เหตุการณ์ใน-นอกโลก VS ภัยธรรมชาติ และupdate พายุสุริยะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 มกราคม 2011.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    ดูๆ แล้วน้ำเริ่มๆ มาแล้ว....:cool:
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ดีใจที่คุณ Falkman กลับมาทำหน้าที่ ขอให้คุณ Falkman พบแต่สิ่งดีๆ ครับ
     
  3. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    เกิดการปะทุที่ระดับ M.2.9 จากจุดดับ 1777 เมื่อเวลา 03.14 UTC. ตรงกับเวลา 10.14 น.ประเทศไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2013
  4. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    ผลจากหลุมโคโรนาที่หันมาตรงกับโลกเมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านี้ ขณะนี้ลมสุริยะ ทวีความเร็วขึ้นเป็น 469 กม/วินาที ค่า kp เพิ่มไปที่ระดับ 4 สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงใต้ที่-0.1nT

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]
     
  6. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2013
  7. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 21 มิถุนายน เวลา 4:52 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้าง ขนาดใหญ่ที่สุดในรอบ 14 วัน และมีความเร็วสูง โดยทิศทางหลักออกไปทาง-ทิศตะวันออก- จากโมเดลพบว่าพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 22 มิถุนายน เวลา 12-18 UT +/- 7 ชั่วโมง ในช่วงเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับที่ดวงอาทิตย์อยู่ในปริมาณสูง

    สำหรับความสัมพันธ์ทางดาราศาสตร์นั้น เป็นช่วงที่โลกมีเวลากลางวันนานที่สุดในรอบปี (summer solstice Summer solstice - Wikipedia, the free encyclopedia) และยังเป็นช่วงที่โลกเรียงตัวกับดวงอาทิตย์และทางช้างเผือกเป็นเส้นตรง โดยในวันที่ 23 มิถุนายน นั้นเป็นวันที่ดวงจันทร์โคจรใกล้โลกมากที่สุดในช่วงนี้ครับ BBC News - 'Bigger and brighter supermoon' to light up night sky

    ผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกโปรดติดตามสถานการณ์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 24 มิถุนายน ครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ครั้งนี้มีดังนี้
    - ภาพถ่ายดวงอาทิตย์มุมกว้าง มุมมองจากโลก
    CACTUS CME Details
    - ดัชนีจุดดับที่ผิวดวงอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number
    - ภาพถ่ายดวงอาทิตย์มุมกว้าง โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/06/22/ahead_20130622_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายดวงอาทิตย์มุมกว้าง โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/06/21/behind_20130621_cor2_512.mpg
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์ http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=368634929
     
  8. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    ASTRONOMY:
    June 23 2013
    Best time to View is on the Horizon Before Sunset look on EAST
    2013 Perigeeof MOON.
    Closest Approach of Moon On Earth
    Bigger than Usual Full moon
    "SUPER MOON"


    [​IMG]
     
  9. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    เกิดการปะทุที่ระดับ M.2.9 อีกครั้งจากจุดดับ 1778 เมื่อเวลา 20.56 UTC. ครงกับเวลา 03.56 น.ประเทศไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    ตามมาด้วยขนาด C.9.9 จากจุดดับ 1778 อีกครั้งเมื่อเวลา 11.32 UTC. ตรงกับ 18.32 น. ประเทศไทย

    [​IMG]


    ภาพจุดดับ 1778 จาก SDO/HMI

    [​IMG]
     
  11. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 22 มิถุนายน เวลา 12 UT เกิดปฏฺิกริยาดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่มุมกว้าง มีขนาดซึ่งเทียบเท่ากับในวันที่ 21 แต่ทิศทางหลักไปทาง-ทิศตะวันตก- ในช่วงเดียวกันยังพบปริมาณจุดดับขึ้นสูงสุดในรอบ 14 วัน ในวันที่ 24 มิถุนายน เวลา 8:08 UT พบปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์อีกครั้ง เป็นมุมกว้าง -ทางทิศตะวันตก- เหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์ช่วงนี้ยังส่งรังสี X-ray ปริมาณสูงระดับ M2 ออกมาในวันที่ 23 มิย เวลา 20:56 UT จากการคำนวณพบว่าพลังงานจากเหตุการณ์ในวันที่ 24 จะแพร่กระจายมาในวงโคจรของโลกในวันที่ 27 มิถุนายน เวลา 6 UT +/- 10 ชั่วโมง

    ทุกท่านที่สนใจความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติบนโลกที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ครั้งนี้ สามารถติดตามได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 มิถุนายน ครับ

    ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมของเหตุการณ์ดังกล่าวมีดังนี้
    - ภาพถ่ายมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์โดยมองจากโลกวันที่ 22 มิย CACTUS CME Details
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายพลังงานของเหตุการณ์ในวันที่ 24 มิย http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=538822937
    - ภาพถ่ายมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือ วันที่ 24 และ 22 มิย
    http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/06/24/ahead_20130624_cor2_512.mpg
    http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/06/22/ahead_20130622_cor2_512.mpg
    - การปะทุในวันที่ 23 มิย ที่สามารถสังเกตรังสี X ปริมาณสูงออกมา http://spaceweather.com/images2013/24jun13/SSW_cutout_20130623T2043-20130623T2114_AIA_131-193-171_S18E63.mov?PHPSESSID=o0u8k76e8v2vh8ifs0ho0usor7
    - ดัชนีจุดดับขึ้นถึงค่าสูงสุดในวันที่ 22 มิย ESA Daily Sun Spot Number
     
  12. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    พบ 'ซูเปอร์เอิร์ธ' โคจรรอบ 3 ดาวฤกษ์

    [​IMG]

    ค้นพบระบบสุริยะใหม่ มีดาวเคราะห์ 7 ดวง เผยสามดวงมีขนาดใกล้เคียงกับโลก โคจรห่างจากดาวฤกษ์ศูนย์กลาง 3 ดวง ในระยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต อยู่ห่างจากเรา 22 ปีแสงในกลุ่มดาวแมงป่อง
    ดาวเคราะห์ที่อาจมีสิ่งมีชีวิตทั้งสามดวง เป็นบริวารของดาวฤกษ์ กลีส 667ซี โคจรในระยะห่างที่เอื้อให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นมีอุณหภูมิปานปลาง และอาจมีน้ำในสภาพของเหลว

    [​IMG]
    ดาวเคราะห์ Gliese 667 Cb โคจรรอบดาวฤกษ์ Gliese 667C

    ทั้งสามดวงถูกจัดเป็นพวก 'ซูเปอร์เอิร์ธ' เนื่องจากมีมวลระหว่าง 1-10 เท่าของมวลของโลก หากมีเนื้อสารเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศ และมีทะเลสาบหรือมหาสมุทร ดาวเคราะห์ทั้งสามก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิต
    เพราะความที่ Gliese 667C เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 3 ดวง หากใครไปยืนอยู่บนดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่ง ก็จะมองเห็นดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าพร้อมกัน 3 ดวง
    เวลาดวงหนึ่งลับขอบฟ้าไป กลายเป็นตอนกลางคืน ดาวฤกษ์อีกสองดวงจะยังคงสว่างพอๆกับที่เรามองเห็นพระจันทร์เต็มดวงบนโลก

    [​IMG]
    ภาพสมมติ บนพื้นผิวดาวเคราะห์ Gliese 667Cd มองเห็นดาวฤกษ์ศูนย์กลาง Gliese 667C

    ระบบสุริยะที่ว่านี้ อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง หรือพิจิก ห่างจากโลก 22 ปีแสง ดาวเคราะห์ที่อยู่ในอาณาบริเวณรอบดาวฤกษ์ที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตนั้น บนพื้นผิวจะไม่ร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป
    งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้ค้นพบดาวเคราะห์ทั้งสาม และระบุว่าดวงหนึ่งอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ในระยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต แต่ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเพิ่มเติม ทำให้รู้ว่า อันที่จริง ระบบสุริยะนี้มีดาวเคราะห์ 7 ดวง และสามดวงในจำนวนนี้อาจมีสิ่งมีชีวิต
    ดร.กิลเลม อังกลาดา-เอสกูดา แห่งมหาวิทยาลัยโกติงเงน ในเยอรมนี ได้รายงานการค้นพบนี้ ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร Astronomy & Astrophysics
    ดาวฤกษ์ กลีส 667ซี มีมวลน้อยกว่า เปล่งแสงสลัวกว่า และมีอุณหภูมิต่ำกว่าดวงอาทิตย์ของเรา คือ มีมวลราวหนึ่งในสามของดวงอาทิตย์ ดังนั้น ระยะห่างที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตจึงใกล้กว่าดาวฤกษ์ในระบบของเรา

    [​IMG]
    ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ Gliese 667C มีทั้งหมด 7 ดวง สามดวงโคจรในระยะเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

    ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานี้ ดาวฤกษ์ราว 80% เป็นพวกที่มีมวลน้อย นักดาราศาสตร์จึงหวังจะได้เจอดาวเคราะห์ที่โคจรในระยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นอีก
    "ถ้าดาวฤกษ์ที่มีมวลต่ำแต่ละดวง มีดาวเคราะห์บริวารหลายดวง นั่นแปลว่าดาวเคราะห์ที่โคจรในระยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตก็น่าจะมีอยู่เป็นจำนวนมากทีเดียว" นักวิจัยร่วม ดร.รอรี่ บาร์น แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในสหรัฐ บอก
    "แต่ก่อน เราศึกษาดาวฤกษ์ 10 ดวง เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ที่อาจมีสิ่งมีชีวิตให้ได้สักดวง ตอนนี้ เรารู้แล้วว่า เราอาจมองดูดาวฤกษ์แค่ดวงเดียว แล้วก็เจอดาวเคราะห์พวกนี้เป็นโขยง".

    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/3ZKGgge1WPM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ที่มาจาก VOICE TV
     
  13. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    โคโรน่าโฮล ที่หันมาตรงกับโลกเวลานี้

    [​IMG]
     
  14. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    เกิดการปะทุจากจุดดับ 1777 ขนาด C.4.4 เมื่อเวลา 01.55 UTC.ตรงกับ 08.55 น.ประเทศไทย และตามมาด้วยขนาด C.7.3 จากจุดดับ 1778 เมื่อเวลา 03.30 UTC ตรงกับ 10.37 น.ประเทศไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2013
  15. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    "นาซา" ปล่อยดาวเทียมสำรวจดวงอาทิตย์ "ไอริส"

    [​IMG]

    [​IMG]

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ( นาซา ) ของสหรัฐ ปล่อยดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ เพื่อไขปริศนาเกี่ยวกับดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
    นายทิม ดันน์ ผู้จัดการโครงการดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ของนาซา แถลงว่า จรวด "เพกาซุส เอ็กซ์แอล" ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดริมชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเวลา 02.27 น. ตามเวลามาตรฐานสากล ( 09.27 น. ตามเวลาในประเทศไทย ) เพื่อปล่อยดาวเทียมสำรวจดวงอาทิตย์ชื่อ "ไอริส"
    รัฐบาลสหรัฐและนาซาทุ่มงบประมาณกว่า 182 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 5.6 พันล้านบาท ) จัดตั้งโครงการสำรวจดวงอาทิตย์ ที่เป็นการส่งดาวเทียมไอริสไปสังเกตสภาพแวดล้อม และความเปลี่ยนแปลงบริเวณดวงอาทิตย์เป็นเวลา 2 ปีเต็ม โดยใช้กล้องโทรทรรศน์พิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อจับภาพดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ และสามารถส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้ในเวลาไม่กี่วินาที
    อย่างไรก็ตาม เมื่อดาวเทียมไอริสเดินทางเข้าสู่ตำแหน่งแล้ว นาซาจะทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นเวลา 1 เดือน ก่อนปล่อยให้ดาวเทียมเริ่มทำงาน

    [​IMG]

    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/G5MmTI3Qr8o" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2013
  16. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 9:24 UT เกิดปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานออกมาเป็นมุมกว้าง โดยพลังงานส่วนใหญ่ออกไปทางด้านตรงข้ามกับโลก จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางเข้ามาในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 29 มิถุนายน เวลา 9 UT +/- 10 ชั่วโมง ในช่วงเวลาเดียวกันยังพบแนวสนามแม่เหล็กเปิดขนาดใหญ่ซึ่งจะสัมพันธ์กับลมสุริยะความเร็วสูงที่จะผ่านโลกไปในช่วงวันที่ 29-30 มิถุนายน สำหรับความสัมพันธ์ในเชิงดาราศาสตร์นั้นวันที่ 29 เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์เรียงตัวเป็นแนวตั้งฉาก (หรือปรากฏการณ์พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว Moon phase for 29 June 2013 Saturday)

    ส่วนในวันที่ 28 มิย นั้นพบปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์เพิ่มเติมในระดับปานกลาง ด้านเดียวกับโลก ในแนวทิศตะวันตก โดยคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 1 กรกฏาคม เวลา 6 UT +/- 7 ชั่วโมง

    ทุกท่านที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลกที่สัมพันธ์กันได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 1 กรกฏาคม ครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นมีดังนี้
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์จากโลก CACTUS CME Details
    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของคลื่นพลังงานในวันที่ 25 มิย http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=539319556
    - ปฏิกริยาดวงอาทิตย์ในวันที่ 28 มิย จาก solarham.net http://www.solarham.net/pictures/archive/jun28_2013_cme.jpg
    - แนวสนามแม่เหล็กเปิดที่ดวงอาทิตย์วันที่ 25 มิย (พื้นที่สีดำ) Spaceweather.com Time Machine
     
  17. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]
     
  18. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    ระดับความแรงของพายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ที่มากระทบกับสนามแม่เหล็กโลกอยู่ที่ KP-7(G-3)นับว่าสูงที่สุดนับจากต้นปีที่ผ่านมา ความเร็วลมยังไม่สูงตามอยู่ที่ 391 กม./วินาที ค่าสนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงใต้ที่-10.7 nT

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    ความสวยงามอันเป็นผลมาจากพายุแม่เหล็ก G3

    Brilliant Aurora: Our friend Matt Melnyk located near Edmonton, Alberta sends us this great image he captured early this morning at 02:00am local time during the height of the geomagnetic storming. Great shot!

    [​IMG]

    แต่ เอ่อ เอาแค่นี้พอนะครับ
    สวยกว่านี้จะบาละกึ๊ย กันทันโลก :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2013
  20. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    ดูกราฟเห็นค่า K ลดลงแล้ว
    แต่ทาง Solarham บอกว่า
    โลกยังเจอพายุแม่เหล็กอยู่นะ

    แผ่นดินไหวขนาด M6 หายไปหลายวันแล้ว
    โซนร้อนรุมเบีย กำลังจะวิ่งขึ้นฝั่ง
    ท้องฟ้าทางเหนือตอนบ่ายครึ้มทุกวัน
    แต่แดดก็ร้อนนะ อากาศไม่ค่อยดีพักนี้
    รักษาสุขภาพหน่อยนะครับ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...