จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nouk, 1 ตุลาคม 2011.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม (จิตอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือจิตเห็นกายหรือจิต หรือจิตเห็นรูปหรือนาม)หมายถึง การมีสติระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง รวมทั้งการพิจารณาให้เห็นความจริงใน กาย เวทนา จิต หรือธรรม อันเป็นหลักปฏิบัติใน สติปัฏฐาน หรือในแนวทางปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง แต่ที่กล่าวในครานี้ เป็นการกล่าวเน้นถึง การนำสิ่งที่ปฏิบัติในพระกรรมฐานหรือการวิปัสสนา มาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจักให้ผลยิ่ง

    กล่าวคือ นำความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสติจากการฝึกปฏิบัติในพระกรรมฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือเป็นการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลขึ้น คือเพื่อการดับเหล่าอุปาทานทุกข์ลงไปจริงๆ พร้อมทั้งการสั่งสมอย่างถูกต้อง อย่างเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง จนจิตเห็นในกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างเป็นมหาสติ<O:p></O:p>
    เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ นั้น การปฏิบัติอาจเป็นไปตามลำดับขั้นตอน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อเป็นการสั่งสมเป็นลำดับขั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เพื่อกันความสับสน บางท่านอาจเน้นปฏิบัติตามจริตหรือสติแห่งตน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเมื่อปฏิบัติในพระกรรมฐานแล้ว เมื่อออกจากพระกรรมฐานต้องนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย จึงจักบังเกิดผลดี<O:p></O:p>
    ปัญหาที่มักสงสัย คือปฏิบัติอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ต้องเห็นเท่าทันในธรรมทั้ง ๔ หรือ? ต้องปฏิบัติหรือเท่าทันอะไรก่อน? อะไรสำคัญกว่ากัน?<O:p></O:p>
    ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้น หมายถึงมีสติซึ่งก็คืออาการหนึ่งของจิต(ข้อที่ ๒๙ในเจตสิก ๕๒)ชนิดจิตตสังขารจึงต้องประกอบด้วยการเจตนากระทำขึ้นนั่นเองที่ระลึกรู้เท่าทัน ที่ประกอบด้วย ปัญญาอยู่ในทีที่หมายถึงรำลึกรู้เข้าใจตามความจริงในธรรมทั้ง ๔ ใดก็ได้ที่สติระลึกรู้เท่าทันขึ้นนั้นๆ จึงขึ้นอยู่กับจริต, สติ, ปัญญา, การปฏิบัติหรือการสั่งสมฯ. ดังเช่น สติย่อมอาจเห็นเวทนาได้แจ่มแจ้งรวดเร็วในสิ่งที่เป็นอดีตหรือสัญญาความจำได้ที่เคยเกิดเคยเป็นอย่างแนบแน่นเช่นในคนที่เกลียด เมื่อเกิดการกระทบคือผัสสะ สติย่อมแลเห็นทุกขเวทนามีอามิสอย่างชัดเจนรวดเร็วกว่าเห็นจิตสังขาร, กล่าวคือมีสติในธรรมทั้ง ๔ธรรมใดธรรมหนึ่งก็ได้ ที่บังเกิดขึ้นแก่จิตจากการผัสสะกับอารมณ์ต่างๆในการดำเนินชีวิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ซึ่งสติที่ระลึกรู้เท่าทันนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละบุคคลตามสติ จริต ปัญญา และการปฏิบัติคือแนวทางที่ตนสั่งสมนั่นเอง ฯ. แต่ล้วนแล้วมีคุณประโยชน์ทั้งสิ้น

    ขณะสติระลึกรู้เท่าทันในการปฏิบัติ มีหลายรูปแบบ ปฏิบัติแรกๆย่อมไม่สามารถระลึกรู้เท่าทันในขณะเกิดได้เสมอไปเป็นธรรมดาเนื่องจากย่อมขาดปัญญาและการสั่งสมของสติ ดังนั้นจึงอาจมีสติระลึกรู้เท่าทันเมื่อเกิดขึ้นบ้าง หรือสติรู้เท่าทันเมื่อมีอาการแปรปรวนหรือปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านไปแล้วบ้าง หรือสติรู้ระลึกเมื่อดับไปแล้วบ้าง ดังเช่นในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แต่ก็ล้วนยังให้เกิดประโยชน์เช่นกัน กล่าวคือเป็นทั้งการฝึกสติ และปัญญาถ้ารู้ถึงเหตุปัจจัย เช่นเกิดแต่การผัสสะของธรรมารมณ์หรือหูหรือตาจึงยังให้เกิดขึ้นเป็นต้น จึงก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ(ปัญญา)ขึ้นจากการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตโดยตรง บางครั้งจะเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งหรือเห็นชัดในขณะที่เกิดการผัสสะกับอารมณ์ในขณะนั้นๆเลย กล่าวคือ เกิดธรรมสามัคคีมีความเข้าใจหรือแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆหรืออาจเป็นมรรคสมังคีขึ้ึ้นมาทันที ดังเช่น เมื่อเกิดการผัสสะใดๆอาจเกิดภูมิรู้ภูมิญาณขึ้น อ๋อ มันเป็นเช่นนี้เอง อย่างแจ่มแจ้งขึ้นมาก็ได้ ซึ่งก็เกิดจากการสั่งสมเดิมนั่นเอง.<O:p></O:p>

    การมีสติระลึกรู้ไม่ว่าแบบใดก็ตาม มีจุดประสงค์อยู่เพียงเป็นเครื่องรู้เพื่อการดำรงคงชีวิต ตลอดจนเครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เพื่อให้เกิดสติและปัญญา เพื่อยังให้เกิดนิพพิทา เพื่อการปล่อยวาง กล่าวคือเพื่อการไม่ไปยึดมั่นถือมั่น หรืออุเบกขานั่นเอง ตลอดจนเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดีงามยิ่ง จนเป็นมหาสติ จิตย่อมไม่ส่งออกนอกไปปรุงแต่งหรือไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกกาย เวทนา จิต ธรรม ให้เกิดการผัสสะ จนเกิดเวทนา <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 class=inlineimg title="Tongue out" src="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" alt="" border="0" smilieid="24" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" v:shapetype o<>ตัณหา <v:shape style="WIDTH: 12pt; HEIGHT: 12pt; mso-wrap-distance-top: 6.75pt; mso-wrap-distance-bottom: 6.75pt" id=_x0000_i1026 type="#_x0000_t75" alt=""><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\hp\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://nkgen.com/next_arrow.gif"></v:imagedata></v:shape>อุปาทาน <v:shape style="WIDTH: 12pt; HEIGHT: 12pt; mso-wrap-distance-top: 6.75pt; mso-wrap-distance-bottom: 6.75pt" id=_x0000_i1027 type="#_x0000_t75" alt=""><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\hp\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://nkgen.com/next_arrow.gif"></v:imagedata></v:shape>...จนเป็นทุกข์อุปาทานขึ้น<O:p></O:p></v:shapetype>
    <v:shapetype class=inlineimg title="Tongue out" src="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" alt="" border="0" smilieid="24" stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" v:shapetype o<>
    กล่าวคือ ทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันตามปกติ แล้วหมั่นมีสติระลึกรู้ในธรรมทั้ง ๔ กล่าวคือ เมื่อเกิดการกระทบผัสสะกับอารมณ์ใดๆ แล้วมีสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมใดก็ตามที ที่บังเกิดขึ้นแก่ตน เช่น จิตอาจรู้เท่าทันเวทนา หรือจิตอาจรู้เท่าทันจิตสังขาร(จิตฟุ้งซ่าน,จิตคิดปรุงแต่ง,จิตหดหู่,จิตมีราคะ,จิตมีโทสะ ฯ.) หรือจิตอาจรู้เท่าทันธรรมว่าไม่เที่ยง ฯ. หรือเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธาตุ ๔ สักแต่ว่าเวทนา หรือจิต ฯ. แล้วอุเบกขา<O:p></O:p>


    อาการดังตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นอาการของการปฏิบัติธรรมและสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวันที่ดีงามยิ่ง เป็นไปเพื่อมหาสต<O:p></O:p>
    </v:shapetype>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เห็นคนแก่เดินผ่านกระทบตา สติก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม คือ สติระลึกรู้ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรมหรือเท่าทันธรรม หรือสติอยู่ในธรรม นั่นเอง(ธรรมานุปัสสนา)

    เห็นของสวยงามกระทบตา ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรมว่า คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรม หรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา)<O:p></O:p>

    เห็นเพศตรงข้ามสวยงามกระทบตา ก็อาจระลึกรู้เท่าทันกายว่า สักแต่ธาตุ ๔ หรือล้วนปฏิกูล หรือล้วนเน่าเปื่อยเป็นอสุภเหมือนกันล้วนสิ้น นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในกาย หรือมีสติอยู่ในกาย นั่นเอง (กายานุปัสสนา)<O:p></O:p>
    ตากระทบรูปเช่นคนที่เกลียดชัง ก็อาจระลึกรู้เท่าทันทุกขเวทนามีอามิสที่เกิดขึ้น คือ ความไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง (เวทนานุปัสสนา)<O:p></O:p>
    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันสุขเวทนา แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง<O:p></O:p>

    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันแม้เพียงอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา ยิ่งต้องรู้เท่าทัน ไม่ประมาท ระมัดระวังไม่ปรุงแต่งหรืออุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง<O:p></O:p>
    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันจิตสังขาร(เช่นจิตคิด,จิตฟุ้งซ่าน,จิตหดหู่,จิตมีโทสะ)ก็ได้ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในจิต หรือมีสติอยู่ในจิต หรือจิตเห็นจิตสังขาร หรือจิตเห็นจิต นั่นเอง (จิตตานุปัสสนา)<O:p></O:p>
    ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม เช่น ขันธ์ ๕ ว่าเป็นสภาวธรรมของการกระทบกันของขันธ์ ย่อมพึงบังเกิดขึ้นเป็นธรรมดา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้เท่าทันธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา)<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม เช่น ปฏิจจสมุปบาท ว่าย่อมอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์จากตัณหา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้เท่าทันธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา)

    เมื่อมีเวลาว่างจากกิจหรือหน้าที่อันพึงกระทำแล้ว ก็พิจารณาธรรม(ธัมมวิจยะ,โยนิโสมนสิการ) นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน และยังก่อให้เกิดการสั่งสมทางปัญญาอันยิ่งอีกด้วย และเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่งอีกทางหนึ่งโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ จิตย่อมไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ไปแสวงหาอารมณ์ต่างๆให้เกิดการผัสสะให้เกิดทุกข์อีกด้วย<O:p></O:p>

    เมื่ออยู่ในกิจ หรือเมื่อว่างจากกิจหรือหน้าที่ อันพึงกระทำแล้ว ก็เจริญกายานุปัสนาในอิริยาบถและสัมปชัญญะ กล่าวคือ มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถพร้อมทั้งสัมปชัญญะ ย่อมละความดำริพล่านหรือฟุ้งซ่าน ที่หมายถึงมีสติที่ทั้งเนื่องสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆด้วย จึงมิใช่การจดจ่อหรือมีสติกับสิ่งๆเดียวจนขาดสติการรับรู้ในสิ่งอื่นๆด้วย กล่าวคือ ไม่ใช่การมีจิตจดจ่อจนแน่วแน่เป็นสมถสมาธิ นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในกิจที่กระทำหรือเมื่อมีเวลาว่าง ชนิด มีสติระลึกรู้ในกายหรือสติอยู่ในกาย เช่นกัน และยังเป็นการสั่งสมสติให้เป็นมหาสติ รวมทั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่ง คือย่อมมีสติอยู่ในกิจที่กระทำจึงย่อมมีประสิทธิภาพ ส่วนการปฏิบัติเมื่อว่างจากกิจ ก็กลายเป็นการฝึกสติและเป็นเครื่องอยู่ของจิตที่ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกไปผัสสะกับอารมณ์ต่างๆนั่นเอง<O:p></O:p>

    อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นการปฏิบัติธรรมในลักษณาการของสติเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมในชีวิตประจำวันที่ยังประโยชน์ยิ่งทั้งเป็นการสั่งสมที่ถูกต้องดีงามให้เป็นมหาสติ ยังให้เกิดการสั่งสมทั้งทางสติและปัญญาทุกขณะจิตที่ปฏิบัติ อันเป็นไปโดยไม่รู้ตัวได้อีกด้วย เพียงแต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการรู้เท่าทันหรือเข้าใจในสิ่งต่างๆตามสติ จริต ปัญญา การปฏิบัติสั่งสม ผู้ฝึกสอน ฯ อันเป็นเรื่องปกติธรรมดา<O:p></O:p>

    อนึ่ง โปรดระวังอย่าไปสับสนกับจิตส่งในไปในกายหรือในจิต เพื่อไปเสพความสุขความสงบความสบายอันเนื่องมาจากผลของฌานสมาธิ จะโดยทั้งรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวด้วยอวิชชาก็ดี ล้วนยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสหรือให้ผลร้ายในภายหลังทั้งต่อรูปและนาม(กายและจิต)<O:p></O:p>

    จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม บางทีก็ใช้คำว่า จิตหรือสติอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม, จิตอยู่ในกายและจิต, จิตอยู่กับรูปและนาม จึงล้วนหมายถึง จิตอยู่ในเรื่องของการระลึกรู้เท่าทันบ้างหรือพิจารณาธรรมบ้างในเหล่ากาย เวทนา จิต ธรรมจึงไม่ใช่หมายถึงการส่งจิตไปจดจ้องจดจ่อกายหรือจิตแต่อย่างใดจึงไม่ใช่หมายความว่าจิตส่งในไปในกายหรือจิตที่มีเหตุมาแต่การติดเพลินหรือเพลิดเพลิน(นันทิ)ไปในปีติ สุข สงบ สบายที่เกิดขึ้นแก่กายและจิตอันเกิดแต่อำนาจองค์ฌานและสมาธิที่มักเป็นไปโดยไม่รู้ตัวเนื่องด้วยอวิชชา<O:p></O:p>

    การที่ให้อุเบกขาเมื่อมีสติรู้เท่าทัน(ที่หมายรวมถึงมีปัญญาหรือเข้าใจ)ใน กาย เวทนา จิต หรือธรรมเสียก่อน หมายความว่ามีสติพร้อมปัญญา เช่น เมื่อเกิดการผัสสะกับอารมณ์ใด แล้วให้เห็นเข้าใจว่าเกิดจากจิตคิดหรือธรรมารมณ์นั้นมากระทบใจแล้วเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ให้อุเบกขาเสีย หรือไปอยู่กับธรรมคือพิจารณาตามธรรมตามเหตุ อย่าได้เอาตัวเองหรือเรื่องราวของตนเองหรือความรู้สึกของตัวตนไปพัวพันพิจารณา ถ้าไม่สามารถอยู่ในธรรมดังกล่าวได้ กล่าวคือมักไปพัวพันในอารมณ์ว่าเป็นตัวตนหรือของตัวของตน แทนที่จะพิจารณาตามธรรมตามเหตุหรือตามความเป็นจริงดังเช่น เกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยบ้าง หรือเกิดแต่ธรรมารมณ์กระทบจิตบ้าง สักแต่ว่าเวทนาเป็นธรรมดาบ้าง ฯลฯ. ก็ให้ค่อยนำมาพิจารณาในรายละเอียดภายหลังในขณะจิตสบายๆหรือขณะปฏิบัติพระกรรมฐานก็ได้ ก็เนื่องจากตัดเหตุเกิดหรือเหตุก่อเสียก่อน กล่าวคือ บางครั้งเป็นอาการมารยาของจิต หลอกล่อให้วนเวียนปรุงแต่งอยู่ในกองทุกข์โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง, ต่อมาภายหลังจึงค่อยย้อนระลึกชาติ(ในทางวิปัสสนาหรือปฏิจจสมุปบาท)หรือการย้อนระลึกอดีต(การไม่รู้อดีตเพื่อปัญญา เป็นหนึ่งในอวิชชา ๘) เพื่อการพิจารณาที่มีจุดประสงค์ให้เกิดปัญญา เพื่อโน้มน้อมให้เกิดนิพพิทาต้องไม่ใช่เพื่อการพิรี้พิไร การพรํ่ารำพัน(รวมทั้งแก่กันและกัน) โอดครวญ หรือรำลึกให้เกิดสุข,ทุกข์ จึงควรปฏิบัติเมื่อผ่อนคลายแล้วกล่าวคือเมื่อมีสติตั้งมั่นนั่นเอง มิฉนั้นก็จะถูกดูดเข้าไปในวังวนของจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือจิตฟุ้งซ่าน จนวนเวียนอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ อันเร่าร้อนเผาลน<O:p></O:p>

    ข้อคิดควรคำนึง<O:p></O:p>

    การปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังเช่น การมีสติเห็นจิตสังขาร ที่หมายถึง มีสติเห็นความคิด จึงไม่ใช่การไปหยุดคิดหยุดนึกให้สงบดังการปฏิบัติสมถสมาธิที่มีจุดประสงค์ให้จิตแน่วแน่หรือตั้งมั่น หรือการเข้าใจผิดไปยึดความว่าง ว่าเป็นการว่างจากความคิดความนึก เพราะความคิดความนึกต้องมีอยู่เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา ว่างนั้นจึงต้องเป็น ว่างจากเหล่ากิเลสตัณหา
    อุปาทาน กล่าวคือเมื่อคิดเมื่อนึกให้รู้เท่าทัน และรู้ตามจริง แล้วหยุดการปรุงแต่งสืบต่อไปหรืออุเบกขาในโพชฌงค์นั่นเอง<O:p></O:p>
    สติที่ใช้ในการปฏิบัติ ก็ควรประกอบด้วยองค์ประกอบดังการเจริญอิทธิบาท ๔ เช่นกัน กล่าวคือ<O:p></O:p>

    ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป <O:p></O:p>


    ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก<O:p></O:p>

    กล่าวคือ ไม่ย่อหย่อน จนขาดสัมมาวายามะ<O:p></O:p>
    ไม่ประคองเกินไป จนเป็นปัคคาหะหรืออุปัฏฐานะแต่ในวิปัสสนูปกิเลส<O:p></O:p>
    ไม่หดหู่ไปภายใน ด้วยอาการจิตส่งใน ด้วยขาดสติ<O:p></O:p>
    ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ด้วยอาการคิดนึกปรุงแต่ง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ที่มา - http://nkgen.com/376.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  5. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    เห็นสามัญลักษณะ ชกบ่อย ๆ โชคดี มรรคจิตจะเกิด ตามด้วยผลจิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...