ขอคำแนะนำ-สมาธิ กรรมฐาน สำหรับคนจิตฟุ้งซ่าน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย yossapol, 24 กันยายน 2014.

  1. yossapol

    yossapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +192
    ผมเป็นคนที่ชอบคิดตลอดเวลาครับ ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม บางทีเหมือนจะเหม่อ แต่พยายามดึงสติกลับมาได้เกือบทุกครั้ง อาการเป็นตั้งแต่เด็กครับ

    แล้วยิ่งผมทำงานออกแบบกราฟฟิกนี่ บางทีคิดงานไม่ออกก็มีเนื่องจากมันฟุ้งไปตลอดเวลา .....

    หากท่านใดมีกรรมฐาน-สมาธิ หรือหัวข้อกระทู้ ที่สามารถแนะนำให้ผมปฏิบัติตามได้ ขอความกรุณาช่วยชี้ทางสว่างให้ผมด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เป็นคนชอบคิดเหมือนกัน
    เลยชอบเดิน เดินไปเดินมา เพื่อจะคิด
    บางทีก็นั่งคิด คิดให้ออกไปเลยในเรื่องนั้นๆ
    กลับมาจากทำงาน ก็ต้องนั่งสมาธิเพื่อจะคิด ว่าอะไร ทำไม อย่างไร จึงเป็นอย่างนั้น..

    แต่ไม่ได้ฟุ้งไปในกิเลสนะ เพียงแค่อยากจะหาเหตุผลต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลอะไรๆ แบบที่เห็น
    แต่ถ้ามีกิเลส หรือนิวรณ์ขึ้นมา ก็รู้ตัว

    การคิดนี่ ก็ต้องใช้กำลังสมาธิ ปัญญา
    ดังนั้นการแสวงหาธรรมะ เพื่อมาเสริมปัญญา ในเรื่องที่สงสัย ก็จะเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เกิดสติปัญญาขึ้นมา เป็นสัมมาทิฏฐิขึ้นมา ไม่เหมือนพวกคิดจนบ้าแบบนั้น.. อะไรๆก็เข้าข้างตัวเองไปหมด บางทียิ่งศึกษาธรรม เอาธรรมมาเข้าข้างตัวตนของตัวเองไป..คือไม่รู้จักโยนิโส..

    หลักการคิด..แบบโยนิโสมนสิการสิบ

    โยนิโสมนสิการ (บาลี: yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒[1]

    การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [2]เช่น

    คิดจากเหตุไปหาผล
    คิดจากผลไปหาเหตุ
    คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
    คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
    คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
    คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
    คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
    คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
    คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
    คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรึอเป็นไปไม่ได้

    คำ "โยนิโสมนสิการ" นั้นประกอบด้วยคำสองคำ คือ[3]
    "โยนิโส" มาจาก "โยนิ" แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง
    "มนสิการ" หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา
    ดังนั้น "โยนิโสมนสิการ" จึงหมายถึง การทำในใจให้แยบคาย หรือ การพิจารณาโดยแยบคาย กล่าวคือ ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี เป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าวหรือที่เรียก "ปรโตโฆสะ" อีกชั้นหนึ่ง กับทั้งเป็นบ่อเกิดแห่งความคิดชอบหรือ "สัมมาทิฐิ" ทำให้มีเหตุผล และไม่งมงาย [4]

    อนึ่ง คัมภีร์ในพระไตรปิฎก ชั้นอรรถกถาและฎีกาได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายในแง่ต่าง ๆ ของโยนิโสมนสิการว่า

    "อุบายมนสิการ" เป็น การคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
    "ปถมนสิการ" เป็น การคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว๊บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง
    "การณมนสิการ" เป็น การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ
    อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
    ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล[5]

    โยนิโสมนสิการ - วิกิพีเดีย

    เพิ่มเติม
    ��оط���ʹ�
     
  3. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    ต้องลองสลับประเภทของกิจกรรมดูครับ

    คนที่คิดมาก ต้องลองไปหาที่สงบๆ หรือทำให้จิตสงบหยุดคิดดูบ้างครับ
    ส่วนคนที่ไม่ค่อยคิด ก็ต้องหากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดบ้าง

    พอลองทำสิ่งที่ต่างไปจะรู้ได้ชัดครับ
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ถ้าทำงานออกแบบก็ดีนะ
    ความคิดบางที ก็ออกมาในภาพ และเสียงดนตรีได้
    เพราะภาษาจริงๆ ก็ภาษาจิต มีการแสดงออกมาได้
    ถ้าเป็นตัวหนังสือ จะเป็นรูปธรรมมาก และก็ปรุงแต่งมากเพื่อจะได้ดังใจ
    ถ้าเป็นภาพ จะเป็นรูปธรรมน้อยกว่า ยิ่งดนตรีที่ไม่มีทั้งภาพและภาษา ยิ่งไปได้เร็วและแสดงอารมณ์ได้เร็ว แต่ก็สื่อสารยากกว่า..
    การเรียนศิลปะ ในการแสดงออกทางภาพและเสียง ที่ว่าพวกศิลปินเข้าถึงยาก เพราะความเป็นรูปธรรมทางตัวหนังสือจะชัดเจนกว่า

    แต่ความน่าสนใจทางศิลปะ ก็คือต้องใช้ใจนั่นเอง

    ถ้าเราวาดภาพ และจิตฟุ้งไปเรื่องอื่นๆ ก็อาจต้องเอาภาษานั้นๆกลับมาเป็นตัวนำทางภาพ เช่น พูดไปในงาน จะทำอย่างนั้นๆ เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องมีสติจดจ่อในงาน หรือน่าจะทำบรรยากาศในการทำงานให้มากขึ้น
     
  5. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    อานาปานสติครับ รู้ลม ละไว
     
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    เคยฟังมา เขาว่าการคิดเป็นเรื่องปรกติทุกคน ทุกคนต้องคิด การคิดคือการสร้างภพ หรือเรียกว่าสร้างนิวรอน นิวรอนนั้นจะมีทั้งบวกและลบการคิดแต่ล่ะครั้งจะสร้างเครือข่ายคล้ายใยแมงมุมออกแขนออกขาเจริญเติบโตไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุดเป็นลักษณคลื่นไฟฟ้าแล้วจะถูกบันทึกไว้ในสมองหน่วยความจำ. นักวิทยาศาสตร์เขาบอกว่าถ้าคิดบวกนิวรอนก็จะสร้างเครือข่ายบวกไปเรื่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคิดลบนิวรอนทางด่านลบก็จะเจริญไปเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่าใครคิดบวกสร้างนิวรอนทางด้านบวกผู้นั้นจะมีความสุขมากตามไปด้วย และยังบอกต่อว่าคนคิดบวกจะมีสิ่งมหัศจรรย์ทำให้ชีวิตประสบแต่สิ่งดีๆ. มันช่างลงตัวกับพุทธศาสนาซะจริงๆ สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงทราบล่วงหน้ามานานแล้ว. พระพุทธท่านให้เราสร้างนิวรอนทางด้านบวกก่อนนี่เอง แล้วค่อยมากำจัดนิวรอนบวกต่อไปไม่ให้สร้างภพสร้างชาติต่อไปคือทำรายนิวรอนทั้งบวกและลบ โดยการละนันทิ.โดยใช้อานาปานสติจิตอยู่กับกาย จนดับนิวรอนบวกและลบเป็นสูญญตา ดับทั้งบวกและลบ จบสิ้น (ชลเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคอมตะธรรม พุทธวจน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  7. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    ปัญหาของคุณคือ
    1) คิดฟุ้งซ่าน และบางครั้งมีอาการเหม่อลอย
    2) คิดงานกราฟฟิกไม่ออก โดยคิดว่าความคิดมันฟุ้งจนสรุปไม่ได้

    สิ่งที่คุณต้องการคือ
    คุณอยากจะแก้อาการฟุ้งซ่าน เพราะคิดว่าจะช่วยทำให้คุณคิดงานกราฟฟิกออก?


    #ความเห็นผม
    สำหรับข้อ 1)
    - การทำให้จิตสงบได้มีหลายวิธีมากครับ แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือต้องทำความดี
    แล้วคุณซาบซึ้งจนจิตใจคุณสงบลงได้เอง ซึ่งรวมถึงการถือศีลบริสุทธิ์ด้วย
    ก็ทำให้ใจอิ่มเอิบและสงบลงได้เอง
    - แต่ถ้าไม่อยากรอ ก็ต้องใช้สติกำกับครับ ซึ่งผมจะแบ่งประเภทเป็น guideline ให้คุณนะครับ เพราะสุดท้ายคุณต้องหาที่ถูกจริตของคุณเอง แต่มันมีเกณฑ์ความยากง่ายอยู่
    - ผมจะเรียงจากยากก่อนนะครับแต่ให้ผลเร็ว เพราะถ้าคุณได้ระดับสูงก่อนเลยก็ไม่ต้องมาเสียเวลา ไล่ระดับจากตั้งต้นให้เสียเวลานะครับ แต่ถ้าทำแบบเร็วไม่ได้ก็ให้ค่อยๆ ถ่อยลงมา
    - ถ้าจับที่จิตได้ให้จับที่จิต , ถ้าจับจิตไม่ได้ให้จับที่กาย และถ้ายังไม่ได้อีกให้บริกรรม
    - การจับที่กาย เช่น ลมหายใจ แต่วิธีนี้ผมลองดูแล้วไม่ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นเท่าไร แต่เบาสบายดีครับ
    - แต่ถ้าจิตหลุดบ่อยๆ วิธีที่ได้ผลกว่าคือ เอามือถูผ้าครับ เช่นถูกับการเกงยีนต์ที่เราใส่ แล้วทำความรู้สึกที่มือว่า เราได้สัมผัสความรู้สึกเป็นอย่างไร ต้องทำต่อเนื่องให้ได้หลายๆ นาทีนะครับ
    - วิธีถูผ้า จัดเป็นการจับที่กายที่ได้ผลดี เพราะสร้างความรู้สึกได้ชัด
    วิธีนี้ยังพิสูจน์แล้วว่าสามารถฟื้นฟูเซลล์สมองสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุทางสมองจนเสียหายมาแล้วในต่างประเทศ ซึ่งแพทย์เค้าจะเปลียนชนิดของผ้าไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้สัมผัสใหม่ๆ
    - เมื่อถูผ้า ทำให้จิตสงบอยู่กับตัวแล้ว ให้พัฒนาขึ้นเป็นการทำความรู้สึกตัว โดยทำความรู้สึกโดยรอบร่างกายตามผิวที่มีปฎิสัมพันกับอากาศและเสื้อผ้า
    - เมื่อทำได้ดีแล้วก็ขยับเป็น ดูลมหายใจ อานาปานสติ ครับ

    ลองดูเท่านี้ก่อนครับ

    สำหรับข้อ2) เรื่องคิดงานไม่ออก แม้ไม่ฟุ้งซ่านก็เป็นนะครับ
    จุดสำคัญอยู่ทีการคิดอย่างมีระบบ ซึ่งในงานออกแบบมันมีขั้นตอนหลักๆ สองอย่าง
    คือ 1. การฟุ้งเพื่อหาไอเดียใหม่ๆ ซึ่งตอนนี้จะปล่อยให้ฟุ้งนะครับ
    2. การพิจารณาโจทย์ให้ดี และตัด ตัวเลือกที่ไม่ใช่ออกไปทีละอัน
    จนเหลือจำนวนหนึ่งซึ่งคุณอาจจะตัดสินใจไม่ได้ แต่งานต้องเดิน
    ก็ต้องลองเลือกดูสักอัน การตัดตัวเลือกถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญนะครับ
    ไม่ใช่การเลือกอันที่ใช่เลยแต่แรก ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ครับโดยมากจะผิดพลาด
    เสียมากนะครับ

    อื่นๆ วิธีการหาไอเดียใหม่ๆ โดยไม่ฟุ้งก็มีครับ แต่ค่อยมาว่ากันทีหลังครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ฝึกสติ หยุดคิด หยุดความคิดครับ จะได้หายฟุ้งซ่าน

    เมื่อหายฟุ้งซ่านแล้ว จะได้ คิดงานออก ครับ

    หลักๆ ก็ กรรมฐาน อานาปานสติ มีสติอยู่กับลมหายใจ สงบจิต สงบใจ จะได้มีสติ ไม่ฟุ้งซ่าน ครับ

    มันฟุ้งซ่าน เพราะ จิตไม่มีกำลัง สติตามไม่ทัน ฟุ้งซ่านไปแล้วค่อยมารู้ตัวทีหลัง


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,426
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,022
    ค่าพลัง:
    +70,063

    จากประสพการณ์ผมและคนใกล้เคียง รวมทั้งหมู่กลุ่มที่คุ้นเคย

    ผู้ที่ทำงานด้านกราฟฟิค มักจะมีความสามารถด้านจินตภาพ และความคิดนึกที่มีมาก
    ก็ไม่ต้องหักหาญให้สงบในทีเดียว เดี๋ยวจะเบื่อไว และจะเครียด



    ก็ลองฝึก แบบสามประสาน ใช้ยอดกรรมฐานสามกองประคองกัน

    กำหนดรู้ลม + จินตภาพ(กสิณ) + คำบริกรรม( คิดนึก ในเรื่องเดียว )


    สำหรับผม ให้เลือกภาพกสิณที่นึกคิดแล้วใจสงบ ปิติ เพลิดเพลิน ไม่เป็นอกุศล
    รู้ลมสัมผัสที่ฐานเดียว ไม่ต้องตามลม เช่น ที่ปลายจมูก กลางอก และ กลางท้อง


    คำบริกรรม เลือกเอาคำที่เชื่อมั่น ไม่เป็นอกุศล เช่นบทพุทธานุสสติใดๆก็ได้


    -------------------------------


    หลักการนี้ ไม่ว่าคนวัยใด ศาสนาใด คนพิการตาบอด ผมใช้ได้ผลมาแล้ว เข้าถึงดวงธรรม กายธรรม มาเยอะมาก

    คนต่างศาสนา ก็ให้เพ่งไม้กางเขนบ้าง อักษรบ้าง แต่นำมาไว้ที่ฐานกลางกายแล้ว ก็เปลี่ยนสภาพกายเป็นดวงกลมใสและพุทธลักษณะแก้วใสเหมือนกันหมด

    จะคิด จะนึกอะไร ทำใจให้สบายกลางกาย ก็จะมีนิมิตงานออกมา สบายทั้งทางโลก และทางธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2014
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,426
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,022
    ค่าพลัง:
    +70,063
    ใหม่ๆ ยังไม่สงบมาก ก็ตั้งหลักที่ฐานสัมผัสลมง่าย เช่น ปลายจมูกด้านใน
    โพรงจมูก หรือ กลางอก


    เมื่อจิตสงบลงมาก หรือมีนิมิตเกิด ก็เลื่อนมากลางท้อง ทำให้เกิดอัปปนาสมาธิ

    และที่ศูนย์กลางกาย กลางตัว นี้ ไม่ว่าหลับตา ลืมตา ถ้าได้เข้าถึงดวงธรรมของจริงและกายภายในแล้ว ก็จะเห็นได้ทั้งมิติละเอียดอันเป็นธรรมภายใน ที่เกิดเปลียนแปลงตามสภาวะเป็นปัจจุบันขณะ ตามกฏปฎิจจสมุปบาท และใช้ชีวิตในมิติหยาบๆของกายเนื้อได้อย่างปกติ
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    วิธีระงับความฟุ้งซ่านของจิต โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    https://www.youtube.com/watch?v=njI_rbdl-YY



    วิธีทรงอารมณ์สมาธิให้ได้เร็วๆ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    https://www.youtube.com/watch?v=jIriwJ_z-ms
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    หรือจะใช้อีกวิธีหนึ่งที่ผมใช้แล้วดีมากคือเดินจงกรม แบบการเจริญสติปัฏฐาน แนะนำโดย หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ครับ เมื่อรู้สึกว่างจากงานพอที่จะปฏิบัติได้ หรือพักจากงานบ้าง สามารถเดินจงกรมได้ก็จะทำวิธีนี้ ถ้าทำบ่อยๆทุกวันโดยมีเวลาที่ชัดเจน จะทำให้จิตและการงานที่ทำพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ...

    ........................................................................................

    [​IMG]

    หลวงพ่อจรัญ สอนวิปัสสนาเดินจงกรม 1/3

    https://www.youtube.com/watch?v=JHMOj62JWuU

    หลวงพ่อจรัญ สอนวิปัสสนาเดินจงกรม 2/3

    https://www.youtube.com/watch?v=u2vb15hBI4s

    หลวงพ่อจรัญ สอนวิปัสสนาเดินจงกรม 3/3

    https://www.youtube.com/watch?v=4BAdASqzjEQ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถ้าคุณมีโอกาศและพอมีเวลาบ้าง แนะนำเข้าปฏิบัติธรรมที่วัดครับ คือไปเรียนรู้วิธีการสักช่วงเพื่อนำมาฝึกด้วยตัวเอง ช่วงใหม่ๆสำหรับผู้ไม่เคยฝึกมาก่อนถือว่าไปศึกษาโดยมีครูบาอาจารย์แนะนำอย่างใกล้ชิด แนะสอนวิธี พอจบแล้วมาปฏิบัติเองอย่างนี้จะดีมากกว่าฝึกด้วยตนเองครับ เพราะบางครั้งอาจไม่มั่นใจในวิธีการ ในสภาวะก็สามารถสอบถามครูบาอาจารย์ได้ครับ.....เพราะถ้ามีพื้นฐานแล้วก็จะสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต....

    สำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงสักหน่อย ใกล้บ้านก็ได้ครับ ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องใช้ความคิดมาก ต้องใช้ความคิดในการทำงาน แนะนำว่าสายสติปัฏฐาน ยุบหนอพองหนอ ก็ดีครับ เพราะการปฏิบัติในรูปแบบนี้มีวิธีการควบคุมความคิด กำหนดรู้สภาวะธรรมของความคิดอย่างเป็นระบบที่ดี และเห็นความคิดตามความเป็นจริง ถ้าคุณจับจุดตรงนี้ได้ จะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานและจิตของคุณได้ดี อีกอย่างสถานปฏิบัติธรรมหาได้ง่ายแล้ว หรือจะเข้าที่เขาจัดเป็นคลอสก็ได้ครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,426
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,022
    ค่าพลัง:
    +70,063
    แจกไฟล์หนังสือ " คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน 5 สาย "



    [​IMG]


    โหลดฟรี คลิก
    http://palungjit.org/attachments/a.2362154/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lus94.jpg
      lus94.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.8 KB
      เปิดดู:
      765
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,426
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,022
    ค่าพลัง:
    +70,063
    เพิ่มเติม ด้วยการปรับแต่งชีวิตประจำวัน


    ออกกำลังกายเป็นประจำ อะไรก็ได้ ที่ทำให้จิตเพลิน โดยมาเกาะกับร่างกายมากขึ้น

    เช่นตัวผม จะวิ่งจ๊อกกิ้งบ้้าง ว่ายน้ำบ้าง เล่นโยคะบ้าง

    อย่างน้อยสักสามสิบนาทีต่อวัน พอให้เหงื่อออก

    ผ่อนคลาย ร่างกายแล้วมาทำสมาธิ จิตใจจะสงบเร็วมาก
    สำหรับคนที่ยังไม่ได้นิมิต ภายใน อาจเริ่มจาก น้อมสติไล่ไปตามอวัยวะต่างๆ

    จากภายนอก เช่น ผม ศีรษะ ใบหน้า ไหล่ หลัง อก แขน ลำตัว ขา ฯลฯ แล้วมาจับที่ฐาน
    ลมหายใจที่คุณถนัด ก็ได้


    ...........................................
    ท่อนนี้ สำหรับทุกท่าน ที่ฟุ้งผิดปกติ

    ถ้ามีความเชื่อเรื่องกรรมเก่า ให้มีศรัทธาที่จะขอขมากรรมพระรัตนตรัย ขอขมาบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ บุพการี เจ้ากรรมนายเวร เพราะวิบากกรรมที่ปรามาส ทำกรรมไม่ดีกับท่านเหล่านั้นไว้ จึงได้รับผลกรรมที่มีจิตฟุ้งซ่าน สงบยาก
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,426
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,022
    ค่าพลัง:
    +70,063
    การเข้าสังคม ที่ทำให้ฟุ้งซ่านน้อย


    แบ่งเวลา ไปรู้จักสังคมใหม่ๆ ที่ช่วยพัฒนาความสงบ เช่นผม ชอบชมรมวาดภาพ ชมรมมวยไท้เก็ก(สมาธิในการเคลื่อนไหว ดีมากๆ) ชมรมปั่นจักรยานท่องเที่ยววันหยุด ฯลฯ
     
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นักคิด กับ ฟุ้งซ่าน คนละเรื่องกัน

    ต้องแยกให้ออก ^^


    แต่ก่อน จากประสบกานส่วนตัว ก่อนที่จะหันมาทำสมาธินั้น

    ผมอยากจะบอกว่า เป็นคนที่ มีเรื่องต่างๆ เข้ามาในหัวตลอดเวลาไม่เคยหยุด เข้ามาตลอด ก็เพราะว่าไม่เคยรู้จักการหยุดความคิด เพราะไม่เคยรู้ คิดนั้นคิดนี่วางแผนต่างนาๆ ตลอดเวลา เรื่องโน้นเรื่องนี้ตลอด 555+


    แต่หลังจากที่สนใจ และ ปฏิบัติ สมาธิ แล้ว

    ก็กลับกลายเป็นว่า จิตสงบ สงบจากความคิดต่างๆนาๆ ได้ตามที่ตัวเองต้องการ จะคิด หรือ จะหยุดความคิด หยุดความฟุ้งซ่าน ต่างๆนาๆ ได้ครับ

    แนะนำว่า ให้ปฏิบัติกรรมฐาน ช่วยได้ครับ โดนเฉพาะ ถ้าสามารถปฏิบัติ เลย ปฐมฌาน ขึ้นไป ก็สามารถหยุดความคิดได้แน่นอน เพราะ ทุติยฌาน ไม่มีวิตก วิจาร ครับ ^^

    มีสติ รู้อยู่ หยุดความคิดก็ได้ตามที่ต้องการ ครับ อาการฟุ้งซ่านนี่ ถ้าไม่เผลอ มีสติ รู้อยู่ ไม่ได้กิน

    สมถะกรรมฐาน ที่สามารถช่วยให้ หยุดความคิด ได้ครับ

    .
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ศัพท์-ความหมาย จิต-เจต แปลว่า ความคิด การคิด หน้าที่ของมันคือคิด คิดอารมณ์ ถ้ามันคิดเป็นเรื่องเป็นราว คิดมีเหตุผล คิดหาที่มาที่ไป ก็โอเค แต่ทีนี้มันคิดฟุ้งซ่าน คิดไปเรื่อยเปื่อยไร้จุดหมาย อย่างนี้ โบราณท่านจึงหางานให้จิตทำให้เป็นเรื่องเป็นราว เรียกว่า กัมมัฏฐาน คือวิธีฝึกจิตนั่นแหละ กัมมัฏฐาน อะไรก็ได้ที่จิตเกาะจับเข้าแล้วสงบ ไม่ฟุ้ง ก็ใช้อันนั้นได้ ใช้งานที่คุณทำนั่นฝึกก็ได้
     
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คือไม่ทราบว่าคนอื่นจะเป็นไหม

    สมัยวัยรุ่น เป็นคนที่ต้องคิด ไม่คิดไม่ได้ ยิ่งห้ามคงยิ่งแย่
    เรียนรู้ว่า..การคิดออก(ทีละเปาะ) ยิ่งทำให้สงบ แต่ความสงบ ไม่ได้หยุดคิด
    แต่สงบจากกิเลส มีสมาธิที่เรียกว่า ตั้งมั่น ที่จะคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้
    ซึ่งต้องใช้ กำลังสมาธิมาก เพื่อพิจารณาสิ่งที่คิดอยู่
    ทำให้เคารพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เพราะท่านสอนเรื่องการคิดการคิดงาน..ให้เป็น

    ถ้าถามว่า คิดได้ขนาดไหน คิดได้จนกำลังสมาธิมาก เข้าฌาน..
    สังเกตว่าจะคิดเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่สะเปะสะปะหลายเรื่องแบบฟุ้งซ่าน
    ออกจากฌาน ก็คิดอีก ยิ่งคิดยิ่งมีความตั่งมั่นมาก
    มีความสลัดคืน จิตใจปล่อยวางได้เป็นลำดับ
    เรียกว่าพอได้สมาธิ ก็ออกมาคิดอีก ความคิดนี่เป็นนิมิตทางนาม พิจารณาเรื่องที่จะคิด
    ต่างจาก คนได้สมาธิแล้วออกมาพิจารณากายคตา หรืออสุภะ ซึ่งเป็นนิมิตทางรูป
    ทั้งตัวคิด ตัวรู้ นี่เป็นวิปัสสนา หากมีสติตามรู้และเกิดปัญญา
    คนไม่เข้าใจ จะคิดว่าการไม่คิดเป็นสมถะ ที่จริงตัวรู้นี่เอง
    จะรู้คิด รู้ตาม ขอให้ตามรู้ไป จนเกิดปัญญา เป็นวิปัสสนา

    ขณะที่ความคิดหายไปต่อหน้าต่อตา ครั้งแรก อุทานว่า ความคิดหามีอยู่จริง
    แม้ขณะคิด ก็เห็นไตรลักษณ์ ความแปรเปลี่ยนตลอดของความคิด

    คือว่าตอนวัยคิดนั้น ประสบการณ์เรียกว่าอาการคิดจนเข้าฌาน มีบ่อย..
    อาจเป็นจริตของคนชอบคิดประการหนึ่ง
    พอจิตใจสงบ จะให้คิดก็ให้คิดไม่ได้ มันสงบอยู่อย่างนั้น ไม่คิด
    บางทีก็อยู่กับลมได้แนบแน่น เมื่อมีความสงบเกิดขึ้น จิตก็ไม่อยากคิด

    เดี๋ยวนี้ ขี้เกียจจะคิด จะต้องคิดอะไรให้ออก ก็ไม่ค่อยขยันนัก
    ตอนนี้ อานาปาเป็นส่วนใหญ่
    เพราะไม่มีกำลังจะคิดได้อย่างเดิม ก็ถ้าไม่มีอะไรก็กลับมาอยู่ที่ลม

    ก็เล่าไว้ สำหรับคนมีจริตมาทางนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2014
  20. lovepyou

    lovepyou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2008
    โพสต์:
    540
    ค่าพลัง:
    +974
    เข้าอุโบสถ์ศีลเลยครับ ลองดู
    ได้สัก 3 ครั้ง จิตฟุ้งซ่านก็ลดเพียบละครับ

    จิตฟุ้งซ่านเกิดจาก เสพกามมากเกินไป
    กามมันล้น มันเหลือ มันเลยไปให้คิดฟุ้งซ่านต่อ
    ถ้าเราหยุดเสพกาม กามไม่มีกำลัง
    ความฟุ้งซ่านก็จะลดลงเอง
    สัมมาทิฐิก็จะเกิดขึ้นด้วย

    เมื่อก่อนผมติดเกมมาก
    คงไม่ต้องบอกนะะว่า จะมีจิตฟุ้งซ่านรุนแรงแค่ไหน
    คือในหัวก็สามารถสร้างภาพ สร้างฉาก ออกมาได้เป็นฉาก ๆ เลย
    แล้วก็ไม่นิ่งด้วย มันจะคิดตลอด คิดเรื่องโน้น นั้น นี้ เรื่องไระสาระ คิดตลอด
    ไม่ใช่แค่คิดทุกวินาทีนะ แต่ทุกเสี้ยววินาที!

    พอหลังจากได้ลองถืออุโบสถศีลดู แค่ไม่กี่ครั้ง ไอ่ฟุ้งซ่านที่ว่ามันลดอย่างชัดเจน
    แล้วมันลดแล้วลดเลยนะ ไม่ใช่แค่ลดแปป ๆ แล้วอีก 2-3 วันกลับมานะ
    "ลดแล้วลดเลย"

    แล้วถ้าเราอยากได้สมาธินะ แค่นั่งเฉย ๆ หายใจเข้า หายใจออก ก็มาแล้ว
    สมาธิมาเอง ไวมาก ไม่ต้องฝืน ต้อง force อะไรเลย
    มันมาเอง แบบธรรมชาติ

    เมื่อก่อนเคยคิดจะนั่งสมาธิ แล้วอยู่ดี ๆ ไปนั่ง
    มันนั่งไม่ได้เลย จิตมันคิดฟุ้งซ่านตลอด
    มันไม่มีสมาธิ นั่งแล้วกลายเป็นทรมาน
    ก็เพราะว่าตอนนั้น ยังเสพกามอยู่แล้วนั่งด้วย
    มันเลยนั่งไม่ได้ เพราะว่าเราเสพกามที เราเสพเยอะ

    แต่พอเราเข้าอุโบสถ์เท่านั้นแหละ อารมณ์เหมือนโลกมันจะหยุดได้เลยละ
    นั่ง ๆ บางที มีลมพัดมาอ่อน ๆ นะ
    สัมผัสเบา ๆ เย็นสบาย ก็รู้สึกมีความสุขสุด ๆ แล้ว
    แล้วมันจะมีอารมณ์อยากนั่งสมาธิเองเลยนะ!
    ทุกที เราต้องบังคับตัวเองให้ไปนั่งสมาธิ ใช่ไหม
    อันนี้ จิตมันเรียกหาสมาธิเอง จิตมันเรียกร้องขึ้นมาเองเลยว่า
    อยากไปที่เงียบ ๆ อยากนั่งใต้ต้นไม้ ในเรือนว่าง
    มันผุดความคิดออกมาเองเลย

    ส่วนเรื่องความทุกข์ เราก็มีความรู้สึกว่าทุกข์น้อยลง
    สถานการณ์เหมือนเดิมนะ แต่ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ มันน้อยลง
    ของแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนะ
    มันมาเกิดหลังจากเราหัดถืออุโบสถศีล นี่แหละ

    ทำไมเราถึงชอบพูดเรื่องนี้ตลอด เพราะทำแล้วได้ผลจริง
    ทำแล้วผู้ทำ เห็นผลชัดเจน ตรวจสอบตัวเองได้ เริ่มต้นได้แบบไม่ต้องรอกาล
    ไม่ต้องรอมีเงิน ไม่ต้องรอเพื่อน ทำได้เอง ทำที่บ้าน พึ่งตนเอง ไม่ต้องพึ่งใครเลย
    เป็นเรื่องของตนเป็นที่พึ่งแห่งตนอย่างแท้จริง

    ทริคนิดหนึ่งนะ
    แนะนำว่าลองถือไปเลย 7 วัน ขึ้น รับรองเห็นผลเร็ว และชัดเจน
    ถ้าถือแค่วันเดียวนี้ต้องใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าถือทีเดียวติดกันหลายวัน ค่อนข้างเวิรคมาก
    เห็นผลสุด ๆ

    แต่ถ้าครั้งแรก ๆ เอาวันเดียวให้รอดก่อนก็ได้
    แต่มันจะเริ่มเห็นผลชัดตอนถือยาว ๆ หลาย ๆ วัน ครั้งหลัง ๆ นะ
    ครั้งแรก ๆ อาจจะยังงง ๆ ว่าตูกำลังทำอะไรกับชีวิตเนี่ย - -
    มันจะทรมานนิดหนึ่งนะ เพราะมันไม่เคย
    แต่ครั้งหลัง ๆ เนี่ย เธอจะเข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้าถึงบอกว่า อุโบสถศีลเป็นของดี
    ของมีมาแต่โบราณ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ปฏิเสธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...