ปุจฉา! ฉันทะ และ ตัณหา ความเหมือนที่แตกต่าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 8 มิถุนายน 2013.

  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    หลวงพี่ครับ ตรง สัมปธาน นี่ คือ สัมมัปปธาน 4 ไหมครับ
     
  2. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ฉันทะ มี ๓ นัย

    ในระดับไม่ดี มักใช้เป็นกามฉันทะ ตัณหา ความติดใจ ความอยาก พบมากในสำนวน พระสูตร

    ในระดับ ฉันทะ เป็นลักษณะกลางๆ เกิดกับธรรมฝ่ายดี และธรรมฝ่ายไม่ดีก็ได้ นี่ว่ากันในระดับอภิธรรม สัปยุตธรรม

    ซึ่งในระดับฝ่ายดี ท่านก็หมายชื่อ ฉันทะ ซึ่งประกอบในในโพธิปักขิย องค์แห่งการตรัสรู้


    ฟังแล้วอาจจะงงกัน ก็ตอบว่า ถ้าขึ้นฉันทะ สื่อไปทางไม่ดี องค์ธรรมนั้นคือ โลภะ อีกสำนวนเรียกตัณหา

    ทีนี้อยากให้สังเกตุที่ลักษณะธรรมนั้นๆว่า ไม่ได้เข้าข้างตน นึกเอาเอง

    ว่า ความติดข้อง ความพอใจ ความละได้ยากที่ปรากฏอยู่นี้ เป็นสิ่งชอบธรรมแล้ว ^^


    เพราะ ตัณหากับฉันทะ มันคนละเรื่องเดียวกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  3. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เจริญพร
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์

    พุทธบัญญัติ ไม่ให้ปล่อยจิตเพลินกับอารมณ์ (2)
    ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์

    ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

    ทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

    และทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

    ..

    ไม่รู้ขอบข่ายของฉันทะตัวนี้มีมากน้อยเพียงใด อย่างไร ???
     
  5. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    น่าจะเป็นส่วนในการประกอบมรรคครับพี่ป.ปุณฑ์
    ไปมองตรงความตั้งใจ(จิตตั้งมั่น)ซึ่งน่าจะอยู่ในการประกอบกับสมาธิ
    นำสู่ความเพียรที่ถูก
    พอแยกฉันทะ ออกมาเดี่ยวๆ ก็จะนำไปได้ทั้ง กุศล อกุศล และในส่วนของผลแห่งมรรค
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    สัพพเพธัมาอนัตตา ก็ จริง อริยมรรคมีองค์แปดเองก็ เป็น สังขตะธรรม....แต่ธรรมใดเป็นเหตุปัจจัย เพื่อ กุศล เพื่อโน้มเอียงไปทางสุญตา ธรรมนั้น ย่อมเป็นกุศล......เราท่านก็ทราบเรื่องเหตุปัจจัยกันพอสมควร แน่นอนฉันทะ ย่อมเป็นอุปกรณ์หนึ่ง เป็นปัจจัยหนึ่ง ของการ เจริญกุศล ได้ ...ก็ ธรรมดา:cool:
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .........................จากพระสูตรนี้ ก็แสดงถึงเหตุปัจจัย ครับ...:cool:
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....................................................:cool:
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เวลา สนทนาธรรมไปแล้ว แล้ว เราพูดกันในเรื่อง " ละเจตนา "

    แล้ว เกิดมีบุคคลหนึ่งบุคคลใด โพล้งขึ้นมาว่า " แค่คิดจะละเจตนา" ก็ผิดแล้ว

    อันนี้ มันก็เหมือน คนที่เขาภาวนาสติปัฏฐานกันได้ผลอยู่ เสวนากันอยู่ดีๆ
    ก็มีพวก ใช้คิด แทรกเข้ามาในวงสนทนา ทำให้ ชักชวนบทสนทนาถอยหลัง
    ลงคลอง

    ฉันทะ ที่อยู่ใน อิทธิบาท4ก็ดี จะกล่าวใน สัมมัปธาน ก็ดี หากเสวนาไปสัก
    พักแล้ว ก็มานั่ง งง ก่งก๊งว่า เอ แล้วมันทำอย่างไร ฉันทะ จึงมีได้ โดย
    ไม่เจือเจตนา

    ก็ยิ่งชัดว่า ยังอาศัย นึกๆ คิดๆ มาทำกรรมฐานอยู่ สติปัฏฐาน4 ยังไม่เข้าฝัก
    ยังไม่แนบแน่น ยังไม่เห็น อุบาย ในการอบรม

    ก็ถ้า ผู้ภาวนาที่ร่วมสนทนา ทุกคน ทำสติปัฏฐานได้อย่างถูกต้อง ร่องรอย
    ของการหมดเจตนา มันหมดไปตั้งแต่ สติปัฏฐานมั่นคงอยู่ในร่องในรอย
    มาตั้งนานแล้ว

    หาก สติปัฏฐานมั่นคง จิตที่เป็นกุศลมันเกิด ปิติ มันก็เกิด สุขมันก็เกิด
    อุเบกขามันก็เกิด ปัสสัทธิมันก็เกิด .....ความ หมดเจตนา มันเกิดตั้ง
    แต่เห็น ปัสสัทธิได้ถูกต้อง

    ดังนั้น หากคนหนึ่งคนใด มี สติปัฏฐานมั่นคง ไม่คลอนแคลน จะไม่โพล้ง
    ชักชวนให้ งง งวย ไปกับคำว่า " หมดเจตนา " ที่เป็นเรื่องการ คิด เอา

    เสวนาธรรม หากได้ผู้ร่วมเสวนาที่เป็น ที่ถูก จะเป็น มงคล

    เสวนาธรรม หากได้ผู้ร่วมเสวนาที่ไม่เป็น ง่อนแง่น มีแต่ อัปมงคล เท่านั้นที่เกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พอใจในสิ่งนั้น..
    (พอใจในการ..) ..ละความพอใจในสิ่งนั้น...
    ล้วนต้องใช้ฉันทะ ทั้งฝ่ายทุกข์ ฝ่ายดับทุกข์ ?


    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในเสียงนั้นเสีย กลิ่นไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในกลิ่นนั้นเสีย รสไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรสนั้นเสีย โผฏฐัพพะ(การสัมผัสทางกาย)ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในโผฏฐัพพะนั้นเสีย ธรรมารมณ์(สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ)ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย


    ฉันทสูตรที่ ๔
    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอ
    ใจในสิ่งนั้นเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป
    ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่
    เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย
    พึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอ
    ทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐

    ราคสูตรที่ ๔
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่ง
    นั้นเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลายรูปไม่เที่ยง เธอ
    ทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่
    เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่
    ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความ
    รักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
    จบสูตรที่ ๑๑

    ฉันทราคสูตรที่ ๔
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ
    ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย
    เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์
    ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่ง
    นั้นเสีย ฯ
    จบสูตรที่ ๑๒

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=3973&Z=3997
     
  11. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สติปัฏฐานมั่นคง คุ้นๆเน๊อะ ^^

    กิ้วๆ
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    นึกไปเปรียบกับ สัมมัปธานสี่ อยู่เหมือนกัน
    คือทั้งในฝ่ายควรละ และฝ่ายควรเจริญ
    ละอกุศลที่เกิดแล้ว และที่ยังไม่เกิดอย่าให้เกิด
    เจริญกุศลให้เกิด และรักษาที่เกิดแล้ว
    นี่เพราะสติปัฏฐาน ทำให้เกิดสัมมัปธานสี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  13. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ไม่มีประมาณ หาเบื้องต้นเบื้องปลายมิได้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันให้วนอยู่ในปฏิจสมุปบาท
    ทุกข์ใดๆที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต(ที่ผ่านมาแล้วทั้งในชาตินี้และภพชาติีที่ผ่านๆมา)
    และทุกข์ใดๆอันจะเกิดขึ้นในอนาคต ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  14. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งขันธ์ ๕

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมตามระลึกถึงซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า
    หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้น
    . ห้าอย่างไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง รูป นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง เวทนา นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สัญญา นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สังขาร นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;

    ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง วิญญาณ นั่นเทียว ว่า
    “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้” ดังนี้บ้าง.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า รูป ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย (รุปฺปติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป

    สลายเพราะอะไร ? สลายเพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง เพราะความหิวบ้าง
    เพราะความระหายบ้าง เพราะการสัมผัสกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่าเวทนา ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ (เวทยติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา

    รู้สึกซึ่งอะไร ? รู้สึกซึ่งสุขบ้าง ซึ่งทุกข์บ้าง ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สัญญา ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ)

    เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา. หมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ?
    หมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีเขียวบ้าง ซึ่งสีเหลืองบ้าง ซึ่งสีแดงบ้าง ซึ่งสีขาวบ้าง
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สังขาร ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่ง (อภิสงฺขโรนฺติ) ให้เป็นของปรุงแต่ง
    เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร. ปรุงแต่งอะไรให้เป็นของปรุงแต่ง ?

    ปรุงแต่งรูปให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นรูป
    ปรุงแต่งเวทนาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นเวทนา
    ปรุงแต่งสัญญาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสัญญา
    ปรุงแต่งสังขารให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสังขาร
    ปรุงแต่งวิญญาณให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นวิญญาณ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ
    รู้แจ้งซึ่งอะไร ? รู้แจ้งซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ซึ่งความขมบ้าง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง
    ซึ่งความหวานบ้าง ซึ่งความขื่นบ้าง ซึ่งความไม่ขื่นบ้าง ซึ่งความเค็มบ้าง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในขันธ์ทั้งห้านั้น อริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ชัดดังนี้ว่า

    “ในกาลนี้ เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่, แม้ในอดีตกาลนานไกล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว
    เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.
    ถ้าเราเพลิดเพลินรูปในอนาคต, แม้ในอนาคตนานไกล เราก็จะถูกรูปเคี้ยวกิน
    เหมือนกับที่เราถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น”.
    อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
    ย่อมเป็นผู้ไม่เพ่งต่อรูปอันเป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปอนาคต
    ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งรูปอันเป็นปัจจุบัน.


    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกัน
    แล้วตรัสต่อไปว่า)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจะสำคัญความสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร

    รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ?
    “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
    “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ?
    ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา” ดังนี้.
    “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการถามตอบแบบเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
    รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
    “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้.

    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้วตรัสต่อไปว่า)

    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า
    เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ; ย่อมขว้างทิ้ง - ย่อมไม่ถือเอา;
    ย่อมทำให้กระจัดกระจาย - ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ; ย่อมทำให้มอด - ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.

    อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร?
    เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่... ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?
    เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ.

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด,
    เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น,
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

    อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ (ผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว) นี้ เราเรียกว่า
    ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้ว-ดำรงอยู่;
    ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้ว-ดำรงอยู่;
    ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายแล้ว-ดำรงอยู่;
    ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว-ดำรงอยู่.

    ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่
    แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่
    แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

    ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่
    แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่
    แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

    ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่
    แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย
    ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

    ภิกษุนั้น ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่
    แต่เป็นอันว่าทำให้มอด ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
    เธอไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่
    แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.


    ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี
    ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลเทียว กล่าวว่า

    “ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน
    เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่าน อาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” ดังนี้
    .

    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕-๑๑๐/๑๕๘-๑๖๔.

    http://download.watnapahpong.org/data/books/pocketbook08.pdf
    Wunjun Group
    http://www.watnapahpong.org/UserFil...น 8_ อินทรียสังวร/พุทธวจน 8_ อินทรียสังวร.pdf
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สงสัย จะตาปลา จริงๆ
     
  16. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อย่างเช่น เราจะข้ามแม่น้ำโดยมีท่อนไม้เล็กๆท่อนเดียวพาด2ฟากเป็นทางข้าม ไม่มีเชือกให้จับ เราจะเดินยังงัยไม่ให้หล่นลงแม่น้ำ

    หรือ

    การเดินโดยเอาหม้อที่มีน้ำเต็มหม้อขึ้นเทินไว้บนหัวแล้วเดิน จะเดินยังงัยไม่ให้น้ำหก
     
  17. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อย่างเช่น เราจะข้ามแม่น้ำโดยมีท่อนไม้เล็กๆท่อนเดียวพาด2ฟากเป็นทางข้าม ไม่มีเชือกให้จับ เราจะเดินยังงัยไม่ให้หล่นลงแม่น้ำ

    หรือ

    การเดินโดยเอาหม้อที่มีน้ำเต็มหม้อขึ้นเทินไว้บนหัวแล้วเดิน จะเดินยังงัยไม่ให้น้ำหก

    ป.ลิง คอมฯค้าง ถ้าช้ำขออภัย :cool:
     
  18. NASUNAJA

    NASUNAJA Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +82
    บางครั้งคำในตำราผมว่าอย่าไปใส่ใจมันก็ดีนะครับ ปฏิบัติดีกว่า เอาเป็นว่าถ้าอารมณ์ว่างจากนิวรณ์ห้าได้ผมว่ามาถูกทางแล้วละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...