เรื่องเด่น "กรรมดี-กรรมชั่ว เหมือนกลางวัน-กลางคืน" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 1 มกราคม 2022.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    3,022
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,558
    ค่าพลัง:
    +12,644
    1สมเด็จพระงฆราชเจ้า.jpg

    .
    "กรรมดี-กรรมชั่ว เหมือนกลางวัน-กลางคืน"

    " .. "อันความดีและความชั่วนี้ มีลักษณะพร้อมทั้งผลต่างกัน" เมื่อเป็นความดีจริง ถึงใครจะพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นความชั่ว ก็ไม่อาจทำได้ คงเป็นความดีอยู่นั้นเอง แม้ความชั่วก็เหมือนกัน "เมื่อเป็นความชั่วจริง ก็คงเป็นความชั่วอยู่นั้นเอง" ไม่มีใครสามารถจะกลับกลายให้เป็นความดีไปได้

    ส่วนความอ้างเอาเองและความเข้าใจของคนก็เป็นเพียงความอ้างเอาเองหรือความเข้าใจเท่านั้น แม้จะทำให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้บ้าง เช่น "การใส่ความ การยกยอโดยไม่เป็นความจริง" ก็ไม่ใช่ผลของความดีความชั่วนั้นโดยตรง

    "ผลของความดีหรือความชั่วนั้น จะต้องมาถึงเมื่อถึงโอกาส" เพราะการให้ผลของความดีหรือความชั่วก็มีเวลาเหมือนวันคืน "เมื่อยังเป็นเวลากลางวัน จะเร่งเป็นเวลากลางคืนสักเท่าไรก็คงเป็นไปไม่ได้ จนกว่าจะถึงเวลาสิ้นวัน เวลากลางคืนก็เข้ามาถึงเอง" แม้ในเวลากลางคืนก็เหมือนกัน จะเร่งให้เป็นเวลากลางวันเท่าไร ก็เป็นไปไม่ได้ จนกว่าจะสิ้นวันแล้วกลางวันก็จะเริ่มขึ้นเอง

    "เวลาความดีให้ผลเหมือนกลางวัน เวลาความชั่วให้ผลเหมือนกลางคืน" ฉะนั้น บุคคลในโลกนี้เมื่ออยู่ในระยะกาลที่ความดีให้ผลก็มีชีวิตสว่างรุ่งเรือง "แม้จะทำความชั่วในระหว่างนั้นก็ยังสว่างไสวอยู่ก่อน จนกว่าจะถึงกาลที่ความชั่วให้ผล" แต่เมื่ออยู่ในระยะกาลที่ความชั่วให้ผล ชีวิตก็อับแสงเศร้าหมอง ถึงจะทำความดีในระหว่างนั้นก็ยังอับแสงต่อไป จนกว่าจะถึงกาลแห่งความดีให้ผล

    เหตุฉะนี้ "บุคคลบางคนหรือบางพวก ผู้ไม่มีศรัทธาในกรรมหรือผลของกรรม" จึงมักมีความเห็นเลื่อนลอยไปตามผลต่าง ๆ ที่เห็นจำเพาะหน้า เห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้น เป็นต้นว่า "เห็นบางคนทำดีและได้รับผลดีก็พูดว่า ทำดีได้ดี เห็นบางคนทำชั่วแต่ได้รับผลดี ก็พูดว่าทำชั่วได้ดี" เห็นบางคนทำชั่วได้รับผลชั่วก็พูดว่า ทำชั่วได้ชั่ว เห็นบางคนทำดีแต่ได้รับผลชั่ว ก็พูดว่า ทำดีได้ชั่ว

    คนมิใช่น้อยพูดเลื่อนลอยไปตามที่เห็นจำเพาะอย่างนี้ "เพราะไม่ทราบหรือไม่เชื่อในกฎของกรรม" อันเกี่ยวกับกาลกำหนดเหมือนอย่างวันคืนดังกล่าว ฉะนั้น "เมื่อมีความรู้หรือความเชื่อในกฎของกรรม" ก็จักกล่าวอย่างแน่นอนไม่เลื่อนลอยว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" .. "

    "สิริมงคลของชีวิต"
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
     

แชร์หน้านี้

Loading...