เรื่องเด่น ความคิดปรุงแต่งมีอำนาจมาก ทำให้สุขก็ได้ ให้ทุกข์ก็ได้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 16 มกราคม 2018.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    70051.jpg

    ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    เป็นกิเลส ที่หมายถึงเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

    ท่านกล่าวว่ากิเลสมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เต็มบ้านเต็มเมือง เบียดเสียดติดอยู่กับตัวเราทุกคน แต่กิเลสไม่มีมือไม่มีเท้า จึงเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้ หยิบจับก็ไม่ได้ จะทำผู้ใดให้มีกิเลส หรือให้กิเลสตัวใดตัวหนึ่ง ที่มีเบียดเสียดกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลานาที พาตัวเองย้ายที่เข้าไปสู่จิตใจของผู้ใดก็ไม่ได้ทั้งสิ้น

    คือจะทำผู้ใดให้มีกิเลสไม่ได้ แสดงชัดเจนว่า
    กิเลสไม่มีอำนาจจะทำให้ผู้ใดโลภก็ไม่ได้
    กิเลสไม่มีอำนาจจะทำผู้ใดโกรธก็ไม่ได้
    กิเลสไม่มีอำนาจจะทำให้ผู้ใดหลงก็ไม่ได้

    ต้องมีมือมีเท้าเข้าไปจับกิเลสเข้าไปสู่ใจ กิเลสคือความโลภก็ตาม ความโกรธก็ตาม ความหลงก็ตาม จึงจะเข้าไปเกิดอยู่ในใจได้ และก็ต้องเข้าใจอีกระดับหนึ่งด้วย ว่ามือเท้าที่อาจไปจับกิเลสส่งเข้าสู่ใจได้ ไม่ใช่สิ่งเป็นรูปเป็นร่างเหมือนมือเท้าจริง ๆ ของเราทุกคน แต่เป็นมือเท้าที่อยู่ในรูปของความคิดปรุงแต่ง ที่ปราศจากรูปร่างให้เห็นได้

    ความคิดปรุงแต่งมีอำนาจมาก ทำให้เกิดความสุขก็ได้ถ้าคิดดี
    ทำให้เกิดความทุกข์ก็ได้ถ้าคิดไม่ดี
    คิดให้ดีคือคิดให้เป็นบุญ เป็นความสุข เป็นความเย็นใจ
    คิดไม่ดีคือคิดให้เป็นบาป เป็นความ ทุกข์ เป็นความร้อนใจ

    ถ้าเข้าใจ และเชื่อเกี่ยวกับความคิดดังกล่าวนี้ ก็ไม่ยากที่จะรู้ ว่ากำลังคิดเป็นบุญ เพราะกำลังมีความสุขใจ ควรคิดเช่นนั้นต่อไปได้ แต่ถ้ารู้ว่ากำลังคิดเป็นบาป เพราะกำลังมีความทุกข์ใจ ควรหยุดความคิดเช่นนั้น ไม่คิดต่อไป นอกเสียจากว่าจะเป็นคนไม่ฉลาดเลย ทุกข์ก็ยังขืนทำ คือขืนคิด ให้เป็นทุกข์ต่อไป

    ที่จริงไม่มีใครอยากคิดให้เป็นทุกข์ แต่ส่วนมากมักจะลืมไป ลืมคิดถึงความจริงที่สำคัญ คือคิดแต่จะพูดจะทำไปตามอำนาจของกิเลสที่มีเป็นพื้นใจอยู่ เป็นพื้นของความคิดอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหตุแห่งความร้อน ความพลุ่งพล่าน วิพากษ์วิจารณ์ตินั่นตินี่ไปอย่างร้อนรุ่มรุนแรง

    โดยคิดว่าทำดีแล้ว ทำถูกแล้ว ความเห็นแก่ตัวควรนำมาใช้ที่สุดในกรณีนี้ คือควรเห็นแก่ความไม่ร้อนใจ คือความเย็นใจ เป็นสุขใจ สำคัญต้องมีสติ ต้องมีสติคิดว่าที่กำลังพูด กำลังคิด กำลังทำอยู่นั้น ทำให้สบายใจดีอยู่หรือ ถ้าสบายใจ เย็นใจ ก็เป็นอันไม่ผิด

    ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกรรม คือ บาป จะเรียกว่าไม่แพ้กรรม ก็น่าจะให้ผลดี เพราะการเป็นผู้แพ้นั้นไม่มีใครชอบ ชอบแต่จะเป็นผู้ชนะ

    แพ้ที่น่ารังเกียจที่สุด คือแพ้กรรม
    ซึ่งหมายถึงกรรมไม่ดี
    กรรมไม่ดีบัญชาให้ทำ
    ยอมทำความไม่ดี จึงเป็นการแพ้กรรม ที่น่ารังเกียจมากที่สุด

    การชนะกรรม ตรงกันข้ามกับการแพ้กรรม กรรมอย่ามาบังคับขืนใจให้คิดพูดทำที่ชั่วช้าสารพัด ไม่มียอมแพ้ กรรมต้องแพ้ ต้องหนีไป ซึ่งแน่นอนถ้ายังกำจัดกิเลสให้พ้นไม่ได้ วันหนึ่งกรรมก็จะต้องมาพยายามบีบบังคับให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว จงเอาชนะกรรม จงเอาชนะกรรม จงเอาชนะกรรม อย่ายอมคิดชั่ว อย่ายอมพูดชั่ว อย่ายอมทำชั่ว

    : แสงส่องใจ พระพุทธศักราช ๒๕๔๘
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6563
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2018
  2. นรวร มั่นมโนธรรม

    นรวร มั่นมโนธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +113

แชร์หน้านี้

Loading...