ฟุ้ง,วิปัสสนา,นิมิตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noom8a, 18 ธันวาคม 2013.

  1. noom8a

    noom8a เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +226
    -ผมปฎิบัติธรรมมาได้7-8ปีแล้วครับช่วงแรกๆก็ราบรื่นเรื่อๆไม่คิดอะไร
    ช่วงหลังๆจิตเริ่มฟุ้งมากหรือเค้าเรียกว่าวิปัสนาเจริญปัญญาไช่ไม๊ครับ
    ฟุ้ง,วิปัสนา,ไกล้บ้า รู้มากไปไล่ตามอารมณ์ร้ที่มากระทบมากพี่ๆมีวิธีแก้ไม๊ครับ
    ไม่รู้เรียกว่้าหรือป่าว
    -เรื่องนิมิตรผมนีั่งสมาธิวิธีอื่นๆไม่เหมือนธรรมกายที่พี่ๆแกว่ากันเลยครับนั่งแล้วเรื่อยๆ1-3ชม.สบาๆแต่ถ้าผมนั่วิธีหลวงพ่ออื่นๆเห็นพระสีอื่นๆหรือนิมิตรเป็นหลวงพ่อบ้างสมาธิจะตกเสียศูนย์ชอบปรามาสพระรัตนตรับ่อๆผิดไม๊ครับ
    ผมทราบว่าพี่ๆต้องผ่านจุดนั้ี้มาแล้วไช็เวลานานไม๊ครับจึงจะทรงตัว:'(
     
  2. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ไม่อยากจะว่านะคะ แต่คุณเขียนหนังสือ จับใจความ ลำดับเนื้อเรื่อง
    อ่านไม่รู้เรื่องเลยว่า คุณต้องการจะสื่ออะไร

    ปกติถ้าคนที่นั่งสมาธิเนี้ยจิตมันจะฟุ้งน้อยนะ
     
  3. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ฟุ้งมากก็แก้ด้วยสมาธิสงบๆ+นมอุ่นๆสักแก้วสิครับ
     
  4. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ตอนนี้เริ่มทรงตัวแล้ว เสียศูนย์ ประมาณเกือบๆ2ปีค่ะ ยังไม่ทรงตัวดี ฟื้นฟูจิตสักพัก
    ตอนที่เสียศูนย์ อันดับแรกต้องให้อภัยตัวเองก่อน ไม่ว่าตัวเองจะเลวมากขนาดไหนต้องให้อภัยตัวเองเสมอ ต้องเติมความรักให้ตัวเอง ที่ผ่านไปแล้วช่างมัน ถ้าช่างมันเอาไม่อยู่ ให้พิจารณาความจริงแห่งอริยสัจว่า สิ่งที่ทำลงไปย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้ นี่คือความจริงว่ามันได้เกิดขึ้นแล้วๆๆ เพื่อให้จิตยอมรับความจริงนั้น หรือคิดซะว่าบูชาความจริง คือบูชาพระพุทธเจ้า และความจริงอีกข้อหนึ่งคือ ใช้เวลาที่เหลืออยู่ทั้งหมดสร้างความดีให้มากๆ เพื่อชดเชยความผิดพลาดนั้น
    ใช้จิตที่เป็นสมาธิรู้ให้ถึงความจริงนี้

    บอกกับตัวเองไว้ว่าบูชาพระพุทธเจ้า ต้องบูชาความจริงนี้ด้วย จิตจึงจะหายกลัวและยอมรับความจริงได้ และจะไม่ทำผิดซ้ำอีก

    ดิฉันใช้วิธีนี้ได้ผลค่ะ ครั้งล่าสุด เผลอไปปรามาสเมื่อ 3 วันที่แล้ว จิตตกมาก นี่เป็นครั้งที่2 ที่เผลอไปยินดียินร้าย ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

    และจะไม่มีวันเกิดขึ้นอีก เพราะยิ่งกลัว ยิ่งสงสัย ยิ่งวางไม่ลง มันยิ่งเกิด จะทำให้เราติดอยู่ในวังวนนี้ ตราบเท่าที่จิตยังปล่อยวางไม่ได้

    อำนาจความกลัวพ่ายแพ้อำนาจแห่งความจริง
    คราวนี้รู้สึกว่าจะสอบผ่านด่านนี้แล้ว เพราะเจอทั้งสังขารมาร กิเลสมารอีกค่ะ
    เป็นกำลังใจ เอาใจช่วย จขกท นะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ธันวาคม 2013
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    -ผมปฎิบัติธรรมมาได้7-8ปีแล้วครับช่วงแรกๆก็ราบรื่นเรื่อๆไม่คิดอะไร ช่วงหลังๆจิตเริ่มฟุ้งมากหรือเค้าเรียกว่าวิปัสนาเจริญปัญญาไช่ไม๊ครับ

    +++ หากใช้ภาษาให้ตรงกับอาการดังที่กล่าวมา ก็ควรเรียกว่า "เจริญวิปัสสนูกิเลส" มากกว่า

    ฟุ้ง,วิปัสนา,ไกล้บ้า รู้มากไปไล่ตามอารมณ์ร้ที่มากระทบมากพี่ๆมีวิธีแก้ไม๊ครับ ไม่รู้เรียกว่้าหรือป่าว

    +++ ให้ทำความตระหนักใจ ไว้ในใจว่า "เราหยุดแล้ว แต่ กิเลสเอ๋ย เจ้าหนะ ยังไม่หยุด" หากทำได้ วิธีนี้จะช่วยได้ และจะดีกว่าการหยุดฝึกเสียอีก

    -เรื่องนิมิตรผมนีั่งสมาธิวิธีอื่นๆไม่เหมือนธรรมกายที่พี่ๆแกว่ากันเลยครับนั่งแล้วเรื่อยๆ1-3ชม.สบาๆแต่ถ้าผมนั่วิธีหลวงพ่ออื่นๆเห็นพระสีอื่นๆหรือนิมิตรเป็นหลวงพ่อบ้างสมาธิจะตกเสียศูนย์ชอบปรามาสพระรัตนตรับ่อๆผิดไม๊ครับ

    +++ ในท่อนนี้ "ผิดทั้งหมด" ทั้งรูปแบบและเนื้อหา คราวหน้า ไม่ต้องรีบโพสท์จนขาดการตรวจสอบว่า จะสื่อสารอะไรถึงผู้อ่าน เรื่องของการฝึกจิตนี้ หากเหตุผิด ผลลัพธ์จะผิดแบบเตลิดเปิดเปิงไปเลย หากการสื่อสารไม่ชัดเจน ผลลัพธ์อาจส่งผลถึง "วิปลาส" ได้ ดังนั้นตั้งใจถามให้ดี

    ผมทราบว่าพี่ๆต้องผ่านจุดนั้ี้มาแล้วไช็เวลานานไม๊ครับจึงจะทรงตัว

    +++ ต้อง "หยุดตน" ให้เป็นเสียก่อน แล้วจะเห็น "สิ่งที่ยังไม่ยอมหยุด" ได้เอง
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ภาวนามาถูกนี่

    การภาวนา นั้น หากถูกต้อง จะต้องเห็น " ความแปรปรวนของจิต "

    อย่างคุณ คุณ อาศัย สมถะ นำหน้า จับภาพพระได้ แต่ สังเกตไหมว่า มันไม่เที่ยง
    ตั้งอยู่ไม่ได้ จะต้อง คลายตัวออก หาก ประคองจิต ก็จะ ได้ภาพใหม่ เกิดการแปร
    ปรวนในนิมิต แต่ ความอยากไม่เปลี่ยน ( การประครองจิต อยากรักษาจิต มันไม่เปลียน)

    แต่ ต่อให้ ใช้ตัณหาจริต นำหน้าทำสมถะ รักษาจิตไว้ขนาดไหน ฉันทราคะ มันก็ไม่เที่ยง

    สุดท้าย มันจะต้อง ถอย หรือ หลุดออกมาจาก ภูมิสมถะ

    พอ หลุดจากภูมิสมถะ หากเป็นคนไม่เคยสดับธรรมะ ก็จะจมโลก จมกิเลส ไปทำบุญ
    ทำทาน สร้างวัด สร้างพระ หางาน มา ปะผุ ระหว่างที่ จิตมันไม่ยอมทำสมถะ หรือ ทำ
    สมถะไม่ได้

    คนที่เคยสดับ อย่างเจ้าของกระทู้ จะไม่ยุ่งเรื่องข้างนอก แต่ จะน้อมไปสู่ ญาณทัสนะ

    เน้นนะว่า จิตถอยจาก สมถะ สมาธิ แล้ว ไม่สามารถเติม สมถะ เข้าไปได้อีก จิตที่ตั้งมั่น
    ได้แบบนั้น จะต้อง น้อมไปสู่ญาณทัศนะ

    น้อมไปเห็นอะไร

    เห็น กิเลส นิวรณ์ นั่นแหละ

    เห็น ความฝุ้งของจิต นั่นแหละ

    เห็น จิตมันปรามาส นั่นแหละ

    เห็น อย่างไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย จิตตั้งมั่น เป็นกลาง ต่อการเห็น ได้หรือไม่ได้

    ถ้า จิตไม่เป็นกลาง จิตตั้งมั่นไม่พอ จะคิดว่า คำปรามาสนั้นออกมาจากตน

    แต่ถ้า จิตตั้งมั่น เป็นกลาง จะเห็นเลย " คำปรามาส มันออกมาจาก จิต "

    เน้นนะว่า " มันออกมาจากจิต "

    อย่าใส่คำว่า จิตกู จิตมึง หรือ จิตใคร นะ ให้ตั้งมั่นเห็น จิต มันเป็น ธาตุ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา

    จิตที่มันแสดงอาการปรามาสบ้าง จิตแสดงอาการฝุ้งบ้าง นั่นแหละ เห็นตามความเป็น
    จริง ธรรมชาติของจิต จิตมันมีสิ่งนั้น

    เห็นจิต เห็นอาการของจิต ไปแบบนั้น เนืองๆ อย่ามีส่วนได้ ส่วนเสีย อย่าฟู อย่าแฟบ
    อย่าคว้า จิต มาเป็นตน ดูให้ห่างๆ เข้าไว้

    แล้ว วิปัสสนา ปัญญา มันจะค่อยๆ ยอมรับ ทุกขสัจจ อริยสัจจ นี้

    โดยที่ไม่โทษใครเลย ไม่โทษใครหน้าไหนเลย ไม่โทษตน ไม่โทษกิเลสเลย

    เพราะ สมมติมี วิมุตติจึงมี ....น้อมไปเป็นหรือเปล่าหละ มันยากตรงท้ายนี่แหละ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ เวลาเรา ภาวนา ไปเห็น " ความฝุ้งมันออกมาจากจิต "

    แล้วมี คนทักว่า ระวังน๊า จะเป็น บ้า

    อันนี้ เวลาเราภาวนา เราสังเกตุไหม ว่า ความฝุ้งมันคือสิ่งถูกสังเกต อาศัยเห็น
    การเกิด การดับ

    ของที่เรายกสังเกต เหมือน เรามองเห็นคนอื่น เห็นแขกเดินผ่านหน้าบ้าน เรา
    ตอบตัวเองได้ไหมว่า เราคือ ความฝุ้งนั้นๆ เรากำลังเป็น แขก ที่เดินผ่านหน้าบ้าน

    เราอย่าไป โง่ ให้คนภาวนาไม่เป็น อาศัยความรู้ที่ไม่มี มาชักชวนให้เราเสียหาย

    ก็เรา สังเกตุอยู่ ว่ามันอยู่ห่างๆ แถม ยังเป็นการอาศัยระลึก เห็นความเกิดดับ มันจะ
    มีใครที่ไหน สำคัญว่า นั่นคือตน นั่นคือของๆตน

    ดังนั้น

    เวลา เห็นความฝุ้งได้ห่างๆ อย่า ลืม จิตผู้รู้ อย่าทิ้งธรรมเอก อย่าลืมว่า มีจิตตั้งมั่น

    มันตั้งอยู่อีกฝากนี่ โดยที่จะมีรส ไม่สำคัญตัวอยู่ตรงนี้ เป็นผู้สังเกตอยู่ห่างๆ

    ไม่ใช่ จิตที่กำลังฝุ้งทีเกิดดับ และ ถูกสังเกตุ อยู่โน้นเลย

    ******************

    ปล. พูดแบบนี้แล้ว อย่า วกเข้ามาหา หรือ จ้อง ผู้รู้ นะ อย่า มาฉวย หรือ สำคัญ
    ตนตรงผู้รู้นะ เอาผู้รู้มาเป็นตน สำคัญว่าเป็นตนเมือไหร่ นั่นแหละ เรียกว่า สัญญาวิปลาส

    สัญญาเสีย ภาวนาไม่ขึ้นเอาได้เลย รู้ห่างๆ รู้สบายๆ เบาๆ อย่าแบกห้าม ผู้รู้
    แต่ก็อย่า หลงลืมว่า มีจิตผู้รู้ ดูอยู่ห่างๆ [ ภาษบัญญัติ มันตัน ภาษาปฏิบัติ จะอีกเรื่องหนึ่ง ไปสังเกตเอา ]
     
  8. noom8a

    noom8a เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +226
    ภาษาบัญญัติ มันตัน ภาษาปฏิบัติ จะอีกเรื่องหนึ่งโมทนาครับ ภาษาเขียนอธิบายยาก
    ภาษาอะไรหนอที่อธิบาได้ลึกมีมิติมากกว่าภาษาใจ
    เขาเรียกว่าปฏิสัมภิทาาณ4ใช่ไม๊ครับอธิบายความย่อโดยพิศดาร
     
  9. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ภาษาบัญญัติเป็นภาษาธรรมชาติ เป็นเช่นนั้นเอง ภาษาธรรมเป็นภาษาธรรมะ ภาษาทั้งหมดไม่ว่าสมมติหรือวิมุติล้วนออกมาจากจิต ให้เห็นตามจิต
     
  10. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    http://[​IMG][​IMG]


    มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อจำไม่ลืมสักที คำสอนของท่าน (หลวงปู่เสาร์) เวลาไปปรนนิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นมาลอยๆ

    “เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด”

    ก็ถามว่า “จิตฟุ้งซ่านหรืออย่างไร ท่านอาจารย์”

    “อ้าว! ถ้ามันเอาแต่หยุดนิ่ง มันก็ไม่ก้าวหน้า”

    หลวงพ่อพุธ ธานิโย
     
  11. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547

    มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อจำไม่ลืมสักที คำสอนของท่าน (หลวงปู่เสาร์) เวลาไปปรนนิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นมาลอยๆ

    “เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด”

    ก็ถามว่า “จิตฟุ้งซ่านหรืออย่างไร ท่านอาจารย์”

    “อ้าว! ถ้ามันเอาแต่หยุดนิ่ง มันก็ไม่ก้าวหน้า”


    กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ต้องใช้เวลาหลายปี ท่านหมายความว่า จิต เวลาปฏิบัติ เวลามันจะหยุดนิ่ง ปล่อยให้มันนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน ถ้าเวลามันจะคิด ปล่อยให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้ง เป็นจุดยืน

    ในเมื่อมาศึกษาตามพระคัมภีร์ ในบางแห่งท่านก็อธิบายไว้ว่า ฌานมีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งจิตสงบนิ่ง รู้ในสิ่งๆ เดียว เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน มีแนวโน้มไปในฌานสมาบัติแบบฤาษี อีกอย่างหนึ่ง พอจิตสงบลงไปนิดหน่อย แล้วสงบลึกลงไปจนกระทั่งร่างกายตัวตนหาย เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาอยู่ในระดับที่รู้สึกว่ามีกาย ความรู้ ความคิดมันก็ฟุ้งๆ ขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ ซึ่งนักปฏิบัติส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อันนี้มันเป็นสมาธิหรือเป็นฌานที่มีวิตก วิจาร ความคิดเป็นวิตก สติที่รู้พร้อมอยู่ในขณะนั้นเรียกว่าวิจาร เมื่อจิตมีวิตก วิจาร มันก็เป็นจุดเริ่มของฌาน หนักๆ เข้ามันก็เกิดกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ เกิดปีติ เกิดความสุข ความคิด ความรู้มันก็ยิ่งผุดขึ้นมามาก พอไปถึงจุดๆ หนึ่ง จิตมันอาจจะแบ่งเป็น ๓ มิติ มิติหนึ่งคิดไม่หยุด อีกมิติหนึ่งจ้องมองดูอยู่ อีกมิติหนึ่งนิ่งเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย

    ตัวคิดไม่หยุด คือ จิตเหนือสำนึก
    ตัวที่จ้องมองหรือเฝ้าดู เป็นตัวสติ ผู้รู้
    ตัวที่นิ่งเฉยอยู่ เป็นตัวจิตใต้สำนึก ตัวคอยเก็บผลงาน

    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปจนกระทั่งรู้สึกว่าร่างกายตัวตนหาย เหลือแต่จิตดวงเดียว จิตจะไปนิ่ง สว่าง โดดเด่น สภาวะทั้งหลายที่เป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต มันจะมีปรากฏการณ์ เกิดขึ้น ดับไป เกิด ขึ้น ดับไป แล้วจิตนั้นหาได้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้นไม่ เหมือนๆ กับ ว่า สิ่งรู้ของจิตแยกออกเป็นประเภทหนึ่ง จิตก็อยู่อีกประเภทหนึ่งเหมือนไม่มีความสัมพันธ์กัน และสิ่งนั้นมันมาจากไหน ก็จิตตัวนั้นแหละมันปรุงแต่งมา ปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว มันไม่มีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น มันจึงไม่เกิดความยินดีเกิดความยินร้าย

    เพราะฉะนั้น ในคำสอนท่านจึงว่า ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา การยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์เป็นทุกข์อย่างยิ่ง คือในขณะนั้นจิต ไม่ได้ยึดในเบญจขันธ์แล้ว วิญญาณตัวรู้ก็ไม่ยึด ความรู้ทั้งหลายก็ไม่ยึด เพราะฉะนั้น มันจึงแยกกันโดยเด็ดขาด จิตที่มีลักษณะเป็นอย่างนี้ ถ้าพูดตามภาษาปริยัติเรียกว่า วิสังขาร ถ้าหากว่าจิตเกิดความรู้ความเห็นขึ้นมาแล้วไปหวั่นไหวต่อความรู้นั้น เป็น สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.2 KB
      เปิดดู:
      38

แชร์หน้านี้

Loading...