ผ้าไตรจีวรนั้น ภาษาพระเรียกว่าผ้าบังสุกุล

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 30 พฤศจิกายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,540
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,538
    ค่าพลัง:
    +26,373
    0A1983A2-3BB9-4720-B7E5-15D7895E46A0.jpeg

    ในเรื่องของผ้าไตรจีวรนั้น ภาษาพระเรียกว่าผ้าบังสุกุล

    ปังสุกุละ แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าคลุกฝุ่น คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว สมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ถือว่าเป็นผู้สละแล้วซึ่งทรัพย์สมบัติทั้งปวง มีแต่ตัวเปล่า ก็ต้องไปแสวงหาผ้าเพื่อทำจีวร ต้องเป็นผ้าที่เขาทิ้งแล้ว นำมาซัก มาตัด มาเย็บ มาย้อม กลายเป็นผ้าสำหรับใช้งานของตน

    ในสมัยแรก ๆ อยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ รูปแบบที่แน่นอนก็ไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้มอบหมายให้พระอานนท์คิดแบบในการทำจีวรให้เหมือนกันขึ้นมา พระอานนท์ได้แนวความคิดขณะที่บิณฑบาตผ่านท้องนา เห็นชาวบ้านเขาทำนา เป็นแปลง มีคันนา ท่านก็เลยมาดัดแปลงเป็นลักษณะของจีวร ซึ่งจะมีผ้าที่เป็นจีวร มีผ้าต่อ มีผ้ากั้น มีผ้าขอบ

    ตัวผ้าจีวรก็มีมณฑล ก็คือช่วงที่ยาว และอัฒฑมณฑล ช่วงที่สั้นลงครึ่งหนึ่ง และมีกุสิ ก็คือผ้ากั้นช่วงยาว อัฒฑกุสิ ผ้ากั้นช่วงสั้น และมีอนุวาต ผ้ากั้นขอบ เมื่อออกแบบมา ต้องบอกว่าท่านเป็นยอดของมัณฑกร คิดออกแบบมาสองพันกว่าปีแล้วก็ยังใช้งานได้ดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย

    ผ้าที่ได้มาชิ้นใหญ่บ้าง ชิ้นเล็กบ้าง ท่านออกแบบมามีทั้งใหญ่และเล็ก อย่างที่บอกว่ามี ๗ ขันธ์ มี ๙ ขันธ์ ก็คือ ถ้าอ้วนหน่อยก็ ๙ ขันธ์ ถ้าผอมหน่อยแค่ ๗ ขันธ์ก็พอ สำคัญตรงสีที่ย้อม พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตผ้าย้อมน้ำฝาด ก็คือ น้ำจากการต้มเปลือกไม้หรือแก่นไม้

    พระอัญญาโกณฑัญญะท่านบวชตอนอายุมากแล้ว ไม่อยากยุ่งกับพระลูกพระหลาน ท่านจึงไปจำพรรษา ที่ฉัตทันตสระในป่าหิมพานต์ บริเวณนั้นไม่มีต้นไม้ที่จะนำแก่นหรือเปลือกมาทำเป็นน้ำฝาดย้อมผ้าได้ ท่านจึงไปขุดเอาดินลูกรังมาละลายน้ำ กรองเอาเฉพาะน้ำมาต้มและย้อมผ้า สีผ้าจึงค่อนข้างแดง

    เมื่อถึงเวลาออกพรรษา ท่านก็มากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระลูกพระหลานเห็นเข้าก็นินทาว่า หลวงตาองค์นั้นมาจากไหนไม่รู้ ผอมจนเอ็นสะพรั่งไปทั้งตัว ห่มจีวรสีแดงอย่างกับเลือด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ยิน เกรงว่าลูก ๆ หลาน ๆ จะล่วงเกินแล้วจะเกิดโทษแก่ตนเองมาก จึงเสด็จมาตรัสถามว่า

    "ภิกขเว...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นพี่ชายใหญ่ของเธอหรือไม่ ?" ท่านทั้งหลายทูลตอบว่า "ไม่เห็นพระเจ้าข้า" พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสบอกว่า "หลวงตาที่ห่มจีวรสีแดงนั่นแหละ คือท่านอัญญาโกณฑัญญะ พระอรหันต์องค์แรกในพระพุทธศาสนา พี่ชายใหญ่ของพวกเธอ

    ท่านอยู่ในเขตที่ไม่มีไม้จะทำน้ำฝาดมาย้อมผ้าได้ จึงใช้ดินลูกรังย้อมผ้ากลายเป็นสีนั้น" พระพุทธเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุใช้ผ้าไตรจีวรสีเหลือง ซึ่งเป็นสีที่เกิดจากการย้อมด้วยน้ำขมิ้น สีกรักที่ย้อมด้วยแก่นขนุน และสีเจือแดงเข้ม ที่ย้อมด้วยสีลูกรัง

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ ณ บ้านวิริยบารมี
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...