อยากถือศีล 8 ที่บ้าน แต่ถ้าต้องเลี้ยงลูกวัย 2 ปีครึ่งไปด้วยจะไหวไหม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jiabpawinee, 18 กันยายน 2013.

  1. jiabpawinee

    jiabpawinee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +70
    รบกวนสอบถามผู้รู้หน่อยนะคะ คือดิฉันต้องการถือศีล 8 แต่ต้องการทำที่บ้าน เพราะไม่สะดวกไปที่วัด เพราะไม่สะดวกเรื่องการเดินทาง(ดิฉันอยู่ จ.นราธิวาสค่ะ)ประกอบกับบุตรชายยังเล็กไม่มีใครดูแลได้อยู่แล้วนอกจากเรา

    อยากจะลองทำดูซัก 1 วันไม่ทราบว่าจะสามารถทำได้ไหมคะ ไหนจะป้อนข้าว อาบน้ำลูก ออกนอกบ้านนี่คงไม่ได้ออกอยู่แล้ว

    ถ้าทำได้ดิฉันต้องปฏิบัติตัวยังไงคะ เริ่มถือศีลตอนกี่โมง ต้องรับศีลไหม

    รบกวนสอบถามผู้รู้หน่อยนะคะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กันยายน 2013
  2. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    รองสวดมนต์ดูไหมครับสวดมนต์ ไป หนึ่ง ชั่วโมง ถึงแผ่เมตตา ทำทุกวัน ตื่นเช้า ก่อน นอน สวดให้เป็น สมาธิ

    บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ อิติปิโส
    อาฎานาฎิยปริตร (คาถา พระพุทธเจ้า 28 พระองค์)
    สัมพุทเธ (พระพุทธเจ้า ล้านกว่าพระองค์)

    ถ้าสวดจนจำได้แม้นยำ ผมจะแนะนำเพิ่มเติมครับ บทกรณียะเมตตะสูตร แต่สวด 3 บทนี้ก่อนครับ

    สาธุเจริญธรรม ขอให้ได้มรรคผลนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. jiabpawinee

    jiabpawinee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +70

    ขอบคุณมากๆค่ะ ดิฉันสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน สมาทาลศีล 5 ด้วย เลยคิดว่าถ้าบวชรักษาศีล 8 ที่บ้านซักวันคงจะดี แต่ก็ติดที่ลูก กลัวจะทำได้ไม่เต็มที่ จะผิดหนักกว่าศีล 5 อีก^__^
     
  4. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    รองเพิ่ม ขันติ ด้วยตัวเองเช่น นั่งสมาธิเพิ่มหลังจากสวดมนต์ เส็ด สัก 20 นาที คอย เพิ่มไป ถ้าไม่ชอบนั่งก็ สวดมนต์ สัก 1 ชม โดยที่ไม่เปลี่ยนท่าทางดูก่อนครับ

    วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่) งดเนื้อสัตว์

    นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม งดใช่โทรศัพท์ อินเตอร์เนต TV หรือ ความเพลิน ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี

    ไม่ยึดติดในความสบายกาย เป็นที่ตั้ง พิจารณา ว่า สุดท้าย สุขกายความสบายกาย ก็ มีความทุกข์ เช่น นอนตื่นไม่ทั้นเวลา ยึดติดความสุขสบาย ในตอน นอน

    ถ้าทำได้ก็อนุโมทนาครับ

    สาธุเจริญธรรมครับ
     
  5. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    อย่ากังวลไปเลย ถือศีล ๘ ก็อาบน้ำให้ลูกได้

    อพรหมจริยา สำหรับสตรีหมายเน้นเอาเพศตรงข้ามที่เป็นคู่สามี ชายหนุ่มที่รู้ความตั้งแต่ ๗ ขวบขึ้นไป

    ลูกชายอายุ ๒ ขวบแตะต้องได้เพราะไม่อยู่ในเกณฑ์ และถึงแม้แตะต้องกันก็ไม่ได้มีจิตปฏิพัทธในลักษณะชู้สาว บางอย่างถือเคร่งมากก็เป็นโทษ

    เคยอ่านชาดกเรื่องพระเวสสันดรไหม เมื่อเสด็จออกไปอยู่ในป่าพระเวสสันดรถือบวชเป็นดาบส พระนางมัทรีถือบวชเป็นดาบสินีแต่ก็ยังเลี้ยงดูพระกุมารคือ พระชาลี และ พระธิดาคือ พระกัณหาได้ อาบน้ำให้และอุ้มได้ กอดจูบลูกได้ นี่เป็นหน้าที่ของแม่ถึงแม้ถือศีลก็ทำได้ไม่ผิดธรรมแต่อย่างใด

    บางอย่างต้องใช้สติพิจารณาประกอบกันด้วยจึงจะดี
     
  6. คีรีมายา

    คีรีมายา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +18
    ศิลห้าก็มากพอแล้วสำหรับฆราวาสทำให้บริสุทธิ์เถอะเพียงพอแก่การบรรลุธรรมแล้วเมื่อเป็นโสดาบันแล้วค่อยพัฒนาศิลเป็นศิลแปดถึงจะไปตลอดลอดฝั่งครับทำตามรำดับ
     
  7. Youkai

    Youkai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +1,683
    เห็นด้วยกับคุณศนิวาร

    ถ้าตั้งใจทำก็ลองพยายามดูสักวันก็ได้ค่ะไม่เป็นไร บอกสามีด้วยจะได้ไม่มีการสัมผัสตัวกัน เตรียมน้ำปานะไว้ด้วยนะคะ เผื่อทำงานบ้านเหนื่อยมาก ๆ จะได้ไม่เป็นลมไปค่ะ
     
  8. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    อนุโมทนา กับท่าน ความรู้สึกของผู้ได้โสดาบันแล้ว จะรู้สึกว่าศีลห้า ช่างง่ายไม่มีอะไรยุ่งยาก เป็นศีลธรรมดา สามารถอยู่กับศีล 5 ได้อย่างมีความสุข และหากจิตจะเคลื่อนเข้าสกิทาคามีเมื่อใดจะรู้สึกอยากถือศีล 8 เบื่อหน่ายในกามฉันทะ ศีล 8 ไม่ใช่อุโบสถศีลครับ จึงจะต้องมีเวลาในการรักษา หากอยากถือเมื่อใด ตั้งใจ น้อมจิตระลึก พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ... จนครบสามองค์ แล้วนึก อิมานิ อัฐฐะ(อัฐฐะที่แปลว่าแปดไม่แ่น่ใจว่าพิมพ์ถูก) สิกขา ปทานิ สมาธิยานิ (3จบ) แล้วตั้งใจถือเลย ก็ได้ อยู๋ที่ไหนก็ถือได้ ไม่เหมือนอุโบสถศีล ท่านต้องรักษาไว้ตั้งแต่ 06.00 ของวันนี้ จนถึง 06.00 ของอีกวัน ศีล 8 ขาดไ้ด้ ก็ต่อได้ อุโบสถศีลขาดแล้วขาดเลยครับ จึงมีพลานิสงค์มาก เนื่องจากต้องดูแลลูก ก็ใช้วิธีนี้ปรับให้เข้ากับสถานะการณ์ พร่องอันไหนก็พร่องไป เสร็จแล้วก็นึกอาธนาใหม่ อีกไม่นานก็จอยู่กับศีล 8 อย่างมีความสุขครับ (ลองหาอ่านธรรมเทศนาของหลวงปู่ฤาษีลิงดำเรื่อง ศีล 8 ดูนะครับ) แล้วท่านจะรู้ว่า อยู่บ้านเราก็รักษาศีล 8 ได้อย่างมีความสุข อนุโมทนาครับ
     
  9. jiabpawinee

    jiabpawinee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +70
    ขอบพระคุณทุกๆความเห็นมากๆๆๆๆเลยนะคะ ได้ความรู้เพิ่มมาด้วย วันนี้วันพระลองถือศีล 5 ดูค่ะ แต่ปกติสวดมนต์ก่อนนอนก็สมาทานศีลอยู่แล้วแต่พอตื่นขึ้นมาก็ลืมเรื่องศีล 5 ที่สมาทานไว้เมื่อคืน แต่วันนี้ท่องไว้ในใจเลยค่ะ ว่าศีล 5 อยู่ๆ วันนี้ไม่ทานเนื้อสัตว์ด้วย ใจก็พยายามไม่คิดเรื่องไม่ดี ขอบพระคุณสำหรับกัลญาณมิตรทุกๆท่านนะคะ
     
  10. สายชน

    สายชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    251
    ค่าพลัง:
    +1,232
    ถือได้ครับศีล8ซักผ้าเลี้ยงลูกทำทุกอย่างได้หมดยกเว้นข้อห้ามเท่านั้นตอนแรกๆๆก็ผิดพลาดเพราะลืมก็อาราธนาใหม่บ่อยๆๆเดียวก็ชินก็จะระลึกได้เองผมทำงานที่บริษัทด้วยรักษาศีลสวดมนต์ในใจนึกขึ้นมาได้ก็สวดหลวงปู่ดู่ท่านสอนไว้ว่ามีศีลขาดดีกว่าไม่มีศีลครับ
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อย่าไปกังวลเรื่องศีลครับ

    จะแปด จะห้า จะข้อเดียวก็บรรลุธรรมได้

    ลองทำความเข้าใจที่หลวงปู่มั่นอธิบายดูครับ

    ==========================
    ธรรมคำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    หลังจากที่ท่านกลับจากเชียงใหม่ เข้าพักที่วัดบรมนิวาสกรุงเทพ ฯ
    ตามคำสั่งของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสโส อ้วน ) ก่อนเดินทางไปอุดร ฯ
    ในระยะที่ท่านพักอยู่ที่นั้นปรากฏว่ามีคนมาถามปัญหากับท่านมาก มีปัญหาของบางรายที่แปลกกว่าปัญหาทั้งหลาย ซึ่งมีดังนี้
    ( จาก"ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตโต"
    โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน )


    ชาวกรุงเทพ
    ได้ทราบว่าท่านรักษาศีลองค์เดียว มิได้รักษาถึง ๒๒๗ องค์ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช้ไหม
    หลวงปู่มั่น
    ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว

    ชาวกรุงเทพ
    ที่ท่านรักษาเพียงอันเดียวนั้นคืออะไร

    หลวงปู่มั่น
    คือใจ

    ชาวกรุงเทพ
    ส่วน ๒๒๗ นั้นท่านไม่ได้รักษาหรือ

    หลวงปู่มั่น
    อาตมารักษาใจไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็น ๒๒๗ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่า ตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมา นับแต่เริ่มอุปสมบท

    ชาวกรุงเทพ
    การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือ

    หลวงปู่มั่น
    ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจแม้กายวาจาก็ไม่จำต้องรักษา แต่ความเป็นเช่นนั้นของคนตายนักปราชญ์ท่านไม่ได้เรียกว่าเขามีศีล เพราะไม่มีเจตนาเป็นเครื่องส่องแสดงออก ถ้าเป็นศิลได้ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย ซึ่งไม่สำเร็จประโยชน์ตามคำเรียกแต่อย่างใด ส่วนอาตมามิใช่คนตายจะรักษาศีลแบบคนตายนั้นไม่ได้ ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมสมกับใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว

    ชาวกรุงเทพ
    ได้ยินในตำราว่าไว้ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยเรียกว่าศีล จึงเข้าใจว่าการรักษาศีลไม่จำเป็นต้องรักษาใจก็ได้ จึงได้เรียนถามอย่างนั้น

    หลวงปู่มั่น
    ที่ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยนั้นก็ถูก แต่กายวาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้นต้นเหตุมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกายวาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก เมื่อเป็นมาจากใจ ใจจะควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะควรเป็นผู้ควบคุมกายวาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตัวเอง และน่าเคารพเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้ ไม่เพียงแต่ศีลธรรมที่จำเป็นต้องอาศัยใจเป็นผู้คอบควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่น ๆ จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลโดยดี การงานนั้น ๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาดและทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน การรักษาโรคเขายังค้นหาสมุฏฐานของมัน จะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้เท่าที่ควร ไม่เป็นโรคเรื้อรังต่อไป การรักษาศีลธรรมไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็นไป ผลก็คือความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาดศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอ ธรรมบ้า ธรรมแตก ซึ่งล้วนเป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา และไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวและอยู่ตามป่าตามเขา เรียนธรรมก็เรียนไปกับต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำลำธาร หินผาหน้าถ้ำ เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ตามทัศนียภามที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง ไม่ค่อยได้เรียนในคัมภีร์ใบลานพอจะมีความรู้สแตกฉานทางศีลธรรมการตอบปัญหาจึงเป็นไปตามนิสัยของผู้ศึกษาธรรมเถื่อน ๆ รู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรมที่ไพเราะเหมาะสมมาอธิบายให้ท่านผู้สนใจฟังอย่างภูมิใจได้

    ชาวกรุงเทพ
    คำว่าศีลได้แก่สภาพเช่นไร และอะไรเป็นเป็นศิลอย่างแท้จริง

    หลวงปู่มั่น
    ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกายวาจาใจให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมาชื่อว่ามีสภาพปกติไม่คะนองทางกายวาจาใจให้เป็นกิริยาที่น่าเกลียด นอกจากความปกติดีงามทางกายวาจาใจของผู้มีศีลว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็ยากจะเรียกให้ถูกได้ว่าอะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่าง ที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนัก ว่านั่นคือตัวบ้าน และนั่นคือเจ้าของบ้าน ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบากเฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้ แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกไม่ออก ถ้าแยกออกได้ศีลก็อาจหลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตลาดไปนานแล้ว และอาจจะมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่น ๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอาที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาก็ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ความไม่รู้ว่า "อะไรเป็นศิลอย่างแท้จริง" จึงเป็นอุบายวิธีหลึกภัยอันอาจเกิดแก่ศีล และผู้มีศีลได้ทางหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยยาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกว่าอยู่สบาย ไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใดไม่ต้องเป็นห่วงว่าศีลจะหาย ตัวจะตายจากศีล และกลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีลเช่นเดียวกับคนเป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ ไม่มีวันไปผุดไปเกิดได้ฉะนั้น.


    อ่านต่อที่นี่
     
  12. อริยะบุคคล

    อริยะบุคคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +476
    อนุโมทนาด้วยครับ โดยส่วนตัวแล้วถือศีล 8 วันพระยกเว้นเสาร์ อาทิตย์หรือวันหยุดพิเศษ เมื่อใดที่เผลอก็ให้รู้ว่าศีลบกพร่องแล้ว ให้ตั้งใจใหม่ไม่ต้องเครียด ศีลถือไว้เพื่อการสำรวมกาย วาจา ใจ เริ่มทำซะเลยไม่ต้องไปวัด หัวใจสำคัญอยู่ที่รักษาสติ ใจอย่าไหลไปทางโลกก็แค่นั้น อ้อแล้วอย่าถือศีลเพราะอยากได้บุญจะเจือโมหะซะเปล่า ทำเป็นปกติศีลจะรักษาคุณเอง(อยู่นราธิวาสด้วยใช่ไหมครับ)ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม
     
  13. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    อันนี้ ตรง สาธุ...
    เพิ่มให้ครับ เริ่มจากศีล 5 พอชักจะได้ที่ เริ่มกินเข้าไปในใจ ต่อด้วย กรรมบถ 10 พอชักจะได้ที่ ตามด้วย ศีลอุโบสถ ก็คือศีล 8 จะบ้านหรือจะวัด ทำได้หมด อย่าให้มันยุ่งมาก จิตจะเศร้าหมอง หนักเข้าไปอีก ศีลคือปกติ ทำตัวให้อยู่กับศีลได้เป็นปกติ อย่าเร่งรัดมากจะเครียด ไม่มีผล การวัดผลคือการกระทบอารมณ์ จะ 5 จะ 10 จะ 8 ก็ วัดเช่นเดียวกัน ถ้าหยุด "ใจ" ในกรรมบถ 10 ได้ ก้าวไปจับ อุโบสถศีลจะง่าย เอ...เข้าใจป่าวหว่า ลองก่อนนะ

    "ครั้นพระมหาชนกโพธิสัตว์ กระทำความเพียรว่ายน้ำไป ในคืนหนึ่งเห็นเดือนเต็มดวง จึงเข้าใจว่าล่วงแก่เพ็ญ 15 ค่ำ จึงอมน้ำทะเล บ้วนปาก อธิษฐานอุโบสถศีล แล้วกระทำความเพียรว่ายน้ำต่อไป"

    โชคดีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...