มีความรู้สึกกลางหน้าผากช่วยบอกทีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย maxza8com, 7 มกราคม 2008.

  1. maxza8com

    maxza8com Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +33
    เวลานั่งสมาธิครับมีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมารวมตรงกลางหน้าผากช่วยอธิบายทีครับว่ามันคืออะไร
     
  2. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    มีความรู้สึกกลางหน้าผากช่วยบอกที

    ขอบอกว่าตัวดิฉันเองเป็นบ่อยๆโดยเฉพาะเวลาสวดมนต์กับนั่งสมาธิ

    มันจะมีความรู้สึกว่าตึงๆตรงหน้าผากแต่ได้เคยถามคนที่รู้จักเขาบอก

    ว่าเป็นตาที่สามแต่ในความคิดของตนเองว่าคงจะเป็นการรวมตัวของ

    จิตเมื่อมันเป็นสมาธิค่ะ
     
  3. kimyoonhee

    kimyoonhee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +137
    ตั้งใจแล้ว

    ขออนุโมทนา..
    เคยเป็นเหมือนกันค่ะ มันตึงตรงกลางระหว่างคิ้วเหมือนกับอาการของ
    คนหน้ามืดจะเป็นลม
    แล้วตกลงมันเป็นตาที่สาม หรือว่าการรวมตัวของสมาธิคะ..?
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อาการของสมถะธรรมดาๆ หรือจะเรียกว่า การรวมตัวของจิต ก็ไม่ผิดอะไร
    แต่ก็ไม่ควรเรียกว่าเป็นการ การรวมตัวของจิต เพราะจะทำให้สับสนเวลาไป
    เรียน หรือ ไปฟังธรรมในสภาวะธรรมขั้นที่มากกว่านี้ จะทำให้สับสนงงงวย

    ก็เรียกว่า เป็น อาการของสมถะ จะแจ่มดี โดยมี วิธีการเป็นง่ายๆคือ

    จ้องเอาไว้ เพ่งเอาไว้ นึกตรึกตรึงไว้ ก็เหมือนกับการ ย้ายฐานของสมาธิ
    ที่นิยมพูดกันในช่วงหลังๆ จะหว่างคิ้ว กลางกระหม่อม คอหอย ลิ้นปี่ ทรวงอก
    กระบังลม ช่องท้องน้อย ก็ล้วนแต่เพ่งได้ทั้งนั้น เพราะมักมีปลายประสาท
    ของร่างกายประชุมอยู่ ทำให้เปิดรับความรู้สึกตรงนั้นได้ ไปจมแช่ได้
    แต่ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เรียกว่า ในเมื่อมันเป็นที่รวมปลายประสาท ก็เอามา
    ใช้เป็นที่รวมศูนย์การรับรู้ให้เป็นหนึ่งเดียว(สมาธิ)

    บางคนเพ่งเอาไว้ จ้องไว้ก็จะปวดมากขึ้นๆ ก็เพราะการไม่ระงับของกาย
    ถ้าไปเพ่งแล้วผสมตกใจ ตื่นเต้น สงสัย ก็จะมีอาการชัดขึ้นๆ จนบางทีรำคาญ
    หรือไม่ชอบก็ได้ ดังนั้น ควรรู้วิธีการผ่อนลง อย่าไปเอะใจ อย่าไปแปลกใจ
    อย่าไปคิดว่ามันคือของวิเศษอะไร มันเป็นกายวิภาคที่เอามาเป็นเครื่องมือ
    หรือ กุศโลบาย ในการนั่งสมาธิธรรมดาๆ

    เมื่อนั่งได้ผ่านไประยะหนึ่งก็จะต้องทิ้งการเพ่งจุดเหล่านี้ไป แล้วไปเพ่งที่การสร้าง
    นิมิตแทน เช่นตอนแรก เพ่งลมว่าไปกระทบส่วนใด ก็เปลี่ยนเป็น นึกว่าลมเป็น
    อะไรที่ผ่านไปผ่านมา เมื่อโน้มจุดประสาทสัมพัสทางกาย เปลี่ยนเป็นทางใจ
    ก็จะผ่าน หรือ ยกองค์สมาธิขึ้นสู่อีกขั้นที่สูงกว่าได้ และยังมีอีกหลายขั้นให้ทำ

    แต่ตอนเริ่มต้นนี้ ก็เอาแบบนี้ก่อน คุณ จขกท ทำสมาธิแล้วปวดหนึบทันทีหรือเปล่าละ
    ถ้านั่งปุ๊ปปวดปุ๊ป ก็ผ่อนดู พอหายไปแล้ว คราวนี้ไม่ต้องนั่งสมาธิ ลองนึกถึงอาการ
    ปวดดู ถ้า ทำให้ปวดหนึบได้ ไม่ว่าจะนั่งสมาธิหรือไม่ หรือ ทำกิจใดอยู่ อันนี้ก็
    วสี ของการทำสมาธิ บางทีเลิกสมาธฺแล้วก็ปวดหนึบๆอีก ก็เพราะมันเป็นวิบาก
    แต่อย่าลืมนะ ความชำนาญไม่ได้อยู่ตรงการนั่งสมาธิเพ่งกาย แต่ความชำนาญเป็นเรื่อง
    ของการใช้ความคิด(นิมิต)ให้มีเพียงหนึ่งลักษณะ แล้วมันก็เป็นสมาธิ เป็นผล
    ถ้าเปลี่ยนจากกายมานิมิตได้ ก็จะเริ่มเข้า ขั้นตอนของ ปิติ(แสงสว่าง ตัวเอียง หมุน แขนขาหาย ฯลฯ)
    แล้วก็จะไปขั้นสุข หลังจากนั้นก็จะสงบเย็นสบาย ตรงนี้จะได้ความระงับของกาย
    กิเลสที่เกี่ยวเนื่องกับกายจะระงับไปด้วย แต่กิเลสไม่ได้หายไปไหน เว้นแต่เราจะ
    เห็นความเป็นจริงของการปรุงแต่กิเลสนั้นๆ ก็จะตัดขาดได้เป็นขณะๆไป


    ซึ่งผลของการทำแบบนี้ ก็ให้เข้าใจว่า สมาธิ นั้นมีจริง ทำได้ ไม่ใช่ว่าเราจะมีแต่
    กาย กับ ใจ ที่ไหลไปตามกิเลสอย่างเดียว

    ขอให้เจริญในธรรมครับ

    อันนี้กล่าวเป็นขั้นต้น

    ถ้าติดใจ อยากถามเพิ่มก็ชี้แจงเพิ่มมานะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2008
  5. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,081
    ค่าพลัง:
    +470
    อืมผมก็เป็นนะ วันนี้ทั้งวันอ่ะเดินไปไหนไปเรียนหรือไปทำอะไรมันก็เต้นตุบๆ ตลอดเลย -*-
     
  6. Sinderking

    Sinderking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +673

    อนุโมทนาคุณคิมยองฮี
    ตรงจุดนั้นคือจุดตาที่สามครับ (เหนือระหว่างคิ้ว) และก็สามารถเป็นจุดรวมจิตได้เหมือนกัน

    การรวมจิตนั้น จะรวมตรงไหนนั้นขึ้นอยู่กับจริต หรือตามแนวคำสอนของหลวงพ่อที่สอนเช่น
    -ตรงใต้สะดือ
    -ตรงปลายจมูก
    -ตรงข้างหน้า
    -ตรงช่องจมูก
    -ตรงลมหายใจ
    -ตรงท้องยุบท้องพอง

    แต่เท่าที่ผมลองมา รวมจิตตรงตาที่สามง่ายที่สุด.... ก่อเป็นก้อนได้เร็วสุด ....

    มันแล้วแต่จริตครับ ตนเป็นที่เพิ่งแห่งตน ถ้าคุณยึดคำสอนของหลวงพ่อคนไหน ก็ให้รวมจิตตรงนั้นไปเลย หรือถ้าถูกจริตกับตำแหน่งใดก็ฝึกมันไปตรงนั้นแหละ ไม่ต้องไปเปลี่ยนจุดรวมจิตตามชาวบ้านเขาเดี๋ยวมันจะไม่ชิน พอไม่ชินณาณมันก็จะไ่ม่เกิด ฝึกให้จุดที่คุณเคยใช้มันทะลุไปเลย (ให้มันกลายเป็นณาณไปเลยครับ^^)
    (good)(good)(good)
     
  7. ฤษี

    ฤษี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +94
    มันผลดี และผลเสีย ระวัง การปฏิบัติทุกย่างก้าว เราเป็นผู้ปฎิบัติเหมือนหลับตาเดิน ไม่รู้อะไร เลย เราต้องรู้จักการตั้งคำถามให้มาก
    ไม่มีใครรู้จริงในเรื่องของการปฎิบัติ
    เพราะว่าต่างคนต่างเดินคนละทาง
     
  8. เนมิตกปุรุษ

    เนมิตกปุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +175
    ทำใจสบายๆ อย่าเก็บมาเป็นอารมณ์ครับ ถ้าไม่ได้ตั้งใจกระตุ้นจุดนั้น ให้ลองย้ายสติหรือจุดรวมสมาธิไปที่จุดอื่นๆดูนะครับ อาการปวดหัวจะหายไป
     
  9. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,274
    เป็นการเพ่งอย่างหนึ่ง หรือเรียกง่ายๆว่ากำหนดมากไป จึงเกิดความเครียดขึ้นกลางหน้าผาก หากเล็กน้อยๆก็อาจดีสำหรับบางคน
    *** แต่หากในแนวสติปัฏฐานเขาจะเน้น การมีสติรู้รอบ จะไม่ทำการเพ่งไปที่ใดที่หนึ่ง จนถึงขนาดลืมเนื้อลืมตัว ลืมอิริยาบท ....ที่มีน่าสนใจก็ของ พระอาจารย์ปราโมช ปราโมชโช ครับ (หากพิมพ์ชื่อผิด กราบขอขมาด้วยครับ)
    *** แต่แนวกสิน เขาเริ่มที่การเพ่ง หรือการจำภาพครับ คล้ายๆกัน แต่จำภาพนั้นอาจนึกไว้ในกายก็ได้ แต่หากยกมาไว้ข้างหน้าก็เป็นการเพ่งภาพไปได้โดยอาการชินเหมือนติดนิสัยของตาเนื้อที่อะไรอยู่ข้างหน้า หากอยู่ในวิสัยที่จะมองได้ จิตก็จะทำงานเหมือนมองออกไปครับ นี่เรียกว่าเพ่ง บ้างก็เรียกว่าจิตส่งออกนอก แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ความหมายนี้ทั้งหมด คำว่าจิตส่งออกนอกนี่ สายมโนยิทธิ ท่านว่าต้องส่งออกแบบฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ ต่างกับการส่งออกไปของอำนาจฌานในมโนยิทธิ ครับ
    *** เพ่งนั้นเหมาะกับคนที่ชำนาญแล้ว จะทำให้เข้าสมาธิได้เร็ว มั้งครับ คือพอจะเข้าสมาธิก็ใช้กำลังใจเกินๆก่อน พอสมาธิเกิดแล้วแบบแน่นๆก็ค่อยๆคลายออกมาเพื่อทำฌานให้เกิดต่อไป(มาหาทางสายกลาง) เรียกว่าเพ่งแล้ววางเพื่อการละอารมณ์หยาบลงโดยลำดับ การเพ่งจึงมีประโยชน์ กับคนที่มีความชำนาญการเข้าออกสมาธิ เช่น พระเกจิต่างๆ
    *** แต่หากชอบ ก็อย่าทิ้งวิธีนี้นะครับ แต่ให้ เป็นคนสังเกตอารมณ์เสมอๆ แบบมีวิมังสา คอยสำรวจ ตรวจสอบผลการปฏิบัติว่า เป็นทางสายกลาง หรือว่าตึงหรือหย่อนเกินไป อย่างไร แก้อย่างไร เช่น บางท่าน เพ่งแล้วเครียด ก็แผ่เมตตาประกอบอยู่เนืองๆก็คลายตัวได้ บางท่านทำพร้อมกับนับประคำ จิตก็มาจับอิริยาบทในการนับ ก็จะเพ่งน้อยลง สมาธิก็ดีขึ้น หายตึงหน้าผากได้ครับ ลองหาวิธีเอา
    *** แต่วิธีง่าย คือ หากเป็นอานาปานุสสติแบบคุณ ก็นึกว่ากำหนดรู้ในลมหายใจที่สบายที่สุด(คือ ไม่บังคับลม) แต่รู้การเข้าและออกของลม หากรู้ไม่ทันหรือไม่ชัดก็ให้ว่าพุทโธควบด้วย หากไม่ทัน หรือไม่ชัดอีกก็ให้ว่าพุทโธแบบสวดต่อๆกันไปขณะที่จิตก็ตามรู้ลม แบบนี้สติก็จะทันลมได้ดีขึ้น เรียกว่าหางานให้จิตทำมากขึ้น อารมณ์ฟุ้งก็จะน้อยลงๆ ... แต่หากยังฟุ้งมากๆอีก ก็มาใช้การพิจารณาแทนการทำสมถะก่อน ...และหากก็ยังฟุ้ง ก็ให้ไปพักผ่อน ให้คลายความเครียดก่อน...ส่วนใหญ่เกิดจากอยากให้สงบทันทีทันใด แต่สมาธินั้นมันต้องเพียร ทำสมำเสมอ นานๆวันจนชิน ไม่ใช่ทำแล้วก็ทิ้ง แล้วก็ทำ แบบไม่ต่อเนื่องครับ
    นี่ฟังคนที่ได้เขาเล่ามานะครับ..เห็นว่าน่าสนใจ จึงจำมาเล่าสู่กันฟัง ครับ..อาจไม่ถูกต้องก็ได้ ตรงไหนดี มีเหตุมีผลก็ลองๆดู ขอให้ทำจริง ไม่มีอะไรเสียหาย....เสียหายก็ตอนเราไปทำผิดศีลนี่แหระครับ หุหุหุหุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2008
  10. เก้าแก้ว

    เก้าแก้ว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2007
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +45
    ตอนทำสมาธิ มีความรู้สึกเหมือนหนึบ ๆ บริเวณ ระหว่างคิ้ว และบริเวณหน้าผากจะรู้สึกโล่ง บางครั้งหัวใจจะหวิว ๆ อย่างนี้เรียกว่า อาการของสมถะหรือเล่าคะ
     
  11. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,015
    ค่าพลัง:
    +741
    ขอให้ทุกท่านแก้จิตของตัวเองให้เป็นผลสำเร็จนะครับ
    ผมขออนุโมทนาสาธุ กับท่านผู้มีปัญญาแนะนำ
    สาธุ ๆ ๆ
     
  12. เนมิตกปุรุษ

    เนมิตกปุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +175
    น่าจะเป็นอาการของนิมิตบางอย่างอันเกิดแก่ร่างกาย หรือบางครั้งเกิดจากภวังค์มากกว่านะครับ:d
     
  13. เก้าแก้ว

    เก้าแก้ว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2007
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +45
    ขอบคุณค่ะ คุณเนมิตกปุรุษ ฝึกนั่งสมาธิ เพราะตัวเองสมาธิสั้น หงุดหงิด โมโหง่าย เบื่อหน่ายอะไรง่าย ๆ แต่รู้สึกว่าดีขึ้น หลังจากที่ฝึก ๆ หยุด ๆ มาครึ่งปี แต่มีอาการประมาณอาทิตย์ที่แล้ว ไปนั่งสมาธิกับผู้รู้น่ะคะ ผลตอบรับจากเพื่อน ๆ บอกว่าเราเปลี่ยนไป คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ
     
  14. Sinderking

    Sinderking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +673
    อนุโมทนา ขอให้ไปพบพระองค์ในนิพพานไวๆนะครับ
     
  15. เนมิตกปุรุษ

    เนมิตกปุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +175
    แล้วก็พยายามฝึกให้สม่ำเสมอนะครับ อย่าทำๆหยุดๆ มันจะเกิดผลเสีย ถ้าช่วงไหนไม่มีเวลาจริงๆ ลองทำแบบไม่ต้องนั่ง ใช้เวลาสงบๆซักเล็กน้อย เช่นตอนอาบน้ำ ยืนสงบใต้น้ำฝักบัว(เอามือยันกำแพงไว้ด้วยนะครับ กันล้ม) หรือนอนในอ่างอาบน้ำ แม้กระทั่งช่วงสั้นๆก่อนนอน นอนทำสมาธิซักแป๊บนึงแล้วหลับไป ก็ยังได้ประโยชน์อยู่ครับ
     
  16. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อาการใดที่เกิดจากการทำสมาธิ หรือ จดจ่อกับอารมณ์ แล้วเกิดผล
    ค้างเคียงรับรู้ได้ด้วยเวทนาทางกาย ดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่
    คือ วิบาก ของ สมถะ

    ใช้คำว่า วิบาก จะได้เห็นว่า เกิดขึ้นหลังทำสมาธิทันทีก็ได้
    เกิดหลังจากนั้นก็ได้ ถ้ามีเหตุใกล้ให้เกิด ไปเกิดภพหน้าก็ได้
    เช่น นอนอยู่ดีๆ ก็มีการรับรู้ว่า กาย กับ ใจ เหมือนแยกๆกัน ฯลฯ
     
  17. jackman

    jackman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2006
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +194
    ถ้าคุณรู้สึกเสียวด้วยหละก็ผมว่ามันน่าจะเกิดจากการรวมตัวของจิต
    ถ้าลองเพ่งไปมากๆจะสามารถถอดจิตได้แต่วิธีนี้มันอันตรายมาก

    อ้างอิงจากหนังสือ สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต
     
  18. amm.

    amm. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2008
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +613
    เราก็เป็นคนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรมอยู่ขณะนี้และมีอาการเช่นนี้เหมือนกัน...ครั้งแรกที่รู้สึกเนื่องจากเรากำหนดจิตวางไว้ตรงจุดหน้าผากเนื่องจากตรงจุดนี้เป็นจุดเปิดปัญญา...และเราจะเลื่อนจุดจากกลางหน้าผากไปที่จุดกลางกระหม่อม...ทำสลับกันไปมา...และมากำหนดที่กลางหน้าผากไว้ตลอด...พอเรากำหนดได้ระยะหนึ่งก็จะมีความรู้สึกเหมือนจุดจะกะเทาะออกมาเสียงดังกรึบเหมือนกระโหลกปริออกมา...หลังจากนั้นเราจะรู้สึกเบาสบาย...โล่งที่ตรงจุดนี้...แต่ความรู้สึกตุบๆจะยังคงอยู่...และสามารถเคลื่อนจุดไปยังที่ต่างๆในร่างกายของเราได้...และจะสามารถรับรู้ถึงพลังงานในแต่ละจุดที่กำหนดเข้าไป...พอเริ่มชำนาญเราก็วางจุดไว้ที่กลางหน้าผากเราตลอดเวลา...จนวันหนึ่งเรามีความรู้สึกถึงอาการเหมือนกะโหลกปริแตกอีกครั้งแต่คราวนี้ต่างจุดกันไป...คือระหว่างกลางกะหม่อมไปถึงบริเวณหูพร้อมกันทั้งสองข้าง...เสียงดีงกรึบครั้งเดียว...มีความรู้สึกเสียววาบไปถึงต้นคอ...และหายไป...แต่เป็นครั้งเดียวเท่านั้น...จากนั้นเราก็กำหนดจุดไว้ที่เดิมอีกคือกลางหน้าผาก...และเริ่มพิจารณา...
     
  19. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    เป็นความไม่สมดุลย์ เกิดอาการตึง หรือ บ่อยๆเป็นอาการจากการเพ่ง ที่มันเป็นก้อนนั้นแหละครับ ตึง

    บางคนบอกว่าไม่เห็นเพ่ง อะไรเลย พอถูกทักว่าตึง ก็บอกว่าไม่นะ ไม่เลย
    (ต้องหาอะไรมาเทียบให้รู้จะๆ ถึงได้ ออ! )

    ความตึง ความหย่อน ความเบา หนัก ของแต่ละบุคคล ไม่เท่ากัน ความพอดีเฉพาะของแต่ละคนจึงบอกได้ยากว่า เท่าไรละถึงเกินพอดีของแต่ละคน บางคน หรือ บางขณะจะไม่รู้สึกตัว มันถึงยากไง

    ที่อยากจะกล่าวเอาไว้ ให้เข้าใจ คือ การเพ่ง ก็มิใช่ ผิดเสมอไป บางคนจำเป็นจะต้องกระทำเช่นนั้น เพื่อจะแก้ปัญหา อะไรบางประการของตนเอง หรืออาจเป็นจริต ก็อาจจะต้องเพ่งกันเอาไว้ก่อน แล้วสภาวะค่อยปรับสมดุลกันที่หลัง หรือ การปฏิบัติบางแนวเค้าก็จะให้เพ่งเอาไว้ก่อน

    สำหรับบางคนที่ไม่เข้าใจ เห็นเค้าทำกัน ก็ทำบาง บางที่ของเราที่ทำก็ดีอยู่แล้ว ดันฟังมาแล้วไปทำตาม กลับเป็นปัญหาขึ้นมา ก็ไปกันใหญ่ พีงต้องระวัง
     
  20. ฤษี

    ฤษี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +94
    ทำอย่างไร จะปฏิบัติสำเร็จ

    ใจความสำคัญของการปฏิบัติถอดจิตให้สำเร็จได้
    จะต้องรู้แนนทางการปฏิบัติให้มาก ว่ามีผลดีอย่างไร
    ผลเสียอย่างไร เสียก่อน
    ถ้าปฏิบัติไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะมีผลเสียมากกว่าผลดี
    อย่างน้อยก็หลงตัวเอง อย่างมากก็ตาย

    ผมจะบอกแนวท่างเดินให้ง่ายๆ คือ

    เวลาปฏิบัติจะต้องลื้มทุกอย่างให้หมดไป ที่ได้เรียนรู้มา
    เปรียบเหมีอนแก้วปล่าวที่ไม่มีอะไรเลย

    มันจะรู้ก็ช่างมัน
    มันจะเห็นก็ช่างมัน
    ตัวเราไม่รู้

    ลองเอาได้ใช้กันดู

    เกิดอะไรขึ้นก็เล่าให้กันฟังบ้างเพื่อแรกเปลี่ยนกัน
    หรือจะถามเป็นส่วนตัวก็ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...