เห็นถามแต่ฝ่ายหญิง อีกมุม!! แล้วถ้าฝ่ายชายเที่ยวโสเภณีล่ะครับ ผิดศีลไหม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 4 พฤศจิกายน 2013.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    ถ้าชายโสดเที่ยวโสเภณี ซึ่งตามปกติจะมีคนมาบอกแบบวิชาการว่า ถ้าโสเภณีเป็นโสดหรือพ่อแม่อนุญาติหรือตายแล้วก็ไม่บาป และอีกวิชาการคือเขาข่ายหญิง 20 จำพวก

    แต่เรื่องหญิง 20 จำพวกผมดูแบบละเอียดแล้วมันไม่ค่อยเข้าเท่าไหร่นะครับ

    อยากได้ความคิดเห็นมุมนี้กันบ้างครับ
     
  2. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    หญิงที่ไม่ควรยุ่ง

    ๑.สตรีที่อยู่ในความดูแลของมารดา
    ๒.สตรีที่อยู่ในความดูแลของบิดา
    ๓.สตรีที่อยู่ในความดูแลของบิดา-มารดา
    ๔.สตรีที่อยู่ในความดูแลของพี่ชาย/น้องชาย
    ๕.สตรีที่อยู่ในความดูแลของพี่สาว/น้องสาว
    ๖.สตรีที่อยู่ในความดูแลของญาติ
    ๗.สตรีที่เป็นโคตรเง่าเหล่ากอ หรือวงศ์ตระกูลเดียวกัน
    ๘.สตรีทีเป็นนักบวช
    ๙.สตรีที่มีสามี
    ๑๐.สตรีที่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมาย
    ๑๑.สตรีที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ด้วยประสงค์จะอยู่ร่วม
    ๑๒.สตรีที่อยู่กินกันด้วยความพอใจ
    ๑๓.สตรีที่อยู่ด้วยโภคะ
    ๑๔.สตรีที่อยู่ด้วยแผ่นผ้า (๑๓,๑๔ เพ่งถึงสตรีที่ฐานะยากจน ได้รับการอุปการะแล้วอาศัยอยู่ในฐานะเป็นภรรยา)
    ๑๕.สตรีที่จุ่มนิ้วมือในภาชนะน้ำ (ญาติจับแต่งกับชายด้วยเพียงทำพิธีเอามือของทั้งสองจุ่มลงในถาดน้ำเดียวกัน)
    ๑๖.สตรีที่บุรุษปลงเทริดลง (สตรีที่อยู่กันกับชายเพราะฝ่ายชายมาช่วยแบ่งเบาภาระ)
    ๑๗.สตรีที่เป็นทั้งทาสและภรรยา
    ๑๘.สตรีที่เป็นทั้งคนทำงานและภรรยา
    ๑๙.สตรีที่เป็นเชลยสงคราม
    ๒๐.สตรีที่อยู่ร่วมกับบุรุษแม้เพียงครู่เดียว (หมายเอาหญิงแพศยา หรือโสเภณี)

    ถ้าเข้าสุดๆก็คง ๑๑. ๑๒. ๒๐.

    อยากให้ลองอ่านนี่ดูนะครับ
    การซื้อบริการทางเพศที่เต็มใจทั้งสองฝ่าย ในความเห็นของอาตมา ไม่เป็นการผิดศีลข้อ ๓ ถ้าทั้งสองฝ่ายเป็นโสด หรือว่าคู่ครองหรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่าย(หากมี) รับรู้และอนุญาต จะผิดศีลข้อ ๓ ก็ต่อเมื่อเป็นการล่วงละเมิดหรือทำร้ายจิตใจผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายหญิงยังอยู่ในปกครองของพ่อแม่ แม้เธอจะเต็มใจ การซื้อบริการจากเธอโดยที่พ่อแม่ของเธอไม่รับรู้หรืออนุญาต ย่อมถือว่าผิดศีลข้อ ๓

    ศีล ๕ นั้นล้วนเป็นเรื่องของการไม่ละเมิด หรือทำร้ายผู้อื่น หรือเบียดเบียดตนเอง การมีความสัมพันธ์ทางเพศ หากไม่เป็นการเบียดเบียนผู้ที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่ถือว่าผิดศีลข้อ ๓ คงเพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงไม่ทรงตำหนิหรือประณามหญิงคณิกาหรือผู้ซื้อบริการจากเธอ

    อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าหญิงบริการจำนวนไม่น้อยในเมืองไทย และอีกหลายประเทศ ถูกล่อลวงหรือถูกบังคับข่มขืนใจให้ค้าบริการ หลายคนยอมรับสภาพดังกล่าวด้วยความจำยอมเพื่อจะได้มีเงินไถ่ตัวให้เป็นอิสระ การไปแสวงหาบริการทางเพศจากเธอ แม้จะไม่เรียกว่าผิดศีลข้อ ๓ แต่ก็เป็นการสร้างความทุกข์ให้แก่เธอ อีกทั้งส่งเสริมขบวนการค้ามนุษย์ให้ดำเนินต่อไป

    สิ่งที่พึงตระหนักก็คือ แม้การซื้อบริการทางเพศในบางกรณีจะไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อ ๓ แต่ก็อาจผิดธรรมในข้ออื่น เช่น ความไม่รู้จักประมาณในกาม (กามสังวร) หรือความไม่ยินดีในคู่ครองของตน (สทารสันโดษ) การมีความสัมพันธ์ทางเพศนั้นไม่ควรเป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินในกามหรือตักตวงประโยชน์จากกันเท่านั้น แต่ควรกระทำด้วยความผูกพันและรับผิดชอบต่อกันด้วย นอกจากนั้นก็ควรคำนึงถึงวัฒนธรรมหรือประเพณี เพราะบางแห่งบางหมู่ชนถือว่าการซื้อบริการทางเพศนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะคนที่อยู่ในบางสถานะ (ผิดกับสมัยพุทธกาลที่การซื้อบริการทางเพศถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ยอมรับได้)
     
  3. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    อ่าาา อยากได้ความคิดเห็นและการวิเคราะห์กันบ้างครับ ได้ไปเป็นความรู้บอกตัวเอง รุ่นน้องหรือเพื่อนๆได้ครับ
     
  4. LovePig

    LovePig เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +283
    หัวข้อนี้เคย ตอบจากผู้รู้หลายท่านแล้วนะครับ (ลองกระทู้เก่าๆ ดู)

    โดยความคิดเห็นส่วนตัวครับ การใช้บริการ หญิงโสเภณี ที่ยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย ผมว่าไม่น่าจะผิดศีลนะครับ
    ส่วน ญ 20 ประเภท ที่มากล่าวอ้าง ถ้าเราใช้ บริการ ไม่รู้ว่า ได้สืบเสาะหาที่มาที่ไปของ ญ บริการก่อนจะร่วมประเวณีรึป่าว (โดยส่วนใหญ่ คงไม่ได้สืบเสาะมั่ง) ถ้าได้สอบถาม ญ ที่ขายบริการ ว่าอยู่ 20 ประเภท ที่ว่ารึป่าว ถ้าเข้าข่าย ก็เลิกใช้บริการมั่งครับ

    เมื่อ ซื้อบริการแล้ว และได้ใช้บริการแล้ว ผมว่า มันทำให้คนที่ซื้อบริการ ยังยึดติดกับกิเลสทำให้ ศีลเศร้าหมอง การที่จะปฏิบัติธรรมต่อไป คงยากขึ้นเท่านั้นครับ
     
  5. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ถ้าการกระทำนั้นๆมันไม่ได้ยังผลให้ใครเดือดร้อน
    ทั้งปัจจุบันหรือในอนาคต มันก็ไม่ได้บาป ไม่ได้เป็นกรรม อะไร
    บางครั้งเราก็คิดแล้วว่า ไม่น่าจะทำให้ใครเดือดร้อน
    กรณี เช่น โสเภณีโสด พ่อตาย แม่ยินยอมให้ลูกทำเพื่อเลี้ยงแม่
    แล้วเรามีภริยา แิอบไปเสพกัน อย่างนี้ หญิงโสเภณีไม่รู้เรื่องไม่บาป
    แต่ชายที่แอบไปเสพ ในอาการของการหลบๆซ้อนๆ นี้เป็นอกุศล
    อกุศล ก็คือบาปนั่นเอง และอานิสงส์จากการกระทำการย่องตอด
    ในภายภพหน้า เราก็จะได้คนรัก ที่ชอบย่องตอดเหมือนกัน
    และเมื่อภริยาเกิดรับรู้เรื่องย่องตอดขึ้นมาในภายหลัง
    และทำให้ภริยาเสียใจมาก ก็ยิ่งเป็นบาปมากเข้าไปอีก
    กรรมจากการทำให้ภริยาเสียใจก็เกิดขึ้น
    ยังผลใ้ห้เราต้องเจอภพที่เราต้องเสียใจอย่างแรงกับคนรัก
    เรื่องผลในนรกผมขอไม่พูด
    เพราะหาคำมาอธิบายให้สมเหตุสมผลไม่ได้

    แต่ถ้าคนของทั้งสองฝ่ายรู้เห็น และยินยอมกันหมด
    ทั้งพ่อแม่ภริยาสามี ก็ไม่เกิดเป็นบาปเลย
    แต่ๆๆๆๆ กรรม คือการกระทำ ยังได้รับอยู่
    การจัดปาตี้เซ้กหมู่ หรือเซ็กไม้ซ้ำหน้า รักสนุกไม่ผูกมัด
    เป็นอาการของดิรัจฉาน ที่อยากได้ก็ต้องได้
    นึกจะผสมพันธ์กับตัวไหนเมื่อไรก็ได้ ไม่ผูกมัด
    จิตสุดท้ายของผู้ที่หลงระเริงจมอยู่กับราคะ
    จะกลับมาเกิดในภพภูมิตามนิสัยที่ตรงกัน
    คือ ดิรัจฉานภูมิ เป็นสุนัขไร้เจ้าของ
    หมดสิทธิสร้างบุญไปอีกยาวนาน
     
  6. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    เคยมีคนถามคำถามแบบนี้ไปแล้วหลายรอบ คำตอบก็คงเหมือนเดิม คือ บาป ทั้งตัวผู้หญิงบริการและคนซื่อ เพราะพระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ในบทหนึ่ง จำไม่ได้แต่เคยอ่านานแล้ว อาชีพ นักแสดงทุกชนิดรวมทั้ง โคโยตี้ เชียร์เบียร์ พริตตี้ อะไรพวกนี้บาปหมด เพราะเป็นอาชีพที่ทำให้คนหลงในกามมากยิ่งขึ้น การจะตรัสรู้และไปนิพพานก็ทำไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น คนคนนึงกำลังเข้าหาวัด พยามตัดกิเลส พยามปฏิบัติธรรมให้หลุดพ้น เพราะเห็นความทุกข์ อันเกิดมาจาก โดนแฟนทิ้ง แต่คนคนนั้นระหว่างที่ปฏิบัติธรรม ดันไปได้ยินเพลงที่นักร้องร้อง มีถ้อยคำ มีอารมย์ดลตรีให้ นึกถึง แฟนในอดีต จิตก็ตกอีก แทนที่จะปฏิบัติได้ ดังนั้นนักร้อง นักแสดง ทุกประเภท รวมทั้ง โสเภณีแสดง พฤติกรรมทางเพศพวกนี้บาปหมด ตัวคนเสพก็บาปด้วย
     
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    ขออนุญาติแสดงความเห็นต่อบทความที่คุณโพสนะครับ

    ผมคิดว่า บุญกับบาปนั้น อยู่ที่เจตนาครับ
    ถ้าเรามีเจตนาที่จะเบียดเบียนทำร้ายหรือเอาเปรียบผู้ใดๆ
    บาปมันก็เกิด มันเกิดที่ความคิด เกิดตั้งแต่ยังไม่ได้กระทำแล้ว
    มโนกรรม คือตัวบ่งบอกบุญบาป
    วจีกรรมและกายกรรม คือตัวชี้วัดผลกรรม
    กรรมต่างๆที่เรากระทำ ล้วนเริ่มต้นจากความคิดทั้งสิ้น
    บาปที่ความคิด และได้รับผลตอบกลับ
    เมื่อได้ตัดสินใจลงมือกระทำตามความคิดอกุศลนั้นๆ
    ราคะ คือกามคุณ ๕ เป็นของคู่โลก
    ราคะ ไม่ใช่ตัวบาป
    แต่ผู้ที่เสพติดราคะ แล้วประพฤเบียดเบียนผู้อื่น
    ไม่ว่าในทางใดล้วนเป็นบาป
    แต่ผู้ที่เสพติดราคะ แบบความเป็นมนุษย์ ความมีจิตสำนึก
    พอใจเฉพาะคู่ครอง อย่างนี้ จึงไม่เป็นโทษ ไม่บาป
    แต่กลับกันถ้าทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายยินยอม
    และพอใจในราคะ พร้อมจะเสพกับคนนั้นที คนนี้ที
    และไม่มีใครไม่พอใจ ไม่มีใครเดือดร้อน ไม่ได้เบียดเบียนใคร
    เป็นมุมมองของราคะ แบบรักสนุกไม่ผูกมัด จะเป็นใครก็ได้
    ขอแค่ให้มีความสุขก็พอ อาการอย่างนี้ ก็ไม่ได้บาป
    แต่จิตหมกมุ่นในกามราคะ ตายไปก็ไปเกิดในภพภูมิ
    ของสัตว์ที่มีสภาพจิต ติดใจในการเสพกาม ไม่เลือกหน้านั่นเอง
    ไม่ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์แน่นอน

    ส่วนเรื่องนักร้องนักเต้นยั่วยวน
    ถ้าผู้นั้นมีจิตสำนึก รู้ผิดชอบชั่วดี รู้สึกแย่ๆที่ทำงานอย่างนั้น
    คุณก็แค่เลิกทำ แต่สำหรับบางคน ทำด้วยความจำเป็น
    ก็สักแต่ว่าทำ ไม่ได้เจตนา จะไปยั่งใครจริงๆก็ไม่ได้บาปอะไร
    กลับกัน ถ้าทำงานอย่างนี้ด้วยใจที่ชอบพอในการยั่วยวนด้วยสันดาน
    คิดจะทำให้ผู้คนไหลหลงตน เพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์
    แน่นอนว่าบาป แต่จะบาปมากน้อยก็ขึ้นกับคุณความดีของคนเหล่านั้น

    การที่มีคนจะไปปฏิบัติธรรม แล้วได้ยินเสียงยั่วยวน หรือเห็นภาพยั่วยวน
    จนไม่อยากไปปฏิบัติธรรมแล้วนั้น ถ้าผู้ที่เป็นหญิงดังกล่าว ตั้งใจ จงใจ
    ขัดขวางเขา โดยรู้ว่าเขาจะไปปฏิบัติธรรม แต่ไม่อยากให้ไป เลยมายั่ว
    อาการเย่างนี้บาปมหันต์ เท่ากับขัดขวางคนมุ่งทางธรรม
    ผลกรรมแบบเดียวกันจะย้อนกลับมาสนองเขาเอง
    คือ เมื่อเขาจะมีดวงตาเห็นธรรม หรือตั้งใจจะประพฤธรรม
    ก็จะมีผลกรรมมาขัดขวางเช่นกัน ทำให้บรรลุธรรมไม่ได้

    แต่ในมุมกลับกันถ้านักร้องนักดลตรีนั้นไม่ได้มีเจตนาใด
    นอกจากทำเพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่ได้บาปกับตัวเขา
    ส่วนคนที่เดินออกจากทางธรรม มาคลุกคลีกับกิเลสกามาคุณ
    คนผู้นั้นก็เท่ากับปิดโอกาสตัวเอง แต่ก็นั่นแหละ
    สำหรับคนที่คิดได้ คนที่ปัญญาเกิดแล้ว แม้จะได้เห็นได้ยิน
    ก็ไม่ทำให้ความปรารถนาในธรรมหยุดลงได้

    เปรียบกับ คุณกำลังจะไปปฏิบัติธรรม คุณต้องเดินทางโดนรถตู้
    เมื่อมาถึง ปรากฏว่ามีคนหนึ่งมาถึงท่ารถพร้อมกับเรา
    และเขาได้เดินขึ้นรถก่อนเรา ปรากฏว่ารถเต็มพอดี
    เราไม่ได้ขึ้น ต้องรอรอบต่อไป
    ใจเราก็หงุดหงิด เกิดโทสะต่อคนที่มาตัดหน้าเรา
    สุดท้ายไม่อยากไปปฏิบัติธรรมมันแล้ว
    ถามว่า ผู้ที่ขึ้นรถตัดหน้าเราเขาไม่ได้คิดอะไร
    เขามาถึงเขาก็ขึ้น ไม่ได้จงใจกว่าแกล้งเรา เขาไม่ได้บาปอะไรเลย
    แต่เรากลับมาเจ้าคิดเจ้าแค้นต่อเขา ใจเราบาปเองคนเดียว
    และเราเองก็ตัดสินใจที่จะไม่ไปปฏิบัติธรรมเอง ไม่ใช่เขา

    สรุป เรื่องบาปบุญจะเกิดหรือไม่ ให้ดูที่เจตนาของแต่ละบุคคลครับ
    แต่เรื่องของอานิสงส์หรือผลกรรมนั้น มีทุกกรณี เมื่อลงมือกระทำ
    จะเจตนาหรือไม่ก็ตาม
     
  8. นาคธันดร

    นาคธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +157
    ตอบ : พิจารณาก่อนผู้ใฝ่ในธรรม เราจะขอทำความเข้าใจของท่านให้ถูกต้องก่อนที่จะเฉลยข้อสงสัยต่อไป


    ...โดยตามแนวปฏิบัติแห่งศีล 5 แล้ว ในข้อ 3 นั้นได้บัญญัติว่า "ห้ามประพฤติผิดในกาม" ความจริงแล้วหมายความได้ดังนี้
    * ชายหญิงใดก็แล้วแต่ที่มีจิต หรือการกระทำที่ใฝ่ไปในทางชู้ กล่าวได้หลายแบบเช่น กระทำหรือคิดหวังเป็นเจ้าของคนที่มีคู่แล้ว, คิดแย่งชิง, คิดทำร้าย, คิดยุแหย่ให้เขาแตกแยกกันเพื่อตัวเองจะได้เข้ามาแทนที่ หรือในทางหนึ่งคือคิดหรือกระทำเสพสมกับคนที่เขามีเจ้าของอยู่แล้ว ถ้าถามว่าข้อนี้บาปไหมถ้าไม่รู้ คำตอบคือก็บาปเหมือนกัน เพราะกฎแห่งกรรมก็เหมือนกฎหมาย เพราะไม่เลือกส่งผลว่าถ้าไม่รู้จะไม่มีผล ถ้ารู้จะมีผล ไม่ใช่ เพราะหากใครเคยอ่านประสบการณ์ทางกฎแห่งกรรมจะทราบว่า แม้เด็กน้อยที่กระทำกรรมชั่วโดยที่ไม่รู้ว่ามันเป็นบาป ก็ยังต้องรับกรรมเมื่อเขาโตขึ้น ดังนั้นกฎแห่งกรรมไม่เลือกส่งผลว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับที่ความรู้หรือไม่รู้ แต่จะใช้ความรู้หรือไม่รู้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าควรจะได้รับกรรมระดับใดนั่นเอง ถ้ารู้มากก็ได้รับกรรมมาก รู้น้อยก็รับกรรมน้อย (ยกเว้นคู่กรรมของคุณเป็นเจ้ากรรมนายเวรที่อาฆาตมาก ก็อาจจะทำให้อยู่เหนือกฎเหล่านี้ได้)
    ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ประพฤติตามที่ได้อธิบายมา ไม่ว่าจะเป็น

    * ชายโสดที่ประพฤติผิดกาเมหรือโสเภณีที่เป็นโสด ถึงพ่อแม่อนุญาติหรือตายแล้วก็ตาม ถึงจะรู้หรือไม่รู้ว่าเขามีคู่มาก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม ล้วนไม่ได้หมายความว่าจะไม่บาป เพราะคนโสดก็เหมือนมนุษย์ทุกคนคือไม่ได้อยู่เหนือกฎแห่งกรรม ยิ่งถ้าพ่อแม่อนุญาติยิ่งเป็นการสนับสนุนให้ลูกสร้างบาป คนที่จะได้รับบาปมากกว่าก็คือพ่อแม่ แล้วจะยกว่าพ่อแม่ตายแล้วถือว่าไม่บาปก็ไม่ถูกต้อง เพราะพ่อแม่ไม่ได้เป็นผู้สร้างกฎแห่งกรรม ดังนั้นเมื่อท่านตายแล้วท่านก็ยังต้องเวียนว่ายอยู่ในกฎแห่งกรรมตราบที่ท่านยังไม่นิพพาน แล้วท่านจะมาช่วยให้ลูกไม่บาปได้อย่างไร วิญญาณนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่าการมาสื่อสารหรือนุโมทนาให้พรหรือสาปแช่งคนที่เกี่ยวพัน ไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านั้น ดังนั้นจะบาปหรือไม่บาปนั้น ในกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับพ่อแม่ เกี่ยวกับที่ตัวเอง
    ดังมีนิทานหนึ่งกล่าวว่า "ในอดีตเคยมีหญิงนิสัยทรามคนหนึ่ง ประกอบกรรมชั่วไม่เว้น พอตนตายไปก็ตกนรก ยมทูตกำลังจะจับตัวนางโยนลงกระทะทองแดง พลันนั้นก็มีผ้าเหลืองมารองรับนางเอาไว้ ผ้าเหลืองนั้นก็คือจีวรของลูกชายที่บวชให้ตนนั่นเอง นางจึงรอดจากการถูกลงทัณฑ์ในที่สุด คิดดูเถิด ลูกที่ทำมหากุศลกับพ่อแม่ พ่อแม่ตายไปก็ยังได้อานิสงส์ แต่ถ้าเป็นลูกที่สร้างบาปล่ะ พ่อแม่ตายไปจะได้อะไร?"

    ตอบ : ตามบัญญัติเรื่องหญิง 20 จำพวกนั้น แท้ที่จริงแล้วได้ถือบัญญัติเอาไว้โดยคนโบราณ กระนั้นหญิง 20 จำพวกไม่ถือว่าเป็นการรอดพ้นจากกฎแห่งกาเมอย่างที่ท่านเข้าใจแต่อย่างใด เพราะอันที่จริงแล้วหญิง 20 จำพวก กล่าวโดยสรุปคือ หญิงที่มีสิทธิและสภาวะเสี่ยงและ/หรือที่จะประพฤติหรือประพฤติผิดกาเม จัดเข้าเป็น อคมณียวัตถุ หรือวัตถุต้องห้ามที่เกี่ยวกับกาเมนั่นเอง

    ถ้าชายและหญิงที่ยินยอมร่วมซื้อขายบริการทางเพศทั้ง 2 ฝ่าย ถามว่าบาปไหม ตอบว่า บาป เพราะถึงแม้ว่าการกระทำนี้จะไม่เข้าข่ายหญิง 20 จำพวก แต่กลับผิดข้อห้ามแห่งบัญญัติอาชีพต้องห้ามของศาสนาพุทธแทน ว่าด้วยเรื่องการซื้อขายมนุษย์ ท่านสามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ อาชีพ 5 อย่างที่ไม่ควรทำ พระพุทธองค์กล่าวว่าเป็นอาชีพที่มีโทษ

    ถ้าชายหรือโสเภณีโสดหรือพ่อแม่อนุญาติหรือตายแล้วนั้นถือว่าไม่อยู่ในหญิง 20 จำพวก (อาจจะเป็นเพราะว่าสมัยนั้นยังไม่มีการซื้อขายบริการทางเพศ) แต่ถึงกระนั้นก็ยังถือว่าบาปครับ อย่าลืมนะครับว่า กฎแห่งกรรมมีมาก่อนสิ่งมีชีวิตในโลก แต่บัญญัติบางเรื่องอาจจะมีมาทีหลังซึ่งอาจจะทำให้ขัดแย้งต่อกฎแห่งกรรมก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2013
  9. นาคธันดร

    นาคธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +157
    พิจารณาก่อนท่านผู้ใฝ่ในธรรม ท่านอาจยังไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้ามากนัก เพราะตามธรรมะที่พระพุทธองค์ได้แสดงนั้น มีส่วนหนึ่งท่านได้แสดงไว้ว่า

    1. ตอบ : "อะไรก็ตามที่ทำแล้วตนเดือดร้อน คนอื่นเดือดร้อน ไม่ควรทำ
    อะไรก็ตามที่ทำแล้วตนไม่เดือดร้อน คนอื่นไม่เดือดร้อน ควรทำ"


    ทั้งนี้ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ล้วนมีสิทธิ์ทำบาปได้
    หากถามว่าคนอื่นเป็นมนุษย์ไหม คำตอบคือใช่ แล้วตัวเราเป็นมนุษย์ไหม คำตอบคือใช่อีก แล้วคิดว่าตัวเราเองคนเดียวไม่เกี่ยวกับใครทำผิดแล้วจะบาปไหม คำตอบคือ ใช่มันบาป

    อะไรก็ตามที่ทำแล้วร้อนรน มัวหมอง เป็นทุกข์ ไม่ว่าจะทำกี่คนก็เป็นบาปทั้งนั้น

    ส่วนคำว่า กรรม นั้น ในทางศาสนาพุทธไม่ได้แปลว่าบาป แต่แปลว่า การกระทำ ดังนั้นเมื่อเราทำอะไรก็เป็นกรรมทั้งนั้น กรรมเป็นสิ่งที่กลาง ๆ ส่วนประเภทของกรรมเป็นตัวบ่งชี้ว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อกระทำกรรมแล้วจะต้องได้รับผลกรรมแบบบาปหรือไม่บาปหรือบุญนั่นเอง

    2. ตอบ : เจตนาเป็นเพียงตัวกำหนดระดับผลของกรรม = (เช่น ตั้งใจโกหกน้อย ก็อาจได้รับผลกรรมน้อย)

    และเจตนายังเป็นตัวคัดสรรว่าเจตนานั้นสัมพันธ์กับกรรมหรือไม่ = (เช่น ถ้าทำบุญก็สมควรมีจิตเป็นกุศล แต่ถ้าทำบุญแล้วสาปแช่งใครไปด้วยแล้วนั้นจะกลายเป็นบาปแทน) ดังนั้นเจตนาไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าจะบาปหรือไม่บาป แต่เป็นตัวกำหนดว่าควรจะได้ระดับบาปเท่าใด และยังเป็นตัวกรองความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของจิตด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2013
  10. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ถูกครับ กรรมก็คือการกระทำ มีทั้งดีและไม่ดี ก็ตามนั้นที่ผมโพสก็ไม่ได้กำกวมอะไร ส่วนบาปบุญก็คนละส่วนกับกรรมอยู่แล้วครับ
    ส่วนประโยคที่คุณยกมาอ้าง ที่ว่า
    "อะไรก็ตามที่ทำแล้วตนเดือดร้อน คนอื่นเดือดร้อน ไม่ควรทำ อะไรก็ตามที่ทำแล้วตนไม่เดือดร้อน คนอื่นไม่เดือดร้อน ควรทำ"
    ก็ถูกครับ แต่พุทธองค์ให้นิยามเรื่องของเจตนาไว้แล้ว ต้องศึกษาธรรมแต่หลายๆด้านนะครับ จะเอาแต่พุทธวจนะเป็นหลักจะไม่ได้ความหมายที่ลึกซึ้งถูกต้องทั้งหมด

    เรื่องของเจตนา ถ้าเราจงใจจะเบียดเบียนผู้อื่นก็ตาม จิตเป็นอกุศล คือได้บาปมาแล้ว แต่ถ้าไม่ได้คิด คือไม่ได้เจตนา ก็ไม่ได้เป็นบาปอะไร แต่กรรมคือการกระทำ ไม่ว่าเราจะทำให้ใครเดือดร้อนหรือเบียดเบียนใครก็ตามโดยที่เราไม่รู้เรื่องหรือไม่รู้ตัว(ก็ไม่เจตนานี่นะ) ก็จะไม่บาป แตก็เป็นกรรมอยู่ดี
    ถามคุณว่า ในชีวิตคุณย่อมทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว ทุกคนก็สร้างกรรมที่ไม่พึงประสงค์กันทั้งนั้นแหละครับ แต่คุณต้องแยกให้ออกก่อนระหว่างบุญบาปกับกรรม กรรมเราเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลกรรมเราเลี่ยงได้ ด้วยการคิดแต่สิ่งดีดี ตายไปก็ไปที่ดีดี กรรมมันก็รอเราในนรกอยู่อย่างนั้นไป ถ้าเราไม่เผลอลงไปก็ไม่ต้องไปชดใช้ในนรก ฉะนั้น ในกระทู้นี้ เขาถามว่าบาปหรือไม่ ผมก็จึงเน้นไปที่เจตนาที่ทำให้เกิดเป็นบาป และก็ขยายเรื่องกรรมให้
    จขกท ไม่ได้ถามว่า เป็นกรรมหรือไม่ อย่างไร ก็เลยไม่ได้เน้น
    แต่ผมก็ได้ทิ้งท้ายโพสของผมไว้ว่า
    สรุป เรื่องบาปบุญจะเกิดหรือไม่ ให้ดูที่เจตนาของแต่ละบุคคลครับ
    แต่เรื่องของอานิสงส์หรือผลกรรมนั้น มีทุกกรณี เมื่อลงมือกระทำ
    จะเจตนาหรือไม่ก็ตาม


    คุณอาจจะอ่านผ่านๆหรือยังอ่านไม่เข้าใจ
    กรุณาอ่านใหม่อีกรอบ ให้ครบทั้งหมด
    และตีความหมายให้ออกนะครับ

    และที่คุณบอกว่า
    เจตนาเป็นเพียงตัวกำหนดระดับผลของกรรม = (เช่น ตั้งใจโกหกน้อย ก็อาจได้รับผลกรรมน้อย)
    สำหรับผมเข้าใจว่า เจตนาเป็นเพียงตัวกำหนดว่าจะได้บาปหรือบุญเท่านั้น
    คนที่มีจิตอกุศลบ่อยๆก็ได้บาปบ่อย ส่วนน้ำหนักของผลกรรม วัดกันที่การกระทำและผลของการกระทำนั้นๆ ว่าส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่นมากแค่ไหน

    บุญบาปมีหน้าที่ชี้วัดว่า ตายไปจะไปสุขคติภูมิหรือทุกขติภูมิ
    ส่วนกรรม ถ้ากรรมดีจะไปรอเป็นรางวัลที่สุขคติภูมิ
    ถ้าเป็นกรรมชั่วจะไปรอรับผลกรรมที่ทุกขติภูมิ
    ก็ขอบอกอีกครั้งว่ากรรมเราเลี่ยงได้ไม่หมด เพราะกรรมที่ขาดเจตนายังมี
    แต่ถ้าเราคิดแต่สิ่งดีๆ แม้ในอดีตเราจะสร้างกรรมชั่วมาบ้าง
    เราสามารถหนีนรกได้


    เราล้างจาน ทิ้งเศษอาหารลงน้ำเน่า ก็ไม่ได้บุญอะไร
    แต่ถ้าตอนกำลังจะเททิ้ง เรามีเจตนาว่า เศษเดนนี้
    จะยังชีวิตสัตว์ในน้ำเน่านี้ได้เราก็ได้บุญ
    แต่จะกรณีไหน จะเจตนาหรือไม่
    กรรมที่กระทำคือการเทเศษอาหารลงน้ำเน่า และมีสัตว์มากิน ก็ถือเป็นทานได้รับอานิสงส์เสมอ

    ลองทบทวนพระธรรมของพุืทธองค์ให้หลากหลายนะครับ
    แล้วจะรู้ว่าพุืทธองค์ให้ความสำคัญที่เจตนามากที่สุด
    องคุลิมานสร้างแต่กรรมชั่ว ก็ยังพ้นนรกได้
    เพราะเปลี่ยนเจตนาเพียงเท่านั้น
    โสเภณี ย่อมมีโทษมีกรรมรออยู่แน่นอนอยู่แล้ว
    แต่เจตนาจะเป็นตัวตัดสิน
    เราตัดสินใครว่าเลวหรือดีไม่ได้จนกว่าจะถึงวาระสุดท้าย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2013
  11. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301

    ขอพูดตรงตัวที่ขีดแดงไว้คะ ว่า ถ้าในกรณี ทำกันอย่างลับๆไม่มาเปิดเผยต่อชาวโลกก็ไม่บาป แต่ถ้า แบบ พวกนางโชว์ ที่เต๊นท์โชว์รถพวกนี้ก็บาปคะ ถ้ามา แสดงออกในที่สาธารณะชนและอาการอย่างนั้น และบอกไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่ผู้อื่นนั้นไม่ถูกนักคะ เสื่อมทางวัฒนธรรม ทางจารีต ต่อผู้เยาว์ เสื่อมเสียต่อความคิดในการต่อยอดไปสู่การเป็นคนดีในสังคม เหมือนกับจะพูดว่า คนที่รับขวัญบุหรี่ครั้งเดียวอาจไม่เป็นมะเร็งตาย แต่ ถ้าสะสม จริต สะสมการได้กลิ่นบุหรี่จนเป็นนิจ เรื่อยๆก็กายเป็นมะเร็ง อาชีพ พวกบรรเทิง ร้องรำ อะไรพวกนี้คือ ตัวที่สะสมกีดขวางคนต่อการบรรลุธรรม คะ



    ต่อให้ผู้นั้นมิได้ทำอะไรเราเลย แต่เราไม่ชอบ หมั่นไส้ เห็นแล้วไม่รู้สึกเย็นตาเย็นใจ ตัวเราทุกข์ ตัวเราโกรธเค้าเราบาป แต่คนที่โดนเราโกรธก็สร้างกรรมแก่ตัวเองคะ เพราะถูกเราอาฆาต เพียงแต่ กรรมที่ได้รับจะน้อยกว่าคนที่ไปอาฆาตเขา


    ป.ล ดิฉันถึงได้อยากไปบวชที่อินเดียหรือ ศรีลังกา คะ เพราะ เชื่อว่าคนไทย ส่วนใหญ่ อย่าคณะสงฆ์เองก็ปรยุคข้อวัตร มาจนเป็นแบบ สบายๆง่ายๆ แบบจริตของคนทางภูมิภาคนี้ ถ้าตีความข้อวัตรปฏิบัติในพระไตรปิฏกด้วยสายตาของ วัฒนธรรม นิสัย แบบ คนอินเดียแล้ว จะเห็นว่าการจะบรรลุมรรคผล ต้องจริงจัง มีความเคร่งขรัดเป็นอย่างมาก
     
  12. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    ก็ถูกต้องครับ
    ถามว่า ผู้หญิงสวยๆหุ่นดีๆไปเต้นโป๊วโชวเปลือย
    นางผู้นั้นจะไม่รู้ได้อย่างไรว่า การกระทำดังกล่าว
    สามารถยั่วความกำหนัด ทำให้เกิดราคะแก่ผู้มาชม
    ผมก็บอกไปแล้วถึงเรื่องของเจตนานะครับ
    กรณีนี้ พวกสาวเต้นโคโยตี้น่ะ มีเจตนาแน่นอนอยู่แล้ว
    ถ้าอย่างเด็กอายุ ๗-๘ ขวบมาเต้นโคโยตี้
    ด้วยความไร้สาระแบบเด็กๆ เพราะคิดว่ามันสนุก
    เด็กมันไร้เดียงสา มันก็ไม่ได้บาปสำหรับเด็ก
    แต่ผู้ใหญ่ที่รู้เดียวสาแล้วยังทำ นั่นแหละถึงบาปไงครับ
    ที่คุณทำตัวแดงๆไว้นั้น ผมก็หมายถึงเรื่องของบุคคลนะครับ
    ไม่เกี่ยวกับ เรื่องของโคโยตี้ ที่มีผลต่อคนหมู่มาก

    ส่วนเรื่องของควันบุหรี่ ก็อีกนั่นแหละ
    ถามว่าผู้สูบย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าบุหรี่จะทำลายตน
    ก็ยังคิดสูบต่อ อย่างนี้เบียดเบียนตนเองแล้ว
    และไม่เท่านั้น ผู้สูบก็ย่อมรู้ว่าควันมือสองที่มาจากตนนั้น
    สามารถฆ่าชีวิตคนอื่นได้ แต่ยังเลือกที่จะสูบ
    เลือกที่จะไม่สนใจคนรอบข้าง ใครสูบก็ช่างเขา
    อย่างนี้ ก็เรียกว่ามีเจตนา ก็บาปอยู่แล้วครับ

    ผิดกับเด็กไร้เดียงสา เห็นเขาสูบ เลยหยิบมาสูบบ้าง
    ด้วยความไม่รู้ ไม่รู้ว่าเป็นอันตรายต่อตน
    ไม่รู้ว่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ก็ไม่ได้บาป
    แต่เมื่อเติบโตขึ้น รู้ผิดชอบชั่วดี รู้ว่าบุหรี่ไม่ดี
    แล้วเลือกที่จะสูบต่อ นั่นแหละคือเจตนาไม่ดีแล้ว
    ก็เป็นบาปเมื่อนั้นแล


    ป.ล ดิฉันถึงได้อยากไปบวชที่อินเดียหรือ ศรีลังกา คะ เพราะ เชื่อว่าคนไทย ส่วนใหญ่ อย่าคณะสงฆ์เองก็ปรยุคข้อวัตร มาจนเป็นแบบ สบายๆง่ายๆ แบบจริตของคนทางภูมิภาคนี้ ถ้าตีความข้อวัตรปฏิบัติในพระไตรปิฏกด้วยสายตาของ วัฒนธรรม นิสัย แบบ คนอินเดียแล้ว จะเห็นว่าการจะบรรลุมรรคผล ต้องจริงจัง มีความเคร่งขรัดเป็นอย่างมาก

    เราปฏิบัติตามทางสายอริยมรรคครับ
    อย่าไปปฏิบัติตามสายสมมติสงฆ์
    เราพิจารณาธรรมเองได้
    ว่าอย่างไหนสมเหตุสมผลเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    พระธรรมมีมานานมากแล้ว หลายพันปีแล้ว
    แน่นอนว่าถูกบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์แน่นอน
    ไม่ใช่แต่ประเทศไทย จะประเทศไหนๆก็เหมือนกัน
    เราใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นเหตุผล
    อะไรดี เราเลือกปฏิบัติ อะไรไม่สมเหตุสมผล ไม่ต้องยึดมั่น
    การจะบรรลุมรรคผล ต้องจริงจัง ตั้งใจ มิใช่เคร่งขรัด
    ถ้าเคร่งขรัดแปลว่าอัดอัด แปลว่าต้องทนฝืน เป็นการตีกรอบ
    การปฏิบัติแห่งหนทางมรรคผล ต้องปฏิบัติแบบไม่รู้สึกอึดอัด
    ไม่ทรมานตน และเป็นไปโดยธรรม ไม่ตึง ไม่หย่อน
    และไม่ยึดติดจนเกินไป การที่คุณไปคิดว่า วัฒธรรมอินเดีย
    และคนอินเดียเคร่งขรัด เลยคิดจะไปอินเดีย
    ก็เป็นการยึดติดแล้วครับ
    หากเรานั้นตั้งใจหรือจะเคร่งขรัดในแบบของคุณแล้วละก็
    จะอยู่ไทยหรืออินเดียก็ปฏิบัติธรรมได้นะครับ
    การพ้นทุกข์พ้นด้วยจิต
    มิใช่พ้นด้วยวัฒนธรรม มิใช่พ้นด้วยสถานที่ มิใช่พ้นด้วยเชื้อชาติ
    อริยมรรค คือ มรรค ๘ มีให้ปฏิบัติอยู่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    เราไม่ต้องไปสนใจ สมมติสงฆ์บวชหากินหรอกครับ
    ไม่มองคนอื่น มองตัวเอง ฝึกตัวเอง แค่นี้ก็บรรลุธรรมได้ครับ
     
  13. นาคธันดร

    นาคธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +157
    คุณอาจจะยังไม่มีประสบการณ์ในการอ่านเรื่องกฎแห่งกรรมเท่าไรครับ สำหรับผม ข้อคิดเรื่องกรรมที่ผมได้ ล้วนมาจากการอ่านประสบการณ์กรรมจากผู้อื่นบ้าง จากนักบวชบางท่านบ้าง ไม่ได้เกิดจากการ "คิดว่า" เอาเองครับ ดูอย่างหลวงพ่อจรัญฯ ถ้าคุณเคยอ่านประวัติชีวิตของท่าน คุณจะทราบว่าท่านได้กระทำอกุศลกรรมตั้งแต่เด็กมาช้านานด้วยความไม่รู้ว่าเป็นบาปหรือไม่ สุดท้าย ผลกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรก็ยังส่งผลมาตอนที่ท่านเป็นพระแล้ว แม้ท่านจะเปลี่ยนเจตนาแล้วก็ตามก็ยังไม่อาจจะลบล้างแรงอาฆาตจากเจ้ากรรมนายเวรนั้นได้ ตรงนั้นก็คือการสืบเนื่องมาจากผลของกรรมที่มีเจ้ากรรมนายเวรเป็นตัวตนนั่นเอง


    ส่วนองคุลีมาลหลายคนอาจเข้าใจว่าท่านไม่ต้องเสวยบาปเพราะถึงประกอบอกุศลยังไงแต่ถ้าไม่รู้แล้วก็ไม่บาป ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะถ้าใครได้ศึกษาแล้วจะทราบว่า ในอดีตท่านเคยเป็นมหาโจรผู้ตัดนิ้วคนเป็นพัน ๆ เพื่อหวังสำเร็จทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าบาปหรือไม่ พอท่านได้สดับธรรมจากพระพุทธเจ้าท่านจึงเกิดเลื่อมใสอยากมากจึงบวชเป็นพระภิกษุในที่สุด แต่เนื่องจากท่านเคยเป็นโจรผู้มีวีรกรรมโหดร้ายแม้ท่านจะบวชพระแล้วก็ยังหนีบาปไม่พ้น เนื่องจากเมื่อท่านไปบิณฑบาตที่ใด ชาวบ้านซึ่งรู้จักท่านว่าเคยเป็นโจรนั้นก็ยังเคียดแค้นท่านอยู่มาก จึงได้ทำร้ายร่างกายท่านด้วยความโกรธแค้นไปต่าง ๆ นานา ซึ่งตรงนี้พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสกับพระองคุลีมาลว่า "เธอจงอดกลั้นไว้เถิด เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอนั้นหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดชั่วกาลนานนั้น เพียงในปัจจุบันนี้เท่านั้น" และไม่นานพระองคุลีมาลก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด ดังนั้น ไม่ใช่ว่าพระองคุลีมาลสามารถพ้นจากผลของกรรมชั่วได้เพียงเพราะเปลี่ยนเจตนาอย่างเดียว แต่ท่านยังเสวยบาปตามมาด้วย และเพราะท่านเสวยบาปหมดไปแต่ชาตินั้นแล้ว และยังได้เป็นพระอรหันต์ ทำให้ท่านจึงไม่ต้องเสวยกรรมตกในอบายภูมิอีก


    ดังนั้นเรื่องนี้จะขอสรุปได้ว่า การกระทำอกุศลกรรมถึงจะรู้หรือไม่รู้ว่าเป็นบาปหรือตั้งใจหรือไม่ตั้งใจอย่างไรก็ต้องได้รับบาปนั้นแน่นอน แต่บาปจะถูกแก้ให้เบาลงหรือหายไปได้นอกจากการใช้บาปไปเรื่อย ๆ แล้วยังมีวิธีแก้บาปอีก ดังนี้ ผู้กระทำได้ระลึกรู้->สำนึก->ขอขมา->ประกอบส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร->เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมและไม่ได้กระทำอีกเลยถึงจะหลุดพ้นจากวงจรบาปได้ (หรือบางครั้งอาจมีการลัดขั้นตอนได้กรณีที่เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมก่อนที่จะได้รับส่วนกุศล)

    เรียกว่าเจตนาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการให้พ้นบาปเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด


    สุดท้าย เราไม่เคยหมายความตัดสินว่าใครเป็นคนดีหรือเลว เพียงแต่เรากล่าวว่าการกระทำของเขาอันนั้นดีหรือเลวจากองค์ประกอบต่าง ๆ แค่นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2013
  14. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    การได้ยินได้ฟังเรื่องของคนอื่น เขาว่ามาอย่างไรก็ปักใจเชื่อเสียแล้วนั้น
    ก็ยังไม่ใช้หนทางที่ถูกที่ควรนัก ยิ่งในเรื่องของกฏแห่งกรรมแล้วด้วย
    ความเชื่อของคุณดูจะต่างกับผม เพราะผมเชื่อตามหลักเหตุและผล
    ไม่เชื่อเพราะคำบอกเล่า ไม่เชื่อเพราะผู้มีชื่อเสียงได้ว่าเอาไว้

    คุณยกเรื่ององคุลิมานมา คุณบอกว่าองคุลิมานทำบาปทั้งๆที่ไม่รู้
    อย่างนี้ก็ผิดแล้ว องคุลิมานเป็นคนดี
    รู้จักผิดชอบชั่วดี แต่เพราะโดนอาจารย์หลอก
    หลอกให้ไปฆ่าคนพันคน และจะสอนวิชาสุดยอดให้
    องคุลิมานรู้ดีว่าการฆ่าคนพันคนบาปมหันต์
    แต่อยากได้วิชาขั้นสุดยอดมากกว่า มิจฉาทิฏฐิบังตา
    ฉะนั้นบาปจากเจตนาฆ่ามีอยู่ และกรรมจากการฆ่าก็มีอยู่
    กรรมที่ได้รับในสมัยบวชใหม่ ที่โดนชาวบ้านทำร้ายโดยปาหินใส่นั้น
    ก็เป็นเพราะสิ่งที่องคุลิมานกระทำ นอกจากสร้างกรรมฆ่าคนตายแล้ว
    ยังทำให้ครอบครัวพ่อแม่พี่น้องต้องผลัดพรากจากคนที่รัก
    กรรมในส่วนนี้ ทำให้ชาวบ้านเจ็บแค้น และลงมือกระทำเช่นนั้น
    กรรมจากการฆ่าก็ ต้องถูกฆ่า มิใช่ถูกปาหินหัวแตกแล้วหายกัน
    ปลูกมะม่วง ย่อมได้ต้นมะม่วง จะไปออกเป็นต้นมังคุต ไม่ได้
    ทำเหตุอย่างไร ได้ผลอย่างนั้น
    กรรมมีทั้งส่วนที่ชดใช้ในขณะมีชีวิต
    และก็มีกรรมในส่วนที่ไปชดใช้เมื่อตายไป

    "เธอจงอดกลั้นไว้เถิด เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอนั้นหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดชั่วกาลนานนั้น เพียงในปัจจุบันนี้เท่านั้น"

    ประโยคนี้พุทธองค์ไม่ได้บอกว่า ผลกรรมหายกันหมดสิ้นเมื่อยอมทน
    แต่หมายถึงให้ยอมทนรับกรรมที่เกิดในขณะมีชีวิตให้หมด
    ส่วนกรรมในนรก เมื่ออรหันต์แล้วก็แล้วกัน ไม่ต้องไปชดใช้
    พระอรหันต์หนีกรรมในอบายภูมิได้
    แต่หนีกรรมที่ต้องชดใช้ขณะมีชีวิตไม่ได้
    พระโมคคัลลานะแม้อรหันต์แล้ว ก็ยังต้องชดใช้กรรม
    กรรมในอดีตชาติที่ได้ฆ่าพ่อกับแม่ด้วยการทุกตีจนกระดูกแหลก
    ผลกรรมจึงตามมาส่งหลายร้อยๆชาติ
    แม่ในชาติปัจจุบันซึ่งอรหันต์ก็ยังตามมาออกผล
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากรรมไม่สามารถยกเลิกหรือบรรเทาได้


    เรียกว่า เจตนาที่ดี กลับตัวเป็นคนดีได้ ถือเป็นเรื่องดี
    แต่ก็หนีกรรมที่ตนได้ทำไว้ไม่พ้น
    ไม่ว่าจะขอขมากรรม หรือสำนึกผิดอย่างไรก็ตาม
    ทำอย่างไรไว้ ย่อมได้รับผลอย่างนั้น
    แต่การเปลี่ยนเจตนา กลับตัวเป็นคนดี แล้วเร่งคิดดีทำดี
    จะทำให้จิตใจน้อมนำบุญมาเก็บไว้มาก
    เมื่อตายไป ก็สามารถไปสวรรค์
    หนีกรรมในนรกได้
    แต่ถ้าเป็นกรรมที่ออกผลในขณะมีชีวิต ไม่สามารถเลี่ยงได้

    คนบางคนเกิดมาเลว แต่บลั้นปลายดี ไปสวรรค์ได้
    คนบางคนเกิดมาดี บลั้นปลายเลว ไปนรกได้
    ฉะนั้น มนุษย์เราตัดสินว่าตายแล้วจะไปไหน
    ก็ด้วยบุญบาปของจิตที่มีน้ำหนักมากกว่ากัน
    ชีวิตผู้ที่ทำเลวมาตลอด ปฏิเสธกรรมที่จะตามมาในขณะมีชีวิตไม่ได้
    แต่เจตนาที่จะทำแต่ความดีจากนี้เป็นต้นไป
    ทำให้ชีวิตที่เหลือ จิตที่มีแตอกุศล ค่อยๆเติมด้วยกุศล
    จนสุดท้ายก็สว่าง เป็นจิตที่มีกุศลมาก มีบุญมาก
    บุคคลเหล่านี้ ตายแล้วได้ไปสวรรค์
     
  15. นาคธันดร

    นาคธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +157
    ขอบคุณครับ ขออภัยที่ผมเข้าใจไม่หมดเรื่ององคุลีมาล และผมเชื่อแล้วว่าหลักฐานจากการศึกษาค้นคว้าจากบุคคลอื่นผู้เชี่ยวชาญและเน้นเรื่องที่เขาบอกตรงกันมาผูกเป็นข้อควรเชื่อ อาจไม่สามารถถูกไปกว่าวิจารณญาณส่วนตัวได้ อาจไม่สามารถถูกไปกว่าประสบการณ์จริงที่เกิดจากตัวเองได้ อาจไม่สามารถถูกไปกว่าตัวเองได้

    ขออนุญาติให้แง่คิดดังนี้นะครับ

    ในทางโลก - เมื่อคุณอ้างตัวเองเป็นเกณฑ์ คุณจะถูกแนะนำว่าให้เชื่อหลักฐานจากที่อื่นมากกว่า (บางครั้ง)

    ในทางธรรม - เมื่อคุณอ้างหลักฐานจากที่อื่น คุณจะถูกแนะนำว่าให้เชื่อประสบการณ์ตัวเองมากกว่า (หรือเมื่อคุณอ้างหลักฐานจากที่อื่น คุณจะถูกแนะนำว่าอย่าปักใจเชื่อในหลักฐานนั้น จนกว่าจะได้พิสูจน์) ส่วนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ผมลืมไปครับ ขอบคุณคุณที่เตือนให้รู้


    ทุกท่านสามารถมีวิจารณญาณและรูปแบบการเชื่อเป็นของตัวเอง และนี่คืออีกทัศนะหนึ่งเป็นทัศนะที่เชื่อว่าทำบาปไม่รู้ว่าบาปก็เป็นบาป โปรดศึกษาไว้เป็นตัวอย่างธรรมเถิด

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Py5TKrMIacg"]http://www.youtube.com/watch?v=Py5TKrMIacg[/ame]
    (จากส่วนหนึ่งของพระสูตร พระอรรถกถาแปล)

    อุปมาความเชื่อใดที่เป็นอุบายทำให้ใจเป็นสุข อยู่ในครองธรรม จะเชื่อเลยโดยไม่ต้องพิสูจน์ก่อนก็ได้ หรือท่านจะพิสูจน์ก่อนเชื่อก็ได้เพราะพระพุทธเจ้าสอนว่า "อย่าเชื่อจนกว่าจะได้พิสูจน์"

    พระพุทธเจ้าสอนว่า "ทำบาปโดยไม่รู้ว่าบาปก็เป็นบาป" และ "อย่าเชื่อจนกว่าจะได้พิสูจน์" เช่นกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2013
  16. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    สาธุครับ
    บางครั้งแม้ประสบการณ์ตรงของตนเองก็เชื่อไม่ได้
    เพราะอาจจะเกิดจากหลายเหตุปัจจัยที่เรายังไม่รู้
    เราอาจจะเข้าใจผิดไปตามความปรุงแต่งจิตตนเองได้
    ปรุงแต่งจากเรื่องที่เคยได้ยินได้ฟังมาได้
    ไม่ให้ยึดมั่นครับ
    ไม่ให้ยึดมั่นทั้งตนเอง ไม่ให้ยึดมั่นทั้งผู้อื่น
    ให้ยึดมั่นที่ความเป็นเหตุเป็นผลเท่านั้นครับ

    เรื่องของข้อธรรมในทุกวันนี้ พระอริยทั้งมวล ต่างมีวิธีสอนสั่งที่ต่างกัน
    โดยเฉพาะ คำว่าบาป ด้วยความคิดยึดมั่นของคนส่วนใหญ่
    ก็จะคิดเสมอว่า บาปก็คือกรรม(ชั่ว) กรรมชั่วก็คือบาป
    เวลาจะอธิบายเรื่องผลกรรมชั่ว ก็เลยใช้คำว่าบาป เพื่อให้เข้าใจในระดับหนึ่ง
    เป็นกุศโลบายให้เข้าใจเบื้องต้น เมื่อผู้ฟังเข้าใจเบื้องต้นแล้ว
    อยากพัฒนาภูมิธรรมสูงขึ้น ก็จะไปศึกษาค้นคว้าข้อธรรมด้วยตัวเอง
    เมื่อถึงเวลานั้นพวกเขาก็จะแยกระหว่าง บาป กับ กรรม ออกได้เอง

    สำหรับคนทั่วไป แยกความต่างระหว่าง บุญบาป กับ กรรม ไม่ออก
    เป็นอย่างนั้นจริงๆ สำหรับผม ยังไงเสีย จะไม่จับมาเป็นอันเดียวกันอย่างแน่นอน
    ถ้าเราเคยสอนอย่างนั้นมาก่อน เราก็ต้องสอนอย่างนั้นไปตลอด
    ไม่งั้นจะเป็นปัญหา เรื่องกลับคำสอนได้

    แต่ละคนก็มีวิธีการอธิบายธรรมที่แตกต่างกันไป
    แต่จะ บาปที่รวมถึงกรรม(แบบทั้วๆไป)
    หรือจะ บาป ที่แยกจากกรรมเป็นคนละส่วน (แบบของผม)
    มันก็คือธรรม ที่เป็นไปเพื่อความสำรวมระวัง
    เป็นไปเพื่อการปฏิบัติมรรคผล
    เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ล้วนเป็นใบไม้ในกำมือที่พุทธองค์ทรงอธิบายทั้งสิ้น
    เป็นของมีประโยชน์
    แต่อยู่ที่ผู้ถ่ายทอด ว่าจะนำไปถ่ายทอดในรูปแบบใด


    พุทธองค์ตรัสสอนว่า "อย่าเชื่อจนกว่าจะได้พิสูจน์"
    แต่ไม่ได้ตรัสสอนว่า "ทำบาปโดยไม่รู้ว่าบาปก็เป็นบาป"

    แต่กรรมน่ะมีแน่นอน ถ้าคุณหมายบาปกับกรรมคืออันเดียวกัน คำตอบผมก็ไม่ต่างจากคุณ
    ทำบาปโดยไม่รู้ว่าบาปก็เป็นบาป(ในความหมายของคุณ)
    ทำกรรมถึงจะไม่เจตนาแต่ก็เป็นกรรม(ในความหมายของผม)
    เราทั้งสองเข้าใจตรงกัน เพียงแต่การอธิบายที่ต่างกันเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2013
  17. denchai_l

    denchai_l เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,093
    ค่าพลัง:
    +1,548
    จริงหรือครับ เอะอะไรก็บาป ๆๆๆ

    ผมถามว่า ถ้าผู้หญิงทำอาชีพโสเภณี โคโยตี้ นักร้อง เต้นคันหูคันตูด เพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่และครอบครัว บาปไหม และ/หรือ ได้บุญไหม เอาอะไรมาชั่ง ระหว่าง บาปกับบุญ ?!?!

    ยังไม่ต้องนอกประเด็นที่ว่า งานอื่นมีให้ทำเยอะแยะ น่ะครับ เอาแค่ อาชีพโสเภณี โคโยตี้ ก่อน

    ปัญหาพวกนี้อยู่ที่เจตนา และ ความพอใจ ทั้ง 2 ฝ่าย มันบาปตรงไหน มันบุญตรงไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...