วิชามวยล้านนาคือ มวยคาดเชือก วิชาดาบล้านนาคือ วิชาดาบดั้ง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ติโลกเหลน, 31 สิงหาคม 2013.

  1. ติโลกเหลน

    ติโลกเหลน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +86
    ด้วยเหตุที่ว่าอดีตพญามังราย ทรงมีพระมารดาเป็นชาวเชียงตุง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว ทั้งยังมีอาณาเขตใกล้เคียงกับรัฐฉาน บางคนจึงเหมารวมว่าเชียงตุงเป็นชาวไทยใหญ่ แต่แท้ที่จริงเชียงตุงอดีตในสมัยพญามังรายนั้น เป็นชาวล้านนาเป็นรัฐเชียงตุงเป็นรัฐเครือญาติกับรัฐโยนกเชียงแสน ต่อมาชาวเชียงตุงได้อพยพหนีการกวาดต้อนของพม่ามาตั้งรกรากกันในอาณาเขตล้านนาก่อนสมัยพญากาวิละฟื้นม่าน จนภายหลังชาวไทยใหญ่จึงอพยพเข้าไปอยู่แทนที่ ต่อมาสมัยพญากาวิละฟื้นม่านก็ได้กวาดต้อนชาวไทยใหญ่ที่ได้เข้าไปอาศัยแทนที่ชาวเมืองเชียงตุงเดิม มาเป็นประชากรชาวเชียงใหม่ในเวลาต่อมา จุดนี้เองทำให้คนล้านนาในปัจจุบัน คิดว่าตนเป็นเรือญาติกับชาวไทยใหญ่ และเหมาเอาว่าวิชาของไทยใหญ่ก็คือของล้านนา ซึ่งคิดผิด เพราะหลังจากต้อนชาวไทยใหญ่เข้ามานั้น มีการแยกใครเป็นคนไทยใหญ่ใครเป็นคนล้านนาหรือคนเมือง ด้วยการสักหมึกที่แขน โดยคนที่ถูกกวาดต้อนมาจะถูกสักเป็นรูป “กา” ไว้ที่แขน
    และทราบกันหรือไม่ว่า “เจิงมวยและเจิงดาบล้านนา” ที่ถ่ายทอดกันทางสื่อต่างๆ มีบางรายได้อ้างว่า เป็นวิชาที่ถ่ายทอดกันมาแต่โบราณของล้านนา สืบมาแต่บรรพบุรุษยุคล้านนาเรืองอำนาจ แต่ท่านรู้บ้างหรือไม่ว่า คนเหล่านั้นที่อ้างว่าวิชาที่ตนเองได้อวดอ้างว่าเป็นมรดกตกทอดของบรรพบุรุษล้านนานั้น แท้ที่จริงเป็นวิชาของชาวไทใหญ่ ที่คนล้านนาบางท่านในอดีตได้ไปร่ำเรียนจากพ่อครูชาวไทใหญ่ ต่อมาได้ถ่ายทอดกันมาและแล้วผู้สืบวิชาเหล่านี้ (ได้มีชื่อเสียงและพยายามถ่ายทอดสืบสานวิชาส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อมา) ก็ได้เข้าใจกันเอาเองว่า ตนได้รับวิชามาจากพ่อครูคนเมืองชาวล้านนา ท่านได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้ดังนั้นวิชาเหล่านี้ก็คงเป็นวิชาของชาวล้านนาแท้ๆแต่โบราณแน่นอน จึงได้เอาดนตรีล้านนาไปประกอบและออกแสดงตามสื่อต่างๆจนมีชื่อเสียง ทำให้ในปัจจุบันคนทั่วไปได้คิดไป(ด้วย)ว่ามรดกชาวไทยใหญ่หรือชาวไตเงี้ยว เป็นมรดกของบรรพบุรุษล้านนาไปเสียแล้ว ดังนั้นจะเรียกให้ถูกจริงๆ ควรเป็น “เจิงมวยไต มวยเจิงเงี้ยว หรือเจิงดาบไต เจิงดาบเงี้ยว”
    “เจิงมวยและเจิงดาบล้านนา” ที่แท้จริงมีประวัติบันทึกชัดเจนและสามารถแยกออกจากวิชาของไทยใหญ่ได้ง่ายๆ ซึ่งวิชาเหล่านี้ไม่มีในสายวิชาที่สืบมาจากไทยใหญ่เลย นั่นก็คือ “ดาบดั้ง” เป็นวิชาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษคนเมืองล้านนา ในยุคปฐมกษัตริย์ล้านนา พญามังรายนั้น มีลักษณะเดียวกับวิชามวยวิชาดาบของคนสยาม เนื่องจากพญามังรายได้ร่ำเรียนวิชาเหล่านี้มาจากสำนักสุกกะทันตะฤาษี สำนักเขาสมอคอน เมืองละโว้ (ลพบุรี) ผลงานที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์ก็คือ สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ได้ส่งทหารฝีมือดี นามว่า “หาญยอดใจเพชร”ออกดวลดาบกับทหารกองทัพสุโขทัย มีรายละเอียดว่าดังนี้
    หาญยอดใจเพชร เป็นนายทหารชาวนครพิงค์เชียงใหม่ อยู่ในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน เป็นนายทหารดาบเขนซึ่งมีฝีมือเป็นเยี่ยม และเหตุที่ทำให้หาญยอดใจเพชรได้มีชื่อปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนา ก็เพราะว่าในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเกิดมีกรณีแตกแยกระหว่างพี่น้องขึ้น อันทำให้เกี่ยวเนื่องไปถึงพระมหาธรรมราชาไสยลือไท แห่งกรุงสุโขทัยจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ดังนี้
    ครั้นนั้นสิ้นพระเจ้าแสนเมืองมาพระราชบิดาแล้ว ราชบุตรสองพระองค์ต่างมารดากันองค์พี่มีพระนามว่า เจ้ายี่กุมกาม พระบิดาให้ไปครองเมืองเชียงรายแต่ครั้นมีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ส่วนองค์น้องมีพระนามว่า เจ้าสามฝั่งแกน เหตุที่ชื่อเช่นนี้เป็นเพราะเมื่อพระมารดาทรงพระครรภ์ได้ ๓ เดือน พระราชบิดาได้พาเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆจนถึงเมืองสิบสองพันนาลื้อ จนเวลาล่วงไปได้ ๗ เดือน กลับมายังพันนาฝั่งแกนจึงได้ประสูติพระกุมาร ณ ที่นั้น ส่วนเจ้ายี่กุมกามนั้น ประสูติที่เวียงกุมกามจึงได้ชื่อว่า เจ้ายี่กุมกาม
    พอพระเจ้าแสนเมืองมาถึงแก่พิราลัย เสนาทั้งหลายก็จัดการาชาภิเษกเจ้าสามฝั่งแกนขึ้นครองราชสมบัติ มีมหาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ว่าราชการแทนเพราะพระเจ้าสามฝั่งแกนยังทรงพระเยาว์พระชันษายังไม่ถึงยี่สิบปี ทั้งยังต้องเตรียมการไว้เผื่อว่าทางเจ้ายี่กุมกามจะยกพลมาแย่งชิงราชสมบัติอีกด้วย และแล้วก็เป็นจริงกองทัพเมืองเชียงรายโดยการนำของเจ้ายี่กุมกามผู้ครองเมือง ได้ยกมาเพื่อจะสัประยุทธ์ช่วงชิงราชสมบัติจากพระอนุชาด้วยความไม่พอพระทัยที่เจ้าสามฝั่งแกนได้ครองนครพิงค์สืบต่อจากพระราชบิดา แต่เมื่อทางฝ่ายนครพิงค์ได้เตรียมป้องกันไว้แล้ว ด้วยกำลังทัพซึ่งเหนือกว่า ทัพของเจ้ายี่กุมกามก็แตกพ่ายไป ตัวเจ้ายี่กุมกามก็หนีลงไปพึ่ง พระมหาธรรมราชาไสยลือไท แห่งกรุงสุโขทัยและทูลขอความช่วยเหลือจากพระเจ้ากรุงสุโขทัยสำเร็จ โดยพระมหาธรรมราชาไสยลือไทไม่ทันได้พินิจให้รอบคอบ หลงเชื่อคำบอกเล่าของเจ้ายี่กุมกาม ในปี พ.ศ.๑๙๔๔ พระมหาธรรมราชาไสลือไท ยกทัพหลวงกรุงสุโขทัย ขึ้นมาเพื่อตีเมืองเชียงใหม่ ให้แก่เจ้ายี่กุมกามเจ้าเมืองเชียงราย กองทัพสุโขทัยโดยการนำของพระมหาธรรมราชาไสยลือไทก็ยกไปโดยผ่านแม่น้ำยมขึ้นไปตีเมืองพะเยาก่อน สร้างหอเรือกสูง๑๒ วาที่ตำบลหนองเต่าเพื่อจะเอาปืนยิงเข้าไปในตัวเมือง แต่ฝ่ายผู้รักษาเมืองพะเยาก็เตรียมสู้เต็มที่ ถึงกับรื้อเอาทองเหลืองกระเบื้องมุงหลังคาที่วัดมหาพนมาหล่อทำปืนใหญ่สีที่กำหนดสามล้านตอง เซ่นสรวงพลีด้วยกระบือเผือกผู้แล้วบรรจุกระสุนดินดำยิงไปทำลายหอเรือกนั้นพังลง พระมหาธรรมราชาไสยลือไททรงเห็นเป็นลางร้ายก็เลยไม่คิดสู้ แต่ได้สั่งให้เจ้ายี่กุมกามนำทัพลัดขึ้นไปเชียงรายเพื่อพักไพร่พลพอหายอิดโรยแล้วยกทัพย้อนลงมาทางเมืองฝางมุ่งตรงไปยังเชียงใหม่ ตั้งทัพอยู่ ณ ตำบลหนองหลวงแล้วให้คนถือหนังสือเข้าไปในเมืองเชียงใหม่มีใจความว่า
    “ เจ้ายี่กุมกามนั้นเป็นพี่ควรจะได้ราชสมบัติแทนพระราชบิดาถ้าขุนนางในเชียงใหม่ขัดขืน มิให้เจ้ายี่กุมกามขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระมหาธรรมราชาไสยลือไทก็จัดยกทัพพลโยธาเข้าตีชิงเอาเมืองนครพิงค์ให้แก่เจ้ายี่กุมกามให้จงได้”
    ทางฝ่ายในเมืองนครพิงค์บรรดาเสนามาตย์ข้าราชการขุนนางทั้งหลายก้พร้อมใจกันมีหนังสือตอบไปยังอีกฝ่ายหนึ่งใจความว่า “เจ้ายี่กุมกามถึงหากจะเป็นพี่ ก็หามีบุญญาธิการมิได้เพราะฉะนั้นการที่จะรบด้วยกำลังพลโยธาทั้งสองฝ่ายก็เห็นที่ว่าจะหมดเปลืองชีวิตของเหล่าพลโยธาเสียเปล่า ข้าพเจ้าทั้งหลายใคร่จะขอให้มีการเสี่ยงบารมีว่าใครจะมีบุญญาธิการยิ่งกว่า ระหว่างเจ้ายี่กุมกามกับเจ้าสามฝั่งแกนกล่าวคือ จัดให้มีการต่อสู้กันตัวต่อตัวระหว่างนายทหารซึ่งมีฝีมือเยี่ยมฝ่ายละคน คัดเลือกจัดสรรเอามาจากในกองทัพของแต่ละฝ่าย หากว่าทหารของฝ่ายใดได้รับชัยชนะก็จะถือว่าเป็นการแพ้ชนะด้วยทั้งกองทัพ ด้วยบุญญาธิการบารมีของเจ้าชายทั้งสอง พระองค์จะเห็นเป้นประการใด”
    พระมหาธรรมราชาไสยลือไทได้ทรงรับหนังสือเช่นนั้น ก็นำมาปรึกษากับเหล่าแม่ทัพนายกองของฝ่ายพระองค์ ต่างก็เห็นดีเห็นชอบตามข้อเสนอของเสนามาตย์ฝ่ายเมืองนครพิงค์ทั่วหน้ากัน พระมหาธรรมราชาไสยลือไทก็ทรงมีหนังสือตอบตกลงตามเงื่อนไขที่กำหนด
    ครั้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็เลือกคัดสรรนายทหารที่มีฝีมือ เพื่อจะได้ออกไปสู้กับฝ่ายตรงข้าม มันเป็นการต่อสู้ที่หมายถึงการพนันระหว่างเจ้าชายสองพี่น้อง ฝ่ายใดชนะก็จักได้ขึ้นครองนครพิงค์ ฝ่ายใดแพ้ก็ต้องก้มหน้าออกจากตำแหน่งนายทหารผู้ได้รับคัดเลือกจากกองทัพของสุโขทัยนั้นปรากฎชื่อในประวัติศาสตร์เป็นผู้ที่ชำนาญเพลงดาบสองมือเป็นเยี่ยมยอดหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ทางฝ่ายนครพิงค์ก็ได้เลือกจัดหานายทหารผู้มีฝีมือกันอย่างจริงจัง ในที่สุดก็ได้นายทหารผู้มีนามว่า หาญยอดใจเพชร เป็นผู้เชี่ยมชาญในการใช้ดาบเขนอย่างหาตัวจับยาก
    เมื่อต่างฝ่ายก็ได้ตัวนายทหารที่จะมาขับสู้เพื่อแข่งบุญญาธิการของเจ้านายของตนแล้ว ก็นับเป็นเวลาและจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม ก็ไปได้ที่ตำบลเชียงขวางนอกเมืองเชียงใหม่ จึงประชุมกันจัดตั้งเป็นสนามประลองฝีมือระหว่างทหารเอกของสุโขทัยกับทหารเอกของเชียงใหม่ ท่ามกลางความตื่นเต้นของชาวเมืองและของเหล่าไพร่พลทั้งสองฝ่าย พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้ายี่กุมกาม และพระมหาธรรมราชาไสยลือไทต่างก็เสด็จมาประทับทอดดพระเนตรการต่อสู้ครั้งนี้ พร้อมด้วยเสนามาตย์ข้าราชการ รวมทั้งพลโยธาทั้งหลายซึ่งพากันมาประชุมพร้อมใจกันด้วยใจอันเต้นระทึก พอได้เวลา ทหารเอกของทั้งสองฝ่ายก็ออกสู่สนาม พร้อมด้วยอาวุธคู่มือ ทหารฝ่ายสุโขทัยถือดาบสองมือกระชับ ลวดลายที่รำไหว้ครูสวยงามเป็นสง่าน่าชมยิ่งนัก ฝูงชนที่มาชมก็กล่าวชมกันเซ็งแซ่ว่านายทหารชาวสุโขทัยนี้สง่านัก ท่าทางที่รำดาบไหว้ครูก็งดงามสมเป็นชายชาติทหาร
    ทีนี้ถึงคราวหาญยอดใจเพชรทหารเอกของทัพนครพิงค์เชียงใหม่ผู้รับอาสามาต่อสู้เพื่อรักษาราชบัลลังก์ของพระเจ้าเหนือหัวก็มิได้น้อยหน้านายทหารสุโขทัย เขาวาดลวดลายการรำไหว้ครูได้สวยงามไม่แพ้นายทหารสุโขทัย แม้ว่ามือข้างหนึ่งถือดาบและอีกข้างหนึ่งจับเขน จะทำให้ไม่สะดวกในการออกลวดลายได้เต็มที่เท่ากับการใช้ดาบสองมือ แต่ท่วงท่าอันสง่าอาจหาญของทหารเอกนครพิงค์ก็ได้รับเสียงแซ่ซ้องชมเชยจากผู้ชมทั้งสองฝ่าย ครั้นแล้วความชื่นตาที่พวกเขาได้รับก็เปลี่ยนเป้นความตื่นเต้นหวาดเสียว เมื่อการต่อสู้ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง เสียงดาบประดาบดังสะเทือนประสาทของผู้มีขวัญอ่อน และผู้ที่หวาดว่าจะต้องสูญเสียเมืองให้แก่ศัตรูก็ยืนตัวแข็ง ส่งกระแสจิตไปช่วยนายทหารฝ่ายของตัวตลอดเวลา
    การสัประยุทธ์ของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างน่าตื่นเต้น ทั้งสองมีความสามารถเกือบจะเสมอกันจึงไม่มีฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำโดยง่ายต่างฝ่ายต่างก็มีลวดลายชั้นเชิงหลบหลีกปัดป้องอย่างว่องไว ท่ามกลางเสียงโห่ร้องเอาใจช่วย องค์ประมุขทั้งสามพระองค์ก็ทอดพระเนตรการต่อสู้ด้วยสีพระพักตร์อันเคร่งเครียด จนเวลาผ่านไป ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่ยอมพ่ายแพ้ คงผลัดกันได้เปรียบเสียเปรียบอยู่เช่นนั้น
    แต่ครั้นแล้วในที่สุด หาญยอดใจเพชรก็ได้ที มีโอกาสได้ฝากคมดาบเฉี่ยวเอาเท้านายทหารสุโขทัยเข้าฉับหนึ่ง(ในตำนานบอกว่า เพิก ไปหน่อยหนึ่ง) ทหารสุโขทัยจึงเป็นฝ่ายแพ้แต่ในเวลานั้น อันหมายความว่าฝ่ายนครพิงค์ได้รับชัยชนะด้วยฝีมือการใช้อาวุธของนายทหารเอกของนครพิงค์ผู้มีนาม หาญยอดใจเพชร

    ขอให้ลูกหลานชาวล้านนาจงเข้าใจเสียใหม่ว่า วิทยาการของบรรพบุรุษของตนเอง บัดนี้ได้รับการสืบทอดแล้ว ดังจะเห็นมวยไทยคาดเชือกที่ต่างชาติเรียนรู้ วิชาดาบที่มีหลายสำนักในภาคกลางเปิดสอน ดังนั้นจงอย่าคิดว่าวิชาบรรพบุรุษกำลังจะขาดช่วง แล้วหลงไปเอาวิชาของชาติอื่นมาสอนคนชาติเดียวกันแล้วคิดกันไปเองว่า วิชาเจิงไตเงี้ยวคือวิชาของล้านนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  2. Zank

    Zank Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +40
    ข้อมูลจากไหนครับ บอกว่าเรียนมาจากละโว้แต่เป็นของล้านนา ผมล่ะงง
    อีกอย่างมวยคาดเชือกมันก็มวยไทย แต่ชกกันแบบคาดเชือกไม่ใช่เหรอ
     
  3. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    1ข้อมูลมีจากแหล่งข้อมูลทั่วไป ตำนานสร้างเมืองเชียงใหม่ ตำนาน15ราชวงศ์ฯลฯ
    2ไม่เห็นเค้าบอกว่าวิชามวยเป็นของล้านนาสักคำ แต่บอกว่าล้านนาสืบวิชามาจากละโว้

    แต่จริงๆแล้วละโว้สืบทอดวัฒนธรรมมาจากขอม(อินเดียใต้) ถ้าจะว่ากันจริงๆ มวยสืบมาจากขอม(อินเดียใต้) ที่เรียกกันว่า พาหุยุทธ ภูมิภาคที่เคยเป็นอาณานิคมของขอม มีวิชาที่ว่าทุกที่

    3คำว่า มวยไทยเป็นคำที่ใช้ครั้งแรกเมื่อสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ศัพท์คำว่า "ไทย" มีครั้งแรกก็สมัยนี้ครับ การต่อยตีด้วยมือเปล่าของคนในภูมิภาคนี้ สมัยโบราณเรียกว่า "มวย" โดดๆ ตีกันที่ไหนก็เรียก ชกมวย ต่อยมวย วิชาที่เรียกก็เรียกว่าวิชามวย แต่ตอนชกมวยจะคาดเชือกกันเพื่อกันมือซ้น เลยเรียกกันต่อมาว่ามวยคาดเชือก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  4. Zank

    Zank Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +40
    "วิชามวยล้านนาคือ มวยคาดเชือก วิชาดาบล้านนาคือ วิชาดาบดั้ง" ประโยคนี้มันชวนให้คิดไงคุณ ถ้าจะไหลไปทำนองที่ว่าเค้าไม่ได้ว่าอย่างนั้นซักหน่อยผมก็ไม่ได้ว่าอะไร แค่ถามให้ชัดเจน แล้วเรื่องมวยคาดเชือกนั่นผมก็เข้าใจไง ถึงถามไงว่ามันก็มวยธรรมดาไม่ใช่เหรอ ชกกันทั่วไป แล้ววิชามวยล้านนาคือวิชาอะไรกันแน่ มันไม่ได้บอกชัดเจนไง นี่ผมถามเอาคำตอบเพราะอยากรู้นะ
     
  5. Zank

    Zank Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +40
    ตัวอย่างวิชามวยนะครับ ที่เรียกเป็นวิชา มวยไชยา มวยโคราช มวยท่าเสา นี่คือเรียกแบบระบุวิชาครับ อยากรู้ตรงนี้ หรือเรียกมวยล้านนาตรงๆเลย
     
  6. saintyom

    saintyom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +776
    มวยล้านนาผมรู้จักแต่มวยเจิง
     
  7. ติโลกเหลน

    ติโลกเหลน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +86
    มวยล้านนาที่คุณอยากทราบก็คือ ทั้งหมดที่คุณว่ามานั่นแหละครับ แต่ที่แยกเป็นมวยโคราช มวยท่าเสา มวยไชยา มวยลพบุรี เพราะว่าผู้ที่ใช้วิชามวยจนมีชื่อและเอกลักษณ์ ได้มาจากพื้นที่ที่อ้างถึง ถ้าเปรียบกังฟู ก็คือมาจากสำนักต่างกันเท่านั้น แต่รวมๆก็คือกังฟูจีน

    แต่จะให้บอกว่ามวยล้านนาคืออันไหน ที่ถูกควรเป็น มวยลพบุรี เพราะถือว่าเป็นต้นตระกูลมวยเหนือ เพราะลพบุรีก็คือเมืองละโว้ ต่อมาเมื่อแพร่หลายในเมืองเหนือแล้ว สำนักที่สอนมีศิษย์ที่สร้างชื่อมากที่สุดก็คือ มวยสายท่าเสา จะเห็นได้จากมวยเหนือสมัยก่อน จะไม่เข้าแลก แต่จะอาศัยจังหวะสองรุกตีกลับ และเมื่อรุกจะใช้ความไวชกตีแหวกกราดแบบเดียวกัน และออกอาวุธแข้งได้รวดเร็วคือรุกแบบแนวตั้งฉากจะถูกด้านหน้าแบบจังๆ ทำให้ป้องกันลำบาก จนได้ฉายามวยตีนลิง มวยมือลิง ท่าหนุมานถวายแหวน ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานที่สร้างชื่อ ให้มวยสายนี้ เพราะ เมื่อพ.ศ.2472 นายแพ เลี้ยงประเสริฐ จากบ้านท่าเสา อุตรดิตถ์ ชกนายเจีย แขกเขมร ด้วยท่าหนุมานถวายแหวน จนนายเจียเสียชีวิต ทำให้รัฐบาล (สมัยรัชกาลที่ 7) มีคำสั่งให้การชกมวยไทยทั่วประเทศเปลี่ยนจากคาดเชือกเป็นสวมนวม

    หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  8. ติโลกเหลน

    ติโลกเหลน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +86
    มวยเจิง คำที่ว่านี้ สมัยก่อนไม่มีเรียกคำว่ามวยเจิง แต่จะเรียกว่าเจิงโดดๆ เช่น ไปเรียนเจิงกับพ่อครู หรือคำเหนือมีคำที่ว่า "มีเจิงมีลาย"หรือ "มาลายใด" "มาเจิงใด" คำว่า "มวยเจิง" เพิ่งมีมาในสมัยหลัง โดยเอาคำของกีฬามวยไทยไปผสมกับการต่อสู้ของชาวไทยใหญ่ ได้คำว่า มวยเจิง ซึ่งหมายถึง วิชาการต่อสู้ของชาวไต หรือชาวไทยใหญ่นั่นเอง ซึ่งคนเหนือจะเรียกคนไตหรือชาวไทยใหญ่ว่า "เงี้ยว" ดังนั้น ในเมืองเหนือสมัยก่อนผู้ที่ได้รับการยกย่องเพราะมีฝีไม้ลายมือ มีลวดลายพริ้วไหว ชั้นเชิงการต่อสู้ดี มักร่ำเรียนการต่อสู้จากชาวไทยใหญ่ คนเหนือจะมีคำชมว่า "เจิงมันดีมันไปเฮียนกับเงี้ยวมา"
    และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของ เจิง คือ การตบผาบ ถือเป็นการปลุกตัว ปลุกปราณ และข่มขวัญคู่ต่อสู้ (นักมวยชาวพม่า จะใช้บ่อย เช่น ตบแรงๆที่ต้นแขน)
    ซึ่งต่างจาก "มวย" ที่ไม่มีการตบผาบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  9. ชาน

    ชาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +272
    ความคิดผมนะ มวยเจิง ไม่น่าจะมาจากเงี้ยวหรือไทยใหญ่นะ คำเมืองหรือภาษาล้านนา คำว่า เจิง ก็คือการดูเชิง มีไหวพริบ สับขาหลอก ว่องไว หรือ ฉลาด
    ก็ตรงกับที่ท่าน ติโลกเหลน บอก มวยฉลาดคือมวยลพบุรี
    *ต้นตระกูลมวยเหนือมาจากลพบุรีก็คือเมืองละโว้*
    เจ้าแม่จามเทวีก็มาจากละโว้ มาสร้างเมืองหิริกุญชัย จนโด่งดัง ศิลปะการต่อสู้ต้องมาที่หนึ่ง
    ผู้คนทางเหนือจึงต้องเข้าไปศึกษาวิชาที่นั้น ต้นแบบมวยทางเหนือคงมาจากเมืองละโว้
    แต่มาสร้างชื่ออีกทีก็แล้วแต่บุคคลถึงเรียนจากที่เดียวกันแต่ใช่ว่าจะเก่งทุกคน
    คนที่เก่งก็ไปเป็นครูสอนแล้วตั้งชื่อวิชาใหม่ขึ้นมา ตามกาลเวลา
    หาอะไรแน่นอนไม่ได้ ที่ว่า"เจิงมันดีมันไปเฮียนกับเงี้ยวมา" สมัยก่อนล้านนากับไทยใหญ่เชียงตุงแทบแยกกันไม่ออกมีแค่วัฒนธรรมที่แตกต่างกันเล็กน้อย
    จะเห็นได้ว่ามีการอพยพคนเชียงตุงให้มาอยู่ลำพูนก็มาก มาอยู่ทางเหนือก็มากสมัยโลกห่ามาคนตายมาก จึงต้องให้คนเชียงตุงมาอยู่ล้านนา
    "อาจเป็นไปได้ว่าเงี้ยวมาเรียนมวยละโว้แล้วเก่งจึงไปสอนต่อก็เป็นได้"
     
  10. ติโลกเหลน

    ติโลกเหลน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +86
    ก็อย่างที่ว่านะครับ "มวย" คือ มวย ส่วน "เจิง" ก็คือ เจิง คำสองคำนี้เป็นคำเรียกวิชาการต่อสู้ของสองเชื้อชาติโบราณ คือเงี้ยวและขอม ทั้งสองคำนี้ขอยืนยันว่า มีรากเหง้าต้นกำเนิดที่ต่างกันครับ
    เจิง มีรากเหง้ามาจาก " bando" คล้ายกังฟูจีน มีต้นกำเนิดในแถบอาณาจักรพุกามโบราณ
    มวย มีรากเหง้ามาจาก "พาหุยุทธ" มีต้นกำเนิดในอินเดียโบราณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2013
  11. ติโลกเหลน

    ติโลกเหลน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +86
    Various Bando/Banshay thaing styles of Burma.

    เข้าyoutube ลองชมว่าวิชาเงี้ยวกับขอมมันคนละอย่าง มวยกับเจิงมันคนละวิชา แต่ปัจจุบันเอามาผสมเป็นมวยเจิงไปซะแล้ว เหมือนไก่ชนลูกผสมพม่าป่าก๋อย
    (คนเหนือเรียกพม่าว่า ม่าน เรียกคนไทยใหญ่ว่า เงี้ยว และทั้งสองเชื้อชาติมีรากเหง้าวัฒนธรรมและศิลปะการต่อสู้ที่มาจากแหล่งเดียวกัน)

    ไม่น่าแปลกใจที่สมัยกรุงศรีอยุธยาแตก นักมวยชาวกรุงศรีจะชนะนักชกชาวพม่าถึงเก้าคนสิบคน เพราะมันคนละวิชา เหมือนมวยจีนชกกับมวยไทย กี่คู่ก็ชนะหมด

    ตอนหลังพม่าเรียนมวยจากครูมวยชาวล้านนา ครูมวยชาวล้านนาก็ไปเรียนเจิงพม่า ล้านนาจึงเป็นเมืองขึ้นพม่ากว่าสองร้อยปี ต่อด้วยสยามอีกสองร้อยปี

    และที่อยุธยาแพ้สงครามไม่ได้เพราะแพ้ฝีมือแต่เพราะแตกสามัคคี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2013
  12. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    กรุงฯ แตกครั้งที่สอง มันเกิดจากความเห็นแก่ตัวของคนบางพวกและคนบางพวกก็รับไม่ได้ จึงเกิดการแตกความสามัคคีขึ้น ก็ได้แต่หวังว่าเหตุการณ์แบบนั้นจะไม่ย้อนกลับมาอีก
     
  13. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +18,998
    อ่านกระทู้นี้แล้วได้ความรู้ดีครับ รู้ลึก มีวิเคราะห์แถมให้อีก...
    วิชามวยนี้ คนที่ผมรู้จักคือ นาย ขนมต้ม ที่มีความสามารถในการชกมวยมาก..
    และวิชามวยที่สนใจ เป็น มวยไชยา คงเพราะได้ยินได้ฟังมามากว่า เป็นมวยที่ใช้ได้ทั้งรับ ทั้งรุก ก็อยากให้ลูกๆฝึกฝนเอาไว้ครับ..แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนที่รับสอนบ้าง...ถ้ามีข้อมูลที่รับสอนในกรุงเทพฯช่วยแนะนำด้วยนะครับ...
    เพราะสังคมยุคนี้อันตรายใกล้ตัวเกิดขึ้นได้บ่อยๆ การมีวิชาป้องกันตัวเอาไว้บ้างก็น่าจะดีนะครับ..
     
  14. khunfongbeer

    khunfongbeer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +668

แชร์หน้านี้

Loading...