ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. parinyar

    parinyar สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +8
  2. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    เห็นด้วยเรื่องอะไรรึจ๊ะ ไอ้หนุ่ม หรือ นางหนูล่ะ ลุงเห็นแค่มือ เดาไม่ออกยิ่งนักว่าเอ็งเป็นเพศใด หรือ ทูอินวันเล่า
    เห็นด้วยเรื่องมึนรึ หรือว่า รู้สึกว่าพระสูตรไม่เคลียส์เล่า จักบอกให้นะว่า สำนวนศาสนาท่านว่า พระสูตรนั้นไม่ใช่ว่ามีตอนใดที่ไม่กระจ่างดอก แต่เป็นใจของพวกเอ็งเองต่างหากที่ไม่กระจ่าง ในสูตรวิมลเกียรตินิทเทศ มีข้อความว่า ทันใดนั้นเมื่อเขากระจ่างแจ้งในธรรม ตรัสรู้สว่างไสวเขาก็ได้ใจของเขากลับคืนมา ธรรมะนะมันไม่มีอะไรมากดอก ที่มันยากเพราะพวกเอ็งต่างหากเล่า ที่ไม่เข้าใจในตนเอง หากพวกเอ็งเข้าใจในหัวใจของเอ็ง อย่างแท้จริงเอ็งจะเห็นได้ว่าคำตอบของชีวิตนั้นอยู่ที่นี่เสมอมาอยู่แล้ว พระสูตรหาได้จำเป็นไม่เพราะเอ็งโตแล้ว เป็นประทีบให้แก่ตัวเองได้แล้ว แต่เพราะพวกเอ็งไม่เป็นเช่นนี้กันไงเล่าพระสูตร แลครูจึ่งยังจำเป็นอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มีนาคม 2012
  3. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่ 3
    เอาปัมยปริวรรต
    ว่าด้วยอุปมาการเปรียบเทียบ


    ก็ในเวลานั้น ท่านพระศาริบุตร มีความร่าเริง ยินดี ปราโมทย์ ปีติโสมนัส เลื่อมใส ประคองอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เพ่งมองพระผู้มีพระภาคอยู่พร้อมกับกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ได้ฟังพระสุรเสียงเห็นปานนี้ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคแล้ว ไม่มีความอัศจรรย์ใจและประหลาดใจ เป็นอย่างมากข้อนั้น เพราะเหตุไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า ข้าพระองค์ไม่ได้ฟังธรรมเห็นปานนี้ จากที่ใกล้พระผู้มีพระภาคมาก่อนเลย ข้าพระองค์ได้เห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น และได้ยินว่าพระโพธิสัตว์เหล่านี้ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตด้วยแล้ว ยิ่งเสียใจเป็นที่สุด และขัดเคียงใจที่ผิดหวังจาการรู้เห็นวิสัยญาณของพระตถาคต ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บ่อยครั้ง เมื่อใดที่ข้าพระองค์เดินไปตามซอกเขา ป่าลึก สวนที่สวยงาม ที่ฝั่งแม่น้ำและที่โคนต้นไม้ เพื่อจะพักผ่อนในเวลากลางวัน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ย่อมพักด้วยอาการอย่างนี้เป็นส่วนมากแต่พระองค์ได้มอบ หีนยาน ให้แก่พวกข้าพระองค์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แต่ว่าขณะนี้ข้าพระองค์สำนึกได้แล้วว่า นั่นเป็นความผิดของพวกข้าพระองค์เอง ไม่ใช่ความผิดของพระผู้มีพระภาคข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า ถ้าข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้พบพระผู้มีพระภาคตอนที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันประเสริฐ ปรารภอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็จะได้ชื่อว่า พระองค์ได้ประทานธรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แล้ว

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่อยู่ด้วย เพราะข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งของพระผู้มีพระภาค ฟังธรรมเทศนาของพระตถาคต ที่ทรงแสดงเบื้องต้นเท่านั้น ก็ด่วนยึดถือ ทรงจำไว้ เจริญ คิดและกระทำไว้ในใจ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์นั้นจึงให้เวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน โดยส่วนใหญ่ให้ล่วงไปด้วยการบริภาษตนเองอยู่เสมอ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ได้ถึงความสงบแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาควันนี้ข้าพระองค์หลุดพ้นแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ ข้าพระองค์เป็นบุตรผู้ประเสริฐของพระตถาคต ผู้เกิดแล้ว ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค คือผู้เกิดจากธรรม ผู้ได้รับการนิรมิตจากธรรม ผู้เป็นธรรมทายาท และผู้สมบูรณ์อยู่ในธรรม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมอันประเสริฐที่ยังไม่เคยฟังมาก่อน เห็นปานนี้ อย่างชัดเจน (กึกก้อง) จากที่ใกล้ๆ ของพระผู้มีพระภาค ได้เป็นผู้หมดความรุ่มร้อนแล้ว

    ในขณะนั้นแล ท่านศาริบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค เป็นคาถาทั้งหลายว่า

    1 ข้าแต่พระผู้นำ (แห่งโลก) ผู้ยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ ครั้นได้ฟังพระสุรเสียงนี้แล้ว ก็เกิดอัศจรรย์และตื่นเต้น ข้าพระองค์หมดความสงสัยใดๆ ในใจแล้ว และเป็นผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าในยานอันประเสริฐนี้

    2 พระสุรเสียงของพระสุคตทั้งหลายอัศจรรย์ยิ่งนัก ย่อมทำลายความสงสัย และความเศร้าโศกของสัตว์ทั้งหลายได้พินาศสิ้น ข้าพระองค์สิ้นอาสวะและปราศจากความเศร้าโศกทั้งปวง ก็เพราะได้ฟังพระสุรเสียงนั้นแล

    3 ข้าพระองค์พักผ่อนในเวลากลางวัน และเดินจงกรม เข้าไปสู่ป่า สวน โคนต้นไม้และซอกเขา ย่อมครุ่นคิดอยู่อย่างนี้นั่นแล

    4 ข้าพระองค์ถูกความคิดเลวทราบครอบงำ ในธรรมที่บริสุทธิ์(ไร้อาสวะ) เป็นธรรมที่มีความเสมอภาค (แก่มนุษย์ทุกคน) แล้วในอนาคต ข้าพระองค์ จะไม่สอนธรรมอันประเสริฐนี้ในโลกทั้งสามละหรือ

    5 ข้าพระองค์สูญสิ้นมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการและฉวีวรรณดุจสีทอง พลังและโมกษะทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ก็จะหายสิ้น ข้าพระองค์ เป็นผู้มีโมหะ ในธรรมทั้งหลายที่เสมอภาค(แก่มนุษย์ทุกคน)

    6 ข้าพระองค์สูญสิ้น ความสมบูรณ์แห่งอณุพยัญชนะ ที่ประเสริฐ แห่งมหามุนีอณุพยัญชนะ และอาเวณิกรรม (ธรรมอันประเสริฐ) 18 ประการ เพราะข้าพระองค์ถูกโมหะครอบงำแล้ว

    7 ข้าพระองค์ขณะพักผ่อนตอนกลางวัน และได้เห็นพระองค์ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกแล้ว คิดอยู่แต่ผู้เดียวว่า ข้าพเจ้านี้ ได้เสื่อมจากอสังคธรรม(โลกุตตรธรรม)และอจินตธรรมเสียแล้ว

    8 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค (นาถ) เมื่อข้าพระองค์คิดอยู่อย่างนี้ วันคือทั้งหลายก็หมดสิ้นไป ข้าพระองค์ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์เป็นผู้หมดโอกาสแล้วหรือไม่

    9 ข้าแต่พระผู้เป็นจอมแห่งพระชินเจ้า เมื่อข้าพระองค์คิดอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา กลางคืนและกลางวันผ่านพ้นไป ข้าพระองค์ได้เห็นพระโพธิสัตว์อื่นๆ จำนวนมากที่พระองค์ทรงสรรเสริญ

    10 (ข้าพระองค์) ฟังพุทธธรรมนั้นแล้วคิดว่า นัยว่าธรรมนั้นเป็นภาษิตลุ่มลึก สุขุม ปราศจากอาสวะ ซึ่งพระชินเจ้าได้ทรงประกาศแล้วที่โพธิมณฑล

    11 ในอดีต ข้าพระองค์ได้หมกมุ่นอยู่กับทิฏฐิ(ความเห็น) ที่เป็นเดียรถีย์ปริพาชก หลังจากนั้น พระองค์ผู้เป็นนาถะ(แห่งโลก) ได้ทรงทราบอัธยาศัยของข้าพระองค์แล้ว ทรงแสดงพระนิพพาน เพื่อความหลุดพ้นจากทิฏฐินั้น

    12 ข้าพระองค์ครั้นพ้นจากทิฏฐิ โดยประการทั้งปวง และได้สัมผัสกับศูนยตาธรรมทั้งหลายแล้ว จากนั้น ข้าพระองค์ จึงทราบว่า ข้าพระองค์ได้ถึงความดับแล้ว แต่ยังไม่เรียกว่า นี้คือนิพพานที่แท้จริง

    13 แต่ว่า เมื่อใด สัตว์ผู้ประเสริฐได้เป็นพุทธะ มีมนุษย์ เทวดา ยักษ์ และรากษส บูชาแล้ว ถึงพร้อมด้วยรูปมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ เมื่อนั้นและที่นั้น เขาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีนิพพานโดยสิ้นเชิง

    14 ในวันนี้ พระองค์ทรงพยากรณ์ธรรม ในพระโพธิญาณอันประเสริฐ ณ เบื้องหน้าชาวโลก พ้อมทั้งเทวโลก ข้าพระองค์ได้ดับ (กิเลส) สิ้นแล้ว เพราะได้ฟังพระสุรเสียง (ของพระองค์) ความกังวลใจทั้งปวงก็ดับไปด้วย

    15 ตอนแรกเมื่อได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์ผู้เป็นใหญ่แล้ว ข้าพระองค์ได้ตกใจกลัวยิ่งนัก ด้วยคิดว่า ขออย่าให้มารร้าย ผู้เบียดเบียน แปลงเพศมาเป็นองค์พุทธะเลย

    16 แต่เมื่อพระองค์ ได้ทรงแสดงพุทธโพธิญาณอันประเสริฐ ให้ปรากฏ ด้วยเหตุผลและอุทาหรณ์มากมายหลายหมื่นโกฏิแล้ว ครั้นข้าพระองค์ ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ก็หมดข้อสงสัย

    17 เมื่อพระองค์พรรณนาถึงพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายพันโกฏิ ที่ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แก่ข้าพระองค์ว่า ท่านเหล่านั้น ได้แสดงพระธรรมนี้ ให้ตั้งมั่นด้วยความฉลาดในอุบายอย่างไร

    18 และพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกจำนวนมาก ที่แสดงธรรมอันลึกซึ้งนี้(ที่จะบังเกิด) ในโลก ท่านเหล่านั้น ก็จักชี้แจง แสดงธรรมนี้ ด้วยความฉลาดในอุบายหลากหลายวิธีเช่นกัน

    19 ความประพฤติที่พระองค์ได้เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ได้รับการสดุดีเช่นไร การตรัสรู้ และพระธรรมจักร เป็นเช่นไร พระองค์ได้แสดงธรรมเทศนาไว้แล้วอย่างนั้น

    20 ตั้งแต่นั้น ข้าพระองค์จึงทราบว่า ผู้นี้ต้องไม่ใช่มาร (แต่) เป็นพระโลกนาถผู้แสดงธรรม (ข้อปฏิบัติ) แก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ คติแห่งมารทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นี้ (ไม่มีมารใดทำเช่นนี้ได้) จิตของข้าพระองค์ก็ได้ถึงวิจิกิจฉา (ยังสงสัย)

    21 แต่ข้าพระองค์รู้สึกปลื้มปีติ เมื่อได้ฟังพระสุรเสียงขององค์พระพุทธเจ้า อันไพเราะที่ลึกซึ้งและอ่อนโยนแล้ว ความสงสัยลังเลใจทั้งปวงของข้าพระองค์ ก็พินาศสูญหายสิ้น และข้าพระองค์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม

    22 ข้าพระองค์แน่ใจว่า จะได้เป็นพระตถาคต อันเป็นที่เคารพบูชาทั้งในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ข้าพระองค์จักรวบรวมแสดงธรรม ให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากเข้าถึงพุทธโพธิญาณ



    เมื่อท่านพระสาริบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสาริบุตรว่า ดูก่อนสาริบุตร เราขอประกาศแก่เธอ ต่อหน้าชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ต่อหน้าประชาชนพร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ดูก่อนสาริบุตร เราได้อบรมเธอให้พร้อมในอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่ ใกล้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำนวนยี่สิบหมื่นแสนโกฏิ ดูก่อนสาริบุตร เธอได้ศึกษา(คำสอน) ของเรา มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดูก่อนสาริบุตร เธอนั้นได้มาเกิดในศาสนาของเราในโลกนี้ โดยการปรึกษาหารือและเห็นพ้องของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร โดยการอธิฐานของพระโพธิสัตว์ เธอจึงมิได้ระลึกถึงประณิธานแห่งการประพฤติธรรมในอดีตของเธอ การปรึกษาหารือและการเห็นพ้องต้องกันของพระโพธิสัตว์ เธอเข้าใจว่า เธอดับสนิทแล้ว ดูก่อน ศาริบุตรเรานั้น ใคร่จะให้เธอระลึกถึงประณิธานแห่งการประพฤติกรรม และการรู้ธรรม ในอดีต จึงขอประกาศ พระสูตรที่สมบูรณ์และยิ่งใหญ่ ชื่อ สัทธรรมปุณฑรีก ธรรมบรรยายนี้ ซึ่งเป็นโอวาทของพระโพธิสัตว์ และเป็นข้อปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง แก่สาวกทั้งหลาย

    ดูก่อนศาริบุตร ในอนาคตกาล เมื่อเธอได้ธำรงพระสัทธรรมของพระตถาคตหลายหมื่นแสนโกฏิ ด้วยจำนวนกัลป์ ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ คำนวณไม่ได้ และได้ทำการบูชาต่างๆ ทั้งประพฤติข้อปฏิบัติของพระโพธิสัตว์นี้ให้สมบูรณ์ จักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโลก นามว่า ปัทมประภา ที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถึงฝึกบุรุษที่ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบานและเป็นผู้จำแนกธรรม

    ดูก่อนศาริบุตร สมัยนั้นแล พุทธเกษตรของพระตถาคตพระผู้มีพระภาค ปัทมประภา พระองค์นั้น มีชื่อว่า วิรชะ เป็นสถานที่ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ น่ายินดี และน่าดูอย่างยิ่ง เป็นสถานที่บริสุทธิ์ กว้างขวาง สมบูรณ์ (ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร) เป็นแดนเกษตร อุดมสมบูรณ์ด้วยภักษา มีหมู่ชนมากมาย ทั้งชายหญิง เต็มไปด้วยทวยเทพ มีแก้วไพฑูรย์ เป็นสถานที่ต่อเนื่องกันเป็นตาหมากรุก มีแนวเป็นทอง และในตาหมากรุกเหล่านั้น ดารดาษไปด้วยต้นรัตนพฤกษ์ทั้งหลาย ซึ่งผลิตดอกออกผล เป็นรัตนะ 8 ประการ อย่างไม่ขาดสาย

    ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปัทมประปา พระองค์นั้น อาศัยยานทั้งสามนั้นแล้ว จักประกาศพระธรรม ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตนั้นไม่บังเกิดในกัลป์ที่เสื่อมโทรมก็จริง ถึงกระนั้น (พระองค์) ก็จักแสดงธรรมด้วยอำนาจแห่งประณิธาน ดูก่อนศาริบุตร กัลป์นั้น มีชื่อว่า มหารัตนประติมัณฑิต ดูก่อนศาริบุตร ท่านเข้าใจสิ่งนั้นว่า เป็นอย่างไร เพราะเหตุไร กัลป์นั้นจึงเรียกว่า มหารัตนประติมัณฑิต ดูก่อนศาริบุตร พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธเกษตร ถูกเรียกว่า รัตนะ ในสมันนั้น ในโลกธาตุชื่อว่า วิรชะ นั้น มีพระโพธิสัตว์จำนวนมาก จนประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ คิดคำนวณไม่ได้ กำหนดไม่ได้ เกินกว่าที่จะนับพระตถาคตด้วยวิธีอื่นๆ เพราะฉะนั้น กัลป์นั้นจึงเรียกว่า มหารัตนประติมัณฑิต แล

    ดูก่อนศาริบุตร ก็โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธเกษตรนั้น ได้ก้าวก้าวไปบนดอกบัวแก้วทุกก้าว ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น มิใช่เป็นผู้เริ่มต้นการทำกรรม แต่เป็นผู้มีกุศลมูลสะสมมาแล้วเป็นเวลาช้านาน ได้ประพฤติพรหมจรรย์กับพระพุทธเจ้าจำนวนหลายแสงองค์ ได้รับการสรรเสริญจากพระตถาคต เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยพุทธญาณ เป็นผู้รู้มหาอภิญญาบริกรรมฉลาดในธรรมทั้งปวง มีความชื่อตรงและมีสติ ดูก่อนศาริบุตร โดยมากพุทธเกษตรจะเต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเช่นนี้

    ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคต ปัทมประภา นั้น จะมีพระชนมายุ 12 กัลป์ โดยไม่ยกเว้นช่วงเวลาที่ทรงเป็นพระกุมาร ส่วนสัตว์ทั้งหลายจะมีอายุ 8 กัลป์ ดูก่อนศาริบุตร พอล่วงเลยไปได้ 8 กัลป์ พระตถาคต ปัทมประภา นั้น หลังจากได้ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ นามว่า ธฤติปริปูรณะ ไว้ในพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ธฤติปริปูรณะ นี้จักตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณต่อจากเรา พระองค์จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า ปัทมวฤษภิกรามี ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้ง ผู้เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีใครอื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้จำแนกธรรมในโลก ดูก่อนศาริบุตร พุทธเกษตรของพระปัทมวฤษกวิกรามี จักเป็นเช่นนี้

    ดูก่อนศาริบุตร ก็แลพระตถาคต ปัทมประภา ที่ปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมของพระองค์จะดำรงอยู่ต่อไปถึง 33 กัลป์ และเมื่อพระสัทธรรมของพระองค์สิ้นไป สัทธรรมปฏิรูปก็จะดำรงอยู่ได้ถึง 32 กัลป์

    ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    23 ดูก่อนศาริบุตร ในอนาคต เธอจักเป็นชินตถาคต นามว่า ปัทมประภา ผู้หยั่งรู้ธรรมทุกประการ (สมันตจักษุ) จักแสดงพุทธญาณ แก่สัตว์หลายพันโกฏิ

    24 เธอ เมื่อได้ทำสักการะพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์แล้ว ได้ปฏิบัติจรรยาพละ ณ ที่นั่น และยังทศพลญาณให้เกิดขึ้น แล้วจักบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ

    25 ในกัลป์ที่กำหนดไม่ได้ นับไม่ได้ จักมีอยู่กัลป์หนึ่งชื่อว่า ประภูตรัตนะ (มีรัตนะมาก) ณ สมัยนั้น มีโลกธาตุชื่อว่า "วิรชะ" เป็นเขตที่บริสุทธิ์ ของพระชินเจ้า (ผู้ประเสริฐสุดกว่าชนทั้งหลาย

    26 พื้นแผ่นดินเต็มไปด้วย แก้วไพฑูรย์ และประดับด้วยเส้นด้ายทอง มีต้นไม้แก้ว เป็นจำนวนหลายร้อย ซึ่งผลิดอกออกผลสวยงามยิ่งนัก

    27 พระโพธิสัตว์จำนวนมาก ที่มีความทรงจำ เชี่ยวชาญในข้อวัตรปฏิบัติ และอภินิหาร ได้ศึกษาข้อปฏิบัติจากกพระพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ จะไปบังเกิดในพุทธเกษตรนั้น

    28 พระชินเจ้าพระองค์นั้น ในพระชาติสุดท้าย เมื่อพ้นวัยเด็กแล้ว จักสละกาม ออกบวชแล้วจักบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    29 ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น จะมีพระชนมายุ 12 กัลป์ ส่วนมนุษย์ผู้เกิดในสมัยนั้น จะมีอายุ 8 กัลป์

    30 เมื่อพระชินเจ้าพระองค์นั้น ดับขันธปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมของพระองค์จักดำรงอยู่ 32 กัลป์บริบูรณ์ เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก รวมทั้งเทวาทั้งหลายในกาลนั้น

    31 ครั้นเมื่อพระสัทธรรม (ของพระองค์) เสื่อมสิ้นไป ธรรมปฏิรูปก็จะดำรงอยู่ถึง 32 กัลป์ พระบรมสารีริกธาตุของพระชินเจ้าพระองค์นั้นผู้มั่นคง จักได้รับการสักการะ บูชาจากมนุษย์และเทวดา เป็นนิจนิรันดร์

    32 พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นเช่นนี้ ดูก่อนศาริบุตร ขอเธอจงร่าเริงเถิด เธอนั้นแล จักเป็นพระชินเจ้าองค์นั้น ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ที่ไม่มีใครเทียบได้


    ในขณะนั้นแล บริษัทสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย ได้ยินคำพยากรณ์ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระศาริบุตร จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพากันชื่นชม ยินดี ปราโมทย์ เกิดปีติโสมนัส ได้ทอดผ้าของตนๆ ไปยังพระผู้มีพระภาค และ ท้าวสักกะ จอมเทพ พระพรหม พร้อมทั้งสหัมบดีพรหม และเทพบุตรจำนวนหลายแสนโกฏิ ก็ได้ทอดผ้าทิพย์ไปยังพระผู้มีพระภาค และโปรยปรายดอกมันทารพน้อยใหญ่อันเป็นทิพย์ ทั้งได้ทอดผ้าทิพย์เป็นสายยาวเหยียด พากันประโคมดนตรีทิพย์หลายแสนชนิด ดีกลองไม่ขาดระยะ ทำให้ฝนคือดอกไม้จำนวนมาก โปรยปรายลงมา แล้วเปล่งถ้อยคำวาจาว่า ครั้งแรก พระผู้มีพระภาค ได้ทรงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ก็แล บัดนี้ พระผู้มีพระภาคได้ทรงยังพระธรรมจักร อันประเสริฐ ให้หมุนไป เป็นครั้งที่สอง ในเวลานั้น เทวบุตรทั้งหลายได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

    33 ข้าแต่พระมหาวีระ (พระผู้มีพระภาค) ซึ่งหาบุคคลผู้เปรียบเสมอมิได้ พระองค์ทรงหมุนธรรมจักร (ล้อแห่งธรรม) อันเป็นที่เกิดและดิบแห่งขันธ์ทั้งหลายในโลก ณ เมืองพาราณสี

    34 ข้าแต่พระนายกะ (ผู้นำแห่งโลก) พระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร ณ ที่นั่น (เมืองพาราณสี) เป็นครั้งแรก และครั้งที่สอง พระองค์ทรงแสดง ณ ที่นี้ ข้าแต่พระนายกะ วันนี้พระองค์ทรงแสดงธรรม ที่รับได้ยากยิ่ง

    35 ข้อพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังธรรมมามาก ณ เบื้องพระพักตร์ของพระโลกนาถ ธรรมที่ฟังแล้วครั้งก่อนๆไม่เหมือนกับครั้งนี้เลย

    36 ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขออนุโมทนาพระดำรัสอันลึกซึ้งของพระองค์(มหาฤษี) ที่พระองค์ทรงพยากรณ์ ท่านพระศาริบุตร ผู้กล้าหาญนี้ว่า จะได้เป็นพระอารยเจ้า

    37 แม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย พึงได้เป็นพระพุทธะ ผู้ประเสริฐเช่นนี้ ผู้แสดงพุทธโพธิญาณ อันประเสริฐ ด้วยถ้อยคำอันลึกซึ้งด้วยเถิด

    38 กุศลมูล ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟัง และได้กระทำทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า หรือได้บูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ของความปรารถนาในพระโพธิญาณ (ของข้าพระองค์) จงสำเร็จด้วยเถิด
    ครั้งนั้นแล ท่านพระศาริบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคข้าพระองค์หมดข้อสงสัย คลางแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังคำพยากรณ์เรื่องพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ของตน (ที่พระองค์ตรัส) ณ เบื้องพระพักตร์อันใกล้ชิดพระองค์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แต่ว่า พระอรหันต์ 1200 รูป ที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในเสขะภูมิ ทรงโอวาทและตรัสสอนในกาลก่อนว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระธรรมวินัยของเราได้สิ้นสุดลง ด้วยเรื่องนี้ คือ การเข้าถึงพระนิพพานที่ล่วงพ้นชาติ ชรา พยาธิ มรณะ และโศกะ" ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ก็แลภิกษุ 2,000 รูป แห่งสาวกของพระผู้มีพระภาค ทั้งที่เป็นพระเสขะและอเสขะทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ปราศจาก อัตตทิฏฐิ ภวทิฏฐิ วิภวทิฏฐิ และทิฏฐิทั้งปวง ที่สำคัญตนว่า พวกเราได้ตั้งอยู่ในภูมิแห่งพระนิพพานแล้ว ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้ฟังธรรมซึ่งไม่เคยฟังมาก่อนเห็นปานนี้จากที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ได้เกิดความสงสัยขึ้นแล้ว ดีละ ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดตรัสเพื่อบรรเทาความกังวลใจของภิกษุเหล่านี้ โดยประการที่บริษัทสี่ พึงเป็นผู้หมดความสงสัย ความคลางแคลงใจด้วยเถิด

    เมื่อพระศาริบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร เราเคยบอกแก่เธอแล้วมิใช่หรือว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้อุปนิสัยและอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลาย จึงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ พระตถาคตปรารภอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจึงอบรมให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีอุปนิสัยแก่กล้า ด้วยธรรมเทศนา ทั้งปวง ดูก่อนศาริบุตร เพื่อกระทำความข้อนี้ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เราจะเปรียบเทียบให้ท่านฟัง ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า ด้วยการเปรียบเทียบ คนที่มีความรู้ดี ย่อมเข้าใจเนื้อความของคำ ที่เรากล่าวนั้นได้ดี

    ดูก่อนศาริบุตร สมมติว่า มีคหบดีคนหนึ่ง ในหมู่บ้าน เมือง นิคม ชนบท สถานที่ อันเป็นส่วนชนบท แคว้น หรือราชธานีแห่งหนึ่ง แต่เป็นคนแก่เฒ่า หง่อมชรา มีอายุมาก เป็นผู้ร่ำรวยมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บ้านของเขาสูงใหญ่โต กว้างขวาง สร้างมานานแล้ว และเก่าคร่ำคร่า เป็นทีอาศัยของคนได้ถึง200 คน 300 คน 400 คน หรือ 500 คน ก็แล บ้านหลังนั้นมีประตูเดียว มุ่งด้วยหญ้า หรืออาคารก็สั่นคลอน โคนเสาก็ผุ ปูนฉาบฝากะเทาะหลุดออก วันหนึ่ง บ้านหลังนั้น ถูกไฟไหม้อยู่รอบๆ อย่างรวดเร็ว คหบดีคนนั้น มีลูกหลายคนจะเป็น 5 คน 10 คน 20 คนก็ตาม (อยู่ในบ้าน) ส่วนเขาอยู่นอกบ้าน

    ดูก่อนศาริบุตร ครั้งนั้นแล บุรุษ(คหบดี) ผู้นั้น เห็นบ้านของตนกำลังถูกกองไฟใหญ่ไหม้อยู่โดยรอบ ตกใจ สะดุ้งกลัว หวาดผวา คิดว่า เรามีพลังมาก สามารถจะวิ่งออกจาก บ้านหลังนี้ ซึ่งกองไฟใหญ่กำลังลุกไหม้อยู่ ได้อย่างเร็วและปลอดภัย ทางประตูบ้าน แต่ลูกเล็กทั้งหลายเหล่านี้ของเราสิ ขณะที่บ้านถูไฟไหม้อยู่ กำลังเล่นสนุกสนาน เพลิดเพลินกับของเล่นอยู่ เข้าไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เข้าใจ ไม่คิดและไม่เฉลียวใจว่า ไฟกำลังไหม้บ้านอยู่ เด็กทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะถูกกองไฟใหญ่ลวก และได้รับทุกข์ทรมานอยู่ ก็มิได้ใส่ใจความทุกข์นั้นเลย พวกเขา ไม่ได้คิดถึงแม้แต่การจะหนีออกมา

    ดูก่อนศาริบุตร บุรุษนั้น เป็นผู้มีพลัง มีท่อนแขนกำยำล่ำสัน เขาคิดว่า เรามีพลัง มีท่อนแขนล่ำสัน เราจะรวบรวมเด็กทั้งหมดนั้น เราจะรวบรวมเด็กทั้งหมดนั้น พากออกมาจากบ้าหลังนี้ และเขาก็คิดอีกว่า ได้ยินว่า บ้านหลังนี้มีประตูเข้าออกทางเดียว และประตูก็ปิดอยู่ พวกเด็กก็วิ่งไปมาอยู่ ทั้งตัวเราและเด็กๆ จงอย่างคิดถึงความพินาศเพราะไฟกองใหญ่นี้เลย เราจะเตือนเขาได้อย่างไรหนอ เมื่อคิดดังนี้แล้ว บุรุษนั้น ก็ได้บอกเด็กเหล่านั้นว่า ดูก่อนกุมารผู้เจริญทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมาทางนี้ ขอให้เธอทั้งหลายออกมาข้างนอก ไฟกำลังไหม้บ้านอยู่ เธอทั้งหลาย จะถูกไฟกองใหญ่นี้ครอกถึงแก่ความตาย แต่ว่า เด็กเหล่านั้น ไม่เข้าใจ ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ คำพูดของบุรุษผู้หวังดีนั้น และไม่กลัว ไม่สะดุ้งกลัว ไม่คิด ไม่วิ่งออกไป ทั้งนี้ เพราะเด็กเหล่านั้น ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ไฟไหม้คืออะไร ตรงกันข้าม เด็กเหล่านั้นกลับวิ่งไปมา มองดูบิดาครั้งแล้วครั้งเล่า ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะความโง่เขลานั่นเอง

    ต่อแต่นั้น บุรุษนั้นคิดว่า บ้านหลังนี้ถูกไฟไหม้อย่างหนัก ขออย่าให้เราและเด็กๆ ต้องถึงความพินาศเพราะกองไฟใหญ่นี้เลย อย่างไรก็ตาม เราจะต้องนำพวกเด็กเหล่านี้ออกจากบ้านให้ได้ด้วยกุศโลบายสักอย่างหนึ่ง ก็แล บุรุษนั้น เป็นผู้รู้อัธยาศัย ใจคอของเด็กเหล่านั้นเป็นอย่างดี พวกเด็กมีของเล่นมากมาย ซึ่งเป็นของที่สวยงาม น่าปรารถนา น่าใคร่เป็นที่รัก เป็นที่พอใจและหาได้ยาก


    ครั้งนั้น บุรุษนั้น ทราบอัธยาศัยของเด็กๆ อยู่ จึงได้พูดกะเด็กๆ ดูก่อนกุมารทั้งหลาย พวกเธอจงมาเอาของเล่นทั้งหลาย อันมีสีสรรสวยงามมากมาย น่าชมยิ่งนัก มีทั้งเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวาง ทุกอย่างล้วนแต่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจทั้งนั้น เราได้วางไว้ภายนอกประตู เพื่อให้พวกเธอได้เล่นกัน กุมารผู้เจริญทั้งหลาย จงพากันรีบออกมานอกบ้านนั้นเถิด เราจะให้เล่นของเล่น ที่พวกเธออยากได้กัน จงวิ่งออกมาเอาของเล่นกันเร็วๆ เด็กเหล่านั้น เพราะอยากได้ของเล่น เมื่อได้ยินชื่อของเล่นเหล่านั้น ซึ่งเป็นของเล่นที่สวยงาม น่ารัก น่าชื่นชม น่าปรารถนา ได้พยายามพากันวิ่งออกจากบ้าน ที่ไฟไหม้อย่างรวดเร็ว โดยไม่รอกันและกัน ด้วยหวังว่า ใครจะวิ่งถึงก่อนกัน

    ครั้นบุรุษนั้น เห็นกุมารทั้งหลายเหล่านั้น วิ่งออกมาข้างนอกอย่างปลอดภัย ทราบว่าเขาเหล่านั้นปลอดภัย จึงออกมานอกหมู่บ้าน มีจิตใจปลาบปลื้ม ปรีดาปราโมทย์ หมดความข้องใจ ไร้ความเคลือบแคลงสงสัยและหวาดกลัว ก็แลกุมารเหล่านั้นได้เข้าไปหาบุรุษ ผู้เป็นบิดานั้นจนถึงที่(บิดานั่ง) ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่บิดา ขอบิดาให้ของเล่นคือเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวางต่างๆ ที่สวยงามเหล่านั้นแก่ลูกๆเถิด ดูก่อนศาริบุตร หลังจากนั้น บุรุษนั้น ได้ให้เกวียนเทียมโคทั้งหลาย ที่มีความเร็วปานลมพัดแก่บุตรของตนเหล่านั้น (เขา) ให้เกวียนเทียมโคทั้งหลาย ที่ประดับด้วยแก้ว 7 ประการ มีเบาะนั่ง มีกระดิ่งเล็กๆ ห้อยเรียงราย มีบังเหียนสูง ประกอบด้วยรัตนะอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง มีพวงมาลัยแก้ว และพวงมาลัยดอกไม้อันสวยงาม มีพรมปู มีเพาะรองนั่ง บุด้วยขนสัตว์ทั้งสองข้าง คลุมด้วยผ้าขาว อันเป็นเกวียนเทียมโคที่มีโคสีขาวและสีนวลวิ่งเร็วลากอยู่ พร้อมทั้งหมู่ชนจำนวนมากร่วมขบวนด้วย (เกวียนเทียมโคนั้น) มีรูปร่างลักษณะต่างๆกัน มีธงปักอยู่และวิ่งได้เร็วดุจลมพัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

    ดูก่อนศาริบุตร ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า บุรุษนั้นเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มียุ้งฉางมาก เขาคิดอย่างนี้ว่า เราให้ยานอื่นแก่เด็กๆ ทั้งหลาย เหล่านี้ไม่มีประโยชน์อะไร ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า เด็กเหล่านี้ทั้งหมด เป็นบุตรของเรา ทุกคนเป็นที่รักใคร่ และปรารถนาของเรา เกวียนใหญ่ๆ เห็นปานนี้ของเรามีอยู่ เด็กเหล่านี้ทั้งหมดไม่ควรคิดว่า แตกต่างจากเรา แม้เรามียุ้งฉางมากมาย เรายังให้เกวียนใหญ่ๆ เห็นปานนี้แก่สัตว์ทั้งหลายได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงบุตรของเราเล่า ในตอนนั้น พวกเด็กเหล่านั้นได้ขึ้นไปบนเกวียนใหญ่เหล่านั้นแล้ว รู้สึกประหลาดมหัศจรรย์ใจมาก ดูก่อนศาริบุตร เธอมีความคิดเห็นในเรื่องนี้เป็นอย่างไร บุรุษนั้น เป็นผู้กล่าวเท็จหรือไม่ โดยที่ตอนแรกนั้น เขาได้ชี้ให้กุมารดูเกวียนสามชนิด แต่ภายหลังเขาให้เกวียนใหญ่ที่สวยงามชนิดเดียว แก่เด็กทั้งหมดนั้น

    พระศาริบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค หามิได้ ข้าแต่พระสุคต หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษนั้นไม่เป็นผู้กล่าวเท็จ ด้วยเหตุนี้ เพราะว่า นั่นเป็นกุศโลบายที่บุรุษนั้นให้เด็กออกมาจากเรือน ที่กำลังไฟไหม้อยู่ได้ และเป็นการป้องกันชีวิตเด็กด้วย ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร ข้อแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า เด็กได้ทั้งชีวิต และของเล่นทุกอย่างแล้วข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าว่าบุรุษนั้น ไม่ให้เกวียนสักเล่มแก่เด็กทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เขาก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า ครั้งแรก บุรุษนั้นคิดว่า เราจะปลดเปลื้องพวกเด็กให้พ้นจากกองทุกข์อันยิ่งใหญ่ ด้วยกุศโลบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ด้วยเหตุนี้คำพูดของเขา จึงไม่เป็นคำเท็จ จะป่วยกล่าวไปไย ในเมื่อบุรุษนั้นคิดว่า ตนมีทรัพย์สินมากมาย ทั้งเห็นว่า เรื่องความรักลูกเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้มอบเกวียนใหญ่ชนิดเดียวให้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษนั้น มิได้เป็นผู้กล่าวเท็จเลย

    ครั้นพระศาริบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร ดีละ ดีละ ดูก่อนศาริบุตร ข้อนั้นเป็นอย่างที่เธอกล่าวนั่นแล ดูก่อนศาริบุตร เป็นอย่างนั้นแล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้พ้นจากภัยทั้งปวงแล้ว พ้นแล้วจากความท้อแท้ ความตรอมใจ อุปสรรค ทุกข์ โทมนัส และเครื่องกั้นคือความมืดมนอนธการ กล่าวคือ อวิชชาทั้งปวง โดยประการทั้งปวง และทุกเมื่อ พระตถาคตถึงพร้อมแล้วด้วยพลังแห่งพระญาณ ความแกล้วกล้าและพุทธธรรมอันวิเศษ มีพลังเกินกว่าพลังแห่งฤทธิ์ เป็นบิดาของชาวโลก มีบรมบารมีคือความรู้ในกุศโลบายที่ยิ่งใหญ่ มีมหากรุณาธิคุณ มีจิตใจผ่องใสเป็นผู้มุ่งประโยชน์ และอนุเคราะห์ชนทั้งปวง พระตถาคตอุบัติขึ้นมาในไตรโลกธาตุ อันเช่นกับ ที่อยู่อาศัย อันคร่ำคร่า ผุพัง กำลังถูกเผาด้วยกองทุกข์และโทมนัส อันใหญ่หลวง ด้วยประสงค์จะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และเครื่องกั้นคือความมืดมนอนธการ กล่าวคือ อวิชชา (ให้ออกจาก) จากราคะ โทสะ และ โมหะที่กำลังเบียดเบียนอยู่ โดยให้เข้าให้ถึงอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นมา ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย กำลังถูกชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส เผาไหม้จนเดือดร้อน เพียงเพื่อความสุขสนุกสนานในกามสัตว์ทั้งหลาย ย่อมได้รับความทุกข์อเนกประการ สัตว์ทั้งหลาย จะได้ความรับทุกข์อเนกประการในนรก กำเนิดดิรัจฉาน และยมโลกในอนาคต เนื่องจากกรรมที่ได้สะสมไว้ ทั้งในปัจจุบันและอดีต สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบกับความยากไร้ ในเทวโลกและมนุษย์โลก ความทุกข์อันเกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ณ สถานที่นั้นนั่นแล สัตว์ทั้งหลายจะจมอยู่ในกองทุกข์ ด้วยการเล่น ยินดี ท่องเที่ยวไป ไม่รู้สึกสะดุ้งหวาดกลัว ไม่หาสิ่งที่ป้องกัน ไม่รู้ ไม่คิด ไม่แสวงหาที่พึ่ง ยังยินดีในไตรโลกธาตุ ที่เป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้ วิ่งพล่านไปมาอยู่ ทั่วทุกสารทิศ ก็แลสัตว์เหล่านั้น แม้ถูกกองทุกข์ใหญ่นั้นครอบงำ ก็ยังไม่ถึงมนสิการญาณ ในทุกข์นั่นเลย

    ดูก่อนศาริบุตร ณ ที่นั่น พระตถาคตเห็นอย่างนี้ว่า ก็แลเรา (ตถาคต) ผู้เป็นบิดาของสัตว์เหล่านี้ ฉะนั้น เราต้องปลดเปลื้องสัตว์เหล่านี้ ให้พ้นจากกองทุกข์อันใหญ่หลวงนี้ และ เราจะต้องให้ความสุข คือพุทธญาณ ที่หาประมาณมิได้ เป็นอจินไตย แก่สัตว์เหล่านั้น โดยประการที่สัตว์เหล่านั้น ยังเล่น ยินดีเที่ยวไป และมีความสนุกสนานได้

    ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตเห็นว่า ถ้าเราเข้าใจว่า เรามีพลังญาณและพลังฤทธิ์อยู่เรากล่าวสอนญาณ พละและความแกล้วกล้าแห่งตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ โดยไม่มีอุบาย(ในการกล่าวสอน) แล้ว สัตว์ทั้งหลายจะไม่พ้นทุกข์ด้วยธรรมเหล่านี้ ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า สัตว์เหล่านี้ ยังข้องอยู่ในกามคุณห้า เพราะความยินดีในไตรโลก ยังไม่หลุดพ้นไปจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส เขาทั้งหลายยังถูกเผาไหม้อยู่ ยังไม่วิ่งออกจากไตรโลกธาตุ อันเปรียบเสมือนเรือนที่มีห้องเก่าคร่ำคร่า ที่ถูกไฟไหม้ จะบรรลุพุทธญาณได้อย่างไร

    ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตก็เช่นกับบุรุษผู้นั้น คือบุรุษนั้น มีแขนที่แข็งแรง แต่ไม่ใช้แขนที่แข็งแรงทรงพลังนั้นเลย เขาช่วยเด็กเหล่านั้นให้ออกจากอาคาร ที่ไฟไหม้นั้นได้ ด้วยอุบายที่ชาญฉลาด และครั้นให้ออกมาได้แล้ว ภายหลังได้ให้เกวียนใหญ่ ที่สง่างาม แก่เด็กเหล่านั้นอีกด้วย ดูก่อนศาริบุตร ในทำนองเดียวกันนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เพียบพร้อมไปด้วยพลังญาณและความแกล้วกล้าแห่งตถาคต แต่ก็ไม่ใช้พลังแห่งญาณและความกล้าหาญแห่งตถาคตนั้นเลย ด้วยเหตุที่จะให้สัตว์ทั้งหลายออกจากไตรโลกธาตุ อันเปรียบเหมือนเรือนที่มีห้องเก่าคร่ำคร่า ที่กำลังถูกไฟไหม้ให้ได้ จึงแสดงยานสาม คือสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน ด้วยความเข้าใจในกุศโลบาย พระตถาคตให้สัตว์ทั้งหลาย ปรารถนายานทั้งสามนั้น

    และตถาคตก็กล่าวกับสัตว์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงอย่ายินดีในโลกธาตุทั้งสาม อันเช่นกับเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสที่เลว เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายยินดีแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ก็จะถูกเผาไหม้ด้วยตัณหาที่มาคู่กับ (สหรคต) กามคุณห้า ซึ่งจะทำให้เดือดร้อนอยู่เสมอ ท่านทั้งหลายจงหนีออกจากโลกธาตุทั้งสามนี้เสีย จงยึดเอายานสามนี้ คือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน เราเป็นประกันในเรื่องนี้ เราจะให้ยานทั้งสามเหล่านี้ ท่านทั้งหลาย จงพยายามหนีออกจากโลกธาตุทั้งสามเถิด เราได้พูดปลอบใจเขาเหล่านั้นว่า ดูก่อนสรรพสัตว์ผู้เจริญ ยานทั้งสามเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ เป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์ยิ่ง ท่านทั้งหลาย จักสนุกสนานรื่นเริงพอใจกับยานเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ ท่านทั้งหลาย จักได้รับความยินดีมากมาย ด้วยสิ่งเหล่านี้คือ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ ญาณ วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ท่านทั้งหลาย จะได้รับความสุข โสมนัส อย่างยิ่งใหญ่
    ดูก่อนศาริบุตร สัตว์เหล่าใด เป็นผู้มีปัญญา ชาญฉลาด สัตว์เหล่านั้น ย่อมศรัทธาต่อพระตถาคต ผู้เป็นบิดาของชาวโลก และครั้นมีศรัทธาแล้ว ย่อมพอใจ กระทำความเพียรพยายามในคำสอนของตถาคต บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์พวกหนึ่ง หวังจะฟังคำสอนอันประเสริฐสุด พอใจปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต เพื่อบรรลุอริยสัจสี่ อันเป็นเหตุแห่งการได้พระนิพพาน สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้มุ่งหวังสาวกยาน แล้ววิ่งออกจากโลกธาตุทั้งสามเหมือนเด็กที่ปรารถนาเกวียนเทียมกวาง พากันวิ่งออกมาจากเรือนที่ไฟกำลังไหม้นั้น

    สัตว์จำพวกหนึ่ง หวังจะได้ญาณทมะและความสงบสุข อันปราศจากผู้เป็นครูอาจารย์ พยายามปฏิบัติตามคำสอนของพระตถาคต เพื่อรู้เหตุและปัจจัยทั้งหลาย เพราะเหตุที่จะทำให้ตนบรรลุพระนิพพาน สัตว์เหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มุ่งหวังปัจเจกพุทธยาน พากันวิ่งออกจากโลกธาตุทั้งสาม เหมือนพวกเด็ก ที่ปรารถนาเกวียนเทียมแพะ พากันวิ่งออกมาจากเรือนที่ไฟกำลังไหม้นั้น และสัตว์อีกจำพวกหนึ่งหวังสัพพัญญูตญาณ พุทธญาณ สยัมภูญาณ อันเป็นญาณที่ปราศจากครูผู้สอน พยายามปฏิบัติตามคำสอนของพระตถาคต เพื่อรู้ญาณพละและความแกล้วกล้าแห่งพระตถาคต เพราะเหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งปวงบรรลุพระนิพพาน เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของชนหมู่ใหญ่ รวมทั้งเทวดาและมนุษย์ สัตว์จำพวกนี้เรียกว่า เป็นผู้มุ่งหวังมหายาน พากันวิ่งหนีออกจากโลกธาตุทั้งสาม ด้วยเหตุนั้น สัตว์จำพวกนี้จึงถูกเรียกว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ เปรียบเหมือนพวกเด็กปรารถนา เกวียนเทียมโค พากันวิ่งออกมาจากเรือนที่กำลังไฟไหม้นั้น

    ดูก่อนศาริบุตร บุรุษนั้น เห็นพวกเด็กเหล่านั้น วิ่งออกมาจากเรือนที่ถูกไฟไหม้นั้นได้ด้วยความเกษมสำราญ และรู้แล้วว่า พวกเด็กเหล่านี้ พ้นจากอันตรายและได้ถึงความปลอดภัยแล้ว ทั้งยังทราบว่า ตนเองเป็นผู้มีทรัพย์มาก จึงให้เกวียนที่สวยงาม เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแก่เด็กเหล่านั้น ฉันใด ดูก่อนศาริบุตร เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่าสัตว์จำนวนหลายโกฏิ เป็นผู้พ้นแล้วจากโลกธาตุ และพ้นแล้วจากทุกข์ภัยอุปัทวันตราย ได้หนีออก(จากทุกข์ทั้งปวง) ทางประตูคือคำสอนของตถาคต และหลุดพ้นแล้วจากภัยอุปัทวันตราย และสิ่งที่ทุรกันดาร เป็นผู้ถึงความสุขสงบแล้ว ดูก่อนศาริบุตร เมื่อนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตะ ทราบว่า ตนเป็นคลังแห่งญาณอันยิ่งใหญ่ พละและความแกล้วกล้ามากมาย ทั้งยังทราบว่า สัตว์ทั้งปวงเป็นบุตรของตน จึงให้สัตว์เหล่านั้นนิพพาน (ดับ) ด้วยพุทธยานเท่านั้น ฉันนั้น ก็แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่กล่าวนิพพาน เฉพาะอย่าง แก่สัตว์แต่ละคน แต่ว่า พระตถาคตจะให้สัตว์ทั้งหมด ปรินิพพาน ด้วยนิพพานของตถาคต ที่เป็นมหาปรินิพพาน

    ดูก่อนศาริบุตร สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นแล้วจากไตรโลกธาตุพระตถาคตให้ของเล่นทั้งหลาย ที่วิเศษในรูปของฌาน โมกษะ สมาธิ และสมาบัติ ที่น่ารื่นรมย์และเป็นบรมสุข (แต่) ของเล่นเหล่านั้นทั้งหมด เป็นชนิดเดียวกัน ดูก่อนศาริบุตร ฉันใด ก็ฉันนั้น บุรุษนั้น ไม่ใช่มุสาวาที (ผู้กล่าวเท็จ) ในข้อที่เขาบอกว่า จะให้เกวียนสามชนิด แล้วให้เกวียนใหญ่ชนิดเดียวแก่เด็กเหล่านั้น เขาให้เกวียนชนิดเดียว ที่ทำด้วยรัตนะ 8 ประการ ตกแต่งประดับประดาสวยหรู เป็นเกวียนที่ดีเลิศ ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไมได้เป็นมุสาวาที (ผู้กล่าวเท็จ) ในข้อที่พระตถาคต ชี้แจง แสดงยานสามอย่าง ด้วยกุศโลบายในตอนแรก แล้วภายหลังให้สัตว์ทั้งหลายปรินิพพานด้วยมหายาน ข้อนั้น เป็นเพระเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า พระตถาคต มีญาณพละและความแกล้วกล้ามากมาย มีพลังพอที่จะแสดงธรรม ที่สหรคตด้วยญาณทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหมด ดูก่อนศาริบุตร โดยปริยายนี้ เธอพึงทราบอย่างนี้ว่า พระตถาคต ชี้แจ้ง แสดงมหายานอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยกุศโลบายและอภินิหารที่มีอยู่

    ก็ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหลานี้ว่า

    39 สมมติว่า บุรุษผู้หนึ่ง มีบ้านหลังใหญ่ ที่เก่าแก่และทรุดโทรม ตัวอาคารชำรุด โคนเสาก็ผุกร่อน

    40 หน้าต่างและห้อง (ของบ้านหลังนั้น) ก็เอนเอียง ปูนที่ฉาบผนังก็ผุกร่อน อันแสดงว่าสร้างต่อเติมมาช้านานแล้ว หลังคาที่มุงด้วยหญ้า ก็หลุดร่วงลงมาทุกด้าน

    41 ในบ้านหลังนั้น มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 500 คน ห้องพักจำนวนมากเต็มไปด้วยอุจจาระ น่ารังเกียจยิ่ง

    42 ณ บ้านนั้น จันทันก็หัก กำแพงและฝากั้นหลุดร่วงลงมา มีนกแร้ง นกพิราบ นกฮูก และนกอื่นๆ จำนวนมากอาศัยอยู่

    43 ณ บ้านนั้น ตามซอกมุม มีงูพิษร้ายกาจ น่าสะพึงกลัวจำนวนมาก อาศัยอยู่แม้แมลงป่องและหนูชนิดต่างๆ ก็มีมาก บ้านนั้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายหลายชนิด


    44 (ในบ้านนั้น) มีอมนุษย์จำนวนไม่น้อยก็อาศัยอยู่ ที่นั่นที่นี้มีกองอุจจาระปัสสาวะอยู่เกลื่อนกลาด เต็มไปด้วยตัวหนอน แมลงเม่าและแมลงอื่นๆ มีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนอยู่เป็นนิจ

    45 ณ ที่บ้านนั้น มีสุนัขป่าที่น่ากลัว กำลังกินซากศพมนุษย์เป็นอาหาร สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอกจำนวนมาก คอยจ้องมองหาซากศพของมนุษย์เหล่านั้น

    46 สัตว์เหล่านั้นหิวโหยโรยแรง เที่ยวหากินไปตามที่ต่างๆ ทั้งทะเลาะกันเอง เสียงดังลั่น บ้านหลังนั้นมีสภาพเป็นเช่นนี้

    47 แม้ยักษ์ร้ายใจโหด ซึ่งคอยขบเคี้ยวกินซากศพมนุษย์จำนวนมาก ก็มีที่บ้านนั้น ณ ซอกต่างๆ ในบ้านนั้น ยังมีทั้งตะขาบ โคถึก และสัตว์ร้ายหลายชนิด

    48 สัตว์ทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในจุดต่างๆ กระทำที่อยู่อาศัยและตกลูก และพวกยักษ์ เหล่านั้น ก็จับกินลูกของมันอยู่บ่อยๆ

    49 ก็แล ณ บ้านนั้น เมื่อใดยักษ์ร้ายใจโหดเหล่านั้น กินเนื้อสัตว์อื่นๆ จนมีร่างกายอ้วนพีแล้ว เมื่อนั้น (มัน)ก็จะต่อสู้กัน อย่างน่าสะพรึงกลัวยิ่ง

    50 ณ ซอกที่เปลี่ยว มีพวกยักษ์แคระมากมาย ซึ่งมีจิตโหดร้ายทารุณ อาศัยอยู่ พวกยักษ์แคระเหล่านี้ สูงขนาด 1 คืบบ้าง 1 ศอกบ้าง 2ศอกบ้าง เคลื่อนไหวไปมาอยู่ ณ ที่นั้น

    51 ณ ที่นั่น ยักษ์แคระเหล่านั้น จับสุนัขทั้งหลายฟาดลงกับพื้นบ้าง หยิกและทุบที่คอสุนัขบ้าง ทรมานสุนัขให้เกิดความเจ็บปวดบ้าง (แล้วตนเอง)ก็ชอบใจ

    52 ณ ที่นั่น มีเปรตนานาชนิดจำนวนมาก อาศัยอยู่ เปรตเหล่านั้น มีรูปร่างใหญ่โต สูง ดำ ทุพพลภาพ อดโซ เที่ยวแสวงหาอาหาร ส่งเสียงโหยหวน ไปมาที่นั่นที่นี่

    53 (เปรต) บางพวก มีปากเท่ารูเข็ม บางพวกมีหน้าเหมือนวัว บางพวกมีขนาดเท่ามนุษย์ และบางพวกเท่าสุนัข มีผมยาวรุงรัง มีความทุกข์และอดอยากอาหาร กำลังร้องโหยหวนอยู่

    54 ยักษ์ เปรต ปีศาจ และแร้งทั้งหลาย ซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น มองหาอาหารทางช่องโหว่และหน้าต่าง ทั้งสี่ทิศตลอดเวลา

    55 บ้านหลังนั้นสูงใหญ่ ไม่มั่นคง น่ากลัวอย่างนี้ เป็นบ้านที่เก่าคร่ำคร่า ปรักหักพังและมีช่องโหว่(แต่) เป็นสมบัติ ของบุรุษหนึ่ง

    56 ก็แล ขณะที่บุรุษนั้น อยู่นอกบ้าน ได้เกิดไฟไหม้บ้านหลังนั้นขึ้น เปลวไฟเป็นพันๆได้ลุกลามไปรอบๆทั้งสี่ทิศอย่างรวดเร็ว

    57 คานและไม้(เครื่องบนของเรือน)ทั้งหลาย ที่ถูกไฟลุกเผาไหม้ ส่งเสียงปะทุรุนแรงน่าสะพรึงกลัวยิ่ง ไฟลุกลามติดเสาและฝาเรือนไปจนทั่ว ยักษ์และเปรตส่งเสียงร้องโหนหวนงะงมไปทั่ว

    58 แร้งจำนวนหลายร้อย และพวกกุมภัณฑ์ไม่ใช่น้อย ที่ถูไฟลวก หน้าตาไหม้ เกรียมพากันวิ่งพล่าน สัตว์หลายร้อยรอบๆนั้น ถูกไฟลวกพากันร้องระงม

    59 ณ ที่นั้น ปีศาจจำนวนมาก ที่โชคร้าย ถูกไฟลวกพากันวิ่งพล่าน ปีศาจเหล่านั้น ขณะที่ถูกไฟลวกอยู่ ได้กัดซึ่งกันและกัน จนเลือดไหลโซม

    60 สุนัขป่าจำนวนมากได้ตายไป และสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็เคี้ยวกินซึ่งกันและกันอุจจาระเมื่อถูกไฟไหม้มีกลิ่นเหม็น ฟุ้งกระจายไปในโลก ทั่วทุกสารทิศ

    61 ตะขาบทั้งหลาย ที่วิ่งหนีไปมา ก็ถูกพวกกุมภัณฑ์จับกิน พวกเปรตที่ถูกความหิวกระหาย และความร้อนแผดเผาอยู่ ถูกไฟไหม้เส้นผมพากันวิ่งพล่าน

    62 บ้านหลังนั้น มีเปลวไฟจำนวนพันลุกลามไปทั่ว ตกอยู่ในสภาพอันน่ากลัวเช่นนี้ และบุรุษผู้เป็นเจ้าของบ้านนั้น ได้ยืนมองดูอยู่ที่ภายนอกประตู

    63 และเขาได้ยิน(เสียง)บุตรของตน ซึ่งมีจิตใจจดจ่ออยู่กับการเล่น กำลังเล่นกันอยู่อย่างสนุกสนาน เหมือนกับคนโง่ที่ไม่รู้อะไรเลย

    64 บุรุษนั้น ครั้นได้ยินแล้วก็เข้าไปช่วยบุตรโดยเร็ว ด้วยเกรงว่าเด็กน้อยทั้งปวงของเขา ซึ่งยังโง่เขลาเบาปัญญา จะถูกไฟไหม้ แล้วจะต้องตายโดยเร็ว

    65 เขา (บุรุษนั้น) ได้บอกถึงอันตรายที่เกิดจากบ้านหลังนั้นแก่เด็กทั้งหลาย โดยร้องตะโกนว่า ดูก่อนกุลบุตรผู้เจริญ อาคารหลังนี้มีอันตรายใหญ่หลวง ที่จะก่อให้เกิด ความทุกข์ สัตว์นานาชนิด มีอยู่ในอาคารหลังนี้ และไฟก็กำลังลุกไหม้อาคารอยู่ จะก่อให้เกิดทุกข์ยิ่งขึ้น

    66 ในบ้านหลังนี้มีงูพิษ ยักษ์กุมภัณฑ์ เปรต ทีมีจิตใจโหดร้ายจำนวนมาก ทั้งยังเป็นที่อาศัยของหมู่สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก และนกแร้งทั้งหลาย ที่กำลังบินหาเหยื่ออยู่

    67 ในบ้านหลังนี้ มีสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากเห็นปานนี้ อาศัยอยู่ แม้จะไม่มีไฟ(ลุกไหม้) มันก็น่ากลัวยิ่งแล้ว แต่บัดนี้มีไฟลุกอยู่รอบด้าน รังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ยิ่งขึ้นแต่อย่างเดียว

    68 เด็กเหล่านั้น ผู้โง่เขลาเบาปัญญา ซึ่งเพลิดเพลินอยู่กับการเล่น แม้บิดาจะตะโกนบอกอยู่อย่างนั้น ก็มิได้คิดถึงคำพูดของบิดาและมิได้ใส่ใจ (มนสิการ) ในคำพูดของบิดา

    69 ณ ที่นั้น ในขณะนั้น บุรุษนั้นได้คิดว่า เรามีทุกข์มาก เพราะคิดถึงเรื่องลูก ณ ที่นี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ที่มีลูกแล้วกลับไม่มี ฉะนั้น ลูกของเราจะต้องไม่ถูกไฟไหม้

    70 ที่นั้น เขา (บุรุษนั้น) คิดว่า เด็กเหล่านี้ ชอบของเล่น ที่เด็กชอบของเล่นนั้น ก็เพราะความโง่เขลาเบาปัญญานั่นเอง

    71 บุรุษนั้น จึงกล่าวกับเด็กเหล่านั้นว่า ดูก่อนกุมาร พวกเธอจงฟัง เรามีเกวียนหลายชนิด เทียมด้วยกวาง แพะและโค สูงใหญ่ ตกแต่งไว้สวยงามมาก

    72 เกวียนเหล่านั้นอยู่ข้างนอกบ้าน ขอให้พวกเจ้าทั้งหลาย จงวิ่งออกมาข้างนอกบ้านเถิด แล้วรับเอกเกวียนไปเล่นกัน พ่อได้ให้เขาทำไว้สำหรับพวกเจ้า ขอให้ออกมาพร้อมกัน และเล่นของเล่นนั้นให้สนุกเถิด

    73 เด็กทั้งเหล่านั้น พอได้ยินว่า เกวียนเท่านั้น ก็รีบวิ่งออกมาโดยเร็ว เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้น ทุกคนก็มายืนข้างนอกบ้าน อย่างปลอดภัย

    74 บุรุษนั้น ซึ่งนั่งอยู่ที่ตั่ง ณ สี่แยกท่ามกลางหมู่บ้าน ครั้นเห็นเด็กทั้งหลายออกมานอกบ้านแล้ว จึงกล่าวกะเด็กเหล่านั้นว่า ดูก่อนนรชนทั้งหลาย ขณะนี้เราสบายใจแล้ว

    75 บุตรคือโอรสที่น่ารักทั้งยี่สิบคนของเรา กำลังประสบความทุกข์ พวกเขากำลังอดทนอยู่ในเรื่องที่น่าสยดสยอง น่าสะพรึงกลัวและมีสัตว์ร้ายมากมาย


    76 ขณะที่ไฟจำนวนพันกำลังลุกไหม้อยู่นั้น เด็กทั้งหลาย กำลังร่าเริงสนุกสนานอยู่กับการเล่น ขณะนี้เราได้ทำให้พวกเขาทั้งหมด พ้นจากความเดือดร้อนแล้ว ฉะนั้น เราจึงรู้สึกปลาบปลื้มใจมาก

    77 เด็กทั้งหลายทราบว่า บิดานั่งอยู่อย่างสบายใจ จึงเข้าไปหาและพูดว่า ข้าแต่บิดาขอท่านจงให้เกวียน ที่สวยงาม ทั้งสามชนิด (แก่ลูก)ตามที่ท่านให้คำสัญญาไว้ด้วยเถิด

    78 ข้าแต่บิดา ถ้าคำพูดทั้งหมด ที่ท่านจะให้เกวียนสามชนิด ซึ่งท่านพูดที่เรือนหลังโน้นเป็นจริงละก็ ขอท่านจงให้เกวียนสามชนิดนั้นแก่ลูกเถิด บัดนี้ถึงเวลาแล้ว

    79 บุรุษนั้น เป็นผู้มั่งคั่ง มีทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา ทองแท่ง และข้าทาสบริวารจำนวนมาก (แต่ให้) เกวียนชนิดเดียวเท่านั้นแก่ลูก

    80 คือเกวียนเทียมโคอย่างดี ประดับด้วยวัตถุมีค่า มีที่นั่ง มีกระดิ่งติดเป็นทิวแถว ประดับตกแต่งด้วยสัปทน และธง คลุมด้วยตาข่ายมุกดาและมณี

    81 (เกวียนเหล่านั้น) ประดับด้วยพวงมาลัย ที่ทำด้วยดอกไม้ทองคำ ห้อยย้อย ณ ที่ต่างๆ ประดับด้วยผ้าสวยงาม คลุมด้วยเนื้อดีสีขาว

    82 (เกวียนเหล่านั้น) มีเบาะทำด้วยผ้าที่อ่อนนุ่ม ปูพรม มีรูปนกยางและหงส์สวยงาม มีมูลค่านับหลายพันโกฏิ

    83 โคทั้งหลายที่เทียมเกวียนประดับรัตนะนั้น เป็นโคร่างใหญ่ สีขาว อ้วนพี มีพลังสง่างามและมีบุรุษผู้ดูแลมากมาย

    84 บุรุษนั้น (บิดา) ได้ให้เกวียน อันสวยงาม ประเสริฐยิ่งเช่นนั้น แก่บุตรทั้งหมดและบุตรเหล่านั้น มีใจบิติยินดีขับเกวียนเหล่านั้น เล่นสนุกสนานไปทั่วทุกสารทิศ

    85 ดูก่อนศาริบุตร ในทำนองเดียวกัน เราเป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้คุ้มครองรักษา และเป็นบิดาของสัตว์ทั้งหลาย และสัตว์ทั้งปวงซึ่งมีปัญญาน้อย ข้องติดอยู่ในกามคุณ ในโลกทั้งสามนั้น ก็เป็นบุตรของเรา

    86 โลกทั้งสามนั้นเปรียบเหมือนบ้านหลังนั้น ซึ่งเป็นสถานที่อันน่ากลัว เต็มไปด้วยความทุกข์หลายร้อยประการ ถูกไฟคือ ชาติ ชรา และพยาธิ หลายร้อยชนิดเผาไหม้ไปทั่ว

    87 ส่วนเราได้หลุดพ้นแล้วจากโลกทั้งสาม เพียงผู้เดียว มีความสงบ อาศัยอยู่ในป่า โลกทั้งสามนี้ เป็นอาณาจักรของเรา สัตว์ทั้งหลายที่ถูกแผดเผาอยู่ในโลกนั้น คือบุตรของเรา

    88 ณ ที่นั้น เราเอง ได้ชี้โทษและบอกเครื่องป้องกัน แก่สัตว์เหล่านั้น แต่สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา มีจิตหมกมุ่นในกามคุณ ไม่ฟังคำของเรา

    89 เราจึงใช้ความฉลาดในอุบาย แสดงยานสามแก่พวกเขาเหล่านั้น และให้พวกเขาได้รู้จักทุกข์นานัปการ ในโลกธาตุทั้งสาม แล้วแสดงอุบาย เพื่อการหนีออก (จากทุกข์)

    90 บุตรทั้งหลาย (สัตว์ทั้งหลาย) ที่เชื่อฟังเรา จักตั้งอยู่ในฐานะต่างกันคือจักได้อภิญญาหก วิชชาสาม และมีอานุภาพมาก เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง

    91 เราแสดงพุทธยานอันเลิศนี้ ด้วยอุทาหรณ์ (ตัวอย่าง) อันประเสริฐ แก่บุตรทุกคนว่า ท่านทั้งหลาย จงรับเอาพุทธยานที่เป็นเลิศนี้ ท่านทั้งหมดจักเป็นพระชินเจ้า

    92 ญาณ (ธรรม) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ เป็นสิ่งวิเศษสุด น่าปรารถนา เป็นสิ่งที่ดีงาม และน่ากราบไหว้บูชาในโลกนี้

    93 พละทั้งหลาย ฌานทั้งหลาย วิโมกษ์ทั้งหลายและสมาธิ จำนวนร้อยโกฏิใช่น้อย นี้คือยาน (เกวียน) อันประเสริฐยิ่งที่พุทธบุตรทั้งหลายพึงพอใจทุกเมื่อ

    94 เมื่อพุทธบุตรพอใจอยู่อย่างนี้ เวลาได้ผ่านพ้นไปเป็นวัน คืน ปักษ์ เดือน ฤดู ปี กัลป์ และพ้นโกฏิกัลป์

    95 ยานนี้เป็นรัตนยาน อันประเสริฐสุด ที่พระโพธิสัตว์ผู้ยินดี และสาวกทั้งหลายของพระสุคตไปฟัง ที่โพธิมณฑลนี้

    96 ดูก่อนติษยะ (ศาริบุตร) เธอจงเข้าใจอย่างนี้ว่า ในโลกนี้ ไม่ว่าจะไปแสวงหา ณ ที่ใดในสิบทิศนี้ ยานที่สองนั้นไม่มี เว้นเสียแต่เป็นอุบายของพระตถาคตเท่านั้น

    97 เธอทั้งหลาย เป็นบุตรของเรา เราเป็นบิดาของพวกเธอ เราเป็นผู้นำของพวกเธอ ซึ่งกำลังเร่าร้อนอยู่เพราะความทุกข์ เป็นระยะเวลาหลายโกฏิกัลป์ ให้ออกจากโลกที่น่ากลัวทั้งสาม

    98 เรากล่าวถึงพระนิพพาน ณ ที่นี้อย่างนี้ แต่พวกเธอยังไม่บรรลุพระนิพพานอย่างนั้น แม้พวกเธอได้พ้นทุกข์ในสังสารวัฏ ณ ที่นี้ แต่พวกเธอ ก็ควรแสวงหาพุทธยานเท่านั้น

    99 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ณ ที่นี้ ทั้งหมดไดฟังกฎเกณฑ์แห่งพุทธธรรมของเรา นี้คือกุศโลบายของพระชินเจ้า ที่ได้แนะนำพระโพธิสัตว์จำนวนมาก

    100 ในเวลาใด สัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ เป็นผู้ยินดีในกามทั้งหลาย ที่เลวทราม น่ารังเกียจ ในเวลานั้น พระผู้นำแห่งโลก ผู้ไม่มีวาทะเป็นอย่างอื่น จะกล่าวถึงทุกข์ที่เป็นอริยสัจ

    101 ก็แล แม้ชนเหล่าใด ที่ไม่รู้และโง่เขลาเบาปัญญา ไม่เห็นมูลเหตุแห่งความทุกข์ เราก็จะชี้ทางให้แก่ชนเหล่านั้นว่า "ตัณหาที่เกิดขึ้นเป็นเหตุแห่งความทุกข์"

    102 การดับตัณหาโดยไม่เหลือทุกเมื่อ ชื่อว่านิโรธสัจ ซึ่งเป็นสัจที่สามแห่งเรา บุคคลผู้ปฏิบัติตามมรรคนั้น จักเป็นผู้หลุดพ้นได้อย่างแน่นอน

    103 ดูก่อนศาริบุตร ชนทั้งหลายหลุดพ้นจากอะไรเล่า เขาทั้งหลายจะหลุดพ้นจากการยึดมั่นในสิ่งที่ไม่เป็นจริง แต่พวกเขายังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ตถาคตจึงเรียกพวกเขาว่า ผู้ยังไม่นิพพาน

    104 เพราะเหตุไร เราจึงไม่เรียก ผู้ทียังไมบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณว่า เป็นผู้หลุดพ้น ข้อนี้เป็นประสงค์ของเรา เราเป็นธรรมราชา อุบัติขึ้นมาเพื่อความสุขของชาวโลก

    105 ดูก่อนศาริบุตร นี้คือธรรมอันประเสริฐแห่งเรา ที่แสดงในวันนี้ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา ของเธอจง(นำไป)แสดงให้ทั่วทุกสารทิศด้วยเถิด

    106 เมื่อเธอแสดงแล้ว หากผู้ใดผู้หนึ่งรับเอาพระสูตร ด้วยความเคารพ แล้วพึงกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาด้วยความยินดี" เธอจงเข้าใจผู้นั้นว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว

    107 ผู้ที่เชื่อในพระสูตรนี้ คือผู้ที่ได้พบ พระตถาคตทั้งหลายในอดีตมาแล้ว ได้สักการะพระตถาคตทั้งหลายมาแล้ว และได้ฟังธรรมอย่างนี้มาแล้ว

    108 คนที่ศรัทธาในคำสอนของเรา คือผู้ที่เคยเห็นเรา เห็นเธอ เห็นภิกษุสงฆ์ทั้งปวงของเรา และเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้มาแล้ว

    109 เราแสดงพระสูตรนี้ แก่ผู้ที่มีความรู้เป็นเลิศ พระสูตรนี้อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดสำหรับชนผู้มีปัญญาน้อย ที่จริงแล้ว พระสูตรนี้ก็มิใช่วิสัยของสาวกทั้งหลายและมิใช่คติของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ที่นี้ด้วย

    110 ดูก่อนศาริบุตร ท่านเข้าถึงพระนิพพาน แต่สาวกรูปอื่นๆ ของเราละ พวกเขาศรัทธา ดำเนินตามเรา แต่พวกเขายังไม่ถึงญาณวิเศษอะไรเลย

    111 เธอจงอย่าแสดงธรรมนี้แก่คนหัวดื้อ คนมีทิฏฐิมานะ และพวกโยคีผู้ไม่สำรวม เพราะพวกเขาเป็นผู้โง่เขลา มัวเมาในกามทั้งหลาย เป็นคนเบาปัญญา จะดูหมิ่นธรรมที่แสดงนั้น

    112 คนที่ดูหมิ่นอุบายโกศลและพุทธธรรมของเรา ที่มีอยู่ในโลกนี้ และแสดงอาการหน้านิ่วคิ้วขมวด ดูหมิ่นยาน (ธรรม) ของเรา เธอจงฟังวิบากกรรมของเขา (ผลที่เขาได้รับนั้น) ต่อไป

    113 ไม่ว่าเรายังมีชีวิตอยู่หรือนิพพานไปแล้ว ผู้ที่ดูหมิ่นพระสูตรเช่นนี้ หรือดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย เธอจงฟัง วิบากกรรมของเขา จากเรา (ซึ่งจะเล่าต่อไป)

    [​IMG]

    114 เขาทั้งหลาย เคลื่อน(จุติ) จากมนุษย์โลกแล้ว จะไปเกิดในอเวจีมหานรก เป็นเวลาหนึ่งกัลป์บริบูรณ์ พวกเขาผู้โง่เขลา เมื่อเคลื่อนจากอเวจีมหานรกนั้นแล้ว ก็จะไปตกอเวจีมหานรกครั้งแล้ว ครั้งเล่า เป็นเวลาหลายกัลป์

    115 ก็แล ในเวลาที่พวกเขาเคลื่อนจากนรกแล้ว ส่วนมากจะไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานคือ เป็นสุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง เป็นผู้ไม่แข็งแรง กลายเป็นเครื่องเล่นของผู้อื่น

    116 ณ ที่นั้น พวกเขา (สัตว์ทั้งหลาย) ผู้ที่รังเกียจโพธิญาณอันประเสริฐของเราย่อมเป็นผู้มีร่างกายด่างดำ เต็มไปด้วย แผล ฝี หิด ไม่มีขน และมีกำลังอ่อนแอ

    117 พวกเขาจะถูกผู้อื่นรังเกียจเป็นนิจ จะถูกทำร้ายด้วยอาวุธ ร้องคร่ำครวญ ถูกโบยด้วยท่อนไม้ หิว กระหาย ผอมโซ ในที่ทุกนั้นๆ

    118 พวกเรา ที่โง่เขลาเบาปัญญา ดูถูก กล่าวร้ายพุทธธรรม ย่อมไปเกิดเป็นอูฐบ้าง ลาบ้าง ต้องบรรทุกของหนัก ถูกโบยตีด้วยแซ่และท่อนไม้ คิดถึงแต่เรื่องอาหาร

    119 แลบางคราว พวกเขา ผู้โง่เขลา ไปเกิดเป็นสุนัข รูปร่างน่าเกลียด ตาบอด พิการ(ต่ำทราม) ถูกเด็กชาวบ้านโบยตี และทำร้ายด้วยอาวุธ

    120 หลังจากตายไปแล้ว พวกเข้าผู้โง่เขลา จะไปเกิดเป็นสัตว์ มีร่างกายสูงห้าร้อยโยชน์โง่เง่า ทึมทึกมากยิ่งขึ้น

    121 (บางคราว เขาเหล่านั้น ผู้ดูหมิ่นพระสูตรเห็นปานนี้ ย่อมไปเกิดเป็นสัตว์ไม่มีเท้า ต้องเลื้อยคลาน แตะถูกสัตว์อื่นจำนวนหลายโกฏิ กัดกิน ย่อมประสบเวทนา อย่างทารุณยิ่ง

    122 แลเขาทั้งหลาย ผู้ซึ่งไม่ศรัทธาในพระสูตรของเรา เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนพิการ เป็นง่อย ค่อม ตาบอด โง่ และต่ำทราม

    123 เขาทั้งหลาย ซึ่งไม่เชื่อในพุทธโพธิญาณ จะเป็นผู้ที่ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ในโลกนี้ เป็นคนมีกลิ่นปากเหม็น มีวิญญาณร้าย (ยักษ์) สิ่งอยู่ในร่างกายของเขา

    124 เขาทั้งหลาย จะเป็นคนยากจน ทำงานขั้นต่ำ อาศัยผู้อื่นเป็นนิจ มีกำลังอ่อนแอ มีโรคภัยมากมาย อยู่ในโลกนี้ อย่างผู้อนาถา

    125 เขาทั้งหลาย จะเป็นคนรับใช้ในที่นั้นๆ เป็นผู้ไม่ปรารถนาจะให้แก่ใคร และของที่คนอื่นให้มาแล้วก็จะสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ผลแห่งบาปกรรมมีถึงเพียงนี้

    126 ณ ที่นั้น เขาทั้งหลาย แม้จะได้ยาดีที่หมอปรุงให้ด้วยจิตกุศล แม้กระนั้นโรคของพวกเขา ก็มีอาการรุนแรงขึ้น เขาจะไม่มีวันสงบจากโรคได้เลย

    127 เขาเหล่านั้น บางพวกไปทำโจรกรรมจากผู้อื่น เช่นทำร้าย ขู่เข็ญ ฉกชิง วิ่งราว ทรัพย์สินของผู้อื่น พวกเขาย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจบาปกรรมนั้น

    128 เพราะเหตุที่ พวกเขาดูหมิ่นพุทธธรรมนี้ของเรา พวกเขาจะไม่ได้พบพระโลกนาถ และพระผู้เป็นจอมราชันแห่งนรชน ผู้สอนธรรมบนแผ่นดินนี้ เพราะพวกเขาจะเกิดในสถานที่เสื่อมโทรมเท่านั้น

    129 คนพาล ที่ดูหมิ่นพุทธธรรมอย่างนี้ จะไม่ได้ฟังธรรม เป็นคนหูหนวก ไร้ความคิด และจะไม่มีโอกาสพบกับความสงบสุขเลย แม้ในกาลไหนๆ
    [​IMG]

    130 คนที่ดูหมิ่นพระสูตร (ธรรม) จะกลายเป็นคนโง่ วิกลจริต เป็นเวลาเกินพันหมื่นโกฏิกัลป์ เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา นี้คือผลของบาปกรรม

    131 นรกเป็นสถานที่เล่น อันสนุกสนานของเพวกเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) ที่อยู่ของพวกเขาคืออบายภูมิ ซึ่งมีทั้ง ลา สุนัขป่าและสุนัขบ้าน พวกเขา(ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) ก็จะอยู่ร่วมกับสัตว์เหล่านั้นเป็นนิจ

    132 พวกเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนตาบอด หูหนวก โง่เขลา เป็นคนรับใช้ผู้อื่น และยากจนเป็นนิจ คุณสมบัติเหล่านี้ (มีตาบอดเป็นต้น) เป็นอาภรณ์ของเขา ในกาลนั้น

    133 โรคภัยไข้เจ็บ แผลมากมาย (หลายหมื่นโกฏิ) บนร่างกาย พุพอง หิด โรคผิวหนัง โรคเรื้อน โรคกลากเกลื้อน และกลิ่นเหม็น เป็นเครื่องนุ่งห่มของเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม)

    134 พวกเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) มีสายตามืดมัว มีความโกรธแรงกล้า มีราคะจัด และเป็นผู้ยินดี ในกำเนิดของสัตว์เดียรัจฉาน

    135 ดูก่อนศาริบุตร ถ้าเราจะกล่าวถึงโทษของผู้ที่ดูหมิ่นพระสูตร (พุทธธรรม)ของเราตลอดกัลป์บริบูรณ์ โทษของผู้ดูหมิ่นพุทธธรรมนั้น ก็ยังไม่หมด

    136 ดูก่อนศาริบุตร เราเห็นเนื้อความอย่างนี้ จึงขอสั่งเธอว่า ขอเธอจงอย่าแสดงพระสูตร (ธรรม) เห็นปานนี้ ต่อหน้าคนพาลเลย

    137 แต่ว่า ชนเหล่าใด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีสติ เป็นบัณฑิต มีญาณ เป็นผู้ตั้งมั่นมุ่งตรงต่อพระโพธิญาณ อันประเสริฐ ขอเธอจงให้ชนเหล่านั้น ได้ฟังธรรม อันประเสริฐนี้เถิด

    138 แลชนเหล่าใดได้เฝ้าพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายโกฏิพระองค์ ได้สร้างกุศลไว้มากมาย จนประมาณมิได้ และมีอัธยาศัยมั่นคง ขอเธอจงให้ชนเหล่านั้น ได้ฟังธรรมอันประเสริฐนี้เถิด

    139 ชนเหล่าใด มีวิริยะ มีจิตเมตตา ได้เจริญเมตตามาช้านาน มีความเสียสละ ร่างกาย และชีวิต เธอควรแสดงพระสูตร (ธรรม) อันประเสริฐแก่ชนเหล่านั้นด้วยเถิด

    140 เหล่าชนที่มีความรักและเคารพซึ่งกันและกัน ชนที่ไม่ฝักใฝ่คนโง่เขลา ยินดีอยู่ตามซอกเขา เธอควรให้ชนเหล่านั้นได้ฟังพระสูตร (ธรรม) อันประเสริฐนี้ด้วย

    141 ถ้าเธอเห็นพุทธบุตรผู้เป็นเช่นนี้ คือ คบแต่กัลยาณมิตร และละบาปมิตร ขอให้เธอแสดงพระสูตร (ธรรม)นี้ แก่พุทธบุตรเหล่านั้นด้วย

    142 ถ้าเธอเห็นพุทธบุตรผู้เป็นเช่นนี้ คือ เป็นผู้มีศีลไม่ขาด บริสุทธิ์ดุจแก้วมณี ตั้งมั่นในการศึกษาไวปุลยสูตร (ปุณฑรีกสูตร) เธอควรแสดงพระสูตร (ธรรม) นี้แก่พุทธบุตรเหล่านั้นด้วย

    143 ชนเหล่าใด เป็นผู้ไม่โกรธ มีความชื่อตรง มีความกรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง และเคารพใกล้ชิดพระสุคตศาสดา เธอควรแสดงพระสูตร (ธรรม) นี้ แก่ชนเหล่านั้นด้วย

    144 ผู้ใดพ้นจากกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง (กับสิ่งทางโลก) แล้ว มีจิตตั้งมั่นในสมาธิ กล่าวธรรมในท่ามกลางชุมชน เธอจงแสดงพระสูตร (ธรรม) นี้ ด้วยการยกตัวอย่างหลายหมื่นโกฏิ แก่ผู้นั้นเถิด

    145 ก็แลผู้ใด ผูกพัน แสวงหาภาวะแห่งสัพพัญญุตญาณ ประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะและแม้ผู้ใด ไปแสวงหาภิกษุ ผู้กล่าวสอนดีในทิศทั้งปวง

    146 ผู้ใดพึงทรงจำไวปุลยสูตร ผู้ไม่ชอบใจคำสอนผู้อื่น และไม่ทรงจำคาถาแม้หนึ่งคาถาจากคัมภีร์อื่น เธอควรแสดงพระสูตร(ธรรม)อันประเสริฐนี้ แก่พวกเขาด้วยเถิด

    147 บุคคลที่แสวงหาพระสูตร(ธรรม)อันประเสริฐเช่นนี้ ครั้นได้แล้วเทิดทูนไว้เหนือศีรษะนั้น เทียบได้กับคนที่แสวงหาพระธาตุของพระตถาคต ครั้นได้แล้วย่อมเก็บไว้เป็นอย่างดี ก็ปานกัน

    148 อย่าใฝ่ใจในสูตรอื่นและศาสตร์อื่น ที่เป็นโลกายัต สูตรและศาสตร์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่คนโง่เท่านั้นสนใจกัน เธอควรละสูตรและศาสตร์เหล่านั้นเสีย แล้วแสดงพระสูตร (ธรรม)นี้

    149 ดูก่อนศาริบุตร เรา (ตถาคต) สามารถกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ ได้อีกหลายพันโกฏิ ตลอดกัลป์เต็ม ชนเหล่าใด เป็นผู้ปรารถนาธรรมอันประเสริฐสุด เธอจงกล่าวพระสูตรนี้ ต่อหน้าชนเหล่านั้น

    บทที่ 3 เอาปัมยปริวรรต ว่าด้วยอุปมาการเปรียบเทียบ
    ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
    มีเพียงเท่านี้



     
  4. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    วันนี้ sun dog ขออนุญาตโพสต์ถึงวัชรยานในเชิงประวัติศาสตร์บ้างนะจ๊ะ นำเนื้อหามาจาก

    1. หนังสือ "ประตูสู่พุทธเพิน แสงธรรมจากทิเบต" เขียนโดย ท่าน ลาตรี เคนดป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช แปลโดย อาจารย์ กฤษฎาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
    2. หนังสือ "การเห็นทั้งสาม" เขียนโดย ท่าน เตชุง ริมโปเช แปลโดย อาจารย์ โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
    3. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    --------------------------------------------------------------------------

    พุทธวัชรยานแบ่งเป็นหลากหลายนิกาย แต่ละนิกายล้วนมีสังฆราช หรือผู้ปกครองสุงสุดของคณะสงฆ์ในแต่ละนิกายนั้น ๆ แต่ทุกนิกายล้วนแต่ยึดสมเด็จองค์ดาไลลามะ (ทะไลลามะ) เป็นประมุขทางจิตวิญญาณ

    1. นิกายยุงตรุงเพิน

    หรือพุทธเพิน มีต้นกำเนิดมาจากทิเบตดั้งเดิม ไม่ได้เผยแผ่มาจากอินเดีย เป็นพุทธโบราณที่สืบทอดมา 18,000 ปีแล้ว เริ่มจากคำสอนของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ (เป็นพระพุทธเจ้าที่ประสูติและตรัสรู้ก่อนองค์ศรีศากยมุนี) ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า โอลโม ลุงริง หรือที่ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ชัมบาลา แบ่งเป็น 9 ยาน และมี 3 มรรค อันประกอบด้วย

    - วิถีแห่งพระสูตร วิถีละกิเลส
    - ตันตระ วิถีเปลี่ยนกิเลส
    - ซกเช็น วิถีให้กิเลสเผาตนเอง

    2. นิกายพุทธจากอินเดีย 4 นิกาย

    2.1 นิกายญิงมาปะ (Nyingmapa)
    ญิงมาปะเป็นนิกายแรกที่เผยแผ่มาจากอินเดีย โดยถือว่ากำเนิดจากท่านคุรุปัทมสมภวะ คำว่า "ญิงมาปะ" ซึ่งแปลว่าโบราณสัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดงชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธาท่านคุรุปัทมภพมากเนื่องจากท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือขจัดอุปสรรต่างๆได้จนหมดสิ้น ตามตำนานว่ากันว่าท่านเป็นภาคผสมของพระอมิตาภะ พระศรีศากยมุนี และ พระอวโลกิเตศวร ณยิงมาปะได้เน้นในด้านพุทธตันตระคำว่าตันตระนั้นแปลว่าเชือกหรือเส้นด้ายใหญ่ๆ หรือความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอนโดยผ่านพิธีมนตราภิเษก และเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจากอาจารย์สู่ศิษย์
    คำสอนญิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสารของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้น แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น 9 ยานคือ

    - สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และ โพธิสัตว์ยาน คือสามยานขั้นต้น
    - กริยาตันตระ จริยะตันตระ และโยคะตันตระ เป็นสามยานในชั้นกลางหรือจัดเป็นตันตระต่ำ
    - มหาโยคะตันตระ อนุตรโยคะตันตระและอธิโยคะตันตระ สามยานสุดท้าย หรือจัดเป็นตันตระสูง อนุตรโยคะตันตระจัดเป็นตันตระสูงสุดของตันตระ

    2.2 นิกายกาจูร์ปะ
    เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในต้นศตวรรษที่ 11 "กาจูร์ปะ" แปลว่า การถ่ายทอดคำสอนด้วยการบอกกล่าวจากอาจารย์สู่ศิษย์ ผู้ก่อตั้งคือท่านมาร์ปะ ผู้สืบสายคำสอนมาจากนาโรปะ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิหารนาลันทา ผู้รับสืบทอดคำสอนมาจากติโลปะ ผู้ถือว่ารู้แจ้งเองไม่ปรากฏว่าท่านได้รับคำสอนจากพระอาจารย์ท่านใด แต่ได้มีบันทึกบอกกล่าวไว้ว่าท่านได้รับคำสอนโดยตรงจากพระพุทธวัชรธร มาร์ปะเป็นลามะปราชญ์ผู้แปลพระธรรมที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งของทิเบต ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนต่อให้มิลาเรปะ โยคีผู้บรรลุความรู้แจ้งในชีวิตนี้ นิกายกาจูร์ปะได้ชื่อว่านิกายขาวก็สืบเนื่องจากการครองผ้าของมิลาเรปะซึ่งท่านจะครองผ้าบางๆสีขาวหรืออาจจะมาจากสัญลักษณ์ของวัดในกาจูร์ปะซึ่งจะทาสีขาวทั้งหมด มาร์ปะและมิลาเรปะถือว่ามีความสำคัญมากในพุทธตันตระของทิเบต ท่านได้ประพันธ์คำสอนไว้มากมาย มิลาเรปะมีศิษย์ทั้งหมด 21 ท่าน ท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ กัมโปปะ คำสอนสำคัญของนิกายนี้ ตันตระโยคะทั้ง 6 และการปฏิบัติ มหามุทรา

    2.3 นิกายสาเกียปะ
    นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสาเกีย คำว่า สาเกีย แปลว่าดินสีเทา อยู่ในแคว้นซัง ทางตอนใต้ของ แม่น้ำยาลุงซังโป วัดสาเกียมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น 3 แถบ คือแถบสีแดง สีขาว และสีดำ สีทั้ง 3 เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ คือ
    - สีแดง เป็นสีแห่งพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ผู้ทรงเป็นองค์แทนปัญญาของพระพุทธเจ้า
    - สีขาว เป็นสีแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้ทรงเป็นองค์แทนกรุณาของพระพุทธเจ้า
    - สีดำ เป็นสีแห่งพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ ผู้ทรงเป็นองค์แทนพลังของพระพุทธเจ้า

    นิกายสาเกียปะได้ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อสายขุนนางเก่าตระกูลเกิน โกนชก เกียลโป ท่านได้รับคำสอนกาลจักรตันตระจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะ โยคีชาวอินเดีย ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าท่านได้รับถ่ายทอดคำสอนมาจาก พระนางไนราตมยะ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดธรรมมาอีกทีจาก พระพุทธวัชรธร มีการทำกรรมฐานแบบลัมเดร (แปลเป็นไทยว่า มรรคผล) ซึ่งรวมเอาหนทางการปฏิบัติตามเส้นทางของมหายาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งบรรลุจุดหมายปลายทางเป็นพระพุทธเจ้า

    2.3 นิกายกาดัมปะ และ 2.4 นิกายเกลุกปะ
    จุดเริ่มของทั้ง 2 นิกายมาจากอตีศะทีปังกร และศิษย์ของท่านชื่อ ตมเติมปะ ท่านอตีศะได้เน้นมากในเรื่องคำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนาและเน้นในการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดโดยไม่เน้นในคำสอนตันตระ ศิษย์ของท่านอตีศะได้ก่อตั้งนิกายกาดัมปะขึ้น คำว่า กาดัม แปลว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเวลาผ่านไปกาดัมปะได้สูญเอกลักษณ์ของตนเองไปบ้างด้วยแรงดึงดูดใจจากตันตระ ในศตวรรษที่14 พระอาจารย์ซงคาปาได้ศึกษาคำสอนของท่านอตีศะและได้ปฏิวัตินิกายกาดัมปะขึ้นมาใหม่ให้คงเอกลักษณ์เดิมและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นนิกายเกลุกปะ คำว่าเกลุก แปลว่าความดีงาม คำสอนของเกลุกปะ เน้นที่การศึกษาจากต่ำขึ้นไปสูงเน้นธรรมวินัย เน้นด้านตรรกะและพุทธปรัชญา

    --------------------------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 พฤษภาคม 2012
  5. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    การที่วิธีปฏิบัติแบบตันตระของพระภิกษุในวัชรยาน มีลักษณะแตกต่างจากวิถีตามพระธรรมวินัยของพระศรีศากยมุนีนั้น จากประวัติข้างต้น sun dog เข้าใจว่า เป็นเพราะได้รับการถ่ายทอดมาจากพระพุทธเจ้าคนละพระองค์กันเช่น พระพุทธเจ้า เติมปา เชนรับ, พระพุทธวัชรธร, ภาคผสมของพระพุทธอามิตาภะกับองค์อื่นๆ เป็นต้น
    จ้า
     
  6. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    อานิสงส์ของการปล่อยสัตว์

    <object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/e-O4qUMUA-c?version=3&amp;hl=th_TH"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/e-O4qUMUA-c?version=3&amp;hl=th_TH" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    หากเพลาใดตื่นมาใส่บาตรเสียไม่ทัน ปล่อยสัตว์นั้นแลประเสริทแท้......
    เป็นทั้งการปลูก เมตตากรุณา แล บารมีในตัว ผู้ปฏิบัตินอกจากสมาธิปัญญาแล้ว ความเมตตา กรุณา เป็นสิ่งที่สำคัญมาก...
     
  7. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    <object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/vSlGn9L3tc4?version=3&amp;hl=th_TH"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/vSlGn9L3tc4?version=3&amp;hl=th_TH" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    ลึกซึ้งแลจึงเอามาแชร์แบ่งกัน
     
  8. a5g1aeka

    a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,578
    ขอบคุณเทพฯมากที่หาบทความและรูปภาพมาแบ่งปันสาธุๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  9. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    [​IMG]

    ธรรมบทมหายาน 42 บท

    กราบนวางคประดิษฐ์ด้วยจิตมั่น ทุกคืนวันอยู่ไหนไม่ไกลฉัน

    อุปฌาชย์ครูบาพระอาจาย์ พระคุณนั้นยังปัญญาข้าทุกกาล

    ศรีภัทรกีรติ

    บทแปล ธรรมบท 42 บท จากภาษาอังกฤษซึ่งเขียนโดย ศาสตราจารย์ จอร์น โบเฟลด์ (John Blofeld) พระคณาจารย์จีนเย็นบุญมอบให้ผ่านความทรงจำที่ฮ่องกง
    พระสูตรพุทธวจนะ42บทนี้ แพร่หลายเลื่องลือมาก ทั้งในโลกตะวันตกและในประเทศจีน เป็นพระสูตรแรกที่มีการแปลสู่ภาษาจีน เมื่อราวพ.ศ.612 พระเจ้าเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ทรงสุบินว่าได้เห็น ปฏิมากรทองคำขนาดใหญ่ลอยมาจากสวรรค์ เมื่อมาถึงพระราชวัง ปฏิมากรนั้นก็หยุดแต่ยังคงแกว่งไปมา พระเศียรของปฏิมากรนั้นมีรัศมีสว่างไสว ข้างกายมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ พระองค์ก็ตกใจตื่นขึ้น จึงให้อมาตย์โหรา มาพยากรณ์ อมาตย์โหรา กราบทูลว่า เป็นเรื่องมหามงคล พระปฏิมากรนั้นคือ พระพุทธรูปฉายาลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในอินเดีย พระเจ้าเม่งเต้เคยได้ยินเรื่องราวของพระพุทธศาสนามาบ้าง ก็ยินดี และได้จัดขบวนราชบุรุษ 18 คน ให้เดินทางไปอินเดียเพื่ออัญเชิญพระพุทธศาสนาเข้ามา เมื่อคณะราชบุรุษกลับมาได้อัญเชิญพระธาตุ, พระไตรปิฎก มาเป็นอันมาก ในครั้งนั้นยังได้อัญเชิญ พระภิกษุ 2รูปมายังประเทศจีนด้วย คือพระกาศยปมาตงค และพระโคภรณ (หรือที่เรียกว่าธรรมรักษ์) พระเจ้าเม่งเต้ ทรงสร้างวัดชื่อว่า วัดม้าขาว ขึ้น ณ นครลกเอี๋ยง อันเป็นวัดแห่งแรกในประเทศจีน เพื่อประดิษฐาน พระธาตุ พระไตรปิฎก พระสูตรต่างๆ อีกให้พระภิกษุทั้งสองได้จำพรรษา และแปลพระสูตรด้วย (ชื่อวัดม้าขาวเนื่องมาจาก พระเจ้าเม่งเต้ได้แสดงความเคารพนอบน้อมต่อ สิ่งซึ่งคณะราชบุรุษนำมา โดยให้บรรทุกมาบนหลังม้าสีขาวที่จัดว่าดีที่สุด จึงให้ชื่อวัดนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดม้าขาว)

    พระสูตรพุทธวจนะ 42 บท ดำเนินความในพระสูตร ถึงพระดำริของพระพุทธเจ้าที่ให้หลีกเลี่ยงจากกามคุณ ตั้งอยู่ในความสงบ ตั้งอยู่ในฌานสมาธิ ข้อธรรมในพระสูตรคล้ายคลึงกับธรรมบทที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก มากกว่าที่จะเป็นพระสูตรเอกเทศ เหมือนพระสูตรมหายานในยุคหลังต่อๆมา พระสูตรนี้เน้นไปที่การปฏิบัติตนของสมณะเพศมากกว่าที่จะเน้นไปที่คฤหัสถ์ ห้วงเวลานั้น มหายานในอินเดีย ยังไม่สมบูรณ์รุ่งเรืองเต็มที่ อัศวโฆษ ซึ่งถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.608 เพิ่งจะมีอายุได้ 4 ปี ตำราและพระสูตรต่างๆทางมหายาน ยังมิได้มีการรวมรวมเรียบเรียงเป็นระบบ จะมีก็แต่พระไดรปิฏก ของเถรวาทที่จารึกที่ลังกาด้วยภาษาบาลี เมื่อพ.ศ.508 แต่ก็ยังมีพระไตรปิฎก ของสรวาติสวาสซึ่งแตกต่างจากพระไตรปิฏกของเถรวาทไม่มาก (พระไตรปิฎกมหายานที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็คือพระไตรปิฎกของสรวาติสวาส ที่จารึกด้วยภาษาสันสกฤษ ไม่ทราบปีที่จารึก สันนิษฐานว่าจะอยู่ในช่วงเวลาไม่นานจากนี้เพราะอยู่ในสมัยของพระเจ้ากนิษกะซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ.619-644 และเป็นผู้จัดให้มีการสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นมหายาน พร้อมทั้งจารจารึกสิ่งที่ได้สังคยนากันไว้ด้วย)

    พระพุทธวจนะ 42 บท

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านได้ส่องให้เราได้เห็นภาพว่า “การละทิ้งความปรารถนาและการหยุดนิ่ง ในภาวะสงบอย่างแท้จริง คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การคงอยู่ในภาวะนามธรรมอันสมบูรณ์ คือวิธีการเอาชนะวิถีแห่งมารทั้งหลาย” ณ.ที่ วิหารสวนกวาง (เชนตะวันมหาวิหาร) ท่านได้อธิบายถึง หลักธรรมความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งสามารถทำให้พราหม์ อาชญาตเกาณ์ฐินย (อัญญโกนฑัญญ)และพวกอีก 4 ท่านบรรลุผลของธรรมวิถีนี้และได้อุทิศตนเป็นสาวก ยังมีพระสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งที่ยังมีข้อสงสัยอยู่ และกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้คำสอน และวิถีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาของพวกเขา ด้วยความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่จะปฏิบัติ จนถึงกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสั่งพวกเขาตัวต่อตัว จนกระทั่งพวกเขาสามารถบรรลุความรู้แจ้งได้สำเร็จ พวกเขาได้ตงลงร่วมมือกันอุทิศตนรับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าเพื่อเผยแพร่ธรรมวิถีปฏิบัติอันศักดิ์สิทธิ์นี้

    1 พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พวกเขาทั้งหลายผู้ซึ่งละทิ้งจากครอบครัว และหันมาใช้ชีวิตแบบภิกขาจาร (ไร้บ้าน,ขอเขากิน) พวกเข้าจะรู้ถึงธรรมชาติในจิตของของตนเป็นอย่างดี และสามารถเข้าถึงสิ่งที่เป็นมูลฐาน ด้วยเหตุนี้ การปลีกตัวจาก (สิ่งปรากฏต่างๆ และบรรลุสู่) การไม่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จะเรียกว่า “ศรมน”(สมณะ) พวกเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติตามศีล 250 ข้อ เพื่อเข้าสู่และคงอยู่ในภาวะสงบอย่างแท้จริง หลังจากผ่านการปฏิบัติธรรมทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว พวกเขาจะกลายเป็นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งครอบครองพลังที่ทำให้ตนล่องลอยอยู่ในอากาศและพลังในการเปลี่ยนแปลงสภาพได้ ตลอดจนความสามารถในการยึดอายุเป็นระยะเวลายาวนานไม่สิ้นสุด และสามารถอาศัยหรือโยกย้ายไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นโลกสวรรค์หรือโลกมนุษย์ ขั้นที่ต่ำกว่าขั้นพระอรหันต์ คือ อนาคามี ผู้บรรลุขั้นนี้ เมื่อถึงยามบั้นปลายชีวิตจะมีอำนาจทางวิญญาณ เพื่อเข้าสู่สวรรค์ชั้น 19 และบรรลุเป็นพระอรหันต์ สำหรับผู้บรรลุธรรมขั้น สกริทคมิน(สกทาคามี) ผู้ซึ่งจะต้องขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง และต้องเวียนว่ายตายเกิด มากกว่าครั้งหนึ่งก่อนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ยังมีผู้บรรลุธรรมอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือ สโรตา-อปน( โสดาบัน) คนเหล่านี้จะยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ จนกว่าจะผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในสัมสารามากกว่า 9 ครั้ง (ตามคัมภีร์ดั้งเดิมของจีน กล่าวว่า 7 ครั้ง ไม่ใช่ 9 ครั้ง) ลงมาอีกขั้นคืออารย ผู้ที่สามารถจะละทิ้งจากความอยากได้ และความปรารถนาของตนได้ เปรียบได้ดังคนที่ไม่มีอนาคตในการใช้ประโยชน์จากกิ่งแขนงอีกต่อไป (กล่าวตาม สำนวนวรรณคดี “ได้ตัดกิ่งแขนงของตนไป” ไม่ใช้มันอีกต่อไป”

    2 สมณะผู้ซึ่งได้จากบ้าน, ตัดขาดความปรารถนาส่วนตน และความต้องการของตน และเข้าใจถึงต้นกำเนิดขอจิตตนเอง จะสามารถเจาะทะลุผ่านเข้าไปสู่หลักการอันลึกล้ำของพุทธภาวะ เขาจะตื่นขึ้นสู่ภาวะไร้การปรากฏ, ไม่ยึดติดกับสิ่งใดภายใน และไม่แสวงหาสิ่งใดจากภายนอก จิตของเขาจะไม่ถูกตรวนด้วยกฎเกณฑ์หรือความเชื่อใดๆ,ไม่แม้กระทั่งถูกพัวพันด้วยผลกรรมของตน ไม่มีสิ่งใดให้ไตร่ตรอง ไม่มีสิ่งใดให้กระทำ,ไม่มีสิ่งใดให้ปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดปรากฏ ,ปราศจากการข้ามผ่านขั้นตอนต่อเนื่องทั้งหมด,ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เขาก็จะสามารถเข้าสู่ถึงจุดสูงสุดของทุกสิ่ง นี่คือสิ่งที่เกิดจาก “ธรรมวิถี” นั่นเอง

    3 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เขาผู้ซึ่งได้ตัดเครื่องพัธนาการ และหนวดเครา เพื่อกลายเป็นสมณะ และยอมรับในธรรมวิถีนี้ จะละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างทางโลก และพอใจกับอาหารที่ได้รับจากการขอ(บิณฑบาต), รับประทานเพียงหนึ่งครั้งต่อวัน มีเพียงต้นไม้ไว้สำหรับพักผ่อน เขาไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใดอีก ความต้องการและความปรารถนาคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์โง่เขลาและทำจิตให้มืดมัว

    4 พระพุทธเจ้าตรัสถึง การกระทำ 10 ประการที่เป็นการกระทำที่ดี และ10 ประการที่เป็นการกระทำที่ไม่ดี สิ่งเหล่านั้นคืออะไร 3สิ่งถูกปฏิบัติทางกาย 4สิ่งถูกปฏิบัติทางวาจา และ 3สิ่งถูกปฏิบัติทางใจ

    การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางกาย 3 ประการ คือ การฆ่า ขโมย และผิด ประเวณี

    การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางวาจา 4 ประการ คือ การหลอกลวง, การใส่ร้าย ป้ายสี, การโกหก, และการพูดจาไร้สาระ

    การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางใจ 3 ประการ คือ ความโลภ ,ความโกรธ และ ความโง่เขลา

    การกระทำทั้งสิบประการที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ดำเนินอยู่ในธรรมวิถีอันศักดิ์สิทธิ์ และถูกเรียกว่า การปฏิบัติความชั่วร้าย(อกุศลกรรม) 10 ประการ การหยุดการกระทำสิ่งเหล่านี้ เราเรียกว่า การปฏิบัติกุศลกรรม 10 ประการ

    5 พระพุทธเจ้าตัรัสว่า “หากมนุษย์ได้กระทำผิด โดยไม่ได้ตระหนักหรือเสียใจกับการกระทำของตน ผลกรรมก็จะสนองตอบต่อเขาในทันที ดังเช่น สายน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลรังแต่จะทำให้ทะเลนั้นค่อยๆกว้างและลึกขึ้น แต่หากมนุษย์สามารถตระหนักในความผิดของตน และพยายามเปลี่ยนแปลงตนให้ดีขึ้น ผลกรรมนั้นก็จะมลายหายไปเป็นอากาศธาตุไร้ตัวตน ดังเช่น ภาวะอันตรายจากไข้ ค่อยๆลดลง เมื่อเริ่มมีเหงื่ออออก”

    6 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “หากมนุษย์ผู้มีจิตชั่วร้าย, ได้ยินอะไรซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงาม แล้วนำมาบิดเบือนสร้างเป็นคำสาบแช่งก่อกวนให้แก่คุณ คุณควรอดกลั้น ด้วยความสงบของคุณ คุณต้องไม่ถักทอความโกรธแก่เขา ,เมื่อนั้นเขาผู้ซึ่งได้กระทำการสาปแช่งกับคุณนั้น ก็จะได้รับผลร้ายจากคำสาบแช่งนั้นกลับสู่ตนเอง

    7 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีบุคคลหนึ่งได้ยินว่าตัวฉันได้สนันสนุนธรรมวิถีปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีอยู่ในความดีงามและมหาเมตตากรุณา ด้วยเรื่องนี้ ,เป็นเหตุให้เขามาตำหนิและด่าทอฉัน , แต่ฉันยังคงเงียบและไม่โต้แย้งใดๆ เมื่อยุติการด่าทอฉันแล้ว, ฉันจึงกล่าวว่า “ท่านเอ๋ย หากท่านปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพแต่เขาไม่ยอมรับมัน ท่านไม่คิดว่าความสุภาพนี้จะย้อนกลับมาหาตัวท่านหรือไม่” เขาตอบว่า “ย้อนกลับสิ”, ฉันจึงกล่าวต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น การที่ท่านมาตำหนิฉันเช่นนี้ และฉันไม่ยอมรับคำตำหนิของท่าน สิ่งเลวร้ายที่ท่านสร้างขึ้นด้วยตนเองก็คงจะย้อนกลับสู่ตัวท่านด้วย เช่นกัน เพราะเสียงด่าทอนั้นจะเป็นจุดเริ่มของความชั่วร้ายและผลที่ย้อนกลับนั้นก็คือรูปแบบของความชั่วร้ายนั้นๆ สุดท้ายเราก็จะไม่สามารถหลีกหนีมันได้ ดังนั้น จงระวังเพื่อไม่ให้สิ่งที่ท่านได้ทำลงไปกลายเป็นความชั่วร้าย”

    8 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนเลวอาจจะปรารถนาที่จะทำร้ายคนดีมีศีลธรรม ดังเช่นเขาแหงนหน้าขึ้นแล้วถ่มน้ำลายต่อสวรรค์ แต่ว่าน้ำลายก็ไม่มีวันไปถึงสวรรค์ได้ มันจะย้อนกลับมาตกลงใส่ตัวเขาเอง แรงลมที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจจะพัดฝุ่นให้ปลิวขึ้นมา แต่ฝุ่นนั้นก็ไม่ได้ถูกพัดไปที่อื่น มันยังคงปนเปื้อนอยู่ในแรงลมนั้น เช่นเดียวกับ ความดีย่อมไม่ถูกทำลาย ขณะที่ความชั่วร้ายนั้นจะเป็นฝ่ายทำลายตัวเองอย่างแน่นอน

    9 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงฟังอย่างตั้งใจและทะนุถนอมเลี้ยงดูในธรรมวิถีนั้น แน่นอนว่าธรรมวิถีนั้นยากที่จะเข้าถึงได้ แต่จงรักษาความตั้งใจที่จะยอมรับมันอย่างนอบน้อม เพราะว่าธรรมวิถีนี้เองที่จะนำท่านไปสู่ความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง”

    10 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงปฏิบัติตามบุคคลผู้ซึ่งมอบความรู้ในธรรมวิถีปฏิบัตินั้น การช่วยเหลือท่านคือความปีติยินดีอันยิ่งใหญ่ และจะได้รับการตอบสนองจากพรอันมากมาย สมณะท่านหนึ่งถามว่า “มีขีดจำกัดของ พร เช่นนี้หรือไม่” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “พรนั้นเปรียบเสมือนกองไฟในคบเพลิง ที่คนเป็นร้อยเป็นพันต่างก็จุดลงในคบเพลิงของตน ผลของการกระทำนั้นก็คือ แสงไฟได้กลืนกินความมืด และคบเพลิงนั้นก็เป็นต้นกำเนิดของทั้งหมด และนี่เองก็เป็นธรรมชาติของพรเหล่านั้น

    11 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “การยื่นอาหารให้คนเลวร้อยคน ไม่เทียบเท่ากับการยื่นอาหารแก่คนดีเพียงคนเดียว การยื่นอาหารให้คนดีพันคนไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ผู้ปฏิบัติหลักศีล 5 เพียงคนเดียว

    การยื่นอาหารแก่ผู้ปฏิบัติศีล 5 หมื่นคน ไม่เทียบเท่ากันการให้อาหารแก่ผู้บรรลุโสดาบันเพียงคนเดียว

    การยื่นอาหารให้แก่โสดาบันล้านคน ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ อนาคามี เพียงคนเดียว

    การให้อาหารแก่ อนาคามี 100 ล้านคน ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่พระอรหันต์เพียงคนเดียว

    การให้อาหารแก่พระอรหันต์ พันล้านคนไม่เท่ากับการให้อาหารแก่ ปัจเจกพุทธเจ้า เพียงองค์เดียว

    การให้อาหารแก่ ปัจเจกพุทธเจ้าหมื่นล้านองค์ ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่พระพุทธเจ้าของสามโลกเพียงองค์เดียว

    การให้อาหารแก่พระพุทธเจ้าแห่งสามโลกแสนองค์ ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ คนที่ไม่คิดสิ่งใด, ไม่ทำสิ่งใด, ไม่ฝึกปฏิบัติสิ่งใดและไม่แสดงสิ่งใด (ผู้ปล่อยวางจากสรรพสิ่ง) เพียงคนเดียว

    12 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีการกระทำอยู่ 20 ประการที่เป็นเรื่องยากสำหรับมนุษย์ ได้แก่

    1 การยากปฏิบัติในความใจบุญ เมื่อเป็นคนยากจน

    2 การยากปฏิบัติธรรมวิถี เมื่อมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในมือ

    3 การยากยอมรับความตายที่ย่างก้าวเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    4 การยากที่จะได้รับโอกาสอ่านพระสูตรของพระพุทธเจ้า

    5 การยากที่จะเกิดมาอยู่ในสถานที่ของชาวพุทธโดยตรง

    6 การยากที่จะทนต่อความโลภและความปรารถนา (โดยปราศจากการ แข็งข้อต่อสิ่งเหล่านั้น)

    7 การยากเห็นบางสิ่งที่น่าดึงดูด โดยปราศจากความอยากในสิ่งนั้น

    8 การยากจะทนต่อคำดูถูกเยาะเย้ย โดยปราศจากการโต้ตอบอย่างโกรธ เคือง

    9 การยากเมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ และไมใช่อำนาจนั้น

    10 การยากเมื่อมีความสัมพันธ์กับสิ่งบางสิ่ง และยังสามารถดำรงตนไม่ให้ สิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อตนได้

    11 การยากศึกษาอย่างกว้างขวางและตรวจสอบทุกสิ่งโดยละเอียด

    12 การยากเอาชนะความเห็นแก่ตัว และความขี้เกียจ

    13 การยากบรรลุธรรม โดยไม่ได้ศึกษาพระธรรมมากพอ

    14 การยากทำใจให้เป็นกลาง

    15 การยากละเว้นการจำกัดความ(กำหนด)สิ่งต่างๆ ว่าเป็นสิ่งนั้นหรือไม่ เป็นสิ่งนั้น

    16 การยากที่จะเข้าถึความเห็นแจ้งในธรรมวิถี

    17 การยากเข้าใจถึงธรรมชาติของตนในคนๆหนึ่ง และใช้ความเข้าใจนี้ใน

    การยากศึกษาพระธรรมวิถี

    18 การยากช่วยเหลือผู้อื่นให้ถึงการรู้แจ้งอย่างที่กล่าวไว้ด้วยพฤติกรรมอัน หลากหลายของพวกเขา

    19 การยากที่เห็นความสิ้นสุด(ของธรรมวิถี)ที่ปราศจากการปรับเปลี่ยนชีวิต

    20 การยากละทิ้งความสำเร็จ(ที่เป็นเหมือนโซ่ตรวนที่ผูกเราไว้กับวัฏจักรของ การเวียนว่ายตายเกิด) เหมือนโอกาสทองของการได้เปิดตัว

    13 สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “จะมีวีธีใดบ้างที่จะทำให้เราบรรลุถึงความรู้ในการยุติชีวิต(ปรากฏการณ์ทางโลก) และหันเข้าหาธรรมวิถี พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “การทำจิตให้บริสุทธิ์ รักษาความตั้งใจ (ตะกายไปข้างหน้า) คุณก็สามารถเข้าถึงธรรมวิถีนี้ ดังเช่น ยามที่กระจกได้รับการขัดถู ฝุ่นต่างๆถูกกำจัดไป และเหลือไว้แต่ความกระจ่างใส โดยการตัดความปรารถนาและหยุดการมองหาสิ่งใดๆ(อื่นๆ)คุณก็จะสามารถยุติชีวิตทางโลกได้

    14 สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือความดี และอะไรคือความยิ่งใหญ่” พระองค์ตอบว่า “การปฏิบัติธรรมวิถีและการยึดถือว่าอะไรคือความจริง นั่นคือความดี และเมื่อความตั้งใจของตนปรับตัวให้ลงรอยกับธรรมวิถีแล้ว นั่นแหละคือความยิ่งใหญ่”

    15 สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือพลังยิ่งใหญ่ และอะไรคือจุดสูงสุดของความโชติช่วง” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “การที่สามารถอดทนต่อคำดูถูกเยาะเย้ย (โดยปราศจากการตอบโต้) เปรียบได้ดังพลังอันยิ่งใหญ่ บุคคลที่ไม่ยึดติดกับสาเหตุของความขุ่นเคืองใจ แต่ยังคงความสงบเย็นและมั่นคง(ภายใต้ทุกสถานการณ์) และบุคคลผู้ซึ่งอดทนต่อทุกสิ่งโดยปราศจากการปล่อยตัวปล่อยใจไปในทางที่ผิด จะได้รับเกียรติจากมนุษย์ด้วยกัน จุดสูงสุดของความโชติช่วงจะสามารถเข้าถึงได้ก็ต่อเมื่อจิตได้รับการชำระล้างความไม่บริสุทธิ์อย่างเต็มที่แล้ว และไม่มีความไม่จริง หรือคราบสกปรกใดๆคงอยู่ (อันจะทำให้เปื้อน)ในความบริสุทธิ์นั้น เมื่อทุกสรรพสิ่งไม่มี นับตั้งแต่ก่อนการสร้างสวรรค์และโลกมนุษย์ จนมาถึง ณ ปัจจุบัน หรือใน 10 เสี้ยวของจักรวาล ที่คุณไม่สามารถมองเห็น ได้ยิน และเข้าใจ เมื่อคุณสามารถบรรลุความรู้ในทุกๆสรรพสิ่ง นั่นเองที่อาจจะเรียกได้ว่า “ความโชติช่วง”

    16 มนุษย์ที่ยังคงยึดติดอยู่ในรู้สึกความอยากและความปรารถนา พวกเขาเหล่านั้นย่อมไม่สามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้ เช่นเดียวกับน้ำที่ใสกระจ่างถูกกวนให้ขุ่นด้วยมือมนุษย์ ไม่มีสายตาคู่ใดที่จะสามารถมองเข้าไปแล้วจะมองเห็นถึงภาพสะท้อนในน้ำนั้นได้ ดังนั้น มนุษย์ผู้มีจิตอันสกปรก และได้รับการกวนให้ขุ่นด้วยความรู้สึกอยากได้และความปรารถนาย่อมไม่สามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้ ท่านผู้เป็นสมณะจะต้องละทิ้ง ความความรู้สึกอยากได้และความปรารถนาทั้งหลาย เมื่อความสกปรกจากความรู้สึกอยากได้และความปรารถนานั้น ได้ถูกทำให้หายไปจนหมดสิ้น เมื่อนั้นเองที่ท่านจะสามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้

    17 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลที่สามารถเข้าถึงธรรมวิถี ก็เปรียบดังเช่น บุคคลนั้นได้เข้าไปในบ้านที่มืดมิดพร้อมกับคบเพลิงในมือ ความมืดนั้นจะถูกทำลายให้กระจายหายไป เหลือไว้แต่แสงสว่าง ดังนั้น การศึกษาธรรมวิถีและการเข้าใจแจ่มแจ้งถึงหลักความจริง จะทำให้ความโง่เขลาทั้งหลายหายไป ในขณะที่ การเข้าใจการตระหนักรู้อย่างถ่องแท้จะคงอยู่ไปตลอดกาล

    18 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คำสอนของฉันเปรียบได้ว่า เป็นการคิดที่เหนือกว่าคิด เป็นการกระทำที่เหนือกว่าการการะทำ เป็นการพูดที่เหนือกว่าคำพูด เป็นการฝึกที่เหนือกว่าการฝึก บุคคลใดๆที่สามารถเข้าหาทางสายนี้,ก้าวไปข้างหน้า, ขณะเดียวกันก็ทิ้งความโง่เขลาให้เสื่อมถอย ธรรมวิถีนี้สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่สามารถยึดติดได้ หากคุณยังคงกระทำตัวผิดๆอยู่ แม้จะเป็นความผิดเล็กน้อย คุณก็จะสูญเสีย(ธรรมวิถี)ในพริบตา

    19 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงจ้องมองสวรรค์และแผ่นดินทั้งปวง และพิจารณาว่าเหล่านั้นเป็นความไม่ถาวร จงจ้องมองโลกมนุษย์และพิจารณาว่ามันไม่ถาวร จงจ้องมองการตื่นขึ้นมาของจิตวิญญาณ ในภาวะ โพธิ ความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การบรรลุแจ้งในเวลาอันรวดเร็ว”

    20 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ท่านจงพิจารณาความจริงที่ว่า ถึงแม้ว่า ธาตุทั้ง4จะประกอบกันเป็นร่างกาย สร้างมันให้เป็นสิ่งมีชื่อ แต่ไม่มีธาตุใดเลย (ประกอบเป็นบางส่วนของ)ตัวตนที่แท้จริง ในความเป็นจริงแล้วตัวตนไม่มีอยู่จริง เป็นเช่นภาพลวงตา

    21 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีคนพวกหนึ่งที่พยายามบงการความรู้สึกและความปรารถนาของตนเอง พวกเขาเหล่านี้พยายามมองหาชื่อเสียงและตัวตนของพวกเขา แต่ยามที่ชื่อเสียงเหล่านั้นได้รับการกล่าวขาน พวกเขากลับตายไปแล้ว บุคคลผู้ซึ่งกระหายต่อชื่อเสียงของตนให้เป็นที่จดจำอย่างยาวนานในโลก คนเหล่านี้ไม่ศึกษาธรรมวิถีนี้ มุ่งมั่นพยายามอย่างไร้ประโยชน์ และดิ้นรนอย่างสูญเปล่า ดังเช่น การเผากำยาน แม้ว่าผู้คนจะสามารถรู้สึกได้ถึงกลิ่นหอมของมัน แต่ตัวมันกลับถูกเผาพลาญไปจนหมดสิ้น ดังนั้น ความปรารถนาจึงนำมาซึ่งไฟแห่งอันตรายที่สามารถเผาผลายร่างกายของคุณในการฝึกฝน

    22 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความมั่งคั่งและความงาม ,สำหรับมนุษย์ผู้ซึ่งไม่สามารถละทิ้งเหล่านี้ได้,ก็จะเป็นเสมือนมีดคมอาบน้ำผึ้ง ที่แม้ว่าจะได้รับรสหวานจากน้ำผึ้งก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันลิ้นของเขาก็จะถูกคมมีดบาดในช่วงที่กำลังเลี่ยน้ำผึ้งนั้น”

    23 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนผู้ซึ่งรัดตรึงไว้ด้วยภรรยา ลูกและบ้านของตน นั่นเลวร้ายยิ่งกว่านักโทษผู้ถูกจองจำ นักโทษในคุกอาจจะถูกปล่อยตัวไม่เร็วก็ช้า แต่ภรรยาและลูกย่อมไม่มีทางปล่อยคุณจากไป เหตุใดคุณจะต้องกลัวที่จะสลัดคุณเองในทันทีทันใดจากความรู้สึกอยากได้ความงามแห่งร่างกายด้วย (มิฉะนั้น) คุณจะเป็นผู้เชื่องเชื่อในคมเขี้ยวของเสือร้ายและยินยอมโดยเจตนาที่จะตกลงไปในบ่อทรายดูดด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ คุณจึงได้ชื่อว่าผู่ติดตามอย่างง่ายๆ ถ้าคุณสามารถก้าวไปถึงจุด(ของการละทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้) คุณก็จะลุกขึ้นจากกองฝุ่นที่สกปรกและกลายเป็นพระอรหันต์

    24 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความรู้สึกอยากได้และความปรารถนา ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะเหนือไปกว่าความต้องการทางเพศ ความต้องการทางเพศเป็นความปรารถนาที่ไม่มีสิ่งใดเทียบ การจะหลุดจากสิ่งนี้ (โดยทั่วไป) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเท่านั้น ไม่มีใครบนโลกที่จะสามารถกลายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมวิถีได้ หากผู้นั้นยังคงยอมรับความมีคู่อยู่”

    25 พระพุทธเจ้าตรัส “บุคคลผู้ซึ่ง(ยินยอมให้ตน)อยู่ภายใต้ความรู้สึกอยากและความปรารถนา เขาเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ก้าวเดินเข้าไปในฟันของเฟืองที่กำลังหมุนโดยถือคบเพลิงในมือ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มือเขาจะถูกไฟเผา

    26 เหล่าเทพเทวาได้ส่งหญิงงามประดุจหยกมาให้ฉัน โดยหวังว่า เธอจะสามารถสั่นคลอนความตั้งใจอันแน่วแน่ของฉัน ฉันจึงกล่าวว่า “โอ ถุงผิวหนังนี้ เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสมกมากมาย เธอมาที่นี่เพื่อะไร ไปซะ ฉันไม่ต้องการเธอ จากนั้นเหล่าเทพเทวาก็หันมานับถือฉันอย่างถึงที่สุด พวกเขาขอร้องให้ฉันเทศน์ธรรมให้แก่พวกเขา ฉันจึงชี้แจงหนทางให้แก่พวกเขา จนในที่สุดพวกเขาก็สามารถบรรลุขั้นสโรตอปน(โสดาบัน)

    27 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลที่ปฏิบัติธรรมวิถีนี้เปรียบเสมือน ชิ้นไม้ที่ลอยอยู่ตามลำพาลกลางน้ำ ไหลไปตามทางน้ำไหลนั้น โดยไม่ติดฝั่ง ไม่ถูกมนุษย์เก็บ ไม่ถูกยับยั้งโดยเหล่าเทวดา ไม่ถูกขัดขวางจากเศษสวะในผิวน้ำหรือไม่เน่าเปื่อย ลอยไปในธรรมวิถีนั้น ตัวฉันเองก็มีหน้าที่เปรียบเสมือนผู้พัดพาให้ชิ้นไม้ชิ้นนั้น ไปถึงท้องทะเล หากผู้ปฏิบัติธรรมวิถีทั้งหลาย ไม่หลงผิด อยู่ในความรู้สึกและความปรารถนาของตน ไม่ได้ถูกรบกวนโดยความเสื่อมทรามทางศีลธรรมใดๆ และหากเขาเหล่านั้น ตั้งใจจริงที่จะก้าวไปข้างหน้าที่ไม่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฉันก็พร้อมที่จะนำพวกเขาไปสู่การบรรลุธรรมวิถีอย่างแน่นอน

    28 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงระวังอย่าได้พึ่งพาแต่สติปัญญาของตนเอง เพราะมันอาจไม่สามารถเชื่อถือได้ ระวังอย่าได้หลงติดกับความน่าหลงใหลทางกายภาพ การยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความหายนะ มีเพียงยามที่คุณก้าวสู่ขั้นอรหันต์ได้แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถพึงพาสติปัญญาของตนเองได้”

    29 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงหลีกเลี่ยงการจ้องมองความงามของหญิงสาว และจงอย่าสนทนากับพวกเธอ หากจำเป็น(มีวาระต้อง)สนทนา จงควบคุมความนึกคิดที่ไหลผ่านเข้ามาในจิต เมื่อครั้งฉันยังเป็นสมณะและยังเกี่ยวข้องอยู่ในโลกียโลก ฉันเหมือนกับดอกบัวที่ไม่เปอะเปื้อนโคลนตมใดๆ (จากที่ซึ่งมันเจริญเติบโต) คิดถึงหญิงชราเปรียบเสมือนแม่ของคุณ คิดว่าหญิงที่อายุมากกวาเปรียบเสมือนพี่สาว หญิงที่มีอายุน้อยกว่าเปรียบเสมือนน้องสาวและคิดเสียว่าเด็กหญิงที่อ่อนกว่าตนมาก คือลูกสาว จงดำรงตนอยู่บนความคิดของความรู้แจ้ง และขับไล่ความชั่วร้ายทั้งปวงออกไปจากความคิด”

    30 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ก็เปรียบเสมือนกองฟาง ที่ถูกเก็บไว้ให้ห่างจากกองไฟ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่มีประสบการณ์จากความปรารถนา ย่อมต้องรู้ว่า ตนจะต้องวางระยะห่างระหว่างตัวเขาและ(เป้าหมายของเขา)ความปรารถนา”

    31 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีคนผู้หนึ่งที่ยอมปล่อยตัวปล่อยใจให้หลงอยู่ในเพลิงตัณหาอย่างหยุดไม่อยู่ แต่คนผู้นี้ก็ต้องการที่จะหยุดการกระทำอันเลวร้ายนี้ ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า “การยุติการกระทำอันชั่วยร้าย ไม่ดีเท่ากับการหยุดรากเหง้าของความชั่วร้ายในจิตของคุณ จิตคนเราก็เปรียบเสมือน กุงเซา ถ้า กุเซา ถูกระงับลง การกระทำของเขาก็จะยุติตาม หากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมในจิตยังคงดำเนินต่อไป จะมีประโยชน์อะไรที่จะหยุดการกระทำอันชั่วช้านี้เล่า ฉันยังย้ำเตือนบทกวีนี้แก่เขาว่า “ความอยากมาจากความคิด ความคิดมาจากการหยั่งรู้ (ความเข้าใจ) เมื่อจิตใจทั้งสองถูกทำให้สงบนิ่งก็จะไม่มีทั้งรูปและการกระทำ” ฉันยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า บทกวีนี้ถูกกล่าวครั้งแรกโดย กัศยปพุทธเจ้า”

    32 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความโศกเศร้าของมนุษย์มาจากความรู้สึกอยากและความปรารถนา ความกลัวมาจากความเศร้าเหล่านี้ หากหลุดพ้นจากความปรารถนาก็คือการบรรลุ อะไรจะ(เป็นสาเหตุ)ของความเศร้าและความกลัวอีก?

    33 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมวิถีนี้ เป็นเหมือนคนที่ต้องต่อสู้เป็นหมื่นครั้ง ต้องใส่เกราะก้าวออกจากประตู ความคิดของเขาอาจจะขี้ขลาด และไร้ซึ่งความเด็ดเดี่ยว หรือเขาอาจจะเข้าสู่สนามรบเพียงครึ่งทางแล้วหันหลังกลับเพื่อถอยหนี อีกครั้ง ที่เขาอาจจะต้องร่วมรบและถูกฆ่าตาย ในทางตรงข้าม เขาผู้นั้นอาจได้รับชัยชนะ และสามารถกลับมาอย่างปลอดภัย สมณะผู้ศึกษาธรรมวิถีจะต้องมีจิตใจอันแน่วแน่ และพยายามสร้างความกล้าหาญอย่างกระตือรือร้น ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใดๆที่เรี่ยงรายอยู่ต่อหน้าเขา และต้องทำลายมารร้าย (สิ่งลวงใจที่มาขัดขวางการปฏิบัติธรรม)เมื่อนั้นเขาก็จะได้รับผลสำเร็จจากการศึกษาธรรมวิถี(อย่างขยันหมั่นเพียร)

    34 คืนหนึ่ง,สมณะรูปหนึ่งกำลังสวดมนต์ “พระสูตรคำสอนมรดกของกศปยพุทธเจ้าเสียงสวดมนต์ของเขาฟังแล้วเต็มไปด้วยความเศร้า เขาสำนึกผิดและดูถูกตนเองที่ตัวเขาเกิดความปรารถนา

    พระพุทธเจ้าตรัสถามเขาว่า “ก่อนที่เธอจะมาบวชเป็นพระ ได้ทำอะไรมาก่อน?”

    สมณะทูลตอบ “ฉันเล่นพิณมาก่อน”

    พระพุทธเจ้า “จะเกิดอะไรขึ้น หากสายพิณที่เธฮเล่น เกิดหย่อนลงไป”

    สมณะทูลตอบ “มันก็จะไม่มีเสียง”

    พระพุทธเจ้า “และถ้าเธอขึงสายพิณให้ตึงเกินไปล่ะ”

    สมณะทูลตอบ “เสียงก็จะถูกบีบ ฟังไม่ไพเราะ”

    พระพุทธเจ้า “และถ้าสายพิณนั้นไม่หย่อนไม่ตึงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร”

    สมณะทูลตอบ “เสียงก็จะเป็นปกติ”

    ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าจึงบตรัสขึ้นมาว่า “มันก็เป็นเหมือนกันสมณะผู้ศึกษาพระธรรม หากจิตของเขาได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เขาผู้นั้นก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ แต่หากเขาบังคับตัวเองเพื่อที่จะบรรลุพระธรรม จิตของเขาก็จะเหน็ดเหนื่อย และความเหน็ดเหนื่อยนั้นเองจะทำให้ความนึกคิดของเขากลายเป็นความหงุดหงิดรำคาญใจ และด้วยความหงุดหงิดรำคาญใจนี้ จะทำให้การกระทำของเขาเสื่อยลงและด้วยการกระทำที่เสื่อมลงนี้ จะทำให้ความชั่วร้ายทั้งปวงเข้าสู่จิตของเขา แต่ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นศึกษาพระธรรมอย่างเงียบๆ และมีความสุขไปกับพระธรรมนั้น เขาก็จะไม่ออกนอกเส้นทางแห่งพระธรรมนั้น

    35 พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “หากช่างตีเหล็กหล่อเหล็กร้อนจนกระทั่งสิ่งเจือปนในเหล็กนั้นถูกทำลายไปจนหมด (ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวน)การสร้างเป็นเครื่องมือแล้วล่ะก็ เครื่องมือที่ได้จะเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกัน หากผู้ปฏิบัติธรรมสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากจิตของเขาในช่วงแรกของการปฏิบัติ การกระทำของเขาก็จะบริสุทธิ์”

    36 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “การที่สัตว์เดียรฉาน จะเกิดเป็นมนุษย์ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่จะหนีจากความผู้หญิงมาเกิดเป็นผู้ชาย นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะเกิดมามีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะเกิดมาในประเทศไทยที่เป็นเมืองพุทธ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะเกิดตรงมาในสถานที่ๆล้อมรอบด้วยชาวพุทธ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะได้สัมผัสกับธรรมวิถี นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะปลูกฝังความศรัทธาในจิต นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะบรรลุสู่ โพธิจิต นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะสามารถบรรลุสู่ภาวะไม่มีสิ่งใดคือการปฏิบัติและไม่มีสิ่งใดถูก แสดงให้เห็น นั้นเป็นเรื่องยาก”

    37 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ศิษย์ของฉันแม้จะอยู่ห่างไกลจากฉันนับพันไมล์ ถ้าเขาหมั่นพิจารณาคำสอนของฉันและปฏิบัติอย่างรอบคอบ ก็จะบรรลุสำเร็จ(ของการศึกษา)ธรรมวิถี แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดฉันที่สุด แม้จะพบเห็นฉันตลอดเวลา ก็จะตกจากที่สูงสุดไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของฉัน”

    38 พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสมณะรูปหนึ่งว่า “ช่วงเวลาของชีวิตมนุษย์ยาวนานเท่าไหร่?

    “เพียงแค่ไม่กี่วัน” สมณะตอบ

    “เธอยังไม่เข้าใจ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ แล้วจึงไปถามสมณะอีกรูปหนึ่งด้วยคำถามเดียวกัน

    “มันยาวนานเท่ากับการรับประทานอาหารมื้อหนึ่ง”

    “เธอยังไม่เข้าใจ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ แล้วก็หันไปถามสมณะอีกรูปหนึ่งด้วยคำถามเดียวกัน

    “มันยาวนานเหมือนช่วงเวลาที่หายใจเฮือกหนึ่ง”

    “ดีมาก เธอเข้าใจแล้ว” พระพุทธเจ้าตอบ

    39 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ควรจะเชื่อและปฏิบัติทุกสิ่งตามที่พระพุทธเจ้าพูด ดังเช่น เมื่อคุณกินน้ำผึ้งเข้าไป (คุณก็จะพบว่า)ทุกๆหยดของน้ำผึ้งนั้นหวาน มันก็เป็นเช่นเดียวกับคำพูดของฉัน”

    40 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สมณะผู้ศึกษาธรรมวิถีไม่ควรจะเป็นดังเช่นวัวที่ใช้กำลัง

    ลากเสาหิน แม้ว่าการกระทำของวัวนั้นจะเป็นการกระทำที่เหมาะสมกันร่างกายของมัน

    แต่มันไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่จิตของมัน ถ้าการปฏิบัติธรรมวิถีคือการฝึกฝนติดตามจิตแล้วอะไรเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ?

    41 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนที่ปฏิบัติธรรมวิถี ก็เปรียบดังเช่น วัวที่ต้องขนสัมภาระหนัก เพื่อเดินข้ามผ่านหลุมโคลนลึก แม้มันจะรู้สึเหน็ดเหนื่อยแต่ก็ไม่กล้าที่จะเหลียวซ้ายแลขวา คิดแต่เพียงที่จะโผล่พ้นจากหลุมโคลนเท่านั้น จากนั้นมันก็จะสดชื่นขึ้นด้วยการพักผ่อน สมณะควรจะมุ่งเน้นขจัดความรู้สึกและความปรารถนาของตน(ให้มากว่าวัวที่มุ่งเน้นให้พ้น)จากหลุมโคลนนั้น แค่เพียงควบคุมจิตและคำนึงถึงแต่ธรรมวิถีเท่านั้น ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเศร้าทั้งหลาย”

    42 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “ฉันพิจารณาสถานะของบรรดากษัตริย์และเจ้าชาย เช่นเดียวกับการพิจารณา

    ฝุ่นผงที่ปลิวผ่านรอยแยก”

    “ฉันพิจารณาเครื่องประดับทอง เช่นเดียวกับการพิจารณา เศษหิน , เศษอิฐ

    “ฉันพิจารณาเสื้อผ้าไหมชั้นดี เช่นเดียวกับการพิจารณา ผ้าขี้ริ้วขาดๆ

    “ฉันพิจารณา major chiliocosm เช่นเดียวกับการพิจารณา เม็ดถั่วเม็ดเล็กๆ

    “ฉันพิจารณาอนวตปต เช่นเดียวกับการพิจารณา น้ำมันที่เปื้อนเท้า

    (ในอีกกรณีหนึ่ง)

    ฉันพิจาราณวิธีการที่เหมาะสม(นำไปสู่ความจริง)เช่นเดียวกับการพิจารณาการใช้เงินซึ้อกองอัญมณี

    “ฉันพิจารณา ยานพาหนะที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับการพิจารณา ความฝันในทรัพย์สินอันอุดมสมบูรณ์

    “ฉันพิจารณา ธรรมวิถีของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับการพิจารณา ความสง่างามที่สามารถเห็นได้ด้วยตา

    “ฉันพิจารณา สมาธิธยาน เช่นเดียวกับการพิจารณา เสาพระสุเมรุ”

    “ฉันพิจารณา นิรวาณ เช่นเดียวกับการพิจารณาการตื่นนอนยามอรุณรุ่งจาก การหลับใหลยามค่ำคืน

    “ฉันพิจารณาพวกนอกรีตที่ถูกสร้างขึ้น เช่นเดียวกับการพิจารณามังกร 6 ตัวกำลังเต้นระบำ

    “ฉันพิจารณาความเป็นสากล, คุณลักษณ์ที่เที่ยงตรง(ของพระพุทธเจ้า) เช่นเดียวกับการพิจารณาความจริงอันสมบูรณ์

    “ฉันพิจารณาการแปรเปลี่ยน(ธรรมวิถี) เช่นเดียวกับการพิจารณา การเปลี่ยนแปลงของต้นไม้(เนื่องมาจาก)ฤดูกาลทั้งสี่


    mahayana.in.th ขอบคุณ อ.ชาญชัย ริโวเชธรรมสถาน
     
  10. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    [​IMG]

    ธรรมบทมหายาน 42 บท

    กราบนวางคประดิษฐ์ด้วยจิตมั่น ทุกคืนวันอยู่ไหนไม่ไกลฉัน

    อุปฌาชย์ครูบาพระอาจาย์ พระคุณนั้นยังปัญญาข้าทุกกาล

    ศรีภัทรกีรติ

    บทแปล ธรรมบท 42 บท จากภาษาอังกฤษซึ่งเขียนโดย ศาสตราจารย์ จอร์น โบเฟลด์ (John Blofeld) พระคณาจารย์จีนเย็นบุญมอบให้ผ่านความทรงจำที่ฮ่องกง
    พระสูตรพุทธวจนะ42บทนี้ แพร่หลายเลื่องลือมาก ทั้งในโลกตะวันตกและในประเทศจีน เป็นพระสูตรแรกที่มีการแปลสู่ภาษาจีน เมื่อราวพ.ศ.612 พระเจ้าเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ทรงสุบินว่าได้เห็น ปฏิมากรทองคำขนาดใหญ่ลอยมาจากสวรรค์ เมื่อมาถึงพระราชวัง ปฏิมากรนั้นก็หยุดแต่ยังคงแกว่งไปมา พระเศียรของปฏิมากรนั้นมีรัศมีสว่างไสว ข้างกายมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ พระองค์ก็ตกใจตื่นขึ้น จึงให้อมาตย์โหรา มาพยากรณ์ อมาตย์โหรา กราบทูลว่า เป็นเรื่องมหามงคล พระปฏิมากรนั้นคือ พระพุทธรูปฉายาลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในอินเดีย พระเจ้าเม่งเต้เคยได้ยินเรื่องราวของพระพุทธศาสนามาบ้าง ก็ยินดี และได้จัดขบวนราชบุรุษ 18 คน ให้เดินทางไปอินเดียเพื่ออัญเชิญพระพุทธศาสนาเข้ามา เมื่อคณะราชบุรุษกลับมาได้อัญเชิญพระธาตุ, พระไตรปิฎก มาเป็นอันมาก ในครั้งนั้นยังได้อัญเชิญ พระภิกษุ 2รูปมายังประเทศจีนด้วย คือพระกาศยปมาตงค และพระโคภรณ (หรือที่เรียกว่าธรรมรักษ์) พระเจ้าเม่งเต้ ทรงสร้างวัดชื่อว่า วัดม้าขาว ขึ้น ณ นครลกเอี๋ยง อันเป็นวัดแห่งแรกในประเทศจีน เพื่อประดิษฐาน พระธาตุ พระไตรปิฎก พระสูตรต่างๆ อีกให้พระภิกษุทั้งสองได้จำพรรษา และแปลพระสูตรด้วย (ชื่อวัดม้าขาวเนื่องมาจาก พระเจ้าเม่งเต้ได้แสดงความเคารพนอบน้อมต่อ สิ่งซึ่งคณะราชบุรุษนำมา โดยให้บรรทุกมาบนหลังม้าสีขาวที่จัดว่าดีที่สุด จึงให้ชื่อวัดนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดม้าขาว)

    พระสูตรพุทธวจนะ 42 บท ดำเนินความในพระสูตร ถึงพระดำริของพระพุทธเจ้าที่ให้หลีกเลี่ยงจากกามคุณ ตั้งอยู่ในความสงบ ตั้งอยู่ในฌานสมาธิ ข้อธรรมในพระสูตรคล้ายคลึงกับธรรมบทที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก มากกว่าที่จะเป็นพระสูตรเอกเทศ เหมือนพระสูตรมหายานในยุคหลังต่อๆมา พระสูตรนี้เน้นไปที่การปฏิบัติตนของสมณะเพศมากกว่าที่จะเน้นไปที่คฤหัสถ์ ห้วงเวลานั้น มหายานในอินเดีย ยังไม่สมบูรณ์รุ่งเรืองเต็มที่ อัศวโฆษ ซึ่งถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.608 เพิ่งจะมีอายุได้ 4 ปี ตำราและพระสูตรต่างๆทางมหายาน ยังมิได้มีการรวมรวมเรียบเรียงเป็นระบบ จะมีก็แต่พระไดรปิฏก ของเถรวาทที่จารึกที่ลังกาด้วยภาษาบาลี เมื่อพ.ศ.508 แต่ก็ยังมีพระไตรปิฎก ของสรวาติสวาสซึ่งแตกต่างจากพระไตรปิฏกของเถรวาทไม่มาก (พระไตรปิฎกมหายานที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็คือพระไตรปิฎกของสรวาติสวาส ที่จารึกด้วยภาษาสันสกฤษ ไม่ทราบปีที่จารึก สันนิษฐานว่าจะอยู่ในช่วงเวลาไม่นานจากนี้เพราะอยู่ในสมัยของพระเจ้ากนิษกะซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ.619-644 และเป็นผู้จัดให้มีการสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นมหายาน พร้อมทั้งจารจารึกสิ่งที่ได้สังคยนากันไว้ด้วย)

    พระพุทธวจนะ 42 บท

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านได้ส่องให้เราได้เห็นภาพว่า “การละทิ้งความปรารถนาและการหยุดนิ่ง ในภาวะสงบอย่างแท้จริง คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การคงอยู่ในภาวะนามธรรมอันสมบูรณ์ คือวิธีการเอาชนะวิถีแห่งมารทั้งหลาย” ณ.ที่ วิหารสวนกวาง (เชนตะวันมหาวิหาร) ท่านได้อธิบายถึง หลักธรรมความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งสามารถทำให้พราหม์ อาชญาตเกาณ์ฐินย (อัญญโกนฑัญญ)และพวกอีก 4 ท่านบรรลุผลของธรรมวิถีนี้และได้อุทิศตนเป็นสาวก ยังมีพระสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งที่ยังมีข้อสงสัยอยู่ และกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้คำสอน และวิถีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาของพวกเขา ด้วยความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่จะปฏิบัติ จนถึงกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสั่งพวกเขาตัวต่อตัว จนกระทั่งพวกเขาสามารถบรรลุความรู้แจ้งได้สำเร็จ พวกเขาได้ตงลงร่วมมือกันอุทิศตนรับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าเพื่อเผยแพร่ธรรมวิถีปฏิบัติอันศักดิ์สิทธิ์นี้

    1 พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พวกเขาทั้งหลายผู้ซึ่งละทิ้งจากครอบครัว และหันมาใช้ชีวิตแบบภิกขาจาร (ไร้บ้าน,ขอเขากิน) พวกเข้าจะรู้ถึงธรรมชาติในจิตของของตนเป็นอย่างดี และสามารถเข้าถึงสิ่งที่เป็นมูลฐาน ด้วยเหตุนี้ การปลีกตัวจาก (สิ่งปรากฏต่างๆ และบรรลุสู่) การไม่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จะเรียกว่า “ศรมน”(สมณะ) พวกเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติตามศีล 250 ข้อ เพื่อเข้าสู่และคงอยู่ในภาวะสงบอย่างแท้จริง หลังจากผ่านการปฏิบัติธรรมทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว พวกเขาจะกลายเป็นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งครอบครองพลังที่ทำให้ตนล่องลอยอยู่ในอากาศและพลังในการเปลี่ยนแปลงสภาพได้ ตลอดจนความสามารถในการยึดอายุเป็นระยะเวลายาวนานไม่สิ้นสุด และสามารถอาศัยหรือโยกย้ายไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นโลกสวรรค์หรือโลกมนุษย์ ขั้นที่ต่ำกว่าขั้นพระอรหันต์ คือ อนาคามี ผู้บรรลุขั้นนี้ เมื่อถึงยามบั้นปลายชีวิตจะมีอำนาจทางวิญญาณ เพื่อเข้าสู่สวรรค์ชั้น 19 และบรรลุเป็นพระอรหันต์ สำหรับผู้บรรลุธรรมขั้น สกริทคมิน(สกทาคามี) ผู้ซึ่งจะต้องขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง และต้องเวียนว่ายตายเกิด มากกว่าครั้งหนึ่งก่อนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ยังมีผู้บรรลุธรรมอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือ สโรตา-อปน( โสดาบัน) คนเหล่านี้จะยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ จนกว่าจะผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในสัมสารามากกว่า 9 ครั้ง (ตามคัมภีร์ดั้งเดิมของจีน กล่าวว่า 7 ครั้ง ไม่ใช่ 9 ครั้ง) ลงมาอีกขั้นคืออารย ผู้ที่สามารถจะละทิ้งจากความอยากได้ และความปรารถนาของตนได้ เปรียบได้ดังคนที่ไม่มีอนาคตในการใช้ประโยชน์จากกิ่งแขนงอีกต่อไป (กล่าวตาม สำนวนวรรณคดี “ได้ตัดกิ่งแขนงของตนไป” ไม่ใช้มันอีกต่อไป”

    2 สมณะผู้ซึ่งได้จากบ้าน, ตัดขาดความปรารถนาส่วนตน และความต้องการของตน และเข้าใจถึงต้นกำเนิดขอจิตตนเอง จะสามารถเจาะทะลุผ่านเข้าไปสู่หลักการอันลึกล้ำของพุทธภาวะ เขาจะตื่นขึ้นสู่ภาวะไร้การปรากฏ, ไม่ยึดติดกับสิ่งใดภายใน และไม่แสวงหาสิ่งใดจากภายนอก จิตของเขาจะไม่ถูกตรวนด้วยกฎเกณฑ์หรือความเชื่อใดๆ,ไม่แม้กระทั่งถูกพัวพันด้วยผลกรรมของตน ไม่มีสิ่งใดให้ไตร่ตรอง ไม่มีสิ่งใดให้กระทำ,ไม่มีสิ่งใดให้ปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดปรากฏ ,ปราศจากการข้ามผ่านขั้นตอนต่อเนื่องทั้งหมด,ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เขาก็จะสามารถเข้าสู่ถึงจุดสูงสุดของทุกสิ่ง นี่คือสิ่งที่เกิดจาก “ธรรมวิถี” นั่นเอง

    3 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เขาผู้ซึ่งได้ตัดเครื่องพัธนาการ และหนวดเครา เพื่อกลายเป็นสมณะ และยอมรับในธรรมวิถีนี้ จะละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างทางโลก และพอใจกับอาหารที่ได้รับจากการขอ(บิณฑบาต), รับประทานเพียงหนึ่งครั้งต่อวัน มีเพียงต้นไม้ไว้สำหรับพักผ่อน เขาไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใดอีก ความต้องการและความปรารถนาคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์โง่เขลาและทำจิตให้มืดมัว

    4 พระพุทธเจ้าตรัสถึง การกระทำ 10 ประการที่เป็นการกระทำที่ดี และ10 ประการที่เป็นการกระทำที่ไม่ดี สิ่งเหล่านั้นคืออะไร 3สิ่งถูกปฏิบัติทางกาย 4สิ่งถูกปฏิบัติทางวาจา และ 3สิ่งถูกปฏิบัติทางใจ

    การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางกาย 3 ประการ คือ การฆ่า ขโมย และผิด ประเวณี

    การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางวาจา 4 ประการ คือ การหลอกลวง, การใส่ร้าย ป้ายสี, การโกหก, และการพูดจาไร้สาระ

    การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางใจ 3 ประการ คือ ความโลภ ,ความโกรธ และ ความโง่เขลา

    การกระทำทั้งสิบประการที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ดำเนินอยู่ในธรรมวิถีอันศักดิ์สิทธิ์ และถูกเรียกว่า การปฏิบัติความชั่วร้าย(อกุศลกรรม) 10 ประการ การหยุดการกระทำสิ่งเหล่านี้ เราเรียกว่า การปฏิบัติกุศลกรรม 10 ประการ

    5 พระพุทธเจ้าตัรัสว่า “หากมนุษย์ได้กระทำผิด โดยไม่ได้ตระหนักหรือเสียใจกับการกระทำของตน ผลกรรมก็จะสนองตอบต่อเขาในทันที ดังเช่น สายน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลรังแต่จะทำให้ทะเลนั้นค่อยๆกว้างและลึกขึ้น แต่หากมนุษย์สามารถตระหนักในความผิดของตน และพยายามเปลี่ยนแปลงตนให้ดีขึ้น ผลกรรมนั้นก็จะมลายหายไปเป็นอากาศธาตุไร้ตัวตน ดังเช่น ภาวะอันตรายจากไข้ ค่อยๆลดลง เมื่อเริ่มมีเหงื่ออออก”

    6 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “หากมนุษย์ผู้มีจิตชั่วร้าย, ได้ยินอะไรซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงาม แล้วนำมาบิดเบือนสร้างเป็นคำสาบแช่งก่อกวนให้แก่คุณ คุณควรอดกลั้น ด้วยความสงบของคุณ คุณต้องไม่ถักทอความโกรธแก่เขา ,เมื่อนั้นเขาผู้ซึ่งได้กระทำการสาปแช่งกับคุณนั้น ก็จะได้รับผลร้ายจากคำสาบแช่งนั้นกลับสู่ตนเอง

    7 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีบุคคลหนึ่งได้ยินว่าตัวฉันได้สนันสนุนธรรมวิถีปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีอยู่ในความดีงามและมหาเมตตากรุณา ด้วยเรื่องนี้ ,เป็นเหตุให้เขามาตำหนิและด่าทอฉัน , แต่ฉันยังคงเงียบและไม่โต้แย้งใดๆ เมื่อยุติการด่าทอฉันแล้ว, ฉันจึงกล่าวว่า “ท่านเอ๋ย หากท่านปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพแต่เขาไม่ยอมรับมัน ท่านไม่คิดว่าความสุภาพนี้จะย้อนกลับมาหาตัวท่านหรือไม่” เขาตอบว่า “ย้อนกลับสิ”, ฉันจึงกล่าวต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น การที่ท่านมาตำหนิฉันเช่นนี้ และฉันไม่ยอมรับคำตำหนิของท่าน สิ่งเลวร้ายที่ท่านสร้างขึ้นด้วยตนเองก็คงจะย้อนกลับสู่ตัวท่านด้วย เช่นกัน เพราะเสียงด่าทอนั้นจะเป็นจุดเริ่มของความชั่วร้ายและผลที่ย้อนกลับนั้นก็คือรูปแบบของความชั่วร้ายนั้นๆ สุดท้ายเราก็จะไม่สามารถหลีกหนีมันได้ ดังนั้น จงระวังเพื่อไม่ให้สิ่งที่ท่านได้ทำลงไปกลายเป็นความชั่วร้าย”

    8 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนเลวอาจจะปรารถนาที่จะทำร้ายคนดีมีศีลธรรม ดังเช่นเขาแหงนหน้าขึ้นแล้วถ่มน้ำลายต่อสวรรค์ แต่ว่าน้ำลายก็ไม่มีวันไปถึงสวรรค์ได้ มันจะย้อนกลับมาตกลงใส่ตัวเขาเอง แรงลมที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจจะพัดฝุ่นให้ปลิวขึ้นมา แต่ฝุ่นนั้นก็ไม่ได้ถูกพัดไปที่อื่น มันยังคงปนเปื้อนอยู่ในแรงลมนั้น เช่นเดียวกับ ความดีย่อมไม่ถูกทำลาย ขณะที่ความชั่วร้ายนั้นจะเป็นฝ่ายทำลายตัวเองอย่างแน่นอน

    9 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงฟังอย่างตั้งใจและทะนุถนอมเลี้ยงดูในธรรมวิถีนั้น แน่นอนว่าธรรมวิถีนั้นยากที่จะเข้าถึงได้ แต่จงรักษาความตั้งใจที่จะยอมรับมันอย่างนอบน้อม เพราะว่าธรรมวิถีนี้เองที่จะนำท่านไปสู่ความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง”

    10 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงปฏิบัติตามบุคคลผู้ซึ่งมอบความรู้ในธรรมวิถีปฏิบัตินั้น การช่วยเหลือท่านคือความปีติยินดีอันยิ่งใหญ่ และจะได้รับการตอบสนองจากพรอันมากมาย สมณะท่านหนึ่งถามว่า “มีขีดจำกัดของ พร เช่นนี้หรือไม่” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “พรนั้นเปรียบเสมือนกองไฟในคบเพลิง ที่คนเป็นร้อยเป็นพันต่างก็จุดลงในคบเพลิงของตน ผลของการกระทำนั้นก็คือ แสงไฟได้กลืนกินความมืด และคบเพลิงนั้นก็เป็นต้นกำเนิดของทั้งหมด และนี่เองก็เป็นธรรมชาติของพรเหล่านั้น

    11 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “การยื่นอาหารให้คนเลวร้อยคน ไม่เทียบเท่ากับการยื่นอาหารแก่คนดีเพียงคนเดียว การยื่นอาหารให้คนดีพันคนไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ผู้ปฏิบัติหลักศีล 5 เพียงคนเดียว

    การยื่นอาหารแก่ผู้ปฏิบัติศีล 5 หมื่นคน ไม่เทียบเท่ากันการให้อาหารแก่ผู้บรรลุโสดาบันเพียงคนเดียว

    การยื่นอาหารให้แก่โสดาบันล้านคน ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ อนาคามี เพียงคนเดียว

    การให้อาหารแก่ อนาคามี 100 ล้านคน ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่พระอรหันต์เพียงคนเดียว

    การให้อาหารแก่พระอรหันต์ พันล้านคนไม่เท่ากับการให้อาหารแก่ ปัจเจกพุทธเจ้า เพียงองค์เดียว

    การให้อาหารแก่ ปัจเจกพุทธเจ้าหมื่นล้านองค์ ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่พระพุทธเจ้าของสามโลกเพียงองค์เดียว

    การให้อาหารแก่พระพุทธเจ้าแห่งสามโลกแสนองค์ ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ คนที่ไม่คิดสิ่งใด, ไม่ทำสิ่งใด, ไม่ฝึกปฏิบัติสิ่งใดและไม่แสดงสิ่งใด (ผู้ปล่อยวางจากสรรพสิ่ง) เพียงคนเดียว

    12 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีการกระทำอยู่ 20 ประการที่เป็นเรื่องยากสำหรับมนุษย์ ได้แก่

    1 การยากปฏิบัติในความใจบุญ เมื่อเป็นคนยากจน

    2 การยากปฏิบัติธรรมวิถี เมื่อมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในมือ

    3 การยากยอมรับความตายที่ย่างก้าวเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    4 การยากที่จะได้รับโอกาสอ่านพระสูตรของพระพุทธเจ้า

    5 การยากที่จะเกิดมาอยู่ในสถานที่ของชาวพุทธโดยตรง

    6 การยากที่จะทนต่อความโลภและความปรารถนา (โดยปราศจากการ แข็งข้อต่อสิ่งเหล่านั้น)

    7 การยากเห็นบางสิ่งที่น่าดึงดูด โดยปราศจากความอยากในสิ่งนั้น

    8 การยากจะทนต่อคำดูถูกเยาะเย้ย โดยปราศจากการโต้ตอบอย่างโกรธ เคือง

    9 การยากเมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ และไมใช่อำนาจนั้น

    10 การยากเมื่อมีความสัมพันธ์กับสิ่งบางสิ่ง และยังสามารถดำรงตนไม่ให้ สิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อตนได้

    11 การยากศึกษาอย่างกว้างขวางและตรวจสอบทุกสิ่งโดยละเอียด

    12 การยากเอาชนะความเห็นแก่ตัว และความขี้เกียจ

    13 การยากบรรลุธรรม โดยไม่ได้ศึกษาพระธรรมมากพอ

    14 การยากทำใจให้เป็นกลาง

    15 การยากละเว้นการจำกัดความ(กำหนด)สิ่งต่างๆ ว่าเป็นสิ่งนั้นหรือไม่ เป็นสิ่งนั้น

    16 การยากที่จะเข้าถึความเห็นแจ้งในธรรมวิถี

    17 การยากเข้าใจถึงธรรมชาติของตนในคนๆหนึ่ง และใช้ความเข้าใจนี้ใน

    การยากศึกษาพระธรรมวิถี

    18 การยากช่วยเหลือผู้อื่นให้ถึงการรู้แจ้งอย่างที่กล่าวไว้ด้วยพฤติกรรมอัน หลากหลายของพวกเขา

    19 การยากที่เห็นความสิ้นสุด(ของธรรมวิถี)ที่ปราศจากการปรับเปลี่ยนชีวิต

    20 การยากละทิ้งความสำเร็จ(ที่เป็นเหมือนโซ่ตรวนที่ผูกเราไว้กับวัฏจักรของ การเวียนว่ายตายเกิด) เหมือนโอกาสทองของการได้เปิดตัว

    13 สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “จะมีวีธีใดบ้างที่จะทำให้เราบรรลุถึงความรู้ในการยุติชีวิต(ปรากฏการณ์ทางโลก) และหันเข้าหาธรรมวิถี พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “การทำจิตให้บริสุทธิ์ รักษาความตั้งใจ (ตะกายไปข้างหน้า) คุณก็สามารถเข้าถึงธรรมวิถีนี้ ดังเช่น ยามที่กระจกได้รับการขัดถู ฝุ่นต่างๆถูกกำจัดไป และเหลือไว้แต่ความกระจ่างใส โดยการตัดความปรารถนาและหยุดการมองหาสิ่งใดๆ(อื่นๆ)คุณก็จะสามารถยุติชีวิตทางโลกได้

    14 สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือความดี และอะไรคือความยิ่งใหญ่” พระองค์ตอบว่า “การปฏิบัติธรรมวิถีและการยึดถือว่าอะไรคือความจริง นั่นคือความดี และเมื่อความตั้งใจของตนปรับตัวให้ลงรอยกับธรรมวิถีแล้ว นั่นแหละคือความยิ่งใหญ่”

    15 สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือพลังยิ่งใหญ่ และอะไรคือจุดสูงสุดของความโชติช่วง” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “การที่สามารถอดทนต่อคำดูถูกเยาะเย้ย (โดยปราศจากการตอบโต้) เปรียบได้ดังพลังอันยิ่งใหญ่ บุคคลที่ไม่ยึดติดกับสาเหตุของความขุ่นเคืองใจ แต่ยังคงความสงบเย็นและมั่นคง(ภายใต้ทุกสถานการณ์) และบุคคลผู้ซึ่งอดทนต่อทุกสิ่งโดยปราศจากการปล่อยตัวปล่อยใจไปในทางที่ผิด จะได้รับเกียรติจากมนุษย์ด้วยกัน จุดสูงสุดของความโชติช่วงจะสามารถเข้าถึงได้ก็ต่อเมื่อจิตได้รับการชำระล้างความไม่บริสุทธิ์อย่างเต็มที่แล้ว และไม่มีความไม่จริง หรือคราบสกปรกใดๆคงอยู่ (อันจะทำให้เปื้อน)ในความบริสุทธิ์นั้น เมื่อทุกสรรพสิ่งไม่มี นับตั้งแต่ก่อนการสร้างสวรรค์และโลกมนุษย์ จนมาถึง ณ ปัจจุบัน หรือใน 10 เสี้ยวของจักรวาล ที่คุณไม่สามารถมองเห็น ได้ยิน และเข้าใจ เมื่อคุณสามารถบรรลุความรู้ในทุกๆสรรพสิ่ง นั่นเองที่อาจจะเรียกได้ว่า “ความโชติช่วง”

    16 มนุษย์ที่ยังคงยึดติดอยู่ในรู้สึกความอยากและความปรารถนา พวกเขาเหล่านั้นย่อมไม่สามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้ เช่นเดียวกับน้ำที่ใสกระจ่างถูกกวนให้ขุ่นด้วยมือมนุษย์ ไม่มีสายตาคู่ใดที่จะสามารถมองเข้าไปแล้วจะมองเห็นถึงภาพสะท้อนในน้ำนั้นได้ ดังนั้น มนุษย์ผู้มีจิตอันสกปรก และได้รับการกวนให้ขุ่นด้วยความรู้สึกอยากได้และความปรารถนาย่อมไม่สามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้ ท่านผู้เป็นสมณะจะต้องละทิ้ง ความความรู้สึกอยากได้และความปรารถนาทั้งหลาย เมื่อความสกปรกจากความรู้สึกอยากได้และความปรารถนานั้น ได้ถูกทำให้หายไปจนหมดสิ้น เมื่อนั้นเองที่ท่านจะสามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้

    17 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลที่สามารถเข้าถึงธรรมวิถี ก็เปรียบดังเช่น บุคคลนั้นได้เข้าไปในบ้านที่มืดมิดพร้อมกับคบเพลิงในมือ ความมืดนั้นจะถูกทำลายให้กระจายหายไป เหลือไว้แต่แสงสว่าง ดังนั้น การศึกษาธรรมวิถีและการเข้าใจแจ่มแจ้งถึงหลักความจริง จะทำให้ความโง่เขลาทั้งหลายหายไป ในขณะที่ การเข้าใจการตระหนักรู้อย่างถ่องแท้จะคงอยู่ไปตลอดกาล

    18 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คำสอนของฉันเปรียบได้ว่า เป็นการคิดที่เหนือกว่าคิด เป็นการกระทำที่เหนือกว่าการการะทำ เป็นการพูดที่เหนือกว่าคำพูด เป็นการฝึกที่เหนือกว่าการฝึก บุคคลใดๆที่สามารถเข้าหาทางสายนี้,ก้าวไปข้างหน้า, ขณะเดียวกันก็ทิ้งความโง่เขลาให้เสื่อมถอย ธรรมวิถีนี้สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่สามารถยึดติดได้ หากคุณยังคงกระทำตัวผิดๆอยู่ แม้จะเป็นความผิดเล็กน้อย คุณก็จะสูญเสีย(ธรรมวิถี)ในพริบตา

    19 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงจ้องมองสวรรค์และแผ่นดินทั้งปวง และพิจารณาว่าเหล่านั้นเป็นความไม่ถาวร จงจ้องมองโลกมนุษย์และพิจารณาว่ามันไม่ถาวร จงจ้องมองการตื่นขึ้นมาของจิตวิญญาณ ในภาวะ โพธิ ความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การบรรลุแจ้งในเวลาอันรวดเร็ว”

    20 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ท่านจงพิจารณาความจริงที่ว่า ถึงแม้ว่า ธาตุทั้ง4จะประกอบกันเป็นร่างกาย สร้างมันให้เป็นสิ่งมีชื่อ แต่ไม่มีธาตุใดเลย (ประกอบเป็นบางส่วนของ)ตัวตนที่แท้จริง ในความเป็นจริงแล้วตัวตนไม่มีอยู่จริง เป็นเช่นภาพลวงตา

    21 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีคนพวกหนึ่งที่พยายามบงการความรู้สึกและความปรารถนาของตนเอง พวกเขาเหล่านี้พยายามมองหาชื่อเสียงและตัวตนของพวกเขา แต่ยามที่ชื่อเสียงเหล่านั้นได้รับการกล่าวขาน พวกเขากลับตายไปแล้ว บุคคลผู้ซึ่งกระหายต่อชื่อเสียงของตนให้เป็นที่จดจำอย่างยาวนานในโลก คนเหล่านี้ไม่ศึกษาธรรมวิถีนี้ มุ่งมั่นพยายามอย่างไร้ประโยชน์ และดิ้นรนอย่างสูญเปล่า ดังเช่น การเผากำยาน แม้ว่าผู้คนจะสามารถรู้สึกได้ถึงกลิ่นหอมของมัน แต่ตัวมันกลับถูกเผาพลาญไปจนหมดสิ้น ดังนั้น ความปรารถนาจึงนำมาซึ่งไฟแห่งอันตรายที่สามารถเผาผลายร่างกายของคุณในการฝึกฝน

    22 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความมั่งคั่งและความงาม ,สำหรับมนุษย์ผู้ซึ่งไม่สามารถละทิ้งเหล่านี้ได้,ก็จะเป็นเสมือนมีดคมอาบน้ำผึ้ง ที่แม้ว่าจะได้รับรสหวานจากน้ำผึ้งก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันลิ้นของเขาก็จะถูกคมมีดบาดในช่วงที่กำลังเลี่ยน้ำผึ้งนั้น”

    23 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนผู้ซึ่งรัดตรึงไว้ด้วยภรรยา ลูกและบ้านของตน นั่นเลวร้ายยิ่งกว่านักโทษผู้ถูกจองจำ นักโทษในคุกอาจจะถูกปล่อยตัวไม่เร็วก็ช้า แต่ภรรยาและลูกย่อมไม่มีทางปล่อยคุณจากไป เหตุใดคุณจะต้องกลัวที่จะสลัดคุณเองในทันทีทันใดจากความรู้สึกอยากได้ความงามแห่งร่างกายด้วย (มิฉะนั้น) คุณจะเป็นผู้เชื่องเชื่อในคมเขี้ยวของเสือร้ายและยินยอมโดยเจตนาที่จะตกลงไปในบ่อทรายดูดด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ คุณจึงได้ชื่อว่าผู่ติดตามอย่างง่ายๆ ถ้าคุณสามารถก้าวไปถึงจุด(ของการละทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้) คุณก็จะลุกขึ้นจากกองฝุ่นที่สกปรกและกลายเป็นพระอรหันต์

    24 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความรู้สึกอยากได้และความปรารถนา ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะเหนือไปกว่าความต้องการทางเพศ ความต้องการทางเพศเป็นความปรารถนาที่ไม่มีสิ่งใดเทียบ การจะหลุดจากสิ่งนี้ (โดยทั่วไป) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเท่านั้น ไม่มีใครบนโลกที่จะสามารถกลายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมวิถีได้ หากผู้นั้นยังคงยอมรับความมีคู่อยู่”

    25 พระพุทธเจ้าตรัส “บุคคลผู้ซึ่ง(ยินยอมให้ตน)อยู่ภายใต้ความรู้สึกอยากและความปรารถนา เขาเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ก้าวเดินเข้าไปในฟันของเฟืองที่กำลังหมุนโดยถือคบเพลิงในมือ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มือเขาจะถูกไฟเผา

    26 เหล่าเทพเทวาได้ส่งหญิงงามประดุจหยกมาให้ฉัน โดยหวังว่า เธอจะสามารถสั่นคลอนความตั้งใจอันแน่วแน่ของฉัน ฉันจึงกล่าวว่า “โอ ถุงผิวหนังนี้ เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสมกมากมาย เธอมาที่นี่เพื่อะไร ไปซะ ฉันไม่ต้องการเธอ จากนั้นเหล่าเทพเทวาก็หันมานับถือฉันอย่างถึงที่สุด พวกเขาขอร้องให้ฉันเทศน์ธรรมให้แก่พวกเขา ฉันจึงชี้แจงหนทางให้แก่พวกเขา จนในที่สุดพวกเขาก็สามารถบรรลุขั้นสโรตอปน(โสดาบัน)

    27 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลที่ปฏิบัติธรรมวิถีนี้เปรียบเสมือน ชิ้นไม้ที่ลอยอยู่ตามลำพาลกลางน้ำ ไหลไปตามทางน้ำไหลนั้น โดยไม่ติดฝั่ง ไม่ถูกมนุษย์เก็บ ไม่ถูกยับยั้งโดยเหล่าเทวดา ไม่ถูกขัดขวางจากเศษสวะในผิวน้ำหรือไม่เน่าเปื่อย ลอยไปในธรรมวิถีนั้น ตัวฉันเองก็มีหน้าที่เปรียบเสมือนผู้พัดพาให้ชิ้นไม้ชิ้นนั้น ไปถึงท้องทะเล หากผู้ปฏิบัติธรรมวิถีทั้งหลาย ไม่หลงผิด อยู่ในความรู้สึกและความปรารถนาของตน ไม่ได้ถูกรบกวนโดยความเสื่อมทรามทางศีลธรรมใดๆ และหากเขาเหล่านั้น ตั้งใจจริงที่จะก้าวไปข้างหน้าที่ไม่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฉันก็พร้อมที่จะนำพวกเขาไปสู่การบรรลุธรรมวิถีอย่างแน่นอน

    28 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงระวังอย่าได้พึ่งพาแต่สติปัญญาของตนเอง เพราะมันอาจไม่สามารถเชื่อถือได้ ระวังอย่าได้หลงติดกับความน่าหลงใหลทางกายภาพ การยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความหายนะ มีเพียงยามที่คุณก้าวสู่ขั้นอรหันต์ได้แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถพึงพาสติปัญญาของตนเองได้”

    29 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงหลีกเลี่ยงการจ้องมองความงามของหญิงสาว และจงอย่าสนทนากับพวกเธอ หากจำเป็น(มีวาระต้อง)สนทนา จงควบคุมความนึกคิดที่ไหลผ่านเข้ามาในจิต เมื่อครั้งฉันยังเป็นสมณะและยังเกี่ยวข้องอยู่ในโลกียโลก ฉันเหมือนกับดอกบัวที่ไม่เปอะเปื้อนโคลนตมใดๆ (จากที่ซึ่งมันเจริญเติบโต) คิดถึงหญิงชราเปรียบเสมือนแม่ของคุณ คิดว่าหญิงที่อายุมากกวาเปรียบเสมือนพี่สาว หญิงที่มีอายุน้อยกว่าเปรียบเสมือนน้องสาวและคิดเสียว่าเด็กหญิงที่อ่อนกว่าตนมาก คือลูกสาว จงดำรงตนอยู่บนความคิดของความรู้แจ้ง และขับไล่ความชั่วร้ายทั้งปวงออกไปจากความคิด”

    30 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ก็เปรียบเสมือนกองฟาง ที่ถูกเก็บไว้ให้ห่างจากกองไฟ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่มีประสบการณ์จากความปรารถนา ย่อมต้องรู้ว่า ตนจะต้องวางระยะห่างระหว่างตัวเขาและ(เป้าหมายของเขา)ความปรารถนา”

    31 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีคนผู้หนึ่งที่ยอมปล่อยตัวปล่อยใจให้หลงอยู่ในเพลิงตัณหาอย่างหยุดไม่อยู่ แต่คนผู้นี้ก็ต้องการที่จะหยุดการกระทำอันเลวร้ายนี้ ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า “การยุติการกระทำอันชั่วยร้าย ไม่ดีเท่ากับการหยุดรากเหง้าของความชั่วร้ายในจิตของคุณ จิตคนเราก็เปรียบเสมือน กุงเซา ถ้า กุเซา ถูกระงับลง การกระทำของเขาก็จะยุติตาม หากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมในจิตยังคงดำเนินต่อไป จะมีประโยชน์อะไรที่จะหยุดการกระทำอันชั่วช้านี้เล่า ฉันยังย้ำเตือนบทกวีนี้แก่เขาว่า “ความอยากมาจากความคิด ความคิดมาจากการหยั่งรู้ (ความเข้าใจ) เมื่อจิตใจทั้งสองถูกทำให้สงบนิ่งก็จะไม่มีทั้งรูปและการกระทำ” ฉันยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า บทกวีนี้ถูกกล่าวครั้งแรกโดย กัศยปพุทธเจ้า”

    32 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความโศกเศร้าของมนุษย์มาจากความรู้สึกอยากและความปรารถนา ความกลัวมาจากความเศร้าเหล่านี้ หากหลุดพ้นจากความปรารถนาก็คือการบรรลุ อะไรจะ(เป็นสาเหตุ)ของความเศร้าและความกลัวอีก?

    33 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมวิถีนี้ เป็นเหมือนคนที่ต้องต่อสู้เป็นหมื่นครั้ง ต้องใส่เกราะก้าวออกจากประตู ความคิดของเขาอาจจะขี้ขลาด และไร้ซึ่งความเด็ดเดี่ยว หรือเขาอาจจะเข้าสู่สนามรบเพียงครึ่งทางแล้วหันหลังกลับเพื่อถอยหนี อีกครั้ง ที่เขาอาจจะต้องร่วมรบและถูกฆ่าตาย ในทางตรงข้าม เขาผู้นั้นอาจได้รับชัยชนะ และสามารถกลับมาอย่างปลอดภัย สมณะผู้ศึกษาธรรมวิถีจะต้องมีจิตใจอันแน่วแน่ และพยายามสร้างความกล้าหาญอย่างกระตือรือร้น ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใดๆที่เรี่ยงรายอยู่ต่อหน้าเขา และต้องทำลายมารร้าย (สิ่งลวงใจที่มาขัดขวางการปฏิบัติธรรม)เมื่อนั้นเขาก็จะได้รับผลสำเร็จจากการศึกษาธรรมวิถี(อย่างขยันหมั่นเพียร)

    34 คืนหนึ่ง,สมณะรูปหนึ่งกำลังสวดมนต์ “พระสูตรคำสอนมรดกของกศปยพุทธเจ้าเสียงสวดมนต์ของเขาฟังแล้วเต็มไปด้วยความเศร้า เขาสำนึกผิดและดูถูกตนเองที่ตัวเขาเกิดความปรารถนา

    พระพุทธเจ้าตรัสถามเขาว่า “ก่อนที่เธอจะมาบวชเป็นพระ ได้ทำอะไรมาก่อน?”

    สมณะทูลตอบ “ฉันเล่นพิณมาก่อน”

    พระพุทธเจ้า “จะเกิดอะไรขึ้น หากสายพิณที่เธฮเล่น เกิดหย่อนลงไป”

    สมณะทูลตอบ “มันก็จะไม่มีเสียง”

    พระพุทธเจ้า “และถ้าเธอขึงสายพิณให้ตึงเกินไปล่ะ”

    สมณะทูลตอบ “เสียงก็จะถูกบีบ ฟังไม่ไพเราะ”

    พระพุทธเจ้า “และถ้าสายพิณนั้นไม่หย่อนไม่ตึงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร”

    สมณะทูลตอบ “เสียงก็จะเป็นปกติ”

    ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าจึงบตรัสขึ้นมาว่า “มันก็เป็นเหมือนกันสมณะผู้ศึกษาพระธรรม หากจิตของเขาได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เขาผู้นั้นก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ แต่หากเขาบังคับตัวเองเพื่อที่จะบรรลุพระธรรม จิตของเขาก็จะเหน็ดเหนื่อย และความเหน็ดเหนื่อยนั้นเองจะทำให้ความนึกคิดของเขากลายเป็นความหงุดหงิดรำคาญใจ และด้วยความหงุดหงิดรำคาญใจนี้ จะทำให้การกระทำของเขาเสื่อยลงและด้วยการกระทำที่เสื่อมลงนี้ จะทำให้ความชั่วร้ายทั้งปวงเข้าสู่จิตของเขา แต่ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นศึกษาพระธรรมอย่างเงียบๆ และมีความสุขไปกับพระธรรมนั้น เขาก็จะไม่ออกนอกเส้นทางแห่งพระธรรมนั้น

    35 พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “หากช่างตีเหล็กหล่อเหล็กร้อนจนกระทั่งสิ่งเจือปนในเหล็กนั้นถูกทำลายไปจนหมด (ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวน)การสร้างเป็นเครื่องมือแล้วล่ะก็ เครื่องมือที่ได้จะเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกัน หากผู้ปฏิบัติธรรมสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากจิตของเขาในช่วงแรกของการปฏิบัติ การกระทำของเขาก็จะบริสุทธิ์”

    36 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “การที่สัตว์เดียรฉาน จะเกิดเป็นมนุษย์ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่จะหนีจากความผู้หญิงมาเกิดเป็นผู้ชาย นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะเกิดมามีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะเกิดมาในประเทศไทยที่เป็นเมืองพุทธ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะเกิดตรงมาในสถานที่ๆล้อมรอบด้วยชาวพุทธ นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะได้สัมผัสกับธรรมวิถี นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะปลูกฝังความศรัทธาในจิต นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะบรรลุสู่ โพธิจิต นั้นเป็นเรื่องยาก”

    “การที่คนเราจะสามารถบรรลุสู่ภาวะไม่มีสิ่งใดคือการปฏิบัติและไม่มีสิ่งใดถูก แสดงให้เห็น นั้นเป็นเรื่องยาก”

    37 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ศิษย์ของฉันแม้จะอยู่ห่างไกลจากฉันนับพันไมล์ ถ้าเขาหมั่นพิจารณาคำสอนของฉันและปฏิบัติอย่างรอบคอบ ก็จะบรรลุสำเร็จ(ของการศึกษา)ธรรมวิถี แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดฉันที่สุด แม้จะพบเห็นฉันตลอดเวลา ก็จะตกจากที่สูงสุดไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของฉัน”

    38 พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสมณะรูปหนึ่งว่า “ช่วงเวลาของชีวิตมนุษย์ยาวนานเท่าไหร่?

    “เพียงแค่ไม่กี่วัน” สมณะตอบ

    “เธอยังไม่เข้าใจ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ แล้วจึงไปถามสมณะอีกรูปหนึ่งด้วยคำถามเดียวกัน

    “มันยาวนานเท่ากับการรับประทานอาหารมื้อหนึ่ง”

    “เธอยังไม่เข้าใจ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ แล้วก็หันไปถามสมณะอีกรูปหนึ่งด้วยคำถามเดียวกัน

    “มันยาวนานเหมือนช่วงเวลาที่หายใจเฮือกหนึ่ง”

    “ดีมาก เธอเข้าใจแล้ว” พระพุทธเจ้าตอบ

    39 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ควรจะเชื่อและปฏิบัติทุกสิ่งตามที่พระพุทธเจ้าพูด ดังเช่น เมื่อคุณกินน้ำผึ้งเข้าไป (คุณก็จะพบว่า)ทุกๆหยดของน้ำผึ้งนั้นหวาน มันก็เป็นเช่นเดียวกับคำพูดของฉัน”

    40 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สมณะผู้ศึกษาธรรมวิถีไม่ควรจะเป็นดังเช่นวัวที่ใช้กำลัง

    ลากเสาหิน แม้ว่าการกระทำของวัวนั้นจะเป็นการกระทำที่เหมาะสมกันร่างกายของมัน

    แต่มันไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่จิตของมัน ถ้าการปฏิบัติธรรมวิถีคือการฝึกฝนติดตามจิตแล้วอะไรเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ?

    41 พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนที่ปฏิบัติธรรมวิถี ก็เปรียบดังเช่น วัวที่ต้องขนสัมภาระหนัก เพื่อเดินข้ามผ่านหลุมโคลนลึก แม้มันจะรู้สึเหน็ดเหนื่อยแต่ก็ไม่กล้าที่จะเหลียวซ้ายแลขวา คิดแต่เพียงที่จะโผล่พ้นจากหลุมโคลนเท่านั้น จากนั้นมันก็จะสดชื่นขึ้นด้วยการพักผ่อน สมณะควรจะมุ่งเน้นขจัดความรู้สึกและความปรารถนาของตน(ให้มากว่าวัวที่มุ่งเน้นให้พ้น)จากหลุมโคลนนั้น แค่เพียงควบคุมจิตและคำนึงถึงแต่ธรรมวิถีเท่านั้น ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเศร้าทั้งหลาย”

    42 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    “ฉันพิจารณาสถานะของบรรดากษัตริย์และเจ้าชาย เช่นเดียวกับการพิจารณา

    ฝุ่นผงที่ปลิวผ่านรอยแยก”

    “ฉันพิจารณาเครื่องประดับทอง เช่นเดียวกับการพิจารณา เศษหิน , เศษอิฐ

    “ฉันพิจารณาเสื้อผ้าไหมชั้นดี เช่นเดียวกับการพิจารณา ผ้าขี้ริ้วขาดๆ

    “ฉันพิจารณา major chiliocosm เช่นเดียวกับการพิจารณา เม็ดถั่วเม็ดเล็กๆ

    “ฉันพิจารณาอนวตปต เช่นเดียวกับการพิจารณา น้ำมันที่เปื้อนเท้า

    (ในอีกกรณีหนึ่ง)

    ฉันพิจาราณวิธีการที่เหมาะสม(นำไปสู่ความจริง)เช่นเดียวกับการพิจารณาการใช้เงินซึ้อกองอัญมณี

    “ฉันพิจารณา ยานพาหนะที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับการพิจารณา ความฝันในทรัพย์สินอันอุดมสมบูรณ์

    “ฉันพิจารณา ธรรมวิถีของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับการพิจารณา ความสง่างามที่สามารถเห็นได้ด้วยตา

    “ฉันพิจารณา สมาธิธยาน เช่นเดียวกับการพิจารณา เสาพระสุเมรุ”

    “ฉันพิจารณา นิรวาณ เช่นเดียวกับการพิจารณาการตื่นนอนยามอรุณรุ่งจาก การหลับใหลยามค่ำคืน

    “ฉันพิจารณาพวกนอกรีตที่ถูกสร้างขึ้น เช่นเดียวกับการพิจารณามังกร 6 ตัวกำลังเต้นระบำ

    “ฉันพิจารณาความเป็นสากล, คุณลักษณ์ที่เที่ยงตรง(ของพระพุทธเจ้า) เช่นเดียวกับการพิจารณาความจริงอันสมบูรณ์

    “ฉันพิจารณาการแปรเปลี่ยน(ธรรมวิถี) เช่นเดียวกับการพิจารณา การเปลี่ยนแปลงของต้นไม้(เนื่องมาจาก)ฤดูกาลทั้งสี่


    mahayana.in.th ขอบคุณ อ.ชาญชัย ริโวเชธรรมสถาน
     
  11. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    [​IMG]

    [​IMG]

    <object width="560" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/1NclIzR1yQ0?version=3&amp;hl=th_TH"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/1NclIzR1yQ0?version=3&amp;hl=th_TH" type="application/x-shockwave-flash" width="560" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>​

    คติการสร้างพระกริ่ง ที่มาจาก คติพระไภษัชยคุรุตถาคต (พระพุทธเจ้าหมอยา)
    เชื่อกันว่าพระกริ่งมีอิทธิคุณ ที่เสียงกริ่งสามารถรักษาโรคได้หรือนำมาแช่น้ำแล้วอธิฐานดื่มก็ช่วยบำบัดสรรพโรคได้ ประวัติพระกริ่งมีมานานมากแล้ว โปรดรับชม สารคดี พระไภษัชยคุรุตถาคต แล พิจรณาเอาเถิด
     
  12. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    นะโม ภะคะวะเต ไภษัชยะคุรุไวฑูระยะประภา ราชายะ
    ตะถาคะตายะ อะระถะเต สัมยักสัมพุทธายะ ตัตถะยะถา
    โอม ไภษัชเย ไภษัชเย ไภษัชยา สมุทะคะเต สะวาหา

    "ขอนมัสการพระไภษัชยคุรุฯ ผู้ทรงฤทธานุภาพ มีแสงสว่างดั่งแก้วไพฑูรย์ (สีฟ้า) เป็นราชาผู้บรรลุถึงความหลุดพ้นสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า ขอบารมีพระไภษัชยคุรุฯ ให้ข้าพเจ้าข้ามพ้นสังสารวัฏด้วย เทอญ..."

    บทสวดธารณีมนตราบทนี้มีปรากฏในพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตสูตรจ๊ะ ให้ สวดพระคาถานี้ 9 จบ อธิษฐานขอบารมีจากพระองค์ท่านเพื่อการเยียวยารักษา จ๊ะ



    หากมีเวลา ลองหาอ่านมหาปณิธานทั้ง สิบสองข้อของท่าน ก็จะเห็นวิธีคิดแบบมหายาน แท้ๆๆเลยจะ ส่วนพระกริ่งนี้เรารับมาจากเขมรจ๊ะ รับเอาพระไภษัชยคุรุตถาคต แบบเขมร จ๊ะไม่ใช่จีนแน่นอนว่า เขมรก็รับเขามาอีกที ซึ่งก็คือจีน เหมือนที่จีนรับมาจากอินเดียในยุคแปลพระสูตรไงจ๊ะ วันนั้นข้าเห็นในเซเว่น มีการขอบริจาคสร้างพระกริ่ง จากมหาเกจิดังในบ้านเราเซเว่นมีเอี๋ยวด้วย ตลอดจนตำนานว่ารับมาจากจีนบลาๆๆ ซึ่งไม่ถูกจ๊ะ เรารับมาจากเขมรมิใช่จีนจ๊ะ นี่แหละอวิชชาล่ะ เอ็งเห็นไหมจะปลุกพระกัน แต่ไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ แลจะขลังได้อย่างไรนี่ คนปลุกเสกรู้หรือไม่ คณะเราทำอะไรกันอยู่ ข้าสงสัยนัก หรือเพียงแต่มั่วๆๆไปคนไม่รู้ดอก เพราะเราสนแค่พุทธพาณิชย์


    อ้อ ตำนานว่า พุทธเกษตรของท่านก็อยู่ในทิศตรงข้ามกับแดนสุขาวดีพุทธเกษตรขององค์อามิตาภะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤษภาคม 2012
  13. มนตะระเทวะ

    มนตะระเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +126
    ขอ อณุญาติขุดเสียอีกรอบ เพราะสาธุชน อีกหลาย ยังสนเทห์ เหมือนอ่างน้ำใหญ่ ตักเอาได้ตามสบายไม่มากก็น้อย แต่ก็ถือว่าได้ตัก
     
  14. พรหมาวตาร

    พรหมาวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +66

    ผลของการที่พระถั๋งซำจั๋ง คัดลอกคัมภีร์จากพระเถราจารย์ที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าร่วมสังคยนาพระไตรปิฏก มนุษย์หลายต่อหลายวิญญาณจึงยังคงเวียนว่ายในวัฏสงสาร เพื่อเพราะคำว่าต้องการเป็น "พระพุทธเจ้า"

    เป็นไปตามความคาดหมายของพญามาร ที่ใช้แก้เกมการช่วยให้สรรพสัตว์หลุดพ้นของพระพุทธเจ้า โดยใช้ความวิเศษของพระองค์เป็นดุจคำโฆษณา

    และความเลิศในอุดมการณ์ที่จะช่วยสัตว์โลกทุกนามให้ข้ามวัฏสงสาร ทั้งที่จริงแล้ว โลกไม่มีหมดสิ้นซึ่งสัตว์ที่จะเกิด ดังนั้นผู้ที่หลงกลนี้จึงจะไม่มีทางพ้นวัฏจักรบ่วงมาร บ่วงใหม่นี้ได้เลย
     
  15. หยดน้ำเพชร

    หยดน้ำเพชร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +70
    ขอบคุณนะคับที่นำข้อมูลมาลงแชร์กันให้ได้ความรู้
     
  16. มนตะระเทวะ

    มนตะระเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +126
  17. มนตะระเทวะ

    มนตะระเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +126
    [​IMG]
     
  18. มนตะระเทวะ

    มนตะระเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +126
    [​IMG]

    คิดจะอ่านหนังสือเพื่อจะเข้าใจธรรมะหรือ? ไม่มีทาง (ท่านรินโปเชหัวเราะ) เธอต้องภาวนา เธอต้องปฏิบัติ เธอต้องนำมาประยุกต์ ประยุกต์กับอารมณ์ของเธอ ประยุกต์กับจิตใจของเธอ ประยุกต์กับชีวิตของเธอ ประยุกต์กับสัมพันธภาพที่เธอมี ประยุกต์กับมิตรภาพของเธอ ประยุกต์เข้าไปในหัวคิดของเธอ จากนั้นเธอจงภาวนา…ไม่ต้องนำมาประยุกต์อีกต่อไป นั่งเฉยๆ แค่รับรู้ เมื่อสองสิ่งนี้ประสานเป็นหนึ่ง ความหมายของธรรมในหนังสือจะกระจ่างแจ้งแก่เธอเอง

    Just reading books to understand Dharma? No. (Rinpoche laughs) You meditate, you practice, you apply; apply in your emotions, apply in your mind, apply in your life, apply in your relationships, apply in your friendship, apply to your head, THEN you meditate...no more applying, just sit. reflect. With these two combined, the meaning of the books easily comes to life.
    @credit KPR Thai Translator Team
     
  19. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    สาธุ นั้นแล ถ้อยคำต่าง ๆ ก็สักแต่ว่าใช้เป็นเครื่องดึงดูดความสนใจของพวกปัญญาทึบ(แลลูกเป็ดไก่อ่อน)เท่านั้นเอง เป็นเพียงวิธีการสำหรับเร้าความสนใจของบุคคลในขั้นเริ่มแรก อันที่จริงมันใช้การอะไรไม่ได้หรอก.....(หัวเราะ) ปล่อยมันทิ้งไว้อย่างนั้นแลประเสริฐที่สุด นั้นๆๆ ทาง ทางนั้นไม่รวมอยู่ในสิ่งที่ต้องศึกษาเลย รูปความคิดต่าง ๆ นั้นมันก็สักแต่ว่าการนำไปสู่การหน่วงเอาความคิดในรูปต่าง ๆ แลเมื่อนั้นปัญญาก็ถูกปิดบังเสียทันที ถ้าเข้าใจได้เยี่ยงนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปอ่านอะไรอีก แลสิ่งที่เร้นลับนั้นมิได้อยู่ในสำเนาจางๆๆในกระดาษดอก... สิ่งเร้นลับนั้นมีอยู่ที่นี่แล้ว จงดู จงดู ใครที่ยังไม่เห็นก็จงดู จงดู ด้วยการเห็นเยี่ยงนี้ก็จะพบธรรมะที่ควร แก่ความสนใจน้อยลงไปมากโขทีเดียว(หัวเราะ) แลจะประหยัดความเหน็ดเหนื่อยทางจิต ให้ตัวเองได้มากที่สุด....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มกราคม 2014
  20. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    [​IMG]

    พระอาทิพุทธเจ้า

    I. โอม สิทธิ ขอจงมีความสวัสดี มีชัย ลาภ บารมี และฤทธา

    II. ด้วยมนตราแห่ง โอม อา ทิ ยะ นะ โม พุท ธา ยะ

    III. ข้าขอนอบน้อมนมัสการพระชินสีผู้ทรงไว้ทั้งสามกาย พระธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย

    IV. ดั่งพระจันทร์ที่เฉิดฉายและแทรกซึมไปทุกแห่งหน (พระธรรมกาย)

    V. ดั่งพระอาทิตย์ที่ทอแสงและสาดส่องแห่งปัญญา (พระสัมโภคกาย)

    VI. ดั่งต้นกัลปพฤกษ์ที่ประทานแก่มนุษย์ตราบจนสิ้นกัลป์ (นิรมาณกาย)

    VII. ข้าขอกราบไหว้ซึ่งพระอาทิพุทธเจ้า ด้วยความจงรักภักดี เหนือเศียรเกล้า

    VIII. เขาได้สร้างประติมากรรมของพระองค์ ด้วยความศรัทธาและเทิดทูน ดุจดั่งมณฑลพระอาทิตย์

    IX. ข้าขออัญเชิญองค์พระอาทิพุทธเจ้า พระผู้เกิดขึ้นเพื่อให้คนทำดีได้เห็นและสดับฟังพระธรรม อันเป็นที่ดับ ณ บัดนี้เทอญฯ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha1.jpg
      buddha1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.8 KB
      เปิดดู:
      666

แชร์หน้านี้

Loading...