หลวงปู่มั่นจำตอบปัญหาธรรมเพื่อให้หลวงปู่เจี๊ยะพิจารณาธรรม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 13 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    [​IMG]
    ที่พักของเรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) กับท่านพระอาจารย์มั่นไม่ห่างกันมากนัก ท่านอายุ ๗๐ แล้ว ต้องคอยดูแลท่าน ท่านจะเรียกใช้อะไรจะได้ยินได้ง่าย ในตอนเย็นๆ หลังจากทำข้อวัตรปฏิบัติเสร็จ มีปัญหาธรรมอันใดขัดข้อง จะนำไปถามท่านเสมอ เราเคยเข้าไปที่พักท่านที่โนนนิเวศน์ ไปถามปัญหาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นอันหนึ่ง ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
    สมัยอยู่กับท่าน ถามว่า “ครูบาจารย์...ครับ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ที่ท่านพ้นจากอาสวะกิเลสไปแล้วอย่างนั้น เข้าสมาธิทีเดียวจะได้หรือไม่”
    ท่านตอบว่า “เออ... ดูแต่พระพุทธเจ้าเป็นต้น เวลาก่อนที่จะเข้านิพพานอย่างนี้ ก็ต้องเข้าตั้งแต่ปฐมฌาน ตั้งแต่รูปฌาน จนถึงอรูปฌาน เข้าไปโดยลำดับ”
    หลวงปู่เจี๊ยะพิจารณาธรรม
    “ทำไมท่านว่าอย่างนั้นหนอ” เราก็นำมาพิจารณา เนี่ยก็น่าคิด น่าตรึกตรอง เพราะขั้นต้นของหัวใจของคนเรานั้น มันต้องมีอารมณ์เป็นสิ่งเกื้อกูลอุดหนุน ให้กระสับกระส่ายไปในบางสิ่งบางอย่าง กระทบทางหู ทางตา ทางใจ เข้ามารบกวนอยู่ เพราะฉะนั้น ขั้นต้นก็จำเป็นที่สุด จำเป็นจะต้องชำระให้ใจนั้นเข้าไปอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง ให้ถึงจุดอันนั้นแล้ว ใจมันก็เกิดความสงบ นิวรณ์ทั้งหลายก็ดับไปจากใจเรา ใจนั้นก็เป็นปกติ เป็นหนึ่งอยู่จำเพาะอย่างนั้นเบื้องต้น
    อันนี้เองเป็นต้นเหตุให้เข้าใจของการบำเพ็ญสมาธิ ผู้ปฏิบัติก็จำเป็นจะต้องเน้นแนวทางให้ถูกทาง จึงเรียกว่าสมกับเป็นนักกรรมฐาน
    ถ้าเราไม่เน้นทางให้ถูก สักแต่ว่ากระทำไปโดยไม่ตรึกตรอง ไม่พินิจพิจารณา ใคร่ครวญ สิ้นไปวันหนึ่งคืนหนึ่ง หลาย ๆ วัน หลาย ๆ เดือน หลาย ๆ ปีอย่างนี้ สิ้นไปโดยเปล่าประโยชน์ การบำเพ็ญนั้นไม่ค่อยได้เกิดประโยชน์กับเรา กับชีวิตของเรา ที่ทุ่มเทเสียสละมา จากกิจการบ้านเรือน สละโลก และสงสารมาอย่างนี้ แล้วควรจะทุ่มเทชีวิตด้านจิตใจ ให้เป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตของเรา สมกับความมุ่งมาดปรารถนา เราเข้ามาเพื่อต้องการขจัดทุกข์ของหัวใจให้ออกไปจากใจของเรา

    <TABLE width=100 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าโนนนิเวศน์

    (ปรับปรุงใหม่)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เพราะฉะนั้น การเมื่อความดำริอย่างนั้นแล้ว สิ่งอันใดที่เรากระทำไม่เกิดความสงบ เราก็จำเป็นที่จะศึกษาไต่ถาม หรือเพียรพยายามด้วยตัวเองอย่างใดอย่างหนึ่ง มันขัดข้องประการใด อย่างนี้มีครูบาอาจารย์ก็ศึกษาจากท่านเหล่านี้ เป็นต้น
    เพราะฉะนั้น การทำใจเข้าสู่ความสงบนี้ก็ประการหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ความสงบอย่างนั้น จิตใจที่ปราศจากนิวรณธรรมทั้งหมดแล้วอย่างนั้น ใจนั้นจะเยือกเย็น ใจนั้นจะสุขุม ไม่มีความนึกคิดปรุงแต่งไปในอดีต ถึงอนาคต
    แม้ปัจจุบันที่บริกรรมอยู่ก็วางโดยปกติอย่างนั้น ใจปราศจากสิ่งทั้งปวง เต็มไปด้วยความสว่างไสวของใจอย่างนั้น เรียกว่า จัดว่าเป็นสมาธิ เมื่อเราฝึกอย่างนี้จนชำนิชำนาญแล้ว ก็จำเป็นต้องใช้การค้นคว้า พินิจพิจารณา นี่เป็นมาตรฐานสำคัญของผู้ปฏิบัติ จำเป็นที่ต้องค้นคว้า
    อย่างเราก็เคยอธิบายบอกให้ค้นคว้าร่างกาย เพราะฉะนั้นจึงว่า ถ้าไม่ค้นคว้าพิจารณาร่างกาย ก็เรียกว่าพิจารณาเวทนา เมื่อพิจารณาเวทนา ไม่พิจารณาเวทนา ก็พิจารณาจิต เมื่อไม่พิจารณาจิต ก็พิจารณาธรรม ท่านว่าอย่างนั้น แต่ถ้าการค้นกาย เป็นการที่ถอนรากเหง้า ของสักกายทิฎฐิอันสำคัญอันหนึ่ง
    เวลาน้อมนึกตั้งแต่เบื้องบน คือตั้งแต่หัวลงถึงปลายตีนอย่างนี้ ถ้านึกให้ละเอียดลออลงไปแล้วอย่างนั้นก็ต้องกินเวลาตั้งเป็นเกือบชั่วโมง ก็ต้องเอาอย่างนั้น เมื่อลงไปตั้งถึงที่สุดถึงนิ้วก้อย เบื้องซ้าย เบื้องขวาที่สุดลงไปแล้ว ก็ต้องทวนกลับขึ้นมา อย่างนั้นตลอด นิ้วก้อยเบื้องซ้าย จนมาถึงนิ้วหัวตลอดถึงเท้าเบื้องเอว แล้วก็ลงไปเท้าขวา ขึ้นมาอย่างนั้นอีก ตลอดเวลาก็ขึ้นมาตามส่วนอวัยวะของหน้าอก ขั้นเอวนี่ถึงสันหลัง ถึงซี่โครง หน้าอก ถึงกะโหลกศีรษะขึ้นมาอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลม ปฏิโลม ถอยเข้าถอยออกของใจ สภาวะบางชนิดของจิตของผู้ที่เป็นใหม่อย่างนั้น
    เมื่อน้อมพินิจพิจารณาอย่างนั้น บางทีจะเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความสังเวชสลดใจอย่างนั้น ให้น้ำหูน้ำตาไหล เกิดความสังเวชสลดใจ ว่าเรานี้ก็จะต้องแตกตาย โดยไม่มีข้อสงสัยประการใดทั้งปวง ใจในสภาวะอย่างนั้น มันเกิดความสงบแล้ว เมื่อนึกไปแล้วมันก็เป็นเช่นนั้น เป็นธรรมดาของการประพฤติปฏิบัติ แต่ท่านเรียกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ปีติ แต่ลักษณะของปีติอย่างนี้ ก็เป็นปีติไปเพื่อที่จะคลายซึ่งความเพลิดเพลินของใจนั่นเอง เมื่อใจนั้นสงบเข้าอย่างนั้นแล้ว ก็จำเป็นต้องเกิดปีติ เกิดในสิ่งที่ไม่เคยเป็น มันก็ต้องเป็นขึ้นกับชีวิตอย่างนั้น
    เมื่อพิจารณามากเข้ามากเข้า บางทีระลึกถึงส่วนใดอย่างนี้ ให้หลุดออกไป มันก็หลุด ฝึกให้ลูกตาหลุด ลูกตาก็เห็นหลุดออกไป แล้วก็เพ่งอยู่อย่างนั้น ก็กำหนดเข้ามาใส่ มันก็ใส่ได้อย่างเก่า กำหนดตาช้ายออกไป ตาซ้ายก็ออก กำหนดเอาเข้ามาก็เข้า นี่ต้องพิจารณาให้ละเอียด แม้แต่ฟันมีกี่ซี่ ฟันล่าง ฟันบน มีกี่ซี่ นึกให้ละเอียดลออลงไป อย่าได้ละเว้น
    ยิ่งเกิดปฏิภาคเท่าไร มากเท่าไรแล้ว ก็ยิ่งต้องกำหนดให้ละเอียดลงไป แต่เมื่อเป็นปฏิภาคอย่างนั้น เมื่อเราค้นคว้ามากเข้ามากเข้า ปฏิภาคนั้นย่อมจะจางลง ความที่ปฏิภาคจางเช่นนั้น เราอย่าเข้าใจว่าสมาธิเสื่อม ลักษณะของปฏิภาคเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างนั้น เมื่อพิจารณาให้มากให้ละเอียดลออลงไปแล้ว ใจจะอยู่กับลำดับที่พิจารณาอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา อย่างนี้อย่าเข้าใจว่าปฏิภาคเสื่อม ปฏิภาคนั้น เสื่อมไปจริง หายไปจริง เพราะมันเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาอย่างนั้น ละเอียดลออมากเข้ามากเข้า ปฏิภาคนั้นก็จางไปไม่ปรากฏ ผู้ที่เป็นอย่างนั้นอย่าเข้าใจว่าสมาธิเสื่อม
    ถ้าเราสังเกต ดูให้เที่ยงแท้ของใจที่พิจารณาอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นหนึ่ง ไม่วิ่งไปในที่ใดทั้งหมดเลย อยู่เฉพาะกาย อันนี้อันเดียวตลอดเวลาที่เรานึกอย่างนั้น อย่างนี้ เพิ่งเข้าใจว่าเป็นแนวสมาธิอันที่จะหนีจากทุกข์ แนวทางเรียกว่ามัคโค ที่จะออกจากทุกข์ของใจ ใจในขณะนั้นไม่มีอารมณ์เข้ามากวัดแกว่ง มาแก่งแย่งกับใจที่พิจารณาอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อพิจารณามากเข้าเมื่อเห็นเหนื่อยพอสมควร เป็นเวลาตั้งชั่วโมงสองชั่วโมง อย่างนี้เราก็ถอยจิตเข้ามาพัก พอสมควรก็ถอยจิตกลับมาพิจารณาอีกอย่างนั้น
    เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังดีแล้ว ก็ค้นลงไปให้ตลอดเวลา บางทีนั่งอย่างนั้นให้ตลอดทั้งคืนก็นั่งได้ ไม่มีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า กำลังของใจที่ปล่อยวางขันธ์ทั้งหมด หรือเรียกว่า อารมณ์ทั้งหมดนั้น มันประกอบไปด้วยความเพลิดเพลินในขณะพินิจพิจารณาอย่างนั้น เรียกว่าปัญญาอันแท้จริง ที่จะเกิดกับใจของผู้ที่ปฏิบัติอันนั้น อย่าเข้าใจว่าสมาธิ หรือเรียกว่า ปฏิภาคนั้นเสื่อม นี่ต้องเข้าใจอย่างนั้น
    ความที่เป็นเช่นนั้น เพราะใจที่ดำเนินไปพิจารณาอย่างนั้น ท่านเรียกว่า เป็นลักษณะของปัญญากับสติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ค้นนึกถึงส่วนต่างๆ อยู่อย่างนั้นใจไม่พะวักพะวนไปกับสิ่งใดทั้งหมด นึกตั้งแต่เบื้องบน ตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตลอดร่างกายไปจนถึงปลายเท้าขึ้นมาตลอดเวลาอยู่อย่างนั้น แล้วก็ทวนขึ้นมาอีก มาถึงเบื้องบน ลงจากเบื้องบนไปหาเบื้องล่าง เอาอยู่อย่างนี้นั่ง ๓-๔ ชั่วโมง ไม่มีการเหน็ดการเหนื่อย เมื่อยล้า สบายที่สุดของชีวิตที่เราเข้ามาบำเพ็ญพรหมจรรย์
    เพราะฉะนั้นจะต้องตั้งใจอย่าไปเพลิดเพลินกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว อย่าคุยมาก อย่าไปอวดมาก แต่อันนี้จะมีทิฐิมานะอันแฝงเจือเข้ามาอยู่ในหัวใจของบุคคลผู้เป็นเช่นนั้น สำคัญว่าตัวฉันดี ตัวฉันประเสริฐ ตัวฉันไม่มีใครสู้ได้ อันนี้ต้องระวังไว้ อย่าเพลิดเพลินกับสิ่งเหล่านั้น เพราะสภาวะอย่างนี้ ความคิดเมื่อพิจารณาอย่างนั้นแล้ว ความคิดเห็นในบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ต้องระมัดระวัง เมื่อในบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นเช่นนั้น ต้องพยายามเข้าไปค้นกาย พิจารณากายของตัวอย่างเดิม อย่าไปยุ่งอย่างอื่น อย่าไปคิดเรื่องโลก เรื่องสงสาร เพลิดเพลินในการเทศน์ การวาทะอะไรทั้งหมด ต้องให้เข้าใจอย่างนั้น ต้องหวนกลับเข้าไป ค้นคว้าอย่างเดิมอย่างนั้น
    <TABLE width=100 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอุโบสถวัดโนนนิเวศน์ปัจจุบัน สมัยนั้นยังไม่มี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อันนี้เป็นหลักสำคัญ มันมีสิ่งแว่วๆ เข้ามาในหู เพราะฉะนั้นต้องเตือนสักหน่อย เพราะฉะนั้นขอให้ตั้งอกตั้งใจให้เต็มที่ลงไป ในระดับของใจกำลังดีอย่างนี้แล้ว ขอให้ตั้งใจเต็มที่ลงไปเถิด ผลที่จะได้รับคือ ความสงบของใจ เมื่อค้นคว้าพินิจพิจารณาใจลงไปกายลงไปเท่าไร ใจนั้นยิ่งเกิดความสงบทุกทุกนาที ทั้งวันทั้งคืน ยืนเดินนั่งนอน จะเกิดแต่ความสงบของใจอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นอย่าได้นอกรีตนอกรอยไปเล่นพิธีต่าง ๆ นานา ให้พิจารณาร่างกายของเรา ให้ตัดส่วนหยาบส่วนละเอียดของกายออกให้มาก เมื่อจะเห็นหรือไม่เห็น ไม่ต้องวิตก เมื่อส่วนปัญญาที่ละเอียดมากเข้าเท่าไรแล้วอย่างนั้น ปฏิภาคนั้นจะดับไปทันที แต่อย่าวิตกว่าสมาธิเสื่อม การพินิจพิจารณาอยู่อย่างนั้นเอง เป็นเหตุให้เจริญขององค์ปัญญาวิปัสสนานั่น
    การปฏิบัติของเราจากป่าช้าโนนนิเวศน์จนถึงหนองน้ำเค็มบรรลุถึงผลอันน่าพึงใจ ไม่เสียดายอาลัยทุกสิ่งในโลก คำสอนของพระศาสดาประจักษ์ใจ หายสงสัย ลังเลเคลือบแคลงในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซาบซึ้งในพระคุณของท่านพระอาจารย์มั่นที่สั่งสอนอบรมมา
    การที่เราได้อยู่ปฏิบัติพระผู้ทรงคุณเช่นนี้ เป็นความโชคดีเหลือหลาย เราจะได้รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ แต่ละวันจะมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องกับท่านทั้งด้านภายนอกและภายในมาก ตาต้องดูท่านตลอดอย่าให้คลาดเคลื่อน หูต้องฟังท่านตลอด ไม่ว่าท่านจะพูดค่อยหรือแรง ใจต้องคิดตลอด ปัญญาอย่าอยู่นิ่งเฉย ถ้าไม่รวดเร็วดังนี้ก็จะไม่สามารถอยู่กับท่านได้
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jea/lp-jea-hist-01-08.htm
     
  2. panuwat_cps

    panuwat_cps เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +433
    สาธุครับ อ่านแล้วเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีมากเลยครับ อนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...