การอธิษฐานในภาษาไทย น่าจะมีความหมายเหมือนกัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 29 มกราคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    การขอทั่วๆ ไปกับการอธิษฐานในภาษาไทย น่าจะมีความหมายเหมือนกัน ส่วนความ
    หมายในพระไตรปิฎกมีความหมายอย่างหนึ่ง การอธิษฐานคือการตั้งใจมั่นเพื่อการทำ
    เหตุที่สมควร เช่นอธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ท่านตั้งใจมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง
    แม้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นท่านก็บำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 650
    อนึ่ง พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ แห่งบารมีเหล่า-
    นั้นแม้ ๖ อย่างด้วยประการฉะนี้ . จริงอยู่อธิษฐานธรรม ๔ โดยรวมบารมี
    ทั้งหมดไว้. คือสัจจาธิษฐาน จาคาธิษฐาน อุปสมาธิษฐาน ปัญญาธิษฐาน.
    ในอธิษฐานธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อธิษฐาน เพราะเป็นเหตุตั้งมั่น. หรือ
    เป็นที่ตั้งมั่น หรือเพียงตั้งมั่นเท่านั้น. ชื่อว่า สัจจาธิษฐาน เพราะสัจจะ
    และอธิษฐาน. หรือเพราะเป็นที่ตั้งแห่สัจจะ หรือเพราะมีสัจจะเป็น
    อธิษฐาน. แม้ในอธิษฐานธรรมที่เหลือก็เหมือนอย่างนั้น. ในอธิษฐาน
    ธรรมนั้นโดยไม่ต่างกัน สัจจาธิษฐาน เพราะกำหนดบารมีทั้งปวงสมควรแก่
    ปฏิญญาของพระมหาสัตว์ ผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ สะสมบุญญาภินิหารใน
    โลกุตตรคุณ. จาคาธิษฐาน เพราะสละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อสัจจะ. อุป
    สมาธิษฐาน เพราะสงบจากสิ่งไม่เป็นคุณของบารมีทั้งปวง. ปัญญาธิษฐาน
    เพราะเป็นผู้ฉลาดในอุบายอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยอธิษฐานธรรม
    เหล่านั้น.


    "การบวช" คืออะไร.?

    ในอรรถกถา ท่านใช้คำว่า "บวช" หรือ "เนกขัมมะ"

    ในภาษาบาลี ท่านหมายถึง "การเว้นทั่ว"
    เว้นอะไร....?
    เว้นจากอกุศลธรรม หรือ เว้นจากบาปธรรม...นี่คือ "การบวช"

    "การบวชด้วยเพศ" คือ พระโพธิสัตว์ , ฤาษี , บรรพชิต ๑
    และ "การบวชด้วยข้อปฏิบัติ" หรือ "เนกขัมมะ" ๑.

    ก่อนอื่น...ควรเข้าใจความหมายของคำว่า "เนกขัมมะ"

    "เนกขัมมะ" หมายถึง "การออกจากกาม"
    หรือ การเว้นจากบาปธรรม-อกุศลธรรม ด้วยข้อปฏิบัติ.

    "ข้อปฏิบัติ" หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา
    ได้แก่ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา
    เป็นการอบรมเจริญปัญญา...เพื่อการออกจากกาม (เนกขัมมะ)

    เพราะฉะนั้น
    เมื่อกล่าวถึง "การบวช" หรือ "การออกจากกาม"
    ก็ต้องหมายถึงสองอย่าง คือ โดยเพศ และ โดยข้อประพฤติปฏิบัติ.

    "การบวช"
    ไม่ได้หมายถึง การบวชเป็น "บรรพชิต" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น.

    กล่าวได้ว่า "การบวช" มีสองอย่าง คือ การบวชกาย และ การบวชใจ
    หมายถึง การบวชด้วยเพศ และ การบวชด้วยข้อประพฤติปฏิบัติ.
    และควรเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า "การประพฤติ-ปฏิบัติธรรม" คืออะไร.!
    ทุกท่านที่เห็น ย่อมเห็นว่าเป็นใคร เป็นอะไร
    ถ้าไม่เช่นนั้น ก็หมายความว่า มีความเห็นผิด กันหมด.!

    ในขณะที่เห็น ซึ่งเป็น"ปกติ-ธรรมดา"
    เมื่อการเห็นเกิดขึ้น ย่อมมีการ "คิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา"
    แล้วก็ต้องรู้ด้วย ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาที่เห็นนั้น เป็นอะไร.

    ตามความเป็นจริง เมื่อเห็นแล้ว จะไม่ให้จิตเห็น...รู้สิ่งที่เห็น นั้น
    เป็นไปได้ไหม.?

    ไม่ได้......ในเมื่อการเห็นเกิดขึ้นแล้ว
    ก็ต้องมีการคิดนึกสิ่งที่ปรากฏทางตา แน่นอน.!
    และเมื่อคิดแล้ว ก็ "จำได้" ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานั้น เป็นอะไร
    นี่คือ "ปกติ"

    ในขณะที่คิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา นั้น
    "ทิฏฐิเจตสิก" หรือ "ความเห็นผิด" จะเกิด หรือไม่เกิด นั้น...รู้ได้.?
    และ รู้ได้เมื่อไร.?

    รู้.!
    เมื่อ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น ปรากฏเพียงอย่างเดียว
    ไม่ปะปนกับสภาพธรรมอื่น อย่างนี้ จึงจะรู้ว่า "ความเห็นผิด" ปรากฏแล้ว
    คือ เห็นผิด และ ยึดถือ สภาพธรรมที่ปรากฏนั้น ว่า เป็นเรา
    เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน.

    ความเห็นผิด มีหลายระดับ
    เช่น ขณะที่เชื่อว่า ตัวท่านผู้ฟังเกิดมาได้ เพราะมีผู้สร้างให้เกิด
    ขณะนั้น เป็นความเห็นผิด ซึ่งความเห็นผิดระดับนี้ เป็นขั้นต้น
    หรือ ขั้นฟัง ขั้นคิด-ขั้นการพิจารณาเป็นเรื่องราว
    แต่ "ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมที่มีจริง ว่า เป็นตัวเรา" นั้น
    เป็นอีกขั้นหนึ่ง คือ เป็นความเห็นผิดอีกระดับหนึ่ง.

    ขณะที่ท่านกำลังนั่งอยู่ที่นี่ ขณะนี้
    มีอะไรที่เป็นของท่าน หรือ เป็นตัวของท่านผู้ฟังบ้างไหม.?

    ตามความเป็นจริง "ทั้งตัว" หมายความว่า...ไม่มี"ตัว"เลย.!
    แต่ที่เข้าใจว่า มีตัวของท่านที่กำลังนั่งอยู่
    และ มีการยึดถือว่าเป็นตัวเรา นั้น
    เป็น "สภาพธรรม" ที่กำลังปรากฏแต่ละขณะ ๆ ทีละอย่าง ๆ
    แต่ เพราะเหตุว่า สภาพธรรมที่กำลังเกิด-ดับ ที่ยึดถือว่าเป็นเรา นั้น
    ยังไม่ปรากฏเป็น "อารมณ์ของสติ-สัมปชัญญะ"

    ขณะที่ท่านเข้าใจว่า เป็นตัวของท่าน
    ขณะนั้น มี "สภาพธรรมที่มีลักษณะแข็ง" ปรากฏไหม.?

    ขณะที่กำลังพูด "เรื่องของสภาพธรรมที่มีลักษณะแข็ง"
    และมีลักษณะแข็งจริง ๆ
    แต่ ลักษณะของแข็งยังไม่ปรากฏกับท่าน.

    ท่านจะรู้ลักษณะของสภาพแข็งได้........
    ว่า ขณะนั้น มีการยึดถือสภาพแข็งหรือเปล่า.?

    แต่เมื่อใดที่สภาพแข็งปรากฏที่กาย....กายซึ่งเคยยึดถือ ว่าเป็นกายของเรา
    ขณะนั้น เฉพาะสภาพแข็งเท่านั้น ที่กำลังปรากฏ.

    เพราะสภาพธรรมปรากฏให้รู้ได้ทีละอย่าง ๆ ไม่ปะปนกัน ถูกต้องไหม.?
    เพราะฉะนั้น ขณะที่สภาพแข็งปรากฏทางกาย
    หมายความว่า ขณะนั้น สภาพธรรมอื่น ๆ ต้องไม่ปรากฏทางทวารอื่นเลย.!

    แต่ ถ้าท่านยังยืนยันว่า สภาพแข็งนั้น เป็นเรา หรือเป็นตัวท่าน
    นั่นเพราะเหตุว่า มีการจำไว้ ว่า เป็นเรา
    ไม่ว่าจะมองเห็น หรือมองไม่เห็นสิ่งนั้น แต่ใน "ความทรงจำ"
    ก็คือว่า จำได้ ว่าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
    เช่น ถ้ากำลังนั่ง ก็คิดว่าเป็นร่างกายที่กำลังนั่ง แล้วมีแข็งปรากฏ
    หรือ ถ้ากำลังยืน แล้วไม่มีสิ่งใดปรากฏทั้งสิ้น ทั้งโลกมีแต่สภาพแข็งปรากฏ
    แต่ก็ยังคิดและจำได้ ว่า เป็นท่านที่กำลังยืน
    ให้ทราบว่า ขณะนั้น
    ลักษณะของสภาพแข็ง กำลังเป็นที่ตั้งของความเห็นผิด
    คือ มีการยึดถือสภาพแข็งที่กำลังปรากฏนั้น ว่า เป็นตัวตนของเรา
    ขณะนั้น คือ ลักษณะของ "สักกายทิฏฐิ"

    และควรเข้าใจว่า การรู้ลักษณะของ สักกายทิฏฐิ
    ต้องเป็นขณะสภาพธรรมกำลังปรากฏ
    และ มีการยึดถือสภาพธรรมนั้น ว่าเป็นตัวตน ด้วย.

    เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็น และ คิด ไม่ใช่ลักษณะของ สักกายทิฏฐิ
    หรือ ความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นตัวตน
    เพราะขณะนั้น ไม่ได้ยึดถือด้วยความเห็นผิด
    แต่เป็นการคิดเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ
    หมายความว่า "ลักษณะที่ปรากฏ" นั้น ต่างกัน
    คือ ขณะคิด ก็คือ คิดเป็นเรื่องของสิ่งที่กำลังปรากฏ
    แต่ไม่ใช่ขณะที่ยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นตัวตน ด้วยความเห็นผิด
    หมายความว่า เป็นคนละขณะกัน.!

    หากไม่มีสภาพธรรมใดปรากฏเลย จะรู้ลักษณะของ สักกายทิฏฐิ
    หรือ การยึดถือด้วยความเห็นผิด ได้ไหม.?

    จะไปยึดถืออะไรที่ไม่ปรากฏ ไม่ได้.!

    ฉะนั้น หากจะรู้ลักษณะของทิฏฐิ-ความเห็นผิด-ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา
    ก็ต้องเป็นขณะที่มีสภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่งกำลังปรากฏ.

    และต้องเป็นสภาพธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ที่ปรากฏ
    และ แม้ว่าจะมีเพียงสภาพธรรมเดียวที่กำลังปราฏ คือไม่มีสภาพธรรมอื่นเลย
    ก็ยังมีตัวตนของท่าน ใช่ไหม.?

    หมายความว่า ขณะนั้น ยังไม่ได้ "เพิกอิริยาบถ"
    เพราะยังจำไว้ ว่า มีตัวตนของเรา.

    แต่ขณะใด ที่มีการรู้ลักษณะของทิฏฐิ-ความเห็นผิด ได้จริง ๆ
    ก็คือ ขณะนั้น แม้ไม่มีสิ่งใดเลยในโลก
    แต่มีสภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่ง กำลังปรากฏ
    หมายถึง สภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา
    ขณะนั้น "ลักษณะของทิฏฐิ-ความเห็นผิด" ปรากฏให้รู้ได้.

    การที่จะเข้าใจสภาพธรรมจริง ๆ นั้น ไม่ใช่การพูดรวม ๆ
    แต่ สภาพธรรมปรากฏเมื่อไร แล้วมีการยึดถือสภาพธรรมนั้น ว่าเป็นเรา
    ขณะนั้น จะเห็นลักษณะของการยึดถือ ที่เป็นความเห็นผิด เป็น สักกายทิฏฐิ
    เช่น สภาพแข็งปรากฏ แล้วยึดถือ ว่า สภาพแข็ง ว่า เป็นเรา.

    เช่นขณะนี้ สภาพแข็งกระทบทางกาย และ จำได้ ว่าเป็นแขน
    ท่านก็ยึดถือ ว่าเป็น "แขนของท่านผู้ฟัง"
    หมายความว่า ไม่ใช่สภาพแข็งอื่น แต่เป็น "แขนของท่าน" ที่แข็ง
    นั่นคือ "สักกายทิฏฐิ" ความเห็นผิด และยึดถือ ว่าเป็นกายของเรา.

    ฉะนั้น ขณะใด ที่แม้จะมีสภาพแข็งปรากฏที่กาย
    ถ้ามี "ปัญญา" จริง ๆ ในขณะนั้น
    "ปัญญา" รู้ ลักษณะของการยึดถือ หรือความเห็นผิด นั้น เมื่อไร
    เมื่อนั้น ก็จะเกิด"ความเข้าใจ" ว่า ลักษณะการยึดถือ หรือ ความเห็นผิด
    หรือ สักกายทิฏฐิ มีลักษณะอย่างนั้น
    คือในขณะที่มีสภาพธรรม เช่น แข็งกำลังปรากฏ แล้วมีการยึดถือ นั่นเอง.!

    เพียงแต่ ยังไม่ชัดเจนจริง ๆ เพราะเหตุว่า สภาพธรรมเกิดปรากฏ
    แล้วดับไปอย่างรวดเร็วมาก.

    แต่จะชัดเจนจริง ๆ เมื่อสภาพธรรมนั้น ปรากฏเพียงอย่างเดียว
    เช่น ถ้า"สภาพแข็ง"(รูป) ปรากฏ ก็ต้องมี "ธาตุที่รู้แข็ง" (จิต)
    และขณะนั้น ไม่ได้มีการคิดนึกถึง "ธาตุที่รู้แข็ง" เลย.

    ฉะนั้น แม้แต่ "ธาตที่รู้แข็ง"
    ท่านก็ยังยึดถือ ว่า เป็นตัวของท่านด้วย.!

    เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า การยึดถือสภาพธรรมทั้งหลาย
    ทั้งจิต เจตสิก รูป ซึ่งก็คือ ขันธ์ทั้ง ๕ ว่า เป็นเรา นั้น
    มีการยึดถือได้ทั้งหมดเลย.

    เพียงแต่ ขณะที่สภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง กำลังปรากฏ
    ก็มีการยึดถือสภาพธรรมนั้น "ทีละอย่าง ๆ"

    เช่น ถ้าสภาพแข็งกำลังปรากฏ แต่ไม่ได้ "เพิกอิริยาบถ"
    เพราะ"ปัญญา" ไม่รู้สภาพแข็ง ตามความเป็นจริง
    ว่า สภาพแข็ง เป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง และ ไม่ใช่ตัวเรา.

    ขณะนั้น ต้องไม่มีสภาพธรรมอื่นปรากฏเลย
    นอกจาก "ลักษณะของสภาพแข็ง" เท่านั้น
    และยังมีการยึดถือ "เฉพาะลักษณะที่แข็งที่ปราฏตรงนั้น-ขณะนั้น"
    ว่า เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา.

    ความหมายของ "ทิฎฐิ" คือ ความเห็นผิดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
    "สักกายะ" คือการยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น ว่าเป็นตัวตนของเรา.

    "สักกายทิฏฐิ"
    จึงหมายถึง ความเห็นผิด และ การยึดถือ
    ว่า สภาพธรรมทั้งหลาย ที่ปรากฏ ทีละอย่าง ๆ ว่า เป็นตัวตนของเรา.
    ผู้คนในสมัยโบราณ ต้องการสอนลูกให้เข้าใจธรรมะ แต่ตนเองไม่มีความรู้ จึงให้ลูกบวช
    เพื่อให้พระภิกษุท่านอบรมสั่งสอน ซึ่งพระท่านก็สอนให้เข้าใจพระธรรมวินัยตามสมควร ผู้
    บวชย่อมได้รับประโยชน์จากการบวชตามสมควร แต่ถ้าบวชตามประเพณี ไม่ได้รับการอบรม
    สั่งสอนจากอุปัชฌาอาจารย์ หรือสอนผิดจากพระธรรมวินัย และไม่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอน
    การบวชของบุคคลนั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ แถมยังมีโทษแก่ตนและพระศาสนาด้วย ดังนั้น
    ถ้าต้องการสอนลูก พ่อแม่เองควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ และแนะนำสอนให้ลูกได้ศึกษาพระ
    ธรรมวินัยให้เข้าใจ รู้ดีรู้ชั่ว รู้สิ่งที่ควรกระทำและสิ่งที่ควรเว้น ย่อมสำเร็จประโยชน์มากกว่าการ
    บวชตามประเพณี มีการฆ่าหมู ฆ่าไก่ เลี้ยงสุราเมรัย และไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
    เรื่อง ต้องเป็นบุญที่ทำด้วยตนเองจึงจะไปสุคติ
    ไม่ใช่บุญของคนอื่น
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 159
    ข้อความบางตอนจาก ทูตสูตร
    ตัวอย่างผู้ที่ระลึกได้ตามธรรมดาของตน
    ในการระลึกได้เองและถูกเตือนให้ระลึกนั้น มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

    มีอีกคนหนึ่ง ถวายผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยงแก่ภิกษุหนุ่มผู้เป็นบุตร เวลา
    ที่ทอดผ้าไว้แทบเท้า (พระลูกชาย) ก็ถือเอานิมิตในเสียง ว่าแผ่นผ้า ๆ ได้.
    ต่อมา บุรุษนั้น (ก็ตายไป) บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก หวนระลึกถึง
    ผ้าสาฎกนั้นได้ เพราะ (ได้ยิน) เสียงเปลวไฟ จึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
    ชนทั้งหลาย ผู้เกิดในนรกระลึกถึงกุศลกรรมได้ตามธรรมดาของตน
    แล้ว (จุติไป) บังเกิดในสวรรค์ ดังพรรณนามานี้ก่อน
    ท่านผู้ฟังส่องกระจกทุกวัน ใช่.?
    มีการหวีผม และ พอใจว่า ผมสวย....ขณะนั้น กำลังพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา
    ขณะที่พอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะนั้น เป็น "โลภะ" ไม่ใช่ "ทิฏฐิ"

    ถ้าเข้าใจ "ลักษณะของทิฏฐิ"
    คือ เข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ "แต่ละอย่าง" ว่า เป็นเรา
    เช่น สภาพแข็งปรากฏ ก็ยึดถือสภาพแข็งที่ปรากฏ ว่า เป็นเรา.

    แต่ในชีวิตประจำวัน ตามปกติ นั้น
    "ลักษณะของทิฏฐิ" ไม่ปรากฏให้รู้
    เพราะเหตุว่า ทิฏฐิเจตสิก เกิด-ดับ เร็วมาก.

    และตราบใด ที่ยังไม่สามารถดับ "ความเห็นผิด" ได้เป็นสมุจเฉท
    ความเห็นผิด หรือ การยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นเรา ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีก
    เมื่อสภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ปรากฏ.

    "โลภเจตสิก" จึงมีลักษณะต่างกับ "ทิฏฐิเจตสิก"
    และสามารถรู้ความต่างนั้นได้ เมื่อเข้าใจ "ธรรม"

    แต่ถ้าสนใจเพียง "โลภเจตสิก" หรือ "ทิฏฐิเจตสิก"
    แต่ไม่รู้สภาพธรรมที่เป็น "ธรรมะ" คือ สิ่งที่มีจริง ๆ
    ก็ไม่สามารถที่หมดความสงสัย ในสภาพธรรม ได้
    เพราะว่า แม้แต่ ขณะที่กำลังฟัง ก็ยังเป็นเรา ที่ฟัง.!

    เพราะฉะนั้น ขณะนี้ กำลังมีสิ่งที่มี.?
    มีเห็น.? มีได้ยิน.?

    นั่นคือ "ธรรมะ" .!
    ควรเข้าใจว่า "ธรรม" คือ สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ "ในขณะนี้"

    ความเข้าใจ เริ่มจาก "ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง"
    ไม่ว่าจะฟังเข้าใจได้แค่ไหนก็ตาม ก็ค่อย ๆ สะสมความเข้าใจไปเรื่อย ๆ
    สะสมความเข้าใจ "ธรรมะ" ตามปกติ ตามความเป็นจริง.

    เช่น ขณะนี้ มีเห็น มีได้ยิน ฯ เกิดปรากฏเพียงนิดเดียว แล้วดับไปอย่างรวดเร็ว
    แล้วก็มีการคิดนึกต่อ....นั่นเป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้.

    แต่ เข้าใจได้ ว่า ขณะที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน
    เป็นสภาพธรรมคนละประเภท คนละลักษณะ ปรากฏทีละขณะ ไม่ปะปนกัน
    ค่อย ๆ สะสมความเข้าใจ อย่างนี้.!
    เพราะฉะนั้น
    ขั้นต้น ก็คือรู้ว่า "ธรรม" มีจริง ๆ เช่นการเห็น มีจริง การได้ยินมีจริง
    และพิสูจน์ "ธรรมะ" ว่า มีจริงได้ ในขณะที่เห็น ได้ยิน ฯ

    เช่น ขณะนี้ มีการเห็น และรู้ ว่ามีการเห็น
    แต่ยังไม่รู้ความจริงของสภาพเห็น
    เพราะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ลึกซึ้ง และ เห็นยาก.

    ในขั้นต้น จึงยังไม่สามารถที่จะเข้าถึง "ความลึกซึ้งของธรรมะ" ได้
    แต่ ค่อย ๆ เข้าใจขึ้น ๆ ได้ ว่า ขณะที่การเห็นเกิดขึ้น-ปรากฏ
    การเห็นเท่านั้น ที่ปรากฏ....ไม่มีสภาพธรรมอื่น ปรากฏ.

    นี่คือ การเริ่มเข้าใจ "การเห็น"
    เมื่อการเห็นปรากฏ ก็เข้าใจ "สภาพธรรมที่เห็น"
    ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่น ที่เกินกว่านี้.!

    "การเห็น เป็น "ธรรมะ" .?
    ไม่ต้องเรียกชื่ออะไร ก็รู้ว่า มีการเห็น .?
    แต่ เพราะไม่คุ้นเคยกับ "ความจริงของสภาพเห็น"
    ฉะนั้น ทั้ง ๆ ที่เห็น ก็ไม่รู้ว่า เห็นเป็นอะไร.!
    นี่คือ "ความไม่รู้ นี่คือ "อวิชชา"

    "อวิชชา" คือ ความไม่รู้
    ความไม่รู้...อยู่ที่ไหน.?

    ก็อยู่ในขณะที่กำลังไม่รู้ "ความจริงของธรรมะ" หรือ สิ่งที่มีจริง นั่นเอง.!

    เพราะฉะนั้น ควรรู้ว่า สภาพธรรมมีจริง ๆ ก่อน
    แล้วค่อย ๆ ศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงให้ละเอียดขึ้น ๆ

    ความไม่รู้ คือ อวิชชา
    ความไม่รู้ สะสมอยู่ที่จิตทุกขณะ มานานแสนนาน
    และ ความไม่รู้นี้ ก็ยังสะสมอยู่ในจิต และสะสมเพิ่มขึ้น ๆ
    ตราบใดที่ยังไม่ถึงความเป็นพระโสดาบัน.

    เมื่อ "ปัญญา" ยังไม่รู้ความจริงเพิ่มขึ้น
    ความไม่รู้ ก็ยังคงอยู่ ลึก และ ละเอียด
    แม้แต่ขณะที่กำลังหลับ ก็มีความไม่รู้
    แต่ เพราะไม่ปรากฏให้รู้....จึงไม่รู้ว่ามี.

    ขณะใดที่ตื่นขึ้นมา แล้วมีการเห็น ได้ยินฯ ปรากฏ
    แล้วก็ยังไม่รู้ "ความจริง" ของการเห็น หรือ การได้ยินฯ ที่ปรากฏขณะนี้
    และ ไม่รู้ว่า เป็น "ธรรมะ" คือ ไม่รู้ ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ๆ

    ฉะนั้น จึงควรฟัง "ธรรม" ให้เข้าใจเสียก่อน
    ควรเข้าใจความหมายของ "ธรรมะ" ก่อน.

    การที่จะศึกษา และ เข้าใจความหมายของ"ธรรมะ" ได้
    ควรทราบก่อน ว่า "ธรรมะ" คือ อะไร และ อยู่ที่ไหน.!

    การศึกษา "ธรรมะ" คือ ศึกษาให้เข้าใจ "สิ่งที่มีจริง"
    ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้
    ไม่ใช่เข้าใจอย่างอื่น ที่ไม่ปรากฏ ขณะนี้.!

    .
    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานโดยตอนใส่บาตร
    ได้ท่องคาถาถวายสังฆทาน ได้อนุโมทนากับผู้ใส่ตอนเช้าตามถนนหนทาง
    ได้ให้อภัยทาน ให้ธรรมะเป็นทาน อนุโมทนากับเด็กนักเรียนที่ไหว้พระสวดมนต์
    ประมาณ 1000 คน และได้ให้อาหารสัตว์เป็นทานตามถนนหนทางทุกวัน
    และตื่นแต่ดึกมาฟังธรรมเป็นเวลานาน เสร็จแล้วก็สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
    เจริญอนุสติ 8 อย่าง กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายข้าวพระพุทธรูป
    สักการะพระธาตุ และได้ให้อภัยแก่เพื่อนเป็นอภัยทาน และวันก่อนโน้นได้ช่วยเหลือเพื่อน
    ที่ลำบาก และได้ทำบารมี 10 ครบ ทั้ง 10 อย่าง และได้กรวดน้ำอุทิศบุญ
    ได้ฟังธรรมตลอดวัน ศึกษาธรรม
    และได้อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวรตลอดจนกระทั่งอาการป่วยที่ไม่รู้สาเหตุค่อยทุเลาลง
    และก็มีอาการขึ้นมาอีกก็เอาบุญตรงการกำหนดอิริยาบทย่อยนั้นแผ่ให้เจ้ากรรมนายเวร
    อาการก็ดีขึ้นเป็นปกติ แสดงว่าการอุทิศบุญเป็นสิ่งสำคัญ และได้อฐิษฐานจิต
    เลยคิดว่าตั้งแต่นั่งวิปัสสนาเห็นโครงกระดูกและหัวใจของตนเองเจ้ากรรมนายเวรยิ่งมาทวง
    เอาหละเราจะสู้ต่อไปใช้หนี้เขาให้หมด และตั้งใจว่าจะฟังธรรม ศึกษาธรรม
    และวันนี้ได้ศึกษาการรักษาโรค ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญร่วมงานนมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลมนี้มีงานนมัสการหรืองานเทศกาล 2 ครั้ง คือ
    1. งานสงกรานต์เดือน 5 มีงานรวม 6 วัน 6 คืน เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 13-18 เมษายน ของทุกปี
    2. งานวันสารท เดือน 11 มีงานนมัสการหลวงพ่อ 4 วัน 4 คืน มีประชาชนทั้งใกล้และไกลไปนมัสการหลวงพ่อกันอย่างคับ คั่งพระพุทธปฏิมาอัน
    สำคัญที่ทรงอภินิหารและทรงศักดิ์สิทธิ์นั้น ถ้าจะกล่าวกันไปแล้วก็ยังมีอีกเป็นจำนวนหลายวัดตามจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ ทั่วประเทศทั้งในเมืองและ
    ตามชนบทถ้าจะทบทวนนับจาก หลวงพ่อโต จังหวัดสมุทรปราการ หลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วก็เห็นจะมีพระพุทธปฏิมากรที่สำคัญอีก 2 องค์ นั้นคือ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม
     
  2. อรวี จุฑากรณ์

    อรวี จุฑากรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +189
    อนุโมทนาสาธุ

    สุขกาย สุขใจ รักษาตน ให้พ้น จากทุกข์ ภัยทั้ง สิ้นเทอญ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...