การทำสมาธิ กรรมฐาน เปรียบเสมือนการเอาหินไปทับหญ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Toutou, 1 กรกฎาคม 2005.

  1. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    เคยได้ยินมาว่าการทำสมาธิ กรรมฐาน เพื่อเจริญสติคลายอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง เปรียบเสมือนการเอาหินไปทับหญ้าเอาไว้ เพราะถ้ามีสิ่งเร้ามากระตุ้น อวิชชาก็จะเจริญงอกงามขึ้นมาอีกได้

    แต่การเจริญวิปัสสนา เปรียบเสมือนการฆ่าหญ้าแบบขุดรากถอนโคน จะไม่กลับมาเจริญงอกงามอีก

    ไม่ทราบว่ากล่าวเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่คะ? (})
     
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ที่ว่า "การเจริญวิปัสสนา เปรียบเสมือนการฆ่าหญ้าแบบขุดรากถอนโคน จะไม่กลับมาเจริญงอกงามอีก" นั้น หมายถึงการได้มรรคได้ผลแล้วครับ

    การเจริญวิปัสสนาเจริญขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังมิได้มรรคได้ผลนั้น ก็มีคุณยิ่งเพราะทำให้กิเลสอ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนการหยุดให้น้ำให้ปุ๋ยแก่หญ้า หญ้านั้นย่อมไม่งอกงาม ย่อมเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด แต่หัวหญ้ายังอยู่ใต้ดินพร้อมจะงอกขึ้นมาอีกเมื่อได้น้ำได้ปุ๋ย จึงต้องขุดรากถอนโคนครับ
     
  3. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    ขอบคุณคุณผู้เดินทางมากค่ะ เป็นคำตอบที่ชัดเจนจริงๆ (smile)
     
  4. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    สมาธิที่มั่นคงเป็นพื้นฐานที่ดีให้กับวิปัสสนาครับ เทให้วลาปฎิบัติวิปัสสนาก็จะสามารถพิจารณาธรรมได้แจ่มแจ้งจนตัดกิเลสได้ง่ายขึ้นครับ บางทีปัญญาเห็นแล้วรู้แล้วว่าเป็นทุกข์อย่างไรจะพ้นทุกข์ต้องพิจารณาตัดอะไรบ้าง แต่ขาดกำลังใจในการตัดครับ ดังนั้นสมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกันครับ ต้องมีสัดส่วนที่ลงตัวกันอย่างพอเหมาะพอดีทั้งสมาธิและปัญญา เรียกว่า "มัคคสมังคี" จึงจะเดินจิตเข้าสู่มรรคผลได้ครับ
     
  5. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    หากว่าสมาธิเป็นกำลังในการตัดกิเลสด้วยการวิปัสนากรรมฐาน แล้วญาณที่ใช้ในการตัดกิเลส ที่เรียกว่าอาสวาขยญาณ กับวิปัสนากรรมฐานเหมือนกันไหมคะ
     
  6. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ขออนุญาตตอบคุณ Toutou ครับ

    ญานรู้เห็นนามรูปปรมัตถ์(ขันธ์ 5)ตามความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ (สังเกตุเฝ้าดู เห็นตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา ขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราในขันธ์

    5 และที่มาประกอบเป็น"เรา" ก็ไม่มีอะไรๆ นอกเหนือไปจากขันธ์ 5นี้อีกเลย)

    ญาณรู้เห็นพระไตรลักษณ์ (สังเกตุเฝ้าดู อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ) ในนามรูป ขันธ์ 5 ในปัจจุบันขณะ

    ญาณเห็นโทษภัยในขันธ์ 5 อันตกอยู่ภายใต้กฏแห่งพระไตรลักษณ์ จากการสังเกตุเฝ้าดูในปัจจุบันขณะ

    ตลอดไปจนถึงญาณอันรู้แจ้งแทงตลอดหรือมรรคญาณ ผลญาณ (อาสวาขยญาณใช้ สำหรับอรหันตมรรค) และปัจเวขณญาณ นั้น

    เป็นผลของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่เจริญยิ่งๆขึ้นไปเป็นลำดับครับ

    ต้องอาสัยสัมมาสมาธิระดับ ขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิเป็นกำลัง ในการเจริญวิปัสนาญาณ (= ภาวนามยปัญญาอันประกอบไว้ดีแล้วด้วยโยนิโสมนสิการ อันตัณหา

    และทิฐิไม่เข้าอาศัย) สังเกตุเฝ้าดูอยู่ในปัจจุบันขณะของนามรูปขันธ์ 5 ครับ

    ในขณะแห่งโคตรภูญาณ มรรคญาณ และผลญาณ จะประกอบด้วยสัมมาสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ (ฌาณ) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ครับ

    ส่วนญาณก่อนหน้าทั้งหมดนั้นมีรูปนามในปัจจุบันขณะเป็นอารมณ์ของการสังเกตุเฝ้าดูด้วยใจครับ

    การเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่การนึกรู้ (=สุตมยปัญญา อาศัยว่าจำได้)

    การเจริญวิปัสสนาไม่ใช่การคิดรู้ใคร่ควรพิจารณา (=จินตมยปัญญา อาศัยตรรกะ ผสมความรู้จำได้ และจินตนาการ)

    การเจริญวิปัสสนา อาศัยการสังเกตุเฝ้าดูด้วยใจ (= ภาวนามยปัญญาอันประกอบไว้ดีแล้วด้วยโยนิโสมนสิการ อันตัณหา และทิฐิไม่เข้าอาศัย) สังเกตุเฝ้าดูอยู่ใน

    ปัจจุบันขณะของนามรูปขันธ์ 5

    โยนิโสมนสิการ = การประกอบไว้ดีแล้วด้วยอุบายวิธีอันแยบคาย (อาศัย สุตมยปัญญา+จินตมยปัญญา) อันตัณหา และทิฐิไม่เข้าอาศัย ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ประกอบด้วยอุเบกขาสัมโพฌชงค์
     
  7. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อาสวักขยญาณเป็นผลที่เกิดจากการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานครับ วิปัสสนาเป็นกรรมฐานที่พิจารณาให้เห็นขันธ์ทั้ง 5 ตามความเป็นจริงด้วยการเจริญสติปัฎฐาน 4 และเมื่อเจริญสติปัฎฐานทั้ง 4 ให้มากแล้วก็จะเป็นเหตุให้เกิดสัมมาสมาธิครับ สัมมาสมาธิเป็นเหตุให้เกิดสัมมาญาณะ และสัมมาญาณะเป็นเหตุให้เกิดสัมมาวิมุตติครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    อ่านกระทู้นี้มาหลายความคิดเห็นแล้ว ก็ขอบอกว่าก็จริงตามที่คนตั้งกระทู้บอก
    แต่ต้องมองให้ออกนิดนึงว่า ถ้าเอาแต่ทำสมาธิไม่ทำการเจริญปัญญา หรือที่เรียกว่าไม่ทำวิปัสสนาเลย
    ย่อมเปรียบเสมือนหินทับหญ้าแน่นอน

    แต่ถ้าหัดทำสมาธิแล้วได้สมาธิมาระดับนึงที่เรียกว่าฌาณ ทำบ่อยๆจนคล่องและหัดมาเจริญวิปัสสนาในนั้น ถึงตอนนั้น วิปัสสนาย่อมไม่ใช่เรื่องยากแล้ว เพราะกำลังสมาธิระดับฌาณย่อมทำให้จิตตั้งมั่นได้นานและมีพลัง แนวทางแบบนี้เรียกว่ สมาถะญานิก

    ส่วนอีกแนวทางนึงที่ อาศัยสมาธิแค่ระดับน้อยมาก ตามตำราเรียกว่า ขณิกสมาธิ แล้วมาเข้าการตามรู้ก็สามารถดำเนินเข้าวิปัสสนาได้เหมือนกัน แต่แนวทางหลังเรียกว่า วิปัสสนาญานิก

    ทั้ง 2 แนวทางสามารถทำให้หมดกิเลสได้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันนักปฏิบัติส่วนใหญ่ มุ่งหวังผลทางสมาธิกันจนลืมหัวใจสำคัญของการปฏิบัติว่าจะต้องละกิเลสออกจากใจ ดันไปหวังหาอะไรมาใส่ตัว ส่วนใหญ่หวังทำฌาณให้เกิดเพื่อฤทธ์เดชสารพัดมากกว่า ซึ่งผมก็เคยเป็นนึงในคนพวกนั้นเหมือนกัน

    ตอนหลังกว่าจะคิดได้เสียเวลาไปน่าดู และก็เคยคิดจะเลิกทำสมาธิไปเลย หวังจะเจริญสติอย่างเดียว
    แต่พระพุทธเจ้าก็บอกให้ทำทั้ง 2 อย่างทั้งสมาธิและวิปัสสนา ทุกวันนี้ผมจึงทำทั้งสมาธิและวิปัสสนา
    ตามแนวสมาถะญานิก เพราะพบว่าแนวนี้เหมาะกับจริตตนเอง และในชีวิตประจำวันก็อาศัยการเจริญสติ
    ไปด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2005

แชร์หน้านี้

Loading...