ก็ผมสงสัย ที่เค้าบรรลุธรรม เห็นธรรม เค้าเห็นอะไร เกิดดับเหรอ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 20 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตามความเป็นจริงครับ
    เห็นแค่นี้ก็รู้แล้วว่าต้องทำอะไรต่อ
    เกิดดับก็อยู่ในการเห็นทุกข์นั่นเองครับ

    ว่าแต่ที่ว่า ไม่ใช่นะ แล้วคิดว่ายังไงเหรอครับ
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถือ ว่าเป็นทัศนะยามดึกครับพี่เส

    เข้าใจว่า เห็นเกิดดับ น่ะถูกต้อง

    พระอัญญาโกญทัญญะ ก็เห็น " ยังกิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมันติ "


    แต่ ความต่าง ระหว่าง จิตที่เห็นเกิด ดับ

    กับ มีคำว่า เราเห็นเกิดดับ มันต่างกัน

    ลักษณะ จิตที่เห็นเกิดดับ มันพ้นสมมุติบัญญัติ

    แต่หากมามีเราเห็น มันเป็นแต่ นึกเอา ว่าเห็นเกิดดับ

    เห็น เกิดดับ ในขณะจิต ได้ ผมว่าไม่ธรรมดาแล้ว
    พละ 5 นี่อบรมบ่มมาไม่น้อย
     
  4. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ผมก็แค่คิดว่าไม่น่าจะใช่น่ะครับ
    เกิดดับ เกิดแก่เจ็บตาย สุขทุกข์ ทุกคนก็รู้นิครับ คาดเดาว่าพระอริยะเจ้าต้องรู้เห็นมากกว่านั้นแน่ๆ
    คือมันรู้สึกหลอนๆ เดี๋ยวนี้ใคร อะไรก็เกิดดับๆ ผมก็งงปนสงสัย

    ที่พี่ Tboon พูดมาก็น่าสนใจ
    อธิบายหน่อยซีครับ
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021

    แสดงว่าพี่ปราบนี่ไม่ธรรมดาแล้วซีครับเนี่ย (k)
    เอาหละครับ แนะนำเปิดกะโหลกให้น้องเสหน่อยจะเป็นไรไป
    :cool:
     
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    การเห็นความเกิดดับเห็นได้หลายลักษณะ
    เกิดแก่เจ็บตายก็เป็นธรรมนำพ้นทุกข์ได้ครับ
    ถ้าน้อมเข้ามาพิจารณาเห็นความมีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในกายใจตนได้
    อินทรีย์ พละเขาพอ และนิสัยวาสนามาทางนั้นก็ไม่ต้องอะไรมาก
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เพียงเสนอทัศนะ เฉยๆครับ

    นึกแล้ว ก็ คิดถึง อีกคำ คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ท่องได้ รู้ เข้าใจความหมาย แต่ มันได้แต่ ท่อง รู้ เข้าใจความหมาย

    เพราะมีเราอยู่ มันเลยทำได้แต่เพียง ท่อง รู้เข้าใจความหมาย

    แต่หากภาวนา พ้น สมมุติบัญญัตเมื่อไร คงมันส์น่าดู

    ว่าม๊ะ
     
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ไม่รู้ผมเข้าใจถูกรึป่าวครับ
    ว่าต้อง สัญญาเวทยิตนิโรธ เลยเหรอครับพี่ปราบ ระดับพ้นสมมุติ
    งั้นผมคงอดมันส์แน่ๆ
    :'(
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผมเข้าใจ ว่า
    ไม่ต้องไปถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ หรอกครับ

    เอาเพียงๆเริ่มๆ ที่จิตเริ่มเข้าสู่ ภูมิ วิปัสนา เริ่มเป็นวิปัสนาญาณอ่อนๆ
    นี่ก็เริ่ม สัมผัส การภาวนาที่พ้นสมมุติบัญญัติแล้วครับ

    ชักง่วง แระ ไว้ มาเช้าครับ :boo:
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ภาวนาไป ๆ ถ้าเหตุปัจจัยมันถึงพร้อม ซึ่งบอกไม่ได้ว่าเมื่อไหร่
    โลกมันจะดับให้ดู บางคนไม่รู้ บอกดับอย่างนั้นมีแต่ตายอย่างเดียว
    คำว่าโลก หมายถึงขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดับหมด
    ดับไม่เหลือ เน้น ๆ เลยว่าดับไม่เหลือ ความเชื่อหรือทัศนคติเรื่อง
    โลกเที่ยง จิตเที่ยง ผู้รู้เที่ยงจึงค่อยเปลี่ยนไป นี่จึงเรียกว่า เริ่มเห็นถูกตรงแล้วครับ
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ทัศนะผมว่าภาวนาจนกิเลสดับ เห็นขันธ์ 5 ดับ โลกธาตุดับ ทุกข์ดับนี่เห็นด้วยครับ
    แต่ว่าดับไม่เหลือ ถ้าหมายถึงดับหมดไม่เหลืออะไร ผู้รู้ก็ไม่มีนี่ ผมว่าทะแม่งๆนะครับ (ถ้าผมเข้าใจที่พี่Tboom สื่อมาผิดก็เพิ่มเติมให้ด้วยครับ..ขออภัย)
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ต้องไปศึกษาต่อเอาเองน่ะครับ บอกไปหมดแล้ว เหลือแต่รอพิสูจน์

    เอาเป็นว่า เมื่อโลกดับ จึงเห็นจุดที่เป็นตัวกูของกูน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2015
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021


    โอเคครับ คงเกินภูมิที่ผมจะเข้าใจ ใครมีภูมิธรรมช่วยหน่อย ช่วยอธิบายด้วยครับ...อยากรู้จริงๆ ดับหมด ดับไม่เหลือ เน้น ๆ เลยว่าดับไม่เหลือ เป็นยังไง
    .....ผมสงสัยหนักกว่าเดิมเลย :cool:
     
  14. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ลำดับญาณ ๑๖ โดยสังเขป
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้จักแยกรูปแยกนามออกจากกัน คือรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งรูปนาม
    ๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารู้เหตุ รู้ปัจจัยของรูปนาม คือรู้ว่ารูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยรวมกันอยู่
    ๓. สัมมสนญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามเป็นพระไตรลักษณ์ปรากฏแจ้งชัด ๑๕ % คือกำหนดยกรูปนามขึ้นพิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
    ๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของรูปนาม พระไตรลักษณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ๙๐ % สันตติขาดจนเป็นเหตุทราบชัดว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา
    ๕. ภังคญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนาม คือ อุปาทะ ความเกิดขึ้น ฐิติ ความตั้งอยู่ มีอยู่ แต่ปรากฏไม่ชัดเจน เพราะวิปัสสนาญาณมีกำลังกล้าขึ้น รูปนามปรากฏเร็วขึ้น จึงเป็นเหตุให้พิจารณาเห็นชัดลงไปเฉพาะในส่วนแห่งความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ว่า สังขารทั้งปวงล้วนดับสลายไปทั้งสิ้น
    ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่ต้องแตกสลายไปทั้งสิ้น
    ๗. อาทีนวญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม คือเมื่อเห็นรูปนามล้วนแต่ดับสลาย เป็นของน่ากลัวมาตามลำดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปนามทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ เป็นโทษ
    ๘. นิพพิทาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปนาม คือเมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษของรูปนามแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่รื่นเริง เพลิดเพลิน หลงใหลในรูปนาม
    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาปรารถนาอยากจะออก อยากจะหนี อยากหลุดพ้นไปจากรูปจากนาม เพราะพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษ และเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามที่ผ่านมา
    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปัญญากำหนดกลับไปพิจารณาทบทวนพระไตรลักษณ์อีก เพื่อที่จะหาทางหลุดพ้นไปจากรูปนาม คือตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ไม่ย่อท้อ ใจหนักแน่นมั่นคง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สู้ตาย
    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญากำหนดพิจารณาวางเฉยเป็นกลางในรูปนาม คือทราบชัดตามความเป็นจริงในรูปนามแล้วจึงเป็นผู้มีใจเป็นกลาง วางเฉยได้
    ๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นไปตามลำดับอนุโลมญาณต่ำ อนุโลมญาณสูง อันเป็นเครื่องตัดสินใจว่าไม่ผิดแน่ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน โดยอาการของพระไตรลักษณ์ อาการใดอาการหนึ่ง
    ๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่โอนจากโคตรของปุถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยะ เพื่อจะหน่วงยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ๑๔. มรรคญาณ ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญากำหนดพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ที่ยังเหลืออยู่ ตลอดถึงมรรค ผล และนิพพาน
    แก้ไขข้อความเมื่อ 2 มกราคม 2557 เวลา 21:53 น.
    ตอบกลับ
    0 0
    ธาตุธรรม
    2 มกราคม 2557 เวลา 21:47 น.
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วิธีปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

    อุปัชฌายสูตร
    [๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิตของผม ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

    ครั้งนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว กราบทูลว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิต
    ของผม ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่
    ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอไม่ยินดีประพฤติ
    พรหมจรรย์ และเธอมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้

    ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียรเป็ นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญ โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน ทุกคืน

    ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ
    ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน ดังนี้ ดูกรภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

    ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป

    ภิกษุนั้นหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่ ไม่นานเท่าไร ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม

    ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ก็แลภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์ รูปหนึ่ง ในจำนวน พระอรหันต์ทั้งหลาย

    ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ได้บรรลุอรหัตแล้ว จึงเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของผม ผมยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

    ครั้งนั้น ภิกษุนั้น พาภิกษุผู้สัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมไม่
    หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถิ่นมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของผม ผมยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่เธอ ถิ่นมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของเธอ เธอยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และเธอไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้

    ย่อมมีได้แก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

    หมายเหตุ:

    การเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ขณะที่ผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างนานา

    ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(หยุดสร้างเหตุนอกตัว) ชั่วขณะที่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สภาวะโพธิปักขิยธรรม จึงเกิดขึ้น ชั่วขณะ

    ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

    การหยุดสร้างเหตุนอกตัวเนืองๆ เป็นการเจริญโพธิปักขิยธรรม

     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ไม่ค่อยเห็นใครโพสต์แบบนี้นะครับ ผมมันมาแบบนี้
    ตอนแรกก็สมถะมาเต็ม ๆ ดับความคิดดับอารมณ์ท่าเดียว
    ตอนหลังคลาย ยอมรับความจริงมากขึ้น ใช้รู้ตามความเป็นจริงเอา
    เห็นแต่สิ่งที่ถูกรู้ เห็นว่ามันไม่เที่ยง เกิดดับ ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้
    พอวันหนึ่งสิ่งที่ถูกรู้กับผู้รู้หายไปพร้อม ๆ กัน ถึงได้ถึงบางอ้อ
    สิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นมีดับทั้งหมด แม้แต่ผู้รู้โลกทั้งมวลก็เกิดดับ
    ยังกับได้ฟังธัมมจักรฯเสียเองเลย ไม่เคยใส่ใจเห็นตรงนี้มาก่อนเลย

    ดูต่อศึกษาต่อ ก็มาเห็นว่า ตัวกูของกูมันก็อยู่ตรงนี้แหละ
    กุศลหรืออกุศลเข้าสิง ธรรมหรือกิเลสเข้าแทรก ผู้รู้คือที่อยู่ของอวิชชา
    ถ้าฝ่ายดีเข้าแทรก ก็คิดดีพูดดีทำดี ถ้าฝ่ายชั่วแทรก ก็ตรงกันข้าม
    ดูให้ดีมันเป็นเรื่องของสังขารทั้งหมด แล้วแต่มันจะพาเป็นพาไป นี่แหละมายา
    รู้คุณโทษประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์แล้ววางเลย คือรู้ตามความเป็นจริงก็พอ
    ไม่ยึดมั่นถือมั่น สังขารก็คือสังขารวันยังค่ำ นั่นทุกข์ทั้งนั้น รู้ตามความเป็นจริง

    ทีนี้กิเลสส่วนละเอียด ตัวอยาก ตัวกลัว ตัวเพลิน ก็ดูมันไป รู้ทันมันไป
    ตามกำลังของสติปัญญา อะไรควรรู้ ควรละ ควรเจริญก็สมาทานศึกษาไป
    มันไม่ได้เป็นอะไรทั้งนั้นหรอก แค่ทำหน้าที่ออกจากทุกข์ตามกำลังสติปัญญา
    และไม่ใช่ว่า ถอนออกจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ แล้วไปอยู่ในอะไรต่อ
    ไม่ใช่ย้ายบ้านนะ พระพุทธองค์ทรงให้รื้อเรือน เลิกคบนายช่างสร้างเรือน

    พอเข้าใจไหมครับ เห็นให้ตรงอย่างนี้ไปก่อน ไม่ใช่ปฏิบัติไป กลายเป็นจิตเที่ยง ๆ
    บางทีคำว่า โลกราบเป็นหน้ากลอง อาจเป็นปริศนาธรรมที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้ไว้ก็ได้


    ฝากไว้ให้พิจารณากันครับ..
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ดูมาก ระวังอุปาทานหลอกเอาได้ ต้องระวัง ..รู้ก่อนเกิด
     
  18. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

    ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
    เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
    เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
    เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
    เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

    ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
    ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

    เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
    ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

    ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

    เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
    – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.
    ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;

    ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
    ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
    เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
    ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
    ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
    ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

    เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
    – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.
    ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
    ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

    ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
    ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
    ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

    ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

    เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
    – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.
    ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
    ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

    ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
    ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
    ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

    ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

    เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
    – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.

    ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
    ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
    เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

    ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
    ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
    เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

    ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
    ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
    ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

    เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.

    หมายเหตุ:

    เมื่อเห็นเนืองๆ ถึงเหตุปัจจัยที่มีอยู่(ผัสสะ) ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย

    เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายกับผัสสะที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดการปล่อยวางลงเอง ตามเหตุปัจจัย

    เมื่อจิตเกิดการปล่อยวาง จะเห็นแจ้งสภาวะไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
    ปราศจาก การน้อมเอา คิดเอา หรือมีความพยายามกระทำเพื่อให้เกิดขึ้น

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ – หน้าที่ 265

    เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
    อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ

    ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมนี้แล
    ซึ่งพระอริยาสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว

    เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
    มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบาย ทุคคติและวินิบาต สิ้นแล้ว

    ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า ดังนี้.

    หมายเหตุ

    การหยุดสร้างเหตุนอกตัว เป็นสภาวะศิล ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
    เมื่อกระทำดังนี้ได้ ชั่วขณะที่หยุดสร้างเหตุนอกตัว(สำรวม สังวร ระวัง) สมาธิย่อมเกิดขึ้นเอง

    จึงเป็นสภาวะศิล ที่ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ

    ที่มา:walailoo2010.wordpress.com/category/โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติ/
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เสวนากันมา หลายปี

    สังเกตไหมว่า ไม่ได้เสวนาเพื่อ หาหนทางไปโยนิโสมนสิการ

    การเสวนาครั้งนี้ ก็เหมือนกัน

    มุ่งจะ กระทืบ ลูกเดียว

    การเสวนาแบบนี้ ไม่มีประโยชน์ แล้ว เป็นการชักชวนให้คนที่เขาภาวนาดีแล้ว
    ต้อง เสียเวลาในการ มานั่งสมมติ แทนที่จะ อยู่กับวิเวก
     
  20. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    มีใครยอม ใครรับกันบ้างว่าแท้ที่จริงภาวนาไม่ได้เลย
    ไม่เคยภาวนาได้เลย
    แค่เอาอารมณืที่สงสัยไปให้คนลูบหลังให้เท่านั้น

    แค่ยอม แค่รับแค่นี้ก็อุทิศกุศลได้แล้ว
    ทีทำบาปจะให้คนอื่นโมทนาจะบำเพ็บบารมี จะลูบหลัง
    พอคนอื่นทำบุญ
    ดูที่มันทำกะคนทำบุย ทานศีลภาวนา ศีลสมาธิปัญญษ
    ถ้าเพิ่งทำกันก็ไม่ว่า
    ก๊่ปีมาแล้ว
    มีวันเว้นวันว่างให้บ้างมั้ย
    เคยมั้ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...