ยามมีภัยให้หาสมันไพรฟ้าทะลายโจรเยอะๆรักษาอาการเจ็บไข้ได้นะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ราชันลาง, 24 มีนาคม 2015.

  1. ราชันลาง

    ราชันลาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +431
    สมุนไพรตัวนี้ควรหาเก็บยามมีภัยสามารถรักษาอาการเจ็บไข้ยามมีภัยได้ดีนักแล

    ฟ้าทะลายโจร ภาษาอังกฤษ Kariyat, The Creat ฟ้าทะลาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall ex Ness. จัดอยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ฟ้าทะลาย ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพมหานคร), สามสิบดี เขตตายยายคลุม (ร้อยเอ็ด), หญ้ากันงู (สงขลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง), เมฆทะลาย (ยะลา), ฟ้าสาง (พนัสนิคม), ขุนโจรห้าร้อย (ภาคกลาง), ซวนซิน เหลียง เจ็กเกี่ยงสี่ คีปังฮี โซ่วเซ่า (จีน) เป็นต้น สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน (บางครั้งเขียนผิดเป็น ฟ้าทลายโจร, ฟ้าทะลายโจน)

    ลักษณะของฟ้าทะลายโจร
    ต้นฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม
    ฟ้าทลายโจร
    ต้นฟ้าทะลายโจร
    ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม
    ใบฟ้าทะลายโจรรูปฟ้าทะลายโจร
    ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ
    ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะเป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาล และแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลอ่อน
    ฟ้าทะลายโจน
    สมุนไพรฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ทางยาสมุนไพรอยู่ 3 สารด้วยกัน โดยเป็นสารในกลุ่ม Lactone ซึ่งก็คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide), สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neo-Andrographolide), และสาร14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide) โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก้ ใบสด ใบแห้ง และทั้งต้น โดยใบจะเก็บมาใช้ได้เมื่อต้นมีอายุได้ราว 3-5 เดือน
    สมุนไพรฟ้าทะลายโจร
    สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร
    สรรพคุณ ฟ้าทะลายโจรช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวในร่างกายให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
    ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
    สรรพคุณ ฟ้าทะลายใบใช้เป็นยาขมช่วยทำเจริญอาหาร (ใบ)
    ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ต้นฟ้าทะลายโจร กระชาย และว่านเอ็นเหลือง นำมาทำเป็นยาเม็ดลูกรับประทาน (ต้น)
    ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูก ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำมือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือในขณะที่มีอาการ (กิ่ง,ใบ)
    ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำมือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือในขณะที่มีอาการ (กิ่ง,ใบ)
    ฟ้าทะลาย สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั่วๆไป อาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น (ใบ,กิ่ง)
    ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้กินยาบำรุงเพื่อฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยร่วมด้วย
    ช่วยแก้อาการไอ ลดน้้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก ด้วยการใช้ใบนำทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
    ช่วยลดและขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบนำทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
    ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ด้วยการใช้ใบนำทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
    ช่วยแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นเสาหตุทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด ด้วยการใช้ทั้งต้น (ส่วนทั้ง 5 ข้องฟ้าทะลายโจร) นำมาผึ่งลมให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 กำมือ (น้ำหนักประมาณ 3-9 กรัม) แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มตลอดวัน (ทั้งต้น)
    ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ใบฟ้าทะลายโจรตากแห้ง 15 กรัม และเตยหอมสดหั่นแล้ว 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมยาจนเดือด ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า กลาง เย็น จะช่วยทำให้อาการร้อนในดีขึ้น แต่ถ้าอยากให้หายขาด แนะนำว่าไม่ต้องดื่มน้ำหลังอาหารมากเกินไป รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และออกกำลังกายทุกวัน อาการร้อนในก็จะหายไปในที่สุด (ใบ)
    ฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก โดยความขมจะเหนี่ยวนำช่วยทำให้ขับน้ำลายออกมามากขึ้น จึงทำให้ชุ่มคอ
    ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ช่วยฆ่าชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
    ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูกขาว
    ฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยลดการติดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ แต่อาจจะไม่ดีเท่าการใช้ยาเตตราซัยคลินในการรักษา แต่ก็สามารถใช้ทดแทนได้
    ช่วยรักษากระเพาะลำไส้อักเสบ (ใบ)
    ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี
    ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการเลือดออกหรืออาการปวดถ่วงหายไป ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น
    ช่วยรักษาโรคตับ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารวันละ 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (และควรใช้ยาบำรุงชนิดอื่นด้วย)
    ช่วยรักษาโรคผิวหนังฝี แผลฝี ด้วยการใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ด นำมาผสมตำรวมกันในครกจนละเอียด แล้วเอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชา ใส่รวมลงไปคนให้เข้ากันแล้วเทกินค่อนถ้วยชา ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกแผลฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพักไว้ ตอนพอกเสร็จใหม่อาจจะรู้สึกปวดบ้างเล็กน้อย (ใบ)
    ช่วยรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเป็นยาฟ้าทะลายโจรแบบเม็ดและการใช้ทาเพื่อรักษาอาการ
    ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้ (ใบ)
    ช่วยรักษาโรคงูสวัด ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหาร 2-3 เม็ดวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดคือเชื้อไวรัสที่จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าใช้รักษาครบตามเวลา ก็จะทำให้ไม่กลับมาเป็นอีก
    advertisements


    ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร
    ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ด้วยการใช้ฟ้าทะลายโจรแคปซูล โดยใช้ครั้งละ 1 แคปซูลด้วยการนำผงดังกล่าวไปละลายในน้ำอุ่น แล้วนำมาชโลมให้ทั่วหนังศีรษะทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออก
    ปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาผลิตเป็น แคปซูลฟ้าทะลายโจร ซึ่งหาซื้อมารับประทานได้ง่าและสะดวกในการรับประทานมากยิ่งขึ้น
    วิธีใช้ฟ้าทะลายโจร
    ทำเป็นยาชง ด้วยการใช้ใบสดหรือใบแห้ง (ใบสดจะมีสรรพคุณที่ดีกว่า) ประมาณ 5-7 ใบ แล้วนำมาต้มกับน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่ออุ่นแล้วก็นำมารินดื่ม โดยให้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
    ทำเป็นยาลูกกลอน หรือ ยาเม็ดฟ้าทะลายโจร ด้วยการใช้ใบสดนำมาล้างให้สะอาดแล้วผึ่งในที่ร่มที่มีลมโกรกให้แห้ง (ห้ามตากแดด) นำมาบดจนเป็นผงละเอียด แล้วนำมาปั้นผสมกับน้ำผึ้ง (หรือน้ำเชื่อมก็ได้เช่นกัน) ให้เป็นเม็ดขนาดเท่ากับเม็ดถั่วเหลือง (หนักประมาณ 250 มิลลิกรัม) เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้ผึ่งลมจนแห้ง (ถ้าไม่แห้งแล้วนำมารับประทานจะขมมาก) โดยรับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
    ทำเป็นยาแคปซูล ด้วยการใช้ผงยาที่ปั้นเป็นยาลูกกลอน ก็ให้นำมาใส่ในแคปซูล เพื่อที่จะช่วยกลมรสขมของยาทำให้รับประทานได้ง่าย โดยขนาดแคปซูลที่ใช้คือ ขนาดเบอร์ 2 (250 มิลลิกรัม) ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนวันละ 3-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง
    ทำเป็นยาผงสำหรับใช้สูดดม โดยใช้ยาผงที่บดละเอียดนำมาใส่ขวดปิดฝาเขย่า แล้วเปิดฝาออก ผงควันก็จะลอยออกมา ก็ให้สูดดมควันนั้นเข้าไป โดยผงยาจะติดที่คอช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ที่ลำคอโดยตรง จึงช่วยลดเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ ช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อในจมูกได้เป็นอย่างดี (ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าวิธีกวาดคอ วิธีเป่าคอ และวิธีการชง เพราะจะรู้สึกขมน้อย ไม่รู้สึกขยาดเวลาใช้ ใช้งานง่ายและสะดวก) โดยนำมาสูดดมบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้ง แต่ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดใช้สักพัก เมื่อหายแล้วก็นำมาสูดใหม่จนกว่าอาการจะดีขึ้น
    ทำเป็นยาดองเหล้า หรือทำเป็นยาทิงเจอร์ ด้วยการใช้ผงแห้งที่ได้ นำมาแช่กับสุราโรง 40 ดีกรี (แต่ถ้าใช้แอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ หรือ Ethyl alcohol ก็จะดีกว่าเหล้า) โดยแช่พอท่วมยาผงขึ้นมาเล็กน้อย หลังจากนั้นปิดฝาขวดให้แน่นทิ้งไว้ 7 วัน และให้เขย่าขวดทุกๆวันวันละ 1 ครั้ง เมื่อครบตามกำหนดก็ให้กรองเอาแต่น้ำนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสชาติจะขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง (ส่วนที่เหลือก็ให้เก็บไว้ในขวดที่สะอาดและปิดให้สนิท)
    ฟ้าทะลายโจรแคปซูล
    ผู้ที่ไม่ควรใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร
    สตรีมีครรภ์
    ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ
    ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค (Rheumatic heart disease)
    ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องมาจากการติดเชื้อ Streptococcus group A
    ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องมาจากการติดเชื้อ Streptococcus group A
    ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียและมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง มีอาการหาวสั่น มีหนองในลำคอ
    คำแนะนำในการใช้ฟ้าทะลายโจร
    ในต้นฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ซึ่งละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ แต่ละลายน้ำได้น้อย ดังนั้นตำรับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสูตรยาดองเหล้าหรือยาทิงเจอร์จึงมีฤทธิ์ที่แรงที่สุด ส่วนชนิดชงจะมีฤทธิ์รองลงมา และแบบยาเม็ดจะมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
    ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับใช้รักษา “หวัดร้อน” (อาการเหงื่อออก กระหายน้ำ เจ็บ ท้องผูก ปัสสาวะสีเข้ม) แต่ฟ้าทะลายโจรจะไม่เหมาะกับการนำมาใช้รักษาผู้ที่มีอาการ “หวัดเย็น” (ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกหนาวสะท้านบ่อย อุ้งมืออุ้งเท้าเย็น) เพราะอาจจะเกิดอาการกำเริบขึ้นได้ เช่น มีอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ เป็นต้น
    ข้อควรระวังในการใช้ ผู้ที่มีความโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณในการลดความโลหิตอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากใช้ฟ้าทะลายโจรอาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการมึนงง วิธีการแก้ก็คือให้หยุดใช้ทันที หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมงอาการก็จะดีขึ้นเอง เพราะตัวยาสามารถถูกขับออกไปได้และไม่ตกค้างในร่างกาย
    ผลข้างเคียงของฟ้าทะลายโจร สำหรับบางรายที่ใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร แล้วเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการปวดเอว หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะ แสดงว่าคุณแพ้สมุนไพรชนิดนี้ หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดการใช้ยา และเปลี่ยนไปใช้ยาสมุนไพรชนิดอื่นแทน แต่ถ้ามีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะลดขนาดในการรับประทานลงตามความเหมาะสม
    การใช้สมุนไพร้าทะลายโจรในการรักษาอาการต่างๆ หากใช้ติดต่อกัน 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น คุณควรหยุดใช้และให้ไปพบแพทย์ทันที
    ไม่ควรรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรติดต่อกันนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ เพราะอาจจะส่งผลทำให้ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรงได้ โดยเฉพาะอย่างแขนและขา และยังรวมไปถึงอาการท้องอืด หน้ามืดตามัว และมือเท้าชา (แต่จากงานวิจัยก็ไม่พบว่าจะเป็นอันตรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือมีผลต่อระบบภายในแต่อย่างใด) เพราะสมุนไพรชนิดนี้ตามตำราเวชศาสตร์การแพทย์แผนโบราณ ระบุไว้ว่าเป็นยาเย็น ช่วยลดธาตุไฟในร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายที่ร้อนจากอาการไข้ก็เย็นลง แต่ถ้าหากร่างกายอยู่ในสภาพปกติ การรับประทานติดต่อกันนานๆ ก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรง แต่ถ้าหากคุณจำเป็นต้องใช้สมุนไพรชนิดติดต่อกันเกินกว่า 1 สัปดาห์ ก็ควรจะรับประทานคู่กับน้ำขิง เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย (นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, พญ.ดร.อัญชลี จุฑ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข)
    แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, องค์การเภสัชกรรม, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์

    ภาพประกอบ : ยาสมุนไพรไทย: ยาสมุนไพรไทย, เว็บไซต์ botanyschool.ning.com, เว็บไซต์ thaicrudedrug.com (Sudarat HomHual), เว็บไซต์ the-than.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.9 KB
      เปิดดู:
      103
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.9 KB
      เปิดดู:
      77
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.4 KB
      เปิดดู:
      110
    • 4.pn.jpg
      4.pn.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.3 KB
      เปิดดู:
      72
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.3 KB
      เปิดดู:
      155
    • 33.jpg
      33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.3 KB
      เปิดดู:
      98
    • 4.png
      4.png
      ขนาดไฟล์:
      111.3 KB
      เปิดดู:
      139
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2015
  2. ทางสวรรค์

    ทางสวรรค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +347
    ขอบคุณมากๆครับที่นำมาบอกต่อ
     
  3. น้องคนเล็ก

    น้องคนเล็ก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +10
    ขอบคุณมากค่ะ....สาระความรู้...(f)
     

แชร์หน้านี้

Loading...