หนูอยากแก้อาการขี้อิจฉาค่ะ นิสัยเสียๆแก้ไม่หายเสียที

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thelittle115, 5 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,946
    วิธีที่เราเคยใช้แล้วได้ผลก็คือ
    จะหมั่นสังเกตจิตของตัวเองเวลาเกิดความอิจฉา
    จะพบว่ามันรุ่มร้อน มันรู้สึกต้อยต่ำ รู้สึกคับแคบ อึดอัด ทั้งจิตใจและร่างกาย
    หมั่นทำบ่อยๆ จะเห็นแต่โทษของความอิจฉาจะทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากให้ความรู้สึกอิจฉาเกิดขึ้นในจิตใจของตน
    ทำไปบ่อยๆ ควบคู่กับการเจริญเมตตา มุทิตา
    จิตจะเห็นความแตกต่างระหว่างการเกิดความรู้สึกอิจฉาซึ่งมีแต่ความรุ่มร้อนมีแต่โทษกับตนและความเมตตา หรือมุทิตาซึ่งทำให้เกิดความสงบ สบาย มั่นคง กว้างขวาง สง่างาม
    ก็จะทำให้คลายจากความอิจฉาได้รวดเร็วขึ้น และจิตจะคุ้นเคยยินดีกับการเมตตามุทิตามากกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  2. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    ผมคิดว่าเขาคงให้เตือนตัวเองกระมัง

    เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้น..

    นั่นอาจเป็นเพราะ..คุณขาดความพึงพอใจ

    ในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่..ล่ะครับ.
     
  3. คนยอง

    คนยอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +242
    นึกถึงพระพุทธรูปองค์ที่ชอบที่สุด แล้วฮึดสู้(กับกิเลสภายในใจ)อีกครั้ง แล้วคิดในใจว่า "พระบรมศาสดา,พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ต่างก็ผ่านอาการเหล่านี้มาแล้วทั้งนั้น.." สู้ สู้ พวกเราทำได้....^^ เราไม่เป็นคนแรกของสังสารวัฏ เราไม่เป็นคนสุดท้ายของวัฏจักร เรา เป็นผู้เดินตามทางที่พระบรมศาสดา,พระปัจเจกพุทธเจ้า,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ เคยเดินมาแล้วและท่าน ถึงแล้ว....
     
  4. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,137
    ไม่ผิดหรอกนะคะที่เราจะถูกกิเลสครอบงำบ้าง ความผิดพลาดคือเรื่องปกติ เราคือคนธรรมดา ยังมิใช่ผู้บรรลุธรรม จึงยังหวั่นไหวไปกับความอยากมีอยากได้แต่เราต้องตะหนักในความเป็นจริงให้ได้ เพราะมันจะช่วยให้เราตรึกตรองก่อนที่จะถูกกิเลสชั่วร้ายลากไป ขอจงมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลากำหนดรู้ เพราะจะำำทำให้กิเลสและความฟุ้งซ่านใดๆ ไม่สามารถแผ่ซ่านเข้ามาในใจได้ ฉะนั้นควรให้ความสำคัญกับ "ใจ" มากที่สุด เพราะเมื่อแก้ที่นี่ได้ ปัญหาทุกอย่างก็เป็นอันจบไป
     
  5. jajakob9

    jajakob9 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +41
    "อิจฉาอย่างใด สิ่งนั้นมักจะไม่เกิด"
    "ยินดีกับสิ่งใด ลองดูเถิดจะเกิดกับตัว"

    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  6. sirigul

    sirigul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +2,515
    คนขี้อิจฉาเกิดชาติหน้า หน้าตาไม่สวยนะเอ่อ ซิบอกให้ ไม่ต้องชาติหน้าด้วย ชาตินี้ก็ดูแย่ละ หน้าตาบูดบึ้ง หมองม่น หน้าตาอย่างกะยักษ์ แต่ถ้ามีจิตขี้สงสารปนด้วย ก็ออกแนว บูดบึ้งปนเศร้าๆๆ ไม่สวยอยู่ดี ฉนั้นทำจิตใจให้เบิกบานเถิดหนานะน้อง ใครจะรวย ใครจะสวย ช่างหัวมัน สุดท้ายก็ตายหมด เอาไรไปไม่ได้ นอกจากบาปบุญกุศลเท่านั้น นิ้วทั้งห้ายังยาวไม่เท่ากันเลยนี่หน่า ไม่มีใครสุขตลอด และก็ไม่มีใครทุกข์ตลอด มองให้มันเป็นความไม่เที่ยง ดั่งพระพุทธเจ้าสอน เห็นเค้ามีความสุขดีกว่าเห็นเค้ามีความทุกข์ไม่ใช่หรือ เผลอๆๆก็พลอยทุกข์ไปด้วย ส่วนตัวพี่เห็นคนขึ้นสวรรค์ดีกว่าเห็นคนเดินลงนรกคะ
     
  7. ลูกแม่ปลีก

    ลูกแม่ปลีก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    61
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +465
    [​IMG]


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    ๑๒ . มหาราหุโลวาทสูตร
    สูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรใหญ่

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสสอนพระราหุลในระหว่างที่ท่านตามเสด็จไปบิณฑบาตในเวลาเช้าว่า พึงพิจารณาเห็นรูปทุกชนิด ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน, ภายใน ภายนอก, หยาบละเอียด, เลว ดี, ไกล ใกล้ ว่ารูปทั้งหมดนั้น มิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    พระราหุลกลับจากที่นั้น นั่งคู้บัลลงก์ ( ขัดสมาธิ ) ณ โคนไม้ตันหนึ่ง ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า พระสารีบุตรเห็นเข้าจึงสอนให้เจริญอานาปาปานสติ ( สติกำหนดลมมหายใจเข้าออก). ในเวลาเย็นพระราหุลออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้ากราบทูลถามถึงวิธีเจริญอานาปานสติที่จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

    ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องรูปภายใน (ร่างกาย) ที่แข้นแข็ง มีผม ขน เป็นต้น ที่เรียกว่าธาติดินภายใน ตลอดจนธาตุน้ำ, ไฟ, ลม , อากาศ ทั้งภายนอกภายใน ให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายธาตุเหล่านั้น ทำจิตให้คลายกำหนด (หรือความติดใจ) ในธาตุเหล่านั้น

    ๓. ครั้นแล้วตรัสสอนให้เจริญภาวนา ( อบรมจิต ) เสมอด้วยธาตุแต่ละอย่าง ซึ่งผัสสะที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจเกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ โดยชี้ให้เห็นว่า ธาตุเหล่านั้นย่อมไม่แสดงอาการผิดปกติ เช่น เบื่อหน่าย เกลียดชังสิ่งสะอาดหรือสกปรกที่ทิ้งลงไปใส่หรือที่ธาตุเหล่านั้นฝ่านไป.


    ๔. ตรัสสอนให้เจริญ
    เมตตาภาวนา (ไมตรีจิต คิดจะให้เป็นสุข) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ( ความคิดปองร้าย ) ได้ ,
    กรุณาภาวนา (เอ็นดู คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละวิหิงสา (การคิดเบียดเบียน) ได้ ,
    มุทิตาภาวนา (พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละอรติ (ความไม่ยินดีหรือริษยา) ได้,
    อุเบกขาภาวนา (วางใจเป็นกลาง) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละปฎิฆะ (ความขัดใจ) ได้,
    อสุภภาวนา(เห็นความไม่งาม) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละราคะ (ความกำหนัดยินดี) ได้,
    อนิจจสัญญาภาวนา (กำหนดหมายสิ่งที่ไม่เที่ยง) ซึ่งเป็นเหตุให้ละอัสมิมานะ (ความถือตัวถือตนได้).


    อ้างอิง
    พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
    -www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html-
    ขอบคุณภาพจาก -http://www.84000.org/-
    _____________________________________________________________



    คำตอบ คือ ให้เจริญมุทิตาภาวนา (พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละอรติ (ความไม่ยินดีหรือริษยา) ได้,
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013
  8. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,946
    แนะนำให้อ่านหนังสือ the top secret ของทันตแพทย์สม สุจีรา ค่ะ
    เนื้อหาเรื่องกฏแห่งแรงดึงดูด น่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการแก้นิสัยส่วนนี้ได้ดี
     
  9. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    อย่าเอาสิ่งแย่ๆของเราไปเทียบกับสิ่งดีๆของคนอื่น ลองเอาสิ่งดีๆของเราไปเทียบกับสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่นๆดู อาจจะพอแก้อาการขี้อิจฉาได้บ้าง แต่ถ้ามองไปมองมาก็ยังหาอะไรในตัวเราที่ดีไม่ได้เลย ก็คงต้องพยายามสร้างมันขึ้นมาบ้าง แต่จะให้ดีก็อย่าไปเปรียบไปเทียบเลยครับ เพราะคนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน แม้แต่ฝาแฝดก็ยังไม่เหมือนกันเลย อย่างมากก็แค่คล้ายเท่านั้นเอง เรามีเพียงคนเดียวในโลกนี้ไม่มีใครเหมือนเรา และเราก็ไม่เคยเหมือนใครเลย ดีหรือด้อยมันเป็นเพียงกระแสที่ผ่านเข้ามาแล้วก็เลยไป ก็แค่นั้นเอง รู้ให้เท่าทันมันแล้วมันก็จะหลบไปเอง
     
  10. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    พระพุทธเจ้าสอนให้แก้ที่ต้นเหตุ เรามาดูกันว่าจะเจออะไร เริ่มจากขี้อิจฉาใช่มั๊ย อิจฉานี่หมายถึงอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนเขา (โลภะ) เป็นกิเลสในจิตเรานี่เอง แต่ช้าก่อน เราสามารถรู้ตามทันที มีสติเท่าทันระดับหนึ่งว่าไม่ดี จึงไม่พอใจพฤติกรรมตนเอง ดูจิตเราดีๆ นะครับ เห็นตัวไม่พอใจตัวเองใช่มั๊ย ไอ้ไม่พอใจนี่เรียกว่าโทสะ(โกรธ) เห็นอะไรมั๊ย เราเสร็จกิเลสทีเดียว 2 ตัวเลย คือ โลภและโกรธ (จริงๆก็โมหะด้วย) ถ้าเราฝึกสติตามดูดีๆ จะเห็นเลยว่า กิเลสที่อยู่ในใจเราต่างหากที่มันทำ ถ้าเรามีตัวสติ สมาธิ ปัญญา มากพอเราไม่ทำแน่นอน เพียงแต่เราไม่ทันมันเท่านั้นเอง นักปฏิบัติธรรมต้องไล่ดูด้วยสติดีๆ อย่าไปหมองตามมัน ไม่งั้นเสียท่า แต่ถ้าเสียท่าแล้วก็แล้วไป เริ่มใหม่ช่างหัวมัน ครูบาอาจารย์เลยบอกว่า ถ้าเราตามดูไป กิเลสมันหน้าตาเหมือนเราทุกอย่าง เพราะเราโกรธตัวเองนี่ ตัวโกรธเป็นกิเลส แล้วใครโกรธ เราเองที่โกรธ เอ๊ะ เราเป็นกิเลสรึ เปล่าหรอก มันหลอกเราสนิทเลย ถ้าเริ่มทันเราจะเริ่มหัวเราะยิ้มได้ ทุกข์คลาย ไม่อิจฉาใคร เพราะคนส่วนใหญ่ก็มีกิเลส แต่ใครจะทันมาก ทันน้อย ไม่ทันเลย หรือปล่อยเลยตามกิเลสไป ส่วนพรหมวิหาร4 เราก็มีนี่ ถ้าไม่มีเราไม่สงสารขอทานหรอก แต่จะให้สงสารคนได้หมดนั้นต้องพรหมวิหาร 4 ขั้นสูงโน่น เป็นธรรมะขั้นสูงหน่อย(ฌาน 4ต้องทรงตัว) ถ้าอย่างนี้ แม้ศัตรูเราก็รัก เมตตาเหมือนลูกตัวเองประมาณนี้ เจริญในธรรมนะ..สาธุ
     
  11. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    การที่เราเป็นคนที่ชอบอิจฉา เพราะเรามีนิสัยประจำคือ ชอบเปรียบเทียบ ว่าคนนั้นดี คนนี้สูง คนนี้ต่ำกว่า เรามีนิสัยที่มักจะจัดลำดับและให้ค่าของคนด้วยการสังเกตุของเราเพียงแค่อาการที่เขาแสดงออกมา หรือเครื่องประดับ คำพูด ยศตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้เราสังเกตุเพียงนิดหน่อยแต่เรากลับจัดลำดับเขาอย่างหมายมั่นปั้นมือว่า เขาดีกว่า เขาเลวกว่าเรา เขาเหนือกว่า ต่ำกว่าเรา โดยลืมไปว่าเป็นเพราะกิเลสของเรานั้นแลเป็นตัวผลักดัน
    เราจึงกลายเป็นคนที่ไม่พอใจในตัวเอง ยังต้องเปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่ร่ำไป จึงเป็นที่มาของความอิจฉาริษยา ซึ่งอาจจะเกิดจากเหตุที่เรามักจะถูกเลี้ยงดูมาด้วยการเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือ ถูกเลี้ยงดูมาอย่างมีความคาดหวังในตัวเราอย่างสูง หรือถูกเลี้ยงดูมาให้มองแต่ความสำเร็จ ความทะเยอทะยาน ค่านิยมในยศถาบรรดาศักดิ์ เหล่านี้เป็นต้น
    ทางแก้ไข เราจะต้องหมั่นทวนกระแส มองเห็นคุณค่าในตัวของคนเท่าเทียมกัน ตั้งแต่ ยาจก จนนายพล ว่าต่างก็ดิ้นรนไขว่คว้าเหมือนกัน และต่างก็มีความโชคดีเสมอกันในแง่ของ การมีหัวใจ การมีมือมีเท้า มีความคิดเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะคว้าสิ่งใดเอาไว้กับตัว เมื่อเราพินิจพิจารณาแบบนี้ให้เห็นจริงบ่อยๆแล้วเราจะเลิกมองคนอย่างผิวเผินแล้วจัดลำดับเขาตามความรู้สึกของเรา อันเป็นการสร้างความอิจฉาริษยาขึ้นในใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...