ถามเป้าหมายของการนั่งสมาธิ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หัดนั่ง, 4 มิถุนายน 2013.

  1. หัดนั่ง

    หัดนั่ง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +22
    รบกวนสอบถามครับ การทำสมาธิคือการไปรับรู้สภาวะของจิตให้เร็วขึ้นถูกไหมครับที่ผมเข้าใจ หรือว่า เป็นการทำบังคับจิตให้สงบครับ

    *** จิตเราไม่สามารถบังคับได้ใช่ไหมครับ แล้วพระอรหันต์บังคับจิตได้ไหมครับ
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    จิตเรา ไม่สามารถบังคับได้ใช่ไหม ?

    อันนี้ ต้องแยบคายในการพิจารณา แบ่ง สิ่งที่กระทบออกเป็นสองอย่างก่อน
    คือ ปรมัตถสัจจะ กับ สมมติสัจจะ

    จิตเรา เวลากระทบสิ่งที่เป็น ปรมัตถสัจจ เราจะเห็นได้ตามคำบ่งชี้ว่า บังคับไม่ได้

    แต่ถ้า เราเน้นความปลิ้นปล้อน ตลบแตลง มารยาสาไถย มายาคติ เน้นการคิด ถกเถียง
    อันนี้ก็หยิบ สมมติสัจจะขึ้นมากล่าว พอกล่าวเรื่องจิตกระทบ สมมติสัจจะ เราจะอ้างได้
    เต็มที่ว่า บังคับจิตได้

    **********

    เป้าหมายการทำสมาธิ คุณกล่าวว่า

    อันนี้ใกล้เคียง ในขั้น ยอดเยี่ยมมาก

    เพราะ ปรกติคนทั่วๆไป พอกล่าว เป้าหมาย สมาธิ เขาจะตอบแค่ ความสงบ

    ซึ่ง หากตอบแค่ความ สงบ เราก็จะกล่าวว่า คนๆนั้นไม่ได้กล่าวถึง " สมาธิธรรม "

    เพราะถ้าเป็น สมาธิธรรม เป้าหมายคือ การรู้

    จบลงตรงที่คำว่า " รู้ "

    ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดปลายเปิดว่า รู้อะไร คุณจะถามว่า รู้อะไร

    เราก็จะตอบว่า รู้ ที่ อาการรู้

    คุณก็อาจจะถามอีกว่า แล้ว จะไปรู้อาการ "รู้" ทำไม

    อันนี้คุณกลับไปทบทวนเรื่อง การที่จิตกระทบปรมัตถสัจจะ คุณบังคับ
    มันได้หรือไม่ได้ ถ้า คุณยังเห็นว่า บังคับจิตให้เลือกกระทบปรมัตถสัจจะ ได้
    คุณก็จะไม่เข้าใจ เป้าหมาย หรือ ธรรม

    แต่ถ้า เอาหละ ในระดับปรมัตถเนี่ยะ เราห้ามจิตกระทบผัสสะชนิดปรมัตถ์ไม่ได้เลย
    เป็นไปไม่ได้ ที่จะไปห้ามจิตไม่ให้กระทบรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ( เป็นต้น)

    มันก้จะมาตอบโจทย์ว่า ทำไมเราต้องฝึกเข้ามาเห็น อาการ " รู้ "

    แล้วทีนี้ เราจะขยายคำว่า อาการรู้นี้ การ " รู้ทุกขสัจจ " ขึ้นมา

    คราวนี้คุณก็จะรู้ว่า " การรู้เร็ว " หรือ " รู้ช้า " เราจะหมายถึง
    การเข้ามา รู้ทุขสัจจได้เร็ว หรือ ช้า

    ซึ่งนั่นก็คือ

    เป้าหมายของการทำสมาธิ คือ การเข้ามารู้อริยสัจจ ได้ช้า หรือ เร็ว

    บางคนเร็ว บางคนช้า ช้า เร็ว จึงไม่ใช่ ข้อเปรียบเทียบ

    จะรู้อริยสัจจะ ช้า หรือ เร็ว ก็ ถือว่าเข้ามา "รู้ธรรม" เป็นหนึ่งเดียวกัน

    ********

    ที่กล่าว ชม ไปว่า ยอดเยี่ยม

    เพราะ การตรึก หรือ คำถาม ของคุณนั้น คล้ายประวัติของ
    พระพุทธองค์ ตอนที่ ไปเรียน สมาธิกับ อลากดาบษ กับ อุทกดาบษ
    จนสามารถทำ ฌาณ8 ได้ ก็มานั่งตรึกโดยลำพังว่า

    เป้าหมายของสมาธิ คืออะไร

    คือ ความสงบแค่นี้หรือ หรือ เพื่อการ " รู้ " อะไรสักอย่างหนึ่งช้า หรือ เร็ว

    [ จะเห็นว่า ควรเขียนแต่คำว่า " รู้ " แล้วปล่อยปลายเปิด เพราะ การ
    เข้าไปรู้อริยสัจจ นั้น จะโพล่งขึ้นมาว่า รู้ ไม่ได้ง่ายๆ ....หนทางนั้นมี
    พระพุทธองค์ทรงจำแนก แจกแจง ไว้หมดแล้ว ]

    *************

    ยามใดเมื่อคุณ รู้อริยสัจจ เวลากล่าวเรื่อง จิตเข้ากระทบปรมัตถ์ คุณ
    จะมีความสามารถประกาศความรู้ถึง " ธรรมชาติ ที่ดิน น้ำ ลม ไฟ หยั่งลงไม่ได้ " เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2013
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    การทำสมาธิ คือการแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว
    ในที่นี้เบื้องต้นคือให้อยู่ในอารมณ์กรรมฐาน เช่น อานาปานสติ รู้ลมหายใจเข้าออก
    หรือ พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    โดยส่วนใหญ่จะมีแบบแผนในกรรมฐาน ๔๐ อันเป็นอารมณ์ที่เนื่องด้วยวิปัสสนาต่อโดยง่าย

    แน่นอนว่าเป้าหมายของสมาธิคือความสงบ แต่ความสงบในที่นี้คือสงบจากนิวรณ์ ๕
    อันเป็นกิเลสหยาบที่ทำให้ปัญญาถดถอย
    หรือเรียกง่ายๆว่า ถ้ามีนิวรณ์ ๕ ปัญญาก็ไม่มี
    จากนั้นก็จะสงบเรื่อยไปจนถึงที่สุดคือ มีอุเบกขารมณ์

    การเจริญสมาธิทำให้รู้สภาวจิตเร็วขึ้นมั้ย
    ถ้าจิตของคุณจับอยู่ที่อารมณ์สมาธิ เช่น ลมหายใจตลอดเวลา(มันทำได้ถ้าตั้งใจนะ)
    ไม่ว่าจิตของคุณจะวอกไปที่ไหน มันก็รู้ได้ มันคิดคุณก็รู้ มันมีอาการใดๆคุณก็รู้
    กรรมฐานกองอื่นก็เช่นเดียวกันครับ

    จิตสามารถบังคับได้มั้ย คงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า จิตที่คุณหมายถึงคืออะไร
    แต่เบื้องต้นอย่าไปลงลึกอภิธรรมมาก จะปวดหัวเปล่าๆ
    ให้สนใจจิตของเราว่า มันไปเกาะที่อกุศล หรือกุศล หรืออัพยากฤต
    มันมีกิเลสอะไรบ้าง โลภ โกรธ หลง สังโยชน์ หรือนิวรณ์ ๕ เบื้องต้นเอาเท่านี้
    ถ้ามันโกรธ แล้วเราสามารถทำอุบาย เช่น เจริญกรรมฐาน คลายอารมณ์ได้
    อย่างนี้คุณเรียกว่าบังคับมั้ยละ
    หรืออย่างบุคคลที่คล่องในฌาน เขาได้ฌาน ๑ แล้วก็สามารถลัดไปฌาน ๔ เลย
    อย่างนี้เรียกว่าบังคับได้มั้ยละ

    พระอรหันต์บังคับจิตได้มั้ย
    พระอรหันต์มีจิตที่ไม่เกาะในขันธ์ ๕ จึงไม่มีทุกข์...
    ปุถุชนคนธรรมดาทำไม่ได้(ตลอดเวลา) อย่างนี้เรียกว่าบังคับมั้ยละ
     
  4. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    ตอบแบบชาวพุทธนะครับ

    มรรคมีองค์แปด
    1 ใน 8 คือ สัมมาสมาธิ

    ตัวนี้แหละครับคือเป้าหมาย
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    หวังจะขึ้นเรือพาไปให้ถึงฝั่ง ก็ต้องแน่ใจก่อนว่าขึ้นเรือถูกลำ

    สัมมาสมาธิ เป็นเช่นไร
     
  6. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    สัมมาสมาธิ คือ ปฐมฌานขึ้นไป
    ใช้ google เสิร์ชเอาได้
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ถ้า google มันรู้ทุกอย่างขนาดนั้น ก็ไม่ต้องเข้าวัดหาพระ ไม่ต้องบวช ขอนิสัยจากพระ หรอกนะ อยากไปนิพพาน ก็ถามทางจาก google เอาแล้วกัน

    google นี่เป็นของที่เพิ่งสร้างใหม่มากๆ แล้วก็รวบรวมข้อมูลที่เป็นสมมติทั้งหลาย ของมนุษย์เอาไว้รวมกัน

    คิดจะหาแก่นพุทธศาสนา จากของสิ่งนี้จริงๆ หรือ?
     
  8. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    ท่านก็เลือกเสิร์ชที่ลิงค์เข้าพระไตรปิฏกออนไลน์สิครับ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=528&Z=628

    [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ
    เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
    เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออกฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐข้อที่ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่
    เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล
    แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง
    ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
    นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญาเปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอนฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
    เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่โดยแน่นอน เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนที่รอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลัง พึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบๆ น้ำก็พึงกระฉอกออกมาได้หรือ ฯ
    --------------

    google มันไม่รู้เรื่องศาสนาหรอกครับ แต่เราใช้มันหาข้อมูลที่เราต้องการได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2013
  9. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    แถมให้

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=174&Z=210

    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    แล้วที่ยกมาหนะ เข้าใจความหมายของคำแต่ละคำหรือเปล่า? :)
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สัมมาสมาธิ คือ ฌาน ๔ แน่นอนครับ พระพุทธเจ้าทรงตรัษไว้ชัด....
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    การทำสมาธิมีจุดประสงค์หลักเพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อสงบพักผ่อนเป็นอันดับแรก และต่อมาเป็นกำลังในการพิจารณาใช้ปัญญา....

    ปฏิบัติไปเถอะครับ แค่ถ้าคุณทำได้ในอารมณ์ปกติฟุ้งซ่านอยู่ตลอดไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามา จนก่อให้เกิดขยะในใจมากขึ้น คุณก็ไปจัดระเบียบมัน ถ้าคุณสงบได้บ้างคุณก็จะรู้ชัดว่าอะไรคือสมาธิ โดยที่ไม่ต้องสงสัย.....
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า คุณมีความพยายามที่จะเข้าใจในคำเหล่านั้นหรือเปล่า ?
     
  14. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส มีสัมมาสมาธิ หรือไม่?

    ทำไมพระพุทธองค์ ถึงอุทานว่า "ดาบสทั้งสอง ฉิบหายเสียแล้ว" ?
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ทราบมาว่าท่านทั้งสองตอนตายทรงอยู่ในอรูปฌานนะ....จึงไปเกิดเป็นอรูปพรหม....และท่านฝึกกรรมฐานแบบไม่มีการเจริญปัญญาด้วยนะ (คือท่านไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำว่าการเจริญปัญญาทำอย่างไร เพราะสมัยนั้นไม่มีพระพุทธเจ้า)....เลยไปอย่างนั้น.....

    แต่มันเป็นคนละเรื่องเดียวกันกับที่เรากล่าวถึง ในเรื่องของ สัมมาสมาธิ ในพระพุทธศาสนา นะครับ.... เพราะพระพุทธเจ้าท่านกล่าวชัด สัมมาสมาธิ อย่างไรก็คือ ฌาน ๔ เป็นอื่นไม่ได้...... อีกอย่างที่เราฝึกกันทุกวันนี้ มีสัมมาทิฏฐิเป็นปฐม เป็นกรรมฐานในตำราทางพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายไม่ได้ไปเรียนจากตำราพราหมณ์...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ดังนั้นก็แปลว่า ปฐมฌานขึ้นไป เพียงลำพังอย่างเดียว ไม่สามารถพาไปถึงพระนิพพานได้ ถูกต้องไหม?

    แล้วถ้ายังงั้น เราจะขึ้นเรือ ลำที่มีป้ายเขียนว่า "สัมมาสมาธิ" เพียงอย่างเดียว ได้หรือ?
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สัมมาสมาธิ เกิดไม่ได้หลอกครับถ้าไม่มีเหตุเกิด... เหตุเกิดของสัมมาสมาธิ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นปฐมครับ....
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ช่วงเป็นผลแล้วต้องนั่งหรือเปล่าครับ...จากเด็กดอย.......
     
  19. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    แล้วสมัยก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ ใครสอนสัมมาสมาธิ ให้ อาฬารดาบส หรือ อุทกดาบส หละ?

    หรือว่า สมาธิของอาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

    แต่ สมาธิของอาฬารดาบส กับ อุทกดาบส เป็นปฐมฌานขึ้นไป แน่นอนนะ
     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สัมมาสมาธิ มีสัมมาทิฏฐิเป็นปฐมแห่งการเกิดครับ....ผมย้ำคำนี้นะ.....ผมไม่ได้ย้ำลำดับ ผมย้ำเหตุเกิด.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...