ทำยังไงถึงจะหายนอนกรน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 กรกฎาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    การรักษาอาการนอนกรน


    การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด (non-surgical treatment)


    1. ลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเพิ่มความกระชับตึงตัวให้กล้ามเนื้อของทางเดินหายใจส่วนบน
    2. หลีกเลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาต้านฮีสตามีน (antihistamine) หรือยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง โดยเฉพาะก่อนนอน
    3. การปรับเปลี่ยนท่าทางในการนอน เช่น ไม่ควรนอนในท่านอนหงาย เนื่องจากจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าการนอนในท่าตะแคง นอนศีรษะสูงเล็กน้อย ประมาณ 30 องศาจากแนวพื้นราบ
    4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสัมผัสควันบุหรี่
    5. การใช้เครื่องมือที่เป่าลมเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะนอนหลับ (Continuous Positive Airway Pressure)
    การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด (surgical treatment) ผู้ใหญ่ที่มีอาการนอนกรน มากกว่าร้อยละ 90 มีการอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณคอหอยส่วนปาก เช่น ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ โคนลิ้น และมากกว่าร้อยละ 80 มักมีการอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณคอหอยส่วนกล่องเสียง การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด สามารถเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น และแก้ไขลักษณะทางกายวิภาคที่ผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่การอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ จะใช้วิธีนี้เมื่อ
    1. มีความผิดปกติทางกายวิภาค (anatomical abnormalities) ที่เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
    2. มีผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัวและสังคมมาก เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงมาก เสียงกรนรบกวนคู่นอนมาก ทำให้นอนไม่หลับ
    3. ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยยังมีอาการกรนอยู่ หรือมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
    ส่วนจะเลือกการผ่าตัดประเภทใด ทำมากหรือน้อย ขึ้นกับลักษณะทางกายวิภาคของผู้ป่วยแต่ละราย ตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจ โรคประจำตัว ความรุนแรงของอาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความชอบหรือความต้องการของผู้ป่วยด้วย อย่างไรก็ตามอาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักจะเกิดจากการอุดกั้นในทางเดินหายใจหลายตำแหน่ง ดังนั้นการทำผ่าตัดแก้ไขเพียงจุดใดจุดหนึ่งอาจไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นมากนัก




    ข้อมูลจาก : http://www.blogth.com/blog/Colum/Helth/5066.html


    [​IMG]
    นอนกรน
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    กลุ้มใจอยู่เหมือนกันครับ ที่บ้านมี 4 คน
    ทุกคนมีดีกรี เป็นแชปม์นอนกรนทุกคน
    ปัจจุบันนอนรวมห้องเดียวกัน เพราะจะ
    ได้ประหยัดไฟ ต้องแย่งกันหลับก่อน ฮ่าฮ่า

    ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัย โปรดนำส่งบุญทั้งหมด
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวร
    ทั้งหลายของข้าพเจ้า ทั้งที่จำได้และจำไม่ได้ ทั้งที่
    เป็นญาติและมิใช่ญาติ ทุกภพทุกชาติ ด้วยเถิด สาธุ
     
  4. อุดรเทวะ

    อุดรเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,925
    ค่าพลัง:
    +130
    ผมก็มีบ้างในบางครั้งที่อ่อนเพลียจากการทำงานแต่ไม่ดังมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...