ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    Broccocat วัยรุ่นแว๊บมาก็อารมณ์ ขี้เล่นตลอดเลยนะ สงสัยยิ้มทั้งวันทั้งคืนป่าวนิ
     
  2. Broccocat

    Broccocat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +4,094

    <(=^_____^=)>

    คุณล่ะ วัยไหนเอ่ย คุณก็ขี้เล่นยิ่งกว่าเราอีกนะ รู้ตัวอ๊ะป่าว
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ สังโยชน์ แปลว่า กิเลส เป็นเครื่องผูกจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะสงสาร มี 10 อย่าง

    1. สักกายทิฏฐิ หมายถึง ยังไม่รู้จักว่า อะไรคือความเป็นกาย เช่น จิตอยู่กับรูป ก็มีรูปเป็นกาย อยู่กับนาม ก็มีนามเป็นกาย อยู่กับสติ ก็มีสติเป็นกาย (ธรรมะกายา) เป็นต้น
    2. วิจิกิจฉา สงสัยอยากรู้อยู่ร่ำไปในเรื่องของการปฏิบัติธรรม แต่มักจะไม่ลงมือปฏิบัติ
    3. สีลัพพตปรามาส หมายความถึง ยังไม่รู้จัก วิธีการปฏิบัติตนให้ออกจากทุกข์ตามหลักของพระพุทธศาสนา
    4. กามราคะ + 5. ปฏิฆะ หมายถึง อาการชอบ-ไม่ชอบ จากสิ่งนอกตน (กามาวจรภูมิ) โดยทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่รับเข้ามา

    +++ สังโยชน์ 5 ตัวแรก อยู่ในจิตชั้น กามาวจร ส่วน 5 ตัวหลัง อยู่ในจิตชั้น รูปและอรูปพรหม (ฌานสมาบัติต่าง ๆ)

    +++ จะคุยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างการฝึกกับการตัดสังโยชน์" ตามที่ขอมาเป็น 2 ตอน (1-5 และ 6-10) ตามลักษณะของการปฏิบัติในกระทู้นี้ ดังนี้

    +++ กระทู้นี้เริ่มฝึกที่ "ทำความรู้สึกทั้งตัว" พร้อม ๆ กับการฝึก วสี 5 ซึ่งผู้ใดที่ฝึกความรู้สึกตัวจนได้ "กายในกาย" (กายที่ซ้อนกันอยู่) แล้ว จะเริ่มรู้ว่า กายเนื้อ ไม่ใช่ตน และยามใดที่ "กายแห่งความรู้สึก" สามารถถอดออกมาจากกายเนื้อได้แล้ว ก็จะชัดเจนได้เองว่า กายมนุษย์ ไม่ใช่ตน และเลิกสงสัยในเรื่อง "การเวียนว่ายตายเกิด" อีกต่อไป และเลิกสงสัยในธรรมะของศาสนาพุทธว่า จริงหรือไม่ รวมทั้ง รู้ว่าแนวทางที่ตนฝึกปฏิบัติอยู่นี้ ใช่แนวทางที่ตนจะยึดเป็นบันทัดฐานในการปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ กล่าวได้ว่า พ้นจากสังโยชน์ จาก 1-3 ได้ แม้ว่า สักกายะทิฏฐิ จะยังไม่ละเอียดจนถึงที่สุดก็ตาม แต่ผู้ที่ฝึกถึงตรงนี้ จะสามารถฝึกต่อได้ด้วยตนเอง จนถึงที่สุดได้

    +++ ส่วนความ ชอบ-ไม่ชอบ ต่อสิ่งนอกตนนั้น จะสังเกตุได้ชัดเจนว่า "ยามใดที่ สติ ครองฐานอยู่" ยามนั้น อิทธิพลจากสิ่งภายนอก ไม่เข้ามารบกวน และมักจะชอบ "ความรู้สึกที่ตนครองอยู่ มากกว่าความรู้สึกที่มาจากภายนอก" ซึ่งเป็นการลดสังโยชน์ตัวที่ 4-5 ให้น้อยลงตามลำดับ

    +++ สังโยชน์ 5 ตัวหลัง อยู่ในจิตชั้น รูปและอรูปพรหม (ฌานสมาบัติต่าง ๆ)

    6. รูปราคะ
    7. อรูปราคะ
    8. มานะ (ตัวดู)
    9. อุทธัจจะ (ฟุ้งซ่านไม่สงบ) กุกกุจจะ (รำคาญ)
    10. อวิชชา

    +++ ยามใดที่จิตเริ่มมีนิสัย "อยู่กับความรู้สึกภายใน มากกว่าสิ่งที่มาจากภายนอก" ตรงนี้คือ การข้ามจาก กามาวจร (4. กามราคะ + 5. ปฏิฆะ) สู่รูปาวจร หรือ อรูปาวจร (6. รูปราคะ + 7. อรูปราคะ) ซึ่งเป็นเรื่องของ สติครองฌาน ล้วน ๆ

    +++ หากจะเทียบกับ "สติ ตามระดับของผู้ฝึก" ในโพสท์ที่ 5 หน้าแรกแล้ว ก็จะอยู่ในสติระดับที่ 5. "อยู่กับตน" ผู้ที่อยู่ในระดับนี้จะ รู้ตนอย่างชัดเจนว่า "การฝึกยังไม่จบ" จากนั้นไม่นาน ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการ "ดูตน" ในสติระดับที่ 6 และเริ่มสำเหนียกการเป็น "อัตตาจิต" หรือการคงอยู่ของ "ตัวดู" ได้ ซึ่งเป็นเรื่องของการ "ถือตน" ที่เรียกว่า "มานะ" ในสังโยชน์ตัวที่ 8 ได้เอง

    +++ ตรงนี้ก็จะเริ่มรู้ "การทำงานของตัวดู" การส่งกระแสออกของตัวดู (จิตส่งออก) ต่อสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งจิตที่ผุดขึ้นมาเองด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุของความฟุ้งซ่าน และก็จะเริ่มเบื่อหน่ายรำคาญ การคงอยู่ของตัวดู และในขณะเดียวกันก็จะเริ่มรู้ว่า "ยามใดที่ตนมีอยู่ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน" และในทางกลับกัน "ยามใดที่ไร้ตน ยามนั้นย่อมไร้ทุกข์" ซึ่งเป็นการเข้าสู่ สติระดับที่ 7. "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน" ต่อไป ซึ่งตรงนี้ก็จะทราบได้อีกอย่างหนึ่งว่า "ยามใดที่สภาวะรู้ถูกบดบัง ยามนั้น ตัวดู เริ่มทำงาน" และ "ยามใดที่สภาวะรู้มีความบริสุทธิ์ ยามนั้นตัวดูไม่ปรากฏ" ตรงนี้ก็จะรู้ได้เองว่า "ตัวดูก็คือ อวิชชา นั่นเอง" และก็จะทำให้ตั้งใจที่จะ "อยู่กับรู้" อันเป็น สติระดับที่ 8

    +++ และก็อีกช่วงหนึ่ง ก็จะรู้ได้ว่า "ตราบใดที่ยังครองสังขารอยู่ ตราบนั้น ตัวดู ก็ย่อมมีอยู่ตามปกติของมัน" ซึ่งเป็นสติในระดับที่ 9 "อยู่กับความเป็นจริง" เพียงแต่ไม่ประมาทในการเดินจิตเพื่อ สลายตัวดู ในยามที่ต้องการเท่านั้นเอง

    +++ จริง ๆ แล้ว เรื่องของ สังโยชน์ และ ปฏิจจะสมุบปาท เป็นการ "ฝึกกรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจยาก" จะเข้าใจได้แต่เฉพาะผู้ที่ฝึกมาจนเห็น ตัวดู ได้ชัดเจนแล้วเท่านั้น จึงจะพอรู้อาการและเข้าถึงสภาวะได้ แต่ก็ไม่เป็นไร ให้ถือว่า "เป็นการอธิบายเทียบเคียง" การฝึกในกระทู้นี้เท่านั้น นะครับ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    จุ๊กกรู๊ววว์))) คุณธรรม-ชาติ...เข้ามาอัพเดทค่ะ

    +++ นกเขาบินหนีแมวไปแล้วหรือครับ

    - สดๆ ร้อนๆ เมื่อซักครู่นี้เองค่ะ เรานอนตะแคง เอามือด้านในปิดหู ตั้งข้อศอกรับศีรษะเอาไว้ ทีนี้ก็ได้ยินเสียงเหมือนคลื่นสมองไม่ดังมาก เหมือนเสียงคลื่นเบต้าที่เคยฟังในยูทูปเปี๊ยบเลยค่ะ

    +++ ผมไม่ได้เข้า ยูทูป แต่เข้าใจว่า "เป็นคลื่นความถี่สูง" ชนิดหนึ่ง

    แต่ยังคงได้ยินเสียงชีพจรเต้นในหูเป็นจังหวะวินาที แล้วมีเสียงคลื่นที่ว่านี้คลอไปด้วยตลอดเวลาค่ะ ตอนแรกจะเป็นที่หู-ศีรษะด้านซ้ายที่ได้ยินก่อน ก็เลยลองทำอีกด้านนึงคือข้างขวา ก็ได้ยินเหมือนกันแต่เสียงจะทุ้มเบากว่าค่ะ ทุกทีถ้านอนในลักษณะท่าทางแบบนี้จะไม่ได้ยินเสียงคลื่นสมองแบบนี้เลยค่ะ นี่เป็นครั้งแรกทีี่อยู่ดีๆ ก็ได้ยิน หูของคุณธรรม-ชาติ ได้ยินแบบนี้รึป่าว

    +++ หากเป็น เสียงของคลื่นความถี่สูง ผมจะได้ยินเป็นปกติเกือบตลอดเวลา ยกเว้นการเดินจิตเพื่อทำงานอย่างอื่น และเสียงนี้ มีอยู่ตามปกติตามธรรมชาติของมัน

    +++ ถ้าอยู่ในอิริยาบทนอน แล้วอยู่กับคลื่นความถี่นี้ ก็มักจะได้ยินเสียงชีพจรประกอบไปด้วย เพราะทั้งสติและสมาธิ อยู่ในระดับใกล้ชิดกันมาก หากอยู่ในอิริยาบทนั่ง กายทั้งตัวก็สามารถโยกไปตามแรงเต้นของชีพจรได้เช่นกัน เพลินดี และ "สามารถก่อให้เกิด ปิติ ได้" จัดเป็นสมาธิในอิริยาบทปกติได้เช่นกัน

    - สองสามวันก่อน ไม่สบายปวดศีรษะไมเกรน ก็ทำสมาธิในการรักษาด้วยตัวเอง ก็จับความรู้สึกตรงที่เจ็บปวดก็คือศีรษะด้านซ้าย แล้วรู้สึกถึงชีพจรเต้นหลายๆ จุดบริเวณศีรษะด้านขวา ประมาณ 4-5 จุดค่ะ ส่วนอื่นของร่างกาย กลับไม่มีความรู้สึกว่ามีการเต้นของชีพจรเลย ผลการรักษาก็หายปวดหัวไปประมาณ 90% ค่ะ

    +++ เป็นวิวัฒนาการของผู้ที่ฝึกมาในทาง สติ ย่อมสแกนร่างและ วางจิตในส่วนที่ช่วยบรรเทาทุกข์ได้ด้วยตนเอง

    - วันก่อน อยู่ดีๆ ตัวชีพจรก็เต้นตุ๊บๆๆ แบบแรงๆ ตรงจักระที่ 5 กับ 3 ทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจกำหนดอะไรเลย ไม่ได้นั่งสมาธิด้วย คืออยู่ดีๆ ก็เต้นเองอ่ะค่ะ

    +++ ต่อไปให้ "รู้ หรือ รู้สึกทั้งตัว" แล้ววางใจแบบกลาง ๆ ใช้ชีพจรเป็นเครื่องมือในการสังเกตุเรื่องจักรทั้ง 7 ก็ได้แล้วก็จะเข้าใจได้เองว่าการ "ตั้งกายตรง ดำรงค์สติมั่น" นั้นสามารถ รวบเอาจักรทั้ง 7 ไว้ด้วยกันในการฝึก มหาสติปัฏฐาน หรือไม่ นะครับ
     
  5. สิเนรุ อุตรกุรุ

    สิเนรุ อุตรกุรุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2010
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +297
    แสดงธรรมได้ละเอียดและมีความลึกลับในบทธรรมแต่ละข้อ ขออนุโมทนาด้วยครับ เรื่องการกำหนดสมาธิ มีอาการระหว่างนั่งสมาธิ ความรู้สึกหายไป..ขาดช่วง..ไม่ใช่หลับ หรือเหมือนดับไปเลย สักครู่กลับมาใหม่ เรียกว่าเป็นสภาวะอะไร หรือเป็นการเผลอฯลฯ
     
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    แสดงธรรมได้ละเอียดและมีความลึกลับในบทธรรมแต่ละข้อ ขออนุโมทนาด้วยครับ

    +++ จริง ๆ แล้วเป็นเพียงแค่รายงานผลแบบเล่าสู่กันฟังมากกว่า ว่าถึงสภาวะนี้แล้วมีอะไรอยู่บ้างและควรทำอะไรต่อ จิตมนุษย์ทุกดวงสามารถทำได้เหมือนกัน และ เป็นมาตรฐานเดียวกัน นะครับ

    เรื่องการกำหนดสมาธิ มีอาการระหว่างนั่งสมาธิ ความรู้สึกหายไป..ขาดช่วง..ไม่ใช่หลับ หรือเหมือนดับไปเลย

    +++ หากในขณะนั้นมีอาการ "รู้อย่างชัดเจน" เพียงแต่ว่า "ไม่มีอะไรให้ถูกรู้" ทั้งการทำงานทางจิตและความรู้สึกทั้งมวล ในขณะนั้น ๆ คือ "อาการของสติบริสุทธิ์" หรือที่เรียกว่า "สภาวะรู้" ในกระทู้นี้ หากในขณะนั้นยังมีความรู้สึกว่า "ความเป็นตนยังมีอยู่" ก็ถือได้ว่า เป็น "อยู่กับตน" ในสติระดับ 5 ในโพสท์ที่ 5 หน้าแรกของกระทู้นี้ เพียงแต่ว่าในขณะนั้น "กิริยาจิต หยุดไปเอง" เฉย ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ

    +++ อาการที่กล่าวมานี้ "สามารถเกิดโดยบังเอิญได้" ในจิตทุกดวง เพียงแต่ผู้ปฏิบัติ ยังหาต้นสายปลายเหตุไม่เจอเท่านั้น และถ้าหากเดินจิตเลียนแบบเดิมได้ ก็ควรทำให้บ่อย ๆ ในการเข้าและออกสู่สภาวะนี้ เพราะกิริยาจิต (สัญญาและเวทนาจิตละเอียด) ไม่ปรากฏหรือดับไป (นิโรธ) ซึ่งเป็นสมาบัติที่สำคัญมาก และเป็นจุดมุ่งหมายของนักปฏิบัติหลายท่าน

    สักครู่กลับมาใหม่ เรียกว่าเป็นสภาวะอะไร หรือเป็นการเผลอฯลฯ

    +++ หากทุกอย่างเป็นดังที่ผมกล่าวมา สามารถเรียกได้ว่า "เป็นการบังเอิญ" มากกว่า เพราะถ้าหากเผลอ "สภาวะรู้ จะไม่ปรากฏ" และมักจะเป็นการหลับ แต่ตามที่บอกมานั้น ไม่ใช่อาการหลับ ส่วนเรียกว่าอะไรนั้น ให้อ่านทวนย่อหน้าข้างบนอีกครั้ง นะครับ
     
  7. ถวายบูชา

    ถวายบูชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +560
    ผมกำหนดหน่วงแต่ตรงหน้าผากตึงได้แค่จุดนี้เรื่องขยายความรู้สึกคงต้องทำต่อไป แค่กำหนกจุดนี้ตอนไหนก็ได้ครับ ขอคำแนะนำเพิ่มด้วยครับ
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ผมกำหนดหน่วงแต่ตรงหน้าผากตึงได้แค่จุดนี้เรื่องขยายความรู้สึกคงต้องทำต่อไป แค่กำหนกจุดนี้ตอนไหนก็ได้ครับ ขอคำแนะนำเพิ่มด้วยครับ

    +++ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ขยายความรู้สึกไปทีละส่วน คือลองขยายให้ใหญ่เป็น 2 เท่าก่อน แล้วทำความคุ้นเคยกับ "อาการขยาย หรือ การทำให้ขยาย" แล้ว ทำการขยาย ให้ได้ในส่วนของ ศีรษะ ก่อน แล้วจึงขยายให้ได้ครึ่งตัว จนได้ทั้งตัว จากนั้นจึงฝึก เข้า-ออก แบบทั้งตัวในทีเดียว แบบกำหนดตอนไหนก็ได้ เมื่อได้แล้ว ก็ฝึกแบบ "เล่น" เข้า-ออก จนได้นิสัย จากนั้นก็จะได้ สติระดับ 3. "กำหนดรู้" แล้วจึงค่อย ๆ พัฒนาในระดับต่อไป นะครับ
     
  9. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    ทำสมาธิก่อนนอนพบว่าทำให้หน้าตาสดใส พักผ่อนได้เต็มที่ เวลานอนตื่นมาจิตใจเบิกบาน

    ผมพบว่า

    ถ้ากำหนดรู้สึกทั่วทั้งร่าง ไปทั่วร่างให้บางๆ เบาๆ สบายๆ ที่สุด สามารถทำให้หลับได้นานแสนนาน และทำให้หลับง่ายและเร็วมากๆ ถ้ามีเวลาจะหลับเป็นวันเลยก็ได้ ตืนมาทำต่อ แป๊บเดียวหลับอีกแล้ว แต่นอนมากๆ อาจจะปวดหัว ใครนอนไม่ค่อยหลับก็ลองดูครับ
     
  10. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    ธรรมะสวัสดียามเช้าค่ะท่านธรรม-ชาติ วันนี้วันพระก็เวียนรอบมาถึงอีกวันหนึ่งแล้ว ขอแสดงธรรมะที่ตรงกับจริตสักบทได้ไหมค่ะ
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ วันนี้เป็นวันพระไทย และ วันพระฝรั่ง (คริสมาส) การแสดงธรรมให้ตรงกับจริตของพระ (ในทุกศาสนา) หรือผู้ที่แสวงหาความรู้แจ้งในวิถีแห่งความพ้นทุกข์นั้น จะมีได้เพียงจริต (นิสัย) เดียวเท่านั้น คือ จริตแห่งมหาสติปัฏฐาน 4 เพราะท้ายที่สุดแล้ว ทุกจริต (นิสัย) ที่ต้องการความพ้นทุกข์ ต้องมองกลับมาหาตน (ดูตน) ทั้งสิ้น ตรงนี้ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะตรงกับ "สติ ตามระดับของผู้ฝึก" ในระดับที่ 6 ตามโพสท์ที่ 5 ของหน้าแรกในกระทู้นี้

    +++ โดยปกติทั่วไปการ "แสดงธรรมะที่ตรงกับจริต" มักจะวนเวียนอยู่ใน สติระดับที่ 1. "ระลึกไม่รู้" กับ สติระดับที่ 2. "ระลึกรู้" ซึ่งยังไม่ใช่อาการที่แท้จริงของ "สติ" สักที โดยเฉพาะอาการในระดับที่ 1 นั้นน่าอนาถมาก เพราะยังใช้ "ความปรุงแต่งทางตรรกะ" เถียงกันวุ่นวาย ยกเหตุผลกันอุตลุต และสุดท้ายมักจะยัดเยียดโยนมาให้ สติระดับที่ 2 "ระลึกรู้" รับไป ซึ่งผู้ที่อยู่ในระดับที่ 2 นี้ ก็มีความเมตตามากกว่าในระดับที่ 1 และต่างก็แสดง "วิธีการระลึก" ว่าตนทำอย่างไร จึงจะมาถึง "การระลึกในมหาสติปัฏฐาน 4 ได้" และ "วิธีการระลึก" ของแต่ละบุคคล ก็คือ "ความแตกต่างของจริต" ในการระลึกนั่นเอง ซึ่งผู้ใดระลึกตามแล้วทำได้ ก็ถือว่า "ถูกจริต" หากทำตามแล้วไม่ได้ ก็ถือว่า "ไม่ถูกจริต" นั่นเอง

    +++ กระทู้นี้จะเริ่มการฝึกตั้งแต่ สติในระดับที่ 3 "กำหนดรู้" เป็นต้นไป และจะไม่กลับไป "เวียนว่ายตายเกิด" ในระดับที่ 1 และ 2 อีก ซึ่งจะทำให้ "กระทู้รกเป็นอย่างยิ่ง" และ สติในระดับ 3 นี้ ถือว่า "ข้ามพ้นเรื่องจริต" หรือ "วิธีของการทำสติ" ไปแล้ว (วิธีทำอยู่ในโพสท์ที่ 7 ของหน้าแรกในกระทู้นี้) และจะไม่อาศัย "ความจำ หรือ การระลึก" เป็นองค์ประกอบอีกต่อไป เพราะทุกอย่างจะเริ่มต้นที่ "การกำหนด และ เดินจิตอย่างตรง ๆ ในสภาวะการณ์ของ สติ ที่ตั้งอยู่แล้ว" นอกนั้นจะเป็นเรื่องของ ผลลัพธ์จากการที่ "สติครองฐาน" หรือเรียกได้ว่า "ตั้งสติมั่น" ได้แล้ว และผลลัพธ์จะเป็น "รู้ธรรมเฉพาะหน้า" หรือ "ปรากฏการณ์ที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น"

    +++ ส่วนใหญ่ของผู้ที่มาถึง สติในระดับที่ 3 เป็นต้นไป ก็จะเจอกับสภาวะที่เรียกว่า "บางทีรู้ บางทีก็ไม่รู้" และส่วนใหญ่ก็จะ "หลง" ไปพะวงอยู่กับ "ขณะที่ไม่รู้นั้น มันไปไหน" เมื่อหาไปนาน ๆ เข้าก็จะพบได้เองว่า มันมัวแต่ "หลงไปกับความคิด" (คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ของหลวงปู่ดูลย์) จนกว่าจะรู้ชัดว่า "การพะวงกับ ขณะที่ไม่รู้นั้น ทำให้เสียเวลาไปอย่างยิ่ง" และในที่สุดก็จะกลับมาใส่ใจกับ "เหตุที่ทำให้หลง" (หยุดคิดจึงรู้) จากนั้นก็จะเริ่มรู้จักสิ่งที่เรียกว่า "กิริยาจิต" ซึ่งก่อนที่จิตจะหลงนั้น "กิริยาจิต จะเกิดก่อน" ซึ่งจะเป็นการเริ่มของ สติในระดับที่ 4. "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้" และตรงนี้จะทำให้รู้ว่า "จิตส่งออก คือสมุทัย" และมันมักจะออกไปหลง ซึ่งเป็นเหตุของ "ไม่รู้" นั่นเอง (กว่าจะรู้ ก็ต้องอาศัยคิด ที่หลงไปนั่นเอง)

    +++ จากสติในระดับที่ 4. "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้" และตรงนี้จะทำให้รู้ว่า "จิตส่งออก คือสมุทัย" นั้น ยามที่ "เห็นกิริยาจิต หรือ การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้" นั้นก็จะตรงกับที่หลวงปู่ดูลย์ที่กล่าวไว้ว่า "จิตเห็นจิต เป็นมรรค" นั่นเอง จากนั้นก็จะทำให้เกิดความรู้สึก "ไม่อยากส่งออก" จนทำใหผลลัพธ์ กลับกลายมาเป็น สติในระดับที่ 5. "อยู่กับตน" ซึ่งสติในระดับนี้ จะเป็น "สติในระดับ อัปนาสมาธิ" หรือที่เรียกว่า "สติครองฌาน" ที่จะส่งผลให้เกิดความรู้ในระดับ "อนันตนัย" ได้เอง (สติปัฏฐานเป็นความรู้อนันตนัย หาประมาณมิได้ ไม่เหมือนความรู้ชนิดอื่น สนทิฏฐิโก เห็นด้วยเฉพาะนักปฏิบัติ ปจจตตํ รู้เฉพาะในดวงจิต รู้ธรรมลึกลับสุขุมคัมภีรภาพ) (จาก โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ที่ให้ไว้แก่ศิษยานุศิษย์ บันทึกโดย หลวงปู่หลุย จันฺทสาโร จากสถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง)

    +++ เมื่อถึงสติในระดับที่ 5. "อยู่กับตน" เรียบร้อยแล้ว ไม่นานก็จะรู้ได้ชัดเจนถึง "จริตแห่งตน" ได้เอง อาจรวมถึง "ความเก่าแก่แห่งตน ในวัฏฏะสงสารได้ ตามความเป็นจริง โดยไม่ต้องพึ่งใคร" รวมทั้ง "การพยากรณ์ตนเองได้ ตามสัจจธรรม โดยครรลองแห่งวิถีที่จิตตนเดินทางต่อไปได้ไม่ยากนัก"

    +++ ดังนั้นจากคำขอ "ขอแสดงธรรมะที่ตรงกับจริตสักบท" นั้นจึงได้แสดงธรรมที่เป็น "เหตุ" ให้ถึง "การปฏิบัติที่ทำให้รู้ ถึงจริตแห่งตน ตามความเป็นจริง" แล้วนะครับ หากมีความ "ตั้งใจ" ที่จะรู้จริตจริง ๆ ของตนแล้วก็ "ให้รีบ ๆ เร่งความเพียรเข้า" แล้วก็จะรู้ได้เอง ชัดเจนตามความเป็นจริง นะครับ
     
  12. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    สวัสดีคะพี่
    เรื่องสังโยชน์อ่านแล้วก็เข้าใจละคะ การฝึกสติแบบนี้เป็นการสร้างสภาวะความเข้าใจในตัวเอง ยิ่งฝึกก็จะยิ่งเข้าใจในการทำงานของขันธ์ 5 แล้วก็เข้าใจแล้วแล้วที่ี่บอกว่าความคิดไม่เกี่ยว

    ช่วงนี้เมิลสลับกันอยู่ระหว่างอยู่กับตนกับอยู่กับรู้ เป็นวินาทีเลยทีเดียว เข้าใจความรู้สึกที่ต่างกันระหว่างอยู่กับตนกับอยู่กับรู้แล้วคะ อยุ่กับรู้จะรู้สึกเหมือนอยู่เหนือขึ้นมา เป็นความรู้สึกที่รู้อยู่แต่ไม่ผูกพันด้วย ช่วงที่สลับกันจะมีความรู้สึกหนัก-โล่งให้สังเกตได้

    ช่วงนี้ฝันว่าตัวเองฝึกเข้าฐานในจิตเดียว แล้วมีแสงออกมาตามตัวอยุ่เรื่อยเลยคะ
     
  13. piyapasut

    piyapasut สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    สวัสดีครับ ผมอ่านกระทู้แล้วชอบมากเลยครับ เข้าใจได้ง่ายดีครับ

    ผมได้ปฏิบัติสมาธิมาหลายเดือนแล้ว โดยใช้วิธีดูลมหายใจ และกำหนดรู้เข้าออก สั้นยาว ตามที่ได้ศึกษาจากหนังสือเกี่ยวกับการทำสมาธิแบบอานาปานสติ แต่ปัญหาที่พบเจอในการนั่งส่วนใหญ่คือ เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดตา บางครั้งเกิดอาการคลื่นไส้ ทำให้อยากเลิกขึ้นมาเอาดื้อๆ (คำถามคือ อาการเหล่านี้เกิดจากอะไรเหรอครับ มีทางแก้ไขอย่างไรครับ)

    แต่ถ้าไม่เกิดอาการดังกล่าว จะเข้าสู่ความนิ่ง สงบ แต่พอได้ซักพักหนึ่ง จะเริ่มเกิด อาการโยกเยก เหมือนโดนดึงไปดึงมา และจับความรู้สึกของชีพจรได้ชัดเจนที่ หัวใจ และ ปลายนิ้ว บางครั้งรู้สึกว่าการเต้นของหัวใจ ไปขัดขวางการหายใจของเรา ทำให้รู้สึกว่าหายใจลำบาก (หายใจแล้วโดนขัดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ)

    บางครั้งเกิดอาการวูป คล้ายเป็นลม บางครั้งก็เหมือนถูกไฟดูด สะดุ้ง รู้สึกเหมือนมีพลังอุ่นๆ บางอย่าง ไหลเวียนทั่วร่างกาย หัวใจเต้นแรงมาก (ไม่รู้เป็นเพราะตกใจรึป่าวครับ 555)

    บางครั้งพอนิ่งไปนานๆ จะเริ่มรู้สึกเหมือนกึ่งหลับกึ่งตื่น พอเริ่มรู้สึกแบบนี้ปุ๊บ ความคิดมันจะทะลักเข้ามาเหมือนเขื่อนแตก ทั้งๆ ที่ไม่ได้กำหนดคิดอะไรเลย แล้วความคิดที่เข้ามามันเป็นความทรงจำที่เคยพบเจอในอดีต รวมถึงความคิดที่เราเคยคิดมาก่อนในอดีตด้วยครับ พอถึงตรงนี้สมาธิแตกกระเจิงเลยครับ ฝืนต่อไม่ได้ ต้องเลิกอีท่าเดียวเลย (ผมติดที่ตรงนี้ครับ ไปต่อไม่ถูกเลย)

    ผมอยากทราบแนวทางการปฏิบัติต่อไปครับ
    ขอบคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2013
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีคะพี่
    เรื่องสังโยชน์อ่านแล้วก็เข้าใจละคะ การฝึกสติแบบนี้เป็นการสร้างสภาวะความเข้าใจในตัวเอง ยิ่งฝึกก็จะยิ่งเข้าใจในการทำงานของขันธ์ 5 แล้วก็เข้าใจแล้วแล้วที่ี่บอกว่าความคิดไม่เกี่ยว

    +++ เมื่อเข้าใจมากขึ้น ก็ให้อยู่ในฐานะของ "ผู้ใช้ขันธ์" และอย่าตกเป็น "ทาสของขันธ์" นะ

    ช่วงนี้เมิลสลับกันอยู่ระหว่างอยู่กับตนกับอยู่กับรู้ เป็นวินาทีเลยทีเดียว เข้าใจความรู้สึกที่ต่างกันระหว่างอยู่กับตนกับอยู่กับรู้แล้วคะ อยุ่กับรู้จะรู้สึกเหมือนอยู่เหนือขึ้นมา เป็นความรู้สึกที่รู้อยู่แต่ไม่ผูกพันด้วย ช่วงที่สลับกันจะมีความรู้สึกหนัก-โล่งให้สังเกตได้

    +++ ต้องสังเกตุให้ดี ๆ ว่า "ยามใดที่ ตนถูกรู้ นั้น สภาวะทุกข์อยู่ที่ไหน" และ "ยามใดที่ อยู่กับตน นั้น ใครคือสภาวะทุกข์" เมื่อรู้จักสภาวะทุกข์แล้ว คอยสังเกตุให้ดีว่า "สภาวะของตัวทุกข์เอง คือ สภาวะของอะไร และใช้เรียกตามแนวทางปฏิบัติกรรมฐาน ได้กี่แบบ กี่ชื่อ กี่ประเภท"

    ช่วงนี้ฝันว่าตัวเองฝึกเข้าฐานในจิตเดียว แล้วมีแสงออกมาตามตัวอยุ่เรื่อยเลยคะ

    +++ "รู้ อยู่กับ แสง" หรือ "แสง อยู่กับ รู้" และ "แสงกับรู้ ต่างกันอย่างไร" พวกนี้ต้องสังเกตุให้ละเอียดถี่ยิบ "แสง เป็น รูป" ส่วน "รู้ เป็น นาม"

    +++ "ตัวดู คือ ผู้สร้างแสง" ดังนั้นที่ฝันว่า "มีแสงออกมาตามตัว" ก็คือ ตอนนั้น อยู่กับตนที่เป็นตัวดูนั่นเอง
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีครับ ผมอ่านกระทู้แล้วชอบมากเลยครับ เข้าใจได้ง่ายดีครับ

    ผมได้ปฏิบัติสมาธิมาหลายเดือนแล้ว โดยใช้วิธีดูลมหายใจ และกำหนดรู้เข้าออก สั้นยาว ตามที่ได้ศึกษาจากหนังสือเกี่ยวกับการทำสมาธิแบบอานาปานสติ แต่ปัญหาที่พบเจอในการนั่งส่วนใหญ่คือ เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดตา บางครั้งเกิดอาการคลื่นไส้ ทำให้อยากเลิกขึ้นมาเอาดื้อๆ (คำถามคือ อาการเหล่านี้เกิดจากอะไรเหรอครับ มีทางแก้ไขอย่างไรครับ)

    +++ อาการตรงนี้มักเกิดจาก "ตัวดู ที่เข้าไปจับลมหายใจ แต่อาการดูไม่มีเสถียรภาพเพียงพอ" และเป็นการใช้คำศัพท์ที่ "ไม่ถูกต้องตรงตามอาการ" เพราะจริง ๆ แล้วท่านให้ "กำหนด รู้" ไม่ใช่ "การจ้อง ดู" ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมเคยพูดไว้หลายครั้งแล้วว่า

    +++ "การใช้คำศัพท์ที่ไม่ถูกต้องตรงตามอาการนั้น หากผิดพลาดไปแม้แต่เพียงนิดเดียว ผลลัพธ์จากการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธินั้น จะออกมาผิดทางห่างไกลมาก"

    แต่ถ้าไม่เกิดอาการดังกล่าว จะเข้าสู่ความนิ่ง สงบ แต่พอได้ซักพักหนึ่ง จะเริ่มเกิด อาการโยกเยก เหมือนโดนดึงไปดึงมา และจับความรู้สึกของชีพจรได้ชัดเจนที่ หัวใจ และ ปลายนิ้ว บางครั้งรู้สึกว่าการเต้นของหัวใจ ไปขัดขวางการหายใจของเรา ทำให้รู้สึกว่าหายใจลำบาก (หายใจแล้วโดนขัดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ)

    +++ ทุกอย่างถูกต้องแล้ว แต่ต้อง "วางลมหายใจ" แล้วไปอยู่กับอาการโยกแทน ซึ่งไม่นานจะเกิดอาการ "เพลิดเพลิน" ตรงนี้เป็น "ปิติในฌาน 2" แต่ถ้าหาก กลับไปอยู่กับลมหายใจอีก ก็เป็นการ "ถอยออกจากฌาน" จนกลายเป็น "การฝึกสมาธิที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เพราะความฟุ้งซ่าจะเข้ามาแทรกแซงโดยง่าย"

    +++ การอยู่กับอาการโยกนั้น จะทำให้เกิดการ "รู้ทั้งตัว" และในยามที่ สติละเอียดลงไปก็จะทำให้รู้ว่า "อาการโยกเกิดมาจาก การสูบฉีดเลือดที่มาจากเส้นเลือดใหญ่ที่นั่งทับอยู่ นั่นเอง"

    บางครั้งเกิดอาการวูป คล้ายเป็นลม บางครั้งก็เหมือนถูกไฟดูด สะดุ้ง รู้สึกเหมือนมีพลังอุ่นๆ บางอย่าง ไหลเวียนทั่วร่างกาย หัวใจเต้นแรงมาก (ไม่รู้เป็นเพราะตกใจรึป่าวครับ 555)

    +++ อาการวูป คล้ายเป็นลม เป็นการหดหรือขยายตัวของ "ตัวดู" โดยไร้เจตนาที่ "สติตามไม่ทัน" ส่วนอาการ "เหมือนถูกไฟดูด สะดุ้ง รู้สึกเหมือนมีพลังอุ่นๆ บางอย่าง ไหลเวียนทั่วร่างกาย" นั้นเป็นส่วนของ "ความรู้สึกตัว ที่สามารถแปรสภาพพลังงานไปในรูปต่าง ๆ" (ความรู้สึกตัว เป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่แปรสภาพได้)

    บางครั้งพอนิ่งไปนานๆ จะเริ่มรู้สึกเหมือนกึ่งหลับกึ่งตื่น พอเริ่มรู้สึกแบบนี้ปุ๊บ ความคิดมันจะทะลักเข้ามาเหมือนเขื่อนแตก ทั้งๆ ที่ไม่ได้กำหนดคิดอะไรเลย แล้วความคิดที่เข้ามามันเป็นความทรงจำที่เคยพบเจอในอดีต รวมถึงความคิดที่เราเคยคิดมาก่อนในอดีตด้วยครับ พอถึงตรงนี้สมาธิแตกกระเจิงเลยครับ ฝืนต่อไม่ได้ ต้องเลิกอีท่าเดียวเลย (ผมติดที่ตรงนี้ครับ ไปต่อไม่ถูกเลย)

    ผมอยากทราบแนวทางการปฏิบัติต่อไปครับ
    ขอบคุณมากครับ

    +++ แนวทางปฏิบัติในระดับนี้ คือ พยายามอยู่กับ "อาการโยกของร่างกายทั้งตัว ตามแรงดันของชีพจร" ก็จะเข้าสู่ "อัปนาสมาธิได้" และถ้า "รักษาอาการ รู้ทั้งตัว ในขณะที่โยกได้" ก็จะเข้าถึงระดับ "สติครองฌาน" ได้เช่นกัน นะครับ
     
  16. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่คะ
    1. แล้วแบบไหนที่เรียกว่าใช้ขันธ์ แบบไหนที่เป็นทาสของขันธ์คะ
    2. "ยามใดที่ ตนถูกรู้ นั้น สภาวะทุกข์อยู่ที่ไหน"
    สภาวะทุกข์ไม่มีคะ
    และ "ยามใดที่ อยู่กับตน นั้น ใครคือสภาวะทุกข์"
    ทุกข์อยู่ที่ตนคะ จะรู้สึกหนัก
    3. "สภาวะของตัวทุกข์เอง คือ สภาวะของอะไร และใช้เรียกตามแนวทาง
    ปฏิบัติกรรมฐาน ได้กี่แบบ กี่ชื่อ กี่ประเภท"
    ขอคำอธิบายด้วยคะ เมิลไม่รู้
     
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    พี่คะ
    1. แล้วแบบไหนที่เรียกว่าใช้ขันธ์ แบบไหนที่เป็นทาสของขันธ์คะ

    +++ การกำหนดจิต และ การเดินจิต ไปตามสภาวะธรรมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ เป็น "การใช้ขันธ์" การหลงความคิด หลงวิปัสสนูกิเลส หลง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์ต่าง ๆ เป็น "ทาสของขันธ์" เพราะโดนขันธ์บังคับให้เป็นไป

    2. "ยามใดที่ ตนถูกรู้ นั้น สภาวะทุกข์อยู่ที่ไหน"
    สภาวะทุกข์ไม่มีคะ

    +++ ทุกข์อยู่ใน "ตนที่ถูกรู้" ไม่ใด้อยู่ใน "เราที่เป็นสภาวะรู้"

    และ "ยามใดที่ อยู่กับตน นั้น ใครคือสภาวะทุกข์"
    ทุกข์อยู่ที่ตนคะ จะรู้สึกหนัก

    +++ ทุกข์อยู่ใน "ตนที่เป็นสภาวะเรา"

    3. "สภาวะของตัวทุกข์เอง คือ สภาวะของอะไร และใช้เรียกตามแนวทาง ปฏิบัติกรรมฐาน ได้กี่แบบ กี่ชื่อ กี่ประเภท"
    ขอคำอธิบายด้วยคะ เมิลไม่รู้

    +++ "สภาวะของตัวทุกข์เอง คือ สภาวะของตัวดู" ในขณะที่ ดูจิตที่ผุดขึ้นมา (อุปกิเลสที่จรเข้ามา) แล้ว ตัวดูหลงส่งออกไปจับมัน (จิตส่งออก คือ สมุทัย) ผลลัพธ์คือ ตัวดูกลายสภาพเป็นทุกข์

    +++ ในขณะที่ตัวดู เกร็งหดตัวมากเท่าไรสภาวะทุกข์ก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ตัวดูแปรสภาพตนเองเป็นสภาวะฌาน ด้วยการคลายตัวขยายออกของตัวดู ยิ่งขยายตัวมากทุกข์ก็ยิ่งลดน้อยถอยลง จนตัวดูกลายสภาพเป็นทุกข์ละเอียด

    ดังนั้น

    +++ ตัวดู = ตัวทุกข์
    +++ พ้นตัวดู = พ้นทุกข์
    +++ ไม่เป็นตัวดู = ไม่เป็นทุกข์
    +++ ควบคุมตัวดูได้ = ควบคุมทุกข์ได้

    เท่านั้นเองแล
     
  18. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    สงัด ดี ปีใหม่ครับ อาจารย์ และ
    กัลยาณมิตร พี่ๆน้องๆทุกท่าน
    ขอให้สุขภาพแข็งแรง ตั้งสติมั่น
    เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
    ( วันนี้วันอุโบสถด้วย ^^ )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2013
  19. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    สวัสดีปีใหม่คะ พี่ธรรม-ขาติ ขอบคุณสำหรับทุกคำสอน คำแนะนำตลอดปีที่ผ่านมานะคะ
    และทุกๆคนในกระทู้ที่มาแขร์ประสบการณ์กันคะ
    ในปี 2557 เรามาฝึกกันต่อคะ
    รักทุกคนคะ
    เมิล
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีปีใหม่กับทุกคน ครับ

    ไปฟังคนอื่นสวดมนต์ข้ามคืนที่ วัดราชนัดดา (ผมเองไปทำ กรรม+ฐาน) บรรยากาศสะดวกสบายมาก ๆ มีโอกาส "รู้" ความเคลื่อนไหวในกระบวนการของจิตทั้งหมด ในสถานการณ์ จุดพลุ ซึ่งโอกาสแบบนี้ "หาได้ยากมาก" ถ้ามีอีก ก็จะไปอีกนะครับ

    ปีนี้ขอให้ทุกคน สามารถฝ่าด่านที่สำคัญ ๆ ทางจิตได้ทุกคน นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...