจ
    คราวนี้ก็ถึงได้เห็นใจแล้ว ใจที่เคลื่อนไหวต่างๆ และก็ใจนี้เองที่ทำให้เรามีความสุขหรือมีความทุกข์ ใจนี้เองเมื่อมีความสุขบางทีก็ลิงโลดดีใจมาก อาจจะทำให้เสียหายก็ได้ กระโดดโลดเต้นหกคะเมนลงมาขาหักก็ได้ เป็นสิ่งธรรมดา คือหมายความว่าแม้แต่มีความสุขก็ทำให้มีความทุกข์ต่อไปได้"
    (จบตอนที่ ๕)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2016
  20. Rei123

    Rei123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2013
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +266
    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๖)
    พุทธศาสนาศึกษาอะไร ก็ศึกษาความทุกข์นี่เอง ความทุกข์เป็นสิ่งที่คนไม่ชอบจึงต้องการให้พ้นทุกข์ พ้นทุกข์สำหรับตัวเองแต่ละคนๆ แต่ว่าการให้พ้นทุกข์นี้ยากมาก เพราะว่ามีความรู้สึกว่าไม่เป็นทุกข์ มีความรู้สึกว่าเป็นสุข อยากได้ความสุข
    แล้วใครมาทำให้เราเป็นทุกข์ หรือแม้แต่มีความสุขน้อยลงไป ทำให้เราโกรธ ทำให้เราไม่พอใจ แล้วก็เดือดร้อนฟุ้งซ่านไม่มีความสุข แล้วก็มีความทุกข์ ฉะนั้น การศึกษาพระพุทธศาสนาก็คือการศึกษาว่าทุกข์นี้มาจากไหน ทำไมเราไม่ชอบความทุกข์ เราเป็นทุกข์ในทุกข์ เราก็จะต้องดูทุกข์นี้ให้เข้าใจว่าคืออะไร แล้วเราก็จะต้องเห็นว่าทุกข์นี้มีเหตุผล มีต้นเหตุ เมื่อมีต้นเหตุแล้วเราก็จะต้องดูว่าเราระงับทุกข์ได้ตรงไหน บอกว่ามีทุกข์ต้องบรรเทาทุกข์ ความจริงทุกข์นั้นบรรเทาไม่ได้ ต้องปล่อยให้ไปตามเรื่องของมัน เสร็จแล้วมันก็หายไป เพราะว่ามีทุกข์แล้วมันก็ไม่มี มันหมดไปได้ สุขมี สุขก็หมดไปได้
    ฉะนั้น การที่พระพุทธศาสนาหรือพระพุทธเจ้าให้เราศึกษา ก็คือศึกษาให้รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เป็นอะไร แล้วมาจากไหน จะเห็นว่ามีทุกข์ก็ต้องมีการไม่ทุกข์ เมื่อมีการไม่ทุกข์ ก็มีการหมดทุกข์ได้ มีการหมดทุกข์ได้แล้วก็เห็นได้ว่ามีทางที่จะหมดทุกข์ อันนี้ท่านก็เรียกว่าอริยสัจ ฉะนั้น การศึกษาพุทธศาสนาก็คือการศึกษาอริยสัจนั่นเอง
    (จบตอนที่ ๖)
    -------------

    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๗)
    พระบรมราโชวาทตอนนี้ พระองค์กำลังโยงมาที่เรื่องอิทธิบาท ๔ และความสุจริต ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การปฏิบัติธรรมบรรลุผลสำเร็จ ดังมีพระราชดำรัสว่า :
    "ก่อนที่จะศึกษาถึง "อริยสัจ" หรือได้ทราบถึงอริยสัจ ก็ย่อมต้องดูกลไกของการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้าใจว่าจะต้องเริ่มจากที่ได้กล่าวเมื่อตะกี้นี้ จุดเริ่มต้นคือดูใจด้วยเครื่องมือที่มีคือ "สมาธิ"
    ในการนี้ในตอนต้นนั้นก็ต้องมีความพอใจในการที่จะปฏิบัติคือชอบใจ มีฉันทะ แล้วก็มีความเพียรในการทำ มีความจดจ่อในการทำ มีความสำรวจในการทำ
    ถ้าหากว่าตั้งแต่ต้นสามารถที่จะทำอย่างนั้น ก็จะเคลื่อนขึ้นไป จะดำเนินไปถึงจุดสูงสุดได้ คือได้ศึกษาอริยสัจและเข้าใจในอริยสัจ
    การศึกษาพระพุทธศาสนานี้เป็นสิ่งที่ไม่ยากถ้าจิตใจจดจ่อ ถ้ามีความตั้งใจจริง และมีสิ่งซึ่งเรียกกันทุกคนว่าความสุจริต ทุกคนต้องสุจริต ถ้าทุจริตแล้วไม่มีทาง เพราะว่าไปในทางที่ผิดทุกครั้ง ไปในทางที่คิดว่าดี คิดว่าสะดวก แต่ว่ามืดมน ไปในทางที่ผิดทั้งนั้น ฉะนั้น ต้องมีความสุจริต
    เวลาให้โอวาทกับใคร หรือท่านผู้ใหญ่ให้โอวาทกับผู้อื่นก็ต้องพูดว่าขอให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วางตัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริต อันนี้ก็เพื่อให้งานของส่วนราชการหรือส่วนงานนั้นดำเนินไปด้วยดี เพราะว่าถ้าทุจริตแล้วก็พัง แต่ว่าการงานของพระพุทธศาสนาเป็นการงานของแต่ละคน เป็นส่วนตัวแท้ๆ ก็ต้องทำความสุจริตเหมือนกัน ถ้าไม่ทำด้วยความสุจริตแล้ว ก็เท่ากับเอาก้อนหินมาถ่วงที่คอตัวเองแล้วโยนลงไปในนรก"
    (จบตอนที่ ๗)
    -------------------

    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๘)
    พระบรมราโชวาทตอนนี้ ทรงเริ่มโยงมาสู่การพิจารณากายใจ รวมทั้งเอากายใจไปทำความดี พระองค์ทรงใช้ภาษาง่ายๆ ในแบบฉบับของพระองค์ ดังมีพระราชดำรัสว่า :
    "ขอพูดอีกสักนิดหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตอนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพุทธศาสนานัก แต่เป็นสิ่งที่เป็นความจริง คือคนเราไม่เห็นว่าเรามีกายและใจ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น
    เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เท่ากับได้มีใจนี้คือตัวเรามาประกอบกับกาย ซึ่งเราก็นึกว่าเป็นตัวเราเหมือนกัน แต่ว่ากายกับใจนี้ก็สามารถที่จะนำมาใช้ มาทำงานทำการ มาประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี เพื่อความสุขความเจริญของกายหรือใจ หรือของกายและใจ
    ต่อไปเมื่อกายและใจนี้แยกออกไป กายที่ไม่มีใจเขาก็เรียกว่าผี ความจริงก็เรียกว่าศพ แต่ว่าเขาก็เรียกว่าผี ผีเป็นสิ่งที่ไม่มีใครชอบ โดยเฉพาะว่าเป็นกายที่ไม่มีใจแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเลย เพราะว่าเป็นตามธรรมดา กายนี้เมื่อไม่มีใจอยู่แล้วก็ย่อมจะต้องสลายออกไปเป็นธาตุ แล้วก็เป็นผี แต่ใจนั้นเวลาไม่มีกายแล้วก็เป็นผีเหมือนกัน ที่ว่าจิตวิญญาณหรืออะไรก็ตามที่ตายแล้ว แล้วก็เรียกว่าผี บางทีผีมาหลอก
    ก็แปลกเหมือนกันที่ว่าทำไมจึงมาหลอกได้ ทว่าผีหลอกได้นั้นก็เพราะเหตุว่า ผีนั้นหมายความว่าจิตวิญญาณนั้นยังยึดมาก ยังยึดจนกระทั่งกำลัง (พลัง) ยึดนั้นกลับมาเหมือนมายึดจิตใจของผู้ที่เห็นผี มายึดได้ชั่วขณะก็ได้เห็นว่าเป็นผี แต่ว่าผีนั้นจะเป็นผีกายที่ไม่มีใจหรือใจที่ไม่มีกาย
    ผีนั้นไม่มีความสามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าเวลากายกับใจประกอบกันเป็นตัวบุคคลโดยเฉพาะเป็นมนุษย์ สามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าแยกไปแล้วไม่สามารถที่จะประกอบความดี แต่เมื่อประกอบกันแล้วก็ทำความดี ผีนั้นก็เป็นผีที่เรียกว่าเป็นผีดีคือเป็นผีที่มีคุณ เป็นเทวดา เป็นพรหม คือเป็นผีที่ให้คุณและเป็นคุณกับตัว ถ้าประกอบความไม่ดีคือทุจริต ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ก็เป็นผีไม่ดี ก็เป็นเปรตเป็นอสุรกาย"
    (จบตอนที่ ๘)
    --------------------------------
    "ในหลวงทรงสอนเรื่องการภาวนา" (ตอนที่ ๙)
    พระบรมราโชวาทตอนนี้ ทรงโยงเรื่องกายใจมาสู่เรื่องของการพัฒนาหรือการขัดเกลากายใจ ดังมีพระราชดำรัสว่า :
    "ผีนั้นความจริงก็ดูไม่มีกาย แต่ว่าอาจจะมาหลอกเราได้เช่นเดียวกัน เพราะว่ามายึดกายเรา มายึดตาเรา มายึดหูเราได้ แต่ว่าถ้าผีนั้นที่เมื่อมีกายทำไม่ดี เป็นผีไม่ดี เขาจะแก้ไขอะไรไม่ได้เหมือนกัน จะต้องทนทุกข์ทรมาน
    จะทนทุกข์ทรมานได้อย่างไรเมื่อไม่มีกาย แต่ความที่เป็นผีนั้นเองก็เลยมีความยึด นึกว่าตัวมีกายอย่างเช่นพวกเราเอง ใจเรา เราก็นึกว่าตัวเรามีกาย แต่แท้จริงก็เป็นสิ่งที่ประกอบเป็นกองๆ เท่านั้นเอง
    แต่ผีนั้นก็นึกว่าตัวมีกาย ตัวมีกาย แต่ว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส อย่างเปรตหิวข้าวตลอดวันตลอดคืนตลอดเวลา กินก็ต้องกินตลอดเวลา แต่กินไม่ได้ มันก็ทรมานอย่างยิ่ง
    เวลาแม่ครัวไม่ได้ทำกับข้าวให้กิน เราก็หิว มันทรมาน บางทีเราไปที่ไหนไม่มีอาหาร ควรจะได้อาหารกลางวัน อาหารค่ำ แต่ไม่มี เราก็หิว มันก็ทุกข์ทรมาน ผีนั้นนึกว่าตัวมีกายก็ต้องกินอาหาร เมื่อกินไม่ได้อย่างเปรตที่ว่าปากเป็นรูเข็ม ไม่สามารถจะกินอะไร มันหิวทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง
    นี้ก็เป็นทุกข์ที่ยังไม่มากนัก อย่างอื่นยังมากกว่าอีก เช่น เอาอะไรมาเสียบแทงทะลุหัวจนถึงทวารหนัก ที่ท่านว่าอย่างนั้น แทงด้วยเหล็กที่เป็นไฟ แล้วอาจจะลงกระทะทองแดงหรืออะไรก็ตาม นั่นนะเป็นความทุกข์ที่ผีไม่ดีมี เป็นความทุกข์อย่างแสนสาหัส แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้หมดเวรหมดกรรม
    หมดเวรหมายความว่า หมดวาระเวลาที่จะหมดความทุกข์ทรมาน แล้วก็สามารถที่จะไต่เต้าขึ้นมาเป็นคนอีก ถ้าคนเช่นนั้นขึ้นมาก็หมายความว่าเป็นคนที่ยังไม่ค่อยขัดเกลานัก แต่ว่าขึ้นมาก็พอที่จะได้มาเป็นคน บางคนเราเห็นว่าเป็นคนเลวทรามมาก เราก็ว่ามันพวกสัตว์นรก ก็เพราะว่าพวกนี้จิตใจยังเสื่อมอยู่ จิตใจยังไม่ได้ขัดเกลา แต่พวกนี้ที่ขึ้นมาได้ แล้วก็สามารถที่จะมีสมาธิได้ และสามารถที่จะมีการขัดเกลา เรียนธรรมได้แน่นอน ไม่ใช่ไม่มี
    เพราะฉะนั้น ที่พูดถึงผีนี่ไม่ใช่ที่จะชักชวนให้ท่านทั้งหลายได้สนใจเกี่ยวข้องกับวิชาผี ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่านึกถึงว่าแต่ละคนก็เป็นผี ทุกคนเป็นผี เป็นผีมาแล้ว และจะเป็นผีต่อไป
    เมื่อเป็นผีมาแล้ว แล้วก็ได้ประกอบกรรมดีมาพอสมควร ได้เกิดมาเป็นคนหรือเป็นมนุษย์ เราก็พยายามประกอบความดีขึ้นเพื่อให้เป็นผีดีต่อไป เมื่อเป็นผีดีต่อไปก็สามารถที่จะได้มีภพมีชาติที่ดีขึ้นไปต่อไป แต่ก็ต้องระวังเหมือนกัน แม้จะเป็นผีดีแล้วไปหลงในความดีความสบายของผีแล้ว ก็อาจจะตกนรกต่อไปได้มีเหมือนกัน
    ฉะนั้น ก็ต้องพยายามพิจารณาว่าระหว่างนี้ที่เรามีกายกับใจประกอบกัน ให้ดูกายให้ถูกต้อง ให้ดูใจให้ถูกต้อง แล้วก็จะสามารถที่แม้จะเป็นผีก็เป็นผีที่ดีได้ แต่ว่าถ้าความปรารถนาสูงสุด คือปรารถนาที่จะให้หลุดพ้นจากการที่จะต้องเป็นผี อย่างพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ท่านไม่ต้องเป็นผี ท่านหลุดพ้น เรียกว่าพ้นไปได้
    อย่างพวกเราๆ ที่ยังไม่ได้ความหลุดพ้น ถ้าหากว่าทำจิตใจให้ผ่องใสแล้วก็ได้ดูจิตของเราหรือใจของเรา พยายามที่จะเว้นจากสิ่งที่ทำให้ตกต่ำเป็นผีไม่ดี พยายามทำอะไรที่จะทำให้ดีขึ้น จะเรียกว่าทำให้ผ่องใสขึ้น ทำให้มีความสุขขึ้น ให้ทำอะไรที่สุจริตก็จะเป็นผีดีก็คือเทวดา และการเป็นเทวดาก็เท่ากับได้มีเวลาไปพักผ่อนในที่ๆ สบาย ต่อไปก็สามารถที่จะกลับมารับราชการโลกต่อ เป็นคนก็จะเป็นมนุษย์ที่ดี แล้วก็ขัดเกลาไปขัดเกลามาก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่หลุดพ้น อันนี้เป็นความปรารถนาของพุทธศาสนา"
    (จบตอนที่ ๙)

    -----------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...