ท่องเที่ยวสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 20 กันยายน 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    <TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width=620 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="79%"><SMALL><SMALL>สังขละบุรี</SMALL></SMALL>
    <SMALL><SMALL></SMALL></SMALL>


    <SMALL><SMALL></SMALL></SMALL>

    สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอสังขละบุรี

    สังขละบุรี เมืองสามหมอก ดินแดนสามวัฒนธรรม


    [​IMG]


    เมืองแห่งสายน้ำ ขุนเขา และผืนป่าอันอุดม.. เมืองที่มีความงามหลากหลายทาง เชื้อชาติและวัฒนธรรม ของพี่น้องต่างเผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไทย ลาว พม่า ฯลฯ

    สังขละบุรี เป็นเมืองสำคัญหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์... สงคราม...ด่านเจดีย์ ทางรถไฟสายมรณะ

    [​IMG]



    สังขละบุรี เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองประมาณ 215 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอทองผาภูมิ 74 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะตัดผ่านภูเขาเลียบทะเลสาบเขื่อนเขาแหลม มองเห็นทัศนียภาพที่งดงาม อำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอำเภอตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า "สามประสบ" คือบริเวณที่ลำน้ำสามสาย อันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแควน้อย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดวังก์วิเวการาม อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกระเหรี่ยง และพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น

    [​IMG]

    ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญ และจัดเตรียมสำรับอาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    หลวงพ่ออุตตมะ
    มหาวัชระแห่งรามัญ

    พระราชอุดมมงคล หรือ "พระมหาอุตตมะรัมโภภิกขุ" หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ "หลวงพ่ออุตตมะ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญ ผู้มีบทบาทผู้นำคนสำคัญของชาวมอญพลัดถิ่นที่สังขละบุรี​

    หลวงพ่ออุตตมะเกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๗๒ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมืองมอญ ประเทศพม่า เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม ๑๒ คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชาย เกิดในวันอาทิตย์ จึงมีชื่อว่า "เอหม่อง"​

    เมื่อเอหม่องมีอายุได้ ๙ ขวบ ได้เป็นเด็กวัดอยู่กับพระ อาจารย์วัดโมกกะเนียง เนื่องจากเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดีศึกษา เล่าเรียนแตกฉานทั้งภาษามอญและพม่า เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้ออกจากวัดมาช่วยงานทางบ้าน กระทั่งอายุ ๑๘ ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดา ให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร​

    หลวงพ่ออุตตมะบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช ๑๒๙๑ (พ.ศ. ๒๔๗๒) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเอง หลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นานหลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมา เพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา​

    จนกระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดาได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา หลวงพ่อ อุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมี พระเกตุมาลาวัดเกลาสะเป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัด โมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับฉายาว่า "อุตตมรัมโภ" แปลว่า "ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด" โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึก จนตลอดชีวิต​

    ด้วยความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงพ่ออุตตมะสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัด มะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร​

    ต่อมาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐาน ตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคมเป็นอย่างดี ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์​

    หลวงพ่ออุตตมะออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒​

    และใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ อันเป็นพรรษาที่ ๑๖ ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความ เสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และบ้านเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า​

    นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่ากับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปร ตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน​

    ด้วยความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกันระหว่างชาติพันธ์ หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจจากบ้านเกิดมุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไป พากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า "การไปของเราจะเป็น ปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น"​

    [​IMG]


    หลวงพ่อเดินทางเข้าเมืองไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓ ทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก ชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยเชื้อสายมอญพระประแดง ๒ คน ซึ่งมีที่มาทำเหมืองแร่ที่บ้านอีต่อง ทั้งคู่ได้จัดบ้านพักหลังหนึ่งให้เป็นกุฏิชั่วคราวของหลวงพ่อ มีชาวเหมืองจำนวนมากมาทำบุญกับหลวงพ่อ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีวัดและพระสงฆ์เลย​

    เดิมทีนั้นคนไทยเชื้อสายมอญพระประแดงทั้งสอง ต้องการสร้างกุฏิถวายหลวงพ่ออุตตมะให้จำพรรษาอยู่ที่บ้าน อีต่อง แต่หลวงพ่อไม่รับ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นพระเถื่อนเข้าเมืองไทย ท่านจึงต้องการไปขออนุญาตจากพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเขตปิล็อกเสียก่อน ทั้งสองจึงพาหลวงพ่ออุตตมะมาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีกับหลวงพ่อไตแนม ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง และอุปสมบทที่วัดเกลาสะเช่นเเดียวกับหลวงพ่ออุตตมะ​

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขณะจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่ออุตตมะมีโอกาสไป สักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ทำให้หลวงพ่อได้พบชาวไทยเชื้อสายมอญที่มาจากเมืองต่าง ๆ เช่น แม่กลอง สมุทรสาคร มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อ ไปจำพรรษาที่วัดบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร​

    หลังจากเดินทางกลับจากวัดบางปลา มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน หลวงพ่อไตแนมขอให้หลวงพ่ออุตตมะไปจำพรรษา ที่วัดปรังกาสีซึ่งเป็นวัดร้าง บริเวณวัดปรังกาสีมีชาวกะเหรี่ยง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และบริเวณนั้นไม่มีพระหรือวัดอื่นเลย หลวงพ่อร่วมกับกำนันชาวกะเหรี่ยงนิมนต์พระกะเหรี่ยงจากตลอดแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยได้ ๔๒ รูป มาอยู่ปริวาสที่วัดปรังกาสี ๙ วัน ๙ คืน หลังจากนั้นก็สร้างกุฏิและเจดีย์ขึ้น หลวงพ่ออุตตมะนิมนต์พระกะเหรี่ยงมาจำพรรษาที่วัด ๓ รูป ท่านสอนภาษามอญแก่พระทั้ง ๓ รูปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนธรรมะต่อไป​

    หลวงพ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่วัดปรังกาสีหนึ่งพรรษา ต่อมาผู้ใหญ่ทุม จากท่าขนุนมานิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยมหลวงปู่แสงทีวัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดโมกกะเนียง วัดเกลาสะ เมืองมะละแหม่งมาก่อน และในพรรษานั้น หลวงพ่ออุตตมะได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ ตามคำนิมนต์ของหลวงปู่แสง​

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขณะที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ มีคนมาแจ้งข่าวแก่หลวงพ่อว่า ที่กิ่งอำเภอสังขละบุรีมีชาว มอญจากบ้านเดิมของหลวงพ่ออพยพเข้าเมืองไทยทางบีคลี่เป็นจำนวนมาก และต้องการนิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยม เมื่อหลวงพ่ออุตตมะออกจากจำพรรษา แล้วเดินทางกลับไปยังอำเภอทองผาภูมิ และไปยังอำเภอสังขละบุรี และพบกับคนมอญทั้งหมดที่มาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง บ้านเกิดของท่านหลวงพ่อจึงพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง นับเป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี​


    [​IMG]

    ขอบคุณข้อมูลจาก..MonStudies.com ˅ǧ?荍ص?? - ǒÊ҃ <?§Ò??>??Ѻ?ը 6 (?.®-?.?. 49)
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    เมืองบาดาล ในอดีตเป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะ และชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยง และมอญได้ร่วมก้นสร้างขึ้น เมื่อปี 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ

    [​IMG]

    ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้างเขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำเข้าท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ด้วย จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานานนับสิบปี ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งน้ำลดจะสามารถสังเกตเห็นตัวโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจน และสามารถนั่งเรือไปเที่ยวชมได้ แต่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมดเหลือเพียงยอดของโบสถ์ให้เห็นเท่านั้น กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ ในชื่อเมืองบาดาล


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ด่านเจดีย์สามองค์ เขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 โดยก่อนถึงตัวอำเภอสังขละบุรี 4 กิโลเมตร จะมีทางแยกด้านขวาไปด่านเจดีย์สามองค์ เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางลาดยางตลอดสาย พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่า

    [​IMG]

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ด่านเจดีย์สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำคัญของไทย และพม่าในอดีต บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า นักท่องเที่ยวสามารถข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซู ซึ่งเป็นตลาดชายแดนที่มีการจำหน่ายสินค้าของพม่า โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าผ่านด่าน (ฝั่งประเทศพม่า) ชาวไทย 25 บาท ชาวต่างประเทศ 10 เหรียญสหรัฐ รถยนต์ คันละ 50 บาท ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ด่านตรวจคนเข้ามืองสังขละบุรี โทร. 0 3459 0105, 0 3459 5335

    [​IMG]
    สุดแดนตะวันตกของขวานทอง ที่ด่านเจดีย์สามองค์แห่งนี้ กลายเป็นแหล่งการค้าชายแดนไทย-พม่าที่สำคัญแห่งหนึ่ง

    [​IMG]
    รอบๆ องค์เจดีย์มีร้านค้าหลายสิบร้าน

    [​IMG]
    เครื่องประดับ พลอยจากพม่า บางคนบอกว่า ตาดีได้ตาร้ายเสีย ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ

    [​IMG]
    ด้านในมีร้านขายกล้วยไม้อยู่หลายร้าน

    [​IMG]
    ต้นยาวๆ นี่เป็น หวายแดง อยู่ในสกุลรีแนนเธอรา พวงละ 80 บาท

    [​IMG]
    เอื้องเทียนสามดอก กอละ 30 บาท

    http://janjow.exteen.com/20090722/entry
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    น้ำตกเกริงกระเวีย ขึ้นอยู่กับเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 323 (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี) กิโลเมตรที่ 32–33 ใกล้กับน้ำตกไดช่องถ่อง ห่างจากอำเภอกาญจนบุรีประมาณ 173 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก จะมองเห็นสายน้ำแผ่กระจายไหลมาจากหลายทิศทาง เหมาะสำหรับเป็นจุดพักผ่อนระหว่างการเดินทางไปอำเภอสังขละบุรี สามารถนั่งรถโดยสารสายกาญจนบุรี-สังขละบุรี จากตัวเมืองมาได้ ค่าโดยสาร 90 บาท ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สวนป่าเกริงกระเวีย อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 323 ในเส้นทางกาญจนบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นสวนป่าสักทองผืนใหญ่ขนาดนับหมื่นไร่ ล้อมรอบด้วยป่าธรรมชาติ ที่ยังสมบรูณ์เหมาะจะเป็นสถานที่พักผ่อนสัมผัสธรรมชาติแห่งขุนเขา และแมกไม้ชอุ่มงามในบรรยากาศเงียบสงบ หากต้องการความสนุกสนานเพลิดเพลินก็สามารถไปล่องแพ เล่นน้ำตก หรือเล่นแคมป์ไฟในยามค่ำคืนได้
    สวนป่าเกริงกระเวีย ยังเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางเดินชมสัตว์ป่าที่น่าสนใจและหายาก ไม่ว่าจะเป็นเก้ง กบภูเขาและหมาน้ำ นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และแหล่งวัฒนธรรมท้องถิ่นหลาก
    หลายให้แวะชม มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวน 6 หลัง กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าพักได้ที่ อุตสาหกรรมป่าไม้เขตบ้านโป่ง โทร. 0 3220 1565 - 6 หรือสำนักงานส่งเสริมธุรกิจ และบริการ โทร. 0 2282 3243 - 7 ต่อ 142, 143 หรือดูเว็บไซต์ www.fio.co.th/ecotour/graenggravia.php

    ข้อมูลท่องเที่ยวจาก : http://www.kanchanaburi.com/tr-sungkha.shtml
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2009
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    น้ำตกไดช่องถ่อง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เลยจากน้ำตกเกริงกระเวียไปตามเส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี 2 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปน้ำตกอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเข้าตัวน้ำตกไม่ดีนัก เดินทางลำบากโดยเฉพาะในฤดูฝน

    [​IMG]

    ขึ้นอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ก่อนถึงอำเภอสังขละบุรี ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 323 (ทองผาภูมิ-สังขละบุรี) กิโลเมตรที่ 32–33 ก่อนถึงน้ำตกเกริงกระเวียเล็กน้อยจะมีป้ายทางซ้ายมือเข้าไปประมาณ 500 เมตร จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 500 เมตร และต้องเดินเท้าไปอีก 600 เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางไหลลงสู่ทะเลสาบเขื่อนแม่กลอง สภาพป่าสมบูรณ์ร่มรื่นสวยงามมากในช่วงฤดูฝน

    บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงสายทองผาภูมิ-สังขละบุรี มีสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม แต่นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์มาเอง

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    น้ำตกกระเต็งเจ็ง เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม เป็นน้ำตกที่มีความสูงถึง 36 ชั้น นักท่องเที่ยวจะต้องปีนป่ายผ่านสายน้ำขึ้นไปตามชั้นต่างๆ จนถึงชั้นบนสุด

    เมื่อขึ้นไปถึงแล้วนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางกลับได้ โดยไม่ใช้ทางเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเส้นทางเดินป่า ที่ยังคงสภาพป่าดิบอันสมบูรณ์ ระหว่างทางจะผ่านดงเฟิร์นที่กว้างใหญ่ตระการตา ผ่านป่าระกำไฟ ลิ้นจี่ป่า มะไฟป่า และต้นไม้ยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ถึง 13 คนโอบ ตลอดทางเดินจะได้ยินเสียงน้ำตกกระทบโขดหินดังก้องอยู่ในป่าตลอดเวลา จัดเป็นเส้นทางการเดินป่าที่สวยงาม และน่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    การเดินทางไปน้ำตกกระเต็งเจ็ง ใช้เส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี จนถึงอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณขวามือของถนน ก่อนถึงอำเภอสังขละบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร นำรถจอดที่อุทยานฯ แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็จะถึงตัวน้ำตก การเดินทางควรติดต่อหาผู้นำทางที่เชี่ยวชาญ โดยอาจผ่านทางบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี หรือในเขตอำเภอสังขละบุรี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพป่ามีลักษณะเป็นป่าดงดิบ อาจทำให้เกิดพลัดหลงได้ และควรสวมเสื้อผ้าในชุดเดินป่าที่รัดกุม เนื่องจากมีทากชุกชุมตลอดเส้นทางทุกฤดูกาล

    [​IMG]

    [​IMG]


    ถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล อยู่ห่างจากด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับพม่า ประมาณ 1 กิโลเมตร อาณาเขตของถ้ำแก้วสวรรค์บันดาลกินบริเวณกว้าง เนื่องจากเป็นถ้ำที่อยู่ในภูเขาทั้งลูก ภายในยังแบ่งเรียกเป็นถ้ำต่างๆ อีก 4 ถ้ำ คือ ถ้ำวังบาดาล ถ้ำมรกต ถ้ำแก้ว และถ้ำสวรรค์บันดาล แต่ละถ้ำมีความสลับซับซ้อน สามารถเดินเชื่อมทะลุถึงกันได้หมดทุกถ้ำ ภายในมีหินย้อยรูปทรงต่างๆ งดงามมาก เมื่อกระทบกับแสงไฟจะสะท้อนแสงแวววาวคล้ายถูกโรยไว้ด้วยกากเพชร การเข้าไปเที่ยวชมนักท่องเที่ยวควรแต่งกายด้วยชุดที่รัดกุม เลือกสวมรองเท้าที่เหมาะสมและต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะบางถ้ำมีโขดหินที่สูงชัน บางถ้ำต้องใช้วิธีการคลานและมุดไปตามซอกของช่องหิน และบางถ้ำที่มีระดับน้ำสูงประมาณหัวเข่า หากต้องการจะเที่ยวชมให้ครบหมดทุกถ้ำ จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    การเดินทาง ใช้เส้นทางอำเภอสังขละบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์ กิโลเมตรที่ 16 เลี้ยวขวาบริเวณศาลาพักร้อนริมทาง จากนั้นขับรถไปตามถนนดินอีกประมาณ 800 เมตร เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางอีก 200 เมตร จะถึงบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลของถ้ำได้จากพระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ ณ บริเวณสำนักปฏิบัติธรรมนั้น

    เอื้อเฟื้อภาพจากhttp://palungjit.org/threads/รวมบัน...ันทึกทริป-๕-เกาะพระฤาษีหน้า-๘๔.165029/page-16
     
  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีพื้นที่อยู่ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ยอดเขาสูงสุด คือ เขาใหญ่ อยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ เป็นต้นน้ำของลำธารหลายสาย มีป่าไม้หลายชนิดประกอบด้วยทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    การเดินทาง ยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากสภาพถนนบางช่วงไม่ดี จากเส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี บริเวณแยกห้วยเสือ ไปยังบ้านคลีตี้ ระยะทาง 42 กิโลเมตร ต่อจากนั้นมีทางแยกไปที่ทำการเขตฯ ที่ห้วยซ่งไท้อีก 40 กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติ ผู้ที่จะไปทุ่งใหญ่นเรศวรต้องทำหนังสือขออนุญาตล่วงหน้า 15 วัน เรียนผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุพืช บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2561 4292-3 ต่อ 765

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     
  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    สะพานมอญ อยู่ในตัวอำเภอสังขละบุรี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง 850 เมตร สร้างข้ามลำน้ำซองกาเลียสำหรับให้ประชาชนฝั่งตัวอำเภอสังขละบุรี และฝั่งหมู่บ้านชาวมอญเดินข้ามสัญจรไปมา บริเวณสะพานแห่งนี้เป็นจุดชมวิวทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ์ที่สวยงามสามารถมองเห็นลำห้วยสายต่างๆ คือ ซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี ที่ไหลมารวมกันเป็นสามประสบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ขอบคุณภาพจาก : google​
     
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
  13. jiraphat_ji

    jiraphat_ji เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +204
    อนุโมทนาสาธุ และขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ
     
  14. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    สังขละบุรี....ไปมาไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งแล้วค่ะ...เดินทางก็สะดวกจากขนส่งหมอชิต ยิงตรงถึงด่านเจดีย์สามองค์เลย ซึ่งแต่ก่อนการเดินทางโดยรถโดยสารลำบากมาก ต้องไปลงรถที่ตัว อ.เมือง แล้วต่อรถตู้ไป อ.สังขละบุรีอีก แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้ว...
    เปนการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่บรรยากาศเลิศ มั่ก ๆ....ไปเองแบบ back packer มันส์พะยะค่ะ..
     
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ขอบคุณจ่ะ คุณเจง
    น่าไปมากๆ อยากไปจัง....
     
  16. ลุงชิด

    ลุงชิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +218
    ไปมาบ่อยมากครับถ้าจะเที่ยวให้ครบต้องนอนค้างที่สังขละสัก 1 ถึง 2 คืน ราคาก็ไม่แพงครับ.
     
  17. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ไม่ได้ไปนานมากแล้วล่ะ ช่วงนี้เก็บตังค์ก่อน แหะๆๆๆ
     
  18. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    เที่ยวในบ้านเราเอง คงเก็บตังค์ไม่นานหรอก..ช่ายป่าว??..
    อย่าเก็บจน เที่ยวได้ทั่ว 76 จังหวัดนะ..เค้ารอไม่ไหว..อิ..อิ..:'(

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=18083[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2009
  19. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    แหะๆๆๆ เค้าเก็บไม่เต็มกระปุกออมสินซะที เก็บ 100 เอาออกมาใช้ 80 แบบนี้อ่ะ
     
  20. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    งั้น!!..เค้าแนะนำให้หากระปุกออมสินแบบเคลื่อนที่ได้นะ
    ต่อไปเวลาแคะจะได้ไม่ต้องแคะจากกระปุกออมสินแบบเคลื่อนที่ไม่ได้อ่ะ..:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...