คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 19 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ทุกขสมุทัย (ทุกข์เกิด)
    [​IMG]


    ทุกขนิโรธ (ทุกข์ดับ)

    [​IMG]
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา

    ในเรื่องโยนิโสมนสิการนี้ สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ เรื่องของความคิด ได้แก่ การรู้จักคิด รู้จักพิจารณา

    บางทีเราไปสอนกันว่า ในทางพระพุทธศาสนา ในการปฏิบัติธรรม เช่น อย่างวิปัสสนานี้ไม่ให้คิด การพูดอย่างนี้จะต้องระมัดระวัง มิฉะนั้น อาจจะพลาดได้

    พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ ก็ด้วยการคิด แต่หมายถึงการรู้จักคิด คือ ต้องคิดเป็น อย่างที่ยกตัวอย่างเมื่อกี้นี้ พระพุทธเจ้าทรงคิดตลอดเลย เช่น ในการพิจารณาสภาพจิตของพระองค์เอง ทรงแยกความคิดเป็นฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล ทรงพิจารณาว่ามันเกิดขึ้นแล้ว มีผลดี หรือผลร้าย และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไรเป็นปัจจัย พระองค์คิดทั้งนั้นเลย แต่คิดคู่ไปกับการตรวจสอบสืบค้นของจริง

    เพราะฉะนั้น ต้องแยกว่า ความคิดมี ๒ อย่าง คือ ความคิดปรุงแต่ง กับ ความคิดเชิงปัญญา เช่นที่เรียกว่า สืบสาวหาเหตุปัจจัย

    เบื้องต้น ความคิดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำให้เราคิด ทรงแนะนำให้เราละเสีย ก็คือ ความคิดปรุงแต่ง

    ความคิดปรุงแต่ง คือคิดอย่างไร คือความคิดด้วยอำนาจความยินดียินร้าย ไต้อิทธิพลของความชอบชัง

    หมายความว่า คนเราได้ประสบอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เวลาประสบอารมณ์นั้น นอกจากการรับรู้แล้ว ก็จะมีสิ่งหนึ่ง คือความรู้สึกที่เรียกว่า เวทนา สิ่งใดที่เข้ามาแล้วเป็นที่สบาย เรียกว่า เกิดสุขเวทนา อันใดที่ไม่สบาย เรียกว่าเกิดทุกขเวทนา

    สิ่งทั้งหลายที่เรารับรู้ทุกอย่าง จะมีความรู้สึกประกอบอยู่ด้วยเวลาเราเห็น ไม่ใช่เฉพาะว่าเห็นรูปร่าง เห็นสีเขียว สีขาว สีดำ สีแดง รูปร่างกลม ยาว เหลี่ยมเท่านั้น ทุกครั้งที่เราได้ดู ได้เห็นนั้น เรามีความรู้สึกด้วย คือมีความรู้สึกสบาย ไม่สบาย อันนี้แหละเป็นตัวสำคัญ

    ความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนานี้ จะทำให้เราเกิดปฏิกิริยา ที่เรียกว่า ความชอบ หรือไม่ชอบ หรือที่ภาษาเก่าของพระ เรียกว่า "ยินดียินร้าย" ถ้าเป็นสุขเวทนา สบาย เราก็ชอบใจ หรือยินดี ถ้าเป็นทุกขเวทนา เราก็ไม่ชอบใจ หรือยินร้าย

    ผู้ศึกษาต้องแยกให้ได้ ๒ ตอน ที่ว่า สบาย กับ ยินดี หรือสบายแล้วชอบใจ นี่คนละตอนกัน

    ตอนสบายเป็นเวทนา เป็น ฝ่ายรับ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ยังไม่เป็นกุศล หรืออกุศล สบาย ไม่สบาย สุข ทุกข์ อันนี้ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ยังเป็นกลางๆ เป็นเวทนา

    แต่เมื่อไรเกิดปฏิกิริยาว่าชอบหรือไม่ชอบ ยินดีหรือยินร้าย อันนี้เรียกว่า เกิดตัณหา แล้วตัณหานี้เป็นปฏิกิริยา เป็นสภาพจิตที่เป็นสังขารแล้ว คือ ก้าวจากเวทนาไปเป็นสังขารแล้ว

    - สุข-ทุกข์ สบาย ไม่สบาย เป็น เวทนา

    - แต่ยินดี - ยินร้าย ชอบใจ - ไม่ชอบใจ เป็น สังขาร

    เมื่อเราเกิดความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ คือเกิดตัณหาขึ้น มาแล้ว จากนี้เราจะคิด ถ้าชอบใจ เราคิดตามอำนาจความชอบใจ ถ้าไม่ชอบใจเรา ก็คิดตามอำนาจความไม่ชอบใจ ความคิดอย่างนี้เรียกว่าความคิดปรุงแต่ง จะเกิดความเอนเอียง จะเกิดปัญหาแก่จิตใจ จะมีตัวตน (อัตตา) ที่รับกระทบอย่างนั้นอย่างนี้
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    แต่ถ้าเราคิดเชิงปัญญา คือ พิจารณาว่าอะไรเกิดขึ้นจึงเป็นอย่างนี้ อันนี้ เกิดขึ้นเพราะอะไร สืบสาวหาเหตุปัจจัย อันนี้มิใช่คิดปรุงแต่ง อันนี้เป็นการคิดเชิงปัญญา เช่น คิดสืบสาวตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงคิด ในตอนที่ตรัสรู้

    เพราะฉะนั้น ต้องแยกให้ถูกว่า ความคิด มี ๒ แบบ เราไม่ควรจะคิดเชิงปรุงแต่ง เพราะจะทำให้

    ๑. ไม่เกิดปัญญา ไม่เห็นตามเป็นจริง แต่เห็นตามอำนาจความยินดียินร้าย เป็นการสร้างภาพ และเกิดความลำเอียงไปตามความชอบชัง

    ๒. เกิดโทษต่อชีวิตจิตใจ ทำให้จิตใจขุ่นมัว เศร้าหมอง คับแคบ บีบคั้น เร่าร้อน เครียด เป็นต้น พูดสั้นๆ ว่าเกิดทุกข์ รวมทั้งปัญหานานา ทั้งแค่ตนและกับผู้อื่น ที่เนื่องจากโลภะ โทสะ และโมหะ

    อนึ่ง ปัญหาและความสับสนในเรื่องนี้ เกิดขึ้นจากเหตุอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของถ้อยคำ หรือการใช้ถ้อยคำในความหมายเฉพาะของแต่ละท่าน คืออาจารย์บางท่านใช้คำว่าความคิดนั้น ในความหมายอย่างเดียวว่าหมายถึงความคิดปรุงแต่งเท่านั้น เมื่อพูดว่า ความคิด ก็คือความคิดปรุงแต่งนั่นเอง

    ในกรณีอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องของผู้อ่านหรือผู้ศึกษา ที่จะต้องเข้าใจถ้อยคำนั้นไปตามความหมายที่ท่านต้องการ และไม่นำไปสับสนกับความหมายในที่อื่น
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เมื่อพูดถึงโยนิโสมนสิการ (มีผู้อื่นพูดด้วย) ดูหลักสักหน่อยเป็นไง

    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ก็คือการนำเอาโยนิโสมนสิการมาใช้ในการปฏิบัติ หรือโยนิโสมนสิการที่เป็นภาคปฏิบัติการ

    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หรือที่เรียกสั้นๆว่า วิธีโยนิโสมนสิการนี้ แม้จะมีหลายอย่างหลายวิธี แต่เมื่อว่าโดยหลักการก็มี ๒ แบบ คือ

    -โยนิโสมนสิการ ที่มุ่งสกัด หรือกำจัดอวิชชาโดยตรง

    -โยนิโสมนสิการ ที่มุ่งเพื่อสกัด หรือบรรเทาตัณหา

    โยนิโสมนสิการ ที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรงนั้น ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้

    ส่วนโยนิโสมนสิการ ที่มุ่งเพื่อสกัด หรือบรรเทาตัณหา มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ ซึ่งมุ่งเตรียมพื้นฐาน หรือพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้น ไป เพราะเป็นเพียงขั้นขัดเกลากิเลส แต่โยนิโสมนสิการหลายวิธี ใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งกำจัดอวิชชาและบรรเทาตัณหาไปพร้อมกัน

    วิธีคิด หรือ โยนิโสมนสิการ ที่พบในบาลีพอประมวลเป็นแบบใหญ่ๆ ได้ 10 แบบ ดังนี้

    1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

    2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

    3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา

    4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา

    5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

    6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก

    7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม

    8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม

    9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน

    10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาทะ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตัวอย่าง วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย

    วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย


    วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ์ที่เป็นผล ให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา หาหนทางแก้ไข ด้วยการคนหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา อาจเรียกว่า วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา หรือคิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท จัดเป็นวิธีโยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน ดังจะเห็นว่าบางครั้งท่านใช้บรรยายการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

    ไม่เฉพาะเริ่มจากผล สืบค้นโดยสาวไปหาสาเหตุและปัจจัยทั้งหลายเท่านั้น ในการคิดแบบอิทัปปัจจยตานั้น จะตั้งต้นที่เหตุแล้วสาวไปหาผล หรือจับที่จุดใดๆ ในกระแส หรือในกระบวนธรรม แล้วค้นไล่ตามไปทางปลาย หรือสืบย้อนมาทางต้น ก็ได้

    วิธีนี้กล่าวตามบาลี พบแนวปฏิบัติ ดังนี้

    ก. คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ โดยอริยสาวกโยนิโสมนสิการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดขึ้น ดังที่ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนขาดสุตะ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตา ยังดีกว่า แต่การจะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นอัตตา หาควรไม่

    "ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ ที่ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สืบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสืบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ยังปรากฏ แต่สิ่งที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง นั้น เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ดับไปอย่างหนึ่ง ทั้งคืน ทั้งวัน

    "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะ ย่อมมนสิการโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท ในกองมหาภูตนั้นว่า เพราะดังนี้ๆ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

    "อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ก็ย่อมดับ ย่อมสงบไป อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น ก็ย่อมดับ ย่อมสงบไป อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์ จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น ก็ยอมดับ ย่อมสงบไป

    "ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกัน จึงเกิดไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละ ออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ก็ย่อมดับ ย่อมสงบไป" *

    (สํ.นิ.16/236/116)

    ข. คิดแบบสอบสวน หรือ ตั้งคำถาม เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสพิจารณาว่า

    "เรา นั้นได้มีความคิดว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ อุปาทานจึงมี อุปาทานมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย? ลำดับนั้น เพราะโยนิโสมนสิการ จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

    "ลำดับ นั้น เราได้มีความคิดว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ตัณหาจึงมี ตัณหามี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ? ลำดับนั้น เพราะโยนิโสมนสิการ จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ"

    เนื่องในปฏิจจสมุปบาทด้วย จึงยุติเพียงเท่านี้
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ธรรมะ ไม่ใช่เรื่อง วิทยศาสตร์ ไม่ใช่ ตรรกศาตร์ และ ไม่ใช่ ปรัชญา และ ไม่ใช่ จิตวิทยา

    ตราบใด มนุษย์ ฟังธรรม แล้ว สำคัญไปว่า เป็น ปรัชญา ตรรกะ จิตวิทยา หรือ เหตุผลโลกๆ
    ตราบนั้น มนุษย์ คนนั้น ไม่ได้ รู้วิธีการสอนของพุทธศาสนา

    และ เมื่อไม่ทราบว่า พระพุทธศาสนา สอนอะไร เวลา เจอ ชาวพุทธ กล่าววาจา ไตร่ตรอง
    ใคร่ครวญธรรม ด้วยเหตุ ผล หนักแน่น ค้านไม่ได้ ....ก็จะสำคัญไปว่า นั่นคือ การคิดเอาเอง
    ลอยๆ เหมือน ขี้ลอยน้ำ หรือ ปรักปรำว่า คิดปรุงแต่ง หรือ ปรักปรำว่า วิปัสสนึก


    ธรรมะ นั้น เป็นเรื่อง ว่าด้วยการหลีกออกจากภพ หลีกออกจากอาสวะ ภวสวะ และ สาสวะ

    ดังนั้น การตรึกใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อ การออกจากภพ การหลีกออกจากภพ หลีกออกจาก
    อาสวะ สาสวะ ภวสวะ จึงเป็นการ ตรึกที่ถูกวิธี เป็น สุญญตา ไม่มีการเข้าไปหา

    นักปรัชญา ตรรกศาตร์ วิทยาศาตร์ สังคมศาสตร์ พอได้ยินแบบนี้ ก็ปรักปรำอีกว่า ชาวพุทธ
    ทำแบบนั้นกันหมด ก็เป็น กาฝากสังคม เพราะ ฟังดูแล้วเหมือนคนไม่ขวนขวายทำงานทำการ
    ไม่เสียสละ ไม่รับผิดชอบสังคม

    แท้จริงแล้ว วิธีการหลีกออกจากภพ หลีกออกจากอาสวะ ภวสวะ สาสวะ เป็นเรื่อง กระทำในใจ
    ในปัจจุบันธรรม ซึ่ง อาศัยเพียงชั่วเวลาฟ้าแล๊บในการ " กำหนดรู้ " หรือ ใคร่ครวญ หรือ นมสิการ

    เวลา ที่เหลือนอกจากนั้น อีกแสนโกฏขณะ มีอย่างเหลือเฝือ จะเป็นการ อนุโลมไปตามกิจวัตร
    ประจำวัน ประจำวาสนา และ เนื่องจาก การกำหนดรู้ ปัจจุบันธรรมนั้น เพียงพอแก่การเป็น
    เหตุของ " ปธานสังขาร " ความประพฤติที่นำ อาสวะกิเลส สาสวะที่เศร้าหมอง ภวสวะที่เป็น
    การเห็นแก่ตัว(ราคะ โทษะ โมหะ)ได้นำออกแล้ว พฤติกรรมหลังจากการกำหนดรู้ จะบริสุทธิ
    ผุดผ่อง เป็นไปเพื่อประโยชน์ของโลก อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีการ มุ่งเอาเป็นของตัว เพราะ
    เป็นธรรมเหนือโลก เหนือเหตุ เหนือผล


    ชาวพุทธที่ ภาวนาถูกต้อง คิดอย่างถูกวิธี จึงเป็น นาบุญของโลก อยู่เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก
    โดยการกระทำจากภายใน ไม่มีตกหล่น ไม่มีเสียสติปรักปรำเพื่อนพรหมจรรย์ และ สรรพสัตว์
    เป็นการ ประจานความโง่ ของตน
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอถามเป็นความรู้เบื้องต้นหน่อยนะครับ "ภพ" ได้แก่อะไร ยังไงครับ ภพ

    ที่ว่า ธรรมเหนือเหตุเหนือผล ธรรมข้อไหนครับเหนือเหตุเหนือผล
     
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เห็นชอบแล้วจึงดำริชอบ
     
  9. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    หากไม่เห็นชอบ จิตจะมีนิวรณ์5..มากมายเกิดขึ้นในจิตและจะเกิดเป็นอุปสรรคหลายชั้น เหมือนกำแพง มาขวางกั้นในจิตเอง ตามธรรมชาติของจิต ทำให้ .."ดำริห์ชอบ"...เกิดขึ้นยากส์ จน..ฯล:cool:
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เป็นเหตุเป็นผลกัน - เห็นชอบ = สัมมาทิฏฐิ ดำริชอบ = สัมมาสังกัปปะ

    เห็นผิด = มิจฉาทิฏฐิ ดำริผิด = มิจฉาสังกัปปะ เป็นเหตุเป็นผลกัน
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอแย่ง scene หน่อยละกันกรัชกาย
    ภพ บาลีใช้คำว่า ภวะ หมายถึงในชาติหนึ่งที่เราเกิดอยู่ ที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน
    เช่นว่า ภพนี้ ภพหน้า ภพที่แล้ว คือทุกชาติที่จะไปเกิด หรือที่เกิดมาแล้วไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม สัตว์เดรัจฉาน เรียกภพหนึ่งๆ

    พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นสัจจธรรม เป็นอริยะสัจจ์ ย่อมไม่อยู่เหนือเหตุและผลของธรรมชาติ
    พระพุทธเจ้าไม่มีธรรมที่สอนให้มนุษย์ หรือเทวดาอยู่เหนือกฎของธรรมชาติเลย ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกันทั้งสิ้น
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...........สัมมาทิฎฐิ มีสองระดับ คือ สัมมาทิฎฐิระดับที่เกี่ยวกับสาสวะ....กับสัมมาทิฎฐิระดับเหนือโลกว่าด้วยสุญตา ครับ คงหมายความว่าอย่างนี้มากกว่า:cool:
     
  13. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา

    ตอบ คิดปรุงแต่ง คือคิดไม่ถึงความจบในเรื่องนั้นๆ (ทั้งใบไม้ในกำมือ และนอกกำมือ)

    คิดนัยวิปัสนา คือคิดในใบไม้ในกำมือ คิดในเรื่องนั้นๆ แต่คิดได้ถึงความจบ จะได้ความสงบของจิต เป็นผลตอบแทน ในเรื่องนั้นจ้า...
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อริยสัจ ๔ ซึ่งเรียกสั้นๆกันว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จัดเป็นสองกลุ่ม คือ เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น

    ๑. ทุกข์ = ผล
    ๒. สมุทัย = เหตุ

    ๓. นิโรธ = ผล
    ๔. มรรค = เหตุ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขอบคุณครับลุงหมาน

    แล้ว ภพ (ภวะ) ในปฏิจจสมุปบาทล่ะ หมายถึงอะไร
     
  16. คะนึง

    คะนึง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +402
    ธรรมะของพระพุทธองค์ลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ

    ใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา ดูกิเลสเพื่อเห็นกิเลส พิจารณากิเลสเพื่อละกิเลส

    หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง เตือนตนเอง ใช้จิตสอนจิต

    ความคิดที่ปรุงแต่ง คือ ความคิดที่ส่งออกนอก ไม่รู้ตัวเอง ไม่ตั้งมั่น
    ไม่มีสติและสมาธิ ไม่ได้คิดเพียงแค่เรื่องเดียว

    ความคิดเพื่อพิจารณา คือ ความคิดในเรื่องตัวเอง คิดอยู่ภายใน เช่น
    คิดพุทโธ เป็นความคิดที่อยู่ภายใน ไม่ส่งจิตออกนอก มีตัวรู้ภายใน
    ไม่หลงลืมกาย คิดเพียงเรื่องเดียวอยู่อย่างนั้น แล้วกำหนดรู้ จนสงบ
    แล้วได้คำตอบใน้รื่องนั้นจนแจ่มแจ้งเข้าใจ รอบรู้ เพื่อให้นำไป
    ปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลทางการกระทำได้

    ขณะที่ไม่ได้พิจารณา ก็มีสติกำหนดรู้อยู่ไม่ต้องคิด รู้ทุกอารมณ์
    ทุกการกระทำเพื่อนำสิ่งนั่นมาพิจารณาให้เกิดปัญญาเป็นวาสนา
    บารมีของตน หากผลที่ได้สั่งสมขัดเกลาอุปนิสันกิเลสเบาบาง
    ลงไปเรื่อย ๆ ก็ไม่ยากที่จะเข้าไปเห็นความจริง เหมือนกระจก
    ที่มีฝ้าหนา ๆ ถูกขัดเกลาเพื่อให้ใส จะได้มองเห็นอะไรชัดเจนได้ง่ายกว่า

    ทุกข์เป็นสิ่งที่กำหนดรู้ รู้เพื่อที่จะทำอย่างไรจะไม่ทุกข์กับมันอีกนะคะ
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704

    ภวะในปฏิจจสมุปบาทมี ๒ อย่าง คือ กัมมภวะ และอุปปัตติภวะ ทั้ง ๒
    ปรากฏเกิดขึ้น เพราะอาศัยอุปาทาน ๔ เป็นเหตุ

    สำหรับคำว่า ภวะ องค์ธรรมเป็นจิต เจตสิก กล่าวคือ
    ถ้าเป็นกัมมภวะ องค์ธรรมคือ กุศลและอกุศลเจตนา ๒๙
    ถ้าเป็นอุปปัติภวะ องค์ธรรมคือ โลกียวิบากจิต ๓๒ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐

     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สรุปสั้นๆดังนี้ได้ไหมว่า มันคือกุศลจิต อกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้น-ดับ
    กุศลจิตเกิดก็เรียกว่าเป็นบุญเป็นกุศล อกุศลจิตเกิดก็เป็นบาปเป็นอกุศลไป

    สรุปอีกครั้งก็คือ ปฏิจจสมุปบาทคือการเกิด-ดับของทุกข์
     
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
  20. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    ๑. หลวงพระมหาบัว ภาวนารักษาใจ

    [​IMG]
    https://www.youtube.com/watch?v=cHnwkj0GhQo
    สังขาร 2 ประเภท
    - สังขารฝ่ายที่เป็น สมุทัย
    - สังขารฝ่ายที่เป็น มรรค

    ๑. สมมุติและวิมุติ
    [​IMG]หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    ในวันสิ้นปีเมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนได้มาค้างคืนอยู่ปฏิบัติที่วัดสะแก และได้มีโอกาสเรียนถามปัญหาการปฏิบัติกับหลวงพ่อเรื่องนิมิตจริงนิมิตปลอมที่เกิดขึ้นภายในจากการภาวนา ท่านตอบให้สรุปใจความได้ว่า

    ต้องอาศัยสมมุติขึ้นก่อนจึงจะเป็นวิมุติได้ เช่น การทำอสุภะหรือกสิณนั้น ต้องอาศัยสัญญาและสังขารน้อมนึกเป็นนิมิตรขึ้น ในขั้นนี้ไม่ควรสงสัยว่านิมิตนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม มาจากภายนอกหรือมาจากจิต เพราะเราจะอาศัยสมมุติตัวนี้ไปทำประโยชน์ต่อ คือยังจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ขึ้น แต่ก็อย่าสำคัญมั่นหมายว่าตนรู้เห็นแล้ว หรือดีวิเศษแล้ว

    การน้อมจิตตั้งนิมิตเป็นองค์พระ เป็นสิ่งที่ดี ไม่ผิด เป็นศุภนิมิตคือนิมิตที่ดี เมื่อเห็นองค์พระ ให้ตั้งสติคุมเข้าไปตรงๆ (ไม่ปรุงแต่งหรืออยากโน้นนี่) ไม่ออกซ้าย ไม่ออกขวา ทำความเลื่อมใสเข้า เดินจิตให้แน่วแน่ สติละเอียดเข้า ต่อไปก็จะสามารถแยกแยะหรือพิจารณานิมิตให้เป็นไตรลักษณ์จนเกิดปัญญา สามารถจะก้าวเข้าสู่วิมุติได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2015

แชร์หน้านี้

Loading...