ปกิณกะพระเครื่อง ธรรมะ และวัดวาอาราม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 5 ธันวาคม 2014.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 1

    หลวงพ่อได้ปรารภถึงพิธีพุทธาภิเษกสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 1 เอาไว้ว่า " พิธีนี้ลาภหนักมาก ขนาดพระสิวลียังนั่งห่างออกไปไกลเพราะพระที่มีบารมีมากกว่านั่งอยู่ด้านใน "

    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2


    เมื่อตอนพิธีพุทธาภิเษกสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2 หลวงพ่อเล่าว่า " ผู้ที่มีสมเด็จองค์ปฐมไว้แต่้ละรุ่น ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อมนุษย์ก็ดี หรือสัตว์ร้ายก็ดี ถ้าคิดไม่ดีจะร้อนรุ่มจนทนไม่ได้ ต้องถอยไปในที่สุด "


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3


    วันรุ่งขึ้นหลังพิธีพุทธาภิเษกหลวงพ่อเล่าว่า " เมื่อคืนปลุกเสกพระ หมาไม่หอน งวดนี้ไม่ให้หมาเห็น เพราะ 2 งวดก่อนมาให้หมาเห็นเห่ากันเจี๊ยวจ๊าว รุ่นนี้แอบไม่ให้หมาเห็น เมื่อคืนปลุกเสกรุ่นยันกลับ (ใครทำไม่ดียันกลับหมด) พิธีนี้สมเด็จองค์ปฐมเสด็จมาเป็นประธาน เทวดานางฟ้าบริเวณหน้าตึกรับแขกรับแขกต้องออกไปอยูไกลถึงตลาดอุทัย "

    หลวงพ่อได้พูดถึงสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 1, 2 และ 3 ต่างเวลาตามด้านบนนี้ และเพียงเท่านี้เองครับ



    [​IMG]

    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 1 และ 2 ของคุณ Prasong9500



    [​IMG]
    [​IMG]

    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2 และ รุ่น 3


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 1

    [​IMG]
    [​IMG]

    (องค์ข้างบนนี้เป็นของคุณสงค์ Prasong9500 ครับ)

    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 1 เข้าพิธีพุทธาภิเษกวันวิสาขบูชาที่ 16 พฤษภาคม 2535 ที่วิหาร 100 เมตร เวลาประมาณ 18.00 น. พร้อมมีดหมอชาตรี , พระคำข้าวรุ่นพิเศษปลุกเสกงวดที่ 2 และ สมเด็จองค์ปฐม รุ่น แขวนหน้ารถยนต์

    ภายหลังพิธีพุทธาภิเษกแล้ว หลวงพ่อได้ปรารถในระหว่างเจริญศรัทธาญาติโยมที่ตึกรับแขกว่า
    " พิธีนี้ลาภหนักมาก ขนาดพระสิวลียังนั่งห่างออกไปไกลเพราะพระที่มีบารมีมากกว่านั่งอยู่ด้านใน "

    [​IMG]
    (จากหนังสือ " คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 17 " ปกหน้าด้านใน)


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2 เข้าพิธีพุทธาภิเษกในวันศุกร์ที่ 3 กรกฏาคม 2535 เวลาประมาณ 18.00 น. ที่วิหาร 100 เมตร

    หลวงพ่อพูดก่อนเริ่มพิธีพุทธาภิเษกว่า มีจำนวนเข้าพิธีในวันนี้ทั้งหมด 14,400 องค์ นอกจากสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2 แล้วยังมีพระหางหมากรุ่นพิเศษ จำนวน 1 แสนองค์และ เหรียญวันเกิดรุ่นสุดท้าย (จำหน่ายในงานเป่ายันต์เกราะเพชรวันถัดไปองค์ละ 30 บาท)
    และ มีดหมอชาตรีด้ามงาฝักงา ด้ามฤาษี และมีดโต้จิ๋ว (มีดโต้จิ๋วหลวงพ่อบอกในพิธีปลุกเสกว่ามี 30,000 เล่ม)

    หลวงพ่อเล่าเอาไว้ว่า
    " ผู้ที่มีสมเด็จองค์ปฐมไว้แต่้ละรุ่น ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ อมนุษย์ก็ดี หรือสัตว์ร้ายก็ดี ถ้าคิดไม่ดีจะร้อนรุ่มจนทนไม่ได้ ต้องถอยไปในที่สุด "


    [​IMG]
    (จากหนังสือ " คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 17 " ปกหน้าด้านใน)


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3


    [​IMG]
    [​IMG]

    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3 เข้าพิธีพุทธาภิเษกวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม 2535 เวลาประมาณ 23.00 น. บนตึกรับแขก(ตึกจำหน่ายวัตถุมงคล) เป็นพิธีครั้งสุดท้ายของหลวงพ่อ สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3 เข้าพิธีพร้อมกับสมเด็จองค์ปฐมรุ่น ยันกลับ และ สมเด็จองค์ปฐมขนาดบูชา

    วันรุ่งขึ้นหลังพิธีพุทธาภิเษกหลวงพ่อเล่าว่า
    " เมื่อคืนปลุกเสกพระ หมาไม่หอน งวดนี้ไม่ให้หมาเห็น เพราะ 2 งวดก่อนมาให้หมาเห็นเห่ากันเจี๊ยวจ๊าว รุ่นนี้แอบไม่ให้หมาเห็น เมื่อคืนปลุกเสกรุ่นยันกลับ (ใครทำไม่ดียันกลับหมด) พิธีนี้สมเด็จองค์ปฐมเสด็จมาเป็นประธาน เทวดานางฟ้าบริเวณหน้าตึกรับแขกรับแขกต้องออกไปอยูไกลถึงตลาดอุทัย "

    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3 ไม่ได้ถูกนำออกมาให้บูชาจนหลวงพ่อได้มรณภาพลง และหลังจากเสร็จพิธีงานทำบุญ 100 วันหลวงพ่อมรณภาพแล้ว พระชุดนี้ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งในวันเสาร์ 5 ที่ 27 มีนาคม 2536 ที่วิหารแก้ว 100 เมตร ตามคำสั่งของหลวงพ่อ ซึ่งท่านปรารถไว้ว่าจะทำรุ่นนี้เป็นพิเศษ


    [​IMG]
    [​IMG]
    (จากหนังสือ " คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 17 " ปกหน้าด้านใน)

    [​IMG]
    (จากหนังสือ " พระราชพรหมยาน " หน้า 42)


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น แขวนหน้ารถยนต์


    [​IMG]
    (จากหนังสือ " คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 17 " ปกหน้าด้านใน)


    เป็นรุ่นที่ลูกศิษย์สร้างถวายให้วัด

    จำนวนสร้างรวมกันทั้ง 2 แบบมีประมาณ 500 องค์



    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 2 เนื้อทองคำ และเนื้อเงิน

    [​IMG]
    (จากหนังสือ " คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม 17 " ปกหน้าด้านใน)


    ตามข้อมูลในหนังสือสมบัติพ่อให้ ฉบับปกแข็ง พิมพ์ ตุลาคม 2551 เนื้อทองคำสร้างประมาณ 80 องค์ เนื้อเงินสร้างประมาณ 2,000 องค์ครับ

    ปลุกเสกพร้อมสมเด็จองค์ปฐมเนื้อทองเหลืองชุบทองเมื่อวันศุกร์ที่ 3 กรกฏาคม 2535
     
  2. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ประชาชนซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ได้มีไว้เป็น สายใยกับพระองค์ท่าน เพราะมีมวลสารสำคัญ คือเส้นพระเจ้า (พระเกศา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในมวลสารพระด้วย

    ในวาระอันเป็นมิ่งมงคลสมัยอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา ปี 2542 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธนราวันตบพิธขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงทราบว่า สมเด็จจิตรดาที่ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง มีผู้ต้องการและเสาะแสวงหากันมาก เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระสำหรับ พสกนิกรผู้จงรักภักดีของพระองค์ท่าน โดยให้เป็นพระที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวที่ใครๆ ก็สามารถบูชาได้



    [​IMG]


    เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และเสด็จมาประทับ ณ พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสถาปนาพระพุทธปฏิมาประจำพระองค์ไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนา

    เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธปฏิมานี้ว่า "พระพุทธนราวันตบพิธ" ได้เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระปั้นหยาเป็นพระราชกุศลสืบไป

    องค์พระพุทธนราวันตบพิธ เป็นพระยืนยกพระหัตถ์ทั้งสอง ปางห้ามสมุทร อันเป็นพระประจำพระชนมวาร คือ วันจันทร์ ประทับยืนบนฐานกลมบัวคว่ำบัวหงายบนตั่งแข้งสิงห์เหนือหน้ากระดาน และมีฐานภัทรบิฐ สัญลักษณ์ประจำพระองค์รองอีกชั้นหนึ่ง ความสูงถึงสุดพระรัศมี 36.5 เซนติเมตร ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์พระและฐาน



    [​IMG]


    คณะกรรมการจัดสร้างขณะนั้น คือ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องค์มนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นกรรมการดำเนินงาน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา และเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นพระเนื้อผง จากต้นแบบพระพุทธนราวันตบพิธพระพุทธรูปฉลองพระองค์

    ประการสำคัญที่สุดได้พระราชทานมวลสารส่วนพระองค์ โดยเฉพาะเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระองค์) ให้นำมาผสมในเนื้อพระ เพื่อให้พสกนิกรได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดไป



    [​IMG]


    เนื้อหามวลสาร นอกจากเส้นพระเจ้าและมวลสารส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานมวลสารมหามงคลอีกประการหนึ่งคือ พระจีวรที่องค์ครองคราวเสด็จออกผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้รวบรวมมวลสารจากพระธาตุสำคัญทุกปีเกิด จากวัดสำคัญ 143 วัดทั่วประเทศ สถานที่สำคัญอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ในอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็ได้ทรงพระราชทานมวลสารพุทธมงคลสำคัญมาร่วมสร้างพระพิมพ์พระพุทธนราวันตบพิธ อีกจำนวนมาก

    สำหรับการผสมมวลสารมหามงคลพระราชทานนั้น อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งเป็นนายช่างแห่งกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปกร ได้นำมวลสารมหามงคลทั้ง 3 ประการ มาซอยและย่อยให้เป็นผงละเอียดยิบ เพื่อจะได้ผสมมวลสารอย่างอื่นอย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นประชาชนทุกท่านมีสิทธิ์ได้รับมวลสารมหามงคลอย่างถ้วนทั่วกัน



    [​IMG]


    พระเนื้อผงที่จัดสร้างเป็นพระประทับยืนยกพระหัตถ์สองข้างบนพื้นที่ทำเป็นรูป ซุ้มโค้งแหลม สูง 3.2 เซนติเมตร ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา


    [​IMG]


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเศก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม 72 รูปทั่วประเทศ อาทิ

    สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพตหนองคาย
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน เลย
    หลวงพ่อพวง สุวีโร วัดป่าปูลู สกลนคร
    หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น
    หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
    หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี
    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2014
  3. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]



    สมเด็จองค์ปฐม รุ่น 4 ( รุ่นเสาร์ ๕ ปี2553 ) โดยหลวงพ่ออนันต์ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบันจัดสร้าง พุทธาภิเษกวันที่ 20 มีนาคม 2553 วันเสาร์ห้าใหญ่ ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 เป็นเสาร์ห้าฤกษ์มหาเศรษฐี 100ปีจะมีสักครั้ง


    รุ่นนี้จัดสร้างทั้งหมดประมาณหมื่นกว่าองค์ โดยแบ่งเป็น...
    -ชุดสามกษัตริย์ (ทองคำ เงิน และนวโลหะ) 109 ชุด
    -นวโลหะ 100 องค์
    -เนื้อเงิน 1000 องค์
    -เนื้อโลหะชุบทอง 5000 องค์
    -เนื้อโลหะชุบเงิน 5000 องค์
    *ใต้ฐานบรรจุเกศาหลวงพ่อ ตอกโค๊ด และอุดด้วยผงมวลสารสำคัญๆของทางวัด



    สำหรับรุ่นนี้ องค์ที่สร้างด้วยเนื้อทองคำ, เนื้อเงินและเนื้อนวะ จะมีการตอกโค๊ตอยู่ด้วยกัน 4 แห่ง ดังนี้
    1.ที่ผ้าทิพย์จะตอกโค๊ต " ส " ขอม ที่อ่านได้ว่า สะ ในความหมายคือพระนามย่อของสมเด็จพระพุทธสิขีทศพลที่ 1
    2.ตอกโค๊ต "๕ " (ยันต์ห้า) ที่ด้านหลังองค์พระตรงเสาซุ้มเรือนแก้ว ข้างขวาขององค์พระ โค๊ตนี้เป็นยันต์ที่อยู่ในคัมภีร์ตรีนิสิงเห
    3.ตอกโคต" ยันต์เฑะว์ " ที่ด้านหลังองค์พระตรงเสาซุ้มเรือนแก้ว ด้านซ้ายขององค์พระ เป็นยันต์ทางมหานิยม
    4.ตอกโค๊ต " ปิ " ที่ใต้ฐานองค์พระด้วยหมึกสีแดงปั๊มลึก โค๊ตนี้มี
    ความหมายว่า "ปิโย เทวะ มนุษย์สานัง " แปลเป็นไทยว่า พระพุทธเจ้าเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์



    สมเด็จองค์ปฐมรุ่นนี้ออกที่วัดท่าซุง ได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน รุ่นนี้พระสงฆ์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ท่านได้เล่าให้ฟังว่า เริ่มจากหาช่างฝีมือระดับประเทศมาเป็นผู้แกะพิมพ์พระ ช่างเล่าให้ฟังว่า "การแกะพระรุ่นนี้แปลกมาก ๆ ไม่สามารถกำหนดเวลาให้เสร็จได้ (ปกติต้องกำหนดเวลาแกะพิมพ์ให้เสร็จ) สาเหตุเนื่องจากบางวันสามารถแกะพิมพ์ได้ บางวันก็ไม่สามารถแกะพิมพ์ได้เลย วันไหนที่แกะพิมพ์ได้งานก็จะไหลลื่นนั่งแกะพิมพ์จนดึก" หลังจากที่ได้ขออนุญาตโดยจุดธูปบอกกล่าวสมเด็จองค์ปฐมแล้ว ครั้งแรกทางโรงงานได้หล่อออกมาปรากฏว่าหล่อออกมาแล้วผิวพระพรุน (เสีย) ทางโรงงานจึงได้แจ้งไปทางพระที่ดูแลรับผิดชอบ ท่านจึงไปจุดธูปบอกกล่าวอีกครั้ง ครั้งที่ 2 ก็ปรากฏออกมาว่าผิวองค์พระพรุนเหมือนเดิม ทางโรงงานจึงแจ้งพระที่ดูแลรับผิดชอบอีกครั้ง และในครั้งนี้เองทางวัดได้จัดเครื่องบายศรีขอ และหลังจากนั้นการหล่อครั้งที่ 3 ก็ปรากฏว่าหล่อออกมาได้สวยสมบูรณ์ และทางพระเจ้าหน้าที่ได้ใส่ชนวนผสมเข้าไปด้วย หลังจากที่ได้พระที่สวยสมบูรณ์มาแล้ว ทางพระเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งนักเรียน ร.ร.พระสุธรรมฯ ได้ช่วยกันบรรจุเส้นเกศา องค์ละ 1 เส้น พร้อมทั้งชนวนสมเด็จองค์ปฐมสมัยหลวงพ่อพระราชพรหมยานอีกครั้งพร้อมด้วยมวลสารสำคัญๆ ของหลวงพ่อมากมายไว้ใต้ฐานองค์พระ


    ***เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย***
    ทางโหราศาสตร์กล่าวไว้ว่า รูปดวงที่ปรากฏเห็นชัดเจนว่า มีดวงดาวบนท้องฟ้าในวันเสาร์ห้า ที่น่าสนใจคือ พระจันทร์เป็นมหาอุจจ์อยู่ราศีพฤษภ โดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 15.16 น.เป็นต้นไป พระจันทร์จะเต็มที่สุดในรอบเดือน คือ พระจันทร์เด่น มีพระศุกร์เป็นมหาอุจจ์ คือ อยู่ราศีมีน เห็นได้ชัดเจนพระจันทร์ เป็นดาวแห่งความมีเสน่ห์ มีเมตตา พระศุกร์เป็นดาวแห่งความมั่งคั่ง มั่งมีศรีสุข เป็นมหาอุจจ์ พระจันทร์ พระศุกร์ โดดเด่นในพื้นชะตาของดวงเมือง นั่นแปลว่าปีนี้เสาร์ห้า ไม่เพียงแต่เป็นวันที่เป็นมงคล ปลุกเสกของขลังให้เกิดความขลังความมั่นคง หรือความอยู่ยงคงกะพัน ความมีอำนาจ บารมีเท่านั้น แต่ในปีนี้วันเสาร์ห้ายังเป็นวันที่พระจันทร์เด่น พระศุกร์เด่น ส่งผลให้เป็นเสาร์ห้ามหาเศรษฐี คือ โดดเด่นในเรื่องของโชคลาภวาสนา เมตตา มหานิยม ดังนั้น ในปีนี้หากใครมีโอกาสไปร่วมพิธีอันมงคลที่วัดใดก็ตามทีในวันเสาร์ห้า วันที่ 20 มีนาคม 2553 นี้ ไม่ว่าจะร่วมพิธีนพเคราะห์ หรือ พิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ท่านจะได้รับบารมี คือ ความอยู่ยงคงกะพัน มีอำนาจ บารมี โดยเฉพาะท่านที่รับราชการควรหาโอกาสไปร่วมพิธี นอกจากนี้ท่านยังจะได้รับบารมีบุญ หรือ ความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากบุญฤทธิ์ของดาวบนท้องฟ้าว่าด้วยวันดังกล่าวว่า ให้มีโชคลาภอาบอิ่มใจ เป็นที่รักแก่มนุษย์ และเทวดาทั้งหลายด้วยประการหนึ่ง



    ขอบคุณทั้งภาพพระและข้อมูลจากคุณยอด เศรษฐีธรรม ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    พระรอดพรหมเสโน

    [​IMG]


    พระรอดพรหมเสโนสร้างประมาณปี 2516 มีหลายพิมพ์ หลายขนาด หลายสี หลวงปูุ่บุญทึมปลุกเสกแล้วคุณอรรณพ กอวัฒนาได้นำมาจากหลวงปู่หลายพันองค์(ท่านบอกว่ามีประมาณ 5,000 องค์)มาทำกล่องใส่และนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ในอุโบสถวัดท่าซุงเมื่อวันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2518 อยู่ในระหว่างงานเททองหล่อรูปหลวงปู่ปาน(งานทำบุญครบรอบ 100 ปีของหลวงปู่ปาน) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-10 สิงหาคม 2518 เป็นพิธีเดียวกับพระทุ่งเศรษฐีรุ่นครบ 100 ปีเกิดหลวงปู่ปานและเหรียญรุ่นต่างๆที่สร้างเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 100 ปีเกิดหลวงปู่ปาน


    พระสุปฏิปันโนที่หลวงพ่อนิมนต์มาร่วมงานในครั้งนี้ มีรายชื่อดังนี้คือ

    1. หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน
    2. หลวงปู่ครูบาชัยวงษาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
    3. หลวงปู่คำแสน (ใหญ่) (พระครูสุคันธศีล) วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
    4. หลวงปู่คำแสน (เล็ก) คุณาลังกาโร วัดดอนมูล จ.เชียงใหม่
    5. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (พระครูสันติวรญาณ) ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    6. หลวงปู่บุดดา ถาวโร สำนักสงฆ์สองพี่น้อง จ.ชัยนาท
    7. หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ

    องค์ที่ถ่ายภาพมานี้ผมเช่าจากบ้านสายลมประมาณปี 2531 องค์ละเพียง 20 บาทในขณะนั้นครับ


    หมายเหตุ : พระรอดพรหมเสโนสร้างหลังจากครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพลงแล้วในปี พ.ศ. 2481



    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  5. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    [​IMG]


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น ๕


    หลังจาก หลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ เป็นที่คาดการณ์กันภายในว่าตำแหน่งนี้พระผู้ใหญ่ท่านน่าจะมอบให้เพื่อรองรับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์วัดท่าซุงจึงได้หารือกันและได้มีมติให้จัดสร้างพระเพื่อเป็นที่ระลึกในการรับสมณศักดิ์ครั้งนี้ โดยสร้างเป็นรูปจำลองสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม และได้ให้ช่างแกะพิมพ์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วเสร็จเดือนกันยายนปีเดียวกัน

    จากนั้นนำมาให้ช่างหล่อทำการถอดพิมพ์และหล่อเป็นเนื้อเงินออกมาจำนวนประมาณ ๔๐ องค์ เพื่อนำมาคัดเลือกหาองค์ที่มีความสมบูรณ์ไม่มีตำหนิ ได้ประมาณ ๑๐ องค์ นำมายิงเลเซอร์ตัวหนังสือ ยันต์และอักขระต่างๆ ที่ฐานด้านหน้า ด้านหลังและใต้ฐาน แล้วจึงคัดองค์ที่งามที่สุด ๒-๓ องค์ มาเป็นแม่พิมพ์สุดท้าย ขั้นตอนนี้ในสถานการณ์ปกติจะใช้เวลาประมาณครึ่งเดือน ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้งานล่าช้าไปมาก กว่าจะตั้งเครื่องเริ่มทำงานได้ก็ราวปลายเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากองค์พระและเส้นยันต์มีลายละเอียดมากทำให้เกิดปัญหาหล่อติดบ้างไม่ติดบ้าง

    ทางวัดจึงขอให้ช่างทำให้สมบูรณ์ที่สุด ทางช่างเองก็พยายามแก้ปัญหาโดยสั่งซื้อเครื่องใหม่มาลง ก็พอแก้กันไปได้ทีละส่วน งานก็พอเดินไปได้ ปัญหาตรงนี้แตกต่างจากการสร้างสมเด็จองค์ปฐมรุ่น ๔ ครั้งนั้นหล่ออย่างไรก็ไม่ติด(ช่างเจ้าเดียวกัน) จนต้องนำบายศรีไปกราบขออนุญาตสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมที่วิหารอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าหล่อติดทุกองค์รวมถึงองค์ที่ทำพิมพ์สำรองไว้ก็ติดสมบูรณ์ทั้งหมด พอมารุ่นนี้หล่อได้ แต่จำนวนไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ ค่อยๆขยับไปได้ทีละนิด จนช่างต้องขอให้ทางวัดลองหาโรงงานอื่นเผื่อไว้ เพราะมีแนวโน้มว่าจะไม่ได้จำนวนตามที่ต้องการ


    ทางวัดได้ติดต่อช่างที่มีชื่อเสียงอีก ๒ แห่ง หนึ่งในนั้นเป็นช่างที่วงการสร้างพระให้การยอมรับว่าเป็นมือ ๑ ในการสร้างพระกริ่งระดับประเทศ ได้ทำการทดลองหล่อพระตัวอย่างมาดูทั้ง ๒ แห่ง ปรากฏว่าสู้ช่างที่หล่อเจ้าแรกไม่ได้จึงเป็นอันล้มเลิกไป เดินหน้าหล่อเจ้าเดียวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะว่าเจ้าเดียวก็ไม่เชิง เพราะระหว่างที่หาช่างเสริม ทางวัดได้ลองให้โรงงานเอเชียไฟน์อาร์ท ที่หล่อพระพุทธไสยาสน์ให้กับทางวัด ลองหล่อตัวอย่างดู ปรากฏว่าช่างที่ทำแต่งานใหญ่ๆ มาตลอด สามารถหล่อพระองค์เล็กๆ ได้ละเอียดงดงามไม่แพ้ใคร และดูเหมือนจะหล่อได้ดีกว่าช่างเจ้าแรกด้วยซ้ำ แต่ติดปัญหาตรงที่ว่าไม่สามารถเร่งปริมาณได้ จึงทำให้มีเนื้อสัมฤทธิ์นอกมาแค่เพียงส่วนหนึ่ง สำหรับ โรงงานเอเชียไฟน์อาร์ท นั้นนอกจากจะหล่อเนื้อสัมฤทธิ์นอกแล้ว ทางวัดยังได้มอบหมายให้สร้างด้วยเนื้อโลหะพิเศษขึ้นมาจำนวนหนึ่ง

    โดย คุณพงศ์พิชญ์ วงศ์โสภณศิริ เป็นผู้รวบรวมโลหะต่างๆมูลค่ากว่า ๕ แสนบาท ถวายวัดสำหรับใช้ในการจัดสร้าง ได้พระจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ และเหลือเนื้อโลหะที่เป็นชนวนอีกส่วนหนึ่ง

    โลหะต่างๆ นั้น คุณพงศ์พิชญ์ ได้เก็บรวบรวมมาเป็นระยะเวลาหลายปี โดยแรกเริ่มตั้งใจสร้างเป็นเนื้อนวโลหะซึ่งประกอบด้วยโลหะ ๙ ชนิดประกอบกัน แต่ภายหลังมีโอกาสได้เก็บโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสมัยโบราณ เงินสัมฤทธิ์โบราณ และโบราณวัตถุที่มีคุณค่าอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อหล่อเป็นองค์พระออกมาแล้ว ทำให้มีสีสันที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แต่มีปัญหาอย่างหนึ่งคือ พระส่วนใหญ่จะหล่อได้ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ถึงแม้จะหล่อแบบสุญญากาศแล้วก็ตาม เนื่องจากส่วนผสมของโลหะมีความหนืดกว่าปกติทั่วไปมาก และเนื้อพิเศษนี้อุดใต้ฐานองค์พระด้วยมวลสารที่เจ้าภาพถวายมาโดยเฉพาะ อาทิเช่น ผงชิ้นส่วนพระเบญจภาคี ครบ ๕ วัด เป็นต้น จำนวน ๒ กระปุก โดยใช้มวลสารของหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นมวลสารหลัก

    ในส่วนเงินสัมฤทธิ์โบราณที่นำมาหลอมสร้างพระในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเงินโบราณของประเทศจีนที่มีอายุนับพันปี หลากหลายราชวงศ์ แต่ที่มากเป็นพิเศษได้แก่ ราชวงศ์โจว (ยุคหลัง) อายุประมาณ ๑ พันปีเนื่องจากมีประวัติความเป็นมาแตกต่างจากเงินของราชวงศ์อื่นๆ กล่าวคือ ช่วงระยะเวลาที่ราชวงศ์นี้ขึ้นปกครองประเทศจีนนั้น มีศึกสงครามต่อเนื่อง ฮ่องเต้จึงคิดวิธีหาเงินใช้จ่ายในการรบ โดยนำพระพุทธรูปตามวัดต่างๆมาหลอมเป็นเงิน ท่ามกลางการทัดทานของเหล่าขุนนาง แต่ฮ่องเต้ก็สามารถยกเหตุผลมาอธิบายจนทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้ และคาดว่าน่าจะเป็นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์โจวอยู่ได้เพียง ๙ ปี ก็ล่มสลาย


    เมื่อราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาปกครองประเทศมีการผลิตเงินรุ่นใหม่มาใช้แทน ประชาชนจึงนำเหรียญเงินของราชวงศ์โจวมาใช้แขวนติดตัวเพื่อเป็นเครื่องรางป้องกันภัย และที่นิยมกันมากคือนำมาแช่น้ำเพื่อทำน้ำมนต์สำหรับดื่มรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จนเป็นที่ร่ำลือกันมากถึงความศักดิ์สิทธิ์ในยุคนั้น และนับได้ว่าเป็นเหรียญที่ใช้ทำน้ำมนต์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการบันทึกไว้ ปัจจุบันเหรียญจำนวนมากได้แปรสภาพเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา หลงเหลืออยู่ในรูปโบราณวัตถุจำนวนหนึ่ง ซึ่งคุณพงศ์พิชญ์ได้รวบรวมกลับมาถวายคืนเป็นของสงฆ์เพื่อใช้สร้างพระในครั้งนี้ด้วย

    หลังพิธีพุทธาภิเษก ( ๒๘ มค. ๕๕ ) แล้ว ทางวัดได้เร่งช่างให้สร้างพระต่อทันที แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมปริมาณให้เป็นไปตามต้องการได้ จึงหาช่างเจ้าอื่นให้ช่วยกันทำไปพร้อมๆกัน ซึ่งคราวนี้พอมีเวลาในการคัดเลือกช่างให้เหมาะสมกับงาน โดยมีข้อกำหนดว่าต้องได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ ซึ่ง โรงงานเอเชียไฟน์อาร์ท นั้นคุณภาพเป็นที่ยอมรับ แต่ทางวัดต้องเร่งงานสร้างพระพุทธบาทลายลักษณ์ ๑๐๘ และพระพุทธไสยาสน์เนื้อสัมฤทธิ์ ความยาว ๘ ศอก ให้แล้วเสร็จ จึงได้ตัดงานเล็กออกไปเพื่อให้งานใหญ่เดินได้เต็มที่ หลังจากเสาะหากันพักใหญ่

    ในที่สุดจึงมอบหมายให้ บริษัทแพรนด้าจิวเวลรี่ จำกัด(มหาชน) ดำเนินการสร้างควบคู่กันไป (แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นอีกหลายเท่าก็ตาม) โดยใช้ต้นแบบองค์เดียวกัน ซึ่งทางโรงงานได้ขออนุญาตแก้ไขพิมพ์ทรงบางส่วน โดยถอดพิมพ์หล่อเป็นเนื้อทองคำ แล้วให้ช่างแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนพระพักตร์ พระเศียร ซุ้มและฐาน เพื่อให้ได้พุทธลักษณะใกล้เคียงกับองค์ใหญ่ที่หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้เททองสร้างไว้ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ให้มากที่สุด

    ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งหน้า ( ๒๓ มิย. ๕๕ ) โรงงานทั้ง ๒ แห่งก็รับปากว่าจะพยายามให้ได้ปริมาณมากที่สุด แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ไม่ค่อยไว้วางใจ เนื่องจากการสร้างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมนั้น ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นไปตามจำนวนที่ต้องการนัก เช่น สมเด็จองค์ปฐมรุ่น ๑ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕ สั่งสร้าง ๓๐,๐๐๐ องค์ ได้จำนวน ๓,๐๐๐ องค์ รุ่น ๒ สั่งสร้าง ๓๐,๐๐๐ องค์ ได้จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์ เป็นต้น สำหรับรุ่นฉลองสมณศักดิ์พระภาวนากิจวิมลนั้นสั่งสร้างจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์ เพิ่งได้มาประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าองค์ แม้ใจลึกๆจะเชื่อว่าจำนวนที่แน่นอนคงถูกกำหนดไว้แล้ว แต่คณะทำงานก็จะใช้ความพยายามในการตามงานช่างหล่อให้มากที่สุดที่จะพึงทำได้ก่อน เมื่อถึงที่สุดแล้วได้เท่าไรก็คงต้องยอมรับ





    รายละเอียดอักขระ สมเด็จองค์ปฐมที่ระลึกฉลองสมณศักดิ์พระภาวนากิจวิมล



    [​IMG]


    ป้ายชื่อฐานด้านหน้า สมเด็จองค์ปฐม

    ฐานด้านหลัง เป็นยันต์ท่านปู่พระอินทร์
    มีคาถาบารมี ๓๐ ทัศ (ย่อ)
    อยู่โดยรอบ ๔ ด้าน

    อิติ ปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา
    อิติ โพธิมะนุปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม


    เสาซุ้มเรือนแก้ว
    ด้านซ้ายเป็นยันต์ ๕
    ด้านขวาเป็นยันต์เฑาะ



    ใต้ฐานก้นถ้วย

    ด้านในพัดยศ : ปิ ( ปิโยเทวะ มนุสสานัง เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
    บรรทัดบน : พุท ธะ สัง มิ ( พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ เป็นคาถาปลุกผ้ายันต์พิชัยสงคราม)
    บรรทัดล่าง : อะ สิ สะ ติ เป็นคาถาพระพุทธเจ้าห้ามอาวุธ



    ซึ่งอยู่ในยันต์มหาพิชัยสงคราม เป็นบทที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส ขณะที่เทวทัตให้นายขมังธนูมาดักยิง
    แต่ไม่สามารถทำอันตรายพระพุทธองค์ได้ และได้กลับมาศรัทธาเลื่อมใสในที่สุด


    “ อสิสัตติธนูเจวะ สัพเพเตอาวุธา นิจะ
    ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมา เม นะผุสสันติ ”


    ขอบคุณข้อมูลจากเว็ปวัดท่าซุง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  6. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    สมเด็จองค์ปฐมรุ่น๕

    สร้างด้วยชนวนสมเด็จองค์ปฐม หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เข้าพิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 28 ม.ค 2555 เป็นวันเสาร์ 5 ฤกษ์พรหมประสิทธิ์

    ในวันนั้นทางวัดได้จัดงานพร้อมกัน 2งาน คือ
    1)งานอัญเชิญพระศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานกลับสู่วิหารร้อยเมตร
    2)งานพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปจำลองสมเด็จองค์ปฐมรุ่นฉลองสมณศักดิ์หลวงพ่อพระภาวนากิจวิมล (อนันต์ พุทธญาโณ)



    *********************************************

    สมัยที่หลวงพ่อท่านยังทรงขันธ์ 5 อยู่ ก็มีการจัดพิธีพุทธาภิเษกที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรขึ้น ๒ ครั้งคือ

    เมื่อครั้งสมเด็จองค์ปฐมรุ่น ๑ และเมื่อครั้งสมเด็จองค์ปฐมรุ่น ๒
    หลังจากท่านมรณภาพไป ก็ไม่เคยมีการจัดพิธีที่วิหารแก้วร้อยเมตรเลย

    สำหรับพระสมเด็จองค์ปฐมรุ่นนี้ ทางวัดได้มอบหมายให้ช่างธานีเป็นคนแกะพิมพ์และจัดสร้าง องค์พระมีรายละเอียดงดงาม แต่มีเหตุขัดข้องบางประการ..ซึ่งทำให้ช่างใช้เวลาแกะพิมพ์นานถึง ๗ เดือน พระที่ทางวัดสั่งไว้ถูกส่งมาไม่ครบตามที่สั่งในล็อตแรก พระหล่อผสมด้วยชนวนสมเด็จองค์ปฐม ใต้ฐานบรรจุพระเกศาหลวงพ่อ และมวลสารสำคัญ และปั๊มยันต์ด้วยหมึกสีน้ำเงินในพระทุกๆเนื้อที่ส่งทันในล็อตแรก

    หมายเหตุ: พระพิมพ์เดียวกันที่ถูกส่งมาในล็อตหลัง มีจุดที่ทางวัดแยกให้เห็นข้อแตกต่างคือ ใต้ฐานจะปั๊มยันต์ด้วยหมึกสีแดง (แทนหมึกสีน้ำเงิน) เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดท่าซุง เมื่องานเสาร์๕ ที่ 23 มิถุนายน 2555 พร้อมกับสมเด็จองค์ปฐมที่จัดสร้างจากช่างอีกชุด (งานแพรนด้า "ก้นถ้วย")

    ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณยอด เศรษฐีธรรม



    **************


    มวลสารที่บรรจุใต้ฐาน




    [​IMG]


    [​IMG]


    จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๗๖ หน้า๑๒๗-๑๒๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    พระทุ่งเศรษฐี รุ่น 100 ปีเกิดหลวงปู่ปานเนื้อดิน


    พระทุ่งเศรษฐีมี 2 เนื้อด้วยกันคือเนื้อดินสีแดงและสีดำมีหลายพิมพ์ขนาดต่างๆกัน ด้านหลังองค์พระมีเขียนว่า ป๑๐๐ , ๑๐๐ป เป็นเลขอารบิคก็มี บางองค์ด้านหลังเขียนว่า "พระมหาวีระ" และบางองค์ด้านหลังเรียบๆไม่มีตัวหนังสือและตัวเลขเลยก็มีครับ

    พระทุ่งเศรษฐีและเหรียญครบรอบ ๑๐๐ ปีเกิดหลวงพ่อปาน เป็นพระ 2 รุ่นที่หลวงพ่อได้ปลุกเสกในระหว่างพรรษา พ.ศ. 2517 ตลอดทั้งไตรมาส พร้อมกับผงดินสอพองที่ทางวัดได้นำมาใช้เป็นมวลสารในพระเครื่องรุ่นต่างๆหลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้ว

    หลวงพ่ออนันต์เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันท่านได้เคยเล่าเอาไว้ว่าในพรรษาปีนั้น "หลวงพ่อท่านลงกรรมฐานทุกวัน ท่านบอกว่า ต่อไปนี้จะไม่มีเวลาทำพระครบไตรมาสแล้วนะ เวลาท่านทำกรรมฐานท่านก็นั่งทำพิธีทุกวัน ทำกรรมฐานเสร็จท่านก็เล่าให้ฟังว่า วันนี้พระที่ีมีความสำคัญมาทำ ทำเฉพาะพิเศษเลยเฉพาะจุดนี้ รุ่งขึ้นอีกวันท่านก็บอกพระองค์นี้มาทำเฉพาะจุดนี้้เป็นเรื่องๆไป"

    เมื่อหลวงพ่อได้ปลุกเสกไว้ตลอดไตรมาสแล้วยังได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้งหนึ่งในระหว่างงานเททองหล่อรูปหลวงปู่ปาน(เป็นงานทำบุญครบ 100 ปีเกิดหลวงปู่ปานด้วย)เมื่อวันพุธที่ 6 สิงหาคม 2518 ณ อุโบสถวัดท่าซุง นอกจากหลวงพ่อแล้วยังมีพระสุปฏิปันโนร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นด้วยกันคือ

    ๑. หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน
    ๒. หลวงปู่ครูบาชัยวงษาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
    ๓. หลวงปู่คำแสน (ใหญ่) (พระครูสุคันธศีล) วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
    ๔. หลวงปู่คำแสน (เล็ก) คุณาลังกาโร วัดดอนมูล จ.เชียงใหม่
    ๕. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (พระครูสันติวรญาณ) ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    ๖. หลวงปู่บุดดา ถาวโร สำนักสงฆ์สองพี่น้อง จ.ชัยนาท
    ๗. หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ


    ปัจจุบันพระทุ่งเศรษฐีรุ่นนี้ยังมีให้เช่าบูชากันอยู่นะครับทั้งที่วัดท่าซุงและที่บ้านซอยสายลม




    [​IMG]

    [​IMG]

    (จากหนังสือสมบัติพ่อให้ ฉบับพิมพ์ตุลาคม 2537 หน้า 44-45)
     
  8. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    พระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง พ.ศ.๒๕๓๘


    ในวาระอันเป็นมงคลสมัยอย่างยิ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ.2539 คณะกรรมการจัดงาน อันมีมูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ดำริจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่ง และเพื่อนำรายได้ทั้งหมดสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและสาธารณกุศล โดยกำหนดการจัดสร้างเป็นพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ซึ่งพระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานเพื่อประดิษฐาน ณ จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2509 ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรได้บรรจุพระพิมพ์จิตรลดา ซึ่งทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์จากมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

    คณะกรรมการนำโดย หม่อมเจ้าภีรเดช รัชนี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในโอกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสสักการบูชา จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้



    [​IMG]


    คณะกรรมการกำหนดการจัดการสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ดังนี้

    1.พระบูชา ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว เนื้อนวโลหะ จำนวน 3 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1 องค์ มอบให้โครงการหลวง 1 และเครือเจริญโภคภัณฑ์ 1 องค์

    พระบูชานี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระและทรงหลอมทองชนวนสำหรับการจัดสร้างพระกริ่ง และพระเนื้อโลหะอื่นอีกด้วย โดยประกอบพิธี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2538

    2.พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา ลักษณะองค์เป็นพระพุทธนวราชบพิตรประทับบนอาสนะปังสองชั้น ขนาดหน้าตัก 2.2 ซม. สูง 4.6 ซม. ด้านหลังประดิษฐานตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ นาก เงินสัมฤทธิ์และนวโลหะ

    3.พระพิมพ์จิตรลดา ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธนวราชบพิตรด้านหลังเป็นรูปสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มีเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะและเนื้อผง มี 2 ขนาดคือ

    ขนาดใหญ่ สูง 3.2 ซม. มีเนื้อ ทองคำ เงิน นวโลหะและเนื้อผง

    ขนาดเล็ก สูง 2.3 ซม. มีเนื้อ ทองคำ เงิน นวโลหะไม่มีเนื้อผง



    เนื้อโลหะ ทองชนวน

    โดยเนื้อโลหะทองชนวนที่จัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ทั้งหมดมีทองชนวนพระราชทานและแผ่นทอง ซึ่งได้แผ่เมตตาโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก, สมเด็จมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม, หลวงตามหาบัว, หลวงพ่อคูณ, หลวงพ่อเปิ่น, หลวงปู่คำพันธ์, หลวงพ่ออุตตมะ, หลวงพ่อนอง และพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อีกหลายรูป กับทองชนวนที่รวบรวมจากการจัดสร้างมงคลวัตถุต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง


    [​IMG]


    พระเนื้อผง

    พระเนื้อผงคณะกรรมการได้รวบรวมผงมวลสารต่างๆ จากทั่วประเทศ และเกศาหลวงปู่แหวนกับเกศาหลวงปู่ขาว และพระธาตุ มวลสารสำคัญๆ ได้แก่ ผงจิตรลดา กระเบื้องมุงหลังคา โมเสคสีทอง เศษปูนต่างๆ พวงมาลัยแห้งของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มวลสารเก่าจากวัดพระพุทธบาทสระบุรี มวลสารจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เศษโลหะ ผงไม้จันทน์ และเศษปูนที่นำลงมาจากปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุเจดีย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ผงหลวงปู่วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผงปลุกเสกหลวงปู่โต๊ะ ผงที่เหลือจากการซ่อมบุษบกพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2525 ผงตะไบกริ่งปวเรศ ปี พ.ศ.2530 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ผงจากอิฐองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และอีกมากมาย และที่สำคัญคือมาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกราบพระบรมศพสมเด็จย่า


    พิธีหล่อพระพุทธนวราชบพิตร และเททองชนวน

    สมเด็จพระเทพรัตนราสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระพุทธนวราชบพิตร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2538 โดยมีพิธีหล่อพระพุทธนวราชบพิตร ขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว จำนวน3 องค์

    หลังจากมีทองชนวนพระราชทานและแผ่นทองแผ่นเงิน ซึ่งลงยันต์และแผ่เมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่เป็นประมุขของสงฆ์แล้ว ก็ยังมีแผ่นยันต์จากเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งชนวนกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี ก้านช่อชัยวัฒน์ พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ) วัดกลางบางแก้ว ในขณะที่หลอมทองชนวนบริเวณหน้าพระอุโบสถอยู่นั้น ได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคแหวนทองคำและทองคำแท่ง โดยเจ้าของเป็นผู้นำใส่เบ้าหลอมด้วยตนเอง

    คณะกรรมการจัดสร้าง โดยมีหม่อมเจ้าภีรเดช รัชนี เป็นประธาน ได้ร่วมกันนำแผ่นยันต์แผ่นทองทั้งหมด และทองคำแท่งอีกประมาณ 80 บาทใส่เบ้าหลอมสร้างเป็นเนื้อพระ

    เนื้อโลหะที่หลอมนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระพุทธนวราชบพิตร ขนาดหน้าตัด 12นิ้ว จำนวน 3องค์ และส่วนที่เหลือนำไปผสมเป็นพระกริ่งพิมพ์จิตรลดาและพระพิมพ์จิตรลดาเนื้อโลหะทุกชนิด รวมทั้งทำเม็ดกริ่งบรรจุในพระกริ่ง "เจริญโภคทรัพย์" ที่ให้กรรมการบูชาด้วย



    [​IMG]


    พิธีพุทธาภิเษก

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานประกอบพิธี ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2538 โดยมีพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศนั่งปรกปลุกเสก ดังนี้

    1.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
    2.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
    3.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
    4.พระเทพสุธี วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
    5.พระราชมงคลญาณ วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
    6.พระปริยัติวิธาน (บุศย์) วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพมหานคร
    7.พระราชวิสุทธิคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลักประจวบคีรีขันธ์
    8.พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
    9.พระราชพิพัฒนโกศล (โกศล) วัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
    10.พระราชภาวนาวิกรม (ธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
    11.พระพิศาสพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
    12.พระอุดมประชานาถ (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
    13.พระครูวิมลสีลาภรณ์ (พูนทรัพย์) วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    14.พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (เก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
    15.พระครูมานิตสมณวัตร (เนื่อง) วัดสวนจันทร์ นครศรีธรรมราช
    16.พระครูนนทสิทธิการ (ประสิทธิ์) วัดไทรน้อย นนทบุรี
    17.พระครูพิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม ปทุมธานี
    18.พระครูอรรถธรรมาทร (เฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
    19.พระครูปริยัติคุณาธาร (อัมพร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
    20.พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    21.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
    22.พระครูการุณธรรมนิวาส (หลวง) วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
    23.พระครูขันติยาภรณ์ (พรหม) วัดบ้านสวน พัทลุง
    24.พระครูภัทรกิจโสภณ (หวล) วัดพทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
    25.พระครูสุนทรยุติกิจ (เอียด) วัดไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา
    26.พระครูเกษมคณาภิบาล (มี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
    27.พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา
    28.พระครูสังฆรักษ์ (เฉลิม) วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา
    29.พระครูปลัดสุรินทร์ กิตติโก วัดนครหลวง พระนครศรีอยุธยา
    30.พระครูสุวิธานศาสนกิจ (ไพรินทร์) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลก
    31.พระอธิการคล้อย ฐานธัมโม วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
    32.พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม นครปฐม
    33.พระอธิการสมชาย วัดโพรงอากาศ ฉะเชิงเทรา
    34.พระอธิการบุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู
    35.หลวงปู่จันทรา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย พิจิตร
    36.พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว หนองคาย



    [​IMG]


    รายละเอียดการจัดสร้าง

    ในการจัดสร้างได้กำหนดรายละเอียดและจำนวนการจัดสร้าง ดังนี้

    1.พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา ชุดพิเศษ จัดสร้างเฉพาะผู้สั่งจอง จำนวน 108 ชุด โดยให้ทำบุญชุดละ x,xxx,xxx บาท ประกอบด้วยเนื้อทองคำหนักประมาณ 51 กรัม 1องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนาก 1 องค์ เนื้อสัมฤทธิ์ 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1องค์ พระพิมพ์จิตรลดาขนาดใหญ่ เนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ เนื้อผง 1 องค์ พระพิมพ์จิตรลดาขนาดเล็ก เนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ รวมทั้งหมด 12 องค์บรรจุในกล่องไม้สวยงาม ผู้สั่งจองเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    2.พระพิมพ์จิตรลดาขนาดใหญ่ รูปสามเหลี่ยมสูง 3.2 ซม. จัดสร้างดังนี้ ชุดเนื้อทองคำจัดสร้าง 2,539 ชุด ประกอบด้วยพระเนื้อทองคำหนักประมาณ 18 กรัม 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์
    -พระเนื้อเงินสร้าง 40,000 องค์
    -พระเนื้อนวโลหะสร้าง 40,000 องค์

    3.พระพิมพ์จิตรลดาขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมสูง 2.3 ซม. ประกอบด้วยชุดเนื้อทองคำ 5,000 ชุด ประกอบด้วยพระเนื้อทองคำหนักประมาณ 9 กรัม 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์
    -พระเนื้อเงินสร้าง 60,000 องค์
    -พระเนื้อนวโลหะ60,000 องค์

    4.พระเนื้อผงลักษณะและขนาดเหมือนพระพิมพ์จิตรลดาขนาดใหญ่ จัดสร้าง 1,000,000 องค์


    และมีการจัดสร้างพิเศษอีก คือ พระกริ่งพิมพ์จิตรลดาชุดพิเศษ 6 ชุด พระพิมพ์จิตรลดาเนื้อผง 50,000 องค์ เพื่อทูลเกล้าถวายพระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายพระบรมวงศานุวงศ์ และพระมหาเถระผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องคือ

    1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา-ชุดพิเศษ 1 ชุด พระพิมพ์จิตรลดาเนื้อผง จำนวน 50,000 องค์

    2.สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา-ชุดพิเศษ 1 ชุด

    3.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา-ชุดพิเศษ 1 ชุด

    4.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา-ชุดพิเศษ1 ชุด

    5.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา-ชุดพิเศษ 1 ชุด

    6.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา-ชุดพิเศษ 1 ชุด


    และโครงการได้จัดสร้าง พระที่ระลึกสำหรับกรรมการ เป็นพระกริ่ง "เจริญโภคทรัพย์" เนื้อนวโลหะ ถอดพิมพ์จากพระกริ่งโบราณ จัดเป็นชุดรวมกับพระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผง1 องค์ จำนวนทั้งหมด 1,999 ชุด ให้กรรมการที่ช่วยงานในครั้งนี้ร่วมบริจาคบูชาในจำนวนที่จำกัด

    พระชุดนี้นอกจากเนื้อหามวลสารที่สุดยอดแล้วพิธีก็เยี่ยม รูปทรงและพระพักตร์ที่งดงามประกอบกับเงินรายได้เข้าสมทบทุนโครงการหลวงทั้งหมดถือว่า นอกจากได้ของดีไว้ใช้แล้ว ยังได้ทำบุญทำกุศลอีกด้วย เพราะผู้สร้างได้ถวายเงินโดยพระราชกุศล สมทบทุนมูลนิธิโครงการหลวง ทั้งสิ้น 277,035,026.19 บาท

    พระเนื้อผงชุดนี้นิยมกันมาก เพราะมีการผสมผงกันหลายครั้ง จึงมีสีที่ต่างกัน ทำให้พระเนื้อผงที่มีสีคล้ำมีจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อผงที่มีสีอ่อน ทำให้พระองค์ที่มีสีเข้มจะมีราคาสูงกว่าพระเนื้อผงสีอ่อน ซึ่งจริงๆ แล้วพุทธคุณของพระทุกสีไม่แตกต่างกัน.



    ราช รามัญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2014
  9. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระกริ่งสมเด็จ สว.๗๙
    คณะกรรมการที่จัดสร้างพระกิ่ง อเหรียญหล่อ สว.๗๙ ได้เข้าเฝ้า สมเด็จย่า เมื่อ ๑๙ ส.ค. ๒๕๒๒ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแบบพิมพ์ ทอดพระเนตรก่อนที่จะไปดำเนินการหล่อ ซึ่งใช้ชนวนต่างๆดังนี้
    ๑. ชนวนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์เกือบทุกรุ่นของ วัดสุทัศน์
    ๒. ชนวนพระกริ่งชัยวัฒน์ นวหรคุณ วัดราชนัดดา
    ๓. ชนวนพระกริ่ง นเรศวร พิษณุโลก
    ๔. ชนวนพระกริ่ง นเรศวร เมืองงาย เชียงใหม่
    ๕. ชนวนพระกริ่งพระพุทธสิหิงน์ ชลบุรี
    ๖. ชนวนพระกริ่ง ลพ.เพชร พิจิตร
    ๗. ชนวนพระกริ่งยุทธหัตถี สุพรรณบุรี
    ๘. ชนวนพระกริ่งพระรอดภยันตราย ลำพูน
    ๙. ชนวนพระกริ่ง เอกาทศรถ เชียงใหม่
    ๑๐. ชนวนพระกริ่ง พระพุทธชินราช พิษณุโลก
    ๑๑. ชนวนพระกริ่ง พระรูปเหทือน ธมวิตกโก(เจ้าคุณนรรัตน์)
    ๑๒. ชนวนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ พระเจ้าตากสินมหาราช
    ๑๓. ชนวนพระกริ่งรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์(โต) งาน 100ปีวัดระฆัง
    ๑๔. ชนวนพระกริ่งจอมสุรินทร์ สุรินทร์
    ๑๕. ชนวนพระกริ่ง พระพุทธปริต สุรินทร์
    ๑๖. ชนวนพระกริ่งศรีอุบล อุบลราชธานี
    ๑๗. ชนวนพระกริ่งพระชัยวัฒน์ อปร.วัดสุทัศน์
    ๑๘. ชนวนพระกริ่ง สมเด็จฯ ววน.
    ๑๙. ชนวนพระกริ่งเหรียญหล่อ ลป.แหวน สุจินโฯ รุ่นผ้าป่าดารา - ลอนดอน

    หลังจากมีการทำพิธ๊พุทธาภิเศกเสร็จแล้ว (ไม่ทราบรายชื่อครูบาอาจารย์ที่มาเข้าพิธี) ได้มีการนำไปขอบารมีจาก ลป.โต๊ะ ให้อธิฐานจิตเป็นพิเศษ ,ต่อจากนั้นได้นำไปขอบารมีจากลป. แหวน ให้อธิษฐานจิตเป็นพิเศษอีกวาระหนึ่งอีกด้วย จึงเป็นวัตุถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
     
  10. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480
    เมื่อช่วงเช้าวันนี้ พ่อแม่พี่น้องศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย
    ต่างมีโอกาสเป็นมงคลอย่างยิ่งที่ได้เข้ากราบ....

    " พระอริยสงฆ์ผู้เป็นดั่งพี่ชายใหญ่ แห่งวัดป่าบ้านตาด "

    " พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่บุญมี ปริปุณฺโณ "

    แห่งวัดป่านาคูณ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

    หลวงปู่บุญมี ท่านถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๙
    ตรงกับแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์
    อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น อ.เมือง จ.ยโสธร)

    ท่านอุปสมบท เมื่อวันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๙
    เวลา ๑๓.๓๕ น. ณ วัดสร่างโศก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
    (ปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร)
    โดยมี พระครูพิศาลศีลคุณ(พระอาจารย์โฮม วิสาโท) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ได้รับฉายาว่า “ปริปุณโณ” แปลว่า “ผู้เปี่ยมด้วยบุญ”

    ในพรรษาที่ ๓ (ปี พ.ศ.๒๔๙๒) หลวงปู่บุญมี ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองโดก
    (วัดป่าโสตถิผล) จ.สกลนคร และได้เข้ารับการอบรมธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จนหลวงปู่มั่น ท่านละสังขารลงในปีนั้น
    หลวงปู่บุญมี ท่านมีเพื่อนสหธรรมมิกที่สนิทกันมาตั้งแต่ยังเด็ก
    และได้มีโอกาสออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมร่วมกันคือ หลวงปู่เพียร วิริโย แห่งวัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี

    ในพรรษาที่ ๕ (ปีพ.ศ.๒๔๙๔) หลวงปู่บุญมี ได้กลับไปอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    และในพรรษาที่ ๖ (ปี พ.ศ.๒๔๙๕) หลวงปู่บุญมี ได้ไปอยู่ศึกษาธรรมกับ
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
    จากนั้นจึงติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มาสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๑ (ปี พ.ศ.๒๕๐๐) และอยู่อบรมกรรมฐานกับพระหลวงตามหาบัว
    เรื่อยมาจนถึงพรรษาที่ ๓๐ (ปี พ.ศ.๒๕๑๙)

    สมัยที่อยู่ที่วัดป่าบ้านตาด หลวงปู่บุญมี ท่านจะมีเมตตาโอบอ้อมอารีกับพระภิกษุรุ่นน้อง
    คอยให้คำแนะนำเรื่องธรรมวินัย บางครั้งเมื่อหลวงตาท่านดุ และไล่พระที่ทำผิดออกจากวัด
    หลวงปู่บุญมี ก็จะออกรับแทนพระผู้น้อยขอโอกาสให้กับภิกษุนั้นๆ ความอนุเคราะห์เหล่านี้
    หลวงปู่บุญมี ท่านจึงเปรียบเหมือนพี่ชายใหญ่แห่งวัดป่าบ้านตาด
    กอปรกับท่านเป็นพระที่มีจริยาวัตรงดงาม ดังคำที่หลวงตามหาบัวเคยกล่าวไว้

    “..ท่านเพียร-ท่านบุญมี เรียบร้อยเหมือนกันหมด ไม่มีด่างพร้อย
    เรียบร้อยในการปฏิบัติธรรมของท่าน ท่านเพียร ท่านบุญมี
    ท่านปฏิบัติเอาจริงเอาจังเหมือนกัน..”


    จากนั้นหลวงปู่บุญมี ได้มาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำยานาโพธิ์(ภูลังกา)อ.บ้านแพง จ.นครพนม
    ตั้งแต่พรรษาที่ ๓๒-๔๒ (ปี พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๓๑) จากนั้นท่านจึงมาสร้าง
    วัดป่านาคูณ บ้านนาคูณ ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อยู่ตั้งแต่พรรษาที่ ๔๔ (ปี พ.ศ.๒๕๓๓)
    จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่บุญมี ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาคูณเรื่อยมา
    และในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมานี้ หลวงปู่บุญมี ท่านมีอายุครบ ๘๘ ปีบริบูรณ์

    " . . . คนเราทุกวันนี้ ถ้าเป็นคนที่มีธรรม จะคิด จะพูด จะทำอะไรก็เป็นธรรม
    แต่ถ้าเป็นคนไม่มีธรรม เอาเรื่องโลกมาคิด มาพูด มาทำ ก็มีแต่โลกทั้งนั้น
    ให้เราทั้งหลายช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เห็นการกระทำอะไรที่ไม่ดี
    ให้ช่วยกันบอกสอนแก้ไขให้ถูกให้ควร อย่าปล่อยให้คนทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่อาตมาพูดว่าดี ว่าถูก ว่าควรแล้ว ให้นำไปไตร่ตรองดูเสียก่อน
    หากพิจารณาว่าดี ว่าถูก ว่าควร แล้วจึงค่อยเชื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้
    พ่อแม่ครูจารย์ก็เคยเตือนให้พึง ระวังเรื่องอายตนะ 6 กาย ใจ ตา หู จมูก และลิ้น
    ไม่ให้นำสิ่งไม่ดีเข้ามา ให้คะลำ ภาษาอีสาน คะลำ หมายถึง หลีกเลี่ยง
    อย่าเอาสิ่งไม่ดีเข้ามาในตัว หากรู้ว่าไม่ดีให้หลีกหนีให้ไกล . . . "


    คติธรรมใน...พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่บุญมี ปริปุณฺโณ

    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก ; วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    แก้ไขข้อมูลนับอายุปัจจุปันเป็น พ.ศ.๒๕๕๗ ครับผม


    [​IMG]
     
  11. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    ขอบคุณเรื่องราวดีๆจากน้องนาย และทุกท่านด้วยครับ​
     
  12. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326

    [​IMG]


    เหรียญพระบรมราชสมภพ 4 รอบพ.ศ. 2518

    เป็นเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันที่คณะสงฆ์ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ4รอบในปีพ.ศ.2518 โดยที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยากรรมการมหาเถรสมาคมสมัยนั้นเป็นองค์ริเริ่มได้ปรึกษากับกรรมการมหาเถรสมาคมว่า ในอภิลักขิตมงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบปีนักษัตรเพื่อเป็นการถวายพระพรจึงเห็นควรที่จะสร้างเหรียญพระบรมรูปถวายเพื่อให้ทรงแจก ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่ปฏิอยู่ตามชายแดนจึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชประธานกรรมการมหาเถรสมาคมทรงเห็นชอบด้วยจึงได้ให้ช่างออกแบบเหรียญเสร็จแล้วได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า คณะสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรแสดงเจตจำนงขอพระราชทานสร้างเหรียญพระบรมรูปเพื่อแจกจ่ายทหาร ตำรวจและอาสาสมัคร ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามชายแดนเป็นหลัก เมื่อคณะสงฆ์ไดรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเหรียญได้มหาเถรสมาคมจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

    ลักษณะของเหรียญเป็นรูปมนรีมีมุมมนสี่มุมอันหมายถึง4รอบนักษัตรด้านหน้าเป็นรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเครื่องภูษาวิสิตราภรณ์ชุดจอมทัพไทยด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฏเปล่งรัศมี ขอบเหรียญเขียนว่า"คณะสงฆ์ถวายในมหามงคลสมัย พระบรมราชสมภพครบ4 รอบ 2518"



    [​IMG]



    เหรีญพระบรมรูป (พระบรมราชสมภพครบ4รอบ) ที่จัดสร้างแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
    -เหรียญทองคำ จำนวน 100 เหรียญ
    -เหรียญเนื้อนาคจำนวน 55 เหรียญ
    -เหรียญเงินจำนวน 750 เหรียญ
    -และเหรียญทองแดง(รมดำ รมน้ำตาลและกะไหล่ทอง) จำนวน1,000,000
    เหรียญมีขนาด2.0*3.0 ซ.ม.


    1.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน X,yyyบาทจะได้รับเหรียญทองคำ1เหรียญและเหรียญทองแดงรมดำอีก100เหรียญ
    2.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน V,yyyบาทจะได้รับเหรียญนาค1เหรียญและเหรียญทองแดงรมดำอีก50เหรียญ
    3.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน I,yyyบาทจะได้รับเหรียญเงิน1เหรีญและเหรียญทองแดงรมดำอีก10เหรียญ
    4.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน Iyyบาทจะได้รับเหรียญเนื้อทองแดง1เหรียญ


    ( เหรียญทั้งหมดที่จัดสร้างขึ้นได้มีการประกอบพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันที่1เมษายน 2520 ข้อสังเกต เหรียญพระราชสมภพรุ่นนี้ทำพิธีปลุกเสกปีไหนแน่ปี 2518 หรือปี2520 ในหลวงทรงเสด็จพระบรมราชสมภพในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 พระชนมพรรษา 48 พรรษาครบ 4 รอบในปี 2518 ตามพ.ศ.ที่ระบุไว้ในเหรียญ บางท่านว่าเหรียญรุ่นนี้ปลุกเสกปี 2518 บ้างปี 2520 บ้างทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนแต่ถ้าพิจารณาถึงรายนามคณาจารย์ที่ปลุกเสกเหรียญไม่มีพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรปัจจุบันเหรียญที่ท่านสร้างและปลุกเสกมีพุทธคุณสูงมีค่านิยมสูงมากได้รับการขนานนามว่า"พ่อทวดอีสาน" มรณภาพเมื่อวันที่ 4 มกราคมปี 2520 หากเหรียญรุ่นนี้ปลุกเสกในปี 2518 อาจต้องมีรายชื่อท่านแน่นอนในเดือนเมษายนปี 2520 ท่านมรณภาพไปแล้วการจัดสร้างเรียญรุ่นนี้มีรายละเอียดขั้นวีธีการดำเนินงานที่เป็นระเบียบแบบแผนและมีปริมาณค่อนข้างมากทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงจึงเป็นไปได้ว่าการดำเนินจัดสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2520 โดยมีพระคณาจารย์นั่งบริกรรมภาวนาจำนวน 49 รูป )

    เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คณะสงฆ์จัดสร้างขึ้นนี้จัดได้ว่าเป็นเหรียญที่มีเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์มีพิธีกรรมที่พร้อมมูลและเข้มขลังดังรายนามพระคณาจารย์ที่นั่งบริกรรมภาวนาล้วนแล้วแต่เป็นพระสุปฏิปันโนที่คณะกรรมการผู้สร้างได้นิมนต์มาอย่างดีประกอบกับเป็นเหรียญพระบรมรูปของพระมากษัตริย์ผู้ึ่เปี่ยมล้นไปด้วยบารมีธรรมและพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งแก่ปวงชนชาวไทยอีกทั้งได้ประกอบพิธีในวัดพระศรีรัตนศาสดารามต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)ซึ่งน้อยครั้งวัตถุมงคลจะมีโอกาสได้มาประกอบพิธีกรรมจึงนับว่าเป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่น่าเสาะหาอย่างยิ่ง

    1.สมเด็จพระญาณสังวร (สุวทฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
    2.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ปุณฺณโก)วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
    3.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    4.พระธรรมศิริชัย (ชิต)วัดพระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
    5.พระเทพสาครมุณี (แก้ว) วัดสุทธิวาตวรารามอ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    6.พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม(วัดโสธร) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    7.พระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธราวาส(วัดเลยหลง) อ.เมือง จ.เลย
    8.พระเทพวุฒาจารย์ (เปลื้อง) วัดสุวรรณภูมิ อ.เมือง จ.สุพรรบุรี
    9.พระราชอุทัยกวี (พุฒ) วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    10.พระราชญาณดิลก (ชิต) วัดเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    11.พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    12.พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    13.พระวิมลกิจจารักษ์ (สิริ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
    14.พระสังวราภิมณฑ์เถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
    15.พระโพธิญาณเถร (ชา) วัดหนองปาพง อ.วารินชำราบ จ.อบลราชธานี
    16.พระสุพรหมญาณเถร (พรหมา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    17.พระโสภณวิสุทธิเถร (สนิท) วัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    18.พระรัตนากรวิสุทธิเถร (ดุลย์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    19.พระโบราณคณิสสร (ใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    20.พระศีลวุฒาจารย์ (บาง) วัดหนองพลับ อ.หนองแซม จ.สระบุรี
    21.พระมหาพุทธพิมพาภิบาล (เชื่อม) วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง
    22.พระครูอนุกูลวิทยา (เส็ง) วัดน้อยนางหงส์ กรุงเทพมหานคร
    23.พระครูจันทสโรภาส (เที่ยง) วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
    24.พระครูศีลวิสุทธาจารย์ (ผิว) วัดสง่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    25.พระครูภาวนาภิรัต (อินทจักร) วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    26.พระครูประดิษฐ์นวการ (บุญ) วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    27.พระครูสุชัยบุญญาคม (เชื้อ) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    28.พระครูศรีพรหมโสภิต(แพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
    29.พะครูวิริยาภรณ์(เริ่ม) วัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    30.พระครูประจิตนวการ(ทอง) วัดบ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    31.พระครูประสิทธิ์วิทยาคม(อ่อน) วัดเพียมาตร อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
    32.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (จ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
    33.พระครูอุดมสิทธาจารย์(อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
    34.พระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    35.พระครูสุวรรณประดิษฐการ(จ้อย) วัดเขาสุุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
    36.พระครูกิตติคุณ(กี๋) วัดหูช้าง อ.บางหู จ.นนทบุรี
    37.พระศรีคุณาธาร(ศีล) วัดกิ่งแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
    38.พระครูสัติวรญาณ(สิม) วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    39.หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
    40.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    41.พระอาจารย์สาม อภิญจโน(สาม) วัดไตรไตรวิเวการาม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    42.พระครูญาณวิศิษฐ์(เฟื่อง) วัดธรรมสถิต อ.เมือง จ.ระยอง
    43.พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
    44.พระอาจารย์บุญ ชินวโว วัดศรีสว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    45.พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดถ้ำเอราวัณ อ.วังสะพุง จ.เลย
    46.พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    47.พระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้อม จ.เชียงใหม่
    48.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม(วัดปากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    49.พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี



    ที่มา: เกจิสยาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  13. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]




    เหรียญพระชัยหลังช้าง

    เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"

    " เหรียญพระชัยหลังช้าง" เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532

    และ" เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์



    [​IMG]


    "พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพุทธาภิเษก เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป อาทิ"...

    1.สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
    2.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
    3.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    4.สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร
    5.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
    6.พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ
    7.พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
    8.พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน
    9.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    10.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง
    11.พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังก์วิเวการาม
    12.พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
    13.พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
    14.หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
    15.พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม
    16.หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม ฯลฯ


    "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 เหรียญพระชัยหลังช้าง มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์ ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว"

    ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง นี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์เต็มเปี่ยม และได้เล่าประวัติพระชัยหลังช้างไว้ว่า เป็นพระที่ ร.๑ ท่านบูชาประจำพระองค์ มาตั้งแต่สมัยชื่อด้วงแล้ว ต่อมาก็เป็นแม่ทัพ เวลาจะรบกับข้าศึกก็เอาไปด้วย บูชาประจำพระองค์เลย ออกรบแต่ละครั้ง ร.๑ ท่านไม่เคยแพ้ใคร ฉนั้นเวลาจะบูชา หลวงพ่อท่านให้อธิฐานว่า "ร.๑ ไม่เคยแพ้ใครฉันใด ขอเราเป็นผู้ชนะแบบ ร.๑" อธิษฐานอย่างนี้ยิ่งดีใหญ่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อย่าให้แพ้ความยากจน" เราจะได้รวยๆๆ


    [​IMG]


    กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

    ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป



    ความเป็นมาของ "พระชัยวัฒน์" เดิมมีพระนามว่า "พระชัย" หรือ "พระไชย" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามเพิ่มว่า "พระไชยวัฒน์" และได้เปลี่ยนพระนามมาเป็น "พระชัยวัฒน์" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร มีฉัตรปรุ 5 ชั้นปักกั้น หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว สูงจากทับเกษตรถึงยอดพระรัศมี 9 นิ้ว มีพัดแฉกหล่อด้วยเงินปักข้างหน้า ที่ฐานมีคำจารึก ซึ่งเป็นต้นแบบในการนำมาสร้าง เหรียญพระชัยหลังช้าง




    ที่มา: ตั้มศรีวิชัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  14. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    พระผงรุ่นที่ระลึกครบรอบ 100 วันหลวงพ่อมรณภาพ

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    พระผงรุ่นที่ระลึกครบรอบ 100 วันหลวงพ่อมรณภาพเข้าพิธีพุทธาภิเษกวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2536 เป็นพิธีแรกหลังจากหลวงพ่อมรณภาพแล้วและเป็นพิธีแรกที่หลวงพี่นันต์ท่านเป็นเจ้าพิธี ถือได้ว่าพระผงรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของท่านก็น่าจะได้นะครับ

    ในครั้งนั้นหลวงพี่อาวุโสของวัดได้มอบหมายให้ พ.อ.สถาพรรับไปสร้างพระผงชุดนี้ โดยการผสมมวลสารต่างๆและทำการกดพิมพ์กันในค่ายทหาร หลวงพี่วิรัชได้เมตตาเล่าให้ฟังว่าเป็นรุ่นที่ใส่มวลสารเยอะมาก โดยเฉพาะเกศาของหลวงพ่อท่านเป็นคนหยิบให้เองเอาให้เป็นกำๆ มือ ตอนแรก พ.อ.สถาพรจะติดเกศาองค์ละ 1 เส้นแต่หลวงพี่วิรัชท่านบอกไปว่าเสียเวลาให้เอาเกศาท่านตัดเป็นเส้นเล็กๆแล้วผสมใส่ลงไปในมวลสาร

    พระผงรุ่นนี้ผมเรียกของผมเองว่า "พระผงรุ่น 4 ไตรมาส" เพราะเป็นการรวมผงคำข้าวทั้ง 3 รุ่นและผงดินสอพองปลุกเสก 1 ไตรมาสมารวมกันในองค์เดียว ผงพระคำข้าวรุ่น 1, 2 และ 3 คือข้าวที่หลวงพ่อปลุกเสกอยู่ 3 เดือนในแต่ละรุ่นแล้วนำไปตากแห้งถึงบดเป็นผงสำหรับทำพระคำข้าวรุ่น 1 รุ่น 2 และอุดด้านหลังพระคำข้าวรุ่นพิเศษ ผงที่เหลือจากนำไปผสมทำพระคำข้าวทั้ง 3 รุ่นแล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมพระคำข้าวอีกครัั้ง ส่วนผงดินสอพอง หลวงพี่นันต์ท่านเคยเล่าเอาไว้ว่า "ท่านบอกว่า ต่อไปนี้จะไม่มีเวลาทำพระครบไตรมาสแล้วนะ เวลาท่านทำกรรมฐานท่านก็นั่งทำพิธีทุกวัน ทำกรรมฐานเสร็จท่านก็เล่าให้ฟังว่า วันนี้พระที่ีมีความสำคัญมาทำ ทำเฉพาะพิเศษเลยเฉพาะจุดนี้ รุ่งขึ้นอีกวันท่านก็บอกพระองค์นี้มาทำเฉพาะจุดนี้้เป็นเรื่องๆไป"


    นอกจากผงคำข้าวทั้ง 3 รุ่นและผงดินสอพองแล้วผมคิดว่าผงวิเศษอีกอย่างคือผงที่ปลุกเสกในอุโบสถทุกครั้ง มีพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อรุ่นต่างๆมากมายผ่านการปลุกเสกในอุโบสถ อย่างเหรียญวันเกิดรุ่น 1- 4 , มงกุฏเพชรรุ่นพระสุธรรมยานเถร, แหวนจักรพรรดิ์ , ผ้ายันต์เกราะเพชร , ผ้ายันต์พิชัยสงคราม , ลูกแก้วมหามณีรัตนะรุ่น 1 ฯ ผงวิเศษนี้ก็ควรอยู่เข้าพิธีพร้อมไปด้วยเช่นกัน

    อีกทั้งยังผสมน้ำมันชาตรีและเกศาหลวงพ่อเอาไว้ด้วย ตอนรับแจกใหม่ๆในงานทำบุญครบ 100 วันหลวงพ่อ กลิ่นน้ำมันชาตรีจากองค์พระแรงมาก เปิดกล่องมาจะได้กลิ่นน้ำมันชาตรีออกมาชัด ส่วนเรื่องประสบการณ์ผมเคยมีด้านแคล้วคลาดและการพูดเจรจาในที่สาธารณะ เคยเล่าไปแล้วในกระทู้เก่าครับ


    ผมคิดว่าพระผงรุ่นนี้เหมือนรวมสิ่งที่หลวงพ่อได้ปลุกเสกเอาไว้เกือบทุกพิธี มีพระพุทธคุณเด่นของรุ่นต่่างๆมารวมกันไว้ในรุ่นเดียว ต่อไปข้างหน้าคงเป็นอีกรุ่นนึงที่คนข้างหลังเสาะหากันมาก หากท่านใดยังไม่มีผมคิดว่าหาพระผงรุ่นครบรอบ 1 ปีและ 2 ปีหลวงพ่อมรณภาพมาบูชาน่าจะทดแทนกันได้ เพราะส่วนผสมมวลสารคล้ายกันผิดแต่ว่ามวลสารไม่เข้มข้นเท่ารุ่น 100 วันเท่านั้นครับ ปัจจุบันยังสามารถเช่าบูชาพระผงรุ่น 1 ปีและ 2 ปีได้ทีวัดท่าซุงและบ้านซอยสายลมครับ



    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  15. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    พระผงครบรอบ ๑ปี มรณภาพหลวงพ่อฤาษี(น่าจะมีหลายบล็อค)





    [​IMG]


    [​IMG]


    พระผงครบรอบ ๒ปี มรณภาพหลวงพ่อฤาษี

    (พิมพ์กลีบบัวงดงามมาก)
     
  16. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/AmuletInformations/2013/11-1.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/AmuletInformations/2013/11-1.jpg" border="0" alt=" photo 11-1.jpg"/></a>



    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/AmuletInformations/2013/DSC09868.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/AmuletInformations/2013/DSC09868.jpg" border="0" alt=" photo DSC09868.jpg"/></a>
    <a href="http://s1093.photobucket.com/user/wannachai007/media/AmuletInformations/2013/DSC09873.jpg.html" target="_blank"><img src="http://i1093.photobucket.com/albums/i434/wannachai007/AmuletInformations/2013/DSC09873.jpg" border="0" alt=" photo DSC09873.jpg"/></a>

    พระผงสมเด็จองค์ปฐมรุ่นครบรอบ 1 ปีหลวงพ่อมรณภาพน่าจะมีอย่างน้อย 4 บล๊อคขึ้นไปนะครับ
     
  17. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    ขอบคุณข้อมูลแน่นๆจากพี่วรรณครับ ขอเสริมด้วยพระผงรุ่นแจกสังฆทานจะได้อยู่กลุ่มเดียวกันครับ


    [​IMG]


    [​IMG]


    *********

    [​IMG]


    [​IMG]


    *********

    [​IMG]


    พระผงรุ่นแจกสังฆทานหลากสีสัน ถ่ายรวมกับพระคำข้าว พระหางหมาก และพระวัดปากน้ำรุ่น๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2014
  18. mrchainarong

    mrchainarong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,179
    ค่าพลัง:
    +2,006


    เห็นแล้วตกใจ/แปลกใจนิดหน่อย

    ว่ายังมีคนรู้จักพระสองสมเด็จ รุ่นนี้ด้วยหรือ

    ช่วงนั้น นิตยสาร ศักดิ์สิทธิ์ ทำพระแจก พร้อมกับหนังสือบ่อยมาก

    ส่วนตัวก็มีรุ่นนี้อยู่จากการที่ติดตามอ่านและซื้อหนังสือฉบับที่แจก สองสมเด็จ ทุกวันนี้หนังก็ยังอยู่ พระก็ยังอยู่ รายละเอียดมวลสาร พิธีกรรมเยอะมาก

    ุุุ้่้ถ้าอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมจะไปแสกนมาให้อ่านอย่างจุใจ
     
  19. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326



    จัดมาเลยครับคุณmrchainarong หลายท่านอาจมีพระอยู่แต่ไม่ทราบที่มาที่ไปจะได้ทราบกัน ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  20. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]



    เหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร.

    (ข้อมูลเพิ่มเติม)


    เหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร. เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2530

    ป้าเชิญได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือบันทึกของชาโดว์เล่ม 2 เรื่อง พุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เอาไว้ว่า หลวงพ่อได้มาสอนวิปัสสนากรรมฐานที่บ้านซอยสายลมเมื่อวันเสาร์ที่ 1 อาทิตย์ที่ 2 และวันจันทร์ที่ 3 สิงหาคมเสร็จแล้ว ปรกติถ้าไม่มีกิจนิมนต์ที่อื่นหลวงพ่อจะกลับวัดในวันอังคารที่ 4 แต่เนื่องจากติดกิจนิมนต์ทำพิธีพุทธาภิเษกวันพุธที่ 5 สิงหาคม ท่านจึงอยู่ต่ออีก 2 วัน

    ในวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2530 หลวงพ่อเดินทางออกจากบ้านซอยสายลมตอนบ่าย 4 โมง ไปถึงวัดพระแก้วแล้วนั่งคอยทำพิธีหน้าโบสถ์อยู่อีกเกือบชั่วโมง เจ้าหน้าที่จึงได้นิมนต์หลวงพ่อและพระผู้ใหญ่ท่านอื่นๆเข้าไปในโบสถ์ ป้าเชิญเล่าว่ามีหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง และหลวงพ่ออุตตมะ เข้าไปพร้อมๆกับหลวงพ่อด้วย ในวันนั้นมีพระติดตามหลวงพ่อไปวัดพระแก้วด้วย เช่น หลวงพี่อาจินต์ หลวงพี่วิรัช หลวงพี่สุรจิต

    พิธีในวันนั้นเลิก 2 ทุ่ม 19 นาที หลังจากลั่นฆ้องกลองบอกกล่าวพรหมเทวดาแล้ว หลวงพ่อจึงได้ออกจากโบสถ์ ท่านพักที่บ้านซอยสายลมอีก 1 คืน วันรุ่งขึ้นวันที่ 6 สิงหาคม ท่านถึงได้เดินทางกลับวัดท่าซุง


    ในเวบต่างๆมีให้ข้อมูลไว้ว่าเหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร นี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกเมื่อเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2530



    [​IMG]




    บนเหรียญพระชัยหลังช้างมีลงวันที่ไว้ว่า " วันที่ 5 ธ.ค. 2530 " แต่ตรงนี้หมายถึงเป็นวันครบรอบที่ในหลวงท่านทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา ไม่ใช่วันพิธีพุทธาภิเษก วันที่บนตัวเหรียญคนมักไปเข้าใจกันว่าเป็นวันปลุกเสกโดยไม่ได้มองว่าเหรียญนั้นๆสร้างขึ้นเพื่อเป็นการฉลองในวาระอะไร เว้นแต่เหรียญนั้นจะระบุไว้ชัดเจนเลยว่าพุทธาภิเษกเมื่อแล้วตามด้วยวันเดือนปี

    โดยความเห็นส่วนตัวผมเชื่อในข้อมูลของป้าเชิญมากกว่า เพราะท่านบอกวันเวลาที่สอดคล้องกับที่หลวงพ่อมาสอนพระกรรมฐานที่สายลมและท่านก็ได้บันทึกเรื่องนี้เอาไว้ในวันที่ 6 สิงหาคม 2530 หลังวันพุทธาภิเษกเลย เป็นไปไมได้แน่ว่าป้าเชิญท่านจะจำวันเวลาผิดไป ​



    หลังจากเหรียญพระชัยหลังช้างได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระแก้วแล้ว เหรียญนี้ได้ถูกนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกตามวัดใหญ่ในกรุงเทพอีกหลายวาระเช่นที่วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระเชตุพน วัดสามพระยา เป็นต้น


    ขอนำประวัติโดยย่อเกี่ยวกับเหรียญพระชัยหลังช้างจากเวบวัดสามพระยามาลงกันให้อ่านตามข้างล่างนี้ครับ


    ประวัติความเป็นมาของพระชัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ ย้อนหลังไปถึงสมัยอยุธยา พระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) แห่งวัดอัมพวัน เล่าไว้ถึงที่มาของพระพุทธชัยมงคลคาถา พาหุงฯ ๘ บท และพระชยปริตร มหาการุณิโกฯ ควบคู่กับพระราชประเพณีอัญเชิญพระชัยหลังช้างไปในราชการสงคราม ว่ามีมาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยจะทรงอัญเชิญพระชัยไปในราชการสงคราม กู้บ้านกู้เมืองเป็นปกติ หากเสด็จทางสถลมารคก็จะอัญเชิญพระชัยขึ้นประดิษฐานบนหลังช้าง จึงได้ชื่อว่าพระชัยหลังช้าง

    ในขณะที่ในพระชัยในยุครัตนโกสินทร์มีที่มาจากพระราชจริยาวัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูชาพระพุทธรูปประจำพระองค์นี้มาตั้งแต่ยังทรงเป็นสามัญชน ครั้นขึ้นเป็นแม่ทัพก็จะอาราธนาพระชัยขึ้นหลังช้างโดยเสด็จราชการสงครามกู้แผ่นดินเป็นปกติเช่นกัน กลายมาเป็นพระราชประเพณีสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลสืบมา

    ด้วยประวัติความเป็นมาดังกล่าวย่อมเป็นที่น่าศรัทธาน่าสักการะพระชัยเพื่ออานิสงส์แห่งความมีชัยชนะนัก หากแต่เดิมประชาชนทั่วไปยากที่จะเข้าถึงเข้าสักการะบูชาพระชัยได้ ด้วยพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกองค์จะประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

    "เหรียญพระชัยหลังช้าง" เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530

    เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"




    ขอบคุณข้อมูลจากพี่วรรณ (Wannachai001)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...