นำเงินที่คนทำบุญมาในช่วงบวช แบ่งให้พ่อแม่ไปใช้เป็นบาปมัีย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย upanya, 17 สิงหาคม 2013.

  1. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ขอลองสอบถามความเห็นของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายครับ
    ว่าพิจารณา ข้อนี้กันอย่างไร
     
  2. danetkung

    danetkung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    5
    ค่าพลัง:
    +15,273
  3. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    แม้โยมเขาถวายเงินมาแล้วบอกว่าเป็นส่วนตัว แกก็อย่าคิดเป็นอันขาดว่านั่นเป็นเงินส่วนตัว เขาถวายก็เพราะเราบวชเป็นพระ

    ดังนั้นถ้าเป็นเงินส่วนตัวที่โยมถวายมา ให้ใช้ในสิ่งที่สมควรต่อสมณสารูปเท่านั้น อย่างเช่นเป็นค่ารถ ค่าอาหารหรือช่วยเหลือผู้ที่ลำบากตกทุกข์ได้ยาก หรือจ่ายเป็นเงินค่ายารักษาโรค เป็นต้น ถ้านอกเหนือจากนั้นแล้วให้ผลักเข้าในกองบุญการกุศล เพื่อเพิ่มกุศลให้แก่ผู้ที่ถวายเรามา ท่านบอกว่าตราบใดที่แกยังบวชอยู่ คำว่าส่วนตัวอย่าให้มีเป็นอันขาด ก็แปลว่าต่อให้แยกเป็นเงินส่วนตัวก็ตาม เราต้องคิดอยู่เสมอว่านั่นเป็นเงินสงฆ์



    ��纵��ҹ��Թ�Ѵ���ǧ-�Ѵ��ӻ����� ( �� ���Ҥ�-� �.�. ��) - ˹�� 2 - ��дҹʹ����Ѵ��Ң�ع
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ถ้าเป็นผมบวชเป็นพระ ถ้าจะแบ่งเงินให้พ่อแม่ใช้ ก็ต้องขอให้ทางคณะสงฆ์อนุญาตเสียก่อน กันอเวจีถามหา


    .
     
  5. อากาสดีมาก

    อากาสดีมาก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +32
    เฮียปอ กล่าวได้ถูกต้องแล้ว การป้องกันเป็นสิ่งที่ควร

    กระทำ เพื่อความไม่ประมาท
     
  6. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    ถ้าการที่พระสงฆ์สามารถนำอาหารที่ตัวเองบินทบาตรมาเลี้ยงพ่อเลียงแม่โดยไม่บาป เราว่า เอาไปให้พ่อ-แม่ใช้ คิดว่าไม่บาปเพราะเค้าเจาะจงให้เป็นสิทธิของเราส่วนตัว ไม่ใช่ส่วนรวม(ไม่ใช่เงินสังฆทาน) เป็นสิทธิของเราที่เค้าเจาะจงให้เรามา เราจะเอาไปทำบุญหรือซื้ออะไรให้ใครก็ได้ทั้งนั้น(เค้าใส่ในย่ามของเราเจาะจงให้เรามา(เชื่อว่าไม่มีใครบ้าไปคิดว่า เราให้ท่านเพื่อให้ท่านไปแจกจ่ายแก่หมู่เพื่อนภิกษุทั้งหลาย-ถ้ามีอีคนให้ก็บ้าเต็มที อีนรกส่งมาเกิด ใช้พระบวชใหม่ ตัวเองไม่รู้จักเอาไปถวายสังฆทานเอง ใครจะไปรู้ไม่พูดไม่บอก) ในสมัยที่หลวงปู่ปานยังอยู่ มีคนขี้เหล้าขอเงินหลวงปู่ปาน ด้วยความสงสารท่านก็ให้เค้า เงินของท่านก็มาจากที่คนเค้าใส่ยามหรือที่ท่านไปงานต่างๆเค้าใส่ซองเจาะจงให้ท่าน ท่านจะเอาไปให้ใครก็ได้เป็นเรื่องส่วนตัวของท่าน ถามหน่อยแบบนี้ท่านผิดไหม?ท่านต้องไปขออานุญาติจากสงฆ์4รูปเพื่อให้ไอ้ขี้เหล้าคนนั้นไหม? ถ้าความคิดเราผิด ช่วยให้ความกระจ่างเราด้วย สาธุๆๆ อย่างตัวเองใส่ย่ามพระบวชใหม่ก็เพื่อให้ท่านเอาไว้ใช้ส่วนตัว เอาไปซื้ออะไรก็ได้ทำอะไรก็ได้ ให้ท่านเอาไว้ใช้เป็นสิทธิ์ของท่าน ท่านเอาไปให้พ่อแม่ใช้ไม่น่าบาป แต่ถ้าสึกออกมาแล้วไม่แน่ใจว่าทรัพสมบัตินั้นๆที่ได้มาในขณะบวช(ที่เป็นของส่วนตัว)ยังเป็นของ"ฆรวาส"อยู่หรือปล่าว ขอนี้ต้องถามผู้รักษาพระธรรมวินัยจริงๆอยากรู้เหมือนกัน สาธุ ๆ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2013
  7. siwatcha

    siwatcha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +1,242
    เห็นด้วยนะคะ สำหรับท่านเจ้าของกระทู้อยากให้ลองศึกษาบัญญัติของสงฆ์ที่ว่าด้วยเรื่องปัจจัย(เงิน) ในการถือครอง ว่าสามารถปฏิบัติต่อปัจจัยอย่างไรบ้าง เพราะในเรื่อง พระธรรมวินัยและกฏข้อบังคับของสงฆ์ต้องระบุไว้แล้วทุกกรณีอย่างละเอียด
    เจริญในธรรม กำหนดมีพระพุทธเจ้าเป็นพุทธานุสติเสมอค่ะ
     
  8. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ใส่บาตรทุกเช้า

    ถาม : ใส่บาตรตามปกติตอนเช้า ๆ กับใส่บาตรเทโวฯ อานิสงส์ต่างกันอย่างไรคะ ?

    ตอบ : ถ้าหากว่าใส่บาตรทุกเช้าแล้ว ใจมั่นคงกว่าเยอะ ส่วนที่เขาไปใส่บาตรในงานเทศกาล มองได้ ๒ อย่าง อย่างแรกก็คือ เขาเป็นคนที่มั่นคงมาก ถึงเวลาแล้วยังระลึกถึงได้ ไปทำบุญตามเทศกาลทุกครั้ง แต่อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ท่านทั้งหลายเหล่านี้ถ้าไม่มีงานเทศกาลก็ไม่ไปทำบุญ เกิดชาติใหม่ อานิสงส์ที่จะได้ก็นาน ๆ ครั้ง แต่ถ้าเราใส่บาตรทุกวันนี่มั่นคงกว่าเยอะ

    โดยเฉพาะเรื่องของการใส่บาตร ถ้าเราใส่เป็นประจำ ๆ อานิสงส์มหาศาลและผลพลอยได้มีเยอะมาก การใส่บาตรถ้าเราไม่เจาะจงว่าใส่หลวงปู่ หลวงพ่อรูปไหน พระรูปไหนมาเราก็จะใส่ ถ้าอย่างนั้นเป็นสังฆทานเลย ต่อให้ใส่ไม่ครบสี่รูปก็เป็นสังฆทาน ก็แปลว่า เราได้ทำบุญสังฆทานทุกวัน

    ประการต่อไปก็คือ ลูกหลานของเรา มีตัวอย่างให้เห็นอยู่ทุกวัน เขาก็จะได้รับช่วงสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมนี้ต่อไปได้

    ประการที่สามก็คือ พระภิกษุสามเณร ออกบิณฑบาตเพราะต้องการอาหาร มีอาหารไว้ขบฉัน สามารถที่จะดำรงขันธ์อยู่ได้ เมื่อศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว นำไปสั่งสอนญาติโยมต่อ ก็เท่ากับว่าสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาต่อไปได้

    และถ้าเราพร้อมเพรียงกันใส่บาตรทุกวัน ศาสนาอื่นเห็นก็ไม่กล้ารุกรานหรอก เพราะเขาเห็นความมั่นคงเข้มแข็งของพวกเรา แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วพวกเราลุกไม่ไหว..ไปไม่ทัน..พระมาเช้าเกิน ไม่ได้คิดว่าเราตื่นสายเกิน

    ถาม : เราใส่บาตรให้พระรูปเดียว แต่ว่าตั้งใจให้เป็นสังฆทาน เราต้องบอกพระไหมคะ ?

    ตอบ : ไม่ต้องบอกก็ได้จ้ะ คือ เราตั้งใจว่าท่านไหนมาเราก็จะใส่ ถ้าไปตั้งใจว่าหลวงปู่ท่านนั้นมา หลวงพ่อท่านนี้มา หลวงพี่ท่านนี้มาแล้วเราจะใส่ ถ้าอย่างนั้นจะเป็นได้แค่ปาฏิปุคลิกทาน ถ้าไม่เจาะจง ท่านไหนมาเราก็จะใส่ ก็เป็นสังฆทาน


    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เทศน์ช่วงก่อนทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
    วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

    ................................................


    http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1621


    .
     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130

    หลวงปู่ปาน คือ พระสงฆ์ ไม่ใช่พระสมมุติสงฆ์

    ดังนั้นเงินของท่านย่อมให้ใครก็ได้ ไม่ผิดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 สิงหาคม 2013
  10. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    เงินนั้นญาติโยมเขาให้พระสมมุติสงฆ์ ถ้าเกิดเราเอาเงินให้่พ่อแม่ ... น่าจะไม่เป็นไรเพราะนั้นเขาเจาะจงให้

    แต่ถ้าเกิดมีญาติโยม ถวายเงินให้พระสมุมติสงฆ์แต่ดันไป อธิษฐานถวายเป็นสังฆทาน ...

    แล้วเกิดพระสมมุติสงฆ์รูปนั้นเอาเงินไปให้พ่อแม่ จะโชคร้ายซะมากกว่านะครับ



    และถ้าลาสิกขามาเป็นฆราวาสแล้ว สิ่งของเงินทองต่าง ๆ ควรให้คืนแก่วัดคืนแก่สงฆ์จะดีกว่าครับ

    เพราะ ญาติโยมเขาให้เราตอนเป็นพระ ถ้าเราไม่ได้บวชเป็นพระ คงจะไม่มีเงินทองเหล่านี้แน่ ๆ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 สิงหาคม 2013
  11. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    ใช่ถูกต้องครับ โยมผู้ให้ทานจึงควรที่จะบอกพระสงฆ์รูปนั้นๆไปเลยว่า ดิฉันถวายให้ท่านไปเป็นสังฆทานนะเจ้าคะ ไม่ใช่ให้ท่านเอาไปแดกคนเดียว เอาไปแบ่งให้หมูสงฆ์ใช้ร่วมกันนะเจ้าคะ .......อยากถามว่านี่เป็นความผิดของพระรูปนั้นหรือ?ท่านไม่ได้ทรงญาณไม่มีเจโต ท่านจะทราบความคิดของคนๆนั้นไม?อีนี่อุส่าเอาอาหารเอาเงินมาใส่ไว้ในบาตรในย้ามของเรา ด้วยมือของตัวเอง?ทำไมไม่บอกท่านไปเลยหละว่าว่าทานที่ให้ไปเป็นสังฆทาน?อธิฐานแค่ในใจใครจะไปรู้หละ5555หรือว่าเราคิดผิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2013
  12. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    อุ้ยยยยยยมีแบบนี้ด้วยหลอฮะเฮีย พระวินัยหมวดไหนละครับ น้องไม่เคยได้ยินเลยฮะจริงๆนะ (เหรียญมี2ด้านเพื่อจะได้เป็นกรณีศึกษา สาธุๆๆ) ส่วนตัวเป็นฆารวาสผู้ให้ทานทุกๆวัน คือถวายภัตตาหารทุกๆวัน ผมจะประกาศไปว่าทานของผมเป็นสังฆทาน พระสงฆ์ที่ท่านรับท่านจะเอาไว้อีกส่วนหนึ่งเพื่อฉันรวม ท่านมีถามเหมือนกันว่า....นี่ใส่บาตรหรือถวายเป็นสังฆทานจ้า ถ้าใส่บาตรก็เป็นส่วนตัว ถ้าสังฆทานท่านจะไว้ส่วนกลาง ผมเอาเงินใส่ย่ามพระบวชใหม่อยู่บ่อยๆ เจตนาที่ผมให้ท่านเพื่อเป็นกรรมสิทธิของท่าน ท่านจะเอาไปทำอะไรก็ได้ใช่จ่ายอะไรก็ได้เป็นสิทธิของท่านหรือถ้าท่านจะเอาไปให้ใครก็เป็นเรื่องของท่าน ให้ท่านไปไว้ใช้จ่ายตามสบาย เชื่อว่าถ้าเราบอกกล่าวท่านเจาะจงลงไปเลยว่าเราจะถวายปุคลิกทาน หรือ จะเป็นสังฆทานให้ท่านได้ทราบก็น่าจะดีท่านจะได้แจกแจงทานนั้นๆได้ถูกต้องตามความประสงของเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2013
  13. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    55+ ผมก็ฟังเขามาอีกที เห็นเขาอ่านพระไตรปิฏกจบ นั่งกรรมฐานถอดจิตได้

    อย่าไปเชื่อผมเลย เอาตามสะดวกครับ ... ผมก็แค่พูดเตือนเอาไว้กัน อเวจี

    ผมก็อาจจะโดนเขาหรอกมาเหมือน



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 สิงหาคม 2013
  14. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    เฮียบาปกับบุญมันอยู่ที่เจตนา พระวินัยย่อมเป็นพระวินัย
     
  15. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ผมก็ไม่ได้อ่านพระไตรปิฎกซะด้วย เอาเป็นว่าผมแค่เตือนให้คิดแล้วกัน

    เงินญาติโยมเขาให้สงฆ์ วัดและศาสนาควรจะได้รับเงินนั้นมากกว่าที่จะไปให้ญาติของพระ

    บวชพระ เพื่อช่วยให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง อย่าบวชพระเป็นการทำมาหากินเลี้ยงญาติตน
     
  16. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    การที่คิดเพื่อประโยชแก่ส่วนรวมแบบนี้เป็นเรื่องดี เป็นจิตสำนึกที่ดี ถ้าทุกๆท่านที่บวชมาแล้วคิดดีได้แบบนี้หมดศาสนาขององค์สมเด็จต้องเจริญรุ่งเรื่องทุกยุคทุกสมัยอย่างแน่นอน แต่นี้เรากำลังพูดกันถึงเรื่องตามความเป็นจริงของพระวินัยที่ว่าญาติโยมนำสิ่งของมาถวายพระรูปนั้นๆเป็นปุคลิกทาน แล้วท่านนำของที่ได้มาไปให้โยมพ่อโยมแม่ใช้ มันจะผิดวินัยสงฆ์ไหม?จะบาปไหม? ยังไงก็พูดกันไปตามพระธรรมวินัย ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าศึกษาครับเฮีย:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  17. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    พระบิณฑบาตรเลี้ยงดูพ่อแม่........

    ในครั้งพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ขออนุญาตพ่อแม่ซึ่งเป็นเศรษฐี และต้องการให้ลูกชายครองเรือน แต่ด้วยพ่ายแพ้แก่ความปรารถนาอันแรงกล้าของลูกชายจึงอนุญาตให้บวช ด้วยบุตรไม่ยอมทานอาหารเป็นเวลาถึงเจ็ดวันหากไม่ได้บวช เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ตั้งหน้าเล่าเรียนจนเป็นที่ยินดีแก่ครูบาอาจารย์เป็นอย่างมาก แต่ทางบิดามารดา กลับได้ยากลงทุกวัน ทรัพย์สินที่มีก็ขายเลี้ยงตัวจนสิ้น ขอเล่าด้วยอรรถกถานับแต่ตอนที่บิดา มารดาได้ยากเป็นต้นไป เพื่ออรรถรสในการอ่านของเพื่อนๆ นะคะ
    .................................................................

    จำเดิมแต่สามเณรนั้นบวชแล้ว ลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก.
    สามเณรนั้นยังอาจารย์และอุปัชฌาย์ให้ยินดี.

    อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว เล่าเรียนธรรมอยู่ห้าพรรษา ดำริว่า
    เราอยู่ในที่นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ญาติเป็นต้น หาสมควรแก่เราไม่
    เป็นผู้ใคร่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ จึงเรียนกรรมฐานในสำนักอุปัชฌาย์
    ออกจากวิหารเชตวันไปสู่ปัจจันตคามแห่งหนึ่ง อยู่ในป่าอาศัยปัจจันตคามนั้น.

    ภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาในที่นั้น แม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี
    ก็ไม่สามารถยังธรรมวิเศษให้เกิด. ฝ่ายบิดามารดาของภิกษุนั้นครั้นเมื่อกาลล่วงไปได้ขัดสนลง. คิดเห็นว่า ก็เหล่าชนที่ประกอบการนาหรือพาณิชย์ บุตรหรือพี่น้องที่จะเตือนนึกถึงพาพวกเราไป ไม่มีในสกุลนี้ พวกเขาถือเอาทรัพย์ตามกำลังของตนๆ
    หนีไปตามชอบใจ แม้ทาสกรรมกรในเรือนเป็นต้น ก็ถือเอาเงินทองเป็นต้นหนีไป.

    ครั้นต่อมา ชนทั้งสองจึงตกทุกข์ได้ยากเหลือเกิน ไม่ได้แม้การรดน้ำในมือ
    ต้องขายเรือน ไม่มีเรือนอยู่. ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง นุ่งห่มผ้าท่อนเก่า
    ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานที่นี่ที่นั่น.

    ในกาลนั้น ภิกษุรูปหนึ่งออกจากพระเชตวันมหาวิหาร ไปถึงที่อยู่ของภิกษุบุตรเศรษฐีอนาถานั้น.
    ภิกษุเศรษฐีบุตรนั้นทำอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้นแล้ว นั่งเป็นสุขแล้วจึงถามว่า
    ท่านมาแต่ไหน. ภิกษุอาคันตุกะแจ้งว่ามาแต่พระเชตวัน จึงถามถึงความผาสุกแห่งพระศาสดา และของพระมหาสาวกเป็นต้น แล้วถามถึงข่าวคราวแห่งบิดามารดาว่า

    ท่านขอรับ สกุลเศรษฐีชื่อโน้นในกรุงสาวัตถีสบายดีหรือ.
    ภิกษุอาคันตุกะตอบว่า อาวุโส ท่านอย่าถามถึงข่าวคราวแห่งสกุลนั้นเลย.
    ถามว่า เป็นอย่างไรหรือท่าน.
    ตอบว่า ได้ยินว่า สกุลนั้นมีบุตรคนเดียว เขาบวชในพระศาสนา.
    จำเดิมแต่เขาบวชแล้ว สกุลนั้นก็เสื่อมสิ้นไป.
    บัดนี้เศรษฐีทั้งสองเป็นกำพร้าน่าสงสารอย่างยิ่ง ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน.
    ภิกษุเศรษฐีบุตรได้ฟังคำของภิกษุอาคันตุกะแล้ว ก็ไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้
    มีน้ำตานองหน้าเริ่มร้องไห้.

    พระเถระเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า เธอร้องไห้ทำไม.
    ภิกษุเศรษฐีบุตรตอบว่า ท่านขอรับ ชนสองคนนั้นเป็นบิดามารดาของกระผม
    กระผมเป็นบุตรของท่านทั้งสองนั้น.
    พระเถระจึงกล่าวว่า บิดามารดาของเธอถึงความพินาศเพราะอาศัยเธอ
    เธอจงไปปฏิบัติบิดามารดานั้น.
    ภิกษุเศรษฐีบุตรคิดว่า เราแม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี
    ก็ไม่สามารถที่จะยังมรรคหรือผลให้บังเกิด เราจักเป็นคนอาภัพ.
    ประโยชน์อะไรด้วยบรรพชาเล่า เราจักเป็นคฤหัสถ์เลี้ยงบิดามารดา
    ให้ทาน จักเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
    คิดฉะนี้แล้วมอบสถานที่อยู่ในป่าแก่พระเถระนั้น นมัสการพระเถระแล้ว.

    รุ่งขึ้นจึงออกจากป่าไปโดยลำดับ ลุถึงวิหารหลังพระเชตวัน
    ไม่ไกลกรุงสาวัตถี ณ ที่ตรงนั้นเป็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปพระเชตวัน
    ทางหนึ่งไปในกรุงสาวัตถี.

    ภิกษุนั้นหยุดอยู่ตรงนั้น คิดว่า เราจักไปหาบิดามารดาก่อน หรือจักไปเฝ้า
    พระทศพลก่อน แล้วคิดต่อไปว่า เราไม่ได้พบบิดามารดานานแล้วก็จริง.
    แต่จำเดิมแต่นี้ เราจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ยาก
    วันนี้เราจักเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วฟังธรรม.
    รุ่งขึ้นจึงไปหาบิดามารดาแต่เช้าเทียว คิดฉะนี้แล้ว
    ละมรรคาไปกรุงสาวัตถี ไปสู่มรรคาที่ไปพระเชตวัน ถึงพระเชตวันเวลาเย็น.

    ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง
    ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งสกุลรูปนี้.
    พระองค์จึงทรงพรรณนาคุณแห่งบิดามารดาด้วยมาตุโปสกสูตร.
    ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาถึง ก็ภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่สุดบริษัท สดับธรรมกถาอันไพเราะ.
    จึงรำพึงว่า เราคิดไว้ว่าจักเป็นคฤหัสถ์อาจบำรุงปฏิบัติบิดามารดา.
    แต่พระศาสดาตรัสว่า แม้เป็นบรรพชิตก็ทำอุปการะแก่บิดามารดาได้.
    ถ้าเราไม่ได้มาเฝ้าพระศาสดาก่อนแล้วไป พึงเสื่อมจากบรรพชาเห็นปานนี้.
    ก็บัดนี้ เราไม่ต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตอยู่นี่แหละจักบำรุงบิดามารดา.

    ภิกษุนั้นถวายบังคมพระศาสดาแล้วออกจากพระเชตวันไปสู่โรงสลาก
    รับภัตตาหารและยาคูที่ได้ด้วยสลาก เป็นภิกษุอยู่ป่าสิบสองปี
    ได้เป็นเหมือนถึงความเป็นผู้พ่ายแพ้แล้ว.
    ภิกษุนั้นเข้าไปในกรุงสาวัตถีแต่เช้าทีเดียว คิดว่าเราจักรับข้าวยาคูก่อน
    หรือไปหาบิดามารดาก่อน แล้วคิดว่า การมีมือเปล่าไปสู่สำนักคนกำพร้าไม่สมควร
    จึงถือเอายาคูไปสู่ประตูเรือนเก่าของบิดามารดาเหล่านั้น

    ได้เห็นบิดามารดาเที่ยวขอยาคูแล้วเข้าอาศัยริมฝาเรือน คนอื่นนั่งอยู่.
    ถึงความเป็นคนกำพร้าเข็ญใจ ก็มีความโศกเกิดขึ้น มีน้ำตานองหน้ายืนอยู่ในที่ใกล้ๆ
    บิดามารดาทั้งสองนั้น.
    บิดามารดาแม้เห็นท่านแล้วก็จำไม่ได้.
    มารดาของภิกษุนั้นสำคัญว่า ภิกษุนั้นจักยืนเพื่อภิกขาจาร จึงกล่าวว่า
    ของเคี้ยวของฉันอันควรถวายพระผู้เป็นเจ้าไม่มี นิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด.

    ภิกษุนั้นได้ฟังคำแห่งมารดา ก็เกิดความโศกเป็นกำลัง
    มีน้ำตานองหน้ายืนอยู่ตรงนั้นเอง เพราะได้รับความเศร้าใจ.
    แม้มารดากล่าวเช่นนั้นสองครั้งสามครั้ง ก็ยังยืนอยู่นั่นเอง.

    ลำดับนั้น บิดาของภิกษุนั้นพูดกะมารดาว่า จงไปดู นั่นบุตรของเราทั้งสองหรือหนอ.
    นางลุกขึ้นแล้วไปใกล้ภิกษุนั้นแลดูก็จำได้ จึงหมอบปริเทวนาการแทบเท้าแห่งภิกษุผู้เป็นบุตร.


    ฝ่ายบิดาไปบ้างก็ร้องไห้ตรงที่นั้นเหมือนกัน น่าสงสารเหลือเกิน.
    ฝ่ายภิกษุนั้นเห็นบิดามารดา ก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้จึงร้องไห้.
    ภิกษุนั้นกลั้นความโศกแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งสองอย่าคิดเลย
    อาตมาจักเลี้ยงดูท่านให้ผาสุก ยังบิดามารดาให้อุ่นใจแล้วให้ดื่มยาคู
    ให้นั่งพักในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว นำภิกษาหารมาอีกให้บิดามารดาบริโภค
    แล้วแสวงหาภิกษาเพื่อตน ไปสู่สำนักบิดามารดา ถามเรื่องภัตตาหารอีก
    ได้รับตอบว่า ไม่บริโภค จึงบริโภคเอง แล้วให้บิดามารดาอยู่ในที่ควรแห่งหนึ่ง.


    ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติบิดามารดาทั้งสองโดยทำนองนี้ตั้งแต่นั้นมา แม้ภัตที่เกิดในปักษ์เป็นต้นที่ตนได้มา ก็ให้แก่บิดามารดา. ตนเองเที่ยวภิกษาจาร ได้มาก็บริโภค. เมื่อไม่ได้ก็ไม่บริโภค ได้ผ้าจำพรรษาก็ตาม ผ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอดิเรกลาภก็ตาม ก็ให้แก่บิดามารดา ซักย้อมผ้าเก่าๆ ที่บิดามารดานุ่งห่มแล้ว เย็บปะนุ่งห่มเอง. ก็วันที่ภิกษุนั้นได้อาหาร มีน้อยวัน วันที่ไม่ได้มีมากกว่า. ผ้านุ่งผ้าห่มของภิกษุนั้นเศร้าหมองเต็มที. เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติบิดามารดาต่อมา ก็เป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้นๆ มีตัวดาษ ไปด้วยเส้นเอ็น.

    ครั้งนั้นเหล่าภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมา เห็นภิกษุนั้นจึงถามว่า อาวุโส แต่ก่อนสรีรวรรณะของเธองามสดใส แต่บัดนี้เธอซูบผอม เศร้าหมองไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้นๆ มีตัวดาษไปด้วยเส้นเอ็น พยาธิเกิดขึ้นแก่เธอหรือ. ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่มีพยาธิ แต่มีความกังวล แล้วบอกประพฤติเหตุนั้น. ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดาไม่ประทานอนุญาตเพื่อยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป. ก็ท่านถือเอาของที่เขาให้ด้วยศรัทธามาให้แก่เหล่าคฤหัสถ์ ทำกิจไม่สมควร. ภิกษุนั้นได้ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นก็ละอาย ทอดทิ้งมาตาปิตุปัฏฐานกิจเสีย.

    ภิกษุเหล่านั้นยังไม่พอใจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อโน้นยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไปเลี้ยงดูคฤหัสถ์. พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ ได้ยินว่า เธอถือเอาศรัทธาไทยไปเลี้ยงคฤหัสถ์ จริงหรือ. เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับว่า จริง พระเจ้าข้า. เมื่อทรงใคร่จะสรรเสริญการกระทำของภิกษุนั้น และทรงใคร่จะประกาศบุพจริยาของพระองค์ จึงตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ เมื่อเธอเลี้ยงดูเหล่าคฤหัสถ์ เลี้ยงดูคฤหัสถ์เหล่าไหน. ภิกษุนั้นกราบทูลว่า บิดามารดาของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุนั้น.

    พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการสามครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ แล้วตรัสว่า เธอดำรงอยู่ในทางที่เราดำเนินแล้ว. แม้เราเมื่อประพฤติบุพจริยาก็ได้บำรุงเลี้ยงบิดามารดา. ภิกษุนั้นกลับได้ความเบิกบานใจ. ลำดับนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงประกาศบุพจริยา.แล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าถึงอดีตชาติของพระองค์ที่บำรุงบิดามารดาในชาติที่ทรงเป็น สุวรรณสาม สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  18. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    กระผมมีความคิดเช่นคุณ พสภัธเลยครับ เพราะมีบันทึกไว้แล้วในพระไตรปิฎกชัดเจน
    ของที่ถวายมาให้เป็นส่วนตัวก็คือของส่วนตัว แต่ของที่ถวายมาเป้นสังฆทานจะเป็นของสงฆ์ ดังนั้นพระจะใช้ของส่วนตัวอย่างไร ก็แล้วแต่ท่านครับ

    เห็นมั๊ยครับว่า สิ่งที่เป็นกับสิ่งที่เราคิดมันไม่เหมือนกันเสมอไป ต้องเร่งทำความเห็นให้ตรงกันนะครับ
     
  19. apiraks

    apiraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +508
    ไม่รู้ว่าทราบกันหรือไม่ว่าพระรับเงินทองไม่ได้ ต้องปฏิเสธสถานเดียว

    รับทั้งรู้ว่าเป็นเงินนั้นผิดแน่
    รับโดยไม่รู้ว่าเป็นเงินก็ผิดเหมือนเดิม
    ไม่ใช่เงินแต่พระคิดว่าเป็นเงิน ยังต้องอาบัติทุกกฏเลย ขนาดไม่ใช่เงินนะครับ

    นี่ยังอ้างกันว่ารับเงินไว้ส่วนตัวจะเอาไปทำอะไรก็ได้อีก
    พุทธศาสนาไม่เสื่อมวันนี้แล้วจะไปเสื่อมวันไหน

    ในที่ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
    เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
    พระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ
    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

    ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
    ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
    ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไมเป็น
    ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส
    ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป
    เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น
    อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

    ทรงบัญญัติสิกขาบท
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า

    พระบัญญัติ
    อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ
    ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.



    นิสสัคคิยปาจิตตีย์
    รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    รูปิยะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
    รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

    ทุกกฏ
    ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
    ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

    ไม่ต้องอาบัติ
    ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ.

    อ้างอิงโดย : พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 945
    และ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 939


    ผมเพียงพูดในข้อที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสห้ามไว้นะครับ, หากไม่สอดคล้องความคิดเห็นกับท่านผู้ใด
    ผมขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียว และขออโหสิกรรมไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้เป็นบาปติดตัวกันต่อไปครับ

    ขอเจริญในธรรมทุกท่านนะครับ
     
  20. wichai68

    wichai68 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +154
    ขอช่วยแถลงไขครับ ในพระวินัยมีบอกไว้ครับ ปาฏิบุคลิกทาน คือการถวายส่วนตัว จะนำไปให้ใครไม่ต้องขออนุญาต ดูจากเจตนาของผู้ถวายทานครับ ขอยกตัวอย่าง พระรูปหนึ่งบิณฑบาต มีโยมนิมนต์ถวายบิณฑบาต
    หลังจากถวายบิณฑบาตแล้ว ก็ได้ถวายปัจจัย หรือเงินด้วยแต่ไม่ได้กล่าวคำถวายสังฆทาน นั่นหมายถึงว่าอาหารและปัจจัย หมายถึง ปาฏิบุคลิกทาน แล้วพระท่านก็จะเข้าใจว่านั่นคือปาฏิบุคลิกทาน เวลาท่านจะใช้ปัจจัยในการซื้อยา หรือผ้านุ่งที่ทรุดโทรม ท่านก็ไม่ต้องขออนุญาตสงฆ์ (4รูปขึ้นไป) แต่สังฆทาน เป็นการถวายให้แก่สงฆ์ (4รูปขึ้นไป) ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของเจาะจงแต่เป็นของสงฆ์ คือรูปใดจะใช้ก็ได้ แต่ใครต้อง
    การของสงฆ์ ไม่ว่าพระหรือฆราวาส เช่นต้องการปลากระป๋องที่้ขาถวายให้แก่สงฆ์ไปแจกคนที่น้ำท่วม ต้องทำการขออนุญาตสงฆ์ ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป โดยไม่เดือดร้อนแก่สงฆ์ เมื่ออนุญาตจึงนำของไปใช้โดยไม่มีโทษครับ
    อย่างที่คุณพสภัธกล่าวถูกต้องแล้วครับ
    ส่วนสมมติสงฆ์นั่นท่านเฮียปอเข้าใจผิดแล้วครับ ผมไม่มีเจตนาติเตียนหรือให้ร้ายท่านนะครับ ผมมีเจตนาให้
    ท่านมีสัมมาทิฏฐิครับ ถ้าท่านอธิบายผิดด้วยความไม่รู้เป็นบาปเหมือนกันนะครับ
    สมมติสงฆ์กับพระสงฆ์หรือพระอริยเจ้าก็คือพระครับไม่มีอานิสงฆ์เป็นสังฆทานแต่อย่างใดถ้าถวายเพียงรูปเดียว
    แล้วไม่ได้กล่าวคำถวายสังฆทาน แต่หากท่านถวายดับพระรูปเดียวแต่ไม่ใช่พระอริยเจ้าแต่เป็นสมมติสงฆ์และ
    ใช้คำถวายสังฆทานอานิสงฆ์ที่ได้ก็คือสังฆทานครับ ถวายของแก่สงฆ์ก็คือถวายเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์
    ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปครับ ในพระพุทธกาล มีหญิงสาวมีศรัทธาแรงกล้าเพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น
    จึงได้นำของชั้นดีเลิศมาถวายทานแก่พระพุทธเจ้าถึงที่พำพัก แต่พระพุทธองค์กลับไม่รับการถวายทานของเธอ
    แต่พระพุทธองค์ตรัสแก่นางว่าให้นำไปถวายแก่สงฆ์นางเสียใจมากที่พระพุทธองค์ไม่รับการถวายทานชั้นเลิศ
    จากนางร้องไห้น่าเวทนายิ่งนัก พระพุทธองค์จึงตรัสเหตุผลแก่นางว่า การถวายทานให้กับกับพระพุทธเจ้ามีอานิสงฆ์น้อยกว่าถวายให้กับสงฆ์ (ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป) ในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้านั้นการถวายสังฆทาน
    เพียงครั้งเดียวให้อานิสงฆ์ไปตั้งแต่ปัจจุบันไปจนตราบเข้าพระนิพพานแต่ผลอานิสงฆ์ของสังฆทานก็ยังคงไม่หมด
    หาที่สุดไม่เจอว่าผลสิ้นสุดของการถวายสังฆทานเพียงครั้งเดียวสิ้นสุดเท่าเมื่อไหร่
     

แชร์หน้านี้

Loading...