พระสูตรมหายาน : พระโพธิสัตว์ทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย G@cKt, 25 มกราคม 2009.

  1. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94

    大方廣圓覺修多羅了義經

    [​IMG]

    พระมหาไวปุลยสมปูรณโพธิอรรถสูตร

    The Grand Sutra of Perfect Enlightenment<O:p</O:p

    พระพุทธตฺารตมหาเถระ 唐:佛陀多羅譯 (ราว พ.ศ.๑๑๙๓)ในสมัยราชวงศ์ถังประเทศจีน

    แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์<O:p</O:p

    พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก(沙門聖傑) วัดเทพพุทธาราม (仙佛寺)แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์
    <O:p</O:p
    เมื่อพระพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๕๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน

    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p
    如是我聞,一時婆伽婆,入於神通大光明藏,三昧正受,一切如來光嚴住持,是諸眾生,清淨覺地,身心寂滅平等本際,圓滿十方,不二隨順,於不二境,現諸淨土,與大菩薩摩訶薩十萬人俱,其名曰,文殊師利菩薩,普賢菩薩,普眼菩薩,金剛藏菩薩,彌勒菩薩,清淨慧菩薩,威德自在菩薩,辯音菩薩,淨諸業障菩薩,普覺菩薩,圓覺菩薩,賢善首菩薩等而為上首與諸眷屬,皆入三昧,同住如來平等法會。<O:p</O:p

    ดั่งที่ข้าพเจ้าได้สดับมา สมัยหนึ่งสมเด็จพระภควันต์ ทรงเข้า อภิญญา[1]มหาญาณครรภ์ อันเป็นสมาธิตั้งอยู่โดยชอบ เป็นประการที่พระตถาคตเจ้าทั้งปวงทรงธำรงอยู่ มีบรรดาสรรพสัตว์ผู้บริสุทธิ์บรรลุถึงโพธิภูมิ มีกายแลจิตที่ดับรอบและมีสมตาเป็นมูลฐาน สมบูรณ์ทั่วในทิศทั้งสิบ มิคล้อยตามทวิบัญญัติ และมิตั้งอยู่ในทวิภาวะ ปรากฏอยู่ในวิศุทธิเกษตรทั้งปวง อันเป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งแสน อันมีนามว่า มัญชุศรีโพธิสัตว์๑ สมันตภัทรโพธิสัตว์๑ สมันตเนตรโพธิสัตว์๑ วัชรครรภ์โพธิสัตว์๑ เมตไตรยโพธิสัตว์๑ วิศุทธิชญานโพธิสัตว์๑ เตชศวรโพธิสัตว์๑ ปรติภาณสวรโพธิสัตว์๑ ศุทธิสรวกรรมวิปากโพธิสัตว์๑ สมันตพุทธิโพธิสัตว์๑ สมปูรณโพธิโพธิสัตว์๑ สุภัทรกูฏโพธิสัตว์๑ อันเป็นผู้นำพร้อมด้วยบริษัททั้งปวง ซึ่งล้วนแต่เข้าสมาธิ แล้วตั้งอยู่ในตถาคตสมตาธรรมสภา

    <O:p















    <HR align=left width="33%" SIZE=1>[1]ฤทธิ์ ๖ ประการมี๑)อิทธิวิธีแสดงฤทธิ์ได้๒)ทิพยจักษุตาทิพย์๓)ทิพยโสตหูทิพย์๔)เจโตปริยญาณญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้๕)บุพเพนิวาสานุสสติญาณการระลึกชาติได้ และ ๖)อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ (ข้อ ๖ นี้มีเฉพาะพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา) ห้าข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ


    於是文殊師利菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手而白佛言:大悲世尊,願為此會諸來法眾,說於如來本起清淨,因地法行,及說菩薩於大乘中發
    <O:p及說菩薩於大乘中發清淨心,遠離諸病,能使未來末世眾生求大乘者,不墮邪見。作是語已,五體投他,如是三請,終而復始。

    <O:p
    ในเพลานั้น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนมกรแล้วทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อเหล่าธรรมนิกรทั้งปวงที่ได้มาร่วมอยู่ในสภาแห่งนี้ ขอพระองค์ทรงแสดงมูลเหตุอันบริสุทธิ์ของพระตถาคตคือเหตุภูมิธรรมจริยา และโปรดตรัสซึ่งการประกาศวิศุทธิจิตของโพธิสัตว์ผู้ดำรงในมหายาน อันห่างไกลจากสิ่งเสียดแทงทั้งปวง สามารถยังให้สรรพสัตว์ในอนาคตผู้ปรารถนามหายาน มิตกสู่มิจฉาทัศนะด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึงกระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ

    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p
    爾時世尊告文殊師利菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩,諮詢如來因地法行,及為末世一切眾生求大乘者,得正住持,不墮邪見,汝今諦聽,當為汝說。時文殊師利菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽。

    <O:p</O:p
    ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถสากัจฉาซึ่งเหตุภูมิแห่งธรรมจริยาของพระตถาคตเพื่อโพธิสัตว์ทั้งหลาย และเพื่อหมู่สรรพสัตว์ในอนาคตผู้ปรารถนามหายาน ให้ได้บรรลุถึงความตั้งมั่นมิตกสู่มิจฉาทัศนะ เธอพึงสดับเถิด ตถาคตจักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้นพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึงปีติยินดี อยู่พร้อมกับบรรดามหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา

    <O:p</O:p</O:p
    善男子,無上法王,有大陀羅尼門,名為圓覺,流出一切清淨真如,菩提涅槃及波羅密,教授菩薩,一切如來本起因地,皆依圓照清淨覺相,永斷無明,方成佛道,云何無明。

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร พระอนุตรธรรมราชา มีมหาธารณีทวารนามว่า สมปูรณโพธิ อันเป็นที่หลั่งไหลซึ่งวิศุทธิตถตา พระโพธิ พระนิรวาณ และปารมิตาทั้งปวง เพื่อสั่งสอนโพธิสัตว์ และคือปฐมเหตุภูมิของพระตถาคตทั้งปวง ที่ล้วนต้องอาศัยเพื่อยังโพธิลักษณะให้บริสุทธิ์โดยรอบ เพื่อยังอวิชชาให้ขาดสิ้นแล้วบรรลุพระพุทธมรรค ก็อวิชชานั้นเล่าเป็นไฉน

    </O:p
    善男子,一切眾生從無始來,種種顛倒,猶如迷人,四方易處,妄認四大為自身相,六塵緣影為自心相,譬彼病目,見空中華及第二月。

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร บรรดาสรรพสัตว์นับแต่กาลอันหาจุดเริ่มต้นมิได้นั้น วิปลาสเห็นผิดเป็นชอบ ดุจผู้ถูกลวงหลอกให้ลุ่มหลงไปในทิศทั้งสี่แต่โดยง่าย[1] โดยลวงให้ยึดเอามหาภูติรูปสี่[2]ว่าเป็นกายตน และสฬายตนะ[3]เป็นปัจจัยให้เกิดภาพเห็นเป็นจิตตน อุปมาบุคคลผู้จักษุเป็นโรค เห็นบุปผาในอากาศ[4] และจันทราดวงที่สอง

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    善男子,空實無華,病者妄執,由妄執故,非唯惑此虛空自性,亦復迷彼實華生處,由此妄有輪轉生死,故名無明。

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร ที่แท้ในนภากาศปราศจากซึ่งบุปผา แต่เหตุเพราะผู้ป่วยนั้นอุปาทานมั่นเอาเอง จึงมิเพียงรู้สึกว่าอากาศคือภาวะแห่งตน ซ้ำยังหลงไปว่านั้นเป็นที่อุบัติแห่งบุปผชาติอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงลวงหลอกว่ามีสังสารวัฏชาติมรณะ เหตุฉะนี้แลจึงชื่อว่า อวิชชา

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    善男子,此無明者,非實有體,如夢中人,夢時非無,及至於醒,了無所得。如眾空華,滅於虛空,不可說言有定滅處,何以故,無生處故。一切眾生於無生中,妄見生滅,是故說名輪轉生死。

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร อันอวิชชานี้แล ที่แท้ก็หามีสังขารไม่ ดุจบุคคลผู้อยู่ในความฝัน ที่เพลาฝันย่อมมีอยู่ ตราบเมื่อตื่นขึ้นจึงรู้ว่ามิใช่ความจริง ดุจบุปผาทั้งปวงในความว่าง ที่สิ้นไปในอากาศนั้นแล อันมิอาจกล่าวกำหนดไปว่าดับสิ้นที่แห่งใด ด้วยเหตุไฉนนั่นหรือ ก็เหตุเพราะมิได้มีสถานที่กำเนิดขึ้น สรรพสัตว์ทั้งปวงก็อาศัยความมิได้กำเนิดนี้ ลวงให้เห็นว่าเกิดดับ ฉะนี้แลจึงชื่อว่า สังสารวัฏชาติมรณะ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    善男子,如來因地修圓覺者,知是空華,即無輪轉,亦無身心受彼生死,非作故無,本性無故,彼知覺者,猶如虛空,知虛空者,即空華相,亦不可說無知覺性,有無俱遣,是則名為淨覺隨順,何以故,虛空性故,常不動故,如來藏中無起滅故,無知見故,如法界性,究竟圓滿遍十方故,是則名為因地法行。菩薩因此於大乘中,發清淨心,末世眾生,依此修行,不墮邪見,

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร เพราะตถาคตมีเหตุภูมิที่บำเพ็ญซึ่งสมปูรณโพธิ จึงรู้ว่าคืออากาศบุปผา จึงปราศจากสังสารวัฏ ทั้งปราศจากซึ่งกายและจิตผู้เสวยชาติและมรณะ เพราะมิได้กระทำจึงหามีไม่ เหตุที่รู้ว่ามูลภาวะนั้นหามีไม่ จึงได้รู้แจ้ง อุปมาอากาศนั่นแล ที่บุคคลผู้รู้อากาศ ว่าเป็นลักษณะของอากาศบุปผา ทั้งมิอาจกล่าวว่าปราศจากผู้รู้โพธิภาวะ แลไร้บุคคลผู้มีตนส่งไป จึงชื่อว่า อนุโลมตามความรู้แจ้งที่บริสุทธิ์ ด้วยเหตุไฉนนั้นฤๅ ด้วยอากาศภาวะเป็นเหตุ ด้วยความมิหวั่นไหวอยู่เป็นนิจเป็นเหตุ ด้วยท่ามกลางตถาคตครรภ์นั้นปราศจากซึ่งความเกิดขึ้นและดับสิ้นเป็นเหตุ ด้วยการเห็นที่มิรู้แจ้งเป็นเหตุ ดุจธรรมธาตุภาวะที่มีความสมบูรณ์เป็นที่สุดตลอดในทิศทั้งสิบเป็นเหตุ เช่นนี้จึงชื่อว่าเหตุภูมิธรรมจริยา โพธิสัตว์ด้วยมีเหตุเช่นนี้จึงบังเกิดวิศุทธิจิตต่อมหายาน สรรพสัตว์ในอนาคตเพราะได้อาศัยการประพฤติจริยาอยู่เช่นนี้ จึงมิตกสู่มิจฉาทัศนะ ด้วยประการฉะนี้.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    爾時世尊欲重宣此義,而說偈言:<O:p</O:p
    ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้ จึงตรัสเป็นโศลกว่า...

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    文殊汝當知,一切諸如來。<O:p</O:p
    มัญชุศรีเธอพึงทราบเถิด อันพระตถาคตทั้งปวง

    <O:p</O:p
    從於本因地,皆以智慧覺。<O:p</O:p
    จากภูมิคือมูลเหตุนี้ไป ล้วนอาศัยโพธิปัญญาญาณ

    <O:p</O:p
    了達於無明,知彼如空華,<O:p</O:p
    ให้แทงตลอดซึ่งอวิชชา ล่วงรู้ว่าดุจอากาศบุปผา

    <O:p</O:p
    即能免流轉,又如夢中人,<O:p</O:p
    จึงสามารถระงับซึ่งวัฏฏะ อีกประดุจบุคคลในความฝัน

    <O:p</O:p
    醒時不可得,覺者如虛空。<O:p</O:p
    เมื่อตื่นคืนย่อมมิอาจเข้าถึง ผู้รู้แจ้งนั้นเล่าก็ดุจอากาศ

    <O:p</O:p
    平等不動轉,覺遍十方界。<O:p</O:p
    มีความสมภาพมิผันแปร รู้แจ้งทั่วทศทิศโลกธาตุ

    <O:p</O:p
    即得成佛道,眾幻滅無處。<O:p</O:p
    จึงบรรลุซึ่งพุทธมรรค บรรดามายาดับโดยไร้สถาน

    <O:p</O:p
    成道亦無得,本性圓滿故。<O:p</O:p
    อันการสำเร็จมรรคก็หาได้บรรลุถึงไม่ เหตุที่มูลภาวะบริบูรณ์อยู่เดิม

    <O:p</O:p
    菩薩於此中,能發菩提心。<O:p</O:p
    โพธิสัตว์ผู้ดำรง(ซึ่งธรรมนี้) จึงสามารถบังเกิดโพธิจิต

    <O:p</O:p
    末世諸眾生,修此免邪見。<O:p</O:p
    บรรดาสรรพสัตว์ในอนาคต เมื่อประพฤติ(ธรรมนี้)ย่อมระงับซึ่งมิจฉาทัศนะแล.

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จบวรรคที่ ๑






    <HR align=left width="33%" SIZE=1>[1]หมายถึง จตฺวาโร วิปรฺยาสา คือความเห็นคลาดเคลื่อน ๔ ประการ มี ๑.นิตยวิปัลลาสคือสัญญาวิปัลลาสจิตตวิปัลลาสทิฏฐิวิปัลลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง๒.สุขวิปัลลาสคือสัญญาวิปัลลาสฯลฯในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข๓.ศุจิวิปัลลาสคือสัญญาวิปัลาสฯลฯในสิ่งที่ไม่งามว่างาม๔.อาตมวิปัลลาสคือสัญญาวิปัลลาสฯลฯในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน<O:p</O:p

    [2]มหาภูติรูป ๔ คือ ธาตุ ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม<O:p</O:p

    [3]หมายถึง อายตนะภายนอก ๖ มี ๑)รูป ๒)เสียง ๓)กลิ่น ๔)รส ๕)สัมผัส หรือโผฏฐัพพะ ๖)ธรรมารมณ์<O:p</O:p

    [4]ขปุษฺป คือ ดอกฟ้า , ดอกไม้ในอากาศ





    วรรคที่ 2


    於是普賢菩薩在大眾中,即從座起,頂禮佛足,右繞三匝,長跪叉手而白佛言:大悲世尊,願為此會諸菩薩眾,及為末世一切眾生,修大乘者,聞此圓覺清淨境界,云何修行。

    <O:p</O:p
    ในเพลานั้น พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ก็ประทับร่วมอยู่ในมหาชน ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำศิราภิวาทเบื้องพระพุทธยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า ประทักษิณาวัตรสามรอบ คุกเข่าประนมกรแล้วทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระมหากรุณาโลกนาถเจ้า เพื่อเหล่าโพธิสัตว์ในสภาแห่งนี้และสรรพสัตว์ในอนาคต ผู้ประพฤติซึ่งมหายานจริยา เมื่อได้สดับซึ่งวิศุทธิสมปูรณโพธิวิสัยนี้แล้ว พึงกระทำจริยาด้วยประการเช่นไรหนอ <O:p</O:p

    <O:p
    世尊,若彼眾生知如幻者,身心亦幻,云何以幻還修於幻,若諸幻性一切盡滅,則無有心,誰為修行,云何復說修行如幻。若諸眾生,本不修行,於生死中常居幻化,曾不了知如幻境界,令妄想心云何解脫,願為末世一切眾生,作何方便漸次修習,令諸眾生永離諸幻。作是語已,五體投地,如是三請,終而復始。

    <O:p
    ข้าแต่พระโลกนาถ หากสรรพสัตว์นั้นได้รู้ว่าประดุจการมายา กายแลจิตก็ดุจมายา แล้วจักใช้มายาบำเพ็ญซึ่งมายาด้วยประการเช่นไร หากบรรดามายาภาวะอันคือสิ่งทั้งปวงดับสิ้นลง ย่อมปราศจากจิต แล้วใครเล่าเป็นผู้บำเพ็ญจริยา เช่นไรหนอจึงยังกล่าวว่าการบำเพ็ญจริยาเป็นดั่งมายา หากสรรพสัตว์ทั้งปวง มีมูลฐานที่มิบำเพ็ญจริยา ในท่ามกลางชาติแลมรณะนี้จึงมีมายาเป็นเครื่องลวงอยู่เนืองนิตย์ มิเคยล่วงรู้ว่าคือมายาวิสัย ยังให้เกิดจิตตสัญญาลวงหลอก แล้วจักถึงแก่พระวิมุตติได้อย่างไร เพื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายในอนาคต ขอพระองค์โปรดประทานอุปายะในการประพฤติบำเพ็ญโดยลำดับ ยังให้เหล่าสรรพสัตว์ได้ไกลห่างจากมายาทั้งปวงด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า เมื่อทูลเช่นนี้แล้วจึงกระทำเบญจางคประดิษฐ์ อยู่เช่นนี้สามคำรบ

    </O:p
    爾時世尊告普賢菩薩言:善哉善哉,善男子,汝等乃能為諸菩薩及末世眾生,修習菩薩如幻三昧,方便漸次,令諸眾生得離諸幻,汝今諦聽,當為汝說。時普賢菩薩奉教歡喜,及諸大眾默然而聽。

    <O:p</O:p
    ในกาลบัดนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ว่า สาธุๆ กุลบุตร พวกเธอสามารถยังให้บรรดาโพธิสัตว์ และสรรพสัตว์ในอนาคต ประพฤติบำเพ็ญซึ่งโพธิสัตวมายาสมาธิ มีอุปายะสืบไปเป็นลำดับ ยังให้หมู่สรรพสัตว์ไกลจากมายาทั้งปวง เธอพึงสดับเถิด ตถาคตจักกล่าวแก่เธอ ครั้งนั้นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์เมื่อรับสนองพระอนุศาสนีย์แล้วจึงปีติยินดี อยู่พร้อมกับบรรดามหาชนที่ดุษณียภาพอยู่เพื่อคอยสดับพระเทศนา

    </O:p
    善男子,一切眾生,種種幻化,皆生如來圓覺妙心,猶如空華,從空而有,幻華雖滅,空性不壞,眾生幻心,還依幻滅,諸幻盡滅,覺心不動,依幻說覺,亦名為幻,若說有覺,猶未離幻,說無覺者,亦復如是,是故幻滅,名為不動。

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร สรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบด้วยการมายานานัปการ ซึ่งล้วนอุบัติแต่ตถาคตสมปูรณโพธิจิต อุปมาอากาศบุปผา ที่อาศัยอากาศจึงเกิดมี ก็อันมายาบุปผาแม้นจักดับ แต่อากาศภาวะมิได้เสื่อมสูญ มายาจิตของสรรพสัตว์ ยังอาศัยการดับไปของมายา สรรพมายาแม้นดับจนสิ้น พุทธิจิตก็มิได้สั่นคลอน ด้วยอาศัยมายากล่าวแสดงความรู้แจ้ง จึงได้ชื่อว่ามายา หากกล่าวว่ารู้แจ้ง จึงดั่งว่ายังมิไกลจากมายา แม้นกล่าวว่ามิรู้แจ้ง ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ เหตุฉะนี้แลเมื่อมายาดับ จึงได้ชื่อว่า มิหวั่นไหว

    </O:p
    善男子,一切菩薩,及末世眾生,應當遠離一切幻化虛妄境界,由堅執持遠離心故,心如幻者,亦復遠離,遠離為幻,亦復遠離,離遠離幻,亦復遠離,得無所離,即除諸幻,譬如鑽火,兩木相因,火出木盡,灰飛煙滅,以幻修幻,亦復如是,諸幻雖盡,不入斷滅。

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร โพธิสัตว์และสรรพสัตว์ทั้งปวงในอนาคต พึงนิราศห่างไกล[1]จากมายาวิสัยอันลวงหลอกทั้งปวง ก็เพราะการยึดมั่นในนิราศจิตเป็นเหตุ จิตจึงดุจมายา ทั้งยังห่างไกลอันความห่างไกลนั่นแลก็คือมายา ทั้งยังห่างไกลก็อันความห่างไกลนั่นแลที่ห่างจากมายา ทั้งยังห่างไกลแล้วจึงบรรลุถึงความมิห่าง จึงกำจัดมายาทั้งปวง ครุวนาไฟที่เกิดจากการสีของไม้ เมื่อไฟปรากฏไม้จึงสิ้น เมื่อเถ้าฟุ้งควันจึงสูญ ใช้มายาบำเพ็ญมายา ก็ดุจฉะนี้ แม้นสรรพมายาจักสิ้นแล้วแต่ยังมิเข้าสู่สมุทเฉทนิโรธ

    <O:p</O:p</O:p
    善男子,知幻即離不作方便,離幻即覺,亦無漸次,一切菩薩及末世眾生,依此修行,如是乃能永離諸幻,

    <O:p</O:p
    ดูก่อนกุลบุตร เมื่อรู้มายาจึงไกลห่าง(จากมายา) มิต้องกระทำอุปายะใด เมื่อไกลมายาจึงรู้แจ้ง ทั้งมิต้องสืบไปเป็นลำดับ บรรดาโพธิสัตว์และสรรพสัตว์ทั้งปวงในอนาคต ด้วยอาศัยการบำเพ็ญจริยาเช่นนี้ จึงสามารถไกลจากปวงมายาอยู่เป็นนิตย์ ด้วยประการฉะนี้.

    </O:p
    爾時世尊欲重宣此義,而說偈言:

    <O:p</O:p
    ในครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าทรงปรารถนาจักย้ำในอรรถนี้ จึงตรัสเป็นโศลกว่า...

    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p
    普賢汝當知,一切諸眾生。<O:p</O:p
    สมันตภัทรเธอพึงทราบเถิด อันสรรพสัตว์ทั้งปวง

    <O:p</O:p
    無始幻無明,皆從諸如來。<O:p</O:p
    มายาแลอวิชชาอันหาจุดเริ่มมิได้ ล้วนเกิดแต่พระตถาคตทั้งปวง

    <O:p</O:p
    圓覺心建立,猶如虛空華。<O:p</O:p
    อันมีสมปูรณจิตตั้งขึ้น อุปมาอากาศบุปผา

    <O:p</O:p
    依空而有相,空華若復滅。<O:p</O:p
    เพราะอาศัยความว่างจึงมีลักษณะ ศูนยตาบุปผาจึงดับไป

    <O:p</O:p
    虛空本不動,幻從諸覺生。<O:p</O:p
    อากาศมีมูลเดิมมิหวั่นไหว มายาก็กำเนิดจากความรู้แจ้งทั้งปวง

    <O:p</O:p
    幻滅覺圓滿,覺心不動故。<O:p</O:p
    มายาดับโพธิยังสมบูรณ์ เหตุเพราะพุทธิจิตนั้นอจลา

    <O:p</O:p
    若彼諸菩薩,及末世眾生。<O:p</O:p
    หากหมู่โพธิสัตว์เหล่านั้น และสรรพสัตว์ในอนาคต

    <O:p</O:p
    常應遠離幻,諸幻悉皆離。<O:p</O:p
    จักพึงไกลจากมายา เมื่อปวงมายาล้วนไกลห่าง

    <O:p</O:p
    如木中生火,木盡火還滅。<O:p</O:p
    ดุจไม้กำเนิดไฟ เมื่อไม้สิ้นไฟย่อมดับ

    <O:p</O:p
    覺則無漸次,方便亦如是。<O:p</O:p
    ความรู้แจ้งมิต้องเป็นลำดับ อุปายะก็เช่นนี้แล.


    จบวรรคที่ ๒<O:p</O:p






    <HR align=left width="33%" SIZE=1>
    [1]ห่างไกล หรือไกลจากกิเลส ในพระสูตรนี้ สันสกฤตว่า หรฺมิต



    *** อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mahaparamita.com/PDF/01/006.pdf <O:p</O:p


    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 29.jpg
      29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.1 KB
      เปิดดู:
      1,275
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2009
  2. ศรัทธาในพระองค์

    ศรัทธาในพระองค์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +40
    อนุโมทนาค่ะ

    อยู่เพื่อทำความดีนี้เพื่อแม่ อยู่เพื่อแผ่อายุพระพุทธศาสนา
    อยู่เพื่อสร้างบารมีที่ทำมา อยู่เพื่อพาสรรพสัตว์ขัดจิตใจ

    ขอบุญบารมี จงมีแด่ผู้เมตตาด้วยเถิด
     
  3. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852

    พระโพธิสัตว์ยังเอาปัญญาที่แท้จริงจากพระพุทธเจ้าไม่ได้
    <O:p
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ได้มาตรัสรู้แล้วในโลกนี้ได้ปัญญาที่แท้จริงจากภาวนามยปัญญาจะเกิดผลออกมาเป็นปฏิเวธจะเป็นจุดที่สิ้นสุดของผู้ปฏิบัติธรรมในวาระ<WBR>สุดท้ายไม่มีอะไรต้องบรรลุ<O:p
     
  4. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852

    หากตัญหา ๓ ยังมิได้ปหานให้สิ้นแล้วไชร์จึงชื่อยังไม่บรรลุพุทธะแต่หากรู้แจ้งซึ่งความเป็น
    พระสาวกและพระปัจเจกโพธิตลอดถึง พระศาสดาจารย์
    ก็มิอาจดำรงค์อยู่ซึ่งโพธิสัตว์วิสัย
     
  5. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
  6. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    ตามความเห็นของผมนะครับ

    พระสูตรนี้มุ่งแสดงให้ละวาง ความยึดมั่นในตัวตน แม้กระทั่งสมมุติบัญญติทั้งปวง หากยังมีการบัญญัติในผู้เข้าถึงศูนตภาวะ (พุทธภาวะ) แล้วยังมีการแบ่งแยกว่า เป็นอรหันต์ พระปัจเจกโพธิ และแม้แต่ยังมีการแบ่งว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังถือว่า นำบัญญัติไปใส่ให้พระพุทธเจ้า

    สูตรฝ่ายมหายาน จะปฏิเสธมติทั้ง 2 ฝ่าย คือใช่-ไม่ใช่ มี-ไม่มี ซึ่งเราจะต้องพิจารณาให้ออกว่า คำว่ามีนั้นคือยอมรับว่ามีในแง่ของสิ่งสมมุติ แต่ไม่มีในแง่ของปรมัต

    ดังนั้น หากจะพิจารณา ข้อธรรม เหมือนกับ การวิเคราะห์ ตัวบทของกฎหมาย ก็คือการยึดติดในสมมุติบัญญัติของอักษรอยู่ดี คงไม่มีธรรมในโลกที่เราแตกฉานได้ทั้งหมด และอัธยาศัยของชาวโลกก็ต่างกัน

    พระธรรมเป็นดังนิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ แต่ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือเป็นดวงจันทร์ที่สะท้อนในน้ำ ซึ่งล้วนไม่ใช่จันทร์ของจริง

    แม้ดวงจันทร์นั้นก็ อยู่ที่เดิม แต่ชาวโลกแต่ละสถานที่ ยังเห็นในเวลากลางคืน และไม่เห็นในเวลากลางวัน

    หรือเหมือนกับ เห็นเมฆเคลื่อนผ่านดวงจันทร์ เราก็มองว่า พระจันทร์ขยับเขยือน เหมือนคนนั่งเรือ ที่เห็นฝั่งไกลออกไป (ที่แท้เราต่างหากทื่ไกลออกไป)

    ด้วยความเคารพครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤษภาคม 2009
  7. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    วันมาฆบูชา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชน
    สาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ <o:p></o:p>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ<o:p></o:p>
    วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    วันเสาร์ที่ ๒๐ –๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓<o:p></o:p>
    เวลา ๐๘.๐๐ น.พร้อมกันที่วิหารพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เวลา๐๘.๓๐ น.อัญเชิญพระไตรปิฎกทักษิณาวัตรที่พระอุโบสถ<o:p></o:p>
    เวลา ๐๙.๐๙ น.ประธานจุดเทียนธูป<o:p></o:p>
    เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล<o:p></o:p>
    พระครูปลัดรัตนวัฒน์ ในศีล<o:p></o:p>
    จุดเทียนบูชาพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เริ่มสาธยายพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓
    เวลา ๑๙.๐๐ น.หยุดการสาธยายพระไตรปิฎก เจริญสมาธิและถวายเป็นพระราชกุศล
    กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธนิมิตเมตตา ปางปฐมเทศนา
    ชมพระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่ ๕ พม่า , ศรีลังกา , ล้านนา , รัฐฉาน , เขมร , จีนและคัมภีร์โบราณ
    รถเมล์สาย ปอพ.๑๐,๕๖,๕๗,๗๙,๑๕๗,๑๗๕,๔๐,๕๔๒.๘๐,๕๐๙,๒๘,๑๗๑ ลงที่สี่แยกบางขุนนนท์ (รถเมล์สาย ๕๗,๗๙ ผ่านหน้าวัด )<o:p></o:p>
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ (ไม่รับเงินบริจาค)www.narongsak.org
    โทร. ๐๒-๔๓๕-๗๕๕๕ ๐๘๙-๙๖๓-๔๕๐๕ โทรสาร. ๐๒-๔๓๔-๑๒๓๘
    พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ธรรมและวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วธรรมเหล่านั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ” การสาธยายพระไตรปิฎกจึงเสมือนได้เข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    อานิสงส์การสาธยายพระไตรปิฎก
    ๑.พระไตรปิฎกเป็นตาวิเศษอันยิ่งบุคคลใดสาธยายพระไตรปิฎกแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เป็นสัมมาทิฎฐิ นำไปสู่ความสำเร็จและเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล คือตั้งแต่โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์เข้าสู่นิพพาน
    ๒.พระไตรปิฎกเป็นหูที่วิเศษอันยิ่งฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตด้วยความถูกต้อง ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ อย่างน้อยไม่ทำบาปทำแต่กุศล ได้ฟังแต่สิ่งที่เป็นมงคล การพูดก็ดี สุขภาพจิตก็ดี มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดีความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศลหน้าตาผ่องใสเป็นต้น(พระไตรปิฎกเล่มที่๔)
    ๓.พระไตรปิฎกเป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่าง ๆ ได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคราวทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้น ไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอกและจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๕.พระไตรปิฎกเป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้าเลือดลมในตัวเราที่เรียกว่าธาตุ๔นั้นก็สมบูรณ์ทำให้มีอายุยิ่งยืนนานสามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้
    ๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบันสกทาคามีอนาคามีและพระอรหันต์ในที่สุด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๗.พระไตรปิฎกเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วสอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม ๙)
    ๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม๑๒และ๑๔)
    ๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดีนำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเอง ครอบครัวและสังคมที่ดีนำทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ(พระไตรปิฎกเล่มที่๓๖)
    ๑๐.สมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ พระสงฆ์สาธยายอภิธรรมในถ้ำ ค้างคาว ๕๐๐ ตัวได้ฟังเมื่อถึงคราวตายแล้วไปจุติที่ชั้นดาวดึงส์ชาติสุดท้ายมาเกิดเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรและเป็นอรหันต์เป็นที่สุด
    ๑๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ว่ากรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยได้ จงจำไว้ กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้ เธอจงช่วยตนเอง ด้วยการสวดมนต์ ภาวนาแผ่เมตตาผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเธอได้”ตอนหนึ่งที่กล่าวกับนางโรหิณี
    ๑๒.การสาธยายหรือการสวดมนต์ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตนและประโยชน์แก่จิตอื่น และสามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดมนต์สาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
    บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่อันพึงจะเกิดขึ้นในครั้งนี้
    ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯผู้เป็นพ่อของแผ่นดินที่ให้อาศัยแก่เราและวงศ์ตระกูลได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้าตลอดมาขอธรรมของพระศาสดาเป็นประดุจดังธรรมโอสถทิพย์ที่จะช่วยคลายทุกข์ให้ประชาชนคนไทยได้รู้รักสามัคคีเฉกเช่นพี่น้องร่วมอุทรอันไม่พึงทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยกาย วาจา ใจ ขอให้พี่น้องประชาชนทั้งหลายเป็นผู้มั่นคงและถึงพร้อมด้วยความดี เพื่อแผ่นดินไทยอยู่อย่างผาสุกตลอดกาลและนาน เทอญ<o:p></o:p>
     
  8. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    วันมาฆบูชา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชน
    สาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ <o:p></o:p>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ<o:p></o:p>
    วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    วันเสาร์ที่ ๒๐ –๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓<o:p></o:p>
    เวลา ๐๘.๐๐ น.พร้อมกันที่วิหารพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เวลา๐๘.๓๐ น.อัญเชิญพระไตรปิฎกทักษิณาวัตรที่พระอุโบสถ<o:p></o:p>
    เวลา ๐๙.๐๙ น.ประธานจุดเทียนธูป<o:p></o:p>
    เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล<o:p></o:p>
    พระครูปลัดรัตนวัฒน์ ในศีล<o:p></o:p>
    จุดเทียนบูชาพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เริ่มสาธยายพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓
    เวลา ๑๙.๐๐ น.หยุดการสาธยายพระไตรปิฎก เจริญสมาธิและถวายเป็นพระราชกุศล
    กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธนิมิตเมตตา ปางปฐมเทศนา
    ชมพระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่ ๕ พม่า , ศรีลังกา , ล้านนา , รัฐฉาน , เขมร , จีนและคัมภีร์โบราณ
    รถเมล์สาย ปอพ.๑๐,๕๖,๕๗,๗๙,๑๕๗,๑๗๕,๔๐,๕๔๒.๘๐,๕๐๙,๒๘,๑๗๑ ลงที่สี่แยกบางขุนนนท์ (รถเมล์สาย ๕๗,๗๙ ผ่านหน้าวัด )<o:p></o:p>
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ (ไม่รับเงินบริจาค)www.narongsak.org
    โทร. ๐๒-๔๓๕-๗๕๕๕ ๐๘๙-๙๖๓-๔๕๐๕ โทรสาร. ๐๒-๔๓๔-๑๒๓๘
    พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ธรรมและวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วธรรมเหล่านั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ” การสาธยายพระไตรปิฎกจึงเสมือนได้เข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    อานิสงส์การสาธยายพระไตรปิฎก
    ๑.พระไตรปิฎกเป็นตาวิเศษอันยิ่งบุคคลใดสาธยายพระไตรปิฎกแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เป็นสัมมาทิฎฐิ นำไปสู่ความสำเร็จและเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล คือตั้งแต่โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์เข้าสู่นิพพาน
    ๒.พระไตรปิฎกเป็นหูที่วิเศษอันยิ่งฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตด้วยความถูกต้อง ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ อย่างน้อยไม่ทำบาปทำแต่กุศล ได้ฟังแต่สิ่งที่เป็นมงคล การพูดก็ดี สุขภาพจิตก็ดี มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดีความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศลหน้าตาผ่องใสเป็นต้น(พระไตรปิฎกเล่มที่๔)
    ๓.พระไตรปิฎกเป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่าง ๆ ได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคราวทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้น ไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอกและจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๕.พระไตรปิฎกเป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้าเลือดลมในตัวเราที่เรียกว่าธาตุ๔นั้นก็สมบูรณ์ทำให้มีอายุยิ่งยืนนานสามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้
    ๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบันสกทาคามีอนาคามีและพระอรหันต์ในที่สุด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๗.พระไตรปิฎกเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วสอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม ๙)
    ๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม๑๒และ๑๔)
    ๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดีนำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเอง ครอบครัวและสังคมที่ดีนำทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ(พระไตรปิฎกเล่มที่๓๖)
    ๑๐.สมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ พระสงฆ์สาธยายอภิธรรมในถ้ำ ค้างคาว ๕๐๐ ตัวได้ฟังเมื่อถึงคราวตายแล้วไปจุติที่ชั้นดาวดึงส์ชาติสุดท้ายมาเกิดเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรและเป็นอรหันต์เป็นที่สุด
    ๑๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ว่ากรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยได้ จงจำไว้ กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้ เธอจงช่วยตนเอง ด้วยการสวดมนต์ ภาวนาแผ่เมตตาผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเธอได้”ตอนหนึ่งที่กล่าวกับนางโรหิณี
    ๑๒.การสาธยายหรือการสวดมนต์ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตนและประโยชน์แก่จิตอื่น และสามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดมนต์สาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
    บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่อันพึงจะเกิดขึ้นในครั้งนี้
    ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯผู้เป็นพ่อของแผ่นดินที่ให้อาศัยแก่เราและวงศ์ตระกูลได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้าตลอดมาขอธรรมของพระศาสดาเป็นประดุจดังธรรมโอสถทิพย์ที่จะช่วยคลายทุกข์ให้ประชาชนคนไทยได้รู้รักสามัคคีเฉกเช่นพี่น้องร่วมอุทรอันไม่พึงทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยกาย วาจา ใจ ขอให้พี่น้องประชาชนทั้งหลายเป็นผู้มั่นคงและถึงพร้อมด้วยความดี เพื่อแผ่นดินไทยอยู่อย่างผาสุกตลอดกาลและนาน เทอญ<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...