ข่าวดี...สำหรับผู้ที่ต้องการอพยพไปอยู่เชียงใหม่ (ขอปิดกระทู้ครับ)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เตอร์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ขอปิดกระทู้นี้ เนื่องจากตัดสินใจที่จะไปอยู่อำเภอลี้ จังวัดลำพูน ทำให้รายละเอียดไม่ตรงกับหัวข้อกระทู้ และเนื้อหาส่วนใหญ่ของกระทู้นี้ครับ

    มีโครงการในฝันที่คิดไว้หลายปีแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะมีงานบุญอื่นๆ มากมายที่ต้องทำ

    เมื่อมีเหตุการณ์น้ำท่วม ปี ๒๕๕๔ เกิดขึ้น จึงคิดว่า คงถึงเวลาแล้วที่จะทำโครงการนี้

    ความเป็นมาของโครงการ
    เกิดขึ้นจากการที่ได้รับทราบถึงความใฝ่ฝันของญาติธรรมหลายท่านว่า ในบั้นปลายของชีวิตต้องการมีบ้านทางภาคเหนือ ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม มีความเป็นอยู่เรียบง่าย สงบสุข และไม่ไกลวัด เพื่อความสะดวกในการทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    ที่ตั้งของโครงการ
    ติดถนนทางหลวงหมายเลข ๑๑๐๓ ตำบลโปงทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้วัดพระพุทธบาทตะเมาะ

    ลักษณะโครงการ
    เป็นหมู่บ้านของชาวพุทธที่รักษาศีลห้าขึ้นไป ปลอดยาเสพติด ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ และเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม

    คุณสมบัติสมาชิก
    ๑. รักษาศีลห้าขึ้นไป
    ๒. บรรลุนิติภาวะ
    ๓. เป็นผู้มีความประพฤติดี

    ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๖๐๐๘ ๖๐๐๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2012
  2. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    จากเดิมที่คิดว่า จะปลูกสร้างบ้านในที่ดินของวัด คล้ายกับโครงการของกลุ่มสันติอโศก ต่อมา มีลูกศิษย์ของวัดบางคนทักท้วง จึงยกเลิกที่จะนำที่ดินของวัดมาทำโครงการ

    แต่ยังมีหลายท่านที่ต้องการให้ทำโครงการต่อในที่ดินแปลงอื่น จึงดำเนินการต่อเพื่อให้โครงการ "บ้านอิงธรรม" หมู่บ้านสำหรับผู้รักษาศีลห้าขึ้นไปสำเร็จครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2012
  3. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    รูปที่ดินในความคิดเห็นที่ ๓ - ๑๒ นี้ เป็นที่ดินของวัด ที่ไม่ได้นำมาทำโครงการนี้แล้ว

    ที่ดินผืนใหม่ที่คิดว่า จะนำมาทำโครงการนี้ มีรูปอยู่ในหน้า ๑๕ - ๑๖ ของกระทู้นี้ครับ

    แต่ความเป็นไปได้ที่จะทำโครงการในที่ดินผืนนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่จะร่วมกันซื้อ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.3 KB
      เปิดดู:
      8,041
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2012
  4. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.3 KB
      เปิดดู:
      7,984
  5. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.2 KB
      เปิดดู:
      7,981
  6. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.5 KB
      เปิดดู:
      7,935
  7. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.6 KB
      เปิดดู:
      7,898
  8. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.6 KB
      เปิดดู:
      7,890
  9. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.4 KB
      เปิดดู:
      7,755
  10. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.5 KB
      เปิดดู:
      8,035
  11. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.1 KB
      เปิดดู:
      7,723
  12. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.3 KB
      เปิดดู:
      7,817
  13. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    [​IMG]

    ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ

    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงพ่อวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เล่าให้ฟังว่า วัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาล เนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แห่งกัปนี้ ได้แก่ พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคมนาคม พระพุทธเจ้ากัสปะ พระพุทธเจ้าสมณโคดม เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และประทับรอยพระพุทธบาทไว้ และเคยมีพุทธสาวกหลายองค์มาปฏิบัติ และบรรลุธรรมที่สถานที่แห่งนี้

    ภายในวัดยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เช่น รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์, แท่นหินที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ประทับไสยาสน์, รอยพระบาทของพระสาวกซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้ากุสันโท, รอยพระบาทของพระฤๅษีที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ

    ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะแห่งนี้ เคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระฤาษี ๒ องค์ ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ สถานที่นิพพานของท่านทั้งสองอยู่บนแท่นหินภายในบริเวณวัด พระสรีระของท่านทั้งสองยังไม่ได้ประชุมเพลิง พระอินทร์ได้อัญเชิญพระสรีระขององค์หนึ่งไปไว้บนยอดเขาตะเมาะ ส่วนอีกองค์หนึ่งไว้ที่ยอดเขาดอยเกิ้ง เพื่อรอพระศรีอริยะเมตไตรยมาประชุมเพลิงด้วยพระองค์เอง ซึ่งบารมีของท่านทั้งสองยังคุ้มครองสถานที่แห่งนี้ ให้ผู้มุ่งหวังปฏิบัติธรรมได้รับความสงบสุข (ชาวบ้านมักเห็นแสงไฟดวงกลมวิ่งไปมาระหว่างยอดเขาทั้งสองเสมอ)

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อวงศ์ได้พาคณะศิษย์ไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งขณะนั้นมีพระชาวต่างประเทศมาจำพรรษาอยู่มาก ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ครูบาอภิชัยขาวปีเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๗ รวมเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ๓๓ ปี

    หลวงพ่อวงศ์ได้บูรณะสถานที่สำคัญหลายแห่งภายในวัด เช่น มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท ฯลฯ และหลวงพ่อวงศ์ได้มาช่วยครูบาอภิชัยขาวปีก่อสร้างเป็นเวลา ๕ ปี สิ่งก่อสร้างที่เหลือไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมอีกอย่างก็คือ กำแพงซึ่งทำจากหินล้วนไม่มีการใช้ปูนแต่อย่างใด กำแพงดังกล่าวเป็นแนวยาว ๒ ชั้น แต่ละชั้นยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร

    นอกจากแนวกำแพงหินแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อวงศ์ยังได้สร้างมณฑปไว้ด้วย มณฑปนี้เป็นรูปทรงล้านนา และทำจากไม้ทั้งหลังซึ่งในปัจจุบันจะหาช่างทำได้ยาก เพราะมณฑปทั้งหลังใช้การเข้าลิ่มไม้ทั้งสิ้น จะใช้น๊อตยึดก็เพียงไม่กี่ตัว ท่านเล่าให้ฟังว่า มณฑปนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ล้ำค่าของท่าน เพราะต้องผจญกับมารหลายประการ เนื่องจากเขตวัดพระพุทธบาทตะเมาะขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้นทางการจังหวัดเชียงใหม่เข้มงวดเรื่องป่าไม้มาก แม้จะนำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นการลำบาก

    ในระหว่างที่หลวงพ่อวงศ์มาทำการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะอยู่นั้น ท่านต้องพักผ่อนจำวัดที่ห้วยน้ำอุ่น (ปัจจุบันเป็นสถานปฏิบัติธรรม) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน และห่างจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ๕ กิโลเมตร กิจวัตรประจำวันของท่าน เริ่มด้วยตื่นเวลา ๔ น. สวดมนต์ทำวัตรจนถึงเวลา ๕ น. เดินทางจากห้วยน้ำอุ่นไปวัดพระพุทธบาทตะเมาะ มาฉันภัตตาหารที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ จากนั้นนำคณะศรัทธาก่อสร้าง โดยท่านเป็นผู้ควบคุมเอง ในช่วงเที่ยงวัน คณะศรัทธาจะพักรับประทานอาหาร ขณะนั้นท่านฉันมื้อเดียว ท่านจึงใช้เวลาที่คณะศรัทธาพักรับประทานอาหารนี้ ไปก่อหินทำถนนระหว่างห้วยน้ำอุ่นกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งคณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งได้นำหินมากองเรียงไว้ เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย ท่านก็จะกลับมาควบคุมการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะต่อไป จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินไม่สามารถมองเห็นลายมือแล้ว จึงเดินทางกลับไปพักที่ห้วยน้ำอุ่น ระหว่างทางที่เดินทางกลับ ก็จะช่วยกันยกหินที่คณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งเรียงกองไว้ นำมาทำถนนระหว่างทางไปเรื่อย ท่านจะกลับถึงห้วยน้ำอุ่นประมาณ ๒๒-๒๓ น.ทุกวัน จากนั้นท่านก็จะสรงน้ำ สวดมนต์ไหว้พระ เจริญกรรมฐาน และจำวัดประมาณ ๒๔ น. ตื่นเวลา ๔ น. ท่านใช้เวลา ๓ เดือน จึงก่อสร้างแล้วเสร็จ นับเป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง

    เหตุที่ท่านไม่สามารถจำวัดและให้คณะศรัทธาพักที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะได้ เนื่องจากขณะนั้นครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้มงวด ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ศิษย์ของครูบาอภิชัยขาวปีเกิดมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของบ้านเมือง จนกระทั่งพระปันถูกจับสึกให้นุ่งขาวห่มขาว เป็นเหตุให้ครูบาอภิชัยขาวปีต้องย้ายจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ไปอยู่ที่วัดพระธาตุห้าดวงและพระพุทธบาทผาหนาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เขตติดต่อกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะ เมื่อสร้างมณฑปเสร็จแล้ว ก็ทำการฉลองกันอย่างรีบเร่ง ซึ่งเมื่อฉลองเสร็จหลวงพ่อวงศ์ก็ติดตามครูบาอภิชัยขาวปีไป

    หลังจากเหตุการณ์สงบลงแล้ว คณะศรัทธาเคยอาราธนานิมนต์ให้ครูบาอภิชัยขาวปีกลับไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ แต่ท่านก็ไม่รับนิมนต์ และบอกว่า "อีกหน่อยจะมีตุ๊ใต้มาอยู่กันเป๊อะเรอะ" (พระภาคใต้มาอยู่กันมาก ภาคใต้ตามความหมายของคนเหนือคือ นับจากภาคกลางของประเทศไทยลงไป เป็นภาคใต้หมด) ส่วนหลวงพ่อครูบาวงศ์ท่านเคยบอกว่า "ถ้าไม่ได้อยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ก็จะมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ"

    ในอดีต วัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยที่ครูบาอภิชัยขาวปียังจำพรรษาอยู่ที่วัด มีศรัทธาญาติโยมทั้งชาวไทยและชาวเขากระเหรี่ยงมาร่วมกันทำบุญเป็นจำนวนมาก มีการก่อวิหาร ที่พักของพระสงฆ์ และเสนาสนะอื่นๆภายในวัด นอกจากนี้ ครูบาอภิชัยขาวปียังได้รับนิมนต์ไปก่อสร้างสาธารณประโยชน์ที่อื่นอีกมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ครูบาอภิชัยขาวปีไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ซึ่งภายหลังจากที่ท่านจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปแล้ว วัดก็ค่อยๆเสื่อมโทรมลง จนกลายเป็นวัดร้างในที่สุด

    เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน ได้ย้ายจากวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งในช่วงแรกนี้ ท่านได้สร้างเสนาสนะเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติธรรม ต่อมาจึงสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงครัว หอระฆัง แท็งก์น้ำ ศาลาปฏิบัติธรรมของญาติโยม เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงได้สร้างพระเจดีย์สามครูบาขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ครูบาศรีวิชัย, ครูบาอภิชัยขาวปี และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • t111.jpg
      t111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108 KB
      เปิดดู:
      7,766
  14. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ประวัติของพระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน ที่ท่านทั้งหลายจะได้อ่านต่อไปนี้ สาเหตุเนื่องมาจากมีผู้ใฝ่ธรรมมักจะสอบถามประวัติชีวิตที่ผ่านมาของท่านอยู่เสมอ ท่านจึงได้เขียนประวัติในวัยเยาว์จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและน้อมนำเอาสิ่งที่ดีไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสุขแก่ตนเองและสังคมสืบไป

    ประวัติพระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน

    [​IMG]

    เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตะเมาะ
    พ.ศ. ๒๕๒๕ – ปัจจุบัน

    สถานะเดิม เรืออากาศโท นพดล หริตกุล
    บิดาชื่อ เรืออากาศเอกภู หริตกุล
    มารดา นางลออ หริตกุล

    มีพี่น้องรวม ๑๓ คน ดังนี้
    ๑.นางอุดม จิตรทาน
    ๒.พันโทพิชัย หริตกุล
    ๓. นายไพบูลย์ หริตกุล
    ๔. ด.ญ. --- เสียชีวิตอายุประมาณ ๗ วัน
    ๕. ด.ญ.----เสียชีวิตอายุประมาณ ๗ เดือน
    ๖. เรืออากาศตรีหญิง ฉวีวรรณ สินประเสริฐ
    ๗. นางกาญจนา ฤทธิบุญชัย
    ๘. พันจ่าอากาศเอกพูลศักดิ์ หริตกุล
    ๙. เรืออากาศตรีวิทยา หริตกุล
    ๑๐. นาวาเอก อภิพจน์ หริตกุล ร.น.
    ๑๑. พระมหานพดล สิริวฑฺฒโน ( เรืออากาศโทนพดล หริตกุล )
    ๑๒. พันโทสมโภชน์ หริตกุล
    ๑๓. นายชุมพล หริตกุล

    การศึกษา

    พ.ศ. ๒๕๑๒ จบประถมปีที่ ๗ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
    พ.ศ. ๒๕๑๕ จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม
    พ.ศ. ๒๕๑๖ จบมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนดอนเมือง
    พ.ศ. ๒๕๑๘ จบโรงเรียนเตรียมทหาร
    พ.ศ. ๒๕๒๒ จบโรงเรียนนายเรืออากาศ (วทบ.ทอ)
    พ.ศ. ๒๕๔๕ นักธรรมเอก
    พ.ศ. ๒๕๔๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค (ป.ธ. ๓)
    พ.ศ. ๒๕๕๐ สอบได้ใบประกอบโรคศิลปะ ประเภทเภสัชกรรมไทย (บ.ภ.)

    อุปสมบท

    วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ขณะมีอายุ ๒๖ ปี วัดโพสพผลเจริญ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมี พระครูวิเศษภัทรกิจ วัดสายไหม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิบูลวรคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเหม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ตำแหน่ง

    พ.ศ. ๒๕๒๒
    - ประธานและผู้ก่อตั้งชมรมพุทธศาสน์ โรงเรียนนายเรือ อากาศ
    - ผู้บังคับบัญชาหัวหน้ากองร้อย (ปกครองนักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ ๔)
    พ.ศ. ๒๕๒๓
    - รับราชการกรมช่างโยธาทหารอากาศ ตำแหน่ง นายทหารแผนกจัดหา
    และ นายทหารคนสนิทเจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ (พลอากาศตรีอาทร โรจนวิภาต )

    คติธรรมที่ประทับใจที่สุด

    ผู้มีความเพียรอันเลิศ ย่อมได้รับผลอันเลิศ

    ปณิธาน

    ปรารถนาจะช่วยเหลือสังคม ให้อยู่ดีมีสุข มีศีลธรรมและสุขภาพที่ดี เท่าที่สติปัญญาความสามารถที่จะช่วยได้

    พระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน เกิดวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ดอนเมือง กรุงเทพ มีพี่น้องรวม ๑๓ คนท่านเป็นคนที่ ๑๑

    ท่านเกิดที่บ้านเลขที่ ๑๗๑/๔๙๙ หมู่ ๙ ต.คลองถนน อ.บางเชน กรุงเทพมหานคร โยมบิดารับราชการอยู่ที่กรมขนส่งทหารอากาศ บ้านที่พักอาศัยจึงพักอาศัยอยู่ในกรมทหารอากาศ โยมบิดามารดาเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีความรักในบุตรธิดาเสมอภาคเท่ากันหมดทุกคน

    โยมบิดาเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์เป็นอย่างยิ่ง สมัยรับราชการมีหน้าที่คุมการเบิกจ่ายน้ำมันของราชการ ท่านไม่เคยนำของหลวงมาใช้ส่วนตัวเลย แม้จะมีโอกาส โยมมารดาก็เช่นกันแม้ท่านจะไม่ได้เรียนหนังสือ(เข้าโรงเรียนได้แค่ ๓ วัน) แต่ท่านก็มีความซื่อสัตย์และเป็นคนที่ถือคำสัจเป็นอย่างยิ่ง

    สมัยท่านยังเด็กเนื่องจากมีพี่น้องหลายคน โยมบิดาจึงต้องหาเงินและใช้เงินอย่างประหยัด ท่านจำได้ว่าตอนสมัยท่านยังเด็กอยู่ เวลารับประทานอาหาร พี่น้องต้องรอกันให้พร้อมเวลาทานก็ทานพร้อมกัน สำรับอาหารจัดเป็นสองสำรับ ทานอาหารพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน

    นิมิตในวัยเยาว์

    ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยอายุประมาณไม่เกิน ๗ ขวบ ในวันหนึ่งท่านนั่งอยู่คนเดียวจิตของท่านก็คิดไปว่า คนเรานั้นเกิดมาทำไมถึงต้องตาย ตายแล้วจะไปไหน ทราบว่า คนเรานั้นเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดหลายภพหลายชาติ การไม่เกิดอีกไม่มีอีกหรือ ท่านให้คำตอบตนเองไม่ได้ จึงได้แต่นั่งน้ำตาซึมด้วยธรรมะสังเวชที่เกิดขึ้นภายใน ตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาเรื่องของธรรมะ จึงไม่รู้ว่าจะหาคำตอบได้ที่ไหน เมื่อเติบโตขึ้นและได้ศึกษาธรรมะจึงรู้ว่า พระนิพพานเป็นสถานที่ที่ไม่เกิดและไม่ตาย เป็นบรมสุขอย่างยิ่ง สมดังพระบาลีที่ว่า นิพพานัง ปรมังสุขขัง แปลว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งท่านมีความรู้สึกตั้งแต่ยังเป็นเด็กแล้วว่า อยากจะไปอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มันเป็นความรู้สึกลึกๆในจิต ที่คอยกระตุ้นเตือนอยู่เสมอ กาลเวลาผ่านไปท่านก็ได้ไปจำพรรษาปฎิบัติธรรมอยู่ที่ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ สมความปรารถนา

    ท่านเรียนที่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ดอนเมือง ตั้งแต่ ป.๑ - ป.๗ และ ม.ศ.๑ - ม.ศ.๓ ที่โรงเรียนลาดปลาเต้าพิทยาคม การเล่าเรียนของทางอยู่ในระด้บปานกลาง นิสัยใจคอของท่านเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง อาจเป็นเพราะว่าโยมบิดาเป็นทหาร การทำอะไรต้องอยู่ในระเบียบวินัย และต้องเคารพผู้ใหญ่ ท่านทราบดีว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องพยายามแก้ไขและต้องทำให้ได้ มันเป็นความพยายามที่ต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างยิ่ง เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นสิ่งที่ละได้ยากเป็นอย่างยิ่ง

    การเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด

    เนื่องด้วยรายจ่ายที่สูงของลูกๆในการเรียนหนังสือ โยมบิดามารดาของท่านจึงต้องหาอาชีพเสริมโดยการไปขายของที่ตลาดสะพานใหม่ดอนเมือง ตอนหลังโยมพ่อได้ลาออกจากราชการเพื่อไปขายของที่ตลาด ลูกๆทุกคนต้องช่วยกันทำ มาหาตั้งแต่ตื่นแต่เช้าประมาณ ๐๔.๐๐ น. เพื่อออกไปที่ตลาดช่วยกันขูดมะพร้าววันละหลายสิบกิโลบางวันเป็นร้อยกิโล แต่ท่านไม่ค่อยไปเท่าไหร่เพราะไม่ค่อยถนัด จึงให้น้องชาย (สมโภชน์) ออกไปช่วยโยมพ่อ จากนั้นไปเรียนหนังสือ กลับจากโรงเรียนได้ช่วยกันปอกมะพร้าว กะเทาะมะพร้าว หลายร้อยลูกต่อวัน กว่าจะเสร็จก็ประมาณ ๒๐.๐๐ น. บางครั้งก็แสนที่จะเหนื่อย แต่ก็ต้องอดทนเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว บางครั้งก็คิดเหมือนกันว่า ทำไมตนเองถึงไม่สบายเหมือนคนอื่น ได้ศึกษาภายหลังจึงทราบว่า ทุกๆคนที่เกิดมาในโลกนี้ เกิดมาตามกรรม อยู่ตามกรรม และไปตามกรรมที่เราได้กระทำไว้ คนเราทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่ว ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นอย่างแน่นอน กรรมมี ๒ อย่างคือ กุศลกรรม (การทำความดี) และ อกุศลกรรม (การทำความชั่ว) เมื่อมีกิเลส ก็มีวิบาก เมื่อมีวิบาก ก็มีกรรม เมื่อมีกรรม ก็มีกิเลส มันเป็นวิบากกรรมที่มนุษย์เกิดมาต้องรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

    การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่

    ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โยมพี่ชาย (พูลศักดิ์) ได้ลาราชการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพ เป็นเวลาประมาณ ๔ เดือนในขณะที่เป็นพระภิกษุได้มีการทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา หลังจากที่สิกขาลาเพศออกมาเป็นคฤหัสถ์แล้ว จึงได้มาสอนท่านมหานพดล (นายนพดลในขณะนั้น) ให้นั่งสมาธิภาวนา โดยการบอกให้หัดนั่งสมาธิว่า ลองนั่งดูหายใจเข้าให้บริกรรมภาวนาว่า พุธ หายใจออกบริกรรมภาวนาว่า โธ จะทำให้เรามีความสุข ในวันแรกท่านก็ไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโยมพี่ชายพูดหลายครั้ง ในวันที่ ๒ หรือวันที่ ๓ ได้ลองหัดนั่งสมาธิดู หายใจเข้าบริกรรมภาวนาว่า พุท หายใจออกบริกรรมภาวนาว่า โธ ปรากฏว่า ได้เกิดอาการปีติสุขเป็นอย่างยิ่ง ชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อนเลยในชีวิต เกิดความมหัศจรรย์ในจิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้นั่งปฏิบัติธรรมทุกวัน บางครั้งเกิดอาการตัวใหญ่มาก บางครั้งก็ตัวเล็กเท่าปลายเข็ม บางครั้งเหมือนจิตลอยขึ้นไปสู่มาก บางครั้งจิตดิ่งลงต่ำ บางครั้งเกิดแสงสว่าง ตอนนั้นไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอะไร แต่รู้ว่าเมื่อปฏิบัติแล้วผลที่ได้คือความสุข จึงได้ปฏิบัติมาตลอด ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ความใฝ่ฝันของลูกผู้ชาย

    หลังจากที่ได้ฝึกนั่งสมาธิภาวนา ทำให้การเรียนหนังสือดีขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ ได้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร สอบผ่านรอบแรกคือรอบข้อเขียน แต่สอบไม่ผ่านรอบที่สอง คือรอบสัมภาษณ์ ตรวจโรค และการออกกำลังกาย จึงได้เรียนต่อ ม.ศ.๔ ที่โรงเรียนดอนเมือง แผนกวิทยาศาสตร์ ได้สอบผ่านโดยที่พวกเพื่อนๆสอบตกกันหลายสิบคน ในปี ๒๕๑๖ สอบเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารได้ จึงได้เรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารเป็นเวลา ๒ ปี ในขณะนั้นโรงเรียนเตรียมทหารอยู่ที่บริเวณสวนลุมพินี การที่ได้เข้ามาเรียนเป็นนักเรียนทหารทำให้ท่านมีความเข้มแข็ง อดทน พร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายได้เป็นอย่างดี คำขวัญอันหนึ่งที่สอนประจำใจทหารอยู่เสมอคือคำว่า ตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร การเป็นทหารสอนให้คนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การได้ฝึกในวิชาชีพทหาร เป็นการฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย พร้อมที่จะพลีชีพเพื่อชาติ มีการทดสอบกำลังใจหลายๆอย่าง ทหารใหม่มีค่าเท่ากับศูนย์ นักเรียนบังคับบัญชารุ่นพี่ และนายทหารที่ดูแล มักจะหาเหตุให้นักเรียนมีความผิดและลงโทษอยู่เสมอ เพื่อที่จะทดสอบกำลังใจ เนื่องจากในเวลาอยู่ในสนามรบนั้น ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด ท่านมีความรักในอาชีพนี้เป็นอย่างมาก จึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียน การเรียนอยู่ในระดับปานกลาง พอที่จะเอาตัวรอดได้

    จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย

    ชีวิตมีทั้งผิดหวังและสมหวัง ไม่มีใครที่สมบูรณ์หมดทุกอย่าง นตท.นพดล หริตกุล ในขณะนั้น ก็ได้พบกับความผิดหวังบางอย่าง ในทำนองที่ว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน ในความไม่สมหวังในครั้งนั้น ทำให้หันเหชีวิตที่ต้องเฝ้าดูจิตตัวเองอยู่เสมอ พยายามสำรวจตนเองว่าเราบกพร่องอะไร ควรแก้ไขอย่างไรสำหรับชีวิตที่ดีขึ้น แม้จะชอบนั่งสมาธิภาวนา แต่ก็ยังไม่มีครูบาอาจารย์ที่คอยสั่งสอน ไม่ค่อยมีหนังสือธรรมะให้อ่านและศึกษา แม้จะฝึกความเป็นผู้นำมา แต่ก็ไม่มีความมั่นใจในตนเอง อาจจะเป็นเพราะฐานะทางครอบครัวที่ต้องประหยัดในการใช้จ่าย จึงไม่ค่อยไปเที่ยวที่ไหนมากนัก การเดินทางไปโรงเรียนเตรียมทหารในสมัยนั้นค่อนข้างจะลำบาก เพราะต้องตื่นตั้งแต่ ๐๔.๐๐ น. รับประทานอาหารที่โยมแม่ลออ ทำค้างคืนไว้เมื่อคืน จากนั้นก็เดินออกมาปากทางพหลโยธิน ๕๖ แล้วไปรอขึ้นรถขนส่งทหารอากาศไปที่โรงเรียนเตรียมทหารสวนลุมพินี หลังจากเลิกเรียนก็นั่งรถขนส่งทหารอากาศกลับไปที่บ้าน กว่าจะถึงบ้านประมาณ ๒๐.๐๐ น. ถึงบ้านแล้วรับประทานอาหาร ทำการบ้านนั่งสมาธิถึงเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น.จึงพักผ่อนหลับนอนเป็นเช่นนี้เกือบทุกวัน การนั่งสมาธิใช้เวลานั่งประมาณ ๑ ชั่วโมง แต่มีความรู้สึกเหมือนนั่งประมาณ ๕ - ๑๐ นาที่ เพราะมีความสุขในการปฏิบัติ

    หลังจากที่เรียนสำเร็จโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว จึงได้เรียนต่อที่โรงเรียนนายเรืออากาศ นนอ.นพดล มีความขยันหมั่นเพียรในการเรียนเป็นอย่างดี ในปีแรกที่เข้าอยู่โรงเรียนประจำที่โรงเรียนนายเรืออากาศ เป็นนักเรียนใหม่คุณค่าของนักเรียนใหม่มีค่าเท่ากับศูนย์ ต้องฝึกกันอย่างหนักทั้งกลางวันและกลางคืน เวลาออกนอกอาคารเรียนห้ามเดิน ต้องวิ่งไป เวลาจะผ่านนักเรียนรุ่นพี่หรือนายทหารปกครองต้องทำความเคารพและรายงานขออนุญาตผ่าน เป็นชีวิตที่ต้องอดทน สำหรับ นนอ.นพดลนั้น เห็นว่าไมใช่เรื่องลำบากอะไร โยมพี่ชายคนถัดไปของท่านคือ น.อ.อภิพจน์ฯ สมัยที่เป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นนักเรียนประจำอยู่ที่โรงเรียน เพื่อนๆ บางคนที่เข้ามาด้วยกัน เคยอยู่ทางบ้านด้วยความสุขสบาย เมื่อมาอยู่เป็นนักเรียนประจำ มีความทุกข์ลำบากใจมาก ร้องไห้อยากจะกลับบ้าน ส่วนโยมพี่ชายคิดในใจว่า ตนเองไม่อยากกลับบ้านเลย เพราะกลับไปบ้านต้องไปกะเทาะมะพร้าวขูดมะพร้าว หนักยิ่งกว่าอยู่โรงเรียน หลายเท่า นี่แหละความลำบากสอนคนให้เป็นคนดี ถ้ารู้จักคิดและนำสิ่งที่ดีมาใช้ คนส่วนมากที่รักลูกบำรุงบำเรอให้ลูกมีความสุขสบาย ตามใจทุกอย่าง สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกเสียคนในอนาคตก็เป็นไปได้

    ขอยกตัวอย่างโยมสามีภรรยาคู่หนึ่ง มีลูกชาย ๑ คน ลูกสาว ๑ คน กำลังเรียนหนังสืออยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่ง ในบรรดาลูกสองคนนั้น ลูกสาว ไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ ชอบคบเพื่อนกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก ว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อ โยมทั้งสองมีความทุกข์ใจมาก จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรดี โยมทั้งสองเห็นลูกสาวของคนข้างบ้านที่พ่อแม่ตามใจ สุดท้ายไปไหนไม่ได้ต้องกลับมาอยู่กับครอบครัว แต่ยังมีนิสัยที่ไม่ดีอยู่ บางครั้งชอบพูดจาไม่เคารพพ่อแม่ผู้มีอุปการคุณ โยมทั้งสองคิดว่าถ้าเราตามใจลูกในตอนนี้ อนาคตลูกเราอาจจะเป็นเหมือนคนข้างบ้านนี้ก็ได้ จึงตัดสินใจว่าจะไม่ช่วยลูกสาวของตนอีกต่อไป ดังนั้นจึงยื่นคำขาดกับลูกสาวให้กระตามที่ตนปรารถนา โดยการย้ายที่เรียนและประพฤติตนให้ดีขึ้น แต่ลูกสาวไม่กระทำตาม จึงได้ไม่ส่งเงินให้ใช้และตัดความช่วยเหลือทุกอย่าง โดยคิดว่าเราทุกข์ใจตอนนี้ลูกอาจจะสำนึกตัวกลับเป็นคนดี ดีกว่าต้องมาทุกข์ในภายหลัง เหมือนกับคนข้างบ้าน ระยะเวลาผ่านล่วงเลยไป (ประมาณ ๑๐ ปี) เมือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบโยมทั้งสอง ได้สอบถามถึงลูกสาวคนดังกล่าว ผู้เป็นแม่พูดด้วยความภาคภูมิใจในลูกของตน ว่าลูกสาวทำงานอยู่กรุงเทพ ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเป็นครั้งคราว ตอนนี้มีงานทำที่มั่นคงดี นี่แหละผู้มีปัญญาที่รักลูกอย่างถูกวิธี ใช้อุบายต่างๆแก้ไขให้ลูกกลับเป็นคนดีในสังคมขึ้นมาได้นับเป็นบุคคลที่สมควรเป็นเยี่ยงอย่างในทางที่ดี ไม่ใช่รักลูกแบบไม่ใช้ปัญญา สุดท้ายก็มาทุกข์ทั้งกายและใจในภายหลัง

    สมัยที่ นนอ.นพดล เป็นนักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ ๑ ได้มีโอกาสไปฝึกภาคสนามร่วมกับรุ่นพี่ชั้นปีที่ ๒ และ ๓ ในเรื่องของการเดินป่าโดยใช้แผนที่เข็มทิศ การซ้อมรบในรูปแบบต่างๆ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ชีวิตของนักเรียนทหารต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างหนัก ความเป็นอิสระย่อมไม่มีเหมือนบุคคลทั่วไป จะทำอะไรจะเอาตั่งใจตนเองไม่ได้ บางคนที่ไม่ชอบในวิชาชีพนี้ต้องลาออกในระหว่างการเรียนก็มี นนอ.นพดล ได้ฝึกซ้อมกับรุ่นพี่ และคงจะมีไม่กี่คนที่ชอบการอยู่ป่า ยิ่งคนที่อยู่ในกรุงเทพ คงจะไม่ชินกับป่าเขาลำเนาไพรเท่าไหร่นัก ทางที่ดีที่สุดคือต้องพยายามทำใจให้ชื่นชอบในสิ่งเหล่านั้น นนอ.นพดล มีหน้าที่เป็นพลวิทยุ มีหน้าที่แบกวิทยุสื่อสาร ซึ่งวิทยุสมัยนั้นน้ำหนักน่าจะไม่ต่ำกว่า ๓๐ กิโลกรัม อาศัยที่ท่านเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ จึงถูกเลือกให้ทำหน้าที่ดังกล่าว นี่แหละชีวิตของมนุษย์ที่เกิดมา ย่อมมีสุขและทุกข์คละเคล้ากันไป จงทำใจให้สบายและพร้อมที่จะรับกับปัญหาชีวิตที่จะเกิดขึ้นกับเราอยู่เสมอ มีสติแม้มีภัยก็สามารถพ้นจากภัยทั้งหลายได้เพราะสติปัญญาของเรานี่แหละ

    อาหารที่อร่อยที่สุด

    ท่านจำได้ว่า ในช่วงระยะสุดท้ายของการฝึก เป็นการฝึกใช้เวลา ๗๒ ชั่วโมง หรือ ๓ วัน เป็นการฝึกอย่างหนัก ฝึกซ้อมรบกันทั้งวันทั้งคืน อาหารก็ให้วันละเล็กน้อย ประมาณ ๑ ซองเล็กๆ มันเป็นการฝึกที่ทรมาน เพราะตั้งแต่ท่านเกิดมาไม่เคยอดอาหารถึงขนาดนี้ ท่านจำได้ว่าในเย็นวันนั้นท่านและเพื่อนๆหิวอาหารกันอย่างมาก อาหารทีให้มาก็เล็กน้อย ปวดแสบปวดท้องไปหมด เพื่อนๆ จึงได้ชวนกันไปเอากล้วยของชาวบ้านมากินประทังความหิว เมื่อไปที่สวนกล้วย หากล้วยสุกไม่ได้ ได้แต่กล้วยดิบ จึงได้นำกล้วยดิบนั้นมาต้มกับน้ำร้อน แล้วนำไปจิ้มกับเกลือกิน นับเป็นอาหารมื้อที่อร่อยที่สุดในชีวิต ไม่เคยกินอาหารที่อร่อยอย่างนี้มาก่อนเลย คิดในใจว่ากลับไปบ้านจะหากล้วยกินมากๆให้สมกับความอยากที่ได้ประสบมา แต่พอกลับไปกรุงเทพสิ่งเหล่านี้ก็เลื่อนหายไป เพราะความอร่อยนั้นคงจะอยู่ที่ความหิวอย่างแน่นอน

    ดูนิสัยคนต้องดูในยามเมื่อมีภัย

    การฝึกซ้อมที่ต้องใช้ความอดทนทั้งทางร่างกายและจิตใจ การฝึกที่หนักทำให้เห็นธาตุแท้ของคน ใครมีนิสัยเช่นไรธาตุแท้มันจะปรากฏออกมาให้เห็นในตอนนั้นแหละ ฉะนั้นการดูนิสัยใจคอที่แท้จริงต้องดูในยามทุกข์ยาก ถ้าเราทำอะไรอย่างผู้มีสติ เมื่อมีภัยมาย่อมพ้นอุปสรรคไปได้ เพราะอาศัยธรรมที่เราฝึกมาดีแล้ว นนอ.นพดล ก็เช่นกันท่านพยายามรักษาสติ ดูรอบข้างด้วยความเป็นจริง ไม่ท้อถอยในอุปสรรคที่กำลังเกิดเฉพาะหน้านั้น เห็นแล้วทำให้ปลงสังเวชในสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก รู้แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็วาง ชีวิตก็จะมีความสุขเป็นความสุขอันเกิดจากการปล่อยวาง

    ครูบาอาจารย์ที่ท่านกว่าจะมาเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายได้ ท่านต้องฟันฝ่าอุปสรรคมานานัปการ บางท่านก็เสียชีวิตอยู่ในป่าในดงก็มีมาก ฉะนั้นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นธรรมที่อยู่ฝากความตาย ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ตายไปนี่แหละคือความเด็ดเดี่ยวของผู้ใฝ่ธรรมที่มุ่งหวังความพ้นทุกข์ทั้งหลาย

    ธรรมเป็นที่พึ่งเมื่อมีภัย

    การฝึก ๗๒ ชั่วโมง นนอ.นพดล รู้สึกหิวและอ่อนเพลียเป็นอย่างมาก ในค่ำคืนวันหนึ่ง ได้มีการฝึกซ้อมรบในเวลากลางคืน ท่านจำได้ว่าท่านทั้งหิวและอ่อนเพลียเป็นอย่างมาก เดินไปบนรางรถไฟกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เกิดความทุกข์เพราะร่างกายที่อ่อนเพลียอยู่นั้น ท่านมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาในจิตว่า ร่างกายนี้มันไม่ใช่ของๆ เรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้สักแต่ว่าธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมกัน ท่านเดินไปก็คิดไป แม้ร่างกายจะเหนื่อยยากสักปานใด แต่จิตใจก็สบายอย่างบอกไม่ถูก มันเป็นความสุขในความทุกข์ ทุกข์เพราะร่างกายที่ฝึกมาอย่างหนัก สุขเพราะรู้จักการปล่อยวาง พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสั่งสอนไว้ว่า การปล่อยวางนั่นแหละเป็นบรมสุขอย่างยิ่ง แต่ต้องปล่อยด้วยสติปัญญา ปล่อยวางอย่างผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าไม่มีพื้นฐานเหล่านี้ การปล่อยวางย่อมปล่อยวางอย่างผู้ไม่มีหลัก ถ้าปล่อยวางไม่ถูกย่อมสร้างความทุกข์ให้ทั้งตนเองและบุคคลอื่นได้เช่นกัน

    หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกภาคสนาม ได้มีการจัดเลี้ยงในคืนวันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับโรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง มีอาหารคาวหวานพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง ความหิวโหยที่เคยได้รับได้หมดสิ้นไป จะให้กลับไปกินกล้วยดิบต้มกับเกลือคงจะไม่เอาอีก คนเราจะเห็นคุณค่าของอาหารก็ต่อเมื่อเกิดความหิว มีสุภาษิตคำสอนที่ครูบาอาจารย์ได้สั่งสอนไว้ว่า “อิ่มอย่าลืมอยาก ปากอย่าลืมใจ ไปอย่าลืมทาง ” หมายความว่า เมื่อเริ่มมีอาหารสมบูรณ์ อย่าไปลืมความอยากที่เราเคยได้รับจะได้ไม่หลงลืมตัว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นสร้างความดีทำความดี

    ตลอดระยะเวลา ๕ ปี ที่อยู่ในโรงเรียนนายเรืออากาศ นับว่าเป็นชีวิตที่มีค่าของลูกผู้ชาย ที่จะอบรมบ่มนิสัยตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดี ในปีที่ ๑ ของการเรียนหลังจากจบการเรียน มีนักเรียนนายเรืออากาศปี่ที่ ๑ สอบตกซ้ำชั้น ๓๐ คน ในจำนวนนี้มี ๗ คน ที่ตกซ้ำชั้น ๒ ปีซ้อน ต้องถูกออกจากความเป็นนักเรียน การเรียนนับว่ายากพอสมควร ปีหนึ่งๆมีนักเรียนสอบตกกันเป็นจำนวนมาก แต่นนอ.นพดล การเรียนพอที่จะเอาตัวรอดได้ สามารถสอบผ่านได้ทุกวิชา ถึงแม้จะไม่ดีเหมือนเพื่อนๆที่เรียนเก่ง แต่ก็ไม่แย่จนเกินไป

    โดยปกติแล้ว นนอ.นพดล จะปฏิบัติสมาธิภาวนาทุกๆวัน วันละประมาณ ๑ ชั่วโมง แต่เมื่อเข้ามาอยู่เป็นนักเรียนประจำ ได้ห่างเหินการปฏิบัติไปทั้งนี้เพราะการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆเป็นจำนวนมาก จึงได้ห่างการปฏิบัติไปประมาณ ๒ ปี

    เมื่อเป็นนักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ ๓ ได้หวนกลับมาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง โดยการศึกษาจากครูบาอาจารย์หลายองค์ โดยส่วนตัวของท่านแล้วไม่ค่อยยึดติดกันครูบาอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง ศึกษาในแต่ละที่แล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ ได้เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่หลุย หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ซามา ที่บ้านของพลอากาศเอกพะโยม เย็นสุดใจ ไปปฏิบัติธรรมในแนวสัมมาอรหังของหลวงพ่อสด ปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง

    ปีพ.ศ. ๒๕๒๒ เดือนตุลาคม ได้มีโอกาสไปวัดหน่องป่าพง จ.อุบลราชธานี ได้เดินทางไปกับ นนอ.อรณพ เมนะรุจิ (ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๒ ยศ นาวาอากาศเอก) ได้ไปพักอยู่ที่วัดหนองป่าพงประมาณ ๒-๓ วัน ในค่ำคืนวันหนึ่ง นนอ.นพดล มีจิตศรัทธาปฏิบัติธรรมตลอดทั้งคืนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้นเหมือนกับว่าหลวงพ่อชาท่านส่งจิตมาดูอยู่ตลอดเวลา ตอนเช้าได้มีโอกาสไปกราบหลวงพ่อชาอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้เมตตาแสดงธรรมประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังจากจบการฟังธรรมได้เข้าไปกราบท่านที่เท้า ท่านได้เมตตาลูบที่ศีรษะพร้อมกับพูดว่า “นิพพานนะ” เกิดอาการปิติใจเป็นอย่างยิ่ง

    เหตุการณ์สมัยเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ มีเพื่อนนักเรียนคนหนึ่ง (ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) ชอบพูดจาหาเรื่อง นนอ.นพดล อยู่เสมอ แต่ท่านได้ทำจิตเสมอว่า ไม่มีเพื่อนคนนี้อยู่ในที่นั้นเลย ไม่ว่าเขาจะกล่าวในสิ่งใดๆ ท่านจะไม่สนใจในคำพูดของเขาเลย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ท่านได้เป็นประธานชมรมพุทธศาสน์ของนักเรียนนายเรืออากาศ วันหนึ่ง เพื่อนคนนี้ได้เข้ามาหาท่านแล้วบอกว่า ขอเข้าเป็นสมาชิกของชมรมด้วย ท่านก็มีความยินดีและได้พูดคุยกันต่างๆ นาๆ ในที่สุดได้สอบถามว่า การที่ชอบพูดว่าเสียดสีที่ผ่านมาแล้วมีความรู้สึกเช่นไร เพื่อนคนนี้บอกว่าเป็นทุกข์ใจมาก ยิ่งไม่ตอบโต้มากเพียงไรเขาก็ทุกข์ใจมากเพียงนั้น จะเห็นได้ว่าธรรมชาติของจิตที่คิดประทุษร้ายบุคคลอื่น เป็นธรรมชาตินำมาซึ่งความทุกข์ ยิ่งผู้ที่ถูกทำร้ายไม่สนใจและปล่อยวางได้ ผู้ชอบประทุษร้ายย่อมมีทุกข์มากหลายเท่านัก ดังนั้นการมีสติและปล่อยวางได้ ย่อมนำความสุขที่แท้จริงได้มาให้ผู้นั้น

    ในปีพ.ศ. ๒๕๒๒ นี้ได้มีโอกาสพบกับหลวงพ่อครูบาวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน ครั้งแรกที่พบครูบาวงศ์มีความรู้สึกรักและเคารพท่านเป็นอย่างมาก เหมือนพ่อกับลูกที่จากกันไปนานแสนนาน และคิดว่า ถ้ามีโอกาสได้อุปสมบทจะขอไปอยู่กับท่าน ก่อนเข้าพรรษาได้มีโอกาสเดินทางไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ในตอนนั้นวัดพระพุทธบาทห้วยต้มเป็นวัดที่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีชาวกะเหรี่ยงมาอยู่หลายพันคน หลวงพ่อครูบาวงศ์ได้พาไปวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ต.โปงทุ่ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ในขณะนั้นมีพระชาวต่างชาติมาอยู่ปฏิบัติธรรม ได้เดินดูสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในวัด เช่น รอยพระพุทธบาท ก้อนหินที่พระพุทธองค์เคยเสด็จมาพระประทับไสยาสน์ (นอน) ที่พระฤษีนิพพาน ฯ หลวงพ่อได้พูดกับ นนอ.นพดล ว่า ถ้าบวชให้มาธุดงค์ที่สถานที่แห่งนี้นะ ในปีนั้นได้พาครูบาอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศ ไปทอดกฐินที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้น แต่ตัวของ นนอ.นพดล ไม่สามารถร่วมเดินทางไปได้ ทั้งนี้เพราะได้ป่วยเป็นโรคไทฟอยอยู่ประมาณ ๑ เดือน

    เมื่อได้พบหลวงพ่อครูบาวงศ์ จึงคิดว่า ตนเองได้พบครูบาอาจารย์ที่ถูกจริตนิสัยของตนเอง จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ช่วยกิจการงานพระศาสนาเท่าที่จะช่วยได้ หลวงพ่อท่านมีอุบายในการสั่งสอนที่แยบคาย ท่านจะไม่สอนตรงๆเพราะบางคนอาจจะรับไม่ได้ แต่ท่านจะมีอุบายธรรมสอนต่างๆ นาๆ บางครั้งก็ยกนิทานชาดกมาเล่าให้ฟัง ได้ฟังแล้วก็นำมาสอนตนเอง ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น

    รับราชการ

    พ.ศ. ๒๕๒๓ นนอ.นพดล ได้รบราชการมียศเรือกาศตรี รับราชการที่กรมช่างโยธาทหารอากาศ ในตำแหน่งนายทหารแผนกจัด และต่อมาได้รับเป็นนายทหารคนสนิท (ทส) เจ้ากรมช่างยาทหารอากาศ ร.ต. นพดล ได้ฝึกฝนในการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยการนั่งสมาธิภาวนาเช้าและเย็นครั้งละประมาณ ๑ ชั่วโมง ได้รับความสงบสุขในการปฏิบัติพอสมควร เพราะทำที่บุคคลผู้ประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้

    ร.ต.นพดล ท่านได้เข้าหาครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ว่าจะเป็นพระฝ่ายมหานิกายหรือธรรมยุต เพราะถือว่ามีธรรมวินัยอันเดียวกัน ส่วนความเคร่งครัดนั้นแล้วแต่ว่าใครจะชอบปฏิบัติเช่นไร คนเราเคยทำกรรมร่วมกับใครมา เมื่อถึงเวลาก็จะได้มาพบกันและเกื้อกูลกัน ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงกันได้เลย ดังนั้นการตั้งตนไว้โดยชอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จงมีสติอยู่กับปัจจุบันแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดีเอง

    สมัยที่รับราชการท่านทำงานด้วยความตั้งใจจริง ทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ในระหว่างที่ทำงานอยู่นั้น เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศในขณะนั้น คือ พลอากาศตรีอาทร โรจนวิภาต ท่านได้แต่งตั้งให้ ร.ต.นพดล เป็นนายทหารคนสนิทอีกตำแหน่งหนึ่ง ท่านบอกในภายหลังว่า อยากให้เป็นเกียรติประวัติในชีวิตราชการ

    ชีวิตทางโลกดูเหมือนจะประสบความสำเร็จพอสมควร มีเงินเดือน มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่จะรุ่งเรืองไปในอนาคต แต่ท่านก็ยังใฝ่ฝันที่จะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา โดยความคิดนี้มีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนนายเรือกากาศชั้นปีที่ ๓ เมื่อรับราชการก็ยังมีความเพียรในการปฏิบัติธรรม เมื่อมีการปฏิบัติมากๆ ทำให้ในเวลาเย็นไม่สามารถรับประทานอาหารได้ เพราะเมื่อทานเข้าไปแล้ว ทำให้อึดอัดแน่นท้อง เวลาภาวนาร่างกายจะไม่สบาย จึงได้งดอาหารเย็นตั้งแต่นั้นมา

    บุคคลใดเมื่อทำสมาธิภาวนามากๆ แล้วจะสังเกตเห็นว่า ลมหายใจจะเบาบางครั้งแทบไม่มีลมหายใจ คนปรกติที่ไม่มีสมาธิลมหายใจจะแรง ยิ่งผู้ที่มีความหงุดหงิดไม่สบายกายไม่สบายใจ ลมหายใจจะแรงกว่าคนที่มีอารมณ์ปรกติ เมื่อมีลมหายใจเบาทำให้ออกซิเจนในร่างกายลดน้อยลง พลังงานในร่างกายจึงใช้ไม่มาก ทำให้มีความต้องการอาหารลดน้อยลง ร.ต.นพดล เมื่อปฏิบัติมากยิ่งขึ้นทำให้ความต้องการลดน้อยลงอีก ในภายหลังจึงลดอาหารเหลือเพียงวันละ ๑ มื้อในตอนเช้าเท่านั้น

    เมื่อรับราชการได้ ๑ ปีผ่านไป ในช่วงก่อนเข้าพรรษาไม่นานนัก ท่านมีความรู้สึกอยากอุปสมบทเป็นพระภิกษุเป็นอย่างยิ่ง เสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่รู้สึกมีกลิ่นเหม็นและมีความรังเกียจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ขออนุญาต เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ (พลอากาศตรีอาทร โรจนวิภาต) ท่านมีความเมตตาอนุญาตให้บวชในปีนั้น

    ก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงได้เข้าอุปสมบทที่วัดโพสพผลเจริญ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมีพระครุวิเศษภัทรกิจเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชได้ ๓ วัน จึงได้เดินทางไปจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน อยู่ปฏิบัติธรรมและรับใช้ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ผู้เป็นครุบาอาจารย์ท่านมีความเคารพสูงสุด

    วัดพระพุทธบาทห้วยต้มสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า ชาวกะเหรี่ยงได้ย้ายมาอยู่กับครูบาวงศ์เป็นจำนวนมาก พวกเขามีความเคารพศรัทธาเลื่อมใสในองค์ท่านเป็นอย่างมาก ครูบาวงศ์ได้สั่งสอนให้พวกเขาถือศีลกินอาหารมังสวิรัติ พระนพดลท่านเป็นคนกรุงเทพเมื่อได้มาอยู่ในสถานที่เช่นนี้ ต้องพยายามทำตนเองให้เข้ากับสถานที่ แต่ความศรัทธามุ่งมั่นในพระพุทธศาสนา จึงมีความอดทนพยายามประพฤติปฏับัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ ธรรมะที่ได้รับมาจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่มากมายไปหมด บางครั้งมีความสับสนในการปฏิบัติ ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรดี ได้ทำตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอน จิตใจมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติธรรมให้พ้นวัฏฏสงสารในชาติปัจจุบันนี้

    ในพรรษาที่ได้อุปสมบท มีความคิดที่จะลาออกจากราชการ เพราะมีความเชื่อมั่นว่าหนทางนี้เป็นหนทางที่ดีที่สุด ก่อนที่จะลาออกจากราชการได้มีโอกาสพูดคุยกับโยมแม่ลออ ได้สอบถามท่านว่าถ้าอาตมาจะลาออกจากราชการโยมแม่จะว่าอะไรไหม โยมแม่นิ่งไปสักพักหนึ่งก่อนที่จะพูดว่า “ลูกแม่ที่ทำตั่วไม่ดี แม่ยังว่าไม่ได้ ถ้าลูกแม่ทำดีแม่ก็บาปซิ” คำพูดของท่านยังซาบซึ้งฝังใจจนมาถึงปัจจุบันนี้

    หลังที่รับกฐินที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และหลวงพ่อครูบาวงศ์ได้จัดจัดพิธีตานใช้ตานแทน (พิธีชำระหนี้สงฆ์) บิดาของพระอาจารย์นพดล (เรืออากาศเอดภู หริตกุล) ได้เสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๖๙ ปี ในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ พระอาจารย์นพดล จึงได้ลาออกจากราชการในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ในปีนั้นท่านเจ้ากรมช่างโยธาได้ให้ขั้นเงินเดือน ๒ ขั้น จึงได้เลื่อนยศเป็นเรืออากาศโท ในขณะที่รับราชการได้ ๒ ปี คนทางโลกอาจจะเห็นว่า ไม่น่าออกมาบวชเลย เพราะชีวิตกำลังเจริญรุ่งเรือง แต่ในความคิดของพระอาจารย์นพดลนั้น ท่านมีแต่ความรังเกียจในเพศฆราวาส หลวงครูบาวงศ์ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า การที่ได้บวชในชาตินี้นั้น เป็นเพราะได้อธิษฐานมาหลายภพต่อหลายชาติแล้ว ในทุกๆ ชาติกว่าจะได้บวชเมื่อมีอายุประมาณ ๖๐ ปี มีชาตินี้แหละที่บวชเข้ามาได้เร็วสมความปรารถนา

    ในขณะที่ได้ปฏิบัติอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มนั้น หลวงพ่อครูบาวงค์ท่านมีความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง ท่านจะพาไปยังสถานที่ต่างๆ ท่านคอยเมตตาสั่งสอนในเรื่องต่างๆ หลวงพ่อครุบาวงค์ได้ชมพระอาจารย์นพดลว่า “มีความฉลาดเหมือนพระมหากัจจายนะในสมัยพุทธกาล” เมื่อมีโอกาสพระอาจารย์นพดลได้สอบถามท่านว่า ทำไมตนเองจึงมีความฉลาดเช่นนั้น หลวงพ่อท่านเมตตาเล่าให้ฟัง พระมหากัจจายะนั้น เมื่อท่านได้ยินได้รับฟังสิ่งใด ท่านจะไม่ค่อยสอบถามใคร ท่านจะนำปัญหาต่างๆ มาขบคิดด้วยปัญญาของตนเอง ซึ่งตรงกับจริตนิสัยของพระอาจารย์นพดลนั่นเอง

    หลังจากที่ได้จำพรรษาได้ ๒ พรรษาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พระอาจารย์นพดลและพระอาจารย์สุพจน์ ได้ออกเดินด้วยทางจากวัด มุ่งตรงไปวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๗ วันจึงได้ไปถึง พระอาจารย์นพดลนั้นมีความทุกข์ใจเป็นอย่างมากในระหว่างการเดินทาง เพราะตนเองถอดรองเท้าเดินเหมือนกับพระอาจารย์สุพจน์ ฝ่าเท้าเริ่มแตกทั้งสองข้าง ต้องใช้ฝ้าพันที่เท้าเดินไปด้วยความทรมาน เมื่อไปถึงที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างไม่มีใครอยู่ วันรุ่งขึ้นได้ไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านแม่ตูบ เมื่อได้อาหารกลับมาถึงวัด เห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นรู้สึกเหนื่อยหน่ายและท้อแท้ใจ จึงไม่ฉันภัตตาหารนับตั้งแต่วันนั้นเป็นเวลา ๘ วัน (ฉันเฉพาะน้ำเปล่า) รู้สึกว่ากายและใจมีความสุขสบายเป็นอย่างดี

    ในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะนั้น ตนเองได้พิจารณาข้ออรรถข้อตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจากครูบาอาจารย์ทั้งหลาย คิดพิจารณาโดยใช้สัญญาได้แก่ความจำได้หมายรู้เป็นหลักในใจ วันหนึ่งในตอนเช้าความคิดพิจารณามีความแจ่มใสเป็นอย่างดี คิดอะไรก็แตกฉานไปหมด แต่พอตกตอนเย็น ความความเบาสบายใจได้หายไป มีแต่ความหนักอกหนักใจไม่อยากอยู่ในเพศฆราวาส ความคิดนี้ได้เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาที่ จึงได้มีสติคิดดูว่า ตนเองทำไมจึงคิดเช่นนี้ ตอนเช้าและเย็นมีความคิดที่ไม่เหมือนกันเลย ได้พิจารณาดูจึงรู้ว่าตนเองติดธรรมะในครูบาอาจารย์และในตำราต่างๆ ดังนั้นจึงได้วางตำราทั้งหมดไม่เอามาคิดพิจารณาในขณะปฏิบัติ พิจารณากายกับใจของตนเอง เห็นความเกิดขึ้นและความเปลี่ยนแปลงของจิตใจอยู่ตลอดเวลา เฝ้าดูรู้ด้วยความเป็นกลางและเป็นการปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

    การเฝ้าดูรู้กายใจของตนเองอยู่เสมนั้น เป็นการทำจิตของตนเองเข้าสู่ความเป็นกลาง ธรรมะเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่มีความปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น การที่จะรู้ธรรมะนั้นต้องทำใจของเราให้เป็นกลาง การทำเช่นนี้โดยการที่ได้ศึกษาให้รู้ในหลักการที่มีอยู่ในตำราต่างๆ แล้วเฝ้าดูเฝ้ารู้กายและใจของตนเองอยู่เสมอด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้าไปปรุงแต่งสิ่งใด ๆทั้งสิ้น เมื่อรู้เฉยๆโดยมีศีล สมาธิและปัญญาเป็นพื้นฐาน ธรรมนั่นแหละจะผุดขึ้นมาในใจของเรา เมื่อถึงเหตุและปัจจัยอันเหมาะสม พระนพดล จำได้ว่า เมื่อขณะที่เฝ้าดูเฝ้ารู้กายของตนเองนั้น มีความคิดผุดขึ้นมาในจิตว่า “เกิดมาต้องตาย” จึงได้ใช้ความคิดที่ผุดขึ้นมานั้นเป็นอารมณ์ โดยท่องในใจว่าเกิดมาต้องตาย เกิดมาต้องตาย อยู่ตลอดเวลา แล้วความรู้สึกนึกคิดอีกอย่างหนึ่งได้ผุดขึ้นมาอีกว่า “ตัวเราไม่ใช่ของเรา” จึงได้ใช้คำบริกรรมสองอย่างนี้ควบคู่กันไป ได้ฝึกดูกายดูจิตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อได้มีโอกาสอ่านคำสอนและวิธีปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปรากฏว่าท่านได้สั่งสอนการปฏิบัติธรรมในทำนองเช่นนี้เหมือนกัน

    ก่อนเข้าพรรษาปี ๒๕๒๖ ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ได้ขอบารมีท่านว่าตนเองพรรษาเพิ่งได้เพียง ๒ พรรษา ต้องมาปกครองดูแลที่วัดขอบารมีหลวงปู่ให้ช่วยด้วย ท่านพูดด้วยความเมตตาว่า “อายุพรรษายังน้อย อยากเป็นตุ๊หลวง (เจ้าอาวาส)” แล้วท่านได้หัวเราะด้วยความเมตตา ท่านได้พูดให้กำลังใจอีกว่า “แล้วจะไปหาทุกคืนๆนะ” เมื่อได้ฟังเช่นนี้พระนพดลรู้สึกมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

    ในปีพ.ศ. ๒๕๒๗ พระอาจารย์นพดลได้ปฏิบัติธรรมตามแนวที่ตนเองถนัด (การดูกายดูจิต) เพราะรู้สึกว่าทำแล้วจิตใจสบายดี ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป ในวันหนึ่งได้นั่งดูกายดูจิตของตนเองในป่าหน้าที่พักของตน ซึ่งห่างจากด้านหน้าวัดประมาณ ๖๐๐ เมตร ก่อนหน้านั้นประมาณ ๓ วัน กายและใจของพระอาจารย์นพดลมีความสบายอย่างบอกไม่ถูก ในขณะนั้นมีความรุ้สึกที่แปลกเกิดขึ้นในจิต ในขณะที่กำลังนั่งชันเข่าอยู่บนก้อนหิน มือทั้งสองรวบหัวเข่าไว้ มีทั้งแสงสว่างทั้งความรุ้ต่างๆ เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนไม่สามารถที่จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ แม้กาลล่วงเลยมาหลายสิบปีก็ยังจำอารมณ์นี้ได้ไม่ลืมเลือน ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระปัญจวัคคีทั้งห้า ในครั้งที่พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร พระองค์ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายย่อมดับไปเป็นธรรมดา อัญญาโกญฑัญญะเธอได้รู้ธรรมแล้วหนอ”

    ภายหลังได้มีโอกาสเขียนบทกลอนขึ้นมาบทหนึ่ง เพื่อระลึกถึงวันดังกล่าวนี้ที่เกิดขึ้นในขณะจิตหนึ่งนั้นว่า

    หนึ่งขณะบังเกิดระเบิดลั่น หนึ่งขณะฝ่าฟันสะท้านจิต
    หนึ่งขณะเฝ้าดูเฝ้ารู้คิด หนึ่งชีวิตเกิดใหม่ในใจตน
    จิตเห็นจิตในจิตจิตรู้จิต จิตเฝ้าคิดเฝ้าดูรู้เหตุผล
    จิตในจิดเห็นได้ในตัวตน จิตสุขล้นเห็นไตรลักษณ์ประจักษ์จริง

    สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่สามารถเกิดได้กับทุกคน ในหนึ่งขณะจิตเดียวในปัจจุบันนั้น เกิดทั้งแสงสว่าง เกิดทั้งเสียงที่ดังกึกก้อง (ในจิต) เกิดทั้งตัวรู้ เกิดทั้งความเปลี่ยนแปลง เกิดทั้งชีวิตใหม่ เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปเพร้อมๆ กัน ไม่ก่อนไม่หลัง ผลสุดท้ายคือความสุขความสงบ ไม่ว่าจะ ยืนเดิน นั่ง นอน จิตใจนั้นมีความสุข เป็นความสุขอันเกิดจากการปล่อยวาง ความสุขอันเกิดจากความไม่ยืดมั่นถือมั่น เพราะธรรมชาติของจิตที่ปล่อยวาง เป็นสิ่งนำมาซึ่งความสุขอย่างยิ่ง เมื่อปฏิบัติได้ประสบกับสิ่งเหล่านี้เราจึงเชื่อและศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ขอฝากให้ผู้รู้ทั้งหลายจงพิจารณาดูเถิด

    ในปีพ.ศ. ๒๕๒๗ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ครูบาพรหมจักร ได้มรณภาพในวัยที่มีอายุได้ ๘๗ ปี ได้สร้างความเสียใจให้กับคณะศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ในวันทำบุญ ๑๐๐ วันหลังจากท่านได้มรณภาพไป พระนพดลได้มีโอกาสไปร่วมทำบุญด้วย ในวันนั้นได้มีโอกาสได้ไปกราบครูบาหล้าวัดป่าตึง และได้มีโอกาสสนทนากับท่านเป็นครั้งแรก ท่านได้มองมาที่พระอาจารย์นพดล ประโยคแรกที่ท่านได้กล่าวคือ “ปฏิบัติธรรมดีแล้ว ละกามให้ได้นะ” พระอาจารย์นพดลได้น้อมรับด้วยความเคารพยิ่ง

    ครั้งหนึ่งโยมทางกรุงเทพฝันว่า พระอาจารย์นพดลได้ลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ โยมคนนี้ได้กราบเรียนให้ครูบาวงศ์ทราบ หลวงพ่อครูบาวงศ์ได้พูดว่า “พระท่านได้สิ่งที่ดีในจิตแล้ว ต่อไปจะเป็นครูบาอาจารย์ สั่งสอนพวกเรา”

    ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ท่านได้สอบถามธรรมกับพระอาจารย์นพดล เมื่อท่านได้ฟังท่านอุทานออกมาว่า “รู้ธรรมแล้วนี่” ที่ว่ารู้นั้นรู้อะไรจงพิจารณาดูและลองปฏิบัติด้วยตนเองเถิด รู้ธรรมนั้นอาจจะรู้ธรรมตามตำรา รู้และเข้าใจตามที่พระองค์ทรงสั่งสอน หรือรู้ธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ทุกคนสามารถที่จะทำได้ ถ้าไม่ย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

    ในปีพ.ศ. ๒๕๒๙ ได้มีโอกาสขึ้นไปปฏิบัติที่วัดพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ประมาณ ๑ เดือน กับสามเณร ๑ องค์ ในวันหนึ่งขณะเดินจงกรมอยู่ ได้เห็นกายกับจิตแยกออกจากกัน กายก็สักแต่ว่ากาย จิตที่เป็นดวงสว่างอยู่กลางกาย และพิจารณาข้อธรรมต่างๆ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั้น พระองค์ทรงนำออกมาจากจิตของพระองค์ท่านทั้งสิ้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในกายในใจของเรานั่นเอง

    การที่พระอาจารย์นพดลท่านมีความตั้งใจปฏิบัติธรรมตลอดมาตั้งแต่อายุประมาณ ๑๗ ปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ นับเป็นเวลาประมาณ ๓๖ ปี ท่านได้พูดเล่าให้ฟังนั้น อยากให้ผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม ได้มาคิดพิจารณาว่า ธรรมของพระพุทธองค์นั้นประเสริฐเลิศจริง เราอย่าเพิ่งเชื่อ และอย่าเพิ่งปฏิเสธ ขอให้มาพิสูจน์ด้วยการลงมือประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งด้วยตนเอง การที่ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้พูดถึงสภาวธรรมในการปฏิบัติของท่านเองนั้น เพื่อเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระธรรมของพระพุทธองค์เป็นสิ่งที่ประเสริฐจริง ไม่ใช่พูดเล่าออกมาเพื่อหวังลาภสักการะหรือคำสรรเสริญต่างๆ แต่ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์ชนทั้งหลายให้ได้พบกับความสุขความสงบที่แท้จริง ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจะมาปฏิบัติไปทำไม

    พระอาจารย์นพดลในระยะเวลา ๓๐ ปีที่ได้อุสมบทมา (พ.ศ. ๒๕๕๓) ท่านผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิบากกรรมต่างๆนาๆซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ จะหลีกหนีโลกธรรมไปไม่ได้เลย มีลาภก็เสื่อมลาภ มียศก็เสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุขมีทุกข์ เป็นเช่นนี้ตลอดไป จงวางเสียเถิดสังขารอันเป็นก้อนแห่งทุกข์นี้ แล้วย้อนเข้ามาดูภายใน เพื่อค้นหาดวงแก้วอันประเสริฐในใจของเราเอง

    ขอยุติประวัติพอเป็นสังเขปแต่เพียงเท่านี้

    วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ab1.gif
      ab1.gif
      ขนาดไฟล์:
      92.1 KB
      เปิดดู:
      5,484
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012
  15. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
  16. tanaa

    tanaa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอโมทนาสาธุ ในธรรมทั้งหลายที่ท่านได้นำมาเผยแพร่ด้วยครับ
     
  17. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ต้องจ่ายค่าแรกเข้า ๕๐,๐๐๐ บาท ต่อ ๒๐๐ ตรว. และ ๙๐,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ ไร่

    แล้วได้โฉนด ด้วยหรือเปล่า .....


    เพราะ แถวๆนั้น เขาประกาศขาย ไร่ละ ห้าหมื่น แปดหมื่น เอง พร้อมโฉนด


    หาดูใน Google ประกาศขายกันเพียบ
     
  18. เตอร์

    เตอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,009
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +52,961
    ไม่ได้ครับ เพราะเป็นที่ดินของวัด ซึ่งคิดว่า ถ้าโอนแล้ว คงควบคุมดูแลกันไม่ได้

    ถ้าพบว่า มีที่ดินติดถนนใหญ่ ใกล้วัดนี้ และราคาเท่านี้ จะช่วยแนะนำให้ทราบ ก็ขอขอบคุณ
     
  19. เวียงละกอน

    เวียงละกอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +391
    เข้าใจว่าคงจะรวมค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้าไปด้วย...หรือปล่าวครับคุณเตอร์ เพราะอ่านแล้วผมเข้าใจว่าอย่างนั้น
     
  20. cjundee2

    cjundee2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +71
    ถ้าไม่ได้โฉนดก็เปรียบเหมือนไปเช่าพื้นที่วัดอาศัยอยู่ใช่ป่าวครับ

    มีอายุสัญญาการเช่าหรือป่าวครับว่าอยู่ได้กี่ปี แล้วทางวัดมีนโยบาย

    จะใช้ที่ตรงนั้นในอนาคตอย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...