ถามเป้าหมายของการนั่งสมาธิ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หัดนั่ง, 4 มิถุนายน 2013.

  1. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    (ต่อ)
    .และถ้าเข้าใจวิธีการเดินปัญญาด้วยการตามดู ให้จิตได้รับรู้ ได้เห็น..ด้วยความเป็นจริง
    ในปัจจุบันด้วยสภาวะความเป็นกลาง..
    ในช่วงขณะที่ใจเป็นกลางกำลังสมาธิจะยกขึ้นระดับปฐม
    ฌานและจะเป็นเหตุให้ปัญญาค่อยๆเกิดขึ้นได้และสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ....

    ซึ่งในช่วงนี้หากกำลังสติเริ่มมีมากขึ้นและกำลังสมาธิสะสมมีมากขึ้นจากการเจริญสติใน
    ชีวิตประจำวันประกอบกับเริ่มมีปัญญาบ้างแล้ว..จะสามารถมาเดินปัญญาต่อในช่วงที่จิตเป็นทิพย์ได้
    และจะสามารถตัดกิเลสส่วนหยาบๆได้เร็วแต่ภายหลังออกจากอารมย์นี้จิตจะยังฟูได้อยู่จากกิเลสส่วนละเอียด.

    ..ส่วนใครที่กำลังสติและกำลังสมาธิมากกว่านี้และปัญญาสะสมเพิ่มขึ้น
    .และสามารถกลับไปเดินปัญญาในระดับกำลังฌาน ๔ ได้..โดยไม่หลุดไปค้างเติ่งในโหมดอรูปฌานแบบไม่สามารถทำอะได้.
    หรือสภาวะที่ผู้ที่เก่งสมาธิหลายๆท่าน..เข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะนิพพานนั้น.
    .หรือที่ คุณ ลุงหมาน อธิบายผลเสียไปแล้ว ยกเว้นผู้ที่ไปอรูปฌานเพื่อต่อยอดสมาบัติ ๘ หรือต่อยอดปฏิสัมภิทาญานถึงจะไม่เข้าใจสภาวะนี้ผิด..

    จะทำให้สามารถตัดกิเลสละเอียดที่ทำให้จิตฟูแบบที่ยังขึ้นจากอารมย์อารมย์ที่จิตเป็นทิพย์ได้..
    หากเข้าสู่กำลังฌาน ๔ นี้อีกไม่ได้.ก็ต้องตามดูด้วยความเป็นจริง
    ด้วยใจที่เป็นกลางสำหรับตัดส่วนกิเลสที่ทำให้จิตฟูก็จะ
    สามารถตัดกิเลสได้เหมือนกันแต่ต้องทำบ่อยๆ.จะไม่เหมือนการตัดด้วยกำลังระดับฌาน ๔..
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    (ตอนจบ) ประเด็นที่ไม่ได้เริ่มต้นในกำลังระดับฌาน ๔ อย่างที่ คุณ อินทรบุตร เข้าใจ ณ ตอนนี้.
    ก็สามารถที่จะใช้กำลังสมาธิเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย..เพื่อเริ่มต้นเดินปัญญาได้เช่นกัน

    หากมาสร้างสติด้วยวิธีการใดๆก็ตามขอให้ฐานอยู่ที่กาย.ที่เห็นคือการใช้
    วิธีสติปัฏฐาน ๔ เพื่อเป็นการสร้างกำลังสติทางธรรม.และบังคับให้อยู่ที่ฐานกายไปในตัว
    ซึ่งวิธีนี้จะตัดความเสี่ยง..แบบที่คุณ Phanudet เข้าใจในเริ่มต้นได้ดีกว่า..

    เพราะถ้าเริ่มด้วยกำลังฌาน ๔ แล้วไม่มาสร้างสติทางธรรมต่อเพื่อเดินปัญญา จะมีโอกาสที่จะไปติดความสามารถพิเศษ..ที่นำไปใช้งานที่ไม่ใช่ทางธรรมได้..
    และมีโอกาสจะกลายเป็นมิจฉาทิฐิได้แบบไม่รู้ตัว..
    ซึ่งถ้าพลาดแล้วจะกลับตัวอยากมาก..เพราะจะคิดว่า
    ความคิดตนเองถูกต้องที่สุด วิธีการตนถูกต้องที่สุด
    ดีที่สุดใครเห็นแย้งไม่ได้.ยอมรับฟังความคิดของบุคคลอื่นๆได้ยาก.
    .และมักคิดว่าตนเองเก่งที่สุดใครเห็นแย้งก็มักอ้าง
    ระดับสูงสุดหรือไม่ก็อ้างเรื่อง บาป บุญคุณโทษหากใครมาแย้งกับตน
    และตั้งเป้าที่จะเอาชนะคนอื่นเพื่อยกตน ไม่ยอมรับบุคคลคนอื่นหากมีความดีมากกว่าตนและมิได้ตั้งเป้าที่จะมาดูใจตน
    เพื่อชนะตนเอง....

    เพราะฉนั้นการเริ่มต้นด้วยสติปัฏฐาน ๔ จะป้องกันเรื่องทำนองนี้ได้ดี..พอฝึกไประดับ
    กำลังสมาธิสะสมจะทำให้ขึ้นปฐมฌานได้..และยกระดับความเป็นทิพย์.ทำให้สามารถ
    พิจารณา..กายาฯจากการดึงลมหายลมหายใจมาไว้ที่กาย..ยิ่งได้พิจารณาอสุภะร่วมด้วย
    จะน้อมให้จิตตัดร่างกายได้เร็วขึ้น..และจะเริ่มเห็นเวทนานุฯได้.
    ในช่วงที่กำลังตามลมหายใจเพื่อให้อยู่ที่กาย.เนื่องจากจะเห็นจากช่วงที่การตามลมหายใจขาดๆหายๆไป..
    และเห็นจิตตานุฯได้หากสามารถตามลมหายใจได้ต่อเนื่อง..และในความเปลี่ยน
    แปลงจากทั้ง กายานุฯ เทวนานุฯ และ จิตตานุฯ นั้นเป็นผลทำให้เห็น ธรรมมานุฯได้ในลำดับต่อมาได้เอง....

    ส่วนท่านที่เริ่มต้นด้วยกำลังสมาธิเล็กน้อย..หากค่อยๆเดินปัญญาไปเรื่อยๆ.แม้จะไม่ทราบ
    ลักษณะกิริยาต่างๆของจิตเท่ากับ สติปัฏฐาน ๔ หรือ แบบกำลังฌาน ๔ แม้จะสุ่มเสี่ยง
    ที่จะเผลอไปคิดว่า ความคิดที่เกิดจากจิตเป็นสติและปัญญา.แล้วเผลอไปนำไปวิปัสสนา
    หรือที่เราเรียกว่าวิปัสสนึกคือ ปัญญาที่ไม่สามารถตัดกิเลสได้จริง..

    แต่ถ้าหากว่ามีสัจจะในการลดกิเลสแต่ละตัวร่วมด้วยแล้ว..จะสามารถมีปัญญาลดกิเลส
    ได้เหมือนกันในอนาคต.แต่จะใช้เวลานาน..และช่วงที่เดินๆปัญญาไปนั้น.จะสามารถ
    แยกรูปได้นามได้เหมือนกัน.ความสามารถพิเศษบางอย่างก็มีได้
    เหมือนทั้งสติปัฏฯและฌาน ๔..และสามารถไปสู่จุดหมายได้เหมือนกับทั้ง ๒ กรณีที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเช่นเดียวกัน..

    ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นแค่หยาบๆ.ให้พอเข้าใจซึ่งจะเห็นว่าเราจะไปชี้ชัดว่า
    ต้องกำลังระดับไหนถึงจะเป็นสัมมาสมาธิหรือว่าเป็นสัมมาทิฐิเสียเลยที่เดียว
    ก็ไม่ได้..เพราะไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยกำลังระดับไหนก็มีส่วนสัมพันธ์
    และเกี่ยวข้องได้หมดที่สำคัญก็ถึงปลายทางได้เหมือนกันหมด.
    ด้วยเหตุและปัจจัยร่วมทั้งจริตที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล..หวังว่าจะเข้าใจที่สื่อนะครับ.ขอบคุณมากครับ.​
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ต่างคนต่างความคิด ต่างคนต่างการปฏิบัติ ต่างคนต่างสำนัก ต่างคนต่างความเข้าใจ....

    ต่างคนต่างปริยัติ ต่างคนต่างปฏิบัติ ต่างคนต่างปฏิเวธ.....

    กรรมฐานในสมเด็จพระพุทธเจ้าแบ่งย่อย ๔๐ แบบ รวมทั้งแบบกรรมฐานในสติปัฏฐานสูตรที่แบ่งเป็น ๔ หมวดใหญ่อีก ....มันไม่แปลกที่จะเข้าใจต่างกัน แต่เรารวมกันได้ถ้าเรานับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน กล่าวคือนับถือพุทธพจน์ของพระองค์เป็นเกณฑ์เป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยธรรม.....

    ผมรู้แต่ว่าในสิ่งที่ผมพูดไปทั้งหมด ล้วนแต่เป็นของครูบาอาจารย์ ไม่ใช่ธรรมของผม ผมไม่ได้คิดเอาเอง พร้อมทั้งยกแหล่งที่มาให้ชัดเจนสามารถให้ผู้อ่านตรวจสอบได้เสมอมา ถ้าผมเสนอความจริงใดที่เป็นที่กระทบใครไป ทำให้ท่านใดไม่พอใจ ผมก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นเดิมแล้ว ไม่ใช่ของผม .....ผมเพียงแค่นำเสนอในส่วนที่ผมทราบที่ผมเข้าใจผ่านการได้ยินได้ฟังมาจากหลายๆที่ เพื่อให้ผู้อ่านเขาให้ไปพิจารณากันเอง......ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2013
  4. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    อ่านแล้ว ได้ ตี ตัว "อวด" มาเป็น ปัญญา สว่างดีครับ

    มองในมุมที่ดี แล้วจะเห็น ปัญญา ที่ สว่างไม่เคยดับ สาธุ
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    คุณ nopphakan ยิ่งอธิบายยิ่งเข้ารกเข้าพงพงให้เข้าใจผิดไปกว่าเดิมเสียอีก
    มหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น ถ้าคนที่ได้ฌานสมาบัตินะ... เขาได้มหาสติด้วยนะครับ
    คุณปฏิบัติมานานก็น่าจะทราบ ว่าคนที่เขาทรงฌานนะ เขาได้สติปัฏฐานในด้านจิตและธรรม
    สมาธิมันเป็นทางขรุขระ เป็นป่ารกชัฏในตอนแรก แต่พอเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
    มันก็เป็นทางเรียบถนนสายซุปเปอร์ไฮเวย์

    เรื่องสัมมาสมาธิก็เหมือน ถ้าปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน ไม่ครบถ้วนเต็มบรรพ
    มันก็อาจจะปฏิบัติไป มีมิจฉาทิฏฐิไปก็ได้
    การปฏิบัติตามแนวมหาสติปัฏฐาน ที่ว่าปฏิบัติๆกันนั้น
    ถ้าไปวัดปฏิบัติแค่ ๓ วัน ๗ วัน แล้วกลับมาทำเองไม่ศึกษาเพิ่มเติม
    ก็อาจจะเป็นมิจฉาปฏิบัติได้เหมือนกัน แถมพกมานะมาอีกต่างหาก
    เพราะอะไร ก็เพราะว่าสำนักปฏิบัติ เคยมั้ยละที่จะแจกมหาสติปัฏฐานสูตรให้นักปฏิบัติอ่าน
    แล้วก็สอนตามพระสูตร....
    ท่านสอนโดยใช้วิธีรวบรัด ตัดความ ซึ่งก็เป็นเรื่องดี
    เพราะถ้าจะด้นตามพระสูตรทั้งหมดก็อาจจะต้องอบรมกันเป็นเดือนๆ
    เอาแค่บรรพแรก อานาปานบรรพ นี่ท่านให้กายระงับกายสังขาร นั่นคือ อัปปนาสมาธิแล้วนะครับ
    แล้วยังมีพ่วงท้ายอีกต่างหาก ให้เลิกยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวง
    ซึ่งตรงนี้โดยมาก มักจะสอนวิปัสสนากันแค่ ไตรลักษณ์... ซึ่งยังอ่อน ยังเบื้องต้นอยู่มาก
    มากเกินกว่าที่เขาจะนำกลับไปปฏิบัติพิจารณาต่อเองที่บ้านได้

    ในความเห็นของผม ผมกลับมองว่า มหาสติปัฏฐานนั้น
    ถ้าจะนำมาสอนกัน ควรจะปรับรูปแบบการสอนใหม่
    และก็อย่าลืมว่า พระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้เฉพาะเจาะจงที่เมืองหนึ่ง
    ที่ชาวเมืองมีจิตใจลึกซึ้งละเอียดเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เรื่องทั่วไปที่จะปฏิบัติกันง่ายๆ
    ต้องพร้อมจริงๆ
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สติปัฎฐานสูตร = เธอจงมีสติ

    ใช่หรือไม่?
     
  7. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    แหม!..พอไปใช้คำว่า สามารถ..สามารถ..อะไรได้นี่

    ถ้าทำอย่างนั้นแล้วจะสามารถละไอ้นั่นไอ้นี่ได้เท่านี้

    ถ้าทำอย่างนี้ต่อไป จะสามารถละไอ้นั่นได้อีกเท่านี้

    ต่อไปเรื่อย ๆ จะละได้เท่านั้นเท่านี้

    ดูมันมีความสามารถมากนะ มันมีตัวเก่งมาก ๆ ขึ้นมา เห็นไหม

    นี่มันเป็นอัตตาทั้งนั้น ภาษามันก็ฟ้องความมีอัตตาได้เหมือนกันนะครับ

    ครูบาอาจาย์ผมก็ใช้วิธีนี้ในการตรวจสอบการปฏิบัติของลูกศิษย์เหมือนกัน



    สำหรับการปฏิบัติอย่าไปเอาอะไร ยิ่งเมื่อเริ่มเข้าใจจริง ๆ แล้ว จะเห็นว่า

    มันไม่ใช่เรื่อง มันไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของความมีอุปาทานเลย

    มันเป็นเรื่องของความโง่ที่เรายังมีอยู่หลงอยู่ก็เท่านั้นเอง อวิชชาเป็นปัจจัย ฯ

    ก็รู้ ละ ปล่อยวางเอา อีกหน่อยพอมันเห็นทุกข์เห็นโทษมาก ๆ เข้า มันก็เลิก

    จับแล้วรู้ว่ามันร้อน ก็เลิกจับ ๆ ไป ไม่ไปทำอย่างนั้น ไม่ไปในทางนั้นอีก

    ไอ้ประเภทเก็บแต้ม ทำคะแนนไปเรื่อย ๆ นี่ต้องเลิก พวกนี้เป็นอาการตัณหาแทรกทั้งนั้น


    ลองดูให้ดีนะครับ
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....................สัมมาสติ องค์หนึ่งแห่งองค์มรรค ก็ คือ สติปัฎฐานสี่ นั่นเอง:cool:
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .........................พระสูตรนี้แหละครับ:cool: มีพอเหมาะ คือ มีเพียงพอ....นั่นแหละผู้เริ่มภาวนาหรือผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรม สัมมาทิฎฐิ นั้นย่อมไม่บริบูรณ์100เปอร์เซ็นต์...แต่จะมีแค่ใหนก็สามารถ เริ่มภาวนาได้
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    โดยปกติแล้ว จิต ของปุถุชน ย่อมถูกนิวรณ์ 5 ครอบงำ
    1.กามฉันทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    2.พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    3.ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    4.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิด
    5.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด

    การนั่งสมาธิ ก็เพื่อให้จิตใจของเรา ไม่ถูกครอบงำจากนิวรณ์ 5 ดังกล่าว
    เมื่อไม่ถูกครอบงำ จิตก็เป็นสมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่น เป็นหนึ่งเดียว จะพิจารณาสิ่งใด ๆ ก็ทำได้อย่างดี ทำงานใด ๆ ก็ได้ดี เรียนหนังสือก็ได้ดี นี่คือ เป้าหมายของการนั่งสมาธิในพระพุทธศาสนา

    ส่วนจิตนั้น บังคับได้หรือไม่ ??

    เมื่อจิตไม่สามารถบังคับได้ ก็เหมือนสัตว์ 6 ชนิด ที่ผูกติดไว้กับหลัก เมื่อปล่อยออกไปเมื่อใด มันจะออกไปตามที่มันอยากจะไป คือเปรียบเหมือน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ .....ย่อมจะสอดส่ายไปตามหน้าที่ของมัน เมื่อใดที่เราสามารถควบคุม สำรวม สิ่งทั้ง 6 นี้ ได้แล้ว มันก็จะเหมือนถูกผูกอยู่กับเสาหลัก ไม่ไปตามที่มันอยากจะไป แต่มันจะถูกคุมได้ บังคับได้ ไม่ให้ไปตามที่อยากจะไป

    พิจารณาให้เกิดปัญญา นะครับ.....
     
  11. หัดนั่ง

    หัดนั่ง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอบคุณมากนะครับ ทุกท่าน ผมจะนำคำแนะนำไปวิเคราะห์และศึกษาให้เข้าใจมากยิ่งๆๆขึ้นไปครับ
    ขอให้ผลบุญที่ได้สนทนาธรรมในครั้ง ทั้งผู้อ่านก็ดี ผู้โพสก็ดี ขอให้ผลบุญส่งผลให้ เป็นปัจจัยบรรลุมรรคผลนิพพาน ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยเถิด
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ก็ในสติปัฏฐานสูตร พระสูตรต้นหลักของสายวิปัสสนากรรมฐาน ยุบหนอพองหนอ นั่นหละ พระพุทธเจ้าสอนฌาน ๔ ชัด ใน สัจจบรรพ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ....

    ที่นักปฏิบัติน้อยคนนักที่จะมองเห็น ไม่ก็มองเลยไปทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น (ไม่รู้อะไรมาบังตาและบังใจ)

    นี่ผมเห็นด้วยกับคุณ firstini ก็ตรงนี้หละครับ


    ข้อนี้หละคือจุดด้อยของนักปฏิบัติที่ไม่รู้จักตรวจสอบสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา จนจำมาผิดๆ หินทับหญ้าบ้าง วิปัสสนาอย่างเดียวบ้าง ฝึกแต่สติไม่ฝึกสมาธิบ้าง อย่างนี้หละ...แล้วก็กอดความเห็นความคิดเดิมนั่น...เห็นมาเยอะ มิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น....บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอน....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    สายวิปัสสนากรรมฐาน ควรที่จะฟังพระธรรมเทศนาของท่านสยาดอภัททันตะวิโรจนะ มหาคันถวาจกบัณฑิต มหากัมมัฏฐานาจริยะ แห่งวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน อำเภอท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า พระผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐาน พระวิปัสสนาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนากรรมฐาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ที่อนาคตจะเป็นกำลังหลักของสายวิปัสสนากรรมฐานในไทย) .....ท่านกล่าวชัดเจน ไม่รู้จะกี่รอบในคำว่าสมาธิ จะได้รู้ตื่น เบิกบาน ตามธรรมที่แท้จริง...(เน้นย้ำวินาที ที่ ๒๕ และ ๔๕)....

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=8FE5BaGY2AQ"]?????????????????????_2 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าในความเห็นผม ผมเห็นว่า

    ตัวขับเคลื่อนนี่แหละสำคัญ ลึก ๆ ลงไปแล้ว เราต้องรู้ด้วยว่า กิเลสตัณหาตัวไหน

    มันเป็นตัวสั่งการขับเคลื่อนให้มีการกระทำต่าง ๆ ออกมา ทั้งในทางดีและทางเลว

    รู้ให้ถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง ไม่ทำไปแบบตะพึดตะพือ ดังต้องมนต์สะกดของกิเลสตัณหาอุปาทาน

    สติปัญญาต้องมีความแยบคายในการสังเกต รู้ตามความเป็นจริงให้ถ้วนทั่ว รู้รอบ

    ทำความเห็นให้ถูกตรงเช่นนี้แหละ จึงจะมีโอกาสละสักกายทิฏฐิได้..
     
  15. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    อ้าวที่ครูบาอาจารย์สอนเอาไปไว้ไหน

    ขออนุญาตครับ

    เห็นหลายๆท่าน ออกความเห็นต่างๆนาๆ ก็เห็นออกนอกแนวทางไปเรื่อยๆ

    ผู้ที่จะปฏิบัติจนเห็นธรรมชั้นสูงนั้น ต้องเป็นผ้าขาวที่ไม่รู้อะไรเลย

    เพราะองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนว่า


    ๑ รู้อะไรมาลืมให้หมด

    เพราะ การปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น ถ้ารู้มากๆ จิตก็รวม ได้ยาก จิตก็ สงบ ได้ยาก
    ก็ต้องภาวนาไปๆ จนมันลืมได้หมด จิตจึงจะสงบได้


    ๒ อยากรู้อะไรให้ปฏิบัติเอา

    เพราะเมื่อปฏิบัติจนจิตรวบรวม กำลังสติ กำลังสมาธิ จนเต็มเปี่ยมแล้ว
    จิตก็จะเดินปัญญา แบบโน้มนำ หรือ แบบเกิดขึ้นเอง
    จิตจะมีอาการ จิตหนึ่งถาม จิตหนึ่งตอบ เรียงกันไปเป็นลูกโซ่
    จนจบ จนแจ่มแจ้ง ใน เรื่องใด เรื่องหนึ่ง
    ที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์คือ คำตอบที่ผุดขึ้นมาในจิตนั้น
    ถูกต้อง แน่นอน ไม่มีผิดพลาด แถมยัง ไม่สั้น ไม่ยาว พอเข้าใจ พอดีๆ

    ๓ กิเลสอยู่ที่ใจไม่ต้องไปตามหาที่ไหน

    ก็เมื่อ กิเลสมันอยู่ในใจเรา เราก็ต้องทำความเข้าใจมัน
    อยู่กับมันให้ได้
    นักปฏิบัติที่เป็นฆราวาส หรือ ครูบาอาจารย์ผู้เก่งกาจหลายๆท่าน
    ถ้าดูกิริยาภายนอก แทบจะไม่รู้ว่าท่านนั้นๆ สำเร็จธรรมชั้นสูง
    หรือแม้แต่ในเว็บนี้ ก็มีบางท่าน ถึงกับเอาแค่ กุศลบทสิบ
    ไปเปรียบเทียบ ไปวัด คุณธรรมของผู้สำเร็จธรรมชั้นสูง
    ความหมายของผู้สำเร็จธรรมชั้นสูงก็คือ ผู้ปฏิบัติจนจิตสามารถเดินปัญญาได้

    เห็นบางท่านถึงกับกล่าวว่า ท่านนั้น สำนักนี้ จะเป็นผู้นำฝ่ายปฏิบัติ

    ต้องขออภัยอย่างแรง ที่จะบอกว่า จะไม่มีท่านผู้ใด จะไม่มีสำนักใดๆ
    มาเป็นผู้นำสายปฏิบัติ แทน สายธรรมยุติ ได้

    เพราะครูบาอาจารย์สายธรรมยุตินั้น ท่านไม่บังคับ
    อยากบวชก็บวช อยากปฏิบัติ ก็ปฏิบัติ เพราะท่านรู้ดีว่า
    ไปบังคับก็ไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นมา

    ผู้ปฏิบัติ ต้องอยากปฏิบัติ ด้วยตัวเอง
    เพราะยุคปัจจุบัน หา ผู้มีบุญบารมีสูงๆ แบบ ปฏิบัติง่าย รู้เร็ว ได้ยากมากๆ

    ส่วนท่านที่บอกว่า เป็นผู้ปฏิบัติ แต่แสดงธรรมเป็น ต่อยหอย นั้น
    ขอบอกว่า ยังห่างไกล

    เพราะปัญญาที่ผุดขึ้นมานั้น จะไม่เร็ว จะไม่ช้า
    ผู้แสดงธรรม ก็จะพูดตามปัญญาที่ผุดขึ้นมานั้น
    แน่นอนว่า ธรรมนั้น จะไม่ผุดขึ้นมาแบบ ต่อยหอย แน่นอน

    แม้องค์หลวงตามหาบัว ท่านจะบอกเล่าว่า


    "องค์หลวงปู่มั่น แสดงธรรมนั้น จะดุเดือด เผ็ดร้อน ตีกิเลส แตกกระจาย"
    "ถ้าได้อัดเทปเอาไว้ ผู้มาฟังทีหลัง ก็จะรู้ธรรม เห็นธรรม ได้ง่ายขึ้น"


    แต่ธรรมนั้น ก็ยังคงอยู่ภายใต้ ไม่ช้า ไม่เร็ว ไม่สั้น ไม่ยาว พอเข้าใจ พอดีๆ อยู่นั่นเอง

    ผมไม่รู้ว่าจะเอาไปเปรียบเทียบกับอะไร ก็ขอเปรียบเทียบสัก ๒ แบบ

    แบบที่หนึ่ง "พระสมเด็จวัดระฆัง"
    ผมได้มีโอกาสไปสนทนาแบบจะๆ กับ ท่านนักดูพระสมเด็จวัดระฆัง ท่านหนึ่ง
    แม้ท่านจะไม่โด่งดัง ในหมู้คนทั่วไป แต่ในหมู่เซียนพระด้วยกันนั้น
    ท่านถือได้ว่าเป็นมือหนึ่งอย่างแท้จริง เพราะท่านสามารถ ดูพระสมเด็จวัดระฆัง
    แค่กวาดตาดูรูปขนาดโปสการ์ด จากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา
    ก็ฟันธงได้แล้ว

    ท่านบอกว่า เคล็ดลับก็คือ


    "ให้ดูแต่พระแท้ให้มากที่สุด ดูจนจำขึ้นใจ"
    "อย่าเสียเวลาไปดูพระเก้ เดี๋ยวจะจำติดตา"


    เปรียบเทียบกับผู้ปฏิบัติธรรม ที่ยังไม่รู้ธรรมชั้นสูงจากการปฏิบัติ
    แล้วเที่ยวไปอ่านธรรม ไปฟังธรรม ไปศึกษาธรรม
    มีแต่จะเกิดผลเสียกับตน
    เพราะครูบาอาจารย์ท่านก็บอก ท่านก็สอนว่า


    "รู้อะไรมาลืมให้หมด"

    แล้วยังพากันดิ้นรนขวานขวย อยากรู้นั่น อยากรู้นี่ กันอยู่นั่นละ

    ที่ท่านทั้งหลายต้องทำก็คือ

    ไปปฏิบัติสมาธิภาวนา ให้กำลังสติ กำลังสมาธิ เต็มเปี่ยมก่อน
    ที่เห็นครูบาอาจารย์ท่านเมตตาบอกว่า "ให้ผ่านฌานสี่ก่อน"

    ก็เปรียบเหมือนเซียนพระบ้านนอก ที่เคยดูแต่รูปพระสมเด็จวัดระฆัง
    ที่เคยดูเคยส่องแต่พระเก้ ดูจนแก่ตาย ก็ไม่รู้จักพระสมเด็จวัดระฆัง
    แต่เขากลับพาลเข้าใจว่า ข้านี่ละเซียนพระวัดระฆัง

    แบบที่ ๒ ฤๅษีหญิง ผมเข้าไปดูผ่านๆใน ยูทู๊ป
    ท่านก็บอกว่า ท่านเผยแผ่ธรรมในอีกรูปแบบหนึ่ง
    แถมยังพูดเรื่อง ไสย์ดำ ไสย์ขาว อีกต่างหาก

    โธ่ก็แค่ท่านสวดคาถาเขา ก็เป็นไสย์เวทมนต์ดำแล้ว
    ยังจะเอ่ยอ้างอันใด

    ถึงตอนธาตุไฟยิ่งแล้วใหญ่ ถึงกับอมน้ำผสมน้ำมันพ่นไฟไปโน่น
    ถึงตอนรักษา ก็เอาเท้า ไปจุ่มน้ำมันว่าน แล้วไปเหยียบจอบเผาไฟ
    แล้วไปเหยียบที่ร่างกายคนป่วย

    อนิจจา ครูบาอาจารย์ผมที่ท่านใช้ ธาตุไฟ ปล่อยผ่านมือ ผ่านฝ่าเท้าไปที่ร่างคนป่วยนั้น
    คนป่วยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าท่านทำอะไร รักษาเสร็จ รู้แต่ว่าร่างกายสดชื่นกระปี้กระเปร่า ปลอดโปร่งโล่งไปหมดทั้งตัว

    ก็เพราะเราพากันหลงผิดกันขนาดนี้
    พากันอ่าน ธรรมกระดาษ พากันศึกษา ธรรมสัญญาความจำ
    กลับพากันคิดว่า ตนรู้ธรรม เห็นธรรม

    โธ่ เซียนพระบ้านนอก ดูแต่พระเก้ ดูแต่รูปพระแท้
    แล้วจะรู้แล้วจะแตกฉาน เรื่องพระสมเด็จวัดระฆังไปได้อย่างไร

    โธ่ฤๅษีบ้านนอก อวดอ้าง ไสย์ดำ ไสย์ขาว อันใด
    แค่ท่องพระเวทย์ ก็รู้แล้วว่าไสย์ดำ

    เพราะไสย์ขาวนั้น มีแต่พระผู้ทรงอภิญญาเท่านั้นจึงจะใช้ได้
    ที่เห็นหลายๆท่านก็ล้วนแต่ พญานาค มาเกิดทั้งนั้น
    ที่เห็นหลายๆท่านก็ล้วนแต่ มหาฤๅษี มาเกิดทั้งนั้น


    ขอสรุปง่ายๆตรงๆว่า

    ไม่ปฏิบัติ ก็ ไม่รู้ธรรม
    ไม่ผ่านฌานสี่ ก็ ไม่รู้ธรรม
    ธรรมยุตนั้นคมในฝัก ครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้ธรรม มีมากกว่าที่ใครจะคาดคิดออกมาได้


    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญร่วมกับทุกๆท่าน
    ขอบคุณครับ
    ลุงมหา

     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หากผู้สนใจกับการปฏิบัติธรรม

    สนใจตรงนี้ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจคือ

    กำลังสติจะได้มาจากไหน
    ควรศึกษาวิธีสร้างกำลังสติให้พอเข้าใจ แล้วก็ลงมือทำตาม
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    สวัสดีครับลุงมหา ๑

    1. รู้อะไรมาลืมให้หมด

    ข้อนี้ผมเห็นด้วยกับลุงมหา ๑ นะครับ

    ถ้าฟุ้งซ่านมากมันก็ไม่ตั้งมั่นพอต่อการที่จะมีสติรู้ตามความเป็นจริงได้



    2. อยากรู้อะไรให้ปฏิบัติเอา

    ตัวที่ลุงมหา ๑ บอกนั้น ผมเรียกว่า มันคือตัวสังขาร (ความปรุงแต่ง) ชนิดหนึ่ง

    มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเหมือนกัน มันจะคิดจะรู้กว้างแค่ไหนที่สุดก็ต้องวาง

    เพราะว่ามันเป็นของเกิดดับ ยิ่งถ้าเราดูให้ดี บางทีเราจะเห็นตัวที่มันคอยขับเคลื่อนความคิดด้วย

    มันเป็นมายา ก็อวิชชา ตัณหา อุปาทาน นั่นเองเป็นตัวขับเคลื่อน

    ผมจึงว่า ลึก ๆ ลงไปแล้ว เราต้องรู้ด้วย.. อันนี้คือเราต้องมีความแยบคายในการดูการรู้อยู่มาก

    ความแยบคายจะไม่ทำให้เรามัวเพลิดเพลินเจริญใจอยู่กับการหลงสังขารความปรุงแต่งพวกนั้น

    มันจะดีเยี่ยมแค่ไหน มันก็เป็นของเกิดดับทั้งนั้น ไม่เที่ยง รู้แล้วเข้าใจแล้ว ก็ต้องวาง คืนให้ธรรมชาติเขาไป


    สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา

    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์

    อวิชชา ปัจจยา สังขารา ฯ

    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร


    นี่เราต้องเข้าใจความโง่มีอวิชชาในจุดนี้ให้ดี ๆ น่ะครับ
    ปัญญาที่แท้จริงคือ ปัญญาเห็นความเกิดดับ



    3. กิเลสอยู่ที่ใจไม่ต้องไปตามหาที่ไหน

    ข้อนี้ก็เป็นเช่นนั้นเอง ว่าแต่เราไม่มัวเอาจิตเที่ยวแสวงหาจิต ก็เท่านั้นเองครับ

    ส่วนเรื่องใครจะเป็นอย่างไร ธรรมยุติ มหานิกาย ผมไม่ได้สนใจตรงนั้น มองเห็นว่า มันเป็นเรื่องของโลก ๆ ที่เขาจะวิตกวิจารณ์กันไป

    เอาเป็นว่า เราไม่หวั่นไหวไปตามกระแสโลก (โลกธรรม) ก็พอแล้ว ดูแลตัวเองตรงนี้ดีกว่าอ่ะครับ


    ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันนะครับ
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อ่านตรงนี้แล้ว ขำ

    นึกไปถึง กระทู้พันทพิพย์

    คือ ธรรมยุติ หรือ มหายาน คามวาสี อะไรก็แล้วแต่ ใน ไทย ทั้งหมด
    ตอนนี้ คนในพันทพิย์ ทุบเละ ละลายกลายเป็น วงศเดียวกันหมด

    เพราะว่า ประวัติศาสตรสุวรรณภูมิ มีบางช่วง พระ หายหมด ไม่เหลือ
    สักองค์ ที่เหลือก็ไม่รู้ศาสนาไหนแน่

    จ้าว นครล้านนา ก็เลย จับศึกพระ ทั่วราชอาณาจักร แล้ว ส่งพระ
    ไปบวชกับ พระที่ สีลังกา หลังจากนั้น ใครอยากบวช ให้มาต่อ
    อุปชาจารย์ที่พระที่ไปบวชมาจาก สีลังกา

    เรียกว่า ยุ่งเรือหาย แบ่งกันอยู่ได้ พระมหากษัตริย์ก็เลย จับสึกหมด
    แล้วให้บวชเป็น นิกายเดียวกันให้หมด

    สุดท้าย

    ก็เลยมี สมาชิกถามว่า ก็ตอนนี้ ลังกา เนี่ยะ เขาถือ สยามวงษ์

    ตกลง ตอนนี้ นิกาย อะไร
     
  19. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ความเข้าใจในธรรม อย่างแท้จริง

    ขออนุญาตครับ

    บังเอิญ ผมเป็นแบบ จิตเดินปัญญาเอง โดยไม่ต้อง โน้มนำ

    ผมจึงมองเห็นว่า

    การพิจารนา ธรรม ใดๆนั้น จิต ถาม จิต แต่เรื่อง กุศล เท่านั้น
    และ จิต ตอบ จิต ก็เป็นเรื่อง กุศล ทั้งนั้น

    ผมมองไม่เห็นว่ามีส่วนไหนที่เป็นกิเลส
    สำหรับผมแล้ว สังขารที่เป็นกิเลส มันดับไป ก่อนที่มันจะเกิดเสียอีก

    (คล้ายกับคนดี ที่คิดได้แต่เรื่องดีๆ คนดี ที่คิดเรื่องร้ายๆกับเขาไม่เป็นนั่นเอง)

    ผมเข้าใจว่า เรายังไม่เข็มแข็งพอ ต่อการพิจารนา สังขารที่เป็นกิเลส
    จึงไม่ได้สนใจส่วนนี้

    จึงปล่อยให้สังขารที่เป็นกิเลส มันดับไปก่อนที่มันจะเกิด

    (คล้ายกับคนดี ที่คิดได้แต่เรื่องดีๆ คนดี ที่คิดเรื่องร้ายๆกับเขาไม่เป็นนั่นเอง)

    อะไรที่ผุดขึ้นมา ทั้งคำถาม ทั้งคำตอบ จิตดวงเดียวกันนี่ละ เฝ้ารับรู้เพียงอย่างเดียว

    ที่เกิดขึ้นมาจึงเป็นเรื่อง กุศล ล้วนๆ ไม่มีเรื่องของกิเลสอะไรเลย

    สำหรับผมแล้ว ปัญญา ก็คือ ธรรม ที่ จิตหนึ่งถาม แล้ว จิตหนึ่งตอบ

    ปัญญา ก็คือ ธรรม ส่วนที่เป็นคำตอบนั้น

    เมื่อสะสมคำตอบนั้นไปมากๆ ก็จะชำนาญมากขึ้น ก็จะมีปัญญามากขึ้น

    จนถึงขั้น เมื่อ รู้คำถาม ก็ รู้คำตอบ ผุดขึ้นตามมา

    ในทุกๆเรื่อง แม้แต่ในชีวิตประจำวัน


    ต้องขออภัยที่อธิบาย บอกเล่า ได้แค่นี้

    หวังว่าจะมีผู้เข้าใจ

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ ร่วมกับทุกๆท่าน
    ขอบคุณครับ
    ลุงมหา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขออนุญาตนะครับ ผมแค่มาแบ่งปันความคิดเห็นเท่านั้น

    สำหรับเรื่องนี้ ถ้าเป็นในมุมที่ผมเข้าใจได้อยู่นี้ ก็คือ ปัญญามันยังไม่รอบนั่นเอง

    คำว่า ปัญญามันยังไม่รอบในระดับนี้ก็คือ มันยังไม่เห็นว่าตัวมันเองก็ไม่เที่ยง

    เป็นของตั้งอยู่ชั่วคราว มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเหมือนกัน

    และที่สำคัญก็คือ ยังไม่เห็นตัวตนผู้รู้นี้ว่า จริง ๆ ก็มีความเกิดดับเหมือนกัน

    ส่วนจะเกิดดับอย่างไรต้องค่อย ๆ ศึกษาไป ของพวกนี้ แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละบุคคลครับ ลอกเลียนกันไม่ได้

    ทีนี้พอไม่กระจ่างชัด มันก็เลยยังมองเห็นไปว่า ปัญญาเป็นของเที่ยง และหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้นั่นเอง


    ลองพิจารณาดูนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...