เรื่องเด่น กายในกาย โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย โมกขทรัพย์, 3 มิถุนายน 2013.

  1. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,851
    %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A25-jpg.jpg

    “ กายในกาย ”

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)


    ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร”
    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสถึง “กายในกาย” ไว้
    สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ... ก็ถือเอา อวัยวะภายใน เป็น กายในกาย

    ส่วนท่านที่ได้ “จุตูปปาตญาณ” แล้ว
    (จุตูปปาตญาณ คือ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)
    ก็ถือเอา กายที่ซ้อนกาย อยู่นี้เป็น กายในกาย


    “กายในกาย” มีได้อย่างไร ?
    ขอตอบว่า เป็นกายประเภท อทิสมานกาย
    คือ ดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น
    ต้องดูด้วย “ญาณ” ... จึงเห็น

    ตามปกติ กายในกาย หรือ กายซ้อนกายนี้
    ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอ ... ในเวลาหลับ
    ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหน
    ทำอะไรที่อื่น จากสถานที่เรานอนอยู่
    ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่
    ความจริงเรานอน และเมื่อไปก็ไปจริง จำเรื่องราวที่ไปทำได้
    บางคราวฝันว่าหนีอะไรมา พอตื่นขึ้น ก็เหนื่อยเกือบตาย
    กายนั้นแหละที่เป็น กายซ้อนกาย หรือ กายในกาย
    ตามที่ท่านกล่าวไว้ใน “มหาสติปัฏฐาน”
    ตามที่ นักเจโตปริยญาณ ต้องการรู้
    (เจโตปริยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ใจผู้อื่นได้)


    “กายในกาย” แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ

    ๑. กายอบายภูมิ
    มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับขอทาน ที่มีกายเศร้าหมองอิดโรย
    หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส
    พวกนี้ตายแล้วไป อบายภูมิ

    ๒. กายมนุษย์
    มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา
    กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีสัดส่วนผิวพรรณ
    ขาวดำ สวยสด งดงามไม่เสมอกัน
    แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน
    พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็น มนุษย์ อีก

    ๓. กายทิพย์
    คือ กายเทวดา (ชั้นกามาวจร) มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน
    ถ้าเป็น เทวดา ชั้นอากาศเทวดา หรือ รุกขเทวดา ...ขึ้นไป
    ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสด งดงามมาก
    ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็น เทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์

    ๔. กายพรหม
    มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า
    ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน
    แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่
    ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็น พรหม

    ๕. กายแก้ว หรือ กายธรรม ( ธรรมกาย)
    กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของ พระอรหันต์
    จะเห็นเป็น ... ประกายพรึกทั้งองค์
    ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์
    ท่านพวกนี้ตายแล้วไป “นิพพาน”
    การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย
    มิฉะนั้น จะดูท่านไม่รู้เลย

    426467_134409216738564_1577891713_n.jpg


    * ที่มา
    หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    โดย พระมหาวีระ ถาวโร ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    อ้างอิง “ กายในกาย ” โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2017
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    <font color="#ff0066">เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่ </font><br /> <a href="http://www.facebook.com/BuddhaSattha" target="_blank"><font face="verdana"><font size="5"><font color="#006600"><b>เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา</b></font></font></font></a><br /><font color="#ff0066">และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน</font>

    <font color="#006600">เว็บทางนิพพาน</font> <font color="#0000ff">เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น</font><br /><font color="#0000ff">ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน</font><br /><font color="#006600">ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่</font> www.tangnipparn.com

    <font size="5"><font face="Browallia New"><font color="darkorchid"><b>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญ</b></font></font></font> <a href="http://buddhasattha.com/" target="_blank"><font size="5"><font face="Browallia New"><font color="#0066ff"><b>เว็บศูนย์พุทธศรัทธา</b></font></font></font></a><br>
    <a href="http://buddhasattha.com/" target="_blank"><img src="http://buddhasattha.com/wp-content/uploads/2010/09/bgs.jpg" border="0" alt="" title="แวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา"/></a>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2013
  3. seahero

    seahero เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +602
    อ่านแล้วเพลิน ขอบพระคุณมากๆครับที่นำคำสอนของท่านมาย้ำเตือนจิตใจ ใจปุถุชนมันคอยจะไหลลงที่ต่ำอยู่เรื่อยต้องคอยพยุงมันอยู่ตลอดเวลา
     
  4. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,884
    อนุโมทนา เห็นเป็นมนุษย์ สงสัยจะได้เกิดอีก บำเพ็ญยังไม่พอ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า.
    เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น.
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก.
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก.
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า.
    นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว.
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด.
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว.
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น.
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น.
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก.
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
    อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๗๓/๔๓๐
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    สาระที่แท้จริงของสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะเป็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต หรือธรรมในธรรม.....


    .ก็เพื่อให้เห็นชัด ยิ่งไปกว่า การรู้ด้วยสัญญาจำหมายว่า กาย เวทนา จิต ธรรม(เครื่องปรุงแต่งกาย-ใจ) นั้น ล้วนเป็นไตรลักษณ์ เพื่อการจางคลายกายยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าที่เป็นภายใน และขันธ์ห้าที่เป็นภายนอก



    ......... การที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่าน จะมีเทคนิคต่างกัน ตามปฏิปทา ไม่ว่าจะเป็น
    สุกขวิปัสสโก วิชชาสาม วิชชาหก วิชชาแปด ปฏิสัมภิทาญาณ ฯลฯ ก็ล้วนสรุปลงในสาระเดียวกัน คือ เพื่อละ เพื่อจางคลาย ในขันธ์ห้าทั้งภายในและภายนอก


    .การเอาเทคนิคที่ต่างกัน มาตัดสิน มากล่าวว่า คนโน้นผิด คนนั้นถูก ยังไม่ใช่สาระ

    สำคัญว่า "เข้าใจเจตนา ของการเจริญสติปัฏฐานสี่ และเข้าถึงผลหรือไม่ "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2013
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    http://palungjit.org/threads/ผลกรรมที่พิสูจน์เห็นได้ทันที-ในกาย-ใจ.435448/







    กระทู้ตามลิ๊งค์ข้างบนนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของการเจริญสติปัฏฐานสี่หมวด กายในกาย เป็นเบื้องต้น

    สอดคล้องคล้ายคลึงกับที่หลวงพ่อฤาษีท่านกล่าว..



    คือ.การที่เห็นกายภายในบ้าง ภายนอกบ้าง เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีจิต

    วิถีเวทนา วิถีธรรมที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ไปเรื่อยๆ จนชัดในในว่า.


    ที่แท้ขันธ์ห้านี้ สักแต่เป็นที่หมายรู้ได้เพียงระยะหนึ่ง แล้วแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย
    ที่มากระทบ ทั้งปัจจัยภายในคือกิเลส ตัณหา อาสวะ ฯลฯ และปัจจัยภายนอกคือ
    รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ เป็นต้น



    เมื่อจิตละกิเลส และเครื่องร้อยรัด ที่ทำให้เป็นกายในชั้นต่างๆ ก็จะเข้าไปเป็นกายที่ละเอียดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ แม้ไม่ได้อยากเป็น แต่ ก็เป็นไปเองเช่นนั้น


    วิธี แบบนี้ เป็นเทคนิค ตามแนววิชชาสาม เป็นต้นไป


    จะมีรายละเอียดบางประการต่างจากที่โพสของคุณอุรุเวลา นำมาโพส
    ซึ่งวิธีนั้น เป็นเทคนิคโดยอาศัยอานาปานัสสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2013
  8. cwmdosthai

    cwmdosthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +312
    ขอบคุณครับ เรื่องกายในกาย มาบอกต่อครับ
     
  9. liquidpaper

    liquidpaper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    443
    ค่าพลัง:
    +1,423
    .....
     
  10. parapuda

    parapuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +250
    อนุโมทนาสาธุ ในบุญกุศล ในบูรณาการพระศาสนาทั้งปวง ^^
    อนุโมทนา Express gratitude Buddha ۩ - YouTube
    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    http://www.facebook.com/UniversalReligionNirvana
    ศาสนาสากล - Universal Religion
    - มีธรรมชาติทั้งหมดเป็นองค์ความรู้ และอุดมสุข ให้ิผู้นับถือและปฏิบัติพัฒนาศักยภาพตนได้ตามลำดับตามอุดมสุขของตนได้จนถึงเป็นพระเป็นเจ้า หรือศาสดา ตามอุดมคติและความรู้สูงสุดของศาสนา ปรัชญา อภิปรัชญา รวมถึงศิลปะเเละวิทยาการทั้งหมด ในประวัติศาสตร์โลกรวมกัน ตามจริตและความเหมาะสมของอุดมสุขของมนุษยชาติทุกคนโดยให้บังเกิดสันติภาพความเจริญก้าวหน้าและอารยะธรรม ศิลปะและวิทยาการ สรรค์สร้างความสมบูรณ์ ผาสุก ตลอดไป.
    - There is a natural body of knowledge and practice development Ideal of happiness thier Anglicans and their respectively Ideal of happiness their God or prophet according to the highest ideals and knowledge of religion, philosophy, metaphysics and science all artistic undertakings. In the history of the world together. By happiness sense of humanity and decency of all people to bring peace, prosperity and civilization. Arts and Sciences. Create the perfect bliss forever.
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


    ญาณทัสสนวิสุทธิ-Mystics Tuscan pine LDS.(translation by google 4/6/2013 6:22 PM)
    ความบริสุทธิ์วิเศษด้วยความรู้ความรู้ความเห็นในทางดำเนิน หมายถึง วิปัสสนา
    ญาณที่มีกำลังตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่พ้นจากอุปกิเลสแล้ว จนถึงสัจจานุโลมิกญาณ
    อันเป็นวิปัสสนาญาณที่ถึงยอด ( อุทยัพพยญาณที่ ๔ ภังคานุปัสสนาญาณที่ ๕
    ภยตุปัฏฐานญาณที่ ๖ อาทีนวานุปัสสนาญาณที่ ๗ นิพพิทาญาณที่ ๘ มุญจิตุกัม
    ... ยตาญาณที่ ๙ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณที่ ๑๐ สังขารุเปกขาญาณที่ ๑๑ อนุโลม
    ญาณที่ ๑๒ )
    Youtude : [ame=http://www.youtube.com/watch?v=e4vqZcIPVYk]ความจริงไม่มีใครทุกข์ - YouTube[/ame]
    วิสุทธิ>Religion Nirvana
    วิสุทธิ - วิกิพีเดีย
    Thailand>นิพพาน - วิกิพีเดีย
    "นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
    ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม ธาตุ ปรกฺฤตย อวตาร สูตฺร(入法界體性經 ) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด นิกายมหายานส่วนใหญ่มักมุ่งสู่การไปเกิด ณ แดนสุขาวดี (หนึ่งในพุทธเกษตร ซึ่งเป็นโลกธาตุที่พระอมิตตายุสสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เนรมิตขึ้น ) โดยมีคติการบรรลุธรรมคนเดียวเป็นการเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงอยู่ช่วยสรรพสัตว์จนถึงคนสุดท้าย
    English>Nirvana - Wikipedia, the free encyclopedia
    Nirvāṇa (Sanskrit: निर्वाण; Pali: निब्बान nibbāna; Prakrit: णिव्वाण) is an ancient Sanskrit term used in Indian religions to describe the profound peace of mind that is acquired with moksha (liberation). In shramanic thought, it is the state of being free from suffering. In Hindu philosophy, it is union with the Brahman (Supreme Being).
    The word literally means "blown out" (as in a candle) and refers, in the Buddhist context, to the imperturbable stillness of mind after the fires of desire, aversion, and delusion have been finally extinguished.[1]
    ------------------------------------------------------------------------------
    ปรัชญา-Philosophy
    Thailand : ปรัชญา - วิกิพีเดีย
    คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า Φιλοσοφία ฟีโลโซเฟีย ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งแยกได้เป็นคำว่า φιλεῖν ฟีเลน แปลว่าความรัก และ σοφία โซเฟีย แปลว่าความรู้ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "การรักในความรู้" หรือ ปรารถนาจะเข้าถึงความรู้หรือปัญญา
    ปรัชญา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง กล่าวคือ ในบรรดาความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาตินั้น อาจแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ
    เรื่องที่หนึ่ง คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าสิ่งรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น
    เรื่องที่สอง คือ เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้น
    เป้าหมายในการศึกษาของปรัชญา คือการครอบคลุมความรู้และความจริงในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ รวมทั้งชีวิตประจำวันของตนด้วย ผลจากการศึกษาของปรัชญาก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ผู้รอบรู้ด้านปรัชญามักขนานนามว่า นักปรัชญา ปราชญ์ หรือ นักปราชญ์
    English : Philosophy - Wikipedia, the free encyclopedia
    Philosophy is the study of general and fundamental problems, such as those connected with reality, existence, knowledge, values, reason, mind, and language.[1][2] Philosophy is distinguished from other ways of addressing such problems by its critical, generally systematic approach and its reliance on rational argument.[3] In more casual speech, by extension, "philosophy" can refer to "the most basic beliefs, concepts, and attitudes of an individual or group".[4]
    The word "philosophy" comes from the Ancient Greek φιλοσοφία (philosophia), which literally means "love of wisdom".[5][6][7] The introduction of the terms "philosopher" and "philosophy" has been ascribed to the Greek thinker Pythagoras.[8] A "philosopher" was understood as a word which contrasted with "sophist". Traveling sophists or "wise men" were important in Classical Greece, often earning money as teachers, whereas philosophers are "lovers of wisdom" and were therefore not in it primarily for the money.
    ------------------------------------------------------------------------------
    อภิปรัชญา (อังกฤษ: Metaphysics)
    Thailand : อภิปรัชญา - วิกิพีเดีย
    English : Metaphysics - Wikipedia, the free encyclopedia
    ------------------------------------------------------------------------------
    ศาสนา (อังกฤษ: religion) หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ตามประมาณการที่มีการค้นพบศาสนาในโลกมีประมาณ 4,200 ศาสนา ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
    นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาด้วย เรียก "อศาสนา" (อังกฤษ: irreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก "อศาสนิก" (อังกฤษ: irreligious person)
    Thailand : ศาสนา - วิกิพีเดีย
    Religion is an organized collection of beliefs, cultural systems, and world views that relate humanity to the supernatural, to spirituality and, sometimes, to moral values.[note 1] Many religions have narratives, symbols, and sacred histories that are intended to create meaning to life or traditionally to explain the origin of life or the Universe. From their beliefs about the cosmos and human nature, they tend to derive morality, ethics, religious laws or a preferred lifestyle. According to some estimates, there are roughly 4,200 religions in the world.[1]
    Many religions may have organized behaviors, clergy, a definition of what constitutes adherence or membership, holy places, and scriptures. The practice of a religion may also include rituals, sermons, commemoration or veneration of a deity, gods or goddesses, sacrifices, festivals, feasts, trance, initiations, funerary services, matrimonial services, meditation, prayer, music, art, dance, public service or other aspects of human culture. Religions may also contain mythology.[2]
    The word religion is sometimes used interchangeably with faith or belief system; however, in the words of Émile Durkheim, religion differs from private belief in that it is "something eminently social".[3] A global 2012 poll reports that 59% of the world's population is religious, 23% are not religious, and 13% are atheists.[4]
    English : http://en.wikipedia.org/wiki/Religion
    ------------------------------------------------------------------------------
    Spiritual Reality The Ultimate To Meditation.
    Youtube :Spiritual Reality Power Of Meditation (Techniques) 1080P Full HD - YouTube
    วิดีโอนี้บอกเกี่ยวกับการทำสมาธิลึก การเดินทางจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด โดยใช้แบบจำลอง 3 มิติที่วิธีการที่เข้าใจง่ายในเรื่องเทคนิคในการทำสมาธิแบบเต็มรูปแบบ เป็นวิธีการที่ทำให้เราเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับความจริงของชีวิต ในมิติของจิตวิญญาณ ที่สอดผสานกับธรรมชาติและจักรวาลเป็นวิทยาศาสตร์ภายใน ที่ทุกคนสามารถค้นคว้าและเข้าถึงได้โดยวิธีการปฏิบัติ โดยปรับจากสภาพจิตพื้นฐาน ของผู้มีจิตสำนึกในความดีงาม...ขอความสันติสุข ความสงบ บังเกิดมีแด่ทุกท่าน..
    This video tell about deep meditation. A journey from the beginning to the end. The 3D models that how easy meditation techniques in full. Is how we understand the idea. About the reality of life. The dimensions of the soul. To integrate science with nature and the universe is within. Everyone can search and access them by way of practices. Adjusted basis of mental state. Of a sense of decency ... to bring peace, peace be upon all of you.
    Referance:Lakhwinder Singh.
    Copy Right :Meditation Techniques in Hindi
    ●▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬●

    SPACE
    Space is an spiritual organization. Space is created by Spiritual Masters. Space is essence of Knowledge of the Spiritual Masters who have perceived the Knowledge through decades of research in other frequency realities, living with self in every moment of their life and understanding and becoming That.
    Space has created Spiritual Reality- journey within video on Meditation and Meditation experiences. Space is now creating Sarrva-science of Consciousness video.
    Contact:
    SPACE

    PC SPACE PVT LTD.,
    205, Gnana Marga,
    Siddartha Nagar,
    Mysore-570011
    Email: pcspacepvtltd@gmail.com
    Contact person: P.N. Chandrashekar
    Phone: 91-821-2470772
    Mobile: 91-9448470772
    Contact person: B.V.Pratap Reddy
    Mobile: 91-9440686588
    Website: Space is Spiritual Organization SriSpace India
     
  11. aroonoldman

    aroonoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +462
    ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร”
    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสถึง “กายในกาย” ไว้
    สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ... ก็ถือเอา อวัยวะภายใน เป็น กายในกาย
    (แนวสุขวิปัสโก)#8

    ส่วนท่านที่ได้ “จุตูปปาตญาณ” แล้ว
    (จุตูปปาตญาณ คือ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)
    ก็ถือเอา กายที่ซ้อนกาย อยู่นี้เป็น กายในกาย
    แนววิชชา3(กรรมฐาน40)
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    เทีย่บตามหลักวิชชาธรรมกายที่ได้เรียนมาจากวัดหลวงพ่อสดฯราชบุรี ซึ่งสืบวิชชาตรงจากหลวงปู่วีระ ซึ่งทำวิชชาชั้นสูงกับหลวงปู่สดมาตลอด และเป็นคลังวิชชาฯตั้งแต่ยุคแรก

    เบื้องต้น กายภายนอกคือกายคนอื่น กายภายในคือ ตัวเรา และอวัยวะน้อยใหญ่

    เบื้องกลางคือ กายภายในที่หยาบกว่า เช่่น ถ้าเราถึงกายธรรมเบื้องต้น
    กายภายนอกคือ ตั้งแต่กายมนุษย์ เข้ามาเป็นกายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน) ,กายเทวดาหรือกายทิพย์,กายพรหม,กายอรูปพรหม และธรรมกายเบื้องต้นที่หยาบกว่า

    โดยมีสติสัมปชัญญะ รู้และเห็น ปัจจัยปรุงแต่งที่เป็นบุญ บาป กลางๆ ที่เข้ามาปรุงขันธ์
    ให้่เปลี่ยนไปตามภพต่างๆ(ภพภายในขณะจิตนั้นๆ ตามวงจรปฏิจสมุปบาท)

    จนมากขึ้นๆๆๆ สติสัมปชัญญะจะเต็มรอบมากขึ้น

    แล้วเป็นลูกโซ่ เข้าไปรู้-เห็น เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมได้อีก
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    ....และ การมีสติสัมปชัญญะ เจริญกายในกาย่ตามแบบวิชชาธรรมกายดั้งเดิมที่หลวงปู่สด
    ได้สอนไว้นั้น


    ....ตราบใดที่ยังไม่เป็นพระอริยะเจ้า กายภายในจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอด( แบบบ่อยมาก)


    แม้กายภายในเป็นพระ แต่ก็อาจเป็นพระ เฉพาะช่วงไม่มีกิเลสหยาบและ ต้องพิจารณาตัดกิเลส
    สังโยชน์ ต่อไปอยู่

    ตามเครื่องปรุงแต่งกาย-ใจ หรือ ตามหลักปฏิจสมุปบาท เป็นกายที่เสวยภพต่างๆทันที


    เช่นมีความอาฆาตพยาบาท โกรธ รุนแรง กายภายในจะเป็นสีดำ คล้ำ หรือ เป็นคล้ายอสุรกาย , มีความโลภสูง กายภายในอาจเป็นเปรต .นี่คือ กายในกาย
    ขั้นกลาง

    ..........มีสุข ดวงธรรมหรือใจ ทีกลางกาย ก็จะขาวบ้าง สีสดใสบ้าง
    มีทุกข์ ก็จะหม่นหมองบ้าง เป็นสีต่างๆที่ทึบๆ บ้าง นี่คือ เวทนาในเวทนา


    ..........ฟุ้งซ่าน ง่วงเหงา ราคะ ฯลฯ สีน้ำเลี้ยงหัวใจ ก็เปลี่ยนไป นี่คือ จิตในจิตเบื้องกลาง


    ........ธรรมในธรรม เห็น ธรรมละเอียดต่างๆ ทีเข้ามาปรุงกาย-ใจ-อายตนะ ที่เป็นรายละเอียดที่จะสอนกันต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มิถุนายน 2013
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,336
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +70,462
    หลวงพ่อสอนให้ดู ดวงจิต ดวงธรรม ของเขา ว่า สุขหรือ
    ทุกข์ สะอาดหรือสกปรก จิตของคนปรกติจะลอยในในเบาะน้ำ
    เลี้ยง ที่มีปริมาตร เท่าหนึ่งอุ่งมือ ลอยอยู่กึ่งกลาง ถ้าใจลอย
    ขึ้น จิตจะฟุ้ง ถ้าจมลง จิตจะเศร้าหนักอกหนักใจ ถ้าจมดิ่งจะ
    คิดสั้นฆ่าตัวตาย (วิชชานี้มีประโยชน์มาก และได้ใช้ช่วยชีวิต
    ของผู้คนที่มีทุกข์ คิดฆ่าตัวตายมามากต่อมาก)

    - จิตของปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นจิตที่มีสีเนื้อ
    เต็มไปด้วยความสกปรก ไม่สะอาดผ่องใส
    - จิตของคนที่ได้ปฐมฌาน จะใสเหมือนแก้วเคลือบ
    ปฐมฌานละเอียดเป็นเนื้อแก้วลึกลงไปประมาณ 25 %
    - จิตของคนที่ได้ฌาน 2 จะเป็นแก้วลึกลงไปประมาณ
    50 %
    - จิตของคนที่ได้ฌาน 3 ละเอียดเป็นแก้วทั้งดวง
    แต่มีจุดอยู่ตรงกลาง
    - จิตของคนที่ได้ฌาน 4 จะเป็นแก้วทั้งดวง สะอาดมาก
    แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีประกายรัศมี
    - จิตของพระโสดา จะเป็นประกายรัศมีเข้าไปประมาณ
    25 %
    - จิตของพระสกิทาคามี จะเป็นประกายรัศมี (แสงลิบ ๆ )
    เข้าไป 50 %
    - จิตของพระอนาคามี จะเป็นประกาย (แสงลิบ ๆ ) ทั้ง
    ดวง แต่มีจุดอยู่กลางข้างใน (จุดกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    เรียกว่า พืด )
    - จิตของพระอรหันต์ จะเป็นดาวทั้งดวงไม่มีจุด ส่องแสง
    ระยิบระยับตลอดเวลา

    หลวงพ่อสอนให้ดูสภาพจิตที่มีกิเลสและไม่มีกิเลส สกปรกมาก
    หรือสกปรกน้อย ฉะนั้นพอได้ยินชื่อคน หรือรู้เรื่องราวของคน
    เห็นหน้าให้ดูจิตก่อน อย่าไปดูหน้าตา ฟังเสียง อันนี้ไม่แน่
    นอน คนมีกิเลสอย่างพวกเรา ๆ โกหกได้ แต่ว่าจิตของคน
    โกหกไม่ได้ ถ้าดูความทุกข์ ความสุขของจิต คนมีความทุกข์
    มาก จิตมีสีดำ สีหมองคล้ำ ทุกข์น้อย สีดำจางลงไป คนมี
    ความสุขเพราะมีอามิสมาก จิตมีสีแดงมาก อามิสน้อย
    จิตมีสีแดงน้อย คนที่มีจิตสบาย ๆ ไม่กระทบกระทั่งกับอารมณ์
    ต่าง ๆ จิตเป็นสุขมีสีขาว

    และในวันหนึ่ง ๆ เราต้องชำระจิตของเราที่ไม่ผ่องใส ที่ไม่
    สะอาด เราต้องชำระนิ่งเข้าไป กลางของกลาง ๆ ๆ ดับหยาบ
    ไปหาละเอียด ๆ ๆ ใสละเอียด ๆ ๆ ๆ นอกจาก เราชำระวิถีจิต
    แล้ว ในใจต้องกำหนดธรรมอยู่ในใจ
     
  15. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ขอ โมทนา ข้อความของท่าน ดาบหัก ครับผม ขอบคุณครับ
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,433
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  17. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,634
  18. พลศิล

    พลศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2009
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +1,265
    อนุโมทนาสาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...