พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความรักอย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MindSoul1, 14 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ว่าด้วยความรัก ๔ แบบ

    (๑) ความรักเกิดจากความรัก
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง,
    มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ;
    บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ
    ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;


    บุคคลนั้นชื่อว่า
    ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อย่างนี้แล เรียกว่า
    ความรักเกิดจากความรัก.

    (๒) ความเกลียดเกิดจากความรัก
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง,
    มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ;
    บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ
    ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้;


    บุคคลนั้นชื่อว่า
    ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อย่างนี้แล เรียกว่า
    ความเกลียดเกิดจากความรัก.

    (๓) ความรักเกิดจากความเกลียด
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง,
    มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ;
    บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ
    ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้;


    บุคคลนั้นชื่อว่า
    ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อย่างนี้แล เรียกว่า
    ความรักเกิดจากความเกลียด.

    (๔) ความเกลียดเกิดจากความเกลียด
    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง,
    มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ;
    บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ
    ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;


    บุคคลนั้นชื่อว่า
    ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อย่างนี้แล เรียกว่า
    ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.

    ปฐมธรรม หน้า ๒๓

    (บาลี) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๙๐-๒๙๑/๒๐๐. : คลิกดูพระสูตร
     
  2. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    พุทธวจน faq พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความรักอย่างไร
    https://www.youtube.com/watch?v=1c2B-pySUMM


    พุทธวจน faq เมื่อต้องสูญเสียบุคคลที่รัก มีความรู้สึกผูกพันและเศร้าโศกเสียใจ จะแก้ไขอย่างไร
    https://www.youtube.com/watch?v=_uzVW_GnyIc


    พุทธวจน#การพึ่งตน พึ่งธรรมเป็นอย่างไร
    https://www.youtube.com/watch?v=0CdnSv9QKKE
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2015
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    พระสูตรที่เกี่ยวข้อง

    ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์

    “ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
    ทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
    และทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”.

    อินทรียสังวร
    (ตามดู ! ไม่ตามไป...) หน้า ๓๓
    (บาลี) สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗. : คลิกดูพระสูตร
     
  4. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    เหตุแห่งการเบียดเบียน

    “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย
    อันมีอยู่เป็นหมู่ๆ
    (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนา อยู่ว่า เราจักเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
    ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา
    ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่าพระเจ้าข้า ?”.


    จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) นั่นแล เป็นเครื่องผูกพันเทวดา
    มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ๆ
    (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนา อยู่ว่า เราจักเป็นผู้ไม่มีเวร
    ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร
    ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกันได้.


    “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน)
    มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ) ?
    เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี ?
    เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงไม่มี พระเจ้าข้า ?”.


    จอมเทพ ! ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแลเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...
    เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก ไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี.


    “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ... ?
    เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี ?
    เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มี พระเจ้าข้า ?”.


    จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ...
    เมื่อฉันทะไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...


    ปฐมธรรม หน้า ๘๐

    (บาลี) มหา. ที. ๑๐/๓๑๐-๓๑๒/๒๕๕-๒๕๖. : คลิกดูพระสูตร
     
  5. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียดเมื่อเห็นอนัตตา

    ภิกษุทั้งหลาย ! รูป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา :
    เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.


    (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้,
    ปุพพันตานุทิฏฐิ
    (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
    เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มี;
    เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี;
    เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัด ในรูป ในเวทนา
    ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น;


    เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
    จิตจึงดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต);
    เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่
    จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;
    เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี
    จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;
    เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง
    ย่อมปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว
    เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
    กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก
    ดังนี้.

    ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖

    (บาลี) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓. : คลิกดูพระสูตร
     
  6. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ความจริงที่เป็นอกาลิโก บนโลกใบนี้ ตั้งแต่ มีมนุษย์ เกิดขึ้นบนโลกทั้งในอดีต , ปัจจุบัน และ ไปจนถึงอนาคต เรื่อยไป มนุษย์ จึงทะเลาะกันและทำร้ายกันด้วยเหตุ นี้
     
  7. พามมะวดี

    พามมะวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +1,857
    ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข
     

แชร์หน้านี้

Loading...