ธุดงค์ แล้วได้อะไร ?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย phudit999, 2 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,946
    เรื่องฆ่าเผาทั้งเป็น
    สร้างประเด็นให้ชาติอาหรับรบกัน
    หากอเมริกาอยู่เบื้องหลังการถ่ายทำจริงๆ
    ทำไปเพื่ออะไรเหรอ
    ทรัพยากร?
    ขายอาวุธ?
    เหตุผลแค่นี้ ถึงต้องก่อกรรมทำเข็ญกับเพื่อนร่วมโลกอย่างอำมหิตขนาดนี้เลยเหรอ โหดร้าย !
     
  2. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    ทำเพื่อเงิน และความยิ่งใหญ่ เหนืออื่นใดคืออิสราเอล อิสลามฆ่าศาสนาอื่น เพื่อพระเจ้า แต่อิสลามฆ่าอิสลามก็เพื่อ อเมริกา และอิสราเอล
     
  3. บางเบา

    บางเบา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    349
    ค่าพลัง:
    +88
    การอ่านหนังสือ การเสพข่าว
    ใช้สติและสมอง คิด คิด คิด

    โดยเฉพาะข่าว มาเร็ว ไปเร็ว
    กระแทกความรู้สึกคน อย่างแรงๆๆ อย่างโหดเหี้ยม

    แบบนี้ มะกันก็จะทำการแทรกแซงไปทั่วโลก
     
  4. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เคยอ่านจากที่นึงเขาบอกว่า มะก่อน

    -เมกา เคยร่วม ซัดดัม รบ อิหร่าน
    -ซัดดัม โดน เมกา จัดหนัก
    -แถมเมื่อไม่กี่มี เมกา ทำท่าที จะบุกอิหร่าน
    -ตอนนี้ เมกา อิหร่าน จับมือกัน
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)



    [342] ธุดงค์ 13 (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษเป็นต้น — means of shaking off or removing defilements; austere practices; ascetic practices)
    หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร — connected with robes)
    1. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คำสมาทานโดยอธิษฐานใจหรือเปล่งวาจาว่า “คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่งผู้—” — refuse-rag-wearer’s practice)
    2. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า “จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ 4 สมาทานองค์แห่งผู้—” — triple-robe-wearer’s practice)

    หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต — connected with almsfood)
    3. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ, ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานองค์แห่งผู้—” — alms-food-eater’s practice)
    4. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้—” — house-to-house-seeker’s practice)
    5. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า “นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเว้นการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—” — one-sessioner’s practice)
    6. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 1 อย่างคือบาตร คำสมาทานว่า “ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานองค์แห่งผู้—” — bowl-food-eater’s practice)
    7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า “อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ สมาทานองค์แห่งผู้—” — later-food-refuser’s practice)

    หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ — connected with the resting place)
    8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—” — forest-dweller’s practice)
    9. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—” — tree-root-dweller’s practice)
    10. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้—” — open-air-dweller’s practice)
    11. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้—” — charnel-ground-dweller’s practice)
    12. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า “เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—” — any-bed-user’s practice)

    หมวดที่ 4 วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร — connected with energy)
    13. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง 3 อิริยาบถ คำสมาทานว่า “เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการนอน สมาทานองค์แห่งผู้—” — sitter’s practice)

    ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุดงค์ 13
    ก. โดยย่อธุดงค์มี 8 ข้อ เท่านั้น คือ
    1) องค์หลัก 3 (สีสังคะ — principal practices) คือ สปทานจาริกังคะ (เท่ากับได้รักษาปิณฑปาติกังคะด้วย) เอกาสนิกังคะ (เท่ากับได้รักษาปัตตปิณฑิกังคะ และขลุปัจฉาภัตติกังคะด้วย) และอัพโภกาสิกังคะ (ทำให้รุกขมูลิกังคะ กับ ยถาสันติกังคะ หมดความจำเป็น)
    2) องค์เดี่ยวไม่คาบเกี่ยวข้ออื่น 5 (อสัมภินนังคะ — individual practices) คือ อารัญญิกังคะ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ และโสสานิกังคะ

    ข. โดยนิสสัยคือที่อาศัย (dependence) มี 2 คือ ปัจจัยนิสิต 12 (อาศัยปัจจัย — dependent on requisites) กับ วิริยนิสิต 1 (อาศัยความเพียร — dependent on energy)
    ค. โดยบุคคลผู้ถือ
    1) ภิกษุ ถือได้ทั้ง 13 ข้อ
    2) ภิกษุณี ถือได้ 8 ข้อ (คือ ข้อ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 12, 13)
    3) สามเณร ถือได้ 12 ข้อ (คือ เว้นข้อ 2 เตจีวรกังคะ)
    4) สิกขมานาและสามเณรี ถือได้ 7 ข้อ (คือ ลดข้อ 2 ออกจากที่ภิกษุณีถือได้)
    5) อุบาสกอุบาสิกา ถือได้ 2 ข้อ (คือ ข้อ 5 และ 6)

    ง. โดยระดับการถือ แต่ละข้อถือได้ 3 ระดับ คือ
    1) อย่างอุกฤษฏ์ หรืออย่างเคร่ง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า ต้องให้ได้อรุณในป่าตลอดไป
    2) อย่างมัธยม หรืออย่างกลาง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝน 4 เดือน ที่เหลืออยู่ป่า
    3) อย่างอ่อน หรืออย่างเพลา เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝนและหนาวรวม 8 เดือน

    จ. ข้อ 9 และ 10 คือ รุกขมูลิกังคะ และอัพโภกาสิกังคะ ถือได้เฉพาะนอกพรรษา เพราะวินัยกำหนดให้ต้องถือเสนาสนะในพรรษา
    ฉ. ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป
    ช. ธุดงค์ที่มาในบาลีเดิม ไม่พบครบจำนวนในที่เดียว (ที่พบจำนวนมาก คือ ม.อุ. 14/186/138; M.III.40 มีข้อ 1-3-5-8-9-10-11-12-13; องฺ.ทสก. 24/181/245; A.V.219 มีข้อ 1-5-6-7-8-9-10-11-12-13; ขุ.ม. 29/918/584; Ndi188 มีข้อ 1-2-3-4-7-8-12-13) นอกจากคัมภีร์บริวาร (วินย. 8/982/330; 1192/475; Vin.V.131,198) ซึ่งมีหัวข้อครบถ้วน ส่วนคำอธิบายทั้งหมดพึงดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
     
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย
    1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
    3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
    4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
    5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
    6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
    7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
    8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
    10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
    11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
    13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร

    การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

    อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร

    พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
    รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

    ๑๘. พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์

    พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า “กัสสปะ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงาม วัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ

    ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร
    เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงานที่มีฐานะเสมอกัน พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ มาจนถึงสาคลนคร ได้พบธิดาของ โกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี เป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่ง จึงสู่ขอกับบิดามารดา ของนาง ตกลงแล้วได้มอบสิ่งของเงินและทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคลแล้วกลับไปแจ้งข่าว สารแก่กปิลพราหมณ์

    ปิปผลิมาณพ ได้ทราบข่าวสารนั้นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะตนไม่มีความปรารถนาจะ แต่งงาน จึงหลบเข้าไปในห้อง เขียนจดหมายบรรยายความประสงค์ของตนให้นางทราบว่า “ตนไม่ปรารถนาจะแต่งงาน ขอให้นางจงแต่งงานกับชายที่มีชาติตระกูลเสมอกัน และอยู่ครอง ชีวิตคู่ด้วยความสุขสำราญเถิด ส่วนข้าพเจ้าจะออกบวช” เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็มอบให้คนใช้ สนิทนำไปส่งให้แก่นางภัททกาปิลานี

    แม้นางภัททกาปิลานีก็มีใจตรงกัน และได้เขียนจดหมายซึ่งมีใจความเหมือนกัน มอบให้ คนรับใช้นำไปส่งให้แก่ปิปผลิมาณพ บังเอิญคนถือจดหมายทั้งสองฝ่ายมาพบกันระหว่างทาง ทัก ทายปราศรัยถามไถ่กิจธุระของกันและกันแล้วนำจดหมายทั้งสองฉบับออกอ่าน ทราบความโดย ตลอดแล้วฉีกทำลายทิ้ง แล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ บรรยายความรักแก่กันและกันแล้วนำไปส่ง ให้แก่เจ้านายของตน การอาวาหมงคลระหว่างคนทั้งสองจึงเกิดขึ้น

    สภาพชีวิตการครองคู่
    ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองนั้นไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น ต่างก็ไม่มีจิตคิดจะร่วมสังวาสกัน แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็ ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิ ได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล

    เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของ สองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมสอง ตระกูลเข้าเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงาน จำนวนมาก สองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง

    จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้ เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตาย เพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตาก ที่ลานหน้าบ้าน เห็นหมู่นกกามาจิกกินตัวหนอน และแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามี ภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพัง ได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสอง ก็มีความคิดตรงกันว่า
    “ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและ กรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาส พร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติ และบริวาร

    ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิฐานเพศบรรพชิต บวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทาง กันไป

    พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้ว ได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มี พระภาคยังมิได้ทรงอนุญาต ให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมี ได้บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญ วิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

    อุปสมบทด้วยวิธีโอวาท ๓ ข้อ
    ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร ระหว่างกรุงราชคฤห์ กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใส แปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบ มา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบ ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า “โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ

    ๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่
    ๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วย ความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น
    ๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์ โดยสม่ำเสมอ

    ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์
    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:-
    ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

    เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้ทรงธุดงค์

    นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:-

    ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า:-
    “กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า”
    “กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ พระเจ้าข้า”

    ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:-

    ๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง หลายควรถือเป็นแบบอย่าง
    ๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็ มีใจเป็นฉันนั้น”

    ๓) กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
    ๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง

    พระเถระขับล่านางเทพธิดา
    ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป บิณฑบาตในบ้าน หญิงสาวคนหนึ่ง เห็นพระเถระแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก

    ฝ่ายนางกุลธิดานั้น มีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติทิพย์ ที่ตนได้แล้ว ก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอก แก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญ ให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพ เข้าไปปัดกวาดเสานาเสานะ และบริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้ น้ำฉันเสร็จแล้ว กลับยังวิมานของตน

    พระเถระคิดว่า กิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระ ได้ยินเสียงไม้กวาด และเห็นแสงสว่างจากช่องกลอนประตู จึงถามว่า “นั่นใคร ?” “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน”

    พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเรา ชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถาม ทราบความโดยตลอด ตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา เหตุนี้เป็นตัวอย่าง อ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้ สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด”

    นางเทพธิดา อ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่า ขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึง ไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศ ยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่ ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้

    พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา
    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัย ที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน กำลังเดินทาง พร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่าน เพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก อาชีวกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชน พากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพัน ถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้น มิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระพุทธองค์ ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจ ของพระศาสดาแล้ว จะทำอะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าว ห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว”

    พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้ว เกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์ ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบ ล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็ คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง”

    ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนา รวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป

    สาระสำคัญของปฐมสังคายนา
    ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
    ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย
    ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม
    ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
    ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
    ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

    ชีวิตในบั้นปลาย
    ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานใน การทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้ว ทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวัน เดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุ ผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้ว ให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชน มิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียร และอย่าประมาท แล้วพระเถระก็เข้าไป ถวายพระพรลา พระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้น มีภูเขาเวภารบรรพต สถานที่ทำปฐมสังคายนา รวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น

    ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนา พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์ มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระ ของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวา ชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิด ขึ้นเผาสรีระของท่าน บนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้านั้น

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
    - ประวัติพระมหากัสสปะ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)

    ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
    และ 84000
     

แชร์หน้านี้

Loading...