ความคิดเห็นแตกต่างในแต่ละสายการปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย aubasok, 15 พฤศจิกายน 2009.

  1. aubasok

    aubasok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +483
    [​IMG]



    ร่วมแสดงความคิดเห็นกันครับ....

    ๑.ในสมัยปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติธรรมกันมากมาย ซึ่งแต่ละสำนักก็ต่างมีความเห็นแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเรื่องของแนวการปฏิบัติ มีการกล่าวว่าเราดีกว่าเขา เขาแย่กว่าเรา พี่น้องผู้ปฏิบัติมีความคิดเห็นอย่างไรครับ

    ๒.คุณคิดว่าแนวการปฏิบัติใหนดีที่สุด

    ๓.ในสมัยปัจจุบันคุณคิดว่าสำนักใหนสอนได้ถูกต้องที่สุดโดยไม่ผิดตามคำของพระพุทธเจ้าเลย

    :z8:z8:z8:z8:z8
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤศจิกายน 2009
  2. aubasok

    aubasok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +483
    สำหรับผมผมคิดว่า

    ๑.สำหรับผมมีอะไรดีที่สุดครับ ดีเสมอกันและก็อาจแย่เสมอกัน

    ๒.ผมว่าดูจิตครับ เหมาะสมกับคนเมือง

    ๓.ก็อาจไม่มีเลย<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤศจิกายน 2009
  3. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ข้อ ๑ เห็นว่าไม่ควรจะมากล่าวว่าเราดีกว่าเขา เขาแย่กว่าเรา เพราะมีเรา นั่นคือ อัตตา มีเปรียบเทียบ นั่น คือ มานะ

    ทางที่ดีเราจะสอนจะปฏิบัติอย่างไร เราก็สอนไปก็ปฏิบัติไปไม่ควรจะพูดพาดพิงสำนักอื่นๆ หรือเปรียบเทียบ ยกตนข่มผู้อื่น ยกเว้นว่ามีใครมากล่าวหาหรือบิดเบือนวิธีการที่ได้สอนหรือปฏิบัติอยู่ ก็สามารถชี้แจงได้ แต่อย่าไปหาเรื่องใครเขาก่อนมันไม่ดีเลย


    ข้อ ๒ แนวทางไหนที่ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมลงกันได้ในกับพระสูตรไม่มีขัดแย้ง บิดเบือน และเหมาะกับจริตของผู้ปฏิบัตินั่นแหละเป็นแนวทางดีที่สุด


    ข้อ ๓ ในปัจจุบัน เท่าที่สังเกตจะยังไม่มีแนวทางของสำนักใดตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ มีแต่ตรงกับพระพุทธเจ้าแทบทุกประการเท่านั้น และก็มีแนวทางที่ผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้าแทบทุกประการ หากจะยกตัวอย่างแนวทางที่จัดว่ามั่นใจได้ว่าจะปฏิบัติแล้วบังเกิดผล มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่ามีผู้บรรลุธรรมได้จริง คือ แนวทางสายหลวงปู่มั่น, แนวทางสายหลวงพ่อทูล แต่ต้องไม่ใช่แนวทางปฏิบัติที่เหมาะกับคนเมืองครับ


    แต่ทั้งนี้แนวทางที่ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่างนั้นมีอยู่เหมือนกันครับ แต่ผมยังไม่เห็นใครนำมาสอน คงจะหายสาปสูญไป
     
  4. cmhadtong

    cmhadtong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +2,034
    ดูก่อนท่านผู้เจริญในธรรม
    ธรรมะของพระพุทธเจ้ามี่ 84000 พระธรรมขันธ์
    1.การปฏิบัติธรรม ถ้าปฏิบัติจริงๆ ขอท่านอย่าได้สงสัยเลยว่า สำนักไหนดีหรือไม่ดี
    ถ้าสำนักไหนสอนตามแนวทางของพระพุทธเจ้าก็เป็นลูกพระพุทธเจ้าเหมือนกัน
    2.แนวไหนดีไม่ดีไม่มีความหมาย มีความหมายที่ว่าท่านปฏิบัติแล้ว ผลทางจิตใจของท่าน
    ละกิเลส ทำลายกิเลสได้เพียงใด ศีลของเราตั้งมั่นหรือยัง สมาธิของเราตั้งมั่นหรือยัง
    เพราะแต่ละแนวทางก็มีข้อเด่น ต่างกันไปนะครับ
    3.ปัจจุบันผมมั่นใจว่ายังมี พระอริยะเจ้าอยู่ มีพระปฏิบัติดีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงมั่นใจว่ายัง
    สอนธรรมะไม่ผิดหรอก ธรรมะหลักคำสอนยังบริบูรณ์อยู่

    การเข้าถึงธรรมะ การรู้เห็นธรรมะ ส่วนหนึ่งก็มาจากผลบุญที่เราได้สั่งสมไว้ จึงมีโอกาสได้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนา แต่อาจจะชอบสายการปฏิบัติต่างกัน ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา
    ตามวาสนา บารมีที่ทำมา แต่ถ้าเป็นตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ว่าจะสายไหน
    ก็ไปถึงจุดหมายปลายทางเช่นกัน ล้วนเป็นลูกพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ขอท่านผู้เจริญอย่าได้สงสัยเลย ค่อยๆทำไป ก็จะหายสงสัยเองครับ
    วันเวลาล่วงไปวันหนึ่งๆ เรามีความดีอะไรติดใจเราบ้าง ความตายอยู่แค่ปลายจมูก
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    ที่มีหลากหลายวิธีนั้น ล้วนเป็นขั้นเริ่มต้น วิธีไหนก็ทำได้ทั้งนั้น... แต่เมื่อไรที่ก้าวถึงปฐมฌาณ วิธีทั้งหลายก็จะรวบเหลือวิธีเดียวคือ ทำสมาธิ

    แต่มันอยู่ที่เป้าหมายของเรา ว่าจะฝึกจิตไปถึงระดับไหน...

    การดูจิต (ในความหมายทั่วไป) คือการฝึกสติ อย่าเข้าใจผิดว่า จะดูไปจนได้มรรคผลอะไรบางอย่าง การดูจิตเป็นเพียงการกระตุกเตือน จิตใจที่ว้าวุ่นทั้งสุขและทุกข์ ไม่ให้เตลิดมากจนเกินไปเท่านั้น

    เพิ่มเติม... สำหรับตัวเองก็คิดว่า "อาณาปานสติ" นั่นแหล่ะ นั่งดูเว็บอยู่ ก็แบ่งใจมาส่วนหนึ่งมาดูลมหายใจ ไม่ต้องมานั่งเอาจริงเอาจัง ดูไปเรื่อยๆ อึดอัดก็เลิก หายอึดอัดก็ดูใหม่ จิตมันจะพัฒนาไปของมันเอง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  6. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    แนวทางปฏิบัติ ..........หลากหลาย ..............หลากวิธี
    เพี้ยงหนึ่งมี.............. เหมาะจริต ...............ตรงมรรคผล
    ทางใดเหมาะ............ นิพพาน.................. สำหรับตน
    ตรงมรรคผล..............เพียรพ้นภพ .............ปัจจัตตัง
    การเปรียบเทียบ..........เป็นเรื่องยาก............ หลากจริต
    ถูกหรือผิด ...............วัดกันที่................... ตรงมรรคผล
    หากผิดมรรค............ ไร้ผล...................... กิเลสกล
    หากถูกยล ................ตนรู้ได้................... กิเลสเบา
     
  7. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    อ่านละเอียดๆในพระไตรปิฎกจะพบว่ามีแนวปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมมากมายหลายวิธี
    เลือกเอาแนวที่ถูกกับจริตหรืออัธยาสัยของตนเองครับซึ่งอาจไม่ตรงกับของคนอื่น
     
  8. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    1. สำนักไหน บอกว่า ตัวเองดีอย่างไร สำนักอื่นไม่ดีอย่างไร นั้นเป็นสถามที่่ที่ไม่ควรไป
    2. สำนักไหน ไม่ได้ว่าใคร แต่บอกว่าตัวเองดีที่สุด นั้นเป็นสถานที่ที่ไม่ควรไป

    สำนักไหน สอนแล้วคนปฏิบัติ แล้วเห็นผล ใช้งานได้จริง คนปฏิบัติ บอก ต่อๆ กันไปปากต่อ ปาก สำนักนั้น อยู่ในข่ายที่ดี
    สำนักไหน มีการอ้างอิงพระไตรปิฏก อย่างชัดเจน นั้นแสดงว่า สำนักนั้นมีการศึกษา

    เป็นตัวอย่างบางส่วนน่ะครับ ที่น่าจะเอามาพิจรณาครับ

    อย่ายึดติดวิธีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  9. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    1. สำนักไหน บอกว่า ตัวเองดีอย่างไร สำนักอื่นไม่ดีอย่างไร นั้นเป็นสถามที่่ที่ไม่ควรไป
    2. สำนักไหน ไม่ได้ว่าใคร แต่บอกว่าตัวเองดีที่สุด นั้นเป็นสถานที่ที่ไม่ควรไป

    สำนักไหน สอนแล้วคนปฏิบัติ แล้วเห็นผล ใช้งานได้จริง คนปฏิบัติ บอก ต่อๆ กันไปปากต่อ ปาก สำนักนั้น อยู่ในข่ายที่ดี
    สำนักไหน มีการอ้างอิงพระไตรปิฏก อย่างชัดเจน นั้นแสดงว่า สำนักมีการศึกษา อยู่ในข่ายที่ดี

    เป็นตัวอย่างบางส่วนน่ะครับ ที่น่าจะเอามาพิจรณาครับ

    อย่ายึดติดวิธีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เคยได้ยินแต่พระตถาคต กล่าวว่า เชิญมาพิสูจมาปติบัติธรรม ไม่ได้บอกว่าเชิญไปสำนักปติบัติธรรม
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ห้วย หนอง คลอง บึง ล้วนไหลลงสู่แม่น้ำ
    แม่น้ำหลายทั้งหลาย ล้วยลงสู่ทะเล
    ทะเลทั้งหลาย ล้วนลงที่มหาสมุทร

    ถ้าเห็นต่าง ก็ต้องถามตัวเองว่าอยู่ตรงไหน
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจเถิดมาปติบัติเถิด
    ปัจจัตตัง จะเกิดจะรู้ด้วยตัวเอง
    ไม่ได้ตรัสบอกให้ไป
    อยู่ในสำนักพระสารีบุตรเถิดมีปัญญามาก
    ไปอยุ่ในสำนักพระโมคคัลลานะเถิดมีริทมาก
    ไปอยู่ในสำนักอื่นๆเถิอมีความเห็นความถนัดแตกต่าง
    เช่นนั้นหรือ คนถาม
     
  13. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    สำหรับผม
    ถ้าเป็นพวกผม หรือมีความโน้มเอียงจะมาเป็นพวกผมมากเท่าไหร่
    ก้ยิ่งปฏิบัติถูกต้อง ขึ้นเรื่อยๆ
    ตามแต่ความแน่นแฟ้นแห่งสายสัมพันธ์

    ถ้าไม่ใช่พวกผม หรือมีความเห็นขัดแย้งกันผม
    ก็ปฏิบัติผิด ไปเรื่อยๆ

    ต่อให้เห็นว่ามันก้ทำถูกอยู่ตำตา
    ไม่ใช่พวกกรู เมิงผิด

    ต่อให้มันทำผิดอยู่ตำตา
    เป็นพวกกู เดี๋ยวเมิงจะถูก
    ในที่สุด
     
  14. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    ตราบใดที่มี สักกายทิฏฐิอยู่
    เป็นอย่างนี้ทุกรูปนาม

    ไม่ต้องเถียง
    "ถูก"
     
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    สำนักไหนมีสติตัวปลอมตัวจริง สำนักนั้นไม่รู้จักสติ (สติตัวจริงต้องไประลึกรู้ดวงจิตดวงเก่าที่ดับไปสดๆร้อนๆถ้าไม่เช่นนั้นก็เปนสติตัวปลอม ตามความหมายของบางสำนัก)

    สำนักไหนอ้างครูอาจารย์รับรองมรรคผลตนเอง เพื่อประกาศให้คนรู้ว่าตนได้มรรคผลชั้นสูง สำนักนั้นควรพิจารณาว่าเจตนานั้นเพื่ออะไร

    สำนักไหนอ้างว่าเคารพครูอาจารย์แต่กับแต่งหนังสือกล่าวว่าครูอาจารย์สอนผิดของตนถูก ต้องพิจารณาว่าอันไหนธรรมแท้

    ธรรมะไหนกลับกลอกเปลี่ยนแปลงจับต้นชนปลายไม่ถูกอันนั้นไม่ใช่สัจจะธรรม

    สำนักไหนไม่รู้จักขันธ์5สำนักนั้นไม่มีพระอริยะบุคคล

    คำสอนไหนค้านกับพระไตรปิฏกและค้านกับพุทธวัจนะอันนั้นควรลีกเลี่ยงให้ไกลที่สุดถ้าปราถนานิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 พฤศจิกายน 2009
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมเหรอถ้าสำนักไหนโฆษณามากๆ ไม่เลือกกาลเลือกที่ เห็นช่องทางไหนโฆษณาหมด ไอ้ดีมันก็ดีนะ แต่สำหรับผมไม่ชอบ แต่ถ้าเป็นการเผยแพร่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริมความดีงาม ศีล ทาน ภาวนา ไม่เลือกว่า จนหรือรวย ผมเห็นด้วย ยิ่งคนรวยช่วยคนจนส่งเสริมให้ช่วยเหลือกันในสังคมอย่างแท้จริงยิ่งชอบ ไม่แบ่งชนชั้นวรรณยิ่งดี เห็นด้วย พอมาที่ศีลกับภาวนา ส่วนใหญ่ก็เป็นของชูโรงกันอยู่แล้วว่าต้องรักษาศีลใจจึงจะสงบระงับลง เพราะสติตั้งมั่นไม่ก้าวล่วงอันจะเป็นกรรมต่อผู้อื่นและตนเอง ภาวนาก็แล้วแต่ หากจะบอกว่าส่วนใหญ่ไม่ต่างกันเลยหากมีสำนักไหนต่างไปจากการ ทำจิตให้มีสติให้สงบปราศจากความปรุงแต่งใดๆ และรู้เหตุที่ปราศจากและไม่ปราศจากกิเลส ด้วยสติสัมปชัญญะ ต่อให้คิดว่าเห็นผู้รู้ก็เป็นเพียงแค่ นิมิต บางสำนักให้สร้าง นิมิต กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มนั่นแหละก็คือการกำหนดสติ เพราะหากเมื่อนิมิตอยู่ก็แปลว่า สติ อยู่ และบางทีนิมิตพาไปที่นั่นที่นี่ หากไม่มีสติก็จะไหลไป และในที่สุด ท่านก็จะสอนให้เข้าหาสัจธรรมเพื่อละคลายจากนิมิตนั้น เพราะเป็นของไม่เที่ยง แต่ต้องทำให้ได้ถึงขนาดนั้น นิมิต ไม่ขาดลงละเอียดประณีตจนยิ่งกว่ามองด้วยกล้องจุลทรรศน์ นั่นแหละสุดยอดสติเลย พอเอาพิจารณาธรรมด้วยอุบายที่ท่านแนะก็จะกระจ่างตามที่ท่านกล่าวไว้ไม่มีผิดเลย นอกนั้นหากสอนแบบขาดสติ ยังไม่ใช่ทาง หากเริ่มต้นโดยการไม่สร้างสติค่อยๆ สร้าง ไปมองสิ่งที่ทำให้เคลื่อนไหวไปตามการกระทบเลยโดยที่สติตามรู้ไม่ทัน มันไม่ใช่ทางออกเพราะมันจะมองข้ามเหตุต่างๆไปหมดแล้วรู้สึกเหมือนว่าดับเหตุนั้นแล้ว เพราะไม่มีสติจะหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายนั้นได้ เพราะถูกทำให้ข้ามขั้นตอนไปด้วยความคิดของตนเองเพราะยังไม่มีสติพอจะต่อกรกับจิตของตนเองครับ
     
  17. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [๑๓๘] ก็สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินาราสุภัททปริพาชกได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ สุภัททปริพาชกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต-*สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ฯ ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้ามัลละ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่งธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระ-*สมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดยประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้วท่านพระอานนท์ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว แม้ครั้งที่สอง สุภัทท-*ปริพาชก ... แม้ครั้งที่สาม สุภัททปริพาชกก็ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละอนึ่ง ธรรมเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดยประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านพระอานนท์ขอโอกาสเถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำท่านพระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะ สุภัททะจงได้เฝ้าตถาคต สุภัททะจักถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งกะเรา จักมุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งความเบียดเบียน อนึ่ง เราอันสุภัททะถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจักรู้ทั่วถึงข้อความนั้นโดยฉับพลันทีเดียว ฯ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะพระผู้มีพระภาคทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือบูรณกัสสปมักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตรสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิดดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี-*พระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระ-*อรหันต์ทั้งหลาย ฯ [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก ไม่มีในภายนอกแต่ธรรมวินัยนี้ ฯ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชก ได้กราบ-*ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชาหวังอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ฯ สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญ-*เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือนเมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี เมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเถิด ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว สุภัททปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษกด้วยอันเตวาสิกา-*ภิเษก ในที่เฉพาะพระพักตร์ในพระศาสนานี้ สุภัททปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค ก็ท่านสุภัททปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นานหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่ช้านานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ท่านสุภัททะได้เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค ฯ<CENTER>จบภาณวารที่ห้า</CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๕๐๒ - ๓๕๙๑. หน้าที่ ๑๔๓ - ๑๔๖.http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=3502&Z=3591&pagebreak=0
    </PRE>
     
  18. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    พระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระ-*อรหันต์ทั้งหลาย ฯ
     
  19. ก็แค่นั้น

    ก็แค่นั้น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +169
    มีแต่ของพระพุทธเจ้า มีของสำนักนู้น นี่ นั้น โน้น ด้วยรึ การปฏิบัติดูตามจริตตัวเองเลยครับ หรือตามความชอบ แบบไหนก็เหมือนกันจุดหมายคือที่พระนิพพานอย่างเดียว ที่สอนดีๆมีเยอะแยะครับ แต่ส่วนตัวชอบ พระอาจารย์ที่วัดดอนโม่ จ.นครสวรรค์ ผมสนใจตัวบุคคลมากกว่าสำนักน่ะครับ เจอครั้งแรกท่านเทศน์ครั้งเดียวผมก็ลงไปกราบท่านคิดในใจว่าจะเป็นศิษย์พระองค์นี้แระครับไม่รู้ทำไมอันนี้ก็เป็นเรื่องแปลก ไปที่อื่นไม่เคยรู้สึกอย่างนี้ มันคงเป็นวาสนาของผมที่ได้เป็นศิษย์ท่าน สมัยนี้หาเนื้อนาบุญยากหน่อยไม่รู้จะหลบไรกันนักหนา เหอๆ เพราะพระท่านหลบจริงๆ....ผมเจอแล้วก็อยากบอกต่อ
     
  20. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676
    สำหรับผม
    มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจว่าไม่ควรจะไปว่าเค้าอะไรดีไม่ดี สายนั้นดีกว่าสายนี้ ดูที่เหมาะกับตัวเราดีกว่า
    คือเรื่องสมัยพุทธกาล ที่เกิดกันทะเลาะกันของสงฆ์สองฝ่าย แม้พระพุทธเจ้าจะทรงห้ามก็ไม่เป็นผล พระพุทธองค์จึงปลีกวิเวกไปในป่า อยู่ในป่ามีลิงมีช้างมาถวายอาหาร
    ผ่านมาห้าร้อยปีลิงตัวนั้นคือพระอรหันต์องค์นึงที่เต็มไปด้วยอิทธฤทธิ และบุญฤทธิ ได้อภิญาทุกอย่าง โดยที่ผมไม่ร้อยว่าพวกพระที่ทะเลาะสมัยพุทธกาล ไปถึงไหนกัน หรือบางรูปยังอยู่ในอบายภูมิอยู่ แพ้ลิงกันนะเนี่ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...