ศังกราจารย์ เป็นคนที่ทำให้ศาสนาพุทธกลายเป็นพราหมณ์จริงๆหรอครับ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Jera, 19 เมษายน 2016.

  1. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    วันนี้ลองหาอะไรผ่านๆ ก็เจอกับหัวข้อนี้ขึ้นมา

    ซึ่งมันค่อนข้างสำคัญ กับผู้เริ่มสนใจคำสอนของศาสนาพุทธมาก

    เลยทีเดียว ประเด็นเเเเตกออกเป็น

    สอง ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งว่า การเวียนวายตายเกิดเป็นคำสอนทางพราหมณ์

    ที่ศังกราจารย์ นำมาปนเพื่อให้ศาสนาพุทธบิดเบือน เเละผนึกเข้ากับคำสอนของศาสนาพราหมณ์

    เเละอีกประเด็นหนึ่ง คือ ยังคงยึดมั่นว่า หลักการเวียนวายตายเกิด มาจากหลักธรรมทางพุทธจริงๆ

    [​IMG]

    ใน ส่วนตัว เชื่อว่า เป็นหลักธรรมทางพุทธจริงๆ





    ย้อนรอยประวัติศาสตร์การเสื่อมสลายของพุทธศาสนาในชมพูทวีป

    ตอน ศังกราจารย์

    อัจฉริยบุคคลระดับโลก ที่ชาวพุทธไม่เคยรู้จัก แต่จำเป็นต้องรู้จักมากที่สุด

    ในบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลายบนโลกนี้ อาจกล่าวได้ว่าท่านศังกราจารย์เป็นเจ้าลัทธิที่มีอัจฉริยภาพมากที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ของโลกเลยทีเดียว เพราะลำพังการที่คนคนหนึ่งคิดจะก่อตั้งลัทธิอะไรขึ้นมาได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ท่านศังกราจารย์นั้นสามารถทำได้มากกว่านั้น ท่านสามารถที่จะดูดดึงศาสนิกชนชาวพุทธไปเป็นสาวกของตนเองได้อย่างแนบเนียน จนล้มพุทธศาสนาที่เป็นคู่แข่งลงได้ แล้วใช้เป็นฐานในการพัฒนาและปฏิรูปลัทธิใหม่ของตน จนสืบต่อมาได้อย่างยิ่งใหญ่และกลายเป็นศาสนาสำคัญของโลกในยุคปัจจุบันได้สำเร็จ
    ท่านศังกราจารย์สามารถล้มพุทธศาสนาลงได้อย่างไร? เรามารู้จัก นักการศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของโลกคนนี้ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายพุทธศาสนาได้อย่างถึงรากและแนบเนียนที่สุด ด้วยยุทธศาสตร์ “ทำลายโดยไม่ให้รู้ว่าทำลาย”


    ประวัติย่อ
    ท่านศังกราจารย์ นามจริงคือ ศังกระ หรือ อาทิ ศังกระ (อังกฤษ: Adi Shankara สันสกฤต: आदि शङ्करः) มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 788-820 (พ.ศ. 1331 - 1363) เป็นปราชญ์และนักการศาสนาชาวอินเดียใต้ เกิดที่เมืองเกราลา (Kerala) แต่ได้เดินทางโต้วาทะและเผยแผ่ลัทธิใหม่ของตนไปทั่วอินเดีย นับถือกันว่าเป็นองค์อวตารของพระศิวะ ศังกราจารย์เป็นผู้ประพันธ์คัมภีร์ปุราณะและคัมภีร์เวทานตะ อรรถกถาอธิบายลัทธิเวทานตะ และเป็นผู้ตั้งลัทธิอไทวตะเวทานตะ (อไทว อ่านว่า อะทะไว มาจาก non-dualism ที่ปฏิเสธของคู่แต่นิยมบูชาพระเจ้าองค์เดียวเป็นสิ่งสูงสุด) แต่คนส่วนใหญ่มักจำชื่อลัทธิของท่านว่า ลัทธิไศวะ หรือ ลัทธิศิวะอวตาร และยังเป็นผู้ก่อตั้งวัดและพระในรูปแบบสถาบันสงฆ์ที่เลียนแบบคณะสงฆ์ในพุทธศาสนา ส่งผลให้มีการครอบงำและกลืนกินพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กับเกิดการพัฒนาและปฎิรูปลัทธิพราหมณ์ให้ยกระดับเป็นศาสนาฮินดูในที่สุด
    ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดในฐานะบุคคลในประวัติศาสตร์ นักปรัชญา นักปฏิรูปศาสนา และในฐานะปูชนียบุคคลอันสูงสุด คือองค์อวตารของพระศิวะ

    ทำเนียนว่าบูชาพระพุทธเจ้า แต่ให้พระศิวะเป็นสิ่งสูงสุด อุปโลกน์ตนเป็นองค์อวตาร

    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลัทธิใหม่ค่อยๆ ได้รับความนิยมจนกลืนพุทธศาสนาไปได้อย่างแนบเนียน ก็คือการใช้หลักของความเชื่อเหนือจริงที่เกินกว่าคนทั่วไปจะคิดได้ โดยอุปโลกน์ว่าตนนั้นเป็นองค์อวตารของพระศิวะ ในรูปของเรื่องเล่าและแต่งเป็นคัมภีร์ จนก่อเกิดเป็นลัทธิไศวะหรือศิวะอวตาร และแต่งคำสอนในลัทธิของตนให้มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเสีย คือให้พระพุทธเจ้าเป็นปางที่ ๙ ของพระนารายณ์ ดังปรากฎในคัมภีร์ปุราณะ โดยกลอุบายอันแยบยลนี้พุทธศาสนิกชนที่มีมาอยู่แต่เดิม ก็กลายเป็นศาสนิกชนในลัทธิของท่านศังกราจารย์ไปด้วย ในขณะเดียวท่านสังกราจารย์ก็มีความสามารถในการจัดตั้งและบริหารองค์กรเป็นอย่างมาก ก็ได้ก่อตั้งวัดและสังฆะของพระตามแบบในพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นการสั่งสมฝึกปรือกุลบุตรให้มาเป็นบุคลากรชั้นยอดของนักเผยแผ่ทั้งทางด้านบุคลิกภาพและความสามารถเป็นจำนวนมาก แล้วส่งกระจายไปแฝงตัวตามหัวเมืองต่างๆ เบื้องต้นได้ตั้งวัด(ที่เรียกว่า “มัฐ” หรือ “มะฐะ”) สาขาขนาดใหญ่ไว้ทั้งสี่ทิศเลียนแบบวัดในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียกศรัทธาจากชาวบ้านและทำหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์ระดมทรัพยากรในระดับภูมิภาค

    ในด้านคำสอนและพิธีกรรมก็ได้มีการนำคำสอนและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาปรับใช้แต่แปลงเปลี่ยนให้ไปในแนวทางลัทธิของตน ทำให้แทรกซึมเข้าไปสู่ชาวบ้านที่เป็นชาวพุทธอยู่แต่เดิมได้โดยง่าย จนเกิดการยอมรับนับถือมากขึ้นๆ ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาติดอยู่กับลาภยศสรรเสริญทรัพย์สินเงินทองความร่ำรวย อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ละเลยวัดและชาวบ้านในชนบทที่ห่างไกล จึงทำให้ลัทธิศิวะอวตารนี้ค่อยๆ ยึดวัดในพุทธศาสนาของเดิมมาเป็นวัดในลัทธิของตนได้อย่างแนบเนียน แต่ในมุมของชาวบ้านนั้น ไม่รู้สึกว่าพุทธศาสนาจะหมดหรือเสื่อมสูญไปตรงไหน เพราะยังได้ทำพิธีกรรมและบูชาพระพุทธเจ้าอยู่เช่นเดิม วัดก็ยังมีพระของลัทธิไศวะมาอยู่ประจำคอยทำพิธีกรรมให้ เพียงแต่เพิ่มการบูชาพระศิวะและเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพิ่มขึ้นมา และยกย่องให้พระศิวะเป็นสิ่งสูงสุด และนับถือท่านศังกราจารย์ในฐานะเป็นองค์อวตารของสิ่งสูงสุด ศาสนิกชนชาวพุทธที่มีมาแต่เดิมจึงกลายไปเป็นสาวกของนิกายศิวะอวตารได้ด้วยความเต็มใจ


    วิเคราะห์เหตุปัจจัย

    เหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้ศังกราจารย์ทำลายพุทธศาสนาลงและตั้งลัทธิใหม่ของตนขึ้นมาได้สำเร็จ จนนักปราชญ์ทางศาสนายกย่องว่าท่านคือผู้กอบกู้ลัทธิพราหมณ์และมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการพัฒนาและปฏิรูปลัทธิพราหมณ์ขึ้นมาเป็นศาสนาฮินดูในที่สุด

    - การแฝงตัวเข้ามาอยู่ในกลุ่มพระภิกษุในพุทธศาสนา ตามประวัติว่ากันว่าท่านศังกราจารย์ได้เข้ามาเรียนองค์ความรู้ทางพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย ระหว่างนั้นก็ได้คบค้าสมาคมกับพระภิกษุที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ทำให้ทั้งรู้องค์ความรู้ต่างๆในพุทธศาสนา อีกทั้งยังรู้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นจุดอ่อนต่างๆของพระภิกษุในพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีด้วย

    - จากการที่ได้เข้ามาคลุกคลีและศึกษาคำสอนในพุทธศาสนา ทำให้ศังกราจารย์สามารถนำ Know how ที่เป็นจุดแข็งของพุทธศาสนามาปรับใช้ คือการก่อตั้งวัดและสังฆะเลียนแบบพุทธศาสนา และการปรับประยุกต์พิธีกรรมและคำสอนทางพุทธไปเป็นของตน จนทำให้ชาวบ้านยอมรับได้โดยง่าย

    - การไม่ปฏิเสธพระพุทธเจ้า แต่เชื่อมความเชื่อให้พระพุทธเจ้ามาอยู่ในลัทธิของตน พร้อมๆ กับค่อยแทรกความเชื่อเรื่องพระศิวะเป็นสิ่งสูงสุด จนกระทั่งเมื่อชาวบ้านเกิดการหลงเชื่อมากขึ้นแล้ว ก็สถาปนาตนเองให้อยู่ในสถานะที่สูงสุดคือองค์อวตารของพระศิวะ ที่อยู่เหนือกว่าพระพุทธเจ้า

    - การให้ความสำคัญในการก่อตั้งและพัฒนาวัดให้ดี และกระจายสาขาออกสู่ชนบท

    - การให้ความสำคัญกับการสั่งสมและพัฒนาบุคลากรให้เป็นพระที่มีความสามารถในการเผยแผ่ทั้งบุคลิกภาพและความสามารถ และมีความคล้ายคลึงกับพระในพุทธศาสนาทำให้ชาวบ้านยอมรับได้ง่าย จนมีสำนวนว่า “รูปร่างเป็นพระ แต่ความรู้ไม่เป็นพุทธ” (จากการที่ท่านเคยอยู่ร่วมกับพระภิกษุในพุทธศาสนาจึงรู้ว่าตรงไหนเป็นจุดอ่อน ก็มาปรับให้พระในลัทธิของตนดูดีกว่าเหนือกว่าพระของพุทธที่มีมาแต่เดิม)

    - แนวทางการสอนและประกอบพิธีกรรมที่ปรับประยุกต์ไปจากพุทธนั้น ทำให้ชาวบ้านไม่รู้สึกว่าเป็นลัทธิใหม่ ก็ยังเป็นชาวพุทธที่บูชาพระพุทธเจ้าอยู่เพียงแต่เพิ่มเทพเจ้าที่บูชาขึ้นมาเท่านั้น

    - พระในพุทธศาสนา มีความประพฤติย่อหย่อน หลงติดในลาภยศสรรเสริญ ความร่ำรวยในทรัพย์สินเงินทองชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อสุขสบายในเมืองใหญ่ ด้านหนึ่งก็ทำให้ละเลยการศึกษาและปฏิบัติตนตามพระธัมมวินัย อีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้ละเลยการออกเผยแผ่ให้การศึกษากับชาวพุทธในชนบท ละเลยการดูแลวัดพุทธในชนบทจนกลายเป็นวัดร้างและถูกกลืนไปเป็นวัดของลัทธิศิวะอวตารไปในที่สุด


    พระถูกมอมเมาให้หลงลาภยศเมื่อไรก็เป็นจุดอ่อนให้เขาทำลายได้สำเร็จ

    ดังนั้น หากพระภิกษุในพุทธศาสนาเอง ประพฤติตนให้เป็นคนย่อหย่อน ไม่ศึกษาและปฏิบัติให้ถูกตรงตามพระธัมมวินัยด้วยดี มัวแต่หลงการมอมเมาอยู่ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ทรัพย์สินเงินทอง โดยเฉพาะพระมหาเถระ และพระเถระทั้งหลาย ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี และไม่สั่งสอนอบรมให้พระรุ่นใหม่ตลอดจนญาติโยมชาวพุทธให้ศึกษาและปฏิบัติในทางพุทธศาสนาอย่างถูกต้องรู้จริงปฏิบัติจริงได้ผลจริงแล้วไซร้ ก็จะเป็นการเปิดช่องให้ลัทธิความเชื่อนอกศาสนาแอบแฝงเข้ามาครอบงำกลืนกินพุทธศาสนาจากจุดอ่อนอันร้ายแรงนี้ ตามรอยอย่างท่านศังกราจารย์ จนทำให้พุทธศาสนาที่แท้จริงตามพระธัมมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเสื่อมสลายหมดไปจากผืนแผ่นดินไทยในที่สุด โดยที่ทั้งพระและชาวพุทธนั้นอาจจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองได้มีส่วนทำให้พุทธศานาได้สูญสิ้นไปแล้วซ้ำรอยชาวพุทธในชมพูทวีปนั่นเอง


    การทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสลายไปจากประเทศไทยมิใช่เรื่องยาก หากรู้จุดอ่อน

    การยึดครองพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่คิด ถ้าหากเรารู้จุดอ่อนในวงการคณะสงฆ์และการเมืองในคณะสงฆ์ ก็จะรู้ว่ามีมากมาย โดยเฉพาะเมื่อยามที่พระเถระมหาเถระทั้งหลายเป็นผู้ประพฤติมักมากเห็นแก่ลาภยศและเงินทองแล้วไซร้ ย่อมเป็นช่องโหว่หรือจุดอ่อนอันสำคัญให้ผู้ที่ฝักใฝ่ลัทธิอื่นแฝงตัวเข้ามาบวชได้โดยง่าย จากนั้นก็ใช้ผลประโยชน์ในการบำรุงบำเรอมอมเมาเอาอกเอาใจพระมหาเถระเหล่านั้น เพื่อการไต่เต้าเติบโตของตนและพรรคพวก และถ้าหากพวกเขาแทรกซึมเข้ามาในวงการปกครองคณะสงฆ์ได้สำเร็จเมื่อไร การครอบงำยึดครองพุทธศาสนาก็กระทำได้โดยง่ายดาย ในส่วนของชาวพุทธเองก็มีจุดอ่อนมากมายเนื่องด้วยถูกทำให้ออกห่างจากการศึกษาและปฏิบัติมานาน จึงขาดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้อง มีลักษณะไปทางความเชื่องมงายได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวข้องกับเรื่องอภินิหาร การให้โชคลาภ การนำความร่ำรวยการเป็นเศรษฐีมาเป็นตัวล่อ ลักษณะเช่นนี้ย่อมง่ายที่จะชักจูง โน้มน้าวชาวพุทธส่วนใหญ่ในประเทศไทยให้เข้ามาเป็นสาวก และยอมรับซึมซับคำสอนตามความเชื่อในลัทธิใหม่ได้อย่างง่ายดายเช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยของพุทธบริษัทเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ซ้ำรอยประวัติศาสตร์อย่างในยุคของท่านศังกราจารย์จึงไม่ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะมันก็กำลังดำเนินไปอยู่อย่างเข้มข้นมิใช่หรือ??

    ฐิตวํโส ภิกขุ
    ธรรมอาสาปกป้องพระธัมมวินัยจากปรัปวาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2016
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ง่ายๆ สั้นๆ

    ทิฏฐิทำนองเห็น จิตเที่ยง แล้ว จิตนี้เป็นตัวสะสม เป็นตัวออกจากร่าง ตายแล้วไปเกิด เป็น มิจฉาทิฏฐิ

    ทีนี้ พิจารณาข้อความให้ดีๆ

    จิตเป็นเพียง ธาตุเกิดจาก ปัจจัยการ โดยมี อาหาร4 เป็นปัจจัย ...
    โดยที่ การเสพอาหารของธาตุที่เรียกว่าจิต ไม่มีอะไรไป ยั๊บยั้งได้
    เพราะเป็นอนัตตาธรรม ดังนั้น การจุติ(ไม่ใช้คำว่า ตาย) และ
    การปฏิสนธิ(ไม่ใช่คำว่า เกิด) จึงเป็นเรื่องของ สิ่งที่เป็นไปตามปัจจัยการทั้งคู่
    จึงไม่ใช่เรื่อง สัตว์ ไม่ใช่เรื่องการ สะสม .....แต่กรรมใดๆ ย่อมต้องมีวิบากให้ผล
    ดังนั้น กรรมที่ทำมาแบบหาเบื้องต้นไม่ได้ กรรมนั้นก็รอให้ผลเป็นวิบาก อยู่
    ไปห้ามไม่ได้ แทรกแซงก็ไม่ได้ ทำให้หายไปก็ไม่ได้ .........แต่ทว่า หากอบรม
    จิตให้ถูกวิธี การพ้นย่อมมีได้ ด้วยความเพียร และ ความแยบคายในการ รับสาร
    แล้วเอาไป ใคร่ครวญ ให้ดีๆ เล็งเห็น ธรรม ความแตกต่างระหว่าง ภูมิธรรมของ
    พราหมณ์ที่กล่าวได้เพียงโวหาร ไม่อาจจะประจักษ์ธรรมได้จริง เพราะ เพียรผิด
    ทิฏฐิผิด(วิปลาส)
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ พอพูดแบบนี้ปั๊ป จากความที่ คนที่เราเคารพ นับถือ เหมือนว่า จะพูดอย่างอื่น

    อันนี้ ต้องกลับไป พิจารณา พระสูตรนี้ประกอบ

    จะเห็นว่า ผู้ที่ ทำวิปัสสนาในหมวด เวทนา
    ได้ จะมี โวหาร อนุโลมไปตาม โลก ได้

    ไม่จำเป็นจะต้องกล่าว คำที่เป็น ธรรมจากพระโอษฐ์เสมอไป

    ที่อนุโลมได้ ก็เพื่อให้เป็น วัตร เป็น หมู้คณะ เป็น ประเพณีท้องถิ่น
    เพื่อให้ เข้ามาฟังธรรม กับ ท่านบ่อยๆ มาเสวนาธรรมกับท่านเนืองๆ
    ไปปฏิบัติมา ติดขัดอะไรก็จะมาถาม ท่าน

    ......เราก็จะเรียกว่า อนุโลม ตามกุศโลบาย ของผู้สอน

    ซึ่งถ้าผู้สอน รู้จริง สอนไปเหมือนผิด แต่ ท่านจะรู้ จังหวะ ในการแก้จิต
    ให้ผลิกกลับมาถูกได้ ........ด้วยเหตุนี้ คนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีนี้
    ก็จะไม่ปฏิเสธ พฤติกรรมของคนมาเรียน จะ ยิ่งอนุโลมลงไป ...โดยหลัก
    การ การบรรลุธรรม จะยากขึ้น การแก้จิตจะยากขึ้น หาก ผู้ใช้อุบายนั้นมรณะ
    ภาพไปก่อน ก็มีแนวโน้ม ปิดสายการภาวนานั้น เป็นหมันจาก มรรคผลนิพพานไป

    เว้นแต่ ผู้ที่เรียนจะไม่ประมาท หันกลับมา ดื่มนม กินข้าวกล้อง หายใจเข้าหายใจออก
    แล้ว กำหนดรู้ทุกข์ (ปรารภความเพียร ไม่ประมาท นั่นแหละ)



    ปล. นมกับข้าวกล้อง มีชื่อ เพราะๆว่า ข้าว มธุปายาส
     
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    แปลว่า...คนที่เชื่อว่าตายแล้วเกิดใหม่เป็นมิจฉาทิฐิ...มิจฉาทิฐิที่แปลว่า เชื่อว่ามันถูกที่สุด นั่นเพราะ การเกิดสามารถ ดับเหตุปัจจัย ดับเชื้อได้...ถ้าเชื่อครบทั้งสองข้อ จะไม่เป็นมิจฉาทิฐิ นั่นเพราะมัน ทางเลือกไห้ตัวเอง .......การเกิดใหม่มีจริง แต่มันก็ไม่ไช่ที่ถูกที่สุด เพราะการดับการเกิดนั้นก็มีอยู่ นั่นเอง...ทุกอย่างย่อมเป็นไปโดยเหตุปัจจัย....ของมัน ของอวิชชา ของผู้ไม่รู้...
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อย่ามองในมุมนี้สิครับ ถ้ามองว่าคุรุผู้สอนตายก่อน คนที่เรียนรู้ตามจะเจอทางตัน...นี่แสดงว่า คุรุสอนไม่เป็น

    คุรุที่แท้จริง จะต้องเล่า แก้ ชี้เส้นทาง แก้ปัญหา ทางทฤษฏีเอาไว้ ให้ ตั้งแต่ต้นจนจบเลย...แบบว่า ไม่มีกั๊ก...อัดความรู้นั้น อัดปัญญานั้น ให้ผู้เดินตามไว้เลย เปรียบเหมือน เขียนแผนที่ ทั้งหมด เอาปัญญาของคุรุทั้งหมด มอบให้ผู้เรียนรู้ตาม ให้หมดเลย เวลาคุรุ ตายไป จะได้ ไม่มีอะไรติดค้าง ..นั่นไงล่ะ

    เคยรู้เรื่องแบบนี้หรือเปล่า ล่ะ
     
  6. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ยกเว้นว่า คุรุ ก็ไม่เคยเห็นที่สุดแห่งสมมุติบัญญัติ
    ยกเว้นว่า คุรุ ก็ไม่พบความจริงอันเป็นที่สุดแห่งตน

    แบบนี้ นำคนอื่นไป เสียเวลาเปล่าๆ นั่นเอง....(โดยเฉพาะพวกที่ชอบกล่าวอ้าง ความเป็นปัจจัตตังว่า ทำเองก็รู้เอง พวกนี้มั่วครับ)

    ปัตจัตตัง ...เขาเอาไว้ ใช้ กับสภาวะ ผล ที่แต่ละคน จะต้องใช้ยา ใช้พระธรรมบทใด มารักษา ปัญหาความสงสัย ที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันต่างหาก


    ปัจจัตตัง เอามาใช้ กับผล ความเป็นอนัตตา หรือกับคำว่า นิพพานใครนิพพานมัน...มันไม่ได้
     
  7. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    นิพพานใคร นิพพานมัน...พวกนี้มั่ว
    ทำๆๆไปเถอะ เดี๋ยวก็รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง...นี่ก็พวกมั่ว

    ศาสนาก็ศาสนาเดียวกัน ศาสดาก็ศาสดาองค์เดียวกัน แต่พระธรรมและเส้นทางเดิน ต่างกัน แต่จุดหมาย หรือ พระนิพพานอันเดียวกัน

    ถ้าจะจบ ก็ต้องจบลงที่เดียวกัน...ถ้ายังแตกต่างกัน ก็แสดงว่า..มีคนผิดหรือผิดทั้งคู่
    เพราะ จุดหมายของพุทธศาสนา คือที่เดียวกัน
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    เหตุเกิดที่เราเอง
    จะไปโทษคนอื่นทำไม
    นั่นเป็นกรรมของพระพุทธเจ้า
    เราผู้ติดตาม ก็ได้แต่เฝ้าดู
    ไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ ให้เกิดทุกข์

    หากจะให้ดี ควรปิดจุดอ่อนของเราเอง จะดีกว่า
    จะมานั่งโทษคนอื่น โทษพระของเราเอง
    ที่อยากได้เงินทองเอง ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมเอง
    จนไม่อาจบรรลุธรรมได้
    ได้แต่ติดอยู่ใน ลาภ ยศ สรรเสริญ
    ยศพระ ก็ไม่ควรมีตั้งแต่แรก
    มันทำให้พระหลง
    ตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็ไม่ควรมี
    มันสร้างห่วงให้พระ อีกอันหนึ่ง
    เพราะต้องคอยมาดูแลวัด
    แทนที่จะได้ ปฏิบัติธรรม
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    ไม่ใช่ "ที่เดียวกัน" จิฮับ

    ถ้าใช้คำว่า " ที่ " ในทางธรรม เราจะเห็น หางของ อัตตานุทิฏฐิ
    สำคัญว่า มีตนเที่ยง รอสถาณที่เข้าไปนั่ง จุมปุ๊ก เป็น สุดติ่งมิจฉาทิฏฐิ
    แฝงอยู่

    ถ้าใช้คำว่า " มีกิจเดียว " คือ ปฏิบัติเพื่อ วิมุตติ ก็จะเป็น การปรารภ มรรค
    ไม่มี ติ่ง อัตตา แฝงเร้น

    พอมี "กิจเดียวคือวิมุตติ" ก็จะ อนุโลมโวหาร " รสเดียว " ได้ โดย...ที่

    คำว่า " รสเดียว " เป็น กุศโลบาย เอาไว้เช็ค การกระเดิด " ถามหา "
    บางอย่าง หากมี นิดเดียวในจิต โหลยโถ้ย !!!
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เอ้า...งั้นก็ ขอ พูดใหม่ว่า นิพพานอันเดียวกัน..(อนุโลมก่อนดิ)

    นิพพานอันเดียวกัน คือ เข้าถึงมรรคแปดอันเดียวกัน(5ข้อ6ข้อ 7ข้อ ไม่นับนะต้องครบแปด)..รสเดียวกันมั้ย สัมมาสัมพุทธะ
     
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    หรือจะให้พูดว่า นิพพานรสเดียวกัน....ถึงจะถูกใจท่าน นิวรณ์
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่ถูกจิฮับ นิพพาน เอาเข้าจริงๆ ไม่มีรส

    เว้นไว้แต่ จะกล่าวให้ วงกลมจุดเกิดทยานอยากในนิพพาน
    ก็จะ กล่าวเป็น อุบาย ให้อยาก(นำหน้าไปก่อน)

    ฮิวววววววววววววววววววววววววส์
     
  13. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    โห...อยากไปๆๆๆๆๆๆๆๆ ไกลมั้ยล่ะ ถ้าไกลไม่ไปนะ เสียเวลากลับ...
    ถ้าไกล้ ก็ถามว่า มีห้องแอร์ ระดับห้าดาวป๊ะ...:boo:
     
  14. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ถ้าไม่มีรส....ก็จะได้เตรียม เกลือ น้ำปลา น้ำตาล ผงชูรส ข้าวคั่ว หัวหอม ชีส เนย ซอส น้ำมันหอย ไปด้วย....เลย...รับรอง แซบ :cool:
     
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ข้อคิด...ใครไม่อยากคิด ก็ไม่ต้องคิด

    พอพุทธองค์ดับขันธุ์ ปรินิพพานลง....ทำไมศาสนาจึง คลอนแคลน แสดง ว่าอริยะ พระอรหันต์ ที่มีความสามารถรักษาพระธรรม ..มีน้อยลง หรือไม่มี หรือ...อรหันต์ไม่จริง....จึงเป็นแบบนี้
     
  16. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    เดี๋ยวนี้ก็ผสมปนเปไปหมด
     

แชร์หน้านี้

Loading...