ความหมาย กรรมฐาน,กัมมัฏฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 25 พฤษภาคม 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คลิป สำนักสงฆ์บ้านสะพานยาว เด็กผู้ชาย (3) : สนุก! วีดีโอ

    คำพูดเช่นว่า "สาธุ ข้าพเจ้า อยากรู้ว่า ตัวของข้าพเจ้าได้พระกัมมัฏฐานแล้วหรือยัง ถ้าได้แล้ว ขอให้ตัวของข้าพเจ้า....เป็นยังงั้นยังงี้ "

    ผู้สอนเข้าใจความหมายคำว่ากัมมัฏฐานผิดไปไกล rabbit_run_away
     
  2. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    คนบ้านนอก เค้าได้กันงี้จริงๆนะ
    ผมก็กึ่งบ้านนอก กึ่งบ้านใน

    คนบ้านนอกเวลาเค้าถามว่าได้กันยัง มันคืออย่างนี้
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กรรมฐาน (สันสกฤต) บาลีเขียน กัมมัฏฐาน

    (กรรม+ฐาน กัมม์+ฐาน. กรรม, กัมม์ ในที่นี้ ท่านแปลว่า การงานของจิต ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง = กรรมฐาน, กัมมัฏฐาน)

    กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน

    พูดสั้นๆ กรรมฐาน คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ เรียกว่า กัมมัฏฐาน



    กัมมัฏฐาน ตามแบบท่านจัดไว้ 40 อย่าง แต่นอกแบบนอกหลักก็ใช้ได้ คือ อะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด เรียกว่า กรรมฐาน ได้หมด

    มิใช่พูดคร่ำครวญหาเหมือนเป็นอะไรสักอย่างที่ลึกลับ
     
  4. bschaisiri

    bschaisiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +106
    คนเล่นไฟ่ได้ทั้งวัน แปลว่าเขามีกัมมะถานใหมคับ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เล่นไฟเป็นอารมณ์อกุศลจิต ซึ่งเป็นปฏิปักข์ต่อกุศลจิต ไม่นับเข้าในกัมมัฏฐานครับ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลุงแมวไม่ซื้อไม่เป็นไร ช่วยมุงหน่อย
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    "กรรม, กัมม์" (กัมมัฏฐาน) ดังกล่าว แปลว่า การงานของจิต แต่ในที่บางแห่งท่านแปล กัมม์ หมายถึง เจตนา

    เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา. (ภิกษุทั้งหลาย เจตนาเราเรียกว่า กรรม (กมฺมํ) เพราะว่า บุคคลคิดแล้ว จึงทำกรรม (กัมม์) ด้วยกาย วาจา ใจ) กัมม์ในที่นี้ หมายถึงเจตนา
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เรื่องเดียวกัน จึงนำบทความมาต่อที่นี่ให้เห็นภาพชัดขึ้น คุณ nopphakan ตามมาต่อที่นี้ได้นะครับ ผมมีหลายประเด็นที่อยากสนทนาด้วย

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ มาจากดิน อ่านข้อความ
    ผู้ชอบเรื่องฌาน ต้องเริ่มต้นอย่างสองตัวอย่างนี้

    เมื่อวานนี้ ได้นั่งพิจารณา อารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน
    รู้สึกถึงความเย็น สงบ ใครนินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ
    พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง
    คราวนี้ มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพร่างกายหายไปแบบตอนแรก แต่
    ครั้งนี้ เกิดนิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็ก ๆ กลายเป็นลูกใหญ่ คือเวลาเราหลับตา มันจะดำๆ
    แต่พอ ลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกาย ทั่วที่
    หลับตาอยู่นั่นเอง และพอกำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่นจิตจะสั่งการอะไรได้หมด
    .............


    เมื่อเช้านี้ ก่อนจะออกจากสมาธิ มันดันเห็นเป็นภาพหยดน้ำ
    เลยนึกสนุกเล่นกับภาพนั้น
    ก็จินตนาการ หยดน้ำนั้นเป็น 3 มิติ แล้วก็หมุนภาพ ซ้ายขวา
    พอทำได้ อ้าว ทำได้ด้วย
    ก็เปลี่ยนเป็นรูปหัวใจแทน ทำได้อีก
    สุดท้ายเลย เปลี่ยนเป็นรูปรถยนต์ หมุนจนเห็นท้องรถเลย
    ที่ปลื้ม เพราะก่อนหน้านี้ สักเกือบๆเดือน เวลาที่จิตฟุ้งในสมาธิ พยายามจะนึกถึงภาพพระจันทร์ เพื่อให้จิตตัวเองนิ่ง
    แต่มันทำได้แค่ ไม่ถึงสองวินาที พระจันทร์ก็หายไปแล้ว
    แต่นี่ภาพไม่หาย แถมพลิกซ้ายขวา ย่อ ขยายได้อีกต่างหาก
    ตอนนี้เลยเล่นสนุกเลย

    ........

    ข้อความขัดค้านจากคุณ nopphakan

    เสียเวลาและไร้ประโยชน์ ขวางการเข้าถึงผลที่จะก่อให้เกิดประโยชน์
    ในการนำมาใช้งานได้จริงทั้งในชีวิตประจำวัน และในเรื่องการหนุน
    เพื่อเดินปัญญาครับ. ระดับนี้บางคนไม่ต้องฝึกก็ทำได้ครับ.
    ถ้ามาทางสายกรรมฐานพิเศษ เรื่องแบบนี้ท่านห้ามอย่างเด็ดขาด
    นอกจากเสียเวลา ไร้ประโยชน์แล้ว จะทำให้ยึดมั่นถือมั่น
    กลายเป็นคนหลงตัวเอง เพราะต่อไปจะไปยึดติดในนิมิตร
    ในสิ่งที่เห็นจนกลายเป็นตัวเองอย่างไม่รู้ตัวครับ.
    ผมท้าเลยครับ คนที่มีกิริยาอย่างนี้ การรู้เห็นยังไม่พ้น
    การปรุงแต่งที่เกิดจากจิต ไม่ใช่การรู้เห็นจากการเชื่อมข้างบน
    และตัวจิตไม่มีความสามารถในเรื่องพลัง. พูดง่ายๆกรรมฐานที่ฝึก
    ยังไม่พ้นการทำงานในนิมิตร นำขึ้นมาใช้จริงๆยังไม่ได้ครับ.
    พิสูจน์ได้ ลองไปฟังเรื่อง ปฎิสัมภิทาญานตอนที่ ๕ ประมานนาทีที่๑๖ ขึ้น
    จะพบว่า ลพ.ท่านกล่าวไว้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรู้ความสามารถพิเศษ
    อะไรต่างๆที่เกิดระหว่างทางท่านก็ห้ามไปสนใจ.
    เพราะฉนั้นเรื่องที่มันขวางการปฏิบัติอย่างนี้ ไร้ประโยชน์
    อย่างนี้ ไม่ควรจะนำมาลงเพื่อเป็นอุบาย เป็นแนวทางให้นักปฏิบัติครับ
    เพราะมันมีแต่สร้างกิเลส มีแต่เพิ่ม ไม่ได้เป็นไปแบบที่ ท่านสอนเพื่อเป้าหมาย
    ในการไม่มีทั้งหลายครับ.


    ที่
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4.550201/page-4#post9642389
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วางโครงสร้างของเรื่องเทียบไว้ก่อน

    เจริญสมาธิ: หลักทั่วไป

    ในการปฏิบัติตามวิธีเจริญสมาธิ พึงทราบว่า กัมมัฏฐานแต่ละประเภท มีรายละเอียดวิธีเจริญสมาธิแตกต่างกันไป แต่กระนั้น ก็พอจะสรุปเป็นหลักการทั่วไปอย่างกว้างๆ ดังที่บางคัมภีร์แสดงไว้ โดยจัดเป็นภาวนา คือการเจริญ หรือ การฝึก ๓ ขั้น ได้แก่ บริกรรมภาวนา อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา

    แต่ก่อนจะกล่าวถึงภาวนา ๓ ขั้น มีคำที่ควรทำความเข้าใจคำหนึ่ง คือ นิมิต

    นิมิต หรือ นิมิตต์ คือเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด หรือภาพที่เห็นในใจ ซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน แบ่งเป็น ๓ อย่าง ตามลำดับความเจริญ

    ๑. บริกรรมนิมิต แปลว่า นิมิตขั้นเตรียม หรือเริ่มต้น ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่นึกเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู ลมหายใจที่กำหนด หรือพุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจ

    ๒. อุคคหนิมิต แปลว่า นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั่นเอง ที่เพ่งหรือนึกจนเห็นแม่นยำ กลายเป็นภาพติดตาติดใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น

    ๓. ปฏิภาคนิมิต แปลว่า นิมิตเสมือน นิมิตคู่เปรียบ หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั่นเอง แต่ติดลึกเข้าไปอีก จนเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาของผู้ที่ได้สมาธิ จึงบริสุทธิ์จนปราศจากสี เป็นต้น และไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสามารถนึกขยาย หรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา

    นิมิต ๒ อย่างแรก คือ บริกรรมนิมิต และอุคคหนิมิต ได้ทั่วไปในกัมมัฏฐานทุกอย่าง แต่ปฏิภาคนิมิต ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๒๒ อย่าง ที่มีวัตถุสำหรับเพ่ง คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ และอานาปานสติ

    ภาวนา คือ การเจริญ หมายถึง การเจริญกรรมฐาน หรือฝึกสมาธิ ที่ก้าวหน้าในขั้นต่างๆ มี ๓ ขั้น ดังนี้

    ๑. บริกรรมภาวนา การเจริญสมาธิขั้นเริ่มต้น ได้แก่ การกำหนดถือเอานิมิตในสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออกทีกระทบปลายจมูก หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ ว่าอยู่ในใจ เป็นต้น พูดง่ายๆว่ากำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง

    เมื่อกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (คือ บริกรรมนิมิต) นั้นไป จนมองเห็นภาพสิ่งนั้นติดตาติดใจแม่นยำ ก็เกิดเป็นอุคคหนิมิต จิตก็เป็นสมาธิขั้นต้น ที่เรียกว่า บริกรรมสมาธิ (คือ ขณิกสมาธิ นั่นเอง)

    ๒. อุปจารภาวนา การเจริญสมาธิขั้นอุปจาร ได้แก่ อาศัยบริกรรมสมาธิ เอาจิตกำหนดอุคคหนิมิตต่อไป จนกระทั่งแน่วแน่แนบสนิทในใจ เกิดเป็นปฏิภาคนิมิตขึ้น นิวรณ์ก็สงบระงับ (ในกรรมฐานที่ไม่มีวัตถุเพ่งเพียงแต่นึกถึงอารมณ์อยู่ในใจ ไม่มีปฏิภาคนิมิต กำหนดด้วยจิตแน่วแน่จนนิวรณ์ระงับไปอย่างเดียว) จิตก็ตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ เป็นขั้นสูงสุดของกามาวจรสมาธิ

    ๓. อัปปนาภาวนา การเจริญสมาธิขั้นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ พยายามรักษาไว้ ไม่ให้เสื่อมหายไปเสีย โดยหลีกเว้นสถานที่ บุคคล อาหาร เป็นต้น ที่เป็นอสัปปายะ เสพแต่สิ่งที่เป็นสัปปายะ และรู้จักปฏิบัติตามวิธีที่จะช่วยให้เกิดอัปปนา เช่น ประคับประคองจิตให้พอดี เป็นต้น จนในที่สุด ก็เกิดเป็นอัปปนาสมาธิ บรรลุปฐมฌาน เป็นขั้นเริ่มแรกของรูปาวจรสมาธิ



    กัมมัฏฐานบางอย่าง สุขุมละเอียด เป็นอารมณ์ลึกซึ้ง ไม่มีวัตถุสำหรับเพ่ง หรือสัมผัสด้วยกายได้ จึงไม่ชัดพอ จิตไม่สามารถแอบแนบติดสนิทอยู่ได้นาน จึงไม่มีปฏิภาคนิมิต และให้ผลสำเร็จได้เพียงแค่อุปจารสมาธิ

    ส่วนกัมมัฏฐาน ที่เป็นอารมณ์หยาบ เพ่งดู หรือสัมผัสด้วยกายได้ กำหนดได้ชัดเจน จิตแนบสนิทตั้งอยู่ได้นาน ก็ให้เกิดปฏิภาคนิมิตด้วย และสำเร็จผลถึงอัปปนาสมาธิได้

    ทั้งนี้ มีแปลกแต่อัปปมัญญา (พรหมวิหาร) ซึ่งแม้จะไม่มีปฏิภาคนิมิต เพราะไม่มีวัตถุธรรมเป็นอารมณ์ แต่ก็มีสัตว์เป็นอารมณ์ จึงมีความชัดเจนเพียงพอ และให้เกิดอัปปนาสมาธิได้

    เมื่อบรรลุปฐมฌานแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นการบำเพ็ญความชำนาญ * ให้เกิดขึ้นในปฐมฌานนั้น และทำความเพียรเพื่อบรรลุฌานขั้นต่อๆ ขึ้นไปตามลำดับ ภายในขอบเขตความสามารถให้สำเร็จผลของกัมมัฏฐานชนิดนั้นๆ เป็นอันได้บรรลุผลของสมถะตามสมควร
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    มันขวางการปฏิบัติอย่างไรครับ

    "การปฏิบัติ" ที่คุณนิยาม หมายถึงยังไง จึงว่ามันขวางการปฏิบัติ
     
  11. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    เรื่อง ฌาณ กับ วิปัสสนา นี่ ทุกคนก็ทราบกันว่า ฌาณ กับ วิปัสสนา เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ต้องปฏิบัติเป็นทางแห่งการหลุดพ้นตามที่พุทธองค์สอน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งฌาณเป็นผลของการฝึกสมาธิ วิป้สสนาก็เป็นฐานไปสู่ปัญญา ตามพระไตรปิฎก การจะหลุดพ้นต้องมีสมาธิที่ได้ระดับ ฌาณ คือปฐมฌาณเป็นอย่างน้อย แต่ปัญหาที่มีการถกอภิปรายกัน ตักเตือนกัน คือ อย่าติด ฌาณ หรือใช้ผลของฌาณไปในทางอื่นออกจากการวิปัสสนา หรือ อย่าไปเล่นฤทธิ์หรือติดฤทธิ์จะเสียเวลา อันนี้ก็ตักเตือนกันได้ และมักตักเตือนกัน แต่มีปัญหาคือ บางคนแอนตี้ ฌาณ ไปเลย คือกลายเป็นว่ามีสมาธิพอ ว่าอย่างนั้น ซึ่งจะกลายเป็นเข้าใจผิดไม่ให้ความสำคัญกับฌาณ ทั้งที่ ในพระไตรปิฎกก็เป็นที่ยอมรับกันว่า ฌาณ สำคัญกับการหลุดพ้นในทุกระดับ ยิ่งสมาธิได้ ฌาณ ระดับยิ่งสูง การหลุดพ้นจะเร็วขึ้น เพราะจิตมีกำลังในการพิจารณา และมีกำลังในการตัดกิเลส

    สำหรับ ฌาณ ที่เล่ากัน หยดน้ำ ยังไม่ถึงขั้น ฌาณ ๑ ถ้าถือตามพระไตรปิฎก การมั่วเล่นตรงนี้ เค้าเลยว่า ขวางการปฏิบัติ ในความหมาย การปฏิบัติที่รวบเอาสมาธิ ฌาณ มาใช้สู่การวิปัสสนา เพราะจิตระดับนี้ไม่มีกำลังพอจะวิปัสสนาให้ได้ผล อย่างหนึ่ง หรือมัวแต่เล่นจนลืมทำวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง เค้าเลยว่า ขวางการปฏิบัติ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถามอีกคนแต่อีกคนมาตอบ คิกๆๆ


    "ทำวิปัสสนา" บอกเขาสิครับ ทำวิปัสสนาทำยังไง
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขวางในที่นี้ไม่ว่ากรรมฐานอะไรก็ตามนะครับ..โดยความรวมก็คือ
    ทำให้เราติดอยู่ หรือ จม หรือ แช่ ในขั้นตอนนั้นๆ โดยมากเป็นขั้น
    ตอนในระหว่างทางทั้งนั้นครับ...โดยปกติขั้นตอนระหว่างทางมักจะมี
    บอกไว้ตามตำราเพื่อเป็นหลักสังเกตุสำหรับกิริยาทางจิตที่เกิด.
    ประมาณนี้ครับ.ยกเว้นว่าจะเป็นกรรมฐานพิเศษบางกอง

    และถึงแต่แม้ว่าจะมีบอก แต่มันก็ยังทำให้เราติดได้
    อย่างคาดไม่ถึงเหตุเพราะ

    ประเด็นสำคัญที่ทำให้เราไม่ทราบตรงนี้ก็คือ..เราไม่รู้เป้าหมาย
    หรือไม่รู้ปลายทางว่า เราฝึกกรรมฐานกองนั้นๆเพื่ออะไร..
    หรือฝึกไปแล้วจะได้อะไรนั่นเองครับ..

    ถ้าเรารู้เราเข้าใจเป้าหมาย รู้ปลายทางได้ ก็จะข้ามกิริยาต่างๆ
    ที่เกิดระหว่างทางได้ เนื่องจากจะมีความเข้าใจว่า มันยังไม่ถึง
    จุดที่จะส่งผลต่อตัวจิตเรานั่นเอง ไม่ว่าทางด้านใดด้านหนึ่ง
    นั่นเองครับ..


     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ค่อยๆคิดนะครับ

    คุณเข้าใจกัมมัฏฐานอย่างไร

    ถ้าไม่เริ่มต้น โดดขึ้นไปสมาบัติ อย่างที่ว่าได้ยังไง
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นำมาวางเทียบไว้ใกล้ๆ


    ดูคคห. นี้ ไม่มีวิธีทำวิธีปฏิบัติอะไรเลย พูดจะเอานั่นเอานี้ จะพัฒนาจิต พัฒนายังไง ถ้าคุณไปปฏิบัติกัมมัฏฐานอะไรสักอย่าง
     
  16. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ในความหมายของคุณ ณฉัตร น่าจะหมายถึงการไปจม ไปแช่ อยู่ในสภาวะใด
    สภาวะหนึ่งมากเกินไปครับ..มันก็เหมือนกับว่าเราทำอะไรเกินๆไปนั่นหละครับ
    มันก็เลยเตลิด..เพราะฉนั้นในความเป็นกลางตรงนี้เราก็ควรจะต้องหาความพอดี
    ให้ได้ด้วยตัวเราเอง จะจากอาศัยตำรา จะจากการถามไถ่จากผู้มีประสบการณ์
    หรือบางคนโชคดีหน่อยมีครูบาร์อาจารย์ทั้งทางโลกทางธรรมช่วยอย่างใดอย่าง
    หนึ่งก็สุดแล้วแต่..ขอเพียงแค่ไม่ให้ติดอยู่ในสภาวะนั้นๆ ไม่ว่าสภาวะอะไร
    จนมันตึงเกินไป และในทำนองเดียวกันก็ไม่ควรให้หย่อนเกินไปเช่นกันครับ...
    ส่วนการที่จะวิปัสสนาให้ถึงขั้นเกิดเป็นปัญญาทางธรรมได้จริง..

    ระดับแรก ถ้าเข้าสมาธิระดับสูงจนสามารถแยกกายกับจิตได้ขาดจากกันชั่วคราว
    และมีกำลังสมาธิสะสมกำลังสติเพียงพอรักษาอารมย์ตลอดจนควบคุมจิต
    ให้อยู่นิ่งๆได้และยกเรื่องขึ้นวิปัสสนาได้ กลุ่มนี้ไม่น่าห่วง..

    ระดับที่สอง ก็จำเป็นต้องเข้าระดับสมาธิระดับสูงได้ แต่ว่าไม่มีความ
    สามารถอยู่ได้นานเหมือนระดับแรก
    และสามารถแยกกาย แยกจิต ออกจากกันได้ และเห็นความคิดที่เกิดจากจิตได้
    เห็นความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมได้ เห็นทั้งหมดนี้ได้ก่อน
    ความเห็นชอบก็จะเปิดทางให้เราสามารถที่จะเริ่มเดินปัญญาได้
    ส่วนจะได้หยาบหรือละเอียดก็แล้วแต่บุคคลครับ.

    ระดับสาม คือกลุ่มที่ชินกับสภาวะจิตมีความเป็นทิพย์ โดยมากจะมาทางสติปัฏฐาน ๔
    ที่มีความชำนาญในการเข้าอารมย์ความเป็นทิพย์ กลุ่มนี้ก็สามารถยกเรื่องขึ้นวิปัสสนาได้
    แต่ว่าจะต้องทำบ่อยๆครับ เพราะว่าเมื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติจิตมันจะยังฟูหรือเกิดได้
    จึงต้องอาศัยความชำนาญในการเข้าและการพิจารณาให้ได้บ่อยๆในสภาวะอารมย์
    ที่จิตเป็นทิพย์ครับ..กลุ่มนี้ต้องพยายามฝึกสร้าง ฝึกรักษาสภาวะความเป็นทิพย์ของ
    จิตให้ได้นานๆก่อนนะครับ ไม่งั้นเด่วมันจะเกิดความคิดที่ผุดจากจิตมาแทรกได้
    ซึ่งมันจะทำให้ไม่เกิดผลทางด้านการลดละกิเลสครับ...

    กลุ่มที่สี่ คือกลุ่มคนปกติธรรมดาทั่วๆไป ที่นั่งสมาธิบ้าง สวดมนต์บ้าง ไม่ได้จริงจังอะไร
    ส่วนใหญ่ก็ใช้ชีวิตประจำวันปกติ ก็สามารถที่จะเห็นกาย เห็นจิต เห็นความคิดที่เกิดจากจิต
    หรือเห็นความคิดที่เกิดจากขันธ์๕ ส่วนนามธรรมได้ แต่ต้องอาศัยการอ้างอิงตำรา
    เพื่อใช้เป็นแนวทางให้จิตเดินปัญญาเช่นกันครับ..แต่กลุ่มนี้ต้องระวังเรื่องความคิดที่เกิด
    จากจิตเข้ามาแทรกก็พอครับ เนื่องจากโดยมากจะไม่คุ้นสภาวะเป็นทิพย์
    จึงมักไม่คุ้นสัมผัสทางด้านนามธรรมต่างๆ แต่ก็กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดถ้า
    เทียบเฉพาะนักปฏิบัติ เพราะฉนั้นกลุ่มนี้จึงควรให้ความสำคัญมากที่สุด
    เพราะว่าเข้าถึงได้ง่ายๆ ถ่ายทอดได้ง่ายกว่าทุกกลุ่มที่ผ่านมาครับ..

    อีกกลุ่มคือกลุ่มพิเศษครับ..กลุ่มที่เกิดมาพร้อมกับสัมผัสและความสามารถต่างๆ
    แบบที่ไม่ได้ฝึกอะไรมาย้ำว่าเกิดขึ้นเองนะครับ ไม่ใช่แบบกลุ่มที่ไปโดนโฆษณา
    หลอกชวนเชื่อว่า ไปฝึกอย่างนั้นอย่างนี้จะมีสัมผัสมีพลังงานพิเศษอะไรนะครับ..
    กลุ่มบุคคลพิเศษนี้ เค้าเรียกว่าพวกอธิวาสนาบารมี พวกเอาบารมีลงมาเยอะ
    ก็ต้องให้มาฝึกเน้นเจริญสติในชีวิตประจำวันให้มากๆ มาเน้นเดินปัญญาในชีวิต
    ประจำวันให้มากๆ เพราะกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงว่าจะเพี้ยนได้ง่ายๆหากขาดเรื่อง
    กำลังสติและปัญญาครับ..จุดจบมักจะไปอยู่ตามโรงพยาบาลจิตเวชครับ..
    แต่ถ้าดีได้ รับรองว่าทะลุปุโปร่งหลายห่วงกับกลุ่มนี้
    ..
     
  17. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    คุณมาจากดิน ครับ.
    ผมเคยพูดสภาวะความเป็นทิพย์ในระดับพื้นฐาน
    ให้ห้อง อภิญญา xp ระดับสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาน
    คุณอ่านแล้วยังงงๆเป็นไก่ตาแตก..จะให้ผมมาพูด
    กรรมฐานพิเศษเฉพาะเพื่ออะไรครับ??.
    คุณจะมาเน้นย้ำ ความหมาย กรรมฐานเพื่ออะไร??
    และไม่ต้องมาย้อนผมเรื่องการปฏิบัติอะไรด้วยนะครับ..
    ถึงเป็นที่มาในการพูดประเด็นหลักๆ
    ที่มันสำคัญๆยังไงหละครับ
    และเราไม่ใช่นักปฏิบัติเหมือนเด็กๆด้วยแล้วนะครับ..
    ไม่ได้มาเรียน เอาโลห์ เอาใบประกาศ เอาปริญญา
    มาได้มาเรียนเพื่อเอาไปสอบแข่งขัน เลื่อนระดับชั้นเหมือนทางโลก
    เพราะฉนั้นจะมาเน้นภาษาสมมุติมากมายเพื่ออะไร???

    และคุณไม่ต้องมาย้อนผมครับ..เรื่องกรรมฐานอะไรนะครับ
    เคยไปอ่านกระทู้เรื่องกสิณอะไรฝึกง่ายสุดไหมครับ..เคยเห็นผมเอาพระธาตุเสด็จ
    ลงมาให้ดูไหมครับ..ถ้าจะมาบอกว่าผมไม่ปฏิบัติอะไร คุณมี
    ปัญญามีความสามารถทำได้อย่างผมซักอย่างไหมหละครับ.
    ถ้ายังไม่มีความสามารถอะไรทำได้ ให้เงียบๆแล้วก็อ่านๆไปก็พอนะครับ
    แล้วถ้าจะถามจะพูดอะไรก็ให้มันสร้างสรรคหน่อยอย่ามาทำ
    ให้เสียบรรยากาศเพราะความไม่รู้ แล้วอยากจะอวดฉลาดอีกนะครับ.
    พูดง่ายๆ อย่ามา นิสัย แบบนี้อีก มันเป็นลักษณะนิสัย
    พวกที่คบหาไม่ได้ พอเข้าใจนะครับ..

    ผมพูดนะเป็นหลักการณ์ อ่านไม่เข้าใจก็ควรเงียบๆไปซะ
    อย่ามาพูดแสดงความไม่ฉลาด คนที่เค้าอ่านจะรู้ว่าคุณ
    มันเป็นพวกหนอนหนังสือ หนอนตำราครับ..
    ถ้าคุณมีความสามารถทำแบบที่ผมทำได้มากกว่าผมตอนนี้ก่อน
    แล้วค่อยมาพูดมาถามผมว่าเรื่องจะปฏิบัติอย่างไร.กรรมฐานกองไหน
    ของคุณระดับสภาวะความเป็นทิพย์เบื้องต้น คุณยังงงและไม่เข้าใจ
    จนถึงทุกวันนี้แล้วดันทะลึ่ง ไม่ดูตาม้าตาเรืออีก...
    ประเด็นนี้พอเข้าใจนะครับ..


    กรรมฐานตามตำรามี ๔๐ กอง คุณจะให้ผมพูดในรายละเอียด
    ทั้งหมด พูดชาตินี้ ยันชาติหน้าแล้วมันจะจบไหมหละครับ...
    คุณจะมาสนใจเอาแต่ความหมายของกรรมฐาน..
    ที่มันมีหาอ่านได้ตำรา มีหาอ่านได้ตามเนทอยู่แล้ว
    และจะมาเน้นเพื่อเป็นประเด็นสำคัญเพื่อ????? อะไรหละครับ
    เพื่อดูว่าตนเองเข้าใจถูกหรือเปล่า หรือเพื่อคนอื่นๆเข้าใจ
    ความหมายถูกหรือเปล่าอย่างนี้หรือครับ
    ผมถามว่า ถ้าคุณเข้าใจถูกต้องใน ภาษา ในความหมาย
    มันส่งผลอะไรกับตัวจิตของคุณไหมหละครับ..
    มันทำให้คุณฝึกกรรมฐานกองนั้นๆสำเร็จไหมหละครับ
    ผมถึงไม่ได้เน้นความหมาย และพยายามวิธีการในทางปฏิบัติ
    เพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงผลสำเร็จ และก็อย่าเลือกอ่านเฉพาะบางคำ
    หัดอ่านองค์ความรู้แบบรวมๆบ้าง..จะได้ไม่อายเค้า
    เข้าใจประเด็นนี้นะครับ..

    กรรมฐาน ๔๐ กอง เข้ามาในห้องอภิญญา-สมาธิ คุณมอง
    ทางมุมด้านขวาคุณก็เห็นแล้ว ว่างๆก็ไปลองอ่านดูซะ..
    จะมามัวเอาแต่ สมมุติบัญญัติ แล้วชาตินี้คุณจะฝึกอะไร
    สำเร็จซักกองไหมหละครับ...

    ที่ผมเขียนเป็นเสมือนเทคนิค เป็นทริค ที่ได้มาจากการปฏิบัติ
    ไม่ใช่สิ่งที่คุณ จะเอาสมมุติบัญญัติ เอาภาษาอะไรมาตีความ
    ให้คุณอ่านดูแล้วสังเกตุกิริยาที่เกิดขึ้นจากตัวจิต...
    ในนัยยะก็คือ เราต้องฝึกกรรมฐานอะไรให้มันได้ซักอย่างก่อนจริงๆครับ
    ไม่ใช่ ไม่เคยฝึกกรรมฐานอะไรจนเป็นผลสำเร็จเลย
    แล้วมัวแต่มาตีความ หาความหมายไปเพื่ออะไรครับ...
    ความหมายของคำมันทำให้คุณ ฝึกกรรมฐานกองนั้นๆสำเร็จหรือเปล่าครับ..

    ตำรานะ มีเอาไว้ให้อ่าน เพื่อเป็นแนวทาง ไม่ใช่มีเอาไว้ให้ยึด
    ไม่ใช่มีเอาไว้ให้มาคิดเอง มาตีความเอง
    เพราะมันไม่ใช่ ตำราแบบทางโลก ไม่ใช่ตำรา คณิต วิทย์ ฯลฯ
    ที่จะมาขยายความเพื่อเสริมความคิดตนเองได้..
    ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้มันต้องมา
    จากการปฏิบัติโดยมีตำราเพื่อเป็นแนวทาง...
    ไม่ใช่จากการคิดเอา อ่านตำราเอา..
    หรือนอนกอดตำรา หรือเอาไว้เป็นหมอนสำหรับหนุน
    หรือเอาไว้เพื่ออ้าง เพื่อไว้ยกข่มคนอื่นๆเค้า
    ว่าเรามีตำราเล่มหนากว่าชาวบ้านเค้าครับ..
    คนเราเวลาจะตาย เวลาจิตมันจะทิ้งกาย ตำรามัน
    ไม่ได้ช่วยอะไรเราได้หรอกนะครับ..
    เข้าใจที่พูดไหมหละครับ..
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    สมาชิกที่ใช้ชื่อ sunankana เพิ่งสมัครใหม่มาเมื่อต้นเดือนนี้ยังไม่ได้ยืนยันอีเมล
    ยังไม่เคยโพสแม้แต่ครั้งเดียว มีประวัติกดไม่เห็น ๑ ครั้ง กดเห็นด้วย ๒ ครั้ง..
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คุณปฏิบัติอะไรครับ

     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สมาบัติ 8 ได้แก่ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 = สมาบัติ 8 แล้วคุณไม่ทำไม่ฝึกสมาธิ แล้วมันจะสมาบัติ 8 ได้ยังไงครับ

    ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ มีอะไรบ้างครับ

    ที่ว่า

    นำมาใช้ในชีวิตจริงประจำวันอย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...