ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ใฝ่ร้อน-นอนเย็น

    ใฝ่ร้อน-นอนเย็น
    โบราณว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2008
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    พุทธมงคลคาถา

    สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ ..................นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
    โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ ...............อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
    สารีปุตโต จะ ทักขิเณ .....................หะระติเย อุปาลี จะ
    ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท .....................พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
    โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร .................อิสาเณปิ จะ ราหุโล
    อิเม โข มังคะลา พุทธา ..................สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
    วันทิตา เต จะ อัมเหหิ ....................สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
    เอเตสัง อานุภาเวนะ .....................สัพพะโสตถี ภะวันตุ โนฯ
    .......อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
    ........นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
    .......ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
    .......ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ


    ...................................คำแปล

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ประทับนั่งอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ประกอบด้วย
    ๑.พระอัญญาโกณฑัญญะ อยู่ด้านทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
    ๒.พระมหากัสสปะ อยู่ด้านทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
    ๓.พระสารีบุตร อยู่ด้านทิศทักษิณ (ทิศใต้หรือด้านขวา)
    ๔.พระอุบาลี อยู่ด้านทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)
    ๕.พระอานนท์ อยู่ด้านทิศปัจจิม (ทิศตะวันตกหรือด้านหลัง)
    ๖.พระคะวัมปะติ อยู่ด้านทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
    ๗.พระมหาโมคคัลลานะ อยู่ด้านทิศอุดร (ทิศเหนือหรือด้านซ้าย)
    ๘.พระราหุล อยู่ด้านทิศอิสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ผู้เป็นมิ่งมงคลทั้งปวงนี้แล ได้ประทับนั่งและประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้แล้ว
    ข้าพเจ้าขอกราบนมัสการและบูชาพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกทั้งหลายเหล่านี้ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลาย
    ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกทั้งหลายเหล่านี้ ขอความสวัสดีทั้งปวง จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
    ข้าพเจ้านมัสการพระรัตนตรัย ที่ควรนมัสการอย่างสูงสุด ดังกล่าวฉะนี้แล้ว ขอได้โปรดได้ ซึ่งบุญที่หลั่งไหลไพบูลย์
    ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยดังกล่าวนี้ ขออันตรายทั้งปวง จงอันตรธานหายสิ้นไป เทอญ.
    (แปลโดย : พระศรีวิสุทธิเมธี (เชษฐา ฉินฺนาลโย ป.ธ. ๙ , Ph.D.)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2008
  3. เทพารักษ์

    เทพารักษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +980
    ร่วมทำบุญเพิ่มค่ะ

    เดือนนี้ร่วมทำบุญเพิ่ม 500 บาท โอนไปเรียบร้อยแล้วค่ะ
    ****************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 500.jpg
      500.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.7 KB
      เปิดดู:
      179
  4. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]
    "ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้
    ตถาคตเป็นแค่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง
    ทางมีอยู่ เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง"


    สาธุ สาธุ สาธุ
    น้องโอ๊ต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2008
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญนะครับคุณเทพารักษ์และท่านอื่นๆด้วยครับและขอขอบคุณน้องโอ๊ตด้วยนะครับที่หาสิ่งที่ดีมีประโยช์ในทางธรรมมาให้ได้อ่านและรับทราบกัน
    "สัพพทานัง ธรรมทานัง ชินาติ"
    ให้ธรรมนะดีที่สุดเลยครับแต่ต้องควบคู่กับการปฏิบัติสมาธิด้วยก็ยิ่งดีใหญ่จะได้ครบถ้วนดังที่พระพุทธองค์ท่านต้องการให้เราเดินในหนทางที่ถูกต้อง
    เริ่มคิด เริ่มทำกันเสียแต่ตอนนี้ก็ยังมีเวลา ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ
    ไม่นานก็จะเกิดความชำนาญขึ้นเอง แล้วเราจะได้รู้ ได้พบกับความสงบเงือกเย็นในธรรม

    ท่านใดที่มีบทความ เรื่องราวธรรมดีๆก็เรียนเชิญโพสมาได้นะครับ จะได้เป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    ปล.คุณพันวฤทธิ์ สุขภาพตอนนี้ก็เกือบจะปกติแล้วล่ะครับ ก็ขอขอบพระคุณทุกๆท่านนะครับที่เป็นห่วงห่วงใย และสอบถาม
    กันมา
     
  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    เนื่องจากที่คุณพันวฤทธิ์ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต เลยทำให้บทความธรรมะจากท่านเจ้าคุณโชดกต้องขาดหายไป ดังนั้นคุณพันวฤทธิ์จึงเป็นห่วงเรื่องนี้เลยขอให้ผมช่วยนำมาเสนอต่อให้หน่อย วันนี้จะขอนำเสนอธรรมะจากท่านเจ้าคุณโชดกในตอนที่ 4 มาต่อกันนะครับ ธรรมะของท่านเจ้าคุณเป็นธรรมะที่สุงและเป็นอกาลิโก มีดังนี้ครับ

    การเจริญวิปัสสนา เพื่อมีดวงตาเห็นธรรม ๔ (เจ้าคุณโชดก)

    <!--Main-->บางท่านอาจจะสงสัยต่อไปว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดมีสติเลื่อนลอย หรือฟั่นเฟือน หรือเป็นบ้าหรือไม่ เพราะการปฏิบัตินั้นเป็นการเคร่งเครียดอยู่มาก คือ ต้องมีสติกำหนดไปทุกอิริยาบถ หรือทุกขณะจิต ในเรื่องนี้ ขออธิบายว่า การที่คนเราจะมีสติฟั่นเฟือน หรือเลื่อนลอยนั้น ก็เพราะสติเสียหรือเสียสติ แต่ในการกำหนดนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ สติจะเสียไปไม่ได้ นอกจากไม่ใช้สติ แต่ถึงแม้ว่าสติเกิดเลื่อนลอยขึ้น เมื่อได้ใช้สติกำหนดแล้ว ความมีสติจะกลับคืนมาทันที

    มีปัญหาต่อไปว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ทำให้ได้อะไรมาบ้าง และจะมีอะไรเสียบ้างหรือไม่

    ผู้ที่ไม่รุ้ว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร ก็จะคอยมองดูว่าผู้ที่เข้าไปเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะเป็นอย่างไรต่อไป จะยังมีสติอยู่หรือ หรือว่าได้กลายเป็นคนแก่วัดไป หรือไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวอะไรกลับมา ส่วนผู้ที่รู้ว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานคืออะไร แต่ยังสงสัยในวิธีปฏิบัติว่า จะไม่ใช่ทางที่นำไปสู่มรรค ผล นิพพาน หรือไม่รู้จริงว่า ผลแต่ละขั้นตอนของผุ้ที่ผ่านการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาแล้ว มีอยู่อย่างไร ก็จะคอยเฝ้าสังเกตความเป็นอยู่ของผู้ที่กลับออกมาจากการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่า ได้ผิดแปลกไปจากเดิมอย่างไร และเมื่อได้เห็นปกติภาพของผู้นั้น ก็คิดเอาว่าวิธีปฏิบัติคงจะต้องเปลี่ยนแปลงไปจากคนธรรมดาสามัญ จะต้องไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง จะต้องละทางโลกทั้งสิ้น หันเข้าหาทางพระอย่างเดียว บางคนอาจคิดเลยไปว่า ครอบครัว ลูกเมีย จะต้องไม่เกี่ยวข้อง ต้องอยู่อย่างสันโดษ แท้จริงจึงจะเรียกว่า ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน แต่ทั้งนี้เป็นเรื่องของความนึกคิดไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องคิดเอาเองทั้งสิ้น ผู้ที่จะตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ปราศจากโลภ โกรธ หลง และละทางโลกอย่างเด็ดขาดนั้น มีแต่ผู้ที่บรรลุอรหัตตมรรคผลขั้นต่ำ เป็นพระโสดาบัน หรือพระสกทาคามี หรือพระอนาคามีนั้น ยังมีกิเลสเหลืออยู่เป็นส่วนๆ แต่กิเลสนั้นเบาบางตามขั้นของอริยบุคคลนั้นๆ แต่ถึงอย่างไร ก็มีจิตใจสูงเหนือปุถุชนคนสามัญอย่างแน่นอน

    บางท่านอาจจะคิดว่า บุคคลผู้นั้นผู้นี้ก็ได้ผ่านการเจริญวิปัสสนามาแล้ว แต่เหตุไฉน จึงยังมีความโกรธ หรือความอยากอยู่ หรือยังมีนินทากันอยู่ ดูจะสู้คนธรรมดาสามัญก็ไม่ได้ ข้อนี้ต้องแล้วแต่ชั้นของอริยบุคคล และแล้วแต่กิเลสที่มีอยู่เดิม แต่เป็นของแน่ว่ากิเลสโดยทั่วไปต้องลดน้อย และผู้ใกล้ชิดเท่านั้นที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน ฉะนั้น เราอย่าหวังมากเกินไปในบุคคลที่ผ่านการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาแล้ว เราต้องหวังตามชั้นหรือฐานะของแต่ละตน เปรียบเหมือนผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี เราจะเกณฑ์ให้มีความรู้ถึงปริญญาเอก ย่อมเป็นการหวังที่พ้นวิสัย และเป็นการวินิจฉัยหรือลงโทษคนผิดพลาดอย่างน่าเสียใจยิ่ง เพราะเป็นการวินิจฉัยที่ผิดทั้งในตัวบุคคลที่ปฏิบัติ และในสถานที่เจริญวิปัสสนากรรฐานที่ผู้ปฏิบัติได้เข้าไปสู่


    บางท่านเมื่อได้ทราบว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐานคืออะไร แล้วก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสอยากเข้าไปปฏิบัติบ้าง แต่เกรงว่า เมื่อได้ผ่านการปฏิบัติไปแล้ว จะกลายเป็นคนดีเกินไป กลัวไปว่า จะต้องเลิกเกี่ยวข้องกับลูกเมีย หรือเบื่อหน่ายในโลกียสุข หรือจะทำหน้าที่การงานที่เคยทำอยู่ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้ครอบครัวได้รับความลำบาก เป็นการเอาตัวรอดคนเดียว หรือจะต้องเลิกคบค้าสมาคมเพื่อนฝูง หรือจะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน หรือประเทศชาติไม่ได้สมความตั้งใจที่มีอยู่ เพราะปราศจากความทะเยอทะยานเสียแล้ว ที่เกรงกลัวไปเช่นนี้ ก็เพราะยังไม่รู้แจ้งว่าผลอันแท้จริงของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีอยู่อย่างไรนั่นเอง ถ้ารู้จริงแล้ว ความเกรงกลัวเหล่านี้ จะไม่เกิดมีขึ้นได้เลย<!--End Main-->

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[SIZE=-1]Last Update : 21 กรกฎาคม 2550[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=taken&month=07-2007&date=21&group=1&gblog=7


    สำหรับท่านใดที่ประสงค์จะบริจาค สำหรับการทำบุญในเดือนมกราคม 51 ขอเชิญได้เลยครับ โดยการบริจาคเข้า บัญชี "ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร"(pratom foundation) บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส) บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9

    บริจาคเสร็จก่อนนอน หรือเวลาที่ว่างจากภารกิจการงานนำ
    สลิปที่โอนพนมมือตั้งจิตอธิษฐานไว้ที่ลิ้นปี่ หยุดใจไว้นิดนึง อธิษฐานให้บุญบารมีที่ได้โอนเงินค่ารักษาโรคาพาธ และซื้อเลือดบริจาคให้พระสงฆ์ที่เจ็บป่วยไข้นี้ หากแม้นมีผลบุญเกิดขึ้นเท่าใด ขอโมทนาบุญนั้นให้แก่บิดาและมารดาครูอุปัฌาย์อาจารย์ผู้มีคุณญาติพี่น้องบุตรภรรยาทุกๆ ภพทุกๆ ชาติให้ได้รับผลบุญร่วมกับเรา รวมถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย และขอฝากบุญนี้ไว้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามพระกกุธสันโธ ให้โมทนาบุญให้เรามีสุขภาพแข็งแรง ได้พบแต่สิ่งที่ดี และมีดวงตาเห็นธรรมได้โดยง่าย ด้วยพระฉัพพรรณรังสี พระบารมีแห่งพระองค์ขอจงได้แผ่เมตตามายังข้าพเจ้าด้วยเทอญ.....
    สาธุ สาธุ สาธุ
    <!-- / message -->
     
  7. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  8. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>​
    หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เจ้าของวิชาเบี้ยแก้อันลือลั่น (พระอาจารย์หลวงปู่รอดวัดนายโรง)


    ประวัติหลวงปู่แขก
    หลวงปู่แขก (มรณภาพประมาณปี พ.ศ. 2466 อายุขณะมรณภาพประมาณ 80 ปี) เป็นอดีตเจ้าอาวาส รุ่นที่ ๒ต่อจากสมภารพราหมณ์(หรือพรหม)วัดบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร วัดบางบำหรุเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ตำบลบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ด้านฝั่งธนบุรี (อยู่หลังเซ็นทรัลปิ่นเกล้า) วัดนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเคยมีการขุดพบพระเครื่องจากเจดีย์ใกล้วิหารเก่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาศิลปะ สมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น บริเวณวัดอยู่ต่อกับวัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) และใกล้วัดนายโรง หลวงปู่แขก นั้นเป็นพระเกจิยุคเก่าที่แก่กล้าในพระเวทย์ วิทยาคม และโด่งดังในแถบย่านบางบำหรุและท่านเป็นพระอาจารย์ของสมภารฉาย (เจ้าอาวาสลำดับต่อจากหลวงปู่แขกและสมภารฉายเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อรัตน์ สุมโน) หลวงปู่แขกเป็นพระร่วมสมัยเดียวกับพระปลัดทองซึ่งพระอาจารย์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว แต่เนื่องจากประวัติของหลวงปู่แขก นั้นมีการจดบันทึกไว้น้อยมากประกอบกับท่านสร้างวัตถุ มงคลไว้ไม่มากและไม่ได้แพร่หลายไปยังพื้นที่ต่างๆ ประวัติของท่านจึงถูกลืมเลือนไปตามกาลสมัยที่ผ่านมายาวนาน ทำให้ปัจจุบันมีผู้ทราบประวัติและรู้จักท่านน้อย จากคำบอกเล่าของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) อดีตเจ้าอาวาส วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) ​
    เขตบางกอกน้อย ซึ่งเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ขณะท่านอายุ 97 ปี พรรษา 71 ว่า หลวงปู่รอด วัดนายโรง(ปรมาจารย์ทางเบี้ยแก้อันโด่งดัง) ได้เล่าให้ท่านฟังว่า หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เป็นพระที่มาจากนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และหลวงปู่รอดได้ศึกษาวิชาเบี้ยแก้จากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ ขณะที่หลวงปู่แขกมาอยู่ที่วัดบางบำหรุนั้น ท่านเป็นพระมาแล้วโดยได้ธุดงค์มาจากนครชัยศรี พื้นเพหลวงปู่แขกเป็นชาวอยุธยาเป็นสหายกับพระปลัดปาน วัดตุ๊กตา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว) และพระปลัดทอง วัดกลางบางแก้ว (วัดคงคาราม) จังหวัดนครปฐม (พระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์ ซึ่งสอนวิชาการต่างๆ และวิชาอาคมให้หลวงปู่บุญ) ส่วนหลวงปู่แขกจะมาธุดงค์มาจากวัดตุ๊กตา หรื อ วัดกลางบางแก้วนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด พระปลัดปาน พระปลัดทองและหลวงปู่แขกนั้นเป็นสหายกันหรืออาจเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน​

    1.
    เบี้ยแก้เป็นเครื่องรางที่ใช้ติดตัวเมื่อเดินทางไปในป่าในดงเพื่อป้องกันไข้ป่า ภูตผีไพร สัตว์เขี้ยวสัตว์ร้ายต่างๆ และยังป้องกันคุณไสย มนต์ดำ และยังถือว่าเป็นเครื่องรางเมตตามหานิยมอีกด้วย และเบี้ยแก้นั้นปรากฎหลักฐานว่ามีการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แล้ว การทำเบี้ยแก้นั้นหากจะแยกก็พอที่จะแยกออกเป็น 3 สายคือ วัดกลางบางแก้ว วัดนายโรง และสายจังหวัดอ่างทอง โดยสายวัดกลางบางแก้วเท่าที่มีการสืบค้นพบว่ามีหลวงปู่ทอง พระอาจารย์หลวงปู่บุญเป็นผู้สร้างเบี้ยแก้แล้วสืบต่อมายังหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ผู้เป็นศิษย์ ส่วนสายวัดนายโรง เท่าที่สืบค้นพบว่ามีหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ ย่านบางกอกน้อยเป็นผู้สร้างเบี้ยแก้แล้วสืบต่อมายังหลวงปู่รอด วัดนายโรง และ หลวงปู่รอดได้ถ่ายทอดวิชาทำเบี้ยให้แก่หลวงพ่อม่วง วัดคฤหบดี นอกจากนี้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีท่านก็รับถ่ายทอดได้วิชาทำเบี้ยแก้สายหลวงปู่รอดเช่นกันแต่ท่านมิได้ทำแพร่หลาย​
    เมื่อพิจารณาลักษณะของเบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้ว และสายวัดนายโรง พบว่า การสร้างเบี้ยแก้ของสายวัดกลางบางแก้ว และสายวัดนายโรง นั้นคล้ายคลึงกันมาก จนเชื่อได้ว่า ตำราการสร้างเบี้ยแก้ทั้งของหลวงปู่บุญ และหลวงปู่รอด น่าจะมาจากแหล่งเดียวกันก็เนื่องจากหลวงปู่แขก อดีตเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุนั้นได้ธุดงค์มาจากนครชัยศรี และเป็นสหายหรืออาจเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับหลวงปู่ทอง ส่วนสายอ่างทอง นั้นพระอาจารย์ใหญ่สายนี้น่าจะเป็นหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จังหวัดอ่างทอง หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ และหลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ ปัจจุบันสายวัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เจือ ปิยสีโล ยังคงสร้างเบี้ยแก้อยู่ ส่วนสายหลวงปู่รอด นั้น เมื่อหลวงพ่อม่วงได้มรณภาพลงแล้วก็ไม่ปรากฎการทำเบี้ยแก้อีก ส่วนสายอ่างทองนั้น ก็ยังคงการทำเบี้ยแก้อยู่เช่นเดียวกัน​
    (ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือเซียนของขลัง เขียนโดย รศ. กมล ฉายาวัฒนะ พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2549 ​

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>​
    2.
    ประวัติหลวงปู่รอด วัดนายโรง ปรมาจารย์ทางเบี้ยอันลือลั่น
    หลวงปู่รอด มีชาติภูมิเป็นชาวบางพรหม อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เดิมหลวงปู่รอด อุปสมบทที่วัดเงิน (วัดรัชฏาธิษฐาน ) ในคลองบางพรม เข้าใจกันว่า ก่อนที่จะย้ายไปอยู่วัดนายโรง ​
    (วัดสมัชชผล) หลวงปู่รอดได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางบำหรุด้วย และท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่แขก เพื่อศึกษาสรรพวิชาต่างๆ และที่โดดเด่นคือวิชาเบี้ยแก้ต่อมาหลวงปู่รอด จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรง จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของวัดนายโรง และเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ทำการอุปสมบทให้แก่กุลบุตร นับแต่ชั้น พ่อ ลูก หลาน ของแต่ละตระกูลในแถบย่านคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ ตลิ่งชัน บางระมาด บางพรม บางกรวย บางใหญ่ บางคูเวียงจึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก ​
    หลวงปู่รอดเป็นพระเถระที่สำคัญองค์หนึ่งในย่านคลองบางกอกน้อย เป็นพระเถระ​
    ที่เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ และมีเกียรติคุณเป็นพิเศษในทางพุทธาคมและเวทย์วิทยาคม ​
    โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ซึ่งมีการเล่าขานกันว่าวิชาอาคมของท่านสามารถเสกเบี้ยแก้ให้คลานเองได้ และบริกรรมคาถาให้ปรอทเดินเข้าไปในเบี้ยแก้ได้เองโดยไม่ต้องใช้แรงคนกรอกเข้าไปเลย​

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>​
    3.
    พระกรุของหลวงปู่แขก ของดีที่หลายท่านยังไม่ทราบ
    เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 ทางวัดบางบำหรุได้มีการปรับพื้นที่เพื่อจะจัดงานเจริญพระพุทธมนต์ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2550 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา ขณะปรับพื้นที่ได้รื้อฐานเจดีย์เก่าแก่ที่หักมานานแล้วออกพบช่องสี่เหลี่ยมมีช่องที่ฐานเจดีย์พบพระเครื่องขนาดเล็กคลุกอยู่กับดินในช่องสี่เหลี่ยมดังกล่าวเมื่อนำพระออกจากกรุทั้งหมดได้พระจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ชำรุดแตกหักคงเหลือสภาพดีประมาณ 1,000 กว่าองค์ ตามหลักฐานของเจดีย์ปรากฏว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยหลวงปู่แขก พระเครื่องนี้มีลักษณะเป็นพิมพ์ตุ๊กตาขนาดเล็ก (พิมพ์คล้ายพระวัดพลับ) ซึ่งหลวงปู่แขกสร้างบรรจุไว้ก่อนปี พ.ศ. 2466​
    พระเครื่องที่พบมี 3 พิมพ์คือ เล็ก กลาง ใหญ่ แต่พิมพ์กลางมีน้อยมาก เนื้อที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ ส่วนที่เป็นเนื้อสีแดงมีจำนวนน้อย วัดบางบำหรุจึงนำออกทำบุญเฉพาะเนื้อสีดำ พิมพ์ใหญ่ประมาณ 800 กว่าองค์ บุชา องค์ละ 999 บาท พิมพ์เล็กประมาณ800 กว่าองค์เช่นกันบูชาองค์ละ 599 บาท ​
    วัตถุประสงค์ที่เปิดให้บูชาเพื่อรวบรวมจตุปัจจัยบูรณะปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดบางบำหรุ
    บูชาได้ที่วัดบางบำหรุ หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดกับวัดบางบำหรุ​
    ได้ที่ เบอร์โทร. 02 4244486 และ081 9811319​

    ไม่ธรรมดานะครับหลวงพ่อแขกนี่น่ะ ก็แม้แต่
    พี่ใหญ่ยังบูชาไว้เลย "ท่านเก่งมากๆๆ พระของท่านใช้ได้ครบทุกอย่างรวมทั้งโชคลาภอีกด้วยลองเอาไปบูชาดูแล้วจะรู้"
    และที่สำคัญยังได้ช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดบางบำหรุอีกด้วยนะครับ
    ต้องขอความกรุณารบกวนท่านที่ได้โอนเงินหรือบริจาคเงินเข้าทุนนิธิฯว่าให้ช่วยแจ้งให้ทราบทางกระทู้หรือจะ PM มาที่ผมก็ได้นะครับ ท่านใดที่ PM มาทางคุณโสระช่วยแจ้งมาทางผมด้วยนะครับเพราะตอนนี้คุณโสระไม่อยู่เดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย ประมาณ 10 วัน ผมจะได้บันทึกเป็นหลักฐานในการรับเงินจากทางท่านผู้บริจาคและจะได้นำมาแสดงในกระทู้ต่อไปได้ถูกต้อง กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2008
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    สวัสดีปีใหม่และกราบขอบพระคุณและโมทนาในบุญกุศลที่คุณ Chaideerek ได้กระทำมาดีแล้วด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ทิม อิสริโก แห่ง วัดละหารไร่ จ.ระยอง

    พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ทิม เรื่อง "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

    "นะโม ตัสสะ ภะคำวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"(3จบ)
    มาบัดนี้อาตมาใคร่แสดงธรรมสั่งสอนของพระพุทธองค์ เพื่อที่ทุกท่านจะได้นำไปใช้ดำเนินในชีวิตให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าท่านเป็นศาสดาเอกของโลก ท่านรู้เอง เป็นอนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ คือเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่านี้อีกแล้ว และเราทำไมไม่ตั้งใจรำลึกถึงพระองค์บ้าง วิธีรำลึกถึงพระองค์ ก็ให้หลับตาภาวนา พุทโธ ๆ ๆ ๆ เพราะพุทโธ เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หลับตาให้เห็นรูปพระพุทธเจ้าให้อยู่ในใจเราตลอด อย่าพะวักพะวงไปที่อื่น ถ้าหากจิตนึกไปอยู่ในกาม รูป เสียง กลิ่น รส แสดงว่าจิตนั้นยังติดอยู่ในกิเลส สมาธิก็หาเกิดไม่ ความนิ่งเฉยก็ไม่มี เมื่อจิตนั่งเป็นสมาธิแล้วก็ให้คิดซิว่า วันนี้เราทำอะไรไว้บ้าง ดีหรือชั่วอย่างไร ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ความดีความชั่วในใจนั่นเอง เมล็ดมะม่วงกว่าจะโตขึ้นเป็นต้นมะม่วง เมล็ดมะปรางกว่าจะโตเป็นต้นมะปราง เมล็อของต้นอะไรโตขึ้นก็เป็นต้นไม้อย่างนั้น บุญและบาปเป็นสิ่งหนึ่งที่คอยควบคุมให้ทุกอย่างเป็นไปได้เช่นกัน เป็นสิ่งที่เป็นวิญญาณคอยควบคุมโชคชะตาของมนุษย์ ฉะนั้นทำความดีไว้เถิด ไม่เสียหายอะไร ทำไปเถิดเดี่ยวได้ผลตอบแทน ไม่ต้องรอถึงชาติหน้าแล้ว ชาตินี้ก็เห็น แต่ถ้าเราคิดว่า ทำความดีแล้ว ต้องได้อย่างโน้นอย่างนี้ หรือทำบุญ 10 บาท ก็ขอให้ถูกหวย ล้านบาท ก็เป็นไปไม่ได้ เราทำความดี อย่าไปคำนึงถึงผลตอบแทน ทำไปเถิดถ้าคิดว่าสิ่งนั้นทำไปแล้วเราสบายใจ ถึงแม้ว่าเรายังไม่ได้ผลตอบแทนในตอนนี้ แต่เราก็ได้ความสบายใจไม่ใช่หรือ ? เมื่อใจสงบ นิ่งเฉย สมาธิก็เกิด ความอิ่มเอมในจิตใจก็ดีขึ้น ปัญญารอบรู้ก็เกิด ทำให้สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ต้นไม้พันธุ์ดี แต่ถ้าปลูกในที่ซึ่งไม่เหมาะกับพันธุ์อย่างนั้น ต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดหรือเกิดแต่ไม่สวยไม่งาม ไม่มีผลมาก เช่นเดียวกับคนดี ถ้าอยู่ผิดที่ก็อาภัพได้ ความดีไม่ให้ผลเท่าที่ควรจะให้ หรือคนดีร่างกายไม่สมประกอบ ก็อาจจะน้อยใจไม่ประกอบความดีก็ได้ หรือคนดีบางคน ถ้ายังไม่ถึงที่ความดีจะให้ผลดีก็เหมือนต้นไม้ที่ยังไม่ถึงเวลาจะมีผล คนดีนั้นก็อาภัพ หรือนัยหนึ่ง คนดีบางคน หากความดีไม่สมบูรณ์เช่นมีแต่ความซื่อ แต่ความฉลาดไม่มี มีแตความขยัน แต่ไม่รู้จักกาละเทศะ อะไรต่าง ๆ ทำนองนี้คนดีนั้นก็อาจอาภัพได้เช่นกัน เพราะแต่ละคนที่สร้างความดีขี้นมานั้น ไม่ใช่ว่าเขาจะทำดีทุกครั้ง ส่วนมากคนเราเวลาทำความดีมักจะแทรกความชั่วลงไปด้วย ทำให้เชื่อไม่ได้ว่า คนที่มีบุญจำเป็นต้องมีร่างกายดีเสมอไป ร่างกายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ตายแล้วเกิดเอาใหม่ได้ แต่ความดีที่มีอยู่ในวิญญาณนั้น ถ้าหมั่นประกอบความดีอยู่เสมอความดีนั้นจะไม่ตาย จะต้องยั่งยืนแน่นอน ถึงไม่ให้ผลตอนนี้ วันหนึ่งก็ต้องให้ผลอย่างแน่นอน ทำไปเถิดความดี คนเราไม่มีใครรู้ความตายได้ ถ้ารู้ความตาย ทุกคนก็ต้องเกรงกลัวต่อบาป หรือถ้ามีใครสามารถฝึกตนเองจนรู้ถึงนรก ไปเห็นความไม่สวยงามในนรก อาจจะเกิดความกลัว ไม่ทำในสิ่งที่ผิดได้ จงทำมันซะเดี๋ยวนี้ซิ ทำมันไปได้ประโยชน์แน่นอน และพยายามฝึกจิตใจให้สงบ แผ่เมตตาไว้ ทำใจให้เป็นสมาธิ สมาธินั้นเราสังเกตุได้ 3 ทาง คือ นิ่ง เฉย เงียบ แต่จะเงียบแบบคนตายแล้วนั้น มักจะเงียบไปเฉพาะชาตนี้ ชาติต่อไปก็ไม่เงียบ มันก็เกิดอีก เพราะจิตมันมาเกิดอีก มันอยากได้ อยากดี อยากอยู่ตลอดเวลาเราทุกคนที่ใจกำลังคิดทำความดีนั้น ทำไปเถิด ความดีนั้นแหละ ดีแน่ ๆ แต้ถ้าใจตอนนี้กำลังคิดจะทำความชั่ว ก็ให้รีบงดเสียเถิด จะปล่อยให้เวลาที่คิดนั้น ล่วงเลยไป อย่าลืมว่า เวลาเป็นสิ่งไม่แน่นอน แต่ความดีหมั่นทำไว้เสมอนั้นแน่นอน ตายแล้วก็พาเอาความดีติดตามไปถึงชาติหน้าได้อีก คนที่ซึ้งในคุณค่าของความดีจริง ๆ เขาจะรอคอยจนกว่า จะถึงเวลาที่ความดีจะให้ผลได้เสมอ ตรงกันข้ามคนชั่วที่ฉลาดในการปกปิดความชั่วของตนจนคนอื่นไม่รู้ หรือรู้แต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ชีวิตของเขาจะรุ่งเรืองอยู่เสมอ คนอย่างนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยในกลุ่มของคนที่มีการเรียนดี แต่เราอย่าท้อถอย จงเชื่อว่าความชั่วที่สะสมไว้ทุก ๆ วันนั้น มันก็จะมากขึ้นเป็นอันดับ ซึ่งในวันหนึ่ง ความชั่วนั้นจะต้องปรากฏออกมาให้ผู้อื่นรู้ แต่คนที่มีนิสัยเลวร้ายไม่นึกถึงความดี มัวแต่นึกถึงความชั่วที่คนอื่นกระทำได้ผลดีแล้ว โดยไม่นึ่กผลร้ายที่จะเดินมาสู่ทีหลัง เวลาเขาจับได้ก็หาว่าเขาโง่ หรือตัวเองฉลาดกว่าเขา หารู้ไม่ว่า ตัวเองหลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลา อาตมาขอยืนยันว่า คนที่ไม่ถูกหลอกเลย มีประเภทเดียว คือ คนที่ยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นคนโดยมาก ถ้าเก่งในทางไหน มักจะพูดตัวเองในทางนั้น ซึ่งบางทีก็พูดมาก จนคนอื่นรำคาญหรือเหตุที่ตัวเด่นในทางนั้นจริงเลยเกิดเข้าใจผิดคิดว่า ความดีของคนอื่นซึ่งไม่เหมือนกับของตนไม่สำคัญ เขาไม่ยอมรับความดีของคนอื่น ไม่ยอมรับนับถือความดีในแง่อื่นมีคนถามว่า ทำไมคนชั่วถึงได้ดีอยู่เสมอ ตัวฉันทำความดีตั้งนานไม่เห็นใครเห็นเลย ขอให้พิจารณาให้ถ่องแท้ คนชั่วพวกนี้มักใช้ความดีเป็นฉากกำบังความชั่ว เมื่อตอนที่ทำความดี ความชั่วก็ยังไม่เกิดผล เมื่อความชั่วถูกสะสมบ่อย ๆ เข้า วันหนึ่งความดีก็อาจไม่คุ้มครองได้ ตอนนี้นแหละ ความชั่วก็จะต้องให้ผล หรือที่คนมักพูดกันว่า"เพราะบุญเก่ายังมีผลอยู่ ความชั่วในปัจจุบันจึงยังไม่สนอง แต่เมื่อบุญเก่าหมดเมื่อไหร่ บาปที่ทำไว้ก็จะให้ผลทันที"อาตมาภาพเองก็ได้พูดถึงเรื่องการทำความดีดีกว่าความชั่วให้ญาติโยมฟังมาก็นานพอควรแล้ว และเห็นว่าสมควรแก่เวลา และขอให้ญาติโยมที่นั่งฟังนี้ จงนำไปคิดเพื่อที่จะได้เป็นสิ่งที่ดีงาม สามารถนำไปใช้ในครอบครัวได้ ขอความสุขทั้งหลายจงมีแต่ญาติโยมทุกท่านเทอญ....เอวังก็มีประการฉะนี้แล.....

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] --></TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR class=text1><TD width="1%"></TD><TD class=bot1></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    สุบินนิมิตของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    เป็นเรื่องเล่าของหลวงปู่มั่นเกี่ยวกับสุบินและนิมิตต่างๆ ในสมาธิที่ท่านเห็น ซึ่งได้ความเพลิดเพลินที่แฝงธรรมอยู่ด้วย

    ณ ที่วัดเลียบเมืองอุบล หลวงปู่มั่นได้เพียรปฏิบัติภาวนามาอย่างไม่ลดละ การดำเนินจิตของท่านมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีนิมิตที่น่าสนใจสองครั้ง ครั้งแรก หลวงปู่เล่าว่า


    คืนหนึ่ง เราได้หลับไปแล้วแต่การหลับของเราขณะนั้นเหมือนจะตื่น เพราะเราต้องกำหนดจิตให้มีสติไว้เสมอ ท่านรู้สึกว่า

    ฝันไปว่าเดินออกจากบ้านเข้าสู่ป่าที่รกชัฏ พบต้นไม้ใหญ่ชื่อต้นชาด ถูกโค่นล้มอยู่กับพื้น กิ่งก้านผุพังแล้ว ท่านขึ้นไปยืนไปบนขอนต้นชาด มองไปข้างหน้าเห็นทุ่งกว้าง ทันใดมีม้าขาวมาหยุดอยู่ใกล้ๆ ท่านขึ้นไปนั่งบนหลังม้า แล้วม้าก็วิ่งผ่านทุ่งไปจนสุดพบตู้พระไตรปิฎกตั้งตระหง่านอยู่ ท่านไม่ได้เปิดตู้ดูแล้วรู้สึกตัวตื่น

    ท่านได้ทบทวนเรื่องที่ฝัน เกิดความรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติภาวนาของท่าน ภายหลังท่านได้ทำนายเหตุการณ์ที่ฝันให้ฟังว่า ที่ออกจากบ้านก็คือออกจากเพศฆราวาส ไปพบป่าชัฏแสดงว่ายังไปไม่ถูกทางจริงจึงต้องลำบากหนัก ที่ท่านได้ขึ้นไปบนขอนไม้ชาดที่ผุแล้วแสดงว่าชาตินี้อาจเป็นชาติสุดท้ายของท่าน เหมือนต้นชาดนั้นย่อมไม่สามารถงอกได้อีกแล้วท่านต้องแสวงหาต่อไป ทุ่งโล่งหมายถึงแนวทางที่ถูกต้องเป็นทางที่ไม่ลำบากนัก การได้ขี่ม้าขาวหมายถึงการเดินทางไปสู่ความบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว
    การพบตู้พระไตรปิฎกแต่ไม่ได้เปิดดูก็คือท่านคงไม่ถึงปฏิสัมภิทาญาณถ้าได้เปิดดูก็คงแตกฉานกว่านี้ เพียงได้ความรู้ถึงปฏิสัมภิทานุศาสน์สามารถสอนผู้อื่นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

    หลวงปู่ได้เร่งความเพียรหนักขึ้นได้เปลี่ยนวิธีการคือพอจิตดำเนินถึงขั้นสงบนิ่งแล้วแต่ไม่หยุดที่ความสงบนิ่งเหมือนแต่ก่อน ยกกายขึ้นพิจารณาเรียกว่ากายคตาสติ โดยกำหนดจิตเข้าสู่กายทุกส่วนทั้งยืน เดิน นั่ง นอน ให้จิตจดจ่อที่กายตลอดเวลาพิจารณาให้เป็นอสุภะจนเกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทาญาณ) บางครั้ง ขณะเดินจงกรมอยู่ปรากฏเดินลุยอยู่ข้างศพก็มี เหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏขึ้นเป็นเดือน ท่านว่าปรากฏปัญญาขึ้นมาบ้าง ไม่เหมือนทำจิตให้สงบอยู่อย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมาซึ่งได้แต่ความสุข ความอิ่มใจเฉยๆ ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความหวั่นไหวไปตามกิเลสอยู่ แต่การปฏิบัติในคราวหลังนี้ความรู้สึกหวั่นไหวได้ชะงักลง จึงปลงใจว่าน่าจะไปถูกทาง

    นิมิตครั้งที่สอง เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในช่วงต่อมา ได้เกิดนิมิตในสมาธิติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง ๓ เดือน วันหนึ่งหลวงปู่เกิดนิมิตในสมาธิว่า เห็นคนตายนอนอยู่ห่างจากตัวท่านราวหนึ่งศอก มีสุนัขกำลังกัดทึ้งซากศพ ดึงไส้ออกมาเคี้ยวกินอยู่ ท่านจึงกำหนดพิจารณาดูซากศพทุกส่วน กำหนดขยายส่วนต่างๆ ขึ้นพิจารณาจนเห็นเด่นชัด สามารถกำหนดขยายหรือย่อส่วนได้ตามต้องการ (เรียกว่าปฏิภาคนิมิต) ยิ่งพิจารณาไปจิตก็ยิ่งสว่างไสวปรากฏดวงแก้วขึ้นมา แล้วทิ้งการกำหนดอสุภะ มากำหนดเอาเฉพาะดวงแก้วเป็นอารมณ์

    วาระต่อไปได้ปรากฏนิมิตเป็นภูเขาอยู่ข้างหน้า ท่านกำหนดจิตขึ้นไปดูเห็นมีห้าชั้น เดินขึ้นไปจนถึงชั้นที่ ๕ พบบันไดแก้วแล้วหยุดอยู่ที่นั่น ไปต่อไม่ได้จึงเดินทางกลับ ท่านได้พบว่าท่านได้สะพายดาบและใส่รองเท้าวิเศษไปด้วยในทุกครั้งที่เกิดนิมิต ในครั้งต่อไปเมื่อทำสมาธิ ก็เกิดนิมิตและดำเนินไปเหมือนเดิม เดินไปถึงที่เดิมเห็นกำแพงแก้วเปิดประตูเดินเข้าไป พบพระนั่งสมาธิอยู่ ๒ - ๓ องค์ ท่านเดินต่อไปจนถึงหน้าผาสูงชัน เดินต่อไปไม่ได้จึงกลับทางเดิม

    ในครั้งต่อๆ ไป การทำสมาธิก็ดำเนินไปในแนวเดิมไปพบเห็นสิ่งต่างๆต่อไปเรื่อยๆ ครั้งหนึ่งได้สวนทางกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ) ท่านเจ้าคุณกล่าวเป็นภาษาบาลีว่า
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=big2 vAlign=bottom height=35>ว่าด้วยเรื่องของ!!! บุญ </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่า "คนไทยชอบทำบุญ แต่ไม่ชอบทำกุศล" กุศลในที่นี้ท่านหมายถึงความฉลาด คนเราต้องเรียนรู้ทุกวันจากทุกเรื่องให้ฉลาดขึ้น ฉลาดคือเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และเห็นแก่ตัวน้อยลง ถ้าเห็นแก่ตัวมากขึ้นแปลว่าโง่ลง
    ความเป็นมนุษย์หมายถึงการมีจิตใจสูงซึ่งเป็นจุดที่ต่างจากสัตว์ สัตว์ไม่มีบุญมีบาป มีแต่ทำไปตามธรรมชาติ บุญบาปจึงเป็นเรื่องของมนุษย์เท่านั้น บุญหรือปุญญะ คือความดี ความดีเป็นสมบัติของความเป็นมนุษย์ อีกคำหนึ่งที่หมายถึงความดีก็คือว่าจิตวิญญาณ มนุษย์ขาดความดีหรือจิตวิญญาณไม่ได้ มิฉะนั้นจะขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง ทุกวันนี้มนุษย์เป็นโรคพร่องทางจิตวิญญาณ ทำให้ขาดความสุขที่แท้ เมื่อพร่องก็ไปหาอะไรมาเติม เช่น ยาเสพติด ความฟุ่มเฟือย และความรุนแรง ซึ่งไม่ตรงกับโรค ปัญหาจะยังแก้ไม่ได้ถ้ามนุษย์ยังเป็นโรคพร่องทางจิตวิญญาณอยู่ การเติมจิตวิญญาณให้เกิดความสมบูรณ์ในตัวเองจีงมีความสำคัญยิ่ง

    ที่ว่า ฉลาด นี้คือรู้ว่าบุญคืออะไร ทำกับใคร และทำด้วยอะไร
    บุญ โดยความหมายที่ครอบคลุมหมายถึง การให้ การไม่เบียดเบียนและการ พัฒนาจิตให้ยิ่ง หรือ ทาน ศีล ภาวนา ทั้งหมดเพื่อลดความเห็นแก่ต้ว ทาน หมายถึงการให้ทั้งปวง เรามักแยกกันว่าให้พระหมายถึงทำบุญ ให้คนอื่น หมายถึงทำทาน แท้ที่จริงทานหมายถึงการให้ทั้งปวง และบุญหมายถึงความดีทั้งปวง คือ ทาน ศีล ภาวนา
    ให้ด้วยอะไร ให้ด้วยกาย วาจา ใจ และวัตถุสิงของอันไม่เป็นโทษการคิดเพื่อผู้อื่น เช่นว่า "ฉันจะทำอะไรให้ผู้อื่นได้บ้าง" ถือว่าเป็นปัญญาและบุญอย่างยิ่ง พูดเพื่อยังประโยชน์แก่ผู้อื่น กระทำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น และให้วัตถุสิงของอันไม่เป็นโทษ ถือเป็นทานทั้งสิ้น

    [​IMG] บุญที่แท้

    นไทยหายใจเข้าออกเป็นบุญ นึกถึงการทำบุญอยู่เสมอ ขาดบุญไม่ได้ แต่มักไม่เข้าใจความหมายของ " บุญ " อย่างเช่นเวลาพูดว่า "ทำบุญทำทาน" เรามักเข้าใจว่า ทำบุญ คือ ถวายข้าวของแก่พระสงฆ์ ส่วนทำทานคือ ให้ข้าวของแก่คนยากจน และยังเข้าใจจำกัดแต่เพียงว่าต้องทำกับพระสงฆ์เท่านั้นจึงจะเป็นบุญ

    บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือคุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์ คำว่า "ทาน" แปลว่า การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งป้นจะมอบของให้ใคร หรือจะถวายของให้ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงว่าได้บุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง
    ฉะนั้นเวลาพูดว่า ไปทำบุญทำทาน จึงหมายความว่าไปชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการแบ่งป้นสิ่งของ (ทานมัย) ซึ่งเป็นการแบ่งป้นให้ใครก็ได้ และการทำบุญก็ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆๆ แต่เพียงแค่การให้ทานบริจาคสิงของแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    หลวงพ่อพุทธทาสพูดถึงวิธีทำบุญ 3 แบบ ว่า เปรียบเหมือนกับบุคคล 3 ประเภท เอาน้ำ 3 ชนิดมาอาบชำระล้างตัวคือ

    ๑.บุคคลทำบุญเหมือนเอาน้ำโคลนมาอาบ คือคนที่ทำบุญด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนสัตว์ ฆ่าวัว ฆ่าควาย ฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ และเอาเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาจัดงานบุญเลี้ยงกัน รวมทั้งมีเลี้ยงสุรายาเมาด้วย จนบางครั้งเกิดการทะเลาะวิวาททำร้ายกัน เหล่านี้เป็นการทำบุญด้วยการทำบาป เหมือนกับเอาน้ำโคลนมาชำระตัว จะสะอาดได้อย่างไร

    ๒.บุคคลทำบุญเหมือนเอาน้ำเจือด้วยแป้งหอมมาอาบ คือคนที่ทำบุญด้วยอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นในบุญเป็นอย่างมาก เมาสวรรค์ เมาวิมาน เป็นการทำบุญด้วยกิเลสหรือความยึดติดอย่างรุนแรง ทำแล้วหวังผลเช่นนั้นเช่นนี้ เหมือนเอาน้ำที่เป็นเครื่องหอมมาอาบชำระกาย จะสะอาดได้อย่างไร

    ๓.บุคคลทำบุญเหมือเอาน้ำสะอาดมาอาบ คือคนที่ทำบุญด้วยใจสงบร่มเย็น ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้นว่าเป็นตัวเราของเรา (อาจจะมีบ้างเหมือนก้นแต่ไม่ได้เป็นเหตุจริงจังให้จิตฟุ้งซ่าน หวั่นไหว หรือยึดติดเป็นอุปาทาน) เหมือนคนเอาน้ำสะอาดมาอาบย่อมสะอาดกว่าบุคคล ๒ ประเภทแรก

    เราทำบุญแบบไหน หรือจะเป็นแบบไหน ต้องเลือกพิจารณาดูให้ดีๆๆ

    [​IMG] บุญ ๑๐ วิธี [​IMG]

    ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐(สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ

    ๑.ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิงของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ(ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคบ ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

    ๒.รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้องเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

    ๓.เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

    ๔.อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฎิบัติของบุคคลและสังคมอืน เป็นการลดความยึดมั่นถึอมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

    ๕.ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ(ไวยาวัจจมัย)

    ๖.เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วนทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

    ๗.ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น เป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนาในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

    ๘.ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ(ธรรมสวนมัย)

    ๙.แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)

    ๑๐.ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฎฐิ แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ก็เป็นบุญ (ทิฎฐุชุกรรม)

    คงจะดีที่สุด ถ้าเราช่วยกันทำบุญทุกรูปแบบ(บุญกิริยาวัตถุ ๑๐) เพื่อช่วยเหลือสังคมให้สงบสุข และดีไปด้วยพร้อมๆกัน
    [​IMG]
    จาก ฉลาดทำบุญ "พระชาย วรธมโม&พระไพศาล วิสาโล" เรียบเรียง (คพส.) โรงพิมพ์เม็ดทราย


    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net


    พระพุทธฉาย จ.สระบุรี

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    "อรหันต์"เหมือนกัน แต่"ไม่เหมือน"กัน?????

    พระสัมมาสัมพุทธะ พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
    [๓๘] บุคคลเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลาย ที่ตนมิได้เคยสดับมาแล้วในก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และบรรลุความเป็นผู้มีความชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธะ

    พระปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น
    [๓๙] บุคคลเป็นพระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ในธรรมทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า พระปัจเจกพุทธะ

    อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

    พระอัครสาวก หมายถึง สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม ในพุทธกาลนี้ได้แก่พระสารีบุตร (พระอัครสาวกเบื้องขวา เป็นเลิศทางด้านปัญญา) และพระมหาโมคคัลลานะ (พระอัครสาวกเบื้องซ้าย เป็นเลิศทางด้านฤทธิ์)

    เอตทัคคะ หมายถึง พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง
    See also เอตทัคคะตำแหน่งต่างๆ
    See also อสีติมหาสาวก

    พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ หมายถึง ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔
    ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน,
    ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

    พระฉฬภิญญะ หมายถึง ผู้ได้อภิญญา ๖
    อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
    ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
    ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

    พระเตวิชชะ หมายถึง ผู้ได้วิชชา ๓
    วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ
    วิชชา ๓ คือ
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
    ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น

    สุกขวิปัสสก หมายถึง พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] --></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  14. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    อ้างอิง:
    ต้องขอความกรุณารบกวนท่านที่ได้โอนเงินหรือบริจาคเงินเข้าทุนนิธิฯว่าให้ช่วยแจ้งให้ทราบทางกระทู้หรือจะ PM มาที่ผมก็ได้นะครับ ท่านใดที่ PM มาทางคุณโสระช่วยแจ้งมาทางผมด้วยนะครับเพราะตอนนี้คุณโสระไม่อยู่เดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย ประมาณ 10 วัน ผมจะได้บันทึกเป็นหลักฐานในการรับเงินจากทางท่านผู้บริจาคและจะได้นำมาแสดงในกระทู้ต่อไปได้ถูกต้อง

    ขออภัยนะครับที่ต้องเอามาลงอีกครั้งเพราะปรากฏว่ามียอดเงินที่โอนเข้า 2000 บาท ในวันนี้(9 ม.ค.)แต่ไม่ทราบว่าเป็นของท่านใดช่วยแจ้งมาทางกระทู้นี้หรือจะPMมาก็ได้นะครับ แต่ก็ต้องขอกราบขอบพระคุณและโมทนาบุญในการบริจาคสมทบทุนนิธิฯในครั้งนี้ด้วยครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • logo13.gif
      logo13.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.9 KB
      เปิดดู:
      2,114
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2008
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    มิลินทปัญหา
    ปัญหาที่ 7
    ถามเรื่องมนสิการ(การกำหนดจิต)


    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2008
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    การเจริญวิปัสสนา เพื่อมีดวงตาเห็นธรรม ๕ (เจ้าคุณโชดก)
    <!--Main-->[SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]ผลของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    ผลอันแท้จริงของการเจริญวิปัสสนากรรฐานจนได้บรรลุ มรรค ผล นิพพานนั้น คือความดับของกิเลส ซึ่งได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง แต่กิเลสจะสูญสิ้นไปหรือเบาบางลงมากน้อยเพียงไรนั้น ย่อมแล้วแต่ว่าผู้ปฏิบัติได้บรรลุมรรคผลขั้นไหน ขั้นของมรรคผลนี้ท่านจัดให้เป็น ๔ ขั้น คือ

    ขั้นที่หนึ่ง เรียกว่า โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ผู้ที่บรรลุมรรคผล ขั้นนี้ได้ชื่อว่า พระโสดาบัน

    ขั้นที่สอง เรียกว่า สกทาคามีมรรค สกทาคามีผล ผู้ที่บรรลุมรรคผลขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระสกทาคามี

    ขั้นที่สาม เรียกว่า อนาคามิมรรค อนาคามิผล ผู้ที่บรรลุมรรคผลขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระอนาคามี

    ขั้นที่สี่ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด เรียกว่า อรหัตตมรรค อรหัตตผล ผู้ที่บรรลุมรรคผลขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระอรหันต์


    ผู้ที่บรรลุมรรคผลเหล่านี้ ได้ชื่อว่า พระอริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ เพราะมีจิตใจบริสุทธิ์เหนือปุถุชนคนธรรมดาสามัญ



    เมื่อบรรลุได้แล้ว


    สำหรับผู้ที่บรรลุมรรคผลขั้นแรก คือ พระโสดาบันนั้น กิเลสอันสำคัญได้ดับลงอย่างเด็ดขาด ๕ ประการ คือ ความยึดว่า เป็นเขาเป็นเรา ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความเชื่อในลัทธิหรือศาสนาอย่างผิดๆ ความริษยาและความตระหนี่ นอกจากนั้น กิเลสย่อมยังดับไปอีก ๔ ประการ คือ การลบหลู่คุณคน การยกตน การโอ้อวด และความมีเล่ห์กระเท่ห์ กิเลสอื่นนอกจากนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในจำพวกโลภ โกรธ หลง ก็บรรเทาเบาบางลง และโดยที่กิเลสหลายอย่างได้ดับไป ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน จึงมีคุณธรรมพิเศษอีกประการหนึ่ง คือมั่นอยู่ในศีลห้าจนตลอดชีวิต เพื่อความชัดแจ้งและจะขอแยกคุณธรรมของพระโสดาบัน ให้เห็นเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

    ๑. ละเสียได้ซึ่งความยึดถือว่าเป็นเขาเป็นเรา

    แต่เดิมนั้น เรายังยึดถือยู่ว่านี่เป็นเรา นั่นเป็นเขา นี่ของเรา นั่นของเขา แต่เมื่อได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า เรา เขา ของเรา ของเขาไม่มี มีแต่รูปกับนามเท่านั้น และรูปกับนามนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ และเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจของเรา จะบังคับให้เป็นอย่างอื่น ตามความต้องการไม่ได้ เพราะไม่ใช่ของเรา คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การรู้เช่นนี้ เป็นการรู้โดยปรมัตถธรรม ไม่หลงใหลในโลกธรรม ซึ่งเป็นเพียงการสมมติทำให้เรา ปลงโลกตก


    ๒. หมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

    ตามปกตินั้น พุทธศาสนิกชนย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ แต่ในบางครั้งก็ยังสงสัยว่า มรรค ผล นิพพาน มีจริงหรือไม่ ซึ่งเท่ากับสงสัยว่า พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษนั่นเอง ผลต่อไปก็ต้องสงสัยว่า พระอริยสงฆ์นั้นคงไม่มี แต่เมื่อได้มาปฏิบัติธรรม โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุ มรรค ผล แล้ว บุคคลผู้ปฏิบัตินั้น จะสิ้นความสงสัยในพระธรรม เพราะตนได้พบเองแล้วว่า มรรค ผล นิพพาน มีจริงหรือไม่ เมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงเช่นนี้แล้ว ใครจะบอกว่าไม่ใช่ก็ไม่เชื่ออย่างเด็ดขาด เมื่อหมดความสงสัยในพระธรรม ก็หมดความสงสัยในพระพุทธเจ้าว่า ได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษหรือไม่ และก็จะหมดสงสัยในพระอริยสงฆ์ ผู้บรรลุมรรคผลไปด้วย เมื่อไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ดวงจิตก็มีแต่ความเลื่อมใสพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแรงกล้า โดยไม่หวั่นไหว ในเวลาปฏิบัติธรรม บางคนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าถึงกับน้ำตาไหล หรือร้องไห้อย่างหนักหน่วง ความเลื่อมใสนี้จะฝังอยู่ในดวงจิต โดยไม่มีสิ่งใดมาผันแปรเปลี่ยนได้ แม้จะต้องถึงเสียชีวิตก็ตามที[/SIZE]

    http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...roup=1&gblog=7
     
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    เหตุให้พระพุทธธรรมอันตรธาน

    พุทธศาสนาสูญหายด้วยเหตุ ๕ อย่างคือ

    ๑. พุทธบริษัท ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
    ๒. พุทธบริษัท ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
    ๓. พุทธบริษัท ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
    ๔. พุทธบริษัท ไม่พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ
    ๕. พุทธบริษัท ไม่ยอมปฏิบัติธรรมตามที่ตนเข้าใจแล้วโดยเคารพ (อํ. ปญฺจก)


    เหตุให้สูญหายอีก ๕ ประการ คือ

    ๑. พุทธบริษัท เรียนธรรมมาผิดๆพลาดๆ
    ๒. พุทธบริษัท เป็นคนหัวดื้อ ว่ายาก ขาดการอดทน
    ๓. พุทธบริษัท ที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียน เรียนจบแล้วไม่ยอมรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
    ๔. พุทธบริษัท ชั้นผู้นำหมู่คณะ เป็นคนมัวเมาลาภสักการะ
    ๕. พุทธบริษัท แตกความสามัคคีกัน (อํ. ปญฺจก)


    ภัยของพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน

    ๑. ภัยที่เกิดมากจากลัทธิการเมือง
    ๒. ภัยที่เกิดมาจากต่างศาสนา
    ๓. ภัยที่เกิดมาจากลัทธิแต่งตัวเลียนแบบ
    ๔. ภัยที่เกิดมาจากความประพฤติเหลวแหลกในสังคมสงฆ์
    -----------------------------------------------------------

    ขยายความ

    ประการที่ ๑ การตั้งใจฟังธรรมที่ตนยังไม่เข้าใจโดยเคารพ ย่อมเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเกิดความซาบซึ้งในธรรมรส และอรรถรสของพระพุทธศาสนา แต่เมื่อขาดความเคารพเสียอย่างเดียวเท่านั้น ก็มองเห็นศาสนาว่าเป็นเพียงยาเสพติดเท่านั้น


    ประการที่ ๒ การตั้งใจเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมเป็นต้นเหตุโน้มน้าวจิตใจให้ตระหนักคุณค่าของพระพุทธศาสนาว่า เป็นเสมือนดวงประทีปนำทางของชีวิต สามารถจะบันดาลให้ประสบกับประโยชน์ในปัจจุบัน อนาคต และประโยชน์อย่างยิ่งได้ เมื่อขาดความเคารพเสียอย่างเดียวเท่านั้น ก็ย่อมเห็นว่าการเรียนธรรมไม่มีประโยชน์อะไร สึกลาเพศไปแล้วหางานหาการทำก็ยาก สู้เรียนวิชาแบบโลกๆ ที่เขาเรียนกันก็ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็พากันเบื่อหน่ายไม่สนใจในการเรียนธรรม พากันทอดทิ้งพระปริยัติศาสนาอันเป็นกิจของตนเองไปหมด เพราะผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามุ่งอาชีพมากกว่าการมุ่งผลที่จะพึงได้มาจากการปฏิบัติธรรม


    ประการที่ ๓ การท่องบนสาธยายทรงจำ เป็นกิจของผู้สืบศาสนาโดยตรง

    เมื่อก่อนพุทธศกล่วงได้ประมาณ ๔๐๐ ปี พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนใช้การจำพระไตรปิฎกกันมาด้วยมุขปาฐะทั้งนั้น เพิ่งจะมาจารึกเป็นอักษรเมื่อประมาณ ๒๐๐๐ ปีเศษๆ นี่เอง ดังนั้นการท่องจำจึงเป็นกิจของพระเณรโดยตรง

    แต่เมื่อพระเณรพากันทอดทิ้งกิจ คือ สาธยายท่องบ่นเสียแล้ว หลักฐานการทรงจำก็จะต้องเสื่อมสูญลงอย่างแน่นอน เราจะไปเอาวิธีการแบบใหม่ของยุโรปเขามาใช้นั้นมันไม่ได้ เพราะวิธีโลกนั้นไม่มีหลักตายตัว มีการเปลี่ยนแปลงกันอยู่เรื่อย ๆ เมื่อถึงเวลาล่วงกาลผ่านไปๆ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขกันใหม่

    ส่วนบาลีพระไตรปิฎกนั้น ใครจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขของท่านไม่ได้ ของท่านมีมาอย่างไรแม้จะล่วงไปตั้งพันๆ ปี ก็จะต้องคงของท่านไว้อย่างนั้น เพราะคำสอนของพุทธะนั้น เป็นพระวาจาที่ไม่รู้จักตายนั่นเอง เมื่อตรัสคำใดแล้ว คำนั้นต้องแน่นอนไม่แปรผันเป๋นอย่างอื่นไปได้ตราบเท่าชั่วฟ้าดินสลาย


    ประการที่ ๔ ไม่พิจารณาธรรมโดยเคารพ

    กิจนี้ก็เป็น กิจที่สำคัญมาก เพราะเมื่อท่องบ่นทรงจำไว้แล้ว แต่ทว่าขาดการพิจารณาให้รู้ซึ้งถึงเหตุผล ก็ยากที่จะนำเอามาปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจของตนให้พ้นจากอำนาจของกิเลส ทั้งยังจะเป็นโทษที่ยากต่อการที่จะนำออกเผยแผ่อีกส่วนหนึ่งด้วย

    เมื่อไม่มีความเข้าใจก็เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย ในที่สุดก็ทอดทิ้งธรรมแล้วหันไปสนใจอย่างอื่นเท่าที่ตนเห็นว่าดี


    ประการที่ ๕ การยอมอบตนเข้าปฏิบัติตามธรรมเท่าที่ตนเกิดความเข้าใจแล้วนั้น

    ย่อมเป็นต้นเหตุอันสำคัญที่จะทำให้ตนรู้รสชาติของพระพุทธศาสนาได้ด้วยการรู้แจ้งแทงตลอดตามสภาวธรรม พุทธบริษัทจะได้มาก็ด้วยการปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมเท่านั้น

    แต่ถ้าหากตนเองขาดความเคารพในการปฏิบัติตามธรรมเท่าที่ตนเข้าใจแล้ว ตนก็ไม่สามารถรู้รสชาติของพระศาสนาเลย ดูไม่ต่างอะไรกับคนเลี้ยงโค

    ธรรมดาคนเลี้ยงโคส่วนใหญ่จะไม่ได้รับรสของโค ๕ อย่าง มีนมและเนยเป็นต้นจากโคที่ตนเลี้ยง จะได้เพียงค่าจ้างเลี้ยงประจำวันหนึ่งๆ เท่านั้น อันนี้ก็เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญได้

    มิใช่แต่เพียงเหตุ ๕ ประการข้างต้นเท่านั้น ที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อม ยังมีเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมอีก ๕ ประการ คือ

    ประการที่ ๑ การที่พุทธบริษัทได้พากันศึกษาเล่าเรียนธรรมมาโดยถ่องแท้ ไม่มีความผิดพลาดทั้งอรรถะและพยัญชนะ นี่ก็เป็นมูลฐานสำคัญที่จะให้การเผยแผ่เป็นไปตรงตามหลักธรรมความเป็นจริง

    แม้การที่จะปฏิบัติธรรมเท่าที่ตนเรียนมาโดยถูกต้องนั้น ก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงสภาวธรรมความเป็นจริงได้ เพราะปริยัติที่ถูกก็ย่อมเป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติที่ถูกตรงอยู่ในตัวแล้ว แต่ถ้าเรียนมาผิดพลาดก็จะปฏิบัติให้ถูกต้องไม่ได้เลย

    เหมือนตัวอย่างที่พราหมณ์ ๒ คนเข้าไปเรียนกรรมฐานจากสำนักพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็สอนแก่พราหมณ์ว่า "ขยวยะ" ใจความก็ว่าให้พราหมณ์สองคนกำหนดถึง "ความเสื่อมและความสิ้นไป" แต่พราหมณ์สองคนกลับฟังผิดพลาดไปว่า "ฆฏะปฏะ" ซึ่งแปลว่า "แผ่นผ้าที่หม้อ"

    เมื่อพราหมณ์พากันไปปฏิบัติกรรมฐาน ก็ย่อมไม่ได้ผลเลย ดังนั้นการเรียนมาอย่างผิดพลาดจึงเป็นเหตุให้พุทธศาสนาเสื่อมสูญอีกข้อหนึ่งด้วย


    ประการที่ ๒ การที่พระพุทธศาสนาได้มีอายุยืนยงคงมาได้ถึงสองพันห้ายี่สิบแปดปีในปีนี้ ก็เพราะได้อาศัยภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยเป็นคนที่ว่านอนสอนง่าย ยินดีมีศรัทธาที่จะปฏิบัติพระธรรมวินัย มีความอดทนต่ออุปสรรคความขัดข้องที่จะมาทำลายพระพุทธศาสนา

    แม้ในกาลต่อไปในภายหน้า ถ้าภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยผู้เป็นอนาคตของพุทธศาสนายังพากันมีคุณธรรมข้อที่ว่านี้อยู่ ศาสนาของพระบรมครูเจ้าก็จะสถิตสถาพรต่อไปตลอดกาลนาน

    แต่ถ้าทุกคนเกิดมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ลาภผล เห็นแก่อาชีพ เห็นแก่สินจ้างรางวัล เห็นแก่ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขแบบชาวโลกเขาเสาะแสวงหากัน ไม่ยอมเชื่อฟังครูบาอาจารย์ เป็นคนที่อวดดื้อถือดีเสียแล้ว ก็แน่นอนเหลือเกินว่า พระพุทธศาสนาจะต้องบ่ายโฉมหน้าลงดินแน่นอน

    เพราะอนาคตของพระพุทธศาสนาฝากชีวิตไว้แก่ชนพวกนี้ ส่วนพระเถระผู้ใหญ่ ก็จะต้องพากันสิ้นสภาพไปตามกฎธรรมดาของสังขารธรรมอย่างชนิดที่ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้เลย


    ประการที่ ๓ อนึ่ง หน้าที่การรับผิดชอบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทผู้ที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียนจะต้องรับผิดชอบ การสังคายนาแต่ละครั้งที่ผ่านมาก็ล้วนแต่เป็นผลงานของท่านผู้ที่เป็นพหูสูตหนักแน่นในพระพุทธศาสนาทั้งนั้น

    หากท่านผู้ทรงพระคุณเหล่านั้นไม่พากันรับผิดชอบ ต่างคนต่างปลีกเอาตัวรอดเสีย พระพุทธศาสนาจะมีอายุยืนยงคงถาวรมาถึงพวกเราได้อย่างไร แม้ในอนาคตกาลที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุยืนต่อไป ก็จะต้องเป็นภาระธุระของผู้ที่เป็นพหูสูตคงแก่เรียนนี่แหละเป็นผู้รับผิดชอบ

    แต่ถ้าต่างคนต่างพากันปลีกตัวหนี ทอดทิ้งกิจในการสอนการเผยแผ่ด้วยใจจริงเสียแล้ว พุทธศาสนาก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้แน่นอน อันนี้ก็เป็นเหตุทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญอีกข้อหนึ่ง


    ประการที่ ๔ การที่จะพัฒนาพุทธศาสนาให้ถึงความมั่นคงถาวรและเจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านปริยัติและการปฏิบัติต่อไปได้นั้น สังเกตเหตุการณ์เท่าที่ได้เป็นมาแล้วตามประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ก็จำเป็นจะต้องอาศัยพระเถระระดับผู้นำศาสนา เป็นหัวหน้าหมู่คณะชักจูงแนะนำเหล่าศิษยานุศิษย์ให้เป็นผู้ที่มีความสนใจ เสียสละลาภและสักการะที่จะพึงได้มาจากความเคารพนับถือของตน มีความเป็นห่วงเป็นใยในเรื่องของปริยัติและปฏิบัติอย่างเต็มชีวิตจิตใจ

    การกระทำแบบที่ว่านี้ พระพุทธศาสนาจึงจะสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้าพระเถระระดับผู้นำหมู่คณะเป็นผู้มัวเมาในลาภผลซึ่งจะได้มาจากความเคารพนับถือที่นำมาบูชาสักการะ จนไม่มีเวลาว่างที่จะมาดูแลกิจ คือ การศึกษาและการปฏิบัติแล้ว การศึกษาและการปฏิบัติก็ไม่อาจเป็นไปได้เหมือนกัน

    เพราะประเพณีพิธีกรรมที่เรียกว่าศาสนพิธีเท่าที่ชาวพุทธบัญญัติขึ้นทำนั่นแหละ ถ้าทำกันแต่พอประมาณก็เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา แต่ถ้ามากจนเกินขอบเขตไป แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับเป็นอุปสรรคเข้ามาขัดขวางการพัฒนาพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว

    ศาสนาธรรม คือ การท่องบ่นสาธยาย การสั่งสอน อบรมตามคัมภีร์เท่าที่มีอยู่ก็ดี การปฏิบัติธรรมตามแบบเท่าที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก็ดีจะหมดสิ้นไปด้วยพิธีกรรมเหล่านี้ เพราะพิธีกรรมต่างๆ ถ้ามีมากจนเกินขอบเขตจำเป็น ต้องใช้กำลังคนมาก กำลังเงินมาก มันก็จะยุ่งยากมาก เสียกำลังมาก หมดเงินมาก ผลที่จะได้รับการตอบแทนจากพิธีกรรมที่ทำนั้น สำรวจดูแล้วแต่ละงานมันไม่สมดุลกันเลย

    เช่น งานบวชนาค งานศพ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บ้านเก่า ปีใหม่ ปีเก่า แต่ละงานจะต้องหมดเงินงานละมากๆ สาระเกี่ยวกับธรรมที่จะให้ผู้ที่มาในงาน รู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีอะไรเลย อย่างดีก็เพียงให้ได้มีโอกาสเห็นหน้ากัน เป็นเกียรติแก่กันเป็นการขึ้นแรงกันไปในตัวเท่านั้น

    ส่วนพระสงฆ์ที่ไปในงานก็ไม่ได้มีบทบาทอะไรที่จะเอาความดีเกี่ยวกับการยกระดับจิตใจของเขาให้สูงส่งขึ้นได้ นอกจากสวดมนต์ให้ศีล ฉันเช้า ฉันเพล ยถา ให้พรแล้วก็แล้วกันไป เมื่อพระกลับวัดแล้วก็มีการกินเลี้ยงกัน บางงานถึงกับจำญาติจำพี่น้องกันไม่ได้ จนบางครั้งต้องทำให้ถึงกับเลือดตกยางออกในงานมงคลก็มีอยู่มาก

    งานอย่างนี้เราทำกันมานานแล้ว ยังไม่เห็นว่ามีอะไรดีขึ้นเลย ดังนั้นการที่ผู้นำศาสนามามัวเมาอยู่ในลาภสักการะที่จะพึงได้ มันจึงเป็นสาเหตุอีกข้อหนึ่งที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมสูญได้


    ประการที่ ๕ กิจการงานในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นกิจกรรมอันยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่คนๆ เดียวจะทำกันได้ จึงจำเป็นต้องผนึกกำลังให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงร่วมกันทำงานแบ่งการรับผิดชอบในหน้าที่เท่าที่ตนมีความรู้ความเข้าใจ

    ขอให้สังเกตดูผลงานแต่ครั้งอดีตที่ล่วงมาแล้วก็ได้ เช่น อย่างการทำสังคยานาแต่ละครั้ง ฝ่ายสงฆ์ก็จำเป็นต้องคัดเลือกพระเถระผู้ที่ชำนาญการเจ้ารับภาระในหน้าที่ๆ ตนชำนาญ อย่างจัดพระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัยปิฎก และคัดเลือกพระอานนท์ผู้ชำนาญในพระสูตรและพระอภิธรรมเป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรมเป็นต้น ส่วนพระมหากัสสปะก็รับภาระหน้าที่เป็นฝ่ายถาม สำหรับในด้านอาณาจักรก็ได้อาศัยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้ถวายการอุปถัมภ์ ในการนั้นจำเป็นต้องใช้การกสงฆ์ ๕๐๐ รูป จึงทำสำเร็จ

    ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าต้องอาศัยความพร้อมเพรียงร่วมกันทำ แต่ถ้าสมัยใดในสังฆมณฑลเกิดความแตกร้าวชิงดีชิงเด่นกัน เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามากดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงกันต่างฝ่ายต่างมุ่งร้ายเสวงหาโทษใส่ร้ายป้ายสีต่อกัน สมัยนั้นศาสนาก็ถึงความระส่ำระสายอลเวงล่มจมลงในที่สุด จึงนับว่าการแตกความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงอีกข้อหนึ่ง

    เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พูดเฉพาะเหตุที่ทำให้พระศาสนาเสื่อม เท่าที่มีมาในแต่สมัยพุทธกาลเท่านั้น ส่วนภัยที่กำลังเกิดแก่พระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ยิ่งเป็นภัยที่น่าสะพรึงกลัวมากมายยิ่งกว่านั้นอีกหลายเท่าทีเดียว ซึ่งจะกล่าวเป็นลำดับไป ภัยที่จะนำมากล่าวในที่นี้ จะขอยกเอามาพูดไว้เพียง ๔ ข้อโดยย่อๆ เท่านั้น

    ๑. ภัยที่เกิดจากลัทธิการเมือง

    ในโลกปัจจุบันนี้ มีระบบการปกครองอยู่ ๒ ฝ่ายด้วยกัน คือ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย กับฝ่ายสังคมนิยม การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เป็นระบบการปกครองที่เอื้ออำนวยแก่ปวงชนส่วนใหญ่ เพราะมีการเปิดโอกาสให้สิทธิเสรีแก่ชนทุกฝ่าย แม้ศาสนาก็มีการส่งเสริมทำนุบำรุง ถวายความอุปถัมภ์ทุกวิถีทาง

    แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นประมุขของประเทศก็ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภ์ พระพุทธศาสนาจึงได้เจริญรุ่งเรืองมาได้จนถึงปัจจุบันนี้ ถึงในประเทศอื่นที่มีระบบการปกครองแบบเดียวกันก็เป็นเช่นนั้น

    ส่วนลัทธิสังคมนิยมที่เราเรียกกันว่าฝ่ายซ้ายนั้น เป็นระบบการปกครองที่จำกัดขอบเขตของปวงชน ไม่ให้อิสระเสรีในการดำเนินการแทบจะทุกอย่าง และถ้าเป็นระบบคอมมิวนิสต์ด้วยแล้วก็ยิ่งมีการริดรอนสิทธิของมนุษยชนหมดทุกวิถีทาง

    เมื่อเป็นเช่นนี้จึงนับว่าเป็นระบบการปกครองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง เพราะเขาเห็นว่าพระพุทธศาสนามีโทษเหมือนยาเสพติด ศาสนธรรมที่มีจารึกอยู่ในตำรับตำราก็ถูกเผาทำลายไป ฉะนั้นลัทธิการเมืองจึงนับว่าเป็นภัยแก่พระพุทธศาสนาได้เช่นกัน


    ๒. ภัยที่เกิดจากต่างศาสนา

    ประเทศไทยของเรา เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย มีการเปิดโอกาสให้หมู่ชนทำกิจกรรมของตนตามสะดวก กิจกรรมใดที่ไม่ขัดข้องต่อศีลธรรมและกฎหมาย ก็เป็นอันว่าทำได้ตามใจชอบ

    โดยที่สุดแม้ศาสนาเอง ก็เปิดโอกาสให้ดำเนินการกันได้อย่างเสรี ด้วยเหตุนี้ในประเทศของเราจึงมีศาสนาต่าง ๆ เข้ามาเผยแพร่อยู่หลายศาาสนาด้วยกัน ตัวอย่าง เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ เป็นต้น แต่ศาสนาาบางลัทธิที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

    มีเจตนาไม่บริสุทธิ์คิดล้มล้างพระพุทธศาสนา เพื่อดึงเอาศาสนิกไปเป็นพวกของตนแสดงความก้าวร้าวอย่างเห็นได้ชัด ชาวพุทธเราเป็นฝ่ายรักสันติไม่ได้แสดงการตอบโต้ด้วยประการใด ๆ แต่ทางฝ่ายเขาก็หาได้หยุดยั้งในเรื่องการรุกรานใหม่ ยังพยายามสร้างอิทธิพลแผ่อำนาจสร้างสถาบันขึ้นหลายต่อหลายแห่ง

    นอกจากนั้นเขายังเที่ยวกว้านเอาพวกที่มีความรู้ในฝ่ายเราระดับมหาเปรียญ ๕-๖-๗-๘-๙ เข้าไปช่วยอบรมสั่งสอนในสถาบันของเขา โดยให้ค่าตอบแทนในราคาแพง ๆ เพราะในปีหนึ่ง ๆ เขาจะได้งบประมาณ ในการสนับสนุนมากยิ่งกว่าการตั้งงบประมาณจ่ายประจำปี ในประเทศไทยของเราทั้งประเทศเสียด้วยซ้ำไป

    นอกจากนั้น เขายังมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตนักวิชาการในฝ่ายโลก เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของเขา ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในประทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ของรัฐบาล บางท่านที่ทำงานในวงการรัฐบาลตำแหน่งสูง ๆ ก็มีอยู่มาก ทั้งนี้เพื่อต้องการจะสร้างอำนาจความถ่วงดุลย์ให้มีน้ำหนักทั้งทางฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรนั่นเอง

    ส่วนในด้านหลักการสอนฝ่ายเขาก็พยายามส่งตัวแทนที่มีสมองชั้นนำเข้ามาศึกษาถ่ายทอดจากคัมภีร์ของเราทั้งในส่วนพระวินัย พระสูตร ตลอดถึงพระอภิธรรม ตำหรับตำราอะไรที่ขึ้นชื่อโด่งดังในฝ่ายเรา เขาก็พยายามสะสมไว้มากมาย

    แทบจะกล่าวได้ว่าเขาพร้อมทุกอย่างที่จะฝังรากฐานลัทธินี้ให้มั่นคง เพราะอุปกรณ์ที่จำเป็น ในการใช้พัฒนาศาสนาของเขาก็ทันสมัย บุคลากรของเขาก็มีประสิทธิภาพสูง เงินทองที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานของเขาก็พร้อมทุกอย่าง

    ปัจจุบันนี้เขากำลังเปลี่ยนใหม่ ที่จะต้องรับสมาชิกให้เข้าไปร่วมกับกิจกรรมของเขา เช่น เวลาจะบวชก็มีอุปัชฌาย์คู่สวด มีพระอันดับ มีการทำบุญให้ทาน ทอดกฐิน ผ้าป่า เป็นต้น ตามแบบของพุทธเรา ต่อไปชาวพุทธเราผู้ที่ขาดความสังเกตหรือความรู้ไม่ถึง ก็ย่อมตกหลุมพรางของเขาหมดโดยไม่รู้ตัว

    ดังนั้นภัยต่างลัทธิต่างศาสนาจึงเป็นภัยที่น่ากลัว ป้องกันและกำจัดได้ยากมาก เพราะพุทธเราด้อยไปเสียทุกอย่าง พุทธเราทางด้านเศรษฐกิจเราก็ด้อย จะทำอะไรแต่ละครั้งก็จะต้องเรี่ยไรกัน ขาดปัจจัยสำคัญ คือ เงินทอง พูดถึงบุคคลกรก็มี

    ประสิทธิภาพต่ำ มีจำนวนน้อยไม่พอใช้ เครื่องทุ่นแรงในการเผยแผ่ก็ดี ในการศึกษาก็ดี ในการพัฒนาสถานที่ ๆ จำเป็นต้องใช้ก็ดี รู้สึกด้อยไปทุกอย่าง จึงเป็นเรื่องที่น่าหนักใจอยู่ไม่น้อย


    ๓. ภัยที่เกิดจากลัทธิเลียนแบบ

    ปัจจุบันนี้ มีพวกลัทธิเลียนแบบอยู่หลายสำนัก กำลังกำเริบสานอย่างหนัก เช่น เลียนแบบเครื่องแต่งตัว เลียนแบบเครื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้ เลียนแบบตำราเรียน สร้างความนิยมให้แก่ผู้มีอันจะกิน โดยยกตนข่มท่านด้วยการถือศีล

    กินเจอวดอ้างตนว่าเป็นผู้อยู่นอกโลก ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา ไม่ยอมตั้งอยู่ในอาณัติของใคร ๆ ทั้งนั้น อาศัยเกียรตินิยมเท่าที่ตนเคยมีอยู่แต่สมัยเป็นฆราวาส สร้างอิทธิพลสะสมพวกพ้อง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเศรษฐี คหบดี สละทรัพย์ซื้อที่ทางสร้างสำนัก

    มีการบวชพระเณรกันเอง ตั้งตนเป็นอุปัชฌาย์เอาเอง โดยไม่ขึ้นแก่ใครทั้งนั้น ตั้งนิกายขึ้นใหม่โดยเอกเทศ เลียนแบบในเรื่องการนุ่งห่ม เรื่องการปฏิบัติตามแบบเท่าที่ตนได้บัญญัติขึ้น มีการบิณฑบาตแบบพระเถร

    ไม่ว่าเพศหญิงเพศชายใช้พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ที่กรมการศาสนาแปลจัดพิมพ์ไว้แล้ว เป็นเครื่องอ้างในการทำตำราออกเผยแพร่ แล้วก็ตีความเอาเอง เมื่อดูแล้วก็ยากที่จะทำความเข้าใจได้

    สำหรับสามัญชนที่อ่อนต่อการศึกษา มีโรงพิมพ์ตำราออกเผยแพร่เอง พยายามส่งสาวกออกเที่ยวเผยแพร่ตามชนบทในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ประชาชนที่ยากจนด้อยพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ต้องยอมตัวเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นสานุศิษย์กันเป็นจำนวนมาก

    ส่วนพระเถรเจ้าของถิ่นที่เป็นหลวงตา หลวงปู่ที่เฝ้าวัดอยู่ไม่กี่องค์ก็ต้องพลอยงงงันไปตาม ๆ กัน แล้วพวกนี้ ส่วนใหญ่จะทับถมพระเก่าในรูปการต่าง ๆ จนในทางท้องถิ่นต้องหลงเชื่อ

    แล้วพากันทอดทิ้งพระเณรและวัดเดิมของตนไปเป็นสมาชิก ของพวกลัทธิเลียนแบบอย่างที่ว่านี้ก็มีอยู่มาก จึงเป็นที่น่าวิตกสำหรับภัยจากพวกลัทธิเลียนแบบอย่างที่ว่านี้ มากพอสมควรทีเดียว


    ๔. ภัยที่เกิดจากความประพฤติเหลวแหลกในสังคมสงฆ์

    ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยของเรากำลังประาบภัยอยู่รอบด้าน ทั้งภายในและภายนอก ขวัญของประชาชนก็ไม่สงบร่มเย็นเท่าที่ควร ไหนจะปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหาทางการทหาร แต่ละอย่างล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่บีบบังคับ

    และเขย่าขวัญให้เกิดความโยกคลอนทั้งนั้น ประชาชนไม่ทราบที่จะหันหน้าไปพึ่งหรือยึดเหนี่ยวสรณะอันใด ให้เป็นที่อบอุ่นใจได้เต็มที่ จะมีอยู่ก็แต่สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้ง ๓ นี้ เท่านั้น

    แต่บัดนี้สถาบันชาติหรือก็ง่อนแง่นเต็มที เพราะประเทศไทยของเรานั้น มีการปนปะคละกันไปไม่ว่าชาติใด ๆ รู้สึกว่าจะหาดูได้แทบทุกชาติ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศของเรา จะสำรวจตามบัญชีสำมะโนครัวบางทีเป็นคนไทย

    แต่สัญชาติญวนก็มีอยู่มาก บางทีเล็ดลอดจากค่ายกักกัน โดยยื่นสินจ้างรางวัลให้แก่เจ้าหน้าที่ ที่เห็นแก่เงิน ไม่นึกว่าชาติของตนจะล่มจม ให้เข้ามาลอยนวลอยู่ในเมืองหลวงก็มีอยู่มาก ดังนั้นสถาบันชาติก็ไม่ค่อยจะมั่นคงถาวรเท่าใดนัก

    ถึงสถาบันศาสนาก็เยอะ เมื่อมาเปิดเผยถึงภัยที่เกิดแก่พระพุทธศาสนาอย่างที่ได้ชี้แจงมา ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยน่าสบายใจเท่าใดนัก

    ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น พระองค์พร้อมด้วยพระบรมราชินีนาถ พระราชโอรส พระราชธิดา ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ด้วยความเหนื่อยยากลำบากพระวรกายตลอดถึงพระราชหฤทัยอยู่ไม่น้อย แต่กระนั้นพระองค์เอง ก็จะต้องพึ่งสถาบันศาสนาเป็นสรณะที่พึ่งในทางใจ

    แต่ปัจจุบันนี้ก็มาเกิดเหตุการณ์ที่น่าบัดสีขึ้นในสังคมสงฆ์อยู่บ่อยครั้ง เช่น ประเดี๋ยวคดีเจ้าอาวาส ต้องอันติมวัตถุกับสตรีเพศบ้าง เกิดโจรกรรมของสงฆ์โดยมีพระสงฆ์ร่วมมือด้วยบ้าง เกิดอาชญากรรมโดยน้ำมือของภิกษุผู้บวชในศาสนา

    บ้างเกิดสำนักสงฆ์เถื่อนตั้งสำนักขึ้นเองแล้วซ่องสุมผู้คนที่เป็นภัยแก่สังคม ก่อความไม่สงบทำให้เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ประจานความเลวร้าย ความเสียหาย ทำลายศรัทธาของประชาชนอยู่บ่อยครั้งมาก

    รวมความแล้วเหตุการณ์แต่ละอย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมสูญลงทั้งนั้น เมื่อจะประมวลเหตุการณ์ดูทั้งหมดแล้ว ก็รู้สึกว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าวิตกอยู่มากพอดูทีเดียว

    เมื่อพวกเราชาวพุทธที่มีความเคารพสักการะต่อพระพุทธศาสนา ไม่ตื่นตัวผนึกกำลังช่วยกันในทุก ๆ ด้านแล้ว ก็เชื่อว่าพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพสักการะของพวกเรา จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกไม่นานอย่างแน่นอนทีเดียว
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  18. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    เบี้ยแก้

    <TABLE class=text1 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง
    ตัวขนาดใหญ่, ทารักเต็ม ปรอทเต็ม. ถักลายจระเข้ขบฟัน
    การสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดนั้น ท่านจะคัดตัวเบี้ยให้มีฟันครบ 32 ซี่ บรรจุปรอทแล้วจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดิน แล้วจึงหุ้มด้วยแผ่นตะกั่ว บางตัวก็หุ้มหมดทั้งตัว บางตัวหุ้มเปิดที่ด้านหลังเบี้ยไว้ บางตัวก็ไม่มีตะกั่วหุ้มก็มี บางตัวอาจจะใช้ผ้ายันต์หุ้มแทนตะกั่วก็มี ตะกั่วที่หุ้มเบี้ยหลวงปู่จะลงอักขระพระเจ้า 16 พระองค์ และยันต์ตรีนิสิงเห แล้วจึงปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจึงมอบให้แก่ศิษย์






    </TD></TR><TR><TD align=middle>ข้อมูลจาก http://www.thaprachan.com และ http://www.matichon.co.th/khaosod




    [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=black borderColor=#ffffff cellSpacing=0 cellPadding=3 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE class=black borderColor=#ffffff cellSpacing=0 cellPadding=3 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>





    </TD><TD></TD><TR><TD>





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD><TD></TD><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2008
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ที่มาของสมเด็จไกเซอร์

    พอดีผมเกิดความสงสัยในพระพิมพ์ที่เรียกกันว่า "สมเด็จไกเซอร์" ก็เลยหาข้อมูลมาฝากกัน(เผื่อคนที่ยังไม่รู้เหมือนผมครับ)(f)
    [​IMG] นำรูปมาจาก =>7

    สมเด็จไกเซอร์

    สร้างเมื่อ พ.ศ.2413 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง ร.5
    เป็นกรณีพิเศษก่อนที่พระองค์จะทรงเสร็จประพาสยุโรปต่างประเทศครั้งแรก
    ประวัติมีดังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 เสด็จประพาส ณ ประเทศเยอรมันนี
    ขณะนั่งสนทนาอยู่กับพระเจ้าไกเซอร์วิลเลี่ยม ที่ 2 พระเจ้าไกเซอร์ทรงทอดพระเนตรเห็นที่กระเป๋าเสื้อของพระพุทธเจ้าหลวง ร.5
    มีรัศมีเปล่งออกมาเป็นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ชมพู รอบ ๆ กระเป๋าเสื้อ ท่านสงสัยจึงได้ทรงตรัสถามว่า
    พระองค์มีสิ่งใดอยู่ในกระเป๋า พระพุทธเจ้าหลวง ร.5 จึงทรงหยิบพระสมเด็จในกระเป๋าเสื้อออกมาให้ทอดพระเนตร
    และตรัสบอกว่าเป็นพระเครื่องซึ่งคนไทยนับถือ และนำติดตัวไว้เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
    และเป็นพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธคุณทำให้จิตใจสบาย และมีความสุข
    พระเจ้าไกเซอร์ทรงทราบเช่นนั้น ท่านสนพระทัยและเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก พระพุทธเจ้าหลวง ร.5
    จึงทรงถวายให้ไว้เป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนี้ด้วย พระเจ้าไกเซอร์ทรงรับไว้และยกมือไหว้พนมมือแบบคนไทย
    แล้วนำมาใส่กระเป๋าเสื้อของพระองค์ สักพักได้เกิดรัศมีออกมาจากกระเป๋าเสื้อทำให้พระเจ้าไกเซอร์
    และข้าราชบริพารต่างแปลกใจไปตาม ๆ กัน พระเจ้าไกเซอร์ทรงเลื่อมใสพระสมเด็จที่ได้รับมา
    และเกิดความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าหลวง ร.5 ของประเทศไทยเราว่าทรงมีพระบารมีและพระปรีชาสามารถยิ่ง
    พระพุทธเจ้าหลวง ร.5 จึงได้ทรงตั้งชื่อพระสมเด็จองค์นั้นว่า สมเด็จไกเซอร์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    เพิ่มเติม
    ไกเซอร์-จักรพรรดิแห่งเยอรมัน
    ในรัชสมัยไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ 2 แห่งเยอรมัน แห่งราชวงศ์โฮเฮนโซเลิน
    คำว่า "ไกเซอร์" แปลว่า "จักรพรรดิ" หรือ "กษัตริย์" อยู่แล้ว ไม่น่าจะเขียนทับว่า "พระเจ้าไกเซอร์"
    ก็เลยไม่รู้ว่ากษัตริย์องค์นั้นชื่ออะไร สมัยไหน ขอแนะนำไกเซอร์ สักเล็กน้อย ไม่เช่นนั้น
    คงไม่ครบถ้วนขบวนความ
    ไกเซอร์ วิลเฮล์ม ถ้าเขียนแบบอังกฤษก็ว่า วิลเลียม ทรงเป็นพระสหายสนิทพระองค์หนึ่ง
    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชวงศ์โฮเฮนโซลเลินเคยรับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
    พระเจ้าลูกยาเธอ พระราชวงศ์อื่น อีกหลายพระองค์ รวมทั้งนักเรียนสามัญทั้งหลายด้วย



    ในพระราชหัตถ์เลขาฉบับที่ 33 คืนที่ 136 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
    เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่ 2 โปรดเกล้าฯ พระราชทานจาก
    พระราชวังชลอสส์ - เรสิเดนต์ เมืองเฮลคัสเซล วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 126
    ข้อความตอนหนึ่งว่า---
    หญิงน้อย
    เวลาเช้า 2 โมงเศษ ออกจากเบอร์ลิน มาแต่บริพัตรแลข้าราชการตามจำนวน---เอมเปอเรอมาคอยรับ
    ที่สเตชั่น แต่งยูนิฟอร์มครึ่งยศประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่เฉพาะดวงที่ห้อยสร้อยจักรี
    แต่ไม่ได้แขวนสร้อย ใช้แขวนติดคออย่างตราเยอรมัน---
    เอมเปอเรอ ได้ส่งพระราชสาส์นอย่างเต็มที่ให้พ่อ ว่ายอมให้บริพัตรอยู่ในบาญชีเรจิเมนต์
    เอมเปรส ออกัสตา กาดเกรนเดีย ที่ 4 ทั้งอนุญาตให้แต่งยูนิฟอร์มด้วย แล้วได้พาขึ้นรถโมเตอร์คาร์
    รถพระที่นั่งหลังนี้ 70 แรงม้า รูปร่างเขื่องมาก---
    เยอรมันยุคไกเซอร์เป็นประเทศใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวของแคว้นหรือนครรัฐน้อยใหญ่
    ที่ต่างมีเจ้าครองนคร เยอรมันจึงอุดมไปด้วยราชตระกูลใหญ่น้อยมากหลาย
    ที่ร่ำรวยก็มี แต่ส่วนมากฐานะไม่บริบูรณ์นัก แต่ ทุกราชตระกูลได้รับสิทธิให้ "เสมอกันโดยกำเนิด"
    กับราชวงศ์โฮเฮนโซลเลินที่ครองเยอรมันทั้งหมด
    อาณาจักรเยอรมัน หรือ ด๊อยซ์ ไรช์ ประกอบด้วยแคว้นปรัสเซีย หรือปรุสเซีย และซักเช่น เป็นแกนหลัก จากนั้นก็มีชเลสวิค-โฮลสไตน์ โอลเดนบูร์ก เม็คเคล์นบูร์ก ทูริงเง่น วูร์เตมบูร์ก โลธริงเง่น เฮสเซ่น
    บาเด็น เอลซาส-ลอเรนซ์ และ บาวาเรีย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2008
  20. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    อิทธิฤทธิ์หรือจะสู้บุญฤทธิ์

    อิทธิฤทธิ์หรือจะสู้บุญฤทธิ์

    โ ด ย : พระราชสังวรญาณ ( พุธ ฐานิโย ) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    หนุมาน ทุ่มก้อนหินใส่กุมภกรรณ กุมภกรรณจับขยี้แหลกเป็นผงไป เลยเอาก้อนใหม่ทุ่มไปอีก ก็จับโยนไป พวกนี้ สำเร็จอิทธิฤทธิ์มาได้อย่างไร ? สำเร็จมาได้ด้วยการบำเพ็ญตบะ จนพระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร เห็นใจ ประทานพรให้เป็นผู้มีฤทธิ์..แต่เสร็จแล้ว ก็มาเที่ยวฆ่ากันอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่วิเศษที่สุดก็คือศีล ถ้ามีศีลบริสุทธิ์แล้ว ไม่ต้องไปคำนึงถึงอะไร..

    สิ่งที่จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริงในปัจจุบันนี่... ใครมีเมีย รักสงสารเมียของ ตนเองให้มากๆ ใครมีผัว รักสงสารผัวของตัวเองให้มากๆ ใครมีลูก รักเมตตาปรานีต่อลูกให้มากๆ ใครมีพ่อมีแม่รักเคารพบูชา พ่อแม่ให้มากๆ เลี้ยงดูท่านให้มีความสุข ถ้าใครทำได้ มันจะมีฤทธิ์เดช เรียกว่า บุญฤทธิ์ คนมี บุญฤทธิ์ นี่ ไปที่ไหนก็สงบเยือกเย็น ไม่ไปก่อกรรมทำเข็ญ ให้ใครเดือดร้อน มี แต่มีแต่พวกภูตผีปิศาจ ที่มันไม่นิยมชมชอบในคุณธรรมนั่นแหละ มันจะร้อนเป็นไฟ เราปฏิบัติสมาธิ จิตของเราไปถึงไหนสมาธิขั้นใด ตอนใด กี่ขั้นก็ตาม ผลลัพธ์ก็คือ เราละความชั่วได้

    นี่มันอยู่ที่ตรงนี้ เรื่องของสมาธินี่ ถึงใครจะวิเศษวิโสสักปานใด มันไม่ใช่สิ่งสำคัญหรอกมันวิเศษอยู่ตรงที่ว่า เมื่อจิตเราเป็นสมาธิแล้ว เราละบาปได้หรือเปล่า ศีล ๕ เราบริสุทธิ์หรือเปล่าเพราะฉะนั้น ใครภาวนา ไม่เป็นก็อย่าไปสนใจ รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ แค่นั้น... ปิดประตูอบายได้แล้ว


    (rose)
     

แชร์หน้านี้

Loading...