การปรารถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญพระโพธิสัตว์ จำเป็นหรือไม่ ต้องงดเว้นเนื้อสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Sirius Galaxy, 9 มิถุนายน 2013.

  1. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2013
  2. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    ไปถามคนอินเดียชาติเดียวกับพระพุทธเจ้าซิ จะบอกว่าพระพุทธเจ้ากินมังสวิรัติทั้งนั้น ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่แปลกคนไทยเชื่อตำราไทยๆ ว่าพระองค์กินเนื้อสัตว์ ศึกษาให้กว้างหน่อย อย่าดูเฉพาะของไทย เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่คนไทย เออ......เอาอะไรกะคนไทย ตามใจฉันคือไทยแท้ไม่ใช่หรือ ?..........555555
     
  3. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    เออ......อาหารมื้อสุดท้าย ไม่ใช่เนื้อสุกรอะไรนั่น มันเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกินหรือคล้ายหัวหมู คนอินเดียรู้ดี แต่พี่ไทยแปลมั่ว เข้าข้างตัวเอง แต่เดี๋ยวนี้รู้แล้ว แต่ทำเป็นไม่รู้เพราะติดเนื้อสัตว์
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    กายกินเจ แต่ใจเบียดเบียน กินไปทำไม?
     
  5. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154

    เข้าตำรา "เหยียบมดไม่ตาย แต่เหยียบควายขาหัก" เลยครับ

    ตั้งเเต่บรรพบุรุษ จนมาถึงปัจจุบัน เราไม่มักง่ายขนาดนั้น

    ไม่เช่นนั้นคงไม่สืบสานชาติ และศาสนา

    มาจนถึงรุ่นเราหลอก jaah.
     
  6. Asvel

    Asvel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +822
    ผมว่าคงจะแล้วแต่ความสะดวกและเหตุผล-ความจำเป็นของแต่ละบุคคลมั๊งครับ แต่คิดว่าถ้าเป็นท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิคงจะต้องทำเพื่อให้รู้ ให้เข้าใจ ซึ่งคงไม่แน่นอนแล้วแต่เหตุผลและสถานภาพ ใครจะทานอะไรก็ต้องคำนึงถึงกำลังใจและหน้าที่เป็นหลัก

    ผมกินมังสวิรัติ แต่พอได้ไปทำงานพวกใช้แรงมากๆ(ก่อสร้าง) พบว่าเหนื่อยแทบตายและฟื้นกำลังลำบากมากๆ นี่มันก็เป็นความลำบากของการกินมังสวิรัติที่ ผิดกาล ผิดสถานภาพครับ ก็เกิดโทษได้พอๆกับเกิดคุณ คิดว่าจะกินอะไรก็คงต้องตามแต่สมควรแก่กาลด้วยครับ

    แต่สำหรับพทุธภูมิวิสัยนี่ผมก็ไม่สามารถจะแสดงความคิดเห็นได้
     
  7. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    อ้างอิงข้อความเดิม คุณตราใจ
    ไปถามคนอินเดียชาติเดียวกับพระพุทธเจ้าซิ จะบอกว่าพระพุทธเจ้ากินมังสวิรัติทั้งนั้น ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่แปลกคนไทยเชื่อตำราไทยๆ ว่าพระองค์กินเนื้อสัตว์ ศึกษาให้กว้างหน่อย อย่าดูเฉพาะของไทย เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่คนไทย เออ......เอาอะไรกะคนไทย ตามใจฉันคือไทยแท้ไม่ใช่หรือ ?..........555555
    เออ......อาหารมื้อสุดท้าย ไม่ใช่เนื้อสุกรอะไรนั่น มันเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกินหรือคล้ายหัวหมู คนอินเดียรู้ดี แต่พี่ไทยแปลมั่ว เข้าข้างตัวเอง แต่เดี๋ยวนี้รู้แล้ว แต่ทำเป็นไม่รู้เพราะติดเนื้อสัตว์

    .....พูดอย่างนี้เหมือนดูถูกคนไทยดูถูกบรรพบุรุษไทยนี่ คุณใช่คนไทยหรือเปล่าเนี่ย พูดอย่างนี้สมเด็จพระนเรศวรได้ยินเข้านี่ถูกสั่งกุดหัว ๗ ชั่วโคตรแน่นอนเลยนะครับ คุณก็ศึกษาให้มันกว้างๆหน่อย ประวัติศาสตรชนชาติไทยเคยได้เรียนมาบ้างหรือเปล่า สมัยพระเจ้าตวันอธิราชเนี่ยแผ่นดินไทยกว้างขวางกินประเทศเมียนมาร์เกือบทั้งประเทศ.....คุณตราใจเนื้อสุกรมัทวะ ที่นายจุนทะถวายพระพุทธเจ้าในวันปรินิพพานนั้น เป็นเนื้อหมูจริงๆครับ ไม่ใช่เห็ดอย่างที่คุณว่าหรอกนะ เป็นเนื้อหมูอ่อนที่อร่อยที่สุด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาปรินิพพานที่นางรังทั้งคู่ที่พระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย บ้านนายจุนทะที่ถวายอาหารเนื้อสุกรมัทวะเป็นบิณฑบาตครั้งสุดท้ายแก่พระพุทธเจ้านั้นอยู่ในเขตประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน ไม่ใช่ประเทศอินเดียสักหน่อย พวกคุณนี่อะไรๆก็ยกไปเป็นความดีของแขกหมด พระพุทธเจ้าพระองค์เป็นคนไทยอาหมพระองค์ไม่ฝากพระศาสนาไว้กับพวกแขกที่มีรากนับถือศาสนาพราหมณ์หรอก เคยได้ยินคนโบราณว่าป่าว เจอแขกกับงู ให้ตีแขกก่อน ไม่แปลกใจหรือทำไมพระพุทธศาสนาถึงตั้งมั่นยั่งยืนเจริญรุ่งเรืองที่ประเทศไทย เพราะดินแดนสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยนี้ พระพุทธเจ้าตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ทรงมาเกิดสร้างบารมีบ่อยมากๆ ขอร้องอย่ายกเอาพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมาอ้าง เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนให้พระศากยบุตรพุทธชิโนรสทั้งหลายอยู่ง่ายฉันง่าย ญาติโยมมีอะไรถวายก็ฉันอย่างนั้น พระเทวทัตก็ยังเคยขอพรให้พระไม่ฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต จนเกิดเป็นสังฆเภททำสงฆ์ให้แตกกัน แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงห้ามว่า ญาติโยมเขากินยังไงพระก็ต้องฉันตามที่ญาติโยมถวาย จะเลือกกินเหมือนเป็นโยมไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามมังสะ ๑๐ ประการ ถ้าพระองค์ใดฉันเป็นอาบัติทุกกฏ สงสัยคงอยากไปอยู่กะพระเทวทัต พระเทวทัตว่าชั่วแต่ท่านมีคติแน่นอนว่าจะได้ตรัสเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะก่อนพระศรีอาริย์มาตรัสรู้ แล้วพวกคุณล่ะมีคติแน่นอนเหมือนพระเทวทัตหรือเปล่า กินเนื้อหรือไม่กินก็พูดกันเฉพาะเราท่านที่เป็นคฤหัสถ์มีลูกมีเมีย อยู่ในศีล กินในซิ่น(ผ้าถุง) อย่าลากพระเข้ามาเกี่ยวจะดีมั้ย เดี๋ยวได้ไปนรกตามๆกัน ตามใจแต่ละท่านครับกินไม่กินท้องใครท้องมัน อิ่มใครอิ่มมัน ข้อสำคัญอย่าทำให้ใครเดือดร้อนก็พอ เหมือนปัญหาว่า ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน ปัญหาโลกแตกใครตอบได้มั่ง??????????
    .....ลองอ่านดูครับข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าสอน คณกะโมคคัลลานะพรหมณ์
    คณกะโมคคัลลานะสูตร
    [๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคาร
    มารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะ
    โมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับ
    พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
    ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่
    พระโคดมผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการ
    ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่าง
    ของบันไดชั้นล่าง แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ
    กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบ
    เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ
    คือ ในเรื่องใช้อาวุธ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
    ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ
    ในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง
    หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
    หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ
    หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจ
    หรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ
    โดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ
    [๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
    โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ
    เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร
    ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
    ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
    อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
    ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ
    [๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
    ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
    ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ
    มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
    จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
    อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ
    อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
    เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วย
    ชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
    แล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
    มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรม
    อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน
    มนินทรีย์เถิด ฯ
    [๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
    ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ
    ในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ
    จะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
    บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก
    เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้
    เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย
    จักมีแก่เรา ฯ
    [๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต
    ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
    ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
    จงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
    จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว
    ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด
    มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
    จงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ
    [๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้
    ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้
    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
    ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ
    บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
    ปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ
    [๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
    ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ
    อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ
    ลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
    ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
    ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา
    ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
    ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
    ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีน-
    *มิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
    ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
    มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา
    แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อม
    ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
    [๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
    ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า
    ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
    ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
    ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์
    เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
    พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
    อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
    อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
    ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
    นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ
    สัมปชัญญะ ฯ
    [๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัล-
    *ลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดม
    ผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุก
    รูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บาง
    พวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
    ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ใน
    เมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ
    ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ
    โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ
    ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
    [๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
    ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ
    ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ
    ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา
    จะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า
    ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์
    แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด
    ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น
    ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
    จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่า
    รื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด
    กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์
    พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
    ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์
    ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
    หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า
    รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมือง
    ราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดย
    สวัสดี ดูกรพราหมณ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์
    ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอัน
    ท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม
    คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ฯ
    ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า
    เป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ
    [๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็
    ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา
    อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความ
    สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้
    ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ
    [๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมค-
    *คัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวกที่
    ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
    โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจา
    เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ
    กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
    ทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
    หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก
    คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มี
    ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคน
    เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล
    คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่ง
    ความเป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติ
    มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าใน
    ความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่น รู้สึกตัว
    มั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ
    ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่
    มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่น
    จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
    ฉันใด โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
    เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า
    แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
    เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
    หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น
    ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
    ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
    ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
    จบ คณกโมคคัลลานสูตร ที่ ๗

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2013
  8. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    กินอะไรก็กินไปเถอะครับ
    ขอให้การกินนั้นๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสะสม เพลิดเพลินสนุกสนาน
    เเต่เพื่อดำรง สืบเนื่องเเห่งกาย เอาไปใช้เพื่อทำความดี
    อะไรที่กินเเล้ว ไม่จำเป็น ไม่สบายใจ ก็อย่ากินแค่นั้นละครับผมว่า

    แต่การฆ่า นี่ซิ อย่าพยายามฆ่าหรือสั่งให้ฆ่าด้วยเจตนาไม่ว่ากรณีใดๆ
    เพราะเจตนาเราหวังว่าเราไม่ฆ่า ไม่ใช้ให้คนอื่น ไม่ขอร้องให้ใครฆ่า ไม่ได้คาดหวังให้ใครฆ่า
    ประกาศก้าวเลยว่า ไม่มีคนฆ่า เราก็ไม่กินจากใจ เราพร้อมจะกินตามมีตามได้
    ถ้าทำอาหารเอง เราก็ไม่ฆ่า ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่า เพื่อทำอาหาร
    ถ้าไม่ได้ทำเอง ก็อย่าสั่งให้ฆ่าไว้ ไม่ให้ฆ่าเพิ่ม ให้ทำเฉพาะที่มีอยู่ ตามมีตามได้
    ไม่ต้องคิดต่อ จบนะครับ
    เพราะถ้าคิดเเล้วสงสัยว่าเขาฆ่าให้เรา ก็จบเลย เนื้อนั้นไม่สมควรแก่เราเเล้ว
    เรามีส่วนในการฆ่าสัตว์นั้นๆแล้ว

    ทุกครั้งที่กิน ไม่ว่าจะผักหรือเนื้อสัตว์เรา อาจมีหรือไม่มีกิเลสก็ได้ มีความยึดถือได้
    แต่ทุกครั้งที่ ต้องการฆ่าด้วยเจตนา ใจเราเจือกิเลสแน่นอน เพราะถ้าเราไม่มีกิเลสเราจะไม่มีเหตุผลในการฆ่าเลย
    สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  9. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    ไม่ได้เข้ามาร่วมคุยนานแล้ว ยังไม่เลิกเถียงกันเรื่อง "กินซากพืชหรือซากสัตว์" อย่างไหนดีกว่าอีกรึ ?
    พวกเราทั้งหมดล้วนกิน "ซากศพ" ทั้งนั้นแหละครับ ลองพิจารณากันดูเถอะครับว่ามันมีอะไรบ้างที่จะใช้คำว่า "บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน" ได้... มันไม่มีหรอกครับ กินไปก็พิจารณาดูใจไปครับ หลงมั้ย ? ถ้ากินแล้วเพลินในการกิน ก็มีค่าเท่ากัน ไม่ว่า ซากพืช หรือ ซากสัตว์
    ก็ว่าไปกันไปนะครับพิจารณากันตาม จริต ตาม นิสสัย
     
  10. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    หลวงปู่แหวนเคยพูดเอาไว้ว่า วัว ควายกินแต่หญ้าไม่เห็นเป็นอรหันต์สักตัว
    ผมว่ามันอยู่ที่ใจต่างหาก ถ้าคุณกินผักกินหญ้าแล้วติดก็ไม่พ้นโลกอยู่ดี เอาเวลาไปสนใจศีล 5 ศีล 8 ดีกว่าน่ะ หรือ กุศลกรรมบถ 10 ก็ดีกว่าเยอะเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...