การเจริญสมาธิภาวนา เหตุใดถึงได้บุญมากคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย slilahs, 23 มกราคม 2008.

  1. slilahs

    slilahs Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +40
    เราทราบกันมานานแล้วว่า การเจริญสมาธิภาวนา
    เป็นการปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้ได้บุญมาก

    แต่มีความสงสัยค่ะ ว่าการทำสมาธิเหตุใดจึงได้บุญ

    และบุญที่ว่านี้เกิดมาจากอะไร หรือเหตุใด

    คืออย่างเช่นการบริจาคทาน ได้บุญเพราะมีการเสียสละ และมีจิตที่คิดจะให้
    และผู้รับก็ได้ประโยชน์จากสิ่งทำเราให้

    แล้วการทำสมาธิเจริญภาวนานี้ บุญที่ได้เกิดจากอะไร หรือสิ่งใดคะ

    เรียนถามท่านผู้รู้ค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
     
  2. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    การเจริญสมาธิภาวนา เป็นการข่มนิวรณ์ไว้ ทำให้จิตสว่าง เป็นกุศลจิต บุญก็เกิดตรงนี้แหล่ะ หลังจากนั่งสมาธิเสร็จ จิดใจเบาสบายไหมล่ะ เบากว่าการเสียสละบริจาคทานเป็นไหนๆ

    บุญนั้นเกิดที่จิต การกระทำภายนอกเป็นเพียงอุบาย...
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,766
    อานิสงส์จากการเจริญฌานสมาธิมีมากมายดังนี้

    ข้อมูลจากในเวบนี้เองครับ

    การเข้าฌานมีคุณ ๒๘ เมื่อสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงระลึกถึงคุณ ๒๘ นั้น ก็ทรงเข้าฌาน <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คุณแห่งการเข้าฌาน ๒๘ นั้น คือ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๑ รักษาตัว
    ๒ ทำให้อายุเจริญ
    ทำให้เกิดกำลัง
    ๔ ปิดเสียซึ่งโทษ
    กำจัดเสียซึ่งสิ่งที่ไม่มียศ
    ๖ ทำให้เกิดยศ
    กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
    ๘ ทำให้เกิดความยินดีในธรรม
    ๙ กำจัดเสียซึ่งภัย
    ๑๐ กระทำให้เกิดความกล้าหาญ
    ๑๑ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
    ๑๒ ทำให้ความเพียร
    ๑๓ กำจัดซึ่งราคะ
    ๑๔ ระงับซึ่งโทสะ
    ๑๕ กำจัดเสียซึ่งโมหะ
    ๑๖ กำจัดเสยซึ่งมานะ
    ๑๗ ทิ้งเสียซึ่งวิตก
    ๑๘ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ๑๙ ทำให้จิตรักในที่สงัด
    ๒๐ ทำให้ร่าเริง
    ๒๑ ทำให้เกิดปีติ
    ๒๒ ทำให้เป็นที่เคารพ
    ๒๓ ทำให้เกิดลาภ
    ๒๔ ทำให้เป็นที่รักแก่ผู้อื่น
    ๒๕ รักษาไว้ซึ่งความอดทน
    ๒๖ กำจัดเสียซึ่งอาสวะแห่งสังขารทั้งหลาย
    ๒๗ เพิกถอนเสียซึ่งการเกิดในภพต่อไป
    ๒๘ ให้ถึงซึ่งสามัญผลทั้งปวง
    ดูก่อนมหาราชะ การเข้าฌานย่อมมีคุณ ๒๘ ประการดังที่ว่านี้ สมเด็จพระชินห์ทั้งหลายจึงเข้าทรงฌาน อีกประการหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการเสวยสุขอันสงบ ก็ทรงเข้าฌาน
    อนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานโดยเหตุ ๔ คือ เพื่อความอยู่เป็นสุข ๑ เพื่อความไม่มีโทษมีแต่มากด้วยคุณ ๑ เพื่อความเจริญแห่งพระอริยะอย่างไม่เหลือ ๑ เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงสรรเสริญว่าประเสริฐ ๑
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงเข้าฌานด้วยเหตุเหล่านี้
     
  4. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    ทำทาน ไปนิพพานด้วยถ่อ

    ถือศีล ก็เหมือนขี่รถไป

    ภาวนา เปรียบเสมือนกับขี่เรือบินไป

    โบราณจารย์ท่านว่าไว้ ครับ

    การที่บุคคลจะทำสมาธิ ปฏิบัติภาวนาได้ จะต้องได้ทำทาน ถือศีล มาระยะหนึ่งแล้ว จึงจะมีจิตใจโน้มนำเข้ามาทางสายนี้ได้ ครับ

    การภาวนาทำได้ยากกว่าทั้งสองสิ่งข้างต้น เพราะเป็นการปฏิบัติที่เอาชนะกิเลส ตัณหา ราคะ โลภ โกรธ หลง ในตัวเราที่มีอยู่ในกมลสันดานของมนุษย์ทุกคน

    การภาวนาจะชำระสิ่งเหล่านั้นออกไป แล้วเจริญปัญญาขึ้นมาแทนที่ แต่ขณะเดียวกันจิตก็จะมีกุศล เกิดเมตตาเผื่อแผ่ไปยังสัตว์โลกอันไม่มีประมาณ
    บังเกิดเป็นมหากุศลใจจิตใจของผู้ปฏิบัติ

    ดั่งนี้จึ่งนับว่ามีอานิสงค์มากนัก
     
  5. แท้จริง

    แท้จริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2008
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +989
    เพราะเป็นการข่มกิเลส กดความชั่วไว้ได้ชั่วคราวในเบื้องต้น
    และอาจถึงขั้นการตัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิงในที่สุดในขั้นวิปัสนา

    แต่ทานและศีลไม่สามารถ ทำได้ถึงขนาดภาวนาครับ

    ความสามารถที่ทำให้ใจผ่องใส และมีพลังจนถึงขั้นตัดกิเลศ
    ของการเจริญภาวนานี้แหละครับ ที่ทำให้ภาวนาเป็นตัวบุญสูงสุด

    ตอบตามความเห็นผมนะ จริงเท็จอย่างไรไม่กล้ายืนยัน

    แต่ขอเป็นกำลังใจในการทำความดี(ภาวนา)ของทุกๆท่านครับ
    อันนี้กล้ายืนยันอย่างแท้จริง
     
  6. panuwat_cps

    panuwat_cps เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +433
    จากกระทู้ต้นๆ ก็เห็นว่าน่าจะครบถ้วนในความสงสัยแล้ว ขออนุโมทนาในธรรมทานด้วยละกัน สาธุ
     
  7. อมตนคร

    อมตนคร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +299
    ทาน ทําลายโลภะ
    ศีล ทําลายโทสะ
    ภาวนา ทําลาย โมหะ
    เมื่อคนเราไม่มีทั้งสามอย่างนี้ก็สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

    การที่การ ภาวนา มีบุญมากว่าก็เพราะ การภาวนาทําให้เกิดปัญญาอันจะนําไปสู่การมองเห็นความจริงของร่างกายคนเราว่า ร่างนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา อันจะนําไปสู่การตัดขันธ์ห้า ไม่ยินดีหมดความลุ่มหลงในร่างกายของเราและของคนอื่น อันด้วยจากการ ภาวนาทั้งจาก
    สมถภาวนาคือ การทําสมาธิจนจิตเป็นฌาน และ การวิปัสสนาญานคือการใคร่ครวญถึงร่างกายคนเราว่าเกิดจากดินนําลมไฟ มาประกอบขึ้นเป้นรูปร่างให้เราได้ใช้อาศัยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อคิดได้ดังนี้จิตก็จะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ทั้งสองอย่างเรียกว่าการภาวนาต้องทําควบคู่กันไปขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้

    แต่ถึงแม้ว่าการภาวนาจะได้บุญมากกว่าอย่างอื่น แต่เราควรจะทํบุญทุกด้านไม่ว่าจะ เป็น ทาน ศีล ภาวนา เพราะทุกทางล้วนสนันสนุนและเป็นปัจจัยนําไปสู่การบรรลุมรรคผลเช่นเดียวกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้
     
  8. mw1958

    mw1958 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +302
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน
    ใจมาก่อน วาจา และกาย
    ถ้าบังคับใจได้ ยกระดับจิตใจได้ ก็บังคับ วาจา และกายได้
     
  9. Montesquieu

    Montesquieu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2008
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +116
    ผมขออนุโมทนากับทุกความคิดเห็น ด้วยความบริสุทธิ์ใจครับ
     
  10. เทพบุตร

    เทพบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +114
    การเจริญสมาธิภาวนา เป็นการทำจิตใจให้สงบอยู่ในจุดเดียว จึงทำให้ไม่เบียดเบียนผู้อื่นครับ แม้ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็เป็นกุศลมากครับ หากว่าโลกเราเจริญสมาธิภาวนากันทั้งโลก ก็จะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน โลกก็จะเกิดสันติสุขได้ครับ แต่ในความเป็นจริงนั้นทำไม่ได้ครับ ฉะนั้น เมื่อเราได้ทำการเจริญสมาธิภาวนาชั่วขณะจิตหนึ่ง จึงถือว่าเป็นผู้ให้แก่โลกแล้วครับ ขอให้ปฏิบัติต่อไปนะครับ กุศลแรงครับ
     
  11. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    *** การทำบุญ มีการให้ทานจัดเป็นการทำบุญ ในบุญกิริยาวัตถุ10 ให้ไปศึกษาเรื่องนี้ก็ดีครับ
    *** การให้ทานมี 2 ประเภท คือ ทานอิงอามิส กับ ทานไม่อิงอามิส
    1. ทานอิงอามิส คือทานที่ให้ด้วยวัตถุทาน เป็นทานภายนอก ให้ด้วยการกระทำ แสดงออกให้เห็นได้ ซึ่งอานิสงค์ มีมากขึ้นอยู่แต่ใจเรา1 วัตถุทาน1 และผู้รับ1 เป็นหลัก 3 ประการ ดังจะได้อธิบายต่อไป
    2. ทานไม่อิงอามิส คือทานภายใน กล่าวคือ การให้ด้วยความบริสุทธิ์ของใจเป็นหลัก ให้แล้วไม่ปรากฎการกระทำให้ผู้คนชื่นชม โมทนาได้ง่ายๆ เช่น อภัยทาน ซึ่งเกิดได้ด้วยการภาวนามากๆจนใจเกิดปัญญาอภัยได้ทันทีแม้ขณะโดนล่วงเกินด้วยเหตุอ้างไม่เป็นธรรมเลยก็ตาม ซึ่งมีในพระอนาคามีแล้วเท่านั้นครับ
    *** กรณีปุถุชนก็จัดเป็นเรื่องอภัยทานที่พยายามเอาไว้ครับ กล่าวคือ จิตไม่คิดพยาบาทในเมื่อเรามิได้เบียดเบียนใคร แต่เขามาทำร้ายเราเราอภัยให้ แต่ใจเราโกรธ มีอารมณ์กระทบใจ แต่จิตตัดเสียได้เป็นพักๆ จนหลายๆคราว ก็ลืมไปเลย นี่เรียกว่าอภัยทานระดับของเราๆครับ พิ้นฐานการให้ทานข้อนี้ น่าจะเป็น กรรมบท10 กล่าวคือเราจะไม่คิดพยาบาท จองร้าง คิดแก้แค้นเขา เมื่อโทสะเกิดแก่เราครับ แต่หากเป็นหน้าที่เราเราก็ไม่เว้นให้ เช่น ลูกน้องทำผิดวินัยร้ายแรง แต่เราก็ให้ความเป็นธรรมในการวินิจฉัยโดยมีพื้นฐานของเมตตาธรรมเป็นหลัก
    *** อานิสงค์แห่งทานนั้น หากทำในเขตพุทธศาสนาแล้ว อานิสงค์มากมายมหาศาล เป็นแสนเป็นหลายๆล้านเท่าครับ เพราะเหตุแห่งการให้มีอานิสงค์ผลจึงสูง ...การให้ทานอันเป็นบุญอย่างหนึ่งพิจารณาดังนี้
    1. ผู้ให้มีความยินดี ดีใจในการจะได้ให้ทาน
    2. วัตถุทานบริสุทธิ์ มิได้ลักขโมยมา
    3. ผู้รับเป็นผู้บริสุทธิ์ ยิ่งมากก็งมีอานิสงค์มาก เช่น ให้ทานแก่พระอริยเจ้า พระที่ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ สูงสุดคือให้วิหารทาน ลองลงมาคือสังฆทาน และให้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกกะพุทเจ้า พระอริยสงฆ์ตามลำดับภูมิธรรม อันนี้เป็นวัตถุทาน แต่แล้วท่านอาจสงสัยว่าแล้วทำไมเราก็ทำสังฆทานกันหลายวาระแล้ว อานิสงค์มากมหาศาลทำไมชาติก่อนๆนิสัยเช่นนี้ไม่มีหรอกหรือ ชาตินี้ถึงยังไม่รวย เพิ่งเคยทำหรอกหรือ นี่เป็นความสงสัย
    *** เห็นว่าเหตุที่ดีๆก็ย่อมจะส่งผลดีๆแก่เราเท่านั้น ขึ้นอยู่กับวาระที่ผลจะเกิดมีขึ้นมา แล้อานิสงค์ต่างๆเราพึงได้รับแน่ๆ แต่การจะได้รับเร็วหรือช้าขึ้นอยู่แก่ใจเป็นหลักด้วยว่าใจเป็นบุญใหญ่หรือไม่ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าคนรวยๆ ส่วนใหญ่นะครับ ใจมั่นคง รอบครอบแต่ไม่สงสัยอะไรมากคือเป็นคนกล้ากระทำการงาน เวลาจะทำสิ่งใดๆเขาจะเต็มที่ เขาจึงประสพความสำเร็จในชีวิตสูง การทำบุญก็เช่นกัน ต้องไม่สงสัย คิดว่าดีแล้วก็ทำทันที แต่ก่อนจะคิดก็ต้องใช้ปัญญาสอบสวนมาอย่างดีแล้ว ว่าเราจะทำเพราะดีแล้วจริงๆเท่านั้น ครั้นทำแล้วก็ไม่สงสัยในผลแห่งการกระทำ เช่นเดียวกับคนรวยที่ประกอบธุระกิจ เวลาทำไปแล้วมาสงสัย เขาก็คงหยุดกิจการ หยุดๆ ทำๆ กลัวโน้นกลัวนี้ ย้ำคิดย้ำทำ เช่นนี้ไม่มีในคนที่สำเร็จในหน้าที่การงาน แต่มิใช่ว่าเขาไม่คิด แต่เขาพิจารณาได้ดีและกล้าทำตามนั้นแบบไม่กลับมาคิดฟุ้งซ่านอีก จึงเรียกว่าใจเขาเข้มแข็ง นี่จะเห็นในคนรวยที่ประสพความสำเร็จเร็วๆทั้งหลายครับ
    *** บุญไม่อิงอามิสประการสุดท้าย คือปฏิบัติบูชา คือการกระทำบุญอะไรก็ตาม จะอิงอามิสหรือไม่อิงอามิส หากกำหนดใจเป็นการบูชาความดีเป็นหลักท่านเรียกว่าปฏิบัติบูชา เช่น การไหว้พระ สวดมนต์ เจริญภาวนา แต่เมื่อเป็นทานเราก็ให้ด้วยใจ สร้างพระเราก็ให้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ กำหนดใจไว้สูงๆให้เห็นอย่างแน่นแฟ้นว่าทำบูชาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอนริยสงฆ์ หรือบำรุงพระศาสนา นี่แหละครับที่ว่าใจเป็นใหญ่ที่สุดในเรื่องของการกระทำ ดังนั้นก่อนกระทำเราพึงสำรวมศีลให้บริสุทธิ์ ภาวนาให้ใจสงบ แล้วอธิษฐานบารมีต่อไปว่าต้องการสิ่งใด เช่น ปัญญา ความเข้มแข็งกล้าหาญ หรือแม้แต่ฐานะที่ดีก็อาจมีได้ในใจที่บริสุทธิ์ดีพอแล้ว มิใช่เป็นเรื่องโลภมากแต่ประการใดๆเลย สมัยนี้คนหากลำบากแล้วจะคิดผิดไปเป็นโจรก็มีมาก คนปกติหากฐานะดีๆเขาคงไม่เป็นกัน ดังนั้นจึงควรอธิษฐานได้ เช่น ขอให้อยู่ในฐานะการงานการเงินที่ดีพร้อม มีความคล่องตัวอย่างต่อเนื่องตลอดไปจนเข้าสู่พระนิพพาน
    *** ดังนั้น ทานอิงอามิสที่ทำด้วยใจบริสุทธิ์สูงๆคงมีคุณค่าพอๆกับทานภายในด้วยครับเพราะมันออกมาจากใจภายในเช่นเดียวกัน และทำไปต้องไม่หวังเอาหน้าตา หวังลาภสักการะ... จึงไม่ต้องไปแยกอะไรมากกว่านี้แล้ว แต่ขอให้ใจเราบริสุทธิ์มากๆเวาลให่ทาน หรือภาวนาก็เป็นพอ
    *** โมทนากับคำถาม แต่ทำความดีเมื่อคิดดีแล้ว ก็พึงอย่าย้อนกลับมาสงสัย มิฉะนั้นจะไม่ก้าวหน้าในความดีระดับสูงๆต่อๆไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  12. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,595
    ค่าพลัง:
    +6,346
    การให้ทานใคร ๆ ก็ให้ได้ ส่วนใหญ่บางทีการให้ทานก็มีกิเลสปะปนอยู่ (ทำบุญ 20 บาท อธิษฐานขอนู้นนี้ขอนั้น) การให้ทานจึงไม่สะอาดพอ คนดี คนชั่ว ก็ทำทานได้เหมือนกันแต่ไม่ได้หมายความว่าจิตใจจะต้องดีไปหมด บุญสูงของจำพวกทานคือ การให้อภัยทาน มันทำยากมาก ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ดูจากรัฐบาลเก่าและใหม่ทั้ง ๆ ควรคิดถึงคนในชาติประเทศชาติ ปาก ท้อง แต่กลับไม่ต้องการคิดจะเอาชนะกันและกันจ้องจะทำร้ายกัน มีทิฐิสูง และเมื่อไรประเทศชาติจะสงบ ดั่งคำว่าไทยนี้รักสงบ....

    การทำสมาธิเจริญภาวนานี้ต้องควบคู่กับการมีศีล 5 ศีล 8 ถึงจะเจริญภาวนาสมาธิ (เปรียบเหมือนว่าขับรถก็จะต้องมีล้อรถคู่กัน) สอนให้รู้กำหนดรู้จิต สติ ปัญญา จิตใจมีความสงบ แม้เจอเรื่องหนัก ๆ เข้ามามากในชีวิต ก็สามารถยืนและแก้ปัญหาบนกองทุกข์นั้น ๆ ได้ เพราะมีสติ ปัญญา ช่วยการข่มกิเลส และสามารถปล่อยวางทุกข์เพื่อเข้าสู่นิพพานได้ครับ
     
  13. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,984
    เพราะเป็นกำลังแห่งความดีขั้นสูงครับ..

    และสามารถดึงพลังงี้แผ่ไปให้คนอื่นได้ง่าย และมาก หากภาวนาได้ดีแล้ว

    อย่างเช่นครูบาอาจารย์ท่าน .. ใครแค่เห็นหน้าก็รู้สึกปีติ เป็นบุญ ทำให้เรานึกถึงบุญ...

    รวมทั้งสามารถทรงกำลังบุญได้นาน มีความแน่นอนในความดี ผันกลับไปสู่มิจฉาทิฏฐิได้ยาก
     
  14. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    44,324
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,039
    เพราะตรงกับจุดประสงค์ของพระองค์ที่จะให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากวัฎฎะสงสาร ทานและศีลยังไม่พ้น ต้องภาวนา อนุโมทนาสาธุจขกท ค่ะ ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...